พบผลลัพธ์ทั้งหมด 59 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5873/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาษีอากร: การประเมินราคาที่ดิน, รายได้จากการขายหุ้น, และการหลีกเลี่ยงภาษี
ในวันนัดสืบพยานจำเลย โจทก์ขอเลื่อนคดีมาแล้วครั้งหนึ่งอ้างว่าทนายความคนก่อนขอถอนตัวยังไม่ได้แต่งตั้งทนายความคนใหม่ จำเลยแถลงคัดค้านว่าได้เตรียมพยานมาพร้อมแล้วไม่ควรให้เลื่อน ศาลภาษีอากรกลางให้เลื่อนสืบพยานจำเลยไปวันที่ 6 พฤศจิกายน 2541 ครั้นถึงวันนัด โจทก์ขอเลื่อนคดีอีก อ้างว่าโจทก์เพิ่งแต่งตั้งทนายความคนใหม่แทนทนายความคนก่อนที่ถอนตัว คดีมีเอกสารมาก ทนายความคนใหม่ไม่สามารถซักค้านพยานจำเลยได้ พฤติการณ์ดังกล่าวแสดงว่าโจทก์มีเจตนาหน่วงเหนี่ยวให้คดีชักช้าโดยปราศจากเหตุอันสมควร ทั้ง ๆ ที่ศาลภาษีอากรกลางได้ให้โอกาสโจทก์เลื่อนคดีมาครั้งหนึ่งแล้ว แม้โจทก์จะแต่งตั้งทนายความใหม่ก็ชอบที่ทนายความคนใหม่เตรียมคดีให้พร้อมก่อนวันนัด หาใช่นำเอาเหตุแห่งการแต่งตั้งทนายความคนใหม่มาเป็นข้ออ้างเพื่อไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลภาษีอากรกลาง พฤติการณ์ของโจทก์ จึงเป็นการประวิงคดี ทั้งคดีได้ความว่าทนายความคนใหม่ก็ได้ซักค้านพยานจำเลยทุกปากที่สืบไปครบถ้วนแล้ว ที่ศาลภาษีอากรกลางไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีต่อไปอีกจึงชอบแล้วตาม ป.วิ.พ.และตารางหนึ่งท้าย ป.วิ.พ.หาได้มีบทบังคับว่าในคำฟ้องฉบับเดียวกันนั้นต้องเสียค่าขึ้นศาลเพียง 200,000 บาท เท่านั้นไม่ แม้ว่ามีข้อหาหลายข้อหาด้วยกัน ดังนั้น ในการพิจารณาว่าคดีใด จะต้องเสียค่าขึ้นศาลเท่าใด จำต้องพิจารณาคำฟ้องเป็นเกณฑ์
คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนการประเมินที่ให้โจทก์ชำระภาษีการค้า ภาษีเงินได้นิติบุคคล และภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่าย พร้อมเบี้ยปรับและเงินเพิ่ม ส่วนจำเลยอุทธรณ์ขอให้โจทก์ชำระภาษีการค้าและภาษีเงินได้นิติบุคคลพร้อมเบี้ยปรับและเงินเพิ่มตามคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ซึ่งเป็นภาษีคนละประเภทและแต่ละประเภทมีจำนวนเงินแยกต่างหากออกจากกันได้จึงเป็นคำฟ้องและฟ้องอุทธรณ์หลายข้อหาซึ่งแต่ละข้อหาสามารถคิดคำนวณจำนวนเงินที่ขอให้เพิกถอนการประเมินแยกต่างหากออกจากกันได้ การที่โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนการประเมินภาษี และจำเลยอุทธรณ์ขอให้โจทก์ชำระภาษีดังกล่าวรวมกันมาจำนวนเดียวและเสียค่าขึ้นศาลในอัตราสูงสุดครั้งเดียว โดยมิได้แยกทุนทรัพย์แต่ละข้อหาเป็นการหลีกเลี่ยงค่าขึ้นศาล โจทก์จึงต้องเสียค่าขึ้นศาลตามฟ้องและจำเลยต้องเสียค่าขึ้นศาลตามฟ้อง อุทธรณ์ทุกข้อหาแยกต่างหากจากกัน
โจทก์ซื้อที่ดินจำนวน 66 โฉนด รวมเนื้องที่ 1128 ตารางวาและซื้อที่ดินอีกส่วนหนึ่งของโฉนดเลขที่ 1051 เนื้อที่ 189 ตารางวาจากบริษัท ส.แล้วเข้าครอบครองที่ดินดังกล่าวเป็นเวลานานถึง 9 ปี และลงทุนเป็นจำนวนเงินกว่า51,000,000 บาท ก่อสร้างอาคารประกอบกิจการศูนย์อาหาร และต่อมาประสงค์จะขายต่อเอากำไร ส่อแสดงให้เห็นว่าโจทก์ซื้อที่ดินมาแล้วขายไปโดยมุ่งในทางการค้าหรือหากำไร โจทก์จึงเป็นผู้ประกอบการค้าต้องเสียภาษีการค้าจากการขายที่ดินดังกล่าวตามประมวลรัษฎากร มาตรา 77 และ 78 ประกอบด้วยบัญชีอัตราภาษีการค้า ประเภทการค้า 11 การค้าอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น เพราะการซื้อที่ดินมาเพื่อจะขายหากำไร แม้จะกระทำเพียงครั้งเดียวก็ถือได้ว่าเป็นการขายโดยมุ่งในทางการค้าหรือหากำไรแล้ว
โจทก์ขายที่ดินตามฟ้องไปในทางการค้าหรือหากำไร โจทก์จึงมีหน้าที่เสียภาษีการค้าจากรายรับดังกล่าวตามที่ประมวลรัษฎากร มาตรา 78 วรรคหนึ่งบัญญัติไว้ แต่โจทก์ยื่นแบบแสดงรายการการค้า โดยมิได้นำรายได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ไปรวมคำนวณเสียภาษีการค้าด้วย ทั้ง ๆ ที่โจทก์เองก็รู้ดีว่า โจทก์ขายที่ดินไปในทางการค้าหรือหากำไร แสดงให้เห็นว่าโจทก์ยื่นแบบแสดงรายการการค้าเท็จโดยมีเจตนาหลีกเลี่ยงการเสียภาษีการค้า แม้คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เห็นว่า สาเหตุที่โจทก์ไม่ยื่นชำระภาษีการค้าเนื่องจากไม่เข้าใจข้อกฎหมายดีพอเชื่อได้ว่าไม่มีเจตนาหลีกเลี่ยงภาษีอากร และได้ให้ความร่วมมือในชั้นตรวจสอบด้วยดีจึงมีเหตุอันควรผ่อนผันลดเบี้ยปรับภาษีการค้าลงคงเหลือเรียกเก็บเพียงร้อยละ 50ของเบี้ยปรับตามกฎหมายก็ดี ก็เป็นความเห็นของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ หามีผลผูกพันให้ศาลต้องถือตามไม่ เจ้าพนักงานประเมินจึงมีอำนาจประเมินภาษีการค้าของโจทก์ได้ภายในกำหนด 10 ปี นับแต่วันสุดท้ายแห่งกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการการค้าตามที่บัญญัติไว้ในประมวลรัษฎากร มาตรา 88 ทวิ (2)
การประเมินภาษีการค้าเจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจกำหนดราคาทรัพย์สินตามราคาตลาดในวันโอน เมื่อการโอนนั้นมีค่าตอบแทนต่ำกว่าราคาตลาดโดยไม่มีเหตุผลอันสมควรตามประมวลรัษฎากร มาตรา 87 ทวิ (6) สำหรับค่าตอบแทนการโอนที่ดินที่โจทก์อ้างว่าเท่ากับราคาตารางวาละ 25,000 บาท นั้นเป็นการคิดคำนวณจากราคาที่ดินที่โจทก์ซื้อจากบริษัท ส.บวกด้วยดอกเบี้ยอัตราร้อยละ12 ต่อปี นับแต่วันที่บริษัท ส.ได้รับเงินไป ค่าตอบแทนดังกล่าวจึงไม่ใช่ราคาตลาดของที่ดิน และเป็นการขายทรัพย์สินในราคาต่ำกว่าราคาตลาดโดยไม่มีเหตุอันสมควรแต่ที่เจ้าพนักงานประเมินได้กำหนดราคาที่ดินตารางวาละ 160,000 บาท โดยเทียบเคียงกับราคาที่ดินซึ่งมีทำเลที่แตกต่างจากที่ดินตามฟ้องเป็นอย่างมาก และนำเอาจำนวนมูลค่าการลงทุนในศูนย์อาหารของโจทก์ ซึ่งต่อมาได้มีการรื้อถอนทิ้งรวมเข้าไปในการคำนวณด้วย ก็เป็นการไม่ถูกต้องเพราะไม่ใช่ราคาตลาด
การโอนหุ้นจะใช้ยันบุคคลภายนอกไม่ได้ จนกว่าจะได้จดแจ้งการโอนทั้งชื่อและสำนักของผู้รับโอนลงในทะเบียนผู้ถือหุ้นตาม ป.พ.พ.มาตรา 1129วรรคสาม เมื่อโจทก์ขายหุ้นแล้วมิได้จดแจ้งการโอนต่อนายทะเบียนผู้ถือหุ้นของบริษัทปูนซิเมนต์นครหลวง จำกัด ในทะเบียนผู้ถือหุ้นจึงยังคงปรากฏชื่อโจทก์เป็นผู้ถือหุ้นอยู่โจทก์จึงไม่อาจอ้างเหตุว่าได้มีการโอนหุ้นไปแล้ว เพื่อใช้ยันจำเลยซึ่งเป็นบุคคลภายนอกได้ โจทก์จึงต้องนำเงินปันผลจากหุ้นของบริษัทปูนซิเมนต์นครหลวง จำกัด มาคำนวณเป็นรายได้เพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล
คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนการประเมินที่ให้โจทก์ชำระภาษีการค้า ภาษีเงินได้นิติบุคคล และภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่าย พร้อมเบี้ยปรับและเงินเพิ่ม ส่วนจำเลยอุทธรณ์ขอให้โจทก์ชำระภาษีการค้าและภาษีเงินได้นิติบุคคลพร้อมเบี้ยปรับและเงินเพิ่มตามคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ซึ่งเป็นภาษีคนละประเภทและแต่ละประเภทมีจำนวนเงินแยกต่างหากออกจากกันได้จึงเป็นคำฟ้องและฟ้องอุทธรณ์หลายข้อหาซึ่งแต่ละข้อหาสามารถคิดคำนวณจำนวนเงินที่ขอให้เพิกถอนการประเมินแยกต่างหากออกจากกันได้ การที่โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนการประเมินภาษี และจำเลยอุทธรณ์ขอให้โจทก์ชำระภาษีดังกล่าวรวมกันมาจำนวนเดียวและเสียค่าขึ้นศาลในอัตราสูงสุดครั้งเดียว โดยมิได้แยกทุนทรัพย์แต่ละข้อหาเป็นการหลีกเลี่ยงค่าขึ้นศาล โจทก์จึงต้องเสียค่าขึ้นศาลตามฟ้องและจำเลยต้องเสียค่าขึ้นศาลตามฟ้อง อุทธรณ์ทุกข้อหาแยกต่างหากจากกัน
โจทก์ซื้อที่ดินจำนวน 66 โฉนด รวมเนื้องที่ 1128 ตารางวาและซื้อที่ดินอีกส่วนหนึ่งของโฉนดเลขที่ 1051 เนื้อที่ 189 ตารางวาจากบริษัท ส.แล้วเข้าครอบครองที่ดินดังกล่าวเป็นเวลานานถึง 9 ปี และลงทุนเป็นจำนวนเงินกว่า51,000,000 บาท ก่อสร้างอาคารประกอบกิจการศูนย์อาหาร และต่อมาประสงค์จะขายต่อเอากำไร ส่อแสดงให้เห็นว่าโจทก์ซื้อที่ดินมาแล้วขายไปโดยมุ่งในทางการค้าหรือหากำไร โจทก์จึงเป็นผู้ประกอบการค้าต้องเสียภาษีการค้าจากการขายที่ดินดังกล่าวตามประมวลรัษฎากร มาตรา 77 และ 78 ประกอบด้วยบัญชีอัตราภาษีการค้า ประเภทการค้า 11 การค้าอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น เพราะการซื้อที่ดินมาเพื่อจะขายหากำไร แม้จะกระทำเพียงครั้งเดียวก็ถือได้ว่าเป็นการขายโดยมุ่งในทางการค้าหรือหากำไรแล้ว
โจทก์ขายที่ดินตามฟ้องไปในทางการค้าหรือหากำไร โจทก์จึงมีหน้าที่เสียภาษีการค้าจากรายรับดังกล่าวตามที่ประมวลรัษฎากร มาตรา 78 วรรคหนึ่งบัญญัติไว้ แต่โจทก์ยื่นแบบแสดงรายการการค้า โดยมิได้นำรายได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ไปรวมคำนวณเสียภาษีการค้าด้วย ทั้ง ๆ ที่โจทก์เองก็รู้ดีว่า โจทก์ขายที่ดินไปในทางการค้าหรือหากำไร แสดงให้เห็นว่าโจทก์ยื่นแบบแสดงรายการการค้าเท็จโดยมีเจตนาหลีกเลี่ยงการเสียภาษีการค้า แม้คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เห็นว่า สาเหตุที่โจทก์ไม่ยื่นชำระภาษีการค้าเนื่องจากไม่เข้าใจข้อกฎหมายดีพอเชื่อได้ว่าไม่มีเจตนาหลีกเลี่ยงภาษีอากร และได้ให้ความร่วมมือในชั้นตรวจสอบด้วยดีจึงมีเหตุอันควรผ่อนผันลดเบี้ยปรับภาษีการค้าลงคงเหลือเรียกเก็บเพียงร้อยละ 50ของเบี้ยปรับตามกฎหมายก็ดี ก็เป็นความเห็นของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ หามีผลผูกพันให้ศาลต้องถือตามไม่ เจ้าพนักงานประเมินจึงมีอำนาจประเมินภาษีการค้าของโจทก์ได้ภายในกำหนด 10 ปี นับแต่วันสุดท้ายแห่งกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการการค้าตามที่บัญญัติไว้ในประมวลรัษฎากร มาตรา 88 ทวิ (2)
การประเมินภาษีการค้าเจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจกำหนดราคาทรัพย์สินตามราคาตลาดในวันโอน เมื่อการโอนนั้นมีค่าตอบแทนต่ำกว่าราคาตลาดโดยไม่มีเหตุผลอันสมควรตามประมวลรัษฎากร มาตรา 87 ทวิ (6) สำหรับค่าตอบแทนการโอนที่ดินที่โจทก์อ้างว่าเท่ากับราคาตารางวาละ 25,000 บาท นั้นเป็นการคิดคำนวณจากราคาที่ดินที่โจทก์ซื้อจากบริษัท ส.บวกด้วยดอกเบี้ยอัตราร้อยละ12 ต่อปี นับแต่วันที่บริษัท ส.ได้รับเงินไป ค่าตอบแทนดังกล่าวจึงไม่ใช่ราคาตลาดของที่ดิน และเป็นการขายทรัพย์สินในราคาต่ำกว่าราคาตลาดโดยไม่มีเหตุอันสมควรแต่ที่เจ้าพนักงานประเมินได้กำหนดราคาที่ดินตารางวาละ 160,000 บาท โดยเทียบเคียงกับราคาที่ดินซึ่งมีทำเลที่แตกต่างจากที่ดินตามฟ้องเป็นอย่างมาก และนำเอาจำนวนมูลค่าการลงทุนในศูนย์อาหารของโจทก์ ซึ่งต่อมาได้มีการรื้อถอนทิ้งรวมเข้าไปในการคำนวณด้วย ก็เป็นการไม่ถูกต้องเพราะไม่ใช่ราคาตลาด
การโอนหุ้นจะใช้ยันบุคคลภายนอกไม่ได้ จนกว่าจะได้จดแจ้งการโอนทั้งชื่อและสำนักของผู้รับโอนลงในทะเบียนผู้ถือหุ้นตาม ป.พ.พ.มาตรา 1129วรรคสาม เมื่อโจทก์ขายหุ้นแล้วมิได้จดแจ้งการโอนต่อนายทะเบียนผู้ถือหุ้นของบริษัทปูนซิเมนต์นครหลวง จำกัด ในทะเบียนผู้ถือหุ้นจึงยังคงปรากฏชื่อโจทก์เป็นผู้ถือหุ้นอยู่โจทก์จึงไม่อาจอ้างเหตุว่าได้มีการโอนหุ้นไปแล้ว เพื่อใช้ยันจำเลยซึ่งเป็นบุคคลภายนอกได้ โจทก์จึงต้องนำเงินปันผลจากหุ้นของบริษัทปูนซิเมนต์นครหลวง จำกัด มาคำนวณเป็นรายได้เพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1463/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคำนวณรายได้จากสัญญาจะซื้อจะขาย, การขายเครื่องเรือนพร้อมอาคารชุด และรายได้จากสัญญาสิทธิเก็บกิน กรณีภาษีอากร
++ เรื่อง ภาษีอากร ++
++
++ ทดสอบการทำงานในระบบ CW เพื่อค้นหาข้อมูลทาง online ++
++ ย่อข้อกฎหมายอย่างไม่เป็นทางการ ++
++ ขอชุดตรวจได้ที่งานย่อข้อกฎหมายระบบ CW โถงกลางชั้น 3 ++
++
++
ตามสัญญาจะซื้อจะขายที่โจทก์ทำไว้กับผู้จะซื้อมีข้อตกลงให้ผู้จะซื้อจะต้องชำระราคาเป็นงวด ข้อตกลงดังกล่าวเป็นเรื่องของการกำหนดราคาค่าห้องชุดว่ามีราคาเท่าใดและจะชำระราคาห้องชุดกันอย่างไร ซึ่งเงินที่ผู้จะซื้อชำระให้แก่โจทก์ในฐานะผู้จะขายนั้นไม่ว่าจะเป็นเงินที่ชำระในวันทำสัญญาเป็นรายงวดหรือวันโอนกรรมสิทธิ์ก็ตาม เงินจำนวนดังกล่าวก็เป็นส่วนหนึ่งของราคาห้องชุดตามที่ตกลงกันไว้แต่แรก หาใช่เป็นเงินมัดจำที่ผู้จะซื้อวางไว้ในการเข้าทำสัญญา เมื่อโจทก์ใช้ระบบบัญชีเกณฑ์สิทธิในการคำนวณกำไรสุทธิ โจทก์จึงมีหน้าที่ต้องนำค่าห้องชุดที่ผู้จะซื้อชำระให้แก่โจทก์ในฐานะผู้จะขายนั้น ไม่ว่าจะชำระในวันทำสัญญาหรือชำระเป็นรายงวดมารวมคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล เพราะเป็นรายได้ของโจทก์ที่เกิดขึ้นแล้วในรอบระยะเวลาบัญชีนั้นตาม ป.รัษฎากร มาตรา 65 วรรคสอง
โจทก์ปลูกสร้างอาคารชุด จำนวน 293 ห้อง ขณะเริ่มแรกจำหน่ายโจทก์จำหน่ายห้องชุดโดยไม่มีเครื่องเรือน แสดงว่าโจทก์ไม่มีเจตนาที่จะประกอบการค้าจำหน่ายห้องชุดพร้อมเครื่องเรือนมาแต่ต้นและเครื่องเรือนที่โจทก์นำมาติดตั้งนั้นเป็นการติดตั้งภายหลังและสามารถเคลื่อนย้ายหรือรื้อถอนได้ และหากผู้จะซื้อรายใดไม่ต้องการเครื่องเรือนชิ้นใด โจทก์จะแยกนำออกไปจากห้องชุด แสดงว่า โจทก์ไม่ได้บังคับผู้จะซื้อให้ต้องซื้อห้องชุดพร้อมกับเครื่องเรือน อีกทั้งในการทำสัญญาจะซื้อจะขาย โจทก์ก็ได้แยกราคาห้องชุดและราคาของเครื่องเรือนออกจากกันชัดแจ้งดังนั้น เครื่องเรือนตามฟ้องที่ขายไปพร้อมห้องชุดจึงมีลักษณะซื้อมาขายไปและมีสภาพแยกออกจากกันกับห้องชุด จึงถือไม่ได้ว่าการจำหน่ายเครื่องเรือนในลักษณะเช่นนั้นเป็นการขายอสังหาริมทรัพย์ด้วยโจทก์จึงไม่ต้องนำรายรับในการจำหน่ายเครื่องเรือนที่จำหน่ายพร้อมกับห้องชุดไปรวมคำนวณเสียภาษีการค้า
การที่โจทก์ให้ลูกค้าซึ่งเป็นชาวต่างประเทศได้ใช้สอยและใช้ประโยชน์ในห้องชุดตามสัญญาเป็นเพียงการมอบการครอบครองให้ใช้สอยและจัดการห้องชุดแก่ชาวต่างประเทศในฐานะที่โจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์เท่านั้น ประกอบกับชาวต่างประเทศไม่สามารถรับโอนกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์เพราะกฎหมายไม่อนุญาตให้ชาวต่างประเทศถือครองกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินดังกล่าว ดังนั้น กรรมสิทธิ์ในห้องชุดจึงไม่อาจเปลี่ยนโอนไปยังลูกค้าชาวต่างประเทศได้เช่นเดียวกับสัญญาขาย จะขายขายฝาก แลกเปลี่ยน หรือให้เช่าซื้อ ทั้งไม่อาจถือได้ว่าเป็นการจำหน่ายจ่ายโอนห้องชุดดังกล่าว เพราะกรรมสิทธิ์ในห้องชุดยังเป็นของโจทก์อยู่ สัญญาดังกล่าวจึงหาใช่เป็นการ "ขาย" ตามที่นิยามความหมายไว้ใน ป.รัษฎากร มาตรา 77 แม้โจทก์จะได้ค่าตอบแทนจากการให้ใช้สอยก็ตาม ค่าตอบแทนที่โจทก์ได้รับดังกล่าวจึงมิใช่รายรับจากการขายอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเสียภาษีการค้าประเภทการค้า 11
++
++ ทดสอบการทำงานในระบบ CW เพื่อค้นหาข้อมูลทาง online ++
++ ย่อข้อกฎหมายอย่างไม่เป็นทางการ ++
++ ขอชุดตรวจได้ที่งานย่อข้อกฎหมายระบบ CW โถงกลางชั้น 3 ++
++
++
ตามสัญญาจะซื้อจะขายที่โจทก์ทำไว้กับผู้จะซื้อมีข้อตกลงให้ผู้จะซื้อจะต้องชำระราคาเป็นงวด ข้อตกลงดังกล่าวเป็นเรื่องของการกำหนดราคาค่าห้องชุดว่ามีราคาเท่าใดและจะชำระราคาห้องชุดกันอย่างไร ซึ่งเงินที่ผู้จะซื้อชำระให้แก่โจทก์ในฐานะผู้จะขายนั้นไม่ว่าจะเป็นเงินที่ชำระในวันทำสัญญาเป็นรายงวดหรือวันโอนกรรมสิทธิ์ก็ตาม เงินจำนวนดังกล่าวก็เป็นส่วนหนึ่งของราคาห้องชุดตามที่ตกลงกันไว้แต่แรก หาใช่เป็นเงินมัดจำที่ผู้จะซื้อวางไว้ในการเข้าทำสัญญา เมื่อโจทก์ใช้ระบบบัญชีเกณฑ์สิทธิในการคำนวณกำไรสุทธิ โจทก์จึงมีหน้าที่ต้องนำค่าห้องชุดที่ผู้จะซื้อชำระให้แก่โจทก์ในฐานะผู้จะขายนั้น ไม่ว่าจะชำระในวันทำสัญญาหรือชำระเป็นรายงวดมารวมคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล เพราะเป็นรายได้ของโจทก์ที่เกิดขึ้นแล้วในรอบระยะเวลาบัญชีนั้นตาม ป.รัษฎากร มาตรา 65 วรรคสอง
โจทก์ปลูกสร้างอาคารชุด จำนวน 293 ห้อง ขณะเริ่มแรกจำหน่ายโจทก์จำหน่ายห้องชุดโดยไม่มีเครื่องเรือน แสดงว่าโจทก์ไม่มีเจตนาที่จะประกอบการค้าจำหน่ายห้องชุดพร้อมเครื่องเรือนมาแต่ต้นและเครื่องเรือนที่โจทก์นำมาติดตั้งนั้นเป็นการติดตั้งภายหลังและสามารถเคลื่อนย้ายหรือรื้อถอนได้ และหากผู้จะซื้อรายใดไม่ต้องการเครื่องเรือนชิ้นใด โจทก์จะแยกนำออกไปจากห้องชุด แสดงว่า โจทก์ไม่ได้บังคับผู้จะซื้อให้ต้องซื้อห้องชุดพร้อมกับเครื่องเรือน อีกทั้งในการทำสัญญาจะซื้อจะขาย โจทก์ก็ได้แยกราคาห้องชุดและราคาของเครื่องเรือนออกจากกันชัดแจ้งดังนั้น เครื่องเรือนตามฟ้องที่ขายไปพร้อมห้องชุดจึงมีลักษณะซื้อมาขายไปและมีสภาพแยกออกจากกันกับห้องชุด จึงถือไม่ได้ว่าการจำหน่ายเครื่องเรือนในลักษณะเช่นนั้นเป็นการขายอสังหาริมทรัพย์ด้วยโจทก์จึงไม่ต้องนำรายรับในการจำหน่ายเครื่องเรือนที่จำหน่ายพร้อมกับห้องชุดไปรวมคำนวณเสียภาษีการค้า
การที่โจทก์ให้ลูกค้าซึ่งเป็นชาวต่างประเทศได้ใช้สอยและใช้ประโยชน์ในห้องชุดตามสัญญาเป็นเพียงการมอบการครอบครองให้ใช้สอยและจัดการห้องชุดแก่ชาวต่างประเทศในฐานะที่โจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์เท่านั้น ประกอบกับชาวต่างประเทศไม่สามารถรับโอนกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์เพราะกฎหมายไม่อนุญาตให้ชาวต่างประเทศถือครองกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินดังกล่าว ดังนั้น กรรมสิทธิ์ในห้องชุดจึงไม่อาจเปลี่ยนโอนไปยังลูกค้าชาวต่างประเทศได้เช่นเดียวกับสัญญาขาย จะขายขายฝาก แลกเปลี่ยน หรือให้เช่าซื้อ ทั้งไม่อาจถือได้ว่าเป็นการจำหน่ายจ่ายโอนห้องชุดดังกล่าว เพราะกรรมสิทธิ์ในห้องชุดยังเป็นของโจทก์อยู่ สัญญาดังกล่าวจึงหาใช่เป็นการ "ขาย" ตามที่นิยามความหมายไว้ใน ป.รัษฎากร มาตรา 77 แม้โจทก์จะได้ค่าตอบแทนจากการให้ใช้สอยก็ตาม ค่าตอบแทนที่โจทก์ได้รับดังกล่าวจึงมิใช่รายรับจากการขายอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเสียภาษีการค้าประเภทการค้า 11
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 134/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทภาษี: การขายที่ดินที่ไม่เข้าข่ายเป็นการค้าหรือหากำไร และการตรวจสอบภาษีหลังพบการทุจริต
เดิมกรมสรรพากรจำเลยที่ 1 มีคำสั่งให้ยุติการตรวจสอบภาษีของโจทก์ในรอบระยะเวลาบัญชี ปี 2532 และปี 2533 เนื่องจากเอกสารหลักฐานต่าง ๆ ที่โจทก์ส่งมาให้ตรวจสอบภาษีถูกเพลิงไหม้จากเหตุการณ์จราจลเดือนพฤษภาคม 2535 ต่อมา โจทก์ยื่นคำร้องขอคืนภาษีอ้างว่า เงินภาษีอากรหัก ณ ที่จาย รอบระยะเวลาบัญชี ปี 2533 จำนวนเงิน 1,650,000 บาทเป็นเรื่องที่ผู้บริหารชุดเก่าของโจทก์ทุจริตสร้างหลักฐานเท็จขึ้น เจ้าพนักงานประเมินจึงได้ออกหมายเรียกตรวจสอบภาษีของโจทก์ในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2533 ใหม่ ดังนี้ การที่จำเลยที่ 1 มีคำสั่งยุติการตรวจสอบภาษีข้างต้นมิใช่เป็นข้อยืนยันว่าโจทก์เสียภาษีไว้ถูกต้องแต่อย่างใด เมื่อโจทก์ยื่นคำร้องขอคืนภาษีจึงจำเป็นที่จะต้องตรวจสอบว่า โจทก์เสียภาษีไว้ถูกต้องและมีกรณีต้องคืนภาษีให้แก่โจทก์ตามคำร้องหรือไม่ ดังที่บัญญัติไว้ใน ป.รัษฎากร มาตรา27 จัตวา เจ้าพนักงานประเมินจึงชอบที่จะออกหมายเรียกตรวจสอบภาษีโจทก์ใหม่ โดยตรวจสอบเอกสารหลักฐานเท่าที่มีอยู่และสอบบุคคลที่เกี่ยวข้องเพื่อประกอบการพิจารณาได้
เงินค่าภาษีอากรที่โจทก์ออกแทนลูกจ้างของโจทก์ถือเป็นเงินได้พึงประเมิน ซึ่งโจทก์ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตาม ป.รัษฎากร มาตรา 40
- 2 -มีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ไว้ทุกคราวที่จ่ายเงินได้ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 50การที่โจทก์ไม่นำเงินค่าภาษีที่ออกแทนมารวมคำนวณเป็นเงินได้พึงประเมินและหักภาษี ณ ที่จ่ายด้วย จึงไม่ถูกต้องตามกฎหมาย โจทก์ต้องรับผิดร่วมกับผู้มีเงินได้ในการเสียภาษีที่ต้องชำระตามจำนวนเงินภาษีที่ขาดไปตามมาตรา 54 แห่งป.รัษฎากร
เมื่อสิ้นรอบระยะเวลาบัญชี ปี 2533 โจทก์ได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ภ.ง.ด.50 ระบุผลกำไรจากการขายที่ดินเป็นรายได้ของโจทก์ ทั้งยังแสดงค่าใช้จ่ายจากการขายที่ดินดังกล่าวหักออกจากราคาที่ดินไว้อีกด้วย ซึ่งโจทก์ขายที่ดินรายนี้ตั้งแต่วันที่ 8มิถุนายน 2533 ก่อนที่โจทก์จัดทำประมาณการกำไรสุทธิ ซึ่งโจทก์ต้องยื่นรายการภายในสองเดือน นับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาหกเดือนนับแต่วันแรกของรอบระยะเวลาบัญชี (คือวันที่ 1 มกราคม 2533) โดยโจทก์ได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ภ.ง.ด.51 เมื่อวันที่ 30สิงหาคม 2533 แสดงว่า โจทก์รู้อยู่แล้วว่ารายได้จากการขายที่ดินในคดีนี้ถือเป็นเงินได้ที่โจทก์ต้องนำไปคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษี ข้ออ้างของโจทก์ที่อ้างว่า โจทก์ขายที่ดินอันเป็นทรัพย์สินของโจทก์ซึ่งไม่ถือว่าเป็นรายได้ที่ได้จากการประกอบกิจการหรือเนื่องจากการประกอบของโจทก์ จึงไม่ได้นำรายได้ส่วนนี้ไปแสดงประมาณการกำไรสุทธิ จึงไม่มีเหตุอันสมควรในการยื่นประมาณการกำไรสุทธิสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2533 ขาดไปเกินร้อยละ 25 ของกำไรสุทธิตามมาตรา 67 ตรี แห่ง ป.รัษฎากร
เดิมโจทก์นำที่ดินในคดีนี้ให้บริษัท ซ.เช่ามีกำหนด 30 ปีคิดเป็นเงิน 30,000,000 บาท โดยทำหนังสือสัญญาเช่าเมื่อวันที่ 29 มิถุนายน2532 ต่อมาวันที่ 8 มิถุนายน 2533 โจทก์ขายที่ดินดังกล่าวให้แก่บริษัท ซ.ในราคา 326,720,000 บาท ซึ่งรวมค่าเช่าดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของราคาที่ดิน แต่โจทก์ถือค่าเช่าเป็นรายได้ในรอบระยะเวลาบัญชี ปี 2532 จำนวน1,000,000 บาท ส่วนรอบระยะเวลาบัญชี ปี 2533 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม2533 ถึงวันที่ 7 มิถุนายน 2533 คิดเป็นเงินค่าเช่า 432,876.71 บาทจึงคงเหลือค่าเช่าที่ถือเป็นส่วนหนึ่งของราคาที่ดินเป็นเงิน 28,567,123.29บาท ดังนั้น ราคาขายที่ดินคิดเป็นเงิน 325,287,123.29 บาท แต่โจทก์ลงบัญชีเป็นรายได้จำนวน 296,720,000 บาท รายได้จึงขาดไปจำนวน 28,567,123.29บาท ซึ่งตาม ป.รัษฎากร มาตรา 65 วรรคสอง โจทก์ต้องนำรายได้จากการขายที่ดินเป็นเงิน 325,287,123.29 บาท มารวมคำนวณเป็นรายได้ในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2533 ของโจทก์ การที่โจทก์นำรายได้จำนวน 28,567,123.29 บาทไปคำนวณเป็นรายได้ในรอบระยะเวลาบัญชี ปี 2534 จึงไม่ถูกต้องตามกฎหมายส่วนที่โจทก์อ้างว่าได้นำรายได้ดังกล่าวไปคำนวณเป็นรายได้ในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2534 และได้เสียภาษีในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2534 ไปแล้วนั้น หากเป็นจริงก็เป็นเรื่องที่โจทก์จะต้องไปยื่นคำร้องขอคืนภาษีตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ต่อไป กรณีหาใช่เป็นการเสียภาษีซ้ำซ้อนไม่
โจทก์ประกอบกิจการค้าขายข้าวทำโรงสีเป็นหลักและมีวัตถุ-ประสงค์ซื้อขาย แลกเปลี่ยน เช่าหรือให้เช่าซึ่งทรัพย์สินเพื่อประโยชน์ในกิจการที่กล่าวแล้ว (ยกเว้นที่ดินเพื่อหากำไร) ที่ดินที่โจทก์ขายในคดีนี้เป็นที่ดินซึ่งโจทก์ซื้อมาตั้งแต่ปี 2491 เพื่อใช้เป็นที่ตั้งโรงสีและโกดังเก็บข้าวของโจทก์ ต่อมาสภาพแวดล้อมไม่เหมาะที่จะดำเนินกิจการดังกล่าวต่อไป จึงทิ้งไว้มิได้ใช้ประโยชน์อย่างใด ครั้นวันที่ 29 มิถุนายน 2532 โจทก์นำที่ดินดังกล่าวให้บริษัท ซ.เช่ามีกำหนด 30 ปี คิดเป็นเงิน 30,000,000 บาท จากนั้น วันที่ 8 มิถุนายน 2533โจทก์จึงขายที่ดินแปลงนี้ให้แก่บริษัท ซ.คิดเป็นเงิน 325,287,123.29 บาท ดังนั้นเดิมโจทก์ซื้อที่ดินรายนี้เพื่อมีไว้ในการประกอบกิจการ แต่ภายหลังปล่อยทิ้งไว้มิได้ใช้ประโยชน์อย่างใด ต่อมาได้ขายที่ดินดังกล่าวหลังจากซื้อมานาน 42 ปีซึ่งราคาที่ขายก็เป็นไปตามมูลค่าสภาวะเศรษฐกิจในขณะนั้น และขายหมดทั้งแปลงรวม 6 โฉนด โดยไม่มีการพัฒนาปรับปรุงที่ดินก่อนขายคงขายตามสภาพที่ดินที่เป็นอยู่เมื่อคำนึงถึงลักษณะของการได้มา อีกทั้งระยะเวลาการถือครองและเหตุผลในการขายที่ดินรายนี้ของโจทก์ ย่อมประจักษ์ชัดว่าเป็นการขายทรัพย์สินเพราะไม่มีประโยชน์ที่จะยึดถือที่ดินไว้ในการประกอบกิจการอีกต่อไป การขายที่ดินรายนี้ของโจทก์จึงไม่เข้าลักษณะเป็นการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากำไรอันจะต้องเสียภาษีการค้าตามกฎหมายที่ใช้อยู่ในขณะเกิดเป็นข้อพิพาทคดีนี้ ทั้งกรณีจะนำบทบัญญัติในมาตรา 3 แห่ง พ.ร.ฎ.ออกตามความใน ป.รัษฎากร ว่าด้วยการขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นทางค้าหรือหากำไร (ฉบับที่ 244) พ.ศ.2534 ซึ่งตราขึ้นโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 91/2 (6) แห่ง ป.รัษฎากร มาใช้บังคับแก่คดีนี้หาได้ไม่ เพราะเป็นกฎหมายที่เพิ่งบังคับใช้เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2535อีกทั้งเป็นบทบัญญัติพิเศษกำหนดความหมายของการขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นทางค้าหรือหากำไรไว้ให้ชัดเจนในปัจจุบันโดยเฉพาะเท่านั้น กรณีไม่มีผลย้อนหลังไปใช้บังคับกับการขายที่ดินรายนี้ของโจทก์ซึ่งเสร็จเด็ดขาดตั้งแต่วันที่ 8 มิถุนายน2533 แล้ว โจทก์จึงไม่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะเช่นกัน
เงินค่าภาษีอากรที่โจทก์ออกแทนลูกจ้างของโจทก์ถือเป็นเงินได้พึงประเมิน ซึ่งโจทก์ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตาม ป.รัษฎากร มาตรา 40
- 2 -มีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ไว้ทุกคราวที่จ่ายเงินได้ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 50การที่โจทก์ไม่นำเงินค่าภาษีที่ออกแทนมารวมคำนวณเป็นเงินได้พึงประเมินและหักภาษี ณ ที่จ่ายด้วย จึงไม่ถูกต้องตามกฎหมาย โจทก์ต้องรับผิดร่วมกับผู้มีเงินได้ในการเสียภาษีที่ต้องชำระตามจำนวนเงินภาษีที่ขาดไปตามมาตรา 54 แห่งป.รัษฎากร
เมื่อสิ้นรอบระยะเวลาบัญชี ปี 2533 โจทก์ได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ภ.ง.ด.50 ระบุผลกำไรจากการขายที่ดินเป็นรายได้ของโจทก์ ทั้งยังแสดงค่าใช้จ่ายจากการขายที่ดินดังกล่าวหักออกจากราคาที่ดินไว้อีกด้วย ซึ่งโจทก์ขายที่ดินรายนี้ตั้งแต่วันที่ 8มิถุนายน 2533 ก่อนที่โจทก์จัดทำประมาณการกำไรสุทธิ ซึ่งโจทก์ต้องยื่นรายการภายในสองเดือน นับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาหกเดือนนับแต่วันแรกของรอบระยะเวลาบัญชี (คือวันที่ 1 มกราคม 2533) โดยโจทก์ได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ภ.ง.ด.51 เมื่อวันที่ 30สิงหาคม 2533 แสดงว่า โจทก์รู้อยู่แล้วว่ารายได้จากการขายที่ดินในคดีนี้ถือเป็นเงินได้ที่โจทก์ต้องนำไปคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษี ข้ออ้างของโจทก์ที่อ้างว่า โจทก์ขายที่ดินอันเป็นทรัพย์สินของโจทก์ซึ่งไม่ถือว่าเป็นรายได้ที่ได้จากการประกอบกิจการหรือเนื่องจากการประกอบของโจทก์ จึงไม่ได้นำรายได้ส่วนนี้ไปแสดงประมาณการกำไรสุทธิ จึงไม่มีเหตุอันสมควรในการยื่นประมาณการกำไรสุทธิสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2533 ขาดไปเกินร้อยละ 25 ของกำไรสุทธิตามมาตรา 67 ตรี แห่ง ป.รัษฎากร
เดิมโจทก์นำที่ดินในคดีนี้ให้บริษัท ซ.เช่ามีกำหนด 30 ปีคิดเป็นเงิน 30,000,000 บาท โดยทำหนังสือสัญญาเช่าเมื่อวันที่ 29 มิถุนายน2532 ต่อมาวันที่ 8 มิถุนายน 2533 โจทก์ขายที่ดินดังกล่าวให้แก่บริษัท ซ.ในราคา 326,720,000 บาท ซึ่งรวมค่าเช่าดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของราคาที่ดิน แต่โจทก์ถือค่าเช่าเป็นรายได้ในรอบระยะเวลาบัญชี ปี 2532 จำนวน1,000,000 บาท ส่วนรอบระยะเวลาบัญชี ปี 2533 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม2533 ถึงวันที่ 7 มิถุนายน 2533 คิดเป็นเงินค่าเช่า 432,876.71 บาทจึงคงเหลือค่าเช่าที่ถือเป็นส่วนหนึ่งของราคาที่ดินเป็นเงิน 28,567,123.29บาท ดังนั้น ราคาขายที่ดินคิดเป็นเงิน 325,287,123.29 บาท แต่โจทก์ลงบัญชีเป็นรายได้จำนวน 296,720,000 บาท รายได้จึงขาดไปจำนวน 28,567,123.29บาท ซึ่งตาม ป.รัษฎากร มาตรา 65 วรรคสอง โจทก์ต้องนำรายได้จากการขายที่ดินเป็นเงิน 325,287,123.29 บาท มารวมคำนวณเป็นรายได้ในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2533 ของโจทก์ การที่โจทก์นำรายได้จำนวน 28,567,123.29 บาทไปคำนวณเป็นรายได้ในรอบระยะเวลาบัญชี ปี 2534 จึงไม่ถูกต้องตามกฎหมายส่วนที่โจทก์อ้างว่าได้นำรายได้ดังกล่าวไปคำนวณเป็นรายได้ในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2534 และได้เสียภาษีในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2534 ไปแล้วนั้น หากเป็นจริงก็เป็นเรื่องที่โจทก์จะต้องไปยื่นคำร้องขอคืนภาษีตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ต่อไป กรณีหาใช่เป็นการเสียภาษีซ้ำซ้อนไม่
โจทก์ประกอบกิจการค้าขายข้าวทำโรงสีเป็นหลักและมีวัตถุ-ประสงค์ซื้อขาย แลกเปลี่ยน เช่าหรือให้เช่าซึ่งทรัพย์สินเพื่อประโยชน์ในกิจการที่กล่าวแล้ว (ยกเว้นที่ดินเพื่อหากำไร) ที่ดินที่โจทก์ขายในคดีนี้เป็นที่ดินซึ่งโจทก์ซื้อมาตั้งแต่ปี 2491 เพื่อใช้เป็นที่ตั้งโรงสีและโกดังเก็บข้าวของโจทก์ ต่อมาสภาพแวดล้อมไม่เหมาะที่จะดำเนินกิจการดังกล่าวต่อไป จึงทิ้งไว้มิได้ใช้ประโยชน์อย่างใด ครั้นวันที่ 29 มิถุนายน 2532 โจทก์นำที่ดินดังกล่าวให้บริษัท ซ.เช่ามีกำหนด 30 ปี คิดเป็นเงิน 30,000,000 บาท จากนั้น วันที่ 8 มิถุนายน 2533โจทก์จึงขายที่ดินแปลงนี้ให้แก่บริษัท ซ.คิดเป็นเงิน 325,287,123.29 บาท ดังนั้นเดิมโจทก์ซื้อที่ดินรายนี้เพื่อมีไว้ในการประกอบกิจการ แต่ภายหลังปล่อยทิ้งไว้มิได้ใช้ประโยชน์อย่างใด ต่อมาได้ขายที่ดินดังกล่าวหลังจากซื้อมานาน 42 ปีซึ่งราคาที่ขายก็เป็นไปตามมูลค่าสภาวะเศรษฐกิจในขณะนั้น และขายหมดทั้งแปลงรวม 6 โฉนด โดยไม่มีการพัฒนาปรับปรุงที่ดินก่อนขายคงขายตามสภาพที่ดินที่เป็นอยู่เมื่อคำนึงถึงลักษณะของการได้มา อีกทั้งระยะเวลาการถือครองและเหตุผลในการขายที่ดินรายนี้ของโจทก์ ย่อมประจักษ์ชัดว่าเป็นการขายทรัพย์สินเพราะไม่มีประโยชน์ที่จะยึดถือที่ดินไว้ในการประกอบกิจการอีกต่อไป การขายที่ดินรายนี้ของโจทก์จึงไม่เข้าลักษณะเป็นการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากำไรอันจะต้องเสียภาษีการค้าตามกฎหมายที่ใช้อยู่ในขณะเกิดเป็นข้อพิพาทคดีนี้ ทั้งกรณีจะนำบทบัญญัติในมาตรา 3 แห่ง พ.ร.ฎ.ออกตามความใน ป.รัษฎากร ว่าด้วยการขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นทางค้าหรือหากำไร (ฉบับที่ 244) พ.ศ.2534 ซึ่งตราขึ้นโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 91/2 (6) แห่ง ป.รัษฎากร มาใช้บังคับแก่คดีนี้หาได้ไม่ เพราะเป็นกฎหมายที่เพิ่งบังคับใช้เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2535อีกทั้งเป็นบทบัญญัติพิเศษกำหนดความหมายของการขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นทางค้าหรือหากำไรไว้ให้ชัดเจนในปัจจุบันโดยเฉพาะเท่านั้น กรณีไม่มีผลย้อนหลังไปใช้บังคับกับการขายที่ดินรายนี้ของโจทก์ซึ่งเสร็จเด็ดขาดตั้งแต่วันที่ 8 มิถุนายน2533 แล้ว โจทก์จึงไม่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะเช่นกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5677/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขายที่ดินเพื่อจัดสรรเข้าข่ายเป็นการค้าหรือหากำไร ต้องเสียภาษีเงินได้และภาษีการค้า
เงินได้จากการขายที่ดินโดยมิได้มุ่งในทางการค้าหรือหากำไรตามที่บัญญัติไว้ใน ป.รัษฎากร มาตรา 48 (4) หรือไม่นั้น มุ่งหมายถึงเจตนาในการได้มาเป็นข้อสำคัญ และพิจารณาถึงพฤติการณ์ในระหว่างที่ผู้นั้นถือครองอยู่ก่อนที่จะขายและขณะที่ขายเป็นส่วนประกอบด้วย ที่ดินที่โจทก์ได้มาทั้งสามแปลงนั้นเป็นที่ดินแปลงใหญ่หลังจากนั้นก็ได้แบ่งแยกที่ดินดังกล่าวออกเป็นแปลงย่อยมากกว่า 70 แปลง โดยที่ดินทุกแปลงต่างมีถนนตัดผ่าน ลักษณะที่โจทก์กระทำเช่นนั้นย่อมมิใช่จุดประสงค์ที่จะนำที่ดินที่แบ่งเป็นแปลงย่อยเพื่อไปทำนา โจทก์ยอมรับว่า เหตุที่กระทำไปก็เพื่อจะนำที่ดินไปขายง่ายขึ้น อีกทั้งโจทก์ยังได้ซื้อที่ดินเพิ่มอีกหลายแปลงเพื่อนำไปจัดสรรขายและให้ผู้อื่นเช่าทำนา แสดงให้เห็นว่าโจทก์หาได้มีอาชีพทำนาเพียงอย่างเดียวไม่ แต่ได้ประกอบอาชีพเป็นผู้จัดสรรที่ดินไว้เพื่อขายด้วย และเมื่อตรวจดูสัญญาซื้อขายที่ดินก็มีข้อสัญญาชี้ชัดให้เห็นได้ว่าการขายที่ดินของโจทก์มีลักษณะเป็นเชิงธุรกิจโดยมีการวางเงินมัดจำ ผ่อนชำระเป็นงวด และต้องจ่ายค่าดอกเบี้ยร้อยละ 1 ต่อเดือนของค่าที่ดินที่ค้างชำระจนกว่าจะชำระหมด และแม้ว่าปัจจุบันนี้โจทก์ยังถือครองที่ดินอยู่หลายแปลงก็ตาม เมื่อโจทก์มีที่ดินจำนวนมาก ก็เป็นการยากที่จะขายให้หมดในชั่วระยะเวลาอันสั้น ที่ดินแปลงใดอยู่ในที่ทำเลดีกว่าก็ย่อมขายได้ก่อน ที่ดินเปล่าที่อยู่ห่างไกลออกไปย่อมขายได้ช้ากว่า ซึ่งเป็นเรื่องปกติ หาได้บ่งชี้ให้เห็นว่าโจทก์เก็บที่ดินดังกล่าวไว้เพื่อทำนา โจทก์เลิกทำนามานานร่วม 20 ปีแล้ว ประกอบกับในระหว่างที่โจทก์ขายที่ดินในปีภาษีที่ถูกประเมินนั้น โจทก์ยังประกอบการค้าโดยจดทะเบียนการค้าประเภทอสังหาริมทรัพย์อยู่ ดังนั้น แม้โจทก์จะเป็นเจ้าของและครอบครองที่ดินดังกล่าวมานานนับสิบปีก็ตาม แต่เมื่อพิจารณาถึงการได้มาที่ดินทั้งสามแปลงของโจทก์ กับพฤติการณ์ต่าง ๆ ที่โจทก์ดำเนินการเกี่ยวกับที่ดินดังกล่าวและลักษณะในการขายที่ดินเข้าด้วยกันแล้ว เงินได้ที่โจทก์ได้มาจากการขายที่ดินจึงเป็นเงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ที่ได้มาโดยมุ่งในการค้าหรือกำไรในการคำนวณภาษีเงินได้ดังกล่าว โจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะเลือกเสียภาษีโดยไม่ต้องนำมาคำนวณภาษีในการยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษี เพราะเงินได้ของโจทก์ที่ได้รับมามิใช่เป็นเงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ที่ได้มาโดยมิได้มุ่งในทางการค้าหรือหากำไรตามที่บัญญัติไว้ใน ป.รัษฎากร มาตรา 48 (4) และกรณีเช่นนี้โจทก์จะหักค่าใช้จ่ายตาม พ.ร.ฎ.ออกตามความใน ป.รัษฎากรว่าด้วยการกำหนดค่าใช้จ่ายที่ยอมให้หักจากเงินได้พึงประเมินจากการขายอสังหาริมทรัพย์ (ฉบับที่ 165)พ.ศ.2529 ตามมาตรา 48 (4) (ข) ไม่ได้เช่นกัน
อุทธรณ์ของโจทก์ที่ว่าโจทก์มีสิทธิหักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาในอัตราร้อยละ 61 ตาม ป.รัษฏากร มาตรา 46 ประกอบกับ พ.ร.ฎ.ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการกำหนดค่าใช้จ่ายที่ยอมให้หักจากเงินได้พึงประเมิน (ฉบับที่ 11) พ.ศ.2502 มาตรา 8 (42) นั้น ปัญหาข้อนี้โจทก์มิได้อ้างมาในคำฟ้อง จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัยให้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคแรก ประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 29
เมื่อการขายที่ดินของโจทก์เป็นการขายในลักษณะจัดสรรจึงเป็นการขายอสังหาริมทรัพย์ในทางการค้าหรือกำไร ทั้งโจทก์ได้จดทะเบียนการค้าประเภทการค้าอสังหาริมทรัพย์ไว้ด้วย ย่อมเข้าลักษณะเป็นผู้ประกอบการค้าอสังหาริมทรัพย์ตามบัญชีอัตราภาษีการค้าประเภทการค้า 11
โจทก์ได้ยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีทั้งภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีการค้าไว้แล้ว แต่เนื่องจากปัญหาของโจทก์เป็นเรื่องเกี่ยวกับข้อกฎหมายซึ่งยุ่งยากต่อการตีความ เพราะแม้แต่ความเห็นของเจ้าหน้าที่ตรวจสอบภาษีและเจ้าหน้าที่ฝ่ายควบคุมของจำเลยยังขัดกันอยู่ โจทก์ในฐานะราษฎรธรรมดาผู้ไม่มีความรู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมาย จึงยากต่อการเข้าใจข้อกฎหมายดังกล่าวได้จึงเป็นเหตุให้โจทก์ยื่นเสียภาษีไว้ผิดพลาดไปโดยไม่มีเจตนาที่จะหลีกเลี่ยง อีกทั้งโจทก์ก็ให้ความร่วมมือในการตรวจสอบมาตั้งแต่ต้น กรณีจึงมีเหตุสมควรให้งดเบี้ยปรับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีการค้าให้แก่โจทก์
อุทธรณ์ของโจทก์ที่ว่าโจทก์มีสิทธิหักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาในอัตราร้อยละ 61 ตาม ป.รัษฏากร มาตรา 46 ประกอบกับ พ.ร.ฎ.ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการกำหนดค่าใช้จ่ายที่ยอมให้หักจากเงินได้พึงประเมิน (ฉบับที่ 11) พ.ศ.2502 มาตรา 8 (42) นั้น ปัญหาข้อนี้โจทก์มิได้อ้างมาในคำฟ้อง จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัยให้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคแรก ประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 29
เมื่อการขายที่ดินของโจทก์เป็นการขายในลักษณะจัดสรรจึงเป็นการขายอสังหาริมทรัพย์ในทางการค้าหรือกำไร ทั้งโจทก์ได้จดทะเบียนการค้าประเภทการค้าอสังหาริมทรัพย์ไว้ด้วย ย่อมเข้าลักษณะเป็นผู้ประกอบการค้าอสังหาริมทรัพย์ตามบัญชีอัตราภาษีการค้าประเภทการค้า 11
โจทก์ได้ยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีทั้งภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีการค้าไว้แล้ว แต่เนื่องจากปัญหาของโจทก์เป็นเรื่องเกี่ยวกับข้อกฎหมายซึ่งยุ่งยากต่อการตีความ เพราะแม้แต่ความเห็นของเจ้าหน้าที่ตรวจสอบภาษีและเจ้าหน้าที่ฝ่ายควบคุมของจำเลยยังขัดกันอยู่ โจทก์ในฐานะราษฎรธรรมดาผู้ไม่มีความรู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมาย จึงยากต่อการเข้าใจข้อกฎหมายดังกล่าวได้จึงเป็นเหตุให้โจทก์ยื่นเสียภาษีไว้ผิดพลาดไปโดยไม่มีเจตนาที่จะหลีกเลี่ยง อีกทั้งโจทก์ก็ให้ความร่วมมือในการตรวจสอบมาตั้งแต่ต้น กรณีจึงมีเหตุสมควรให้งดเบี้ยปรับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีการค้าให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5677/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขายที่ดินเพื่อจัดสรรเข้าข่ายเป็นการค้าหรือหากำไร ต้องเสียภาษีเงินได้และภาษีการค้า
เงินได้จากการขายที่ดินโดยมิได้มุ่งในทางการค้าหรือหากำไร ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลรัษฎากร มาตรา 48(4) หรือไม่นั้นมุ่งหมายถึงเจตนาในการได้มาเป็นข้อสำคัญ และพิจารณาถึงพฤติการณ์ในระหว่างที่ผู้นั้นถือครองอยู่ก่อนที่จะขายและขณะที่ขายเป็นส่วนประกอบด้วย ที่ดินที่โจทก์ได้มาทั้งสามแปลงนั้นเป็นที่ดินแปลงใหญ่หลังจากนั้นก็ได้แบ่งแยกที่ดินดังกล่าวออกเป็นแปลงย่อยมากกว่า 70 แปลง โดยที่ดินทุกแปลงต่างมีถนนตัดผ่าน ลักษณะที่โจทก์กระทำเช่นนั้นย่อมมิใช่จุดประสงค์ที่จะนำที่ดินที่แบ่งเป็นแปลงย่อยเพื่อไปทำนา โจทก์ยอมรับว่าเหตุที่กระทำไปก็เพื่อจะนำที่ดินไปขายง่ายขึ้น อีกทั้งโจทก์ยังได้ซื้อที่ดินเพิ่มอีกหลายแปลงเพื่อนำไปจัดสรรขายและให้ผู้อื่นเช่าทำนา แสดงให้เห็นว่าโจทก์หาได้มีอาชีพทำนาเพียงอย่างเดียวไม่ แต่ได้ประกอบอาชีพเป็นผู้จัดสรรที่ดินไว้เพื่อขายด้วยและเมื่อตรวจดูสัญญาซื้อขายที่ดินก็มีข้อสัญญาชี้ชัดให้เห็นได้ว่าการขายที่ดินของโจทก์มีลักษณะเป็นเชิงธุรกิจโดยมีการวางมัดจำผ่อนชำระเป็นงวด และต้องจ่ายค่าดอกเบี้ยร้อยละ 1 ต่อเดือนของค่าที่ดินที่ค้างชำระจนกว่าจะชำระหมด และแม้ว่าปัจจุบันนี้โจทก์ยังถือครองที่ดินอยู่หลายแปลงก็ตาม เมื่อโจทก์มีที่ดินจำนวนมาก ก็เป็นการยากที่จะขายให้หมดในชั่วระยะเวลาอันสั้นที่ดินแปลงใดอยู่ในที่ทำเลดีกว่าก็ย่อมขายได้ก่อน ที่ดินเปล่าที่อยู่ห่างไกลออกไปย่อมขายได้ช้ากว่า ซึ่งเป็นเรื่องปกติหาได้บ่งชี้ให้เห็นว่าโจทก์เก็บที่ดินดังกล่าวไว้เพื่อทำนา โจทก์เลิกทำนามานานร่วม 20 ปีแล้ว ประกอบกับในระหว่างที่โจทก์ขายที่ดินในปีภาษีที่ถูกประเมินนั้น โจทก์ยังประกอบการค้าโดยจดทะเบียนการค้าประเภทอสังหาริมทรัพย์อยู่ ดังนั้น แม้โจทก์จะเป็นเจ้าของและครอบครองที่ดินดังกล่าวมานานนับสิบปีก็ตามแต่เมื่อพิจารณาถึงการได้มาที่ดินทั้งสามแปลงของโจทก์ กับพฤติการณ์ต่าง ๆ ที่โจทก์ดำเนินการเกี่ยวกับที่ดินดังกล่าว และลักษณะในการขายที่ดินเข้าด้วยกันแล้ว เงินได้ที่โจทก์ได้มาจากการขายที่ดินจึงเป็นเงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ที่ได้มาโดยมุ่งในการค้าหรือกำไรในการคำนวณภาษีเงินได้ดังกล่าวโจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะเลือกเสียภาษีโดยไม่ต้องนำมาคำนวณภาษีในการยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษี เพราะเงินได้ของโจทก์ที่ได้รับมามิใช่เป็นเงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ที่ได้มาโดยมิได้มุ่งในทางการค้าหรือหากำไรตามที่บัญญัติไว้ในประมวลรัษฎากร มาตรา 48(4) และกรณีเช่นนี้โจทก์จะหักค่าใช้จ่ายตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการกำหนดค่าใช้จ่ายที่ยอมให้หักจากเงินได้พึงประเมินจากการขายอสังหาริมทรัพย์ (ฉบับที่ 165)พ.ศ.2529 ตามมาตรา 48(4)(ข) ไม่ได้เช่นกัน อุทธรณ์ของโจทก์ที่ว่าโจทก์มีสิทธิหักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาในอัตราร้อยละ 61 ตาม ประมวลรัษฎากร มาตรา 46 ประกอบด้วยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการกำหนดค่าใช้จ่ายที่ยอมให้หักจากเงินได้พึงประเมิน(ฉบับที่ 11) พ.ศ.2502 มาตรา 8(42) นั้น ปัญหาข้อนี้โจทก์มิได้อ้างมาในคำฟ้อง จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัยให้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคแรกประกอบด้วย พระราชบัญญัติจัดตั้งภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรพ.ศ.2528 มาตรา 29 เมื่อการขายที่ดินของโจทก์เป็นการขายในลักษณะจัดสรรจึงเป็นการขายอสังหาริมทรัพย์ในทางการค้าหรือกำไร ทั้งโจทก์ได้จดทะเบียนการค้าประเภทการค้าอสังหาริมทรัพย์ไว้ด้วยย่อมเข้าลักษณะเป็นผู้ประกอบการค้าอสังหาริมทรัพย์ตามบัญชีอัตราภาษีการค้าประเภทการค้า 11 โจทก์ได้ยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีทั้งภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีการค้าไว้แล้ว แต่เนื่องจากปัญหาของโจทก์เป็นเรื่องเกี่ยวกับข้อกฎหมายซึ่งยุ่งยากต่อการตีความเพราะแม้แต่ความเห็นของเจ้าหน้าที่ตรวจสอบภาษีและเจ้าหน้าที่ฝ่ายควบคุมของจำเลยยังขัดกันอยู่ โจทก์ในฐานะราษฎรธรรมดาผู้ไม่มีความรู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมาย จึงยากต่อการเข้าใจข้อกฎหมายดังกล่าวได้จึงเป็นเหตุให้โจทก์ยื่นเสียภาษีไว้ผิดพลาดไปโดยไม่มีเจตนาที่จะหลีกเลี่ยง อีกทั้งโจทก์ก็ให้ความร่วมมือในการตรวจสอบมาตั้งแต่ต้น กรณีจึงมีเหตุสมควรให้งดเบี้ยปรับภาษี เงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีการค้าให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5543/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินราคาขายทรัพย์สินในกรณีเลิกกิจการและการขายต่ำกว่าราคาตลาด โดยมีเหตุผลสมควร และการไม่ต้องเสียภาษีการค้าอสังหาริมทรัพย์
บริษัทโจทก์ประสบปัญหาต่าง ๆ เช่นผู้ถือหุ้นเดิมต้องการถอนหุ้นคืน มีคนร้ายขู่เรียกค่าคุ้มครองจนผู้จัดการบริษัทโจทก์ลาออก ในที่สุดที่ประชุมผู้ถือหุ้นและกรรมการของโจทก์จึงมีมติให้เลิกกิจการและขายทรัพย์สินของโจทก์ทั้งหมด โดยเฉพาะทรัพย์สินรายการที่สองซึ่งเป็นโรงงานนั้นตั้งอยู่บนที่ดินที่เช่ามาจากบริษัท ล.ซึ่งสัญญาเช่าที่ดินจะสิ้นสุดลงในวันสิ้นปีนั้นเอง จึงเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้หาคนซื้อทรัพย์สินรายการที่สองได้ยาก เพราะไม่มีความแน่นอนว่าผู้ให้เช่าที่ดินจะให้เช่าต่อหรือไม่ โจทก์ไม่อยู่ในฐานะที่มีอำนาจต่อรองราคากับผู้ซื้อ จึงตกลงขายทรัพย์สินตามรายการที่สองถึงที่ห้าให้แก่บริษัท ย.ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นอยู่ในบริษัทโจทก์อยู่ด้วย โดยตกลงขายทรัพย์สินรายการที่สองถึงห้าให้ในลักษณะเป็นการเหมา ซึ่งมีทั้งรายการที่ขายต่ำกว่าราคาทุนและรายการที่ขายสูงกว่าต้นทุนมาก เช่นทรัพย์สินตามรายการที่สี่ เครื่องมือเครื่องใช้ขายไปในราคา7,793,000 บาท ราคาต้นทุน 2,438,762.29 บาท สูงกว่าราคาต้นทุนถึง5,354,237.71 บาท สำหรับการขายโรงงานซึ่งเป็นทรัพย์สินตามรายการที่สองนั้นโจทก์ขายให้บริษัท ย.ในราคา 13,149,000 บาท โดยมีเงื่อนไขว่าผู้ซื้อจะต้องรับคนงานทั้งหมดของโจทก์เข้าไปทำงานด้วยทำให้โจทก์ไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามกฎหมายแรงงานเป็นเงินจำนวนประมาณ 7,000,000 บาท เมื่อเทียบจำนวนเงินที่โจทก์ไม่ต้องจ่ายดังกล่าวและราคาที่โจทก์ขายทรัพย์สินรายการที่สี่ได้สูงกว่าราคาต้นทุนดังกล่าวแล้ว ฟังได้ว่าโจทก์ขายทรัพย์สินตามรายการที่สองไปต่ำกว่าราคาต้นทุนหรือราคาตลาดโดยมีเหตุผลอันสมควร เจ้าพนักงานประเมินจึงไม่ชอบที่จะประเมินราคาขายอาคารโรงงานดังกล่าวใหม่ โดยถือราคาต้นทุนทางบัญชีของโจทก์จำนวน 20,008,058.47 บาท เป็นราคาตลาดตาม ป.รัษฎากรมาตรา 65 ทวิ (4) ได้
แม้ตามหนังสือรับรองของสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทจะปรากฏว่าโจทก์จดทะเบียนว่ามีวัตถุประสงค์ประกอบกิจการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ก็ตาม แต่ก็ไม่ปรากฏว่าโจทก์เคยซื้อและขายอสังหาริมทรัพย์เพื่อหากำไรหรือเป็นทางการค้ามาก่อน ทั้งปรากฏตามรายงานการประชุมคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์และคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยว่า โจทก์มีความจำเป็นต้องขายอสังหาริมทรัพย์ทั้งหมดที่ใช้ในการประกอบกิจการของโจทก์ไปเพราะเลิกกิจการ การขายอสังหาริมทรัพย์ของโจทก์ดังกล่าวจึงมิใช่เป็นทางค้าหรือหากำไร โจทก์จึงไม่ต้องเสียภาษีการค้าตามประเภทการค้า 11 การค้าอสังหาริมทรัพย์
แม้ตามหนังสือรับรองของสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทจะปรากฏว่าโจทก์จดทะเบียนว่ามีวัตถุประสงค์ประกอบกิจการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ก็ตาม แต่ก็ไม่ปรากฏว่าโจทก์เคยซื้อและขายอสังหาริมทรัพย์เพื่อหากำไรหรือเป็นทางการค้ามาก่อน ทั้งปรากฏตามรายงานการประชุมคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์และคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยว่า โจทก์มีความจำเป็นต้องขายอสังหาริมทรัพย์ทั้งหมดที่ใช้ในการประกอบกิจการของโจทก์ไปเพราะเลิกกิจการ การขายอสังหาริมทรัพย์ของโจทก์ดังกล่าวจึงมิใช่เป็นทางค้าหรือหากำไร โจทก์จึงไม่ต้องเสียภาษีการค้าตามประเภทการค้า 11 การค้าอสังหาริมทรัพย์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5543/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีการค้าจากการขายทรัพย์สินเพื่อเลิกกิจการ ศาลยืนตามคำวินิจฉัยเดิม
บริษัทโจทก์ประสบปัญหาต่าง ๆ เช่นผู้ถือหุ้นเดิมต้องการถอนหุ้นคืน มีคนร้ายขู่เรียกค่าคุ้มครองจนผู้จัดการบริษัทโจทก์ลาออก ในที่สุดที่ประชุมผู้ถือหุ้นและกรรมกรรมของโจทก์จึงมีมติให้เลิกกิจการและขายทรัพย์สินของโจทก์ทั้งหมดโดยเฉพาะทรัพย์สินรายการที่สองซึ่งเป็นโรงงานนั้นตั้งอยู่บนที่ดินที่เช่ามาจากบริษัทล.ซึ่งสัญญาเช่าที่ดินจะสิ้นสุดลงในวันสิ้นปีนั้นเอง จึงเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้หาคนซื้อทรัพย์สินรายการที่สองได้ยาก เพราะไม่มีความแน่นอนว่าผู้ให้เช่าที่ดินจะให้เช่าต่อหรือไม่ โจทก์ไม่อยู่ในฐานะที่มีอำนาจต่อรองราคากับผู้ซื้อ จึงตกลงขายทรัพย์สินตามรายการที่สองถึงที่ห้าให้แก่บริษัทย. ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นอยู่ในบริษัทโจทก์อยู่ด้วย โดยตกลงขายทรัพย์สินรายการที่สองถึงห้าให้ในลักษณะเป็นการเหมา ซึ่งมีทั้งรายการที่ขายต่ำกว่าราคาทุนและรายการที่ขายสูงกว่าต้นทุนมาก เช่นทรัพย์สินตามรายการที่สี่ เครื่องมือเครื่องใช้ขายไปในราคา7,793,000 บาท ราคาต้นทุน 2,438,762.29 บาท สูงกว่าราคาต้นทุนถึง 5,354,237.71 บาท สำหรับการขายโรงงานซึ่งเป็นทรัพย์สินตามรายการที่สองนั้นโจทก์ขายให้บริษัท ย.ในราคา 13,149,000 บาท โดยมีเงื่อนไขว่าผู้ซื้อจะต้องรับคนงานทั้งหมดของโจทก์เข้าไปทำงานด้วยทำให้โจทก์ไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามกฎหมายแรงงานเป็นเงินจำนวนประมาณ7,000,000 บาท เมื่อเทียบจำนวนเงินที่โจทก์ไม่ต้องจ่ายดังกล่าวและราคาที่โจทก์ขายทรัพย์สินรายการที่สี่ได้สูงกว่าราคาต้นทุนดังกล่าวแล้ว ฟังได้ว่าโจทก์ขายทรัพย์สินตามรายการที่สองไปต่ำกว่าราคาต้นทุนหรือราคาตลาดโดยมีเหตุผลอันสมควรเจ้าพนักงานประเมินจึงไม่ชอบที่จะประเมินราคาขายอาคารโรงงานดังกล่าวใหม่ โดยถือราคาต้นทุนทางบัญชีของโจทก์จำนวน20,008,058,47 บาท เป็นราคาตลาดตามประมวลรัษฎากรมาตรา 65 ทวิ(4) ได้ แม้ตามหนังสือรับรองของสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทจะปรากฏว่าโจทก์จดทะเบียนว่ามีวัตถุประสงค์ประกอบกิจการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ก็ตามแต่ก็ไม่ปรากฏว่าโจทก์เคยซื้อและขายอสังหาริมทรัพย์เพื่อหากำไรหรือเป็นทางการค้ามาก่อน ทั้งปรากฏตามรายงานการประชุมคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์และคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยว่า โจทก์มีความจำเป็นต้องขายอสังหาริมทรัพย์ทั้งหมดที่ใช้ในการประกอบกิจการของโจทก์ไปเพราะเลิกกิจการการขายอสังหาริมทรัพย์ของโจทก์ดังกล่าวจึงมิใช่เป็นทางค้าหรือหากำไร โจทก์จึงไม่ต้องเสียภาษีการค้าตามประเภทการค้า 11การค้าอสังหาริมทรัพย์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2387/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องและขอบเขตการเสียภาษีการค้าจากการขายที่ดินเพื่อใช้ในกิจการค้า
โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้และคดีหมายเลขดำที่ 13/2539ของศาลภาษีอากรกลางพร้อมกันโดยมอบอำนาจให้ อ.เป็นผู้ฟ้องคดีแทนทั้งสองเรื่องแต่ด้วยความสับสนและผิดหลงได้ติดหนังสือมอบอำนาจทั้งสองฉบับสลับสำนวนกันและในการยื่นคำคู่ความต่อ ๆ มา เจ้าหน้าที่ศาลก็ยังเผลอติดคำคู่ความสลับสำนวนกันอีก ต่อมาโจทก์ได้ยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมให้ถูกต้อง ศาลจึงอนุญาตให้นำหนังสือมอบอำนาจที่สลับสำนวนกันมาติดใหม่ให้ถูกต้อง ซึ่งหนังสือมอบอำนาจท้ายสำนวนก็ปรากฏข้อความว่า กรรมการผู้มีอำนาจลงนามแทนโจทก์ได้มอบอำนาจให้ อ.ฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง และการที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้แก้ไขได้ก็เป็นการอนุญาตให้แก้ไขให้ถูกต้องตามความเป็นจริงชอบที่ศาลจะอนุญาตได้
แม้บริษัทโจทก์จะจัดตั้งขึ้นมาโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อประกอบกิจการค้าหรือหากำไรก็ตาม แต่การค้าขายโดยปกติของโจทก์เป็นการค้าปูนซิเมนต์และวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ ในการก่อสร้าง มิใช่เป็นการค้าขายที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างโจทก์ซื้อที่ดินและอาคารมาโดยมีความมุ่งหมายเพื่อใช้เป็นสถานที่ประกอบกิจการค้าต่อมาเมื่อหมดความจำเป็นจึงขายไป และแม้จะขายได้ราคาสูงกว่าราคาที่ซื้อมาเป็นจำนวนมาก ก็เป็นไปตามปกติของราคาที่ดินและอาคารที่สูงขึ้นตามกาลเวลาของราคาตลาด หาใช่มีลักษณะเป็นทางการค้าหรือหากำไร จึงยังถือไม่ได้ว่าโจทก์ขายที่ดินและอาคารตามฟ้องไปเป็นทางการค้าหรือหากำไร โจทก์จึงไม่ต้องเสียภาษีการค้าตามบัญชีอัตราภาษีการค้า ประเภทการค้า 11 แห่ง ป.รัษฎากร
แม้บริษัทโจทก์จะจัดตั้งขึ้นมาโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อประกอบกิจการค้าหรือหากำไรก็ตาม แต่การค้าขายโดยปกติของโจทก์เป็นการค้าปูนซิเมนต์และวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ ในการก่อสร้าง มิใช่เป็นการค้าขายที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างโจทก์ซื้อที่ดินและอาคารมาโดยมีความมุ่งหมายเพื่อใช้เป็นสถานที่ประกอบกิจการค้าต่อมาเมื่อหมดความจำเป็นจึงขายไป และแม้จะขายได้ราคาสูงกว่าราคาที่ซื้อมาเป็นจำนวนมาก ก็เป็นไปตามปกติของราคาที่ดินและอาคารที่สูงขึ้นตามกาลเวลาของราคาตลาด หาใช่มีลักษณะเป็นทางการค้าหรือหากำไร จึงยังถือไม่ได้ว่าโจทก์ขายที่ดินและอาคารตามฟ้องไปเป็นทางการค้าหรือหากำไร โจทก์จึงไม่ต้องเสียภาษีการค้าตามบัญชีอัตราภาษีการค้า ประเภทการค้า 11 แห่ง ป.รัษฎากร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2387/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีภาษีและการซื้อขายทรัพย์สินเพื่อใช้ในกิจการ มิใช่เพื่อค้ากำไร จึงไม่ต้องเสียภาษี
โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้และคดีหมายเลขดำที่ 13/2539ของศาลภาษีอากรกลางพร้อมกับโดยมอบอำนาจให้ อ.เป็นผู้ฟ้องคดีแทนทั้งสองเรื่อง แต่ด้วยความสับสนและผิดหลงได้ติดหนังสือมอบอำนาจทั้งสองฉบับสลับสำนวนกัน และในการยื่นคำคู่ความต่อ ๆ มา เจ้าหน้าที่ศาลก็ยังเผลอติดคำคู่ความสลับสำนวนกันอีก ต่อมาโจทก์ได้ยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมให้ถูกต้อง ศาลจึงอนุญาตให้นำหนังสือมอบอำนาจที่สลับสำนวนกันมาติดใหม่ให้ถูกต้อง ซึ่งหนังสือมอบอำนาจท้ายสำนวนก็ปรากฏข้อความว่า กรรมการผู้มีอำนาจลงนามแทนโจทก์ได้มอบอำนาจให้ อ. ฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องและการที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้แก้ไขได้ก็เป็นการอนุญาตให้แก้ไขให้ถูกต้องตามความเป็นจริงชอบที่ศาลจะอนุญาตได้ แม้บริษัทโจทก์จะจัดตั้งขึ้นมาโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อประกอบกิจการค้าหรือหากำไรก็ตาม แต่การค้าขายโดยปกติของโจทก์เป็นการค้าปูนซิเมนต์และวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆในการก่อสร้าง มิใช่เป็นการค้าขายที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างโจทก์ซื้อที่ดินและอาคารมาโดยมีความมุ่งหมายเพื่อใช้เป็นสถานที่ประกอบกิจการค้า ต่อมาเมื่อหมดความจำเป็นจึงขายไปและแม้จะขายได้ราคาสูงกว่าราคาที่ซื้อมาเป็นจำนวนมากก็เป็นไปตามปกติของราคาที่ดินและอาคารที่สูงขึ้นตามกาลเวลาของราคาตลาด หาใช่มีลักษณะเป็นทางการค้าหรือหากำไรจึงยังถือไม่ได้ว่าโจทก์ขายที่ดินและอาคารตามฟ้องไปเป็นทางการค้าหรือหากำไร โจทก์จึงไม่จำต้องเสียภาษีการค้าตามบัญชีอัตราภาษีการค้า ประเภทการค้า 11 แห่งประมวลรัษฎากร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1807/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาษีการค้าโรงแรมและซื้อขายอสังหาริมทรัพย์: การประเมินถูกต้องหรือไม่
โจทก์มีโทรศัพท์ไว้บริการแขกผู้มาพัก การใช้โทรศัพท์ผู้มาพักสามารถใช้โดยผ่านพนักงานโรงแรมของโจทก์ช่วยต่อให้หรือผู้มาพักต่อสายด้วยตนเองโดยผ่านตู้แยกสายที่โจทก์จัดไว้ให้และผู้มาพักสามารถติดต่อภายในกรุงเทพมหานคร ต่างจังหวัดและต่างประเทศได้ และสามารถโทรออกจากห้องพักหรือโทรจากนอกห้องพักก็ได้ ดังนี้ เมื่อโทรศัพท์ดังกล่าวโจทก์เป็นผู้จัดหาไว้ให้ผู้มาพักได้ใช้ทั้งภายในและภายนอกห้องพักจึงเป็นบริการที่โจทก์จัดให้แก่ผู้มาพักควบคู่กันไปกับการจัดห้องพักดังนั้น ค่าตอบแทนที่ได้จากการนั้นจึงถือเป็นรายรับ อันเนื่องมาจากการจัดสถานที่และอำนวยความสะดวกสบายให้แก่ผู้เข้ามาพักในโรงแรมของโจทก์เป็นรายรับที่ได้รับจากการประกอบธุรกิจโรงแรม ซึ่งต้องเสียภาษีการค้าในประเภทการค้า 7(ข)โรงแรม หาใช่ประเภทการค้า 10 ตามบัญชีอัตราภาษีการค้าไม่และตามประมวลรัษฎากร มาตรา 78 ได้บัญญัติให้ต้องเสียภาษีการค้าจากรายรับของทุกเดือนภาษีตามอัตราในบัญชีภาษีการค้า ซึ่งหมายความว่าเป็นรายรับก่อนหักรายจ่ายใด ๆ จึงไม่มีค่าใช้จ่ายที่จะนำมาหักเพื่อคำนวณภาษีการค้าโจทก์จึงหามีสิทธิจะนำค่าใช้จ่ายที่ต้องชำระให้แก่องค์การโทรศัพท์และการสื่อสารแห่งประเทศไทย มาหักออกแล้วนำเฉพาะส่วนที่โจทก์เรียกเก็บเพิ่มจากผู้เข้ามาพักเสียภาษีการค้าเท่านั้นไม่ โจทก์มิได้มีวัตถุประสงค์เป็นผู้ประกอบการค้าที่ดินโจทก์ที่ซื้อที่ดินทั้งห้าโฉนดมาแล้วปลูกสร้างอาคารโรงแรมที่โอนขายนั้น เพื่อใช้เป็นสถานที่ประกอบธุรกิจโรงแรมตามวัตถุประสงค์ของโจทก์ บริษัทท. เป็นบริษัทย่อยของโจทก์ โจทก์ถือหุ้นอยู่ถึงร้อยละ 99.99 และถูกก่อตั้งขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์เป็นผู้ซื้อและรับโอนที่ดินกับอาคารดังกล่าวจากโจทก์ มีคณะกรรมการชุดเดียวกันกับคณะกรรมการบริษัทโจทก์ เงินค่าที่ดินและอาคารที่บริษัทดังกล่าวจ่ายให้แก่โจทก์คือเงินจำนวนเดียวกันกับที่โจทก์จ่ายค่าหุ้นให้ เงินที่โจทก์ให้กู้ยืมและเงินที่วางประกันการที่โจทก์เช่าที่ดินและอาคารจากบริษัทดังกล่าว การชำระเงินกระทำกันโดยการโอนตัวเลขทางบัญชีระหว่างโจทก์กับบริษัทดังกล่าว ประโยชน์ที่โจทก์ได้รับก็คือสามารถลบตัวเลขทางบัญชีของโจทก์ที่ขาดทุนตลอดมาตั้งแต่ปี 2526 ทำให้มีกำไร เพื่อที่โจทก์จะมีคุณสมบัติสามารถเข้าเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยได้ จึงเห็นได้ว่า โจทก์มิได้มีจุดมุ่งหมายในการซื้อที่ดินและทำการปลูกสร้างอาคารไว้เพื่อขายหากำไรเป็นสำคัญมาแต่เดิม ที่โจทก์ต้องตั้งบริษัทย่อยขึ้นมาแล้วทำสัญญาโอนขายที่ดินและอาคารให้ก็เพราะโจทก์ประกอบการขาดทุนมาโดยตลอดตั้งแต่ปี 2526 จำเป็นจะต้องกระทำการดังกล่าวเพื่อทำให้มีกำไร แม้โจทก์จะตั้งราคาขายสูงกว่าราคาที่ซื้อมาเป็นจำนวนมาก เพื่อให้เห็นว่าโจทก์มีกำไรสามารถเข้าจะทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ได้ ก็เป็นไปตามปกติของการประกอบกิจการค้าและราคาที่ดินที่สูงขึ้นหาใช่มีลักษณะเป็นทางค้าหรือหากำไรจากการซื้อที่ดินมาแล้วขายไปไม่ จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์เป็นผู้ประกอบการค้าที่ดินและอาคารดังกล่าวโจทก์ไม่ต้องเสียภาษีการค้าตามบัญชีอัตราภาษีการค้าประเภท 11