คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ลงวันที่ 16 เมษายน พ.ศ.2515 ข้อ 27

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 6 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2762-2765/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการคุ้มครองตามกฎหมายแรงงาน: สำนักงานเลขาธิการคุรุสภาไม่มีวัตถุประสงค์แสวงหากำไร จึงไม่อยู่ภายใต้บังคับ
ศาลแรงงานกลางกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า โจทก์มีสิทธิเรียกค่าทำงานในวันหยุดจากจำเลย(คุรุสภา)หรือไม่ เพียงใดเมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้เบื้องต้นว่า องค์การค้าของคุรุสภา และสำนักงานเลขาธิการคุรุสภาเป็นหน่วยงานของคุรุสภาองค์การค้าของคุรุสภาเป็นหน่วยงานที่หารายได้ส่วนสำนักงานเลขาธิการคุรุสภาที่โจทก์เป็นเจ้าหน้าที่ประจำอยู่นั้นมีหน้าที่เกี่ยวกับการดำเนินงานในหน้าที่ของคุรุสภาการที่ศาลแรงงานกลางกำหนดปัญหาวินิจฉัยว่า'สำนักงานเลขาธิการคุรุสภาอยู่ในบังคับของกฎหมายคุ้มครองแรงงานหรือไม่ โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของสำนักงานเลขาธิการคุรุสภาจะได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายคุ้มครองแรงงานหรือไม่' จึงเป็นการพิจารณาเพื่อจะนำไปสู่ประเด็นข้อพิพาทที่ได้กำหนดไว้ ตามพระราชบัญญัติครู พ.ศ.2488 อำนาจหน้าที่ของคุรุสภาซึ่งดำเนินงานโดยสำนักงานเลขาธิการคุรุสภาไม่มีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับองค์การค้าของคุรุสภาที่มีการบริหารงานแยกไปต่างหากจากสำนักงานเลขาธิการพนักงานเจ้าหน้าที่ก็เป็นคนละส่วน กันผู้บังคับบัญชาในการบริหารของหน่วยงานทั้งสองเป็น คนละคน ระเบียบข้อบังคับที่ใช้ในแต่ละหน่วยก็แยก ต่างหากจากกัน เมื่อสำนักงานเลขาธิการคุรุสภามิได้มีการ ดำเนินงานเพื่อหารายได้มาแบ่งปันกันระหว่างพนักงานแสดง ว่าจำเลยไม่มีวัตถุประสงค์ในการแสวงหากำไรทางเศรษฐกิจจำเลยหาต้องอยู่ในบังคับของกฎหมายคุ้มครองแรงงานไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2490/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ในการชี้ขาดข้อพิพาทเรื่องค่าจ้างและสวัสดิการลูกจ้างภายใต้ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 103
ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 103 เป็นกฎหมายพิเศษได้แสดงเจตนารมณ์ไว้ในเบื้องต้นว่า เพื่อให้การใช้แรงงานเป็นไปโดยเหมาะสมและแก้ไขข้อขัดแย้งระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างให้เป็นไปโดยวิธีปรองดองและเป็นธรรมข้อ 4(4) ให้มีคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์เพื่อทำหน้าที่ชี้ขาดข้อพิพาทแรงงานและวินิจฉัยชี้ขาดการกระทำซึ่งกระทรวงมหาดไทยจะได้กำหนดว่าเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรม และตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการแรงงานสัมพันธ์ฯ "ข้อพิพาทแรงงาน" หมายความว่าข้อขัดแย้งระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างเกี่ยวกับสภาพการจ้าง"สภาพการจ้าง" หมายความว่า เงื่อนไขการจ้างหรือการทำงานกำหนดวันและเวลาทำงาน ค่าจ้าง สวัสดิการ การเลิกจ้าง หรือประโยชน์อื่นของนายจ้างหรือลูกจ้างอันเกี่ยวกับการจ้างหรือการทำงาน ดังนั้น เมื่อลูกจ้างขอขึ้นเงินเดือนร้อยละ 10 โจทก์ซึ่งเป็นนายจ้างขอขึ้นให้ร้อยละ 7 จึงมีข้อพิพาทแรงงานเกิดขึ้นซึ่งคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ย่อมมีอำนาจชี้ขาดได้
แม้ตามสัญญาจ้างแรงงานระหว่างโจทก์กับลูกจ้างมิได้มีข้อสัญญาไว้ว่าโจทก์จะต้องขึ้นเงินเดือนให้แก่ลูกจ้างทุกระยะเท่าใดและอัตราเท่าใด ก็มิได้หมายความว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงค่าจ้างไม่ได้ ทั้งตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการแรงงานสัมพันธ์ฯข้อ 4 มีความว่า เมื่อนายจ้างลูกจ้างประสงค์จะให้แก้ไขเพิ่มเติมสภาพการจ้างก็ให้แจ้งแก่อีกฝ่ายหนึ่ง แสดงว่าสภาพการจ้างย่อมเปลี่ยนแปลงได้ ทั้งการที่โจทก์เสนอขอขึ้นค่าจ้างให้ร้อยละ 7 ก็แสดงว่าโจทก์พร้อมที่จะเปลี่ยนสภาพการจ้างเหมือนกัน การที่จำเลยซึ่งเป็นคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ชี้ขาดและสั่งให้โจทก์ขึ้นเงินเดือนลูกจ้างเพิ่มขึ้นจากที่โจทก์เสนออีกร้อยละ 1 เป็นร้อยละ 8 จึงหาเป็นการฝ่าฝืนกฎหมายไม่
การจัดหาบ้านพักให้ลูกจ้าง หรือจ่ายเงินค่าเช่าบ้านให้ลูกจ้าง ถือได้ว่าเป็นสวัสดิการหรือประโยชน์อื่นของลูกจ้างอยู่ในความหมายของ "สภาพการจ้าง" เมื่อมีข้อพิพาทเกิดขึ้นย่อมถือว่าเป็นข้อพิพาทแรงงาน ซึ่งคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์มีอำนาจชี้ขาดได้ การที่จำเลยซึ่งเป็นคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ได้นำสัญญาเช่าโรงกลั่นน้ำมันระหว่างโจทก์กับกระทรวงกลาโหม และการจ่ายค่าเช่าบ้านของบริษัทกลั่นน้ำมันแห่งอื่นมาพิจารณาด้วย ก็เพื่อประกอบดุลพินิจในการชี้ขาดข้อพิพาทแรงงานเท่านั้น ไม่มีเหตุที่จะกล่าวได้ว่า คำชี้ขาดของจำเลยไม่ชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2053/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องกรณีคำชี้ขาดของกรรมการแรงงานสัมพันธ์ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย ถือเป็นการโต้แย้งสิทธิและหน้าที่
โจทก์เป็นเจ้าของและผู้จัดการโรงเรียน ได้ถูกครูกล่าวหาว่าเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรม จำเลยทั้ง 8 ในฐานะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ได้ออกคำชี้ขาดว่าการกระทำของโจทก์เป็นการกระทำไม่เป็นธรรม ให้โจทก์รับครูผู้กล่าวหาเข้าทำงานตามเดิมและจ่ายเงินให้ผู้กล่าวหาอีกจำนวนหนึ่ง โดยให้โจทก์ปฏิบัติภายใน 15 วันนั้น คำชี้ขาดดังกล่าวได้ออกโดยอาศัยอำนาจตามข้อ 75 แห่งประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการแรงงานสัมพันธ์ลงวันที่ 16 เมษายน 2515 คำชี้ขาดตามประกาศดังกล่าว ข้อ 17,18 ให้บังคับได้เป็นเวลา 1 ปี หาใช่เป็นเพียงคำเตือนของพนักงานตรวจแรงงานหรือพนักงานเงินทดแทนไม่ ถือได้ว่าจำเลยได้โต้แย้งสิทธิและหน้าที่ของโจทก์แล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง