พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1471/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับใช้ประกาศกระทรวงมหาดไทยเกี่ยวกับแรงงานสัมพันธ์โดยอนุโลม การปฏิบัติตามวิธีพิจารณาเพื่อคำวินิจฉัยที่สมบูรณ์
ประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการแรงงานสัมพันธ์ ลงวันที่ 16 เมษายน 2515 ข้อ 75 ให้คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์พิจารณาคำร้องเกี่ยวกับการกระทำอันไม่เป็นธรรมของนายจ้างต่อลูกจ้างโดยให้นำข้อ 15 ข้อ 16 มาใช้บังคับโดยอนุโลม ซึ่งข้อ 15 ให้ผู้ชี้ขาดข้อพิพาทแรงงานแจ้งเป็นหนังสือกำหนดวันส่งคำชี้แจงเกี่ยวกับแรงงานและวันเวลาและสถานที่ที่จะพิจารณาข้อพิพาทแรงงานให้ทั้งสองฝ่ายทราบ และข้อ 16 ในการพิจารณาข้อพิพาทแรงงานผู้ชี้ขาดข้อพิพาทแรงงานต้องให้โอกาสทั้งสองฝ่ายชี้แจงแถลงเหตุผลและนำพยานเข้าสืบ การนำมาใช้โดยอนุโลมหมายถึงการนำมาใช้บังคับเท่าที่จะไม่เป็นการขัดขืนต่อการพิจารณาและวินิจฉัยชี้ขาดข้อกล่าวหา คำวินิจฉัยชี้ขาดของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์จะมีผลบังคับคู่กรณีได้ก็ต่อเมื่อคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ได้ปฏิบัติถูกต้องตามวิธีการที่ประกาศดังกล่าวได้กำหนดไว้แล้ว
การที่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 7 ในฐานะคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์สั่งให้โจทก์ปฏิบัติตามคำวินิจฉัยชี้ขาดของคณะกรรมการ ย่อมเป็นการโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ของโจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนคำชี้ขาดของจำเลยได้
การที่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 7 ในฐานะคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์สั่งให้โจทก์ปฏิบัติตามคำวินิจฉัยชี้ขาดของคณะกรรมการ ย่อมเป็นการโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ของโจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนคำชี้ขาดของจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1110/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีแรงงาน: ความสัมพันธ์ระหว่างกระทรวงฯ กับคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ มิใช่ตัวการตัวแทน
กระทรวงมหาดไทยจำเลยแต่งตั้งคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ เพื่อทำหน้าชี้ขาดข้อพิพาทแรงงาน ฯลฯ เป็นการปฏิบัติการตามบทบัญญัติของกฎหมาย คณะกรรมการสัมพันธ์ที่จำเลยแต่งตั้งมีอำนาจและหน้าที่ตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ ความสัมพันธ์ระหว่างจำเลยคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ หาใช่ความสัมพันธ์ระหว่างตัวการและตัวแทนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ไม่ แต่เป็นการที่จำเลยและคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ต่างก็จะต้องปฏิบัติตามอำนาจและหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดไว้ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลย ขอให้เพิกถอนคำชี้ขาดของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2053/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องกรณีคำชี้ขาดของกรรมการแรงงานสัมพันธ์ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย ถือเป็นการโต้แย้งสิทธิและหน้าที่
โจทก์เป็นเจ้าของและผู้จัดการโรงเรียน ได้ถูกครูกล่าวหาว่าเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรม จำเลยทั้ง 8 ในฐานะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ได้ออกคำชี้ขาดว่าการกระทำของโจทก์เป็นการกระทำไม่เป็นธรรม ให้โจทก์รับครูผู้กล่าวหาเข้าทำงานตามเดิมและจ่ายเงินให้ผู้กล่าวหาอีกจำนวนหนึ่ง โดยให้โจทก์ปฏิบัติภายใน 15 วันนั้น คำชี้ขาดดังกล่าวได้ออกโดยอาศัยอำนาจตามข้อ 75 แห่งประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการแรงงานสัมพันธ์ลงวันที่ 16 เมษายน 2515 คำชี้ขาดตามประกาศดังกล่าว ข้อ 17,18 ให้บังคับได้เป็นเวลา 1 ปี หาใช่เป็นเพียงคำเตือนของพนักงานตรวจแรงงานหรือพนักงานเงินทดแทนไม่ ถือได้ว่าจำเลยได้โต้แย้งสิทธิและหน้าที่ของโจทก์แล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง