พบผลลัพธ์ทั้งหมด 15 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5967/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคำนวณเงินบำนาญ: เริ่มนับอายุงานเมื่อเป็นพนักงานประจำ แม้เคยเป็นลูกจ้างชั่วคราวก่อนหน้า
เมื่อข้อบังคับว่าด้วยกองทุนสงเคราะห์พนักงานและคนงานของจำเลยกำหนดให้จ่ายเงินบำนาญตามอายุการทำงานเฉพาะแก่พนักงานและลูกจ้างประจำซึ่งพ้นจากงานเพราะเกษียณอายุ ก็ต้องเริ่มนับอายุการทำงานของโจทก์ในการคำนวณเงินบำนาญตั้งแต่วันที่โจทก์ได้รับแต่งตั้งเป็นพนักงานของจำเลยเป็นต้นไปแม้โจทก์เป็นลูกจ้างชั่วคราวก่อนได้รับแต่งตั้งเป็นพนักงานของจำเลยเป็นเวลา 10 ปีเศษก็ตาม โจทก์ก็ไม่อาจอ้างได้ว่าในช่วงเวลาที่เป็นลูกจ้างชั่วคราว โจทก์มีสิทธิเช่นเดียวกับลูกจ้างประจำตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานเพราะทำงานติดต่อกันเกิน 120 วัน เพื่อให้นับอายุการทำงานในการคำนวณเงินบำนาญตั้งแต่วันที่โจทก์เริ่มเป็นลูกจ้างชั่วคราว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3331-3340/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลักษณะการจ้างงานรายวันไม่ต่อเนื่อง ไม่เข้าข่ายลูกจ้างมีสิทธิได้รับค่าชดเชย
การวินิจฉัยว่าลูกจ้างมีสิทธิได้รับค่าชดเชยตามกฎหมายหรือ ไม่ จะต้องพิจารณาถึงเงื่อนไขการจ้างหรือข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างด้วยว่า ลูกจ้างและนายจ้างประสงค์จะ ให้การจ้างมีผลผูกพันเพียงใดและต้องเป็น ลูกจ้างของ นายจ้างคราวเดียวติดต่อกันตลอดระยะเวลาที่ทำงาน โจทก์ เป็น ลูกจ้างจำเลยมีหน้าที่ทำความสะอาดสถานีและขบวนรถของจำเลยโดยได้รับค่าจ้างเป็นรายรับเฉพาะวันที่มาทำงานโจทก์มีสิทธิมาทำงาน วันใดก็ได้ หรือไม่มาทำงานวันใดก็ได้โดย ไม่ต้องบอกกล่าวหรือลางาน และโจทก์ไม่อยู่ภายใต้ระเบียบ ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลย ดังนี้ การจ้าง ดังกล่าวแสดงว่าโจทก์จำเลยมีความประสงค์จะทำ สัญญาจ้างกัน คราวละ1 วันโดยจะเกิดสัญญาจ้างขึ้นในแต่ละวัน ที่โจทก์มาทำงานและสัญญาจ้างเป็นอันระงับไปเมื่อหมดเวลาทำงานของวันนั้นๆวันทำงานแต่ละวันของโจทก์จึงไม่ติดต่อกันจะถือว่า โจทก์เป็นลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันตามที่กำหนด ไว้ใน ประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ 46 หรือข้อ 75 ไม่ได้ โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับ ค่าชดเชย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1615/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงื่อนไขการจ่ายบำเหน็จ: เริ่มนับระยะเวลาทำงานเมื่อบรรจุเป็นพนักงานประจำ และเป็นดุลพินิจนายจ้าง
ข้อบังคับของธนาคารนายจ้างกำหนดเงื่อนไขในการจ่ายบำเหน็จว่าลูกจ้างต้องมีระยะเวลาทำงานตั้งแต่ห้าปีขึ้นไประยะเวลาทำงานนับตั้งแต่วันบรรจุลูกจ้างเข้าทำงานประจำในธนาคาร ดังนี้ ลูกจ้างจะมีสิทธิรับบำเหน็จต้องนับ ระยะเวลาตั้งแต่วันที่ลูกจ้างได้รับการบรรจุและแต่งตั้งเป็น พนักงานธนาคารของนายจ้าง ไม่ใช่นับแต่วันที่ลูกจ้างได้รับการบรรจุเป็นลูกจ้างชั่วคราว และเงินบำเหน็จนี้เป็นเงินที่ นายจ้างสมัครใจจ่ายแก่ลูกจ้าง ไม่ใช่เงินที่กฎหมายกำหนดให้นายจ้างต้องจ่าย นายจ้างจะวางเงื่อนไขและวิธีการอย่างไร ย่อมสุดแล้วแต่ดุลพินิจของนายจ้าง ข้อบังคับของจำเลย จึงหาขัดต่อกฎหมายหรือความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1569/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเงินบำเหน็จ: ข้อบังคับนายจ้างกำหนดเฉพาะพนักงานประจำ ลูกจ้างชั่วคราวไม่มีสิทธิ
สิทธิที่จะได้รับเงินบำเหน็จเป็นสิทธิที่กำหนดขึ้นโดยข้อบังคับของนายจ้าง นายจ้างมีสิทธิที่จะกำหนดเพื่อให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของนายจ้างได้ จำเลยผู้เป็นนายจ้างกำหนดไว้ว่าพนักงานของจำเลยเท่านั้นที่มีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จแม้โจทก์จะเป็นลูกจ้างชั่วคราวซึ่งทำงานติดต่อกันมาเกินกว่า 120 วัน มีสิทธิเช่นเดียวกับลูกจ้างประจำก็หมายถึงสิทธิที่ลูกจ้างประจำมีอยู่ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงานฯ เท่านั้น เมื่อโจทก์มิได้เป็นพนักงานของจำเลย โจทก์ก็ไม่มีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3125/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจ้างเหมาขนถ่ายสินค้า: ข้อพิพาทเรื่องสถานะลูกจ้างและการคุ้มครองตามประกาศกระทรวงมหาดไทย
ความที่ว่าโจทก์ไม่ได้เป็นลูกจ้างของจำเลยนี้เป็นข้อเท็จจริงเกี่ยวกับอำนาจฟ้องเรียกค่าชดเชย เมื่อปรากฏขึ้นจากการที่คู่ความแถลงรับกันในขณะที่ศาลสอบถามถึงความสัมพันธ์ระหว่างโจทก์กับจำเลยเช่นนี้ ศาลแรงงานกลางย่อมมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง แม้จำเลยจะมิได้ให้การไปถึงว่าโจทก์ไม่ใช่ลูกจ้างจำเลยก็ตาม
จำเลยจ้างเหมาให้โจทก์ที่ 1 หาคนงานมาทำการขนถ่ายสินค้าจากเรือเดินทะเลเป็นลำ ๆ ไป โจทก์ที่ 2 ถึงที่11 เป็นคนงานของโจทก์ที่ 1 ในเดือนหนึ่ง ๆ โจทก์จะได้งานขนถ่ายสินค้า 1 ถึง 3 ลำ ลำหนึ่ง ๆ ต้องใช้เวลาขนถ่ายอย่างมาก 7 วัน จำเลยจ่ายค่าจ้างให้ตามน้ำหนักของสินค้า โจทก์ที่ 1 เป็นผู้รับเงินก้อนไปจ่ายให้แก่โจทก์อื่น ๆ ดังนี้จำเลยเป็นนายจ้างของโจทก์ที่1 ในลักษณะของการจ้างทำของ
เมื่อไม่ปรากฏข้อเท็จจริงจากที่ใดว่าโจทก์ได้ทำงานให้จำเลยเกินกว่า 120 วันติดต่อกัน คงได้ความแต่เพียงว่า โจทก์ทำงานขนถ่ายสินค้าจากเรือเดินทะเลให้จำเลยเดือนละ 1 ลำ อย่างมาก 3 ลำ ลำหนึ่ง ๆ ใช้เวลาอย่างมาก 7 วันเท่านั้น จึงไม่อาจถือได้ว่าโจทก์มีสิทธิเช่นเดียวกับลูกจ้างประจำตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงานฯ ข้อ 75
จำเลยจ้างเหมาให้โจทก์ที่ 1 หาคนงานมาทำการขนถ่ายสินค้าจากเรือเดินทะเลเป็นลำ ๆ ไป โจทก์ที่ 2 ถึงที่11 เป็นคนงานของโจทก์ที่ 1 ในเดือนหนึ่ง ๆ โจทก์จะได้งานขนถ่ายสินค้า 1 ถึง 3 ลำ ลำหนึ่ง ๆ ต้องใช้เวลาขนถ่ายอย่างมาก 7 วัน จำเลยจ่ายค่าจ้างให้ตามน้ำหนักของสินค้า โจทก์ที่ 1 เป็นผู้รับเงินก้อนไปจ่ายให้แก่โจทก์อื่น ๆ ดังนี้จำเลยเป็นนายจ้างของโจทก์ที่1 ในลักษณะของการจ้างทำของ
เมื่อไม่ปรากฏข้อเท็จจริงจากที่ใดว่าโจทก์ได้ทำงานให้จำเลยเกินกว่า 120 วันติดต่อกัน คงได้ความแต่เพียงว่า โจทก์ทำงานขนถ่ายสินค้าจากเรือเดินทะเลให้จำเลยเดือนละ 1 ลำ อย่างมาก 3 ลำ ลำหนึ่ง ๆ ใช้เวลาอย่างมาก 7 วันเท่านั้น จึงไม่อาจถือได้ว่าโจทก์มีสิทธิเช่นเดียวกับลูกจ้างประจำตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงานฯ ข้อ 75
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2053/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องกรณีคำชี้ขาดของกรรมการแรงงานสัมพันธ์ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย ถือเป็นการโต้แย้งสิทธิและหน้าที่
โจทก์เป็นเจ้าของและผู้จัดการโรงเรียน ได้ถูกครูกล่าวหาว่าเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรม จำเลยทั้ง 8 ในฐานะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ได้ออกคำชี้ขาดว่าการกระทำของโจทก์เป็นการกระทำไม่เป็นธรรม ให้โจทก์รับครูผู้กล่าวหาเข้าทำงานตามเดิมและจ่ายเงินให้ผู้กล่าวหาอีกจำนวนหนึ่ง โดยให้โจทก์ปฏิบัติภายใน 15 วันนั้น คำชี้ขาดดังกล่าวได้ออกโดยอาศัยอำนาจตามข้อ 75 แห่งประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการแรงงานสัมพันธ์ลงวันที่ 16 เมษายน 2515 คำชี้ขาดตามประกาศดังกล่าว ข้อ 17,18 ให้บังคับได้เป็นเวลา 1 ปี หาใช่เป็นเพียงคำเตือนของพนักงานตรวจแรงงานหรือพนักงานเงินทดแทนไม่ ถือได้ว่าจำเลยได้โต้แย้งสิทธิและหน้าที่ของโจทก์แล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง