คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 ม. 35

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 412 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2390/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำคดีแรงงาน: การเลิกจ้างที่เป็นธรรม แม้เปลี่ยนฐานข้อหาเป็นละเมิด ศาลวินิจฉัยเป็นฟ้องซ้ำได้
ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 35 โจทก์อาจยื่นคำฟ้องเป็นหนังสือ หรือแถลงข้อหาด้วยวาจาต่อหน้าศาลก็ได้ การที่โจทก์ฟ้องจำเลยด้วยวาจาต่อศาลแรงงานกลางโดยอ้างสภาพแห่งข้อหาว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรมขอให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายและเงินอื่น ๆกับให้ยกเลิกคำสั่งของจำเลยที่เลิกจ้างโจทก์ ศาลแรงงานกลางพิพากษาว่า การเลิกจ้างของจำเลยเป็นการเลิกจ้างเป็นธรรม คดีถึงที่สุดแล้วโจทก์นำคดีมาฟ้องจำเลยอีกโดยกล่าวอ้างว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่ชอบด้วยกฎหมายเป็นการจงใจให้โจทก์ได้รับความเสียหายอันเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ และมีคำขอให้จำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเป็นเงินประเภทต่าง ๆ กับขอให้เพิกถอนคำสั่งฉบับเดียวกัน และสั่งให้โจทก์เข้าทำงานตามเดิม หรือให้ชดใช้ค่าเสียหาย ซึ่งแม้โจทก์จะอ้างว่าเป็นการละเมิด ก็เป็นเรื่องที่เกิดจากการเลิกจ้างของจำเลยอันเป็นการเลิกจ้างที่เป็นธรรมหรือไม่ จึงเป็นฟ้องซ้ำ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2390/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำคดีแรงงาน: การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม แม้มีการเปลี่ยนฐานข้อกล่าวหาเป็นละเมิด ก็ถือเป็นฟ้องซ้ำ
ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 35 โจทก์อาจยื่นคำฟ้องเป็นหนังสือ หรือแถลงข้อหาด้วยวาจาต่อหน้าศาลก็ได้ การที่โจทก์ฟ้องจำเลยด้วยวาจาต่อศาลแรงงานกลางโดยอ้างสภาพแห่งข้อหาว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรมขอให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายและเงินอื่น ๆกับให้ยกเลิกคำสั่งของจำเลยที่เลิกจ้างโจทก์ ศาลแรงงานกลางพิพากษาว่า การเลิกจ้างของจำเลยเป็นการเลิกจ้างเป็นธรรม คดีถึงที่สุดแล้วโจทก์นำคดีมาฟ้องจำเลยอีกโดยกล่าวอ้างว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่ชอบด้วยกฎหมายเป็นการจงใจให้โจทก์ได้รับความเสียหายอันเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ และมีคำขอให้จำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเป็นเงินประเภทต่าง ๆ กับขอให้เพิกถอนคำสั่งฉบับเดียวกัน และสั่งให้โจทก์เข้าทำงานตามเดิม หรือให้ชดใช้ค่าเสียหาย ซึ่งแม้โจทก์จะอ้างว่าเป็นการละเมิด ก็เป็นเรื่องที่เกิดจากการเลิกจ้างของจำเลยอันเป็นการเลิกจ้างที่เป็นธรรมหรือไม่ จึงเป็นฟ้องซ้ำ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 945/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การให้การด้วยวาจาในคดีแรงงาน: เพียงพอต่อการสร้างประเด็นข้อพิพาทตามเจตนารมณ์ของวิธีพิจารณาคดีแรงงาน
ตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 35 วรรคแรกและมาตรา 39 ประกอบด้วยข้อกำหนดศาลแรงงานว่าด้วยการดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลแรงงานฯ ข้อ 2 และ ข้อ 9 แสดงว่าการที่จำเลยมีสิทธิให้การด้วยวาจานั้นกฎหมายมิได้ถือเคร่งครัดเช่นการให้การเป็นหนังสือในคดีแพ่งธรรมดา ทั้งนี้เพื่อให้คดีได้เสร็จสิ้นไปโดยรวดเร็วตามเจตนารมณ์ของวิธีพิจารณาคดีแรงงานดังนั้น ที่จำเลยให้การต่อศาลแรงงานกลางด้วยวาจา ซึ่งศาลแรงงานกลางได้บันทึกไว้ในรายงานกระบวนพิจารณาว่า คำฟ้องอื่นของโจทก์ไม่เป็นความจริง และจำเลยขอปฏิเสธว่า จำเลยมิได้กระทำความผิดตามฟ้องโจทก์ จึงเป็นการเพียงพอที่ก่อให้เกิดประเด็นข้อพิพาทว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์หรือไม่แล้ว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2522/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการนัดหยุดงานของลูกจ้าง: การใช้สิทธิหลายครั้งไม่ผิดกฎหมาย ตราบเท่าที่ไม่เกินความจำเป็นและเป็นธรรม
ฟ้องโจทก์กล่าวหาว่าจำเลยที่1นัดหยุดงานโดยไม่มีข้อเรียกร้องไม่มีข้อพิพาทแรงงานเป็นการนัดหยุดงานที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายโจทก์มิได้ตั้งข้อหาและมิได้อาศัยข้ออ้างที่เป็นหลักแห่งข้อหาว่าจำเลยที่1กระทำการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์พ.ศ.2518มาตรา99แต่ประการใดซึ่งมาตรานี้เป็นบทยกเว้นความรับผิดมิใช่บทบังคับการกระทำจึงไม่ใช่หน้าที่ของโจทก์ที่จะต้องบรรยายฟ้องกล่าวแก้จำเลยเป็นการล่วงหน้าไว้ก่อนหากแต่เป็นหน้าที่ของจำเลยที่จะยกบทมาตราดังกล่าวขึ้นต่อสู้ว่าตนไม่ต้องรับผิดเพราะต้องด้วยข้อยกเว้นข้อใดข้อหนึ่งในสี่ประการนั้นจำเลยจะยกมาตรา99ขึ้นปรับคดีว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องไม่ได้โจทก์มีอำนาจฟ้อง. จำเลยที่1ได้ยื่นข้อเรียกร้องต่อโจทก์รวม10ข้อตกลงกันได้3ข้อคงเหลือข้อเรียกร้องที่ตกลงกันไม่ได้อีก7ข้อต้องถือว่าข้อพิพาทแรงงานที่ตกลงกันไม่ได้ระหว่างโจทก์กับจำเลยที่1ยังมีอยู่ตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์พ.ศ.2518มาตรา22วรรคสามการที่จำเลยที่1ใช้สิทธินัดหยุดงานในวันที่8แล้วกลับเข้าทำงานในวันที่9เดือนเดียวกันโดยลำพังตนมิได้ขอกลับเข้าทำงานต่อฝ่ายบริหารของโจทก์ไม่ถือว่าเป็นการสละข้อเรียกร้องและจะถือว่าข้อพิพาทแรงงานที่ตกลงกันไม่ได้เป็นอันระงับหรือสิ้นสุดลงด้วยการนัดหยุดงานและกลับเข้าทำงานใหม่ไม่ได้เพราะไม่มีบทมาตราใดในพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์บัญญัติไว้เช่นนั้นสิทธินัดหยุดงานของจำเลยที่1จึงไม่สิ้นไป. พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์พ.ศ.2518หามีบทมาตราใดบังคับว่าเมื่อข้อพิพาทแรงงานที่ตกลงกันไม่ได้เกิดขึ้นแล้วลูกจ้างพึงใช้สิทธินัดหยุดงานได้แต่เพียงครั้งเดียวไม่การแปลกฎหมายว่าลูกจ้างมีสิทธินัดหยุดงานได้ครั้งเดียวทั้งที่ไม่มีบทมาตราใดบัญญัติห้ามไว้โดยชัดแจ้งเป็นการแปลที่จำกัดสิทธิโดยชอบธรรมของลูกจ้างการนัดหยุดงานเป็นมาตรการขั้นสุดท้ายของลูกจ้างที่จะให้ได้มาซึ่งข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างตามข้อเรียกร้องของตนมิใช่ฝ่ายนายจ้างเท่านั้นที่ได้รับความเสียหายที่กิจการต้องหยุดชะงักงันฝ่ายลูกจ้างเองก็ต้องได้รับความเสียหายดุจกันที่ไม่ได้รับค่าจ้างดังนั้นถ้าลูกจ้างสามารถใช้สิทธินัดหยุดงานครั้งเดียวเป็นเวลายาวนานทำให้ทั้งสองฝ่ายได้รับความเดือดร้อนเป็นอันมากได้โดยชอบการนัดหยุดงานเป็นช่วงๆเป็นระยะเวลาสั้นๆเป็นการกระตุ้นเตือนให้นายจ้างรู้สำนึกถึงความเดือดร้อนทีละน้อยแล้วจะทวีความรุนแรงขึ้นโดยลำดับเพื่อให้มีการหันหน้าเข้าเจรจาให้ได้มาซึ่งข้อตกลงร่วมกันจึงกระทำได้การใช้สิทธินัดหยุดงานครั้งหลังๆจึงเป็นการใช้สิทธิโดยชอบไม่เป็นละเมิดต่อโจทก์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2522/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการนัดหยุดงานของลูกจ้าง: การใช้สิทธิหลายครั้งเป็นธรรมได้ ไม่จำกัดเพียงครั้งเดียว
ฟ้องโจทก์กล่าวหาว่าจำเลยที่ 1 นัดหยุดงานโดยไม่มีข้อเรียกร้องไม่มีข้อพิพาทแรงงาน เป็นการนัดหยุดงานที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์มิได้ตั้งข้อหาและมิได้อาศัยข้ออ้างที่เป็นหลักแห่งข้อหาว่าจำเลยที่ 1 กระทำการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 99 แต่ประการใดซึ่งมาตรานี้เป็นบทยกเว้นความรับผิดมิใช่บทบังคับการกระทำ จึงไม่ใช่หน้าที่ของโจทก์ที่จะต้องบรรยายฟ้องกล่าวแก้จำเลยเป็นการล่วงหน้าไว้ก่อน หากแต่เป็นหน้าที่ของจำเลยที่จะยกบทมาตราดังกล่าวขึ้นต่อสู้ว่าตนไม่ต้องรับผิดเพราะต้องด้วยข้อยกเว้นข้อใดข้อหนึ่งในสี่ประการนั้นจำเลยจะยกมาตรา 99 ขึ้นปรับคดีว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องไม่ได้ โจทก์มีอำนาจฟ้อง
จำเลยที่ 1 ได้ยื่นข้อเรียกร้องต่อโจทก์รวม 10 ข้อ ตกลงกันได้ 3 ข้อ คงเหลือข้อเรียกร้องที่ตกลงกันไม่ได้อีก 7 ข้อ ต้องถือว่าข้อพิพาทแรงงานที่ตกลงกันไม่ได้ระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ยังมีอยู่ ตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 22 วรรคสาม การที่จำเลยที่ 1 ใช้สิทธินัดหยุดงานในวันที่ 8 แล้วกลับเข้าทำงานในวันที่ 9 เดือนเดียวกัน โดยลำพังตนมิได้ขอกลับเข้าทำงานต่อฝ่ายบริหารของโจทก์ ไม่ถือว่าเป็นการสละข้อเรียกร้อง และจะถือว่าข้อพิพาทแรงงานที่ตกลงกันไม่ได้เป็นอันระงับหรือสิ้นสุดลงด้วยการนัดหยุดงานและกลับเข้าทำงานใหม่ไม่ได้ เพราะไม่มีบทมาตราใดในพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์บัญญัติไว้เช่นนั้น สิทธินัดหยุดงานของจำเลยที่1 จึงไม่สิ้นไป
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 หามีบทมาตราใดบังคับว่าเมื่อข้อพิพาทแรงงานที่ตกลงกันไม่ได้เกิดขึ้นแล้ว ลูกจ้างพึงใช้สิทธินัดหยุดงานได้แต่เพียงครั้งเดียวไม่ การแปลกฎหมายว่าลูกจ้างมีสิทธินัดหยุดงานได้ครั้งเดียวทั้งที่ไม่มีบทมาตราใดบัญญัติห้ามไว้โดยชัดแจ้ง เป็นการแปลที่จำกัดสิทธิโดยชอบธรรมของลูกจ้างการนัดหยุดงานเป็นมาตรการขั้นสุดท้ายของลูกจ้างที่จะให้ได้มาซึ่งข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างตามข้อเรียกร้องของตน มิใช่ฝ่ายนายจ้างเท่านั้นที่ได้รับความเสียหายที่กิจการต้องหยุดชะงักงัน ฝ่ายลูกจ้างเองก็ต้องได้รับความเสียหายดุจกันที่ไม่ได้รับค่าจ้าง ดังนั้น ถ้าลูกจ้างสามารถใช้สิทธินัดหยุดงานครั้งเดียวเป็นเวลายาวนานทำให้ทั้งสองฝ่ายได้รับความเดือดร้อนเป็นอันมากได้โดยชอบ การนัดหยุดงานเป็นช่วง ๆ เป็นระยะเวลาสั้น ๆ เป็นการกระตุ้นเตือนให้นายจ้างรู้สำนึกถึงความเดือดร้อนทีละน้อยแล้วจะทวีความรุนแรงขึ้นโดยลำดับ เพื่อให้มีการหันหน้าเข้าเจรจาให้ได้มาซึ่งข้อตกลงร่วมกันจึงกระทำได้ การใช้สิทธินัดหยุดงานครั้งหลัง ๆ จึงเป็นการใช้สิทธิโดยชอบไม่เป็นละเมิดต่อโจทก์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 122-130/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องเคลือบคลุม: ศาลมิอาจแก้ไขคำฟ้องที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย แม้มีการสอบถามและแถลงข้อเท็จจริงเพิ่มเติม
ฟ้องเคลือบคลุมเป็นฟ้องที่ไม่ชอบมาแต่แรก ประเด็นตามคำฟ้องจึงไม่เกิด แม้ศาลมีอำนาจสอบถามคู่ความเพื่อให้ได้ความชัดในประเด็นข้อพิพาทแต่การสอบถามนั้นก็จำต้องตรวจจากคำคู่ความที่ชอบ หากไม่เป็นคำคู่ความที่ชอบเสียแล้วแม้คู่ความจะแถลงเป็นประการใดก็หาอาจทำให้คำคู่ความนั้นกลับเป็นคำคู่ความที่ชอบและมีประเด็นขึ้นตามที่ศาลสอบถามและที่คู่ความแถลงไม่
โจทก์ที่ 2 บรรยายฟ้องเพียงประโยคเดียวว่าจำเลยไม่จ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปี แล้วมีคำขอให้จำเลยจ่ายเงินดังกล่าวเป็นจำนวน 1,428.33 บาท โดยมิได้บรรยายว่าตนมีสิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีได้ปีละกี่วัน มิได้หยุดในปีใดปีละกี่วัน ฟ้องของโจทก์ที่ 2 จึงเป็นฟ้องเคลือบคลุม
ส่วนโจทก์ที่ 9 บรรยายฟ้องว่าตนมีสิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีปีละ 12 วัน รวม 2 ปี เป็นเวลา 24 วัน ได้ใช้สิทธิหยุดพักผ่อนไปแล้ว 15 วันจึงมีสิทธิได้รับค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีที่ไม่ได้หยุด 9 วัน คิดเป็นเงิน 5,724 บาท ดังนี้ เป็นฟ้องที่พอเข้าใจได้แล้วว่าโจทก์ที่ 9 ฟ้องเรียกค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีสำหรับสองปีสุดท้าย เป็นฟ้องที่ได้แสดงข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเพียงพอแก่ความต้องการของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 วรรคสองแล้วไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 122-130/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องเคลือบคลุมในคดีแรงงาน: การบรรยายฟ้องต้องชัดเจนครบถ้วน มิเช่นนั้นประเด็นจะเกิดไม่ได้ แม้มีการซักถามในชั้นพิจารณา
ฟ้องเคลือบคลุมเป็นฟ้องที่ไม่ชอบมาแต่แรกประเด็นตามคำฟ้องจึงไม่เกิดแม้ศาลมีอำนาจสอบถามคู่ความเพื่อให้ได้ความชัดในประเด็นข้อพิพาทแต่การสอบถามนั้นก็จำต้องตรวจจากคำคู่ความที่ชอบหากไม่เป็นคำคู่ความที่ชอบเสียแล้วแม้คู่ความจะแถลงเป็นประการใดก็หาอาจทำให้คู่ความนั้นกลับเป็นคำคู่ความที่ชอบและมีประเด็นขึ้นตามที่ศาลสอบถามและที่คู่ความแถลงไม่ โจทก์ที่2บรรยายฟ้องเพียงประโยคเดียวว่าจำเลยไม่จ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีแล้วมีคำขอให้จำเลยจ่ายเงินดังกล่าวเป็นจำนวน1,428.33บาทโดยมิได้บรรยายว่าตนมีสิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีได้ปีละกี่วันมิได้หยุดในปีใดปีละกี่วันฟ้องของโจทก์ที่2จึงเป็นฟ้องเคลือบคลุม ส่วนโจทก์ที่9บรรยายฟ้องว่าตนมีสิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีปีละ12วันรวม2ปีเป็นเวลา24วันได้ใช้สิทธิหยุดพักผ่อนไปแล้ว15วันจึงมีสิทธิได้รับค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีที่ไม่ได้หยุด9วันคิดเป็นเงิน5,724บาทดังนี้เป็นฟ้องที่พอเข้าใจได้แล้วว่าโจทก์ที่9ฟ้องเรียกค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีสำหรับสองปีสุดท้ายเป็นฟ้องที่ได้แสดงข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเพียงพอแก่ความต้องการของป.วิ.พ.มาตรา172วรรคสองแล้วไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 122-130/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องเคลือบคลุม: คำฟ้องต้องชัดเจนในรายละเอียดสิทธิเรียกร้อง ศาลไม่สามารถแก้ไขข้อบกพร่องของคำฟ้องได้
ฟ้องเคลือบคลุมเป็นฟ้องที่ไม่ชอบมาแต่แรกประเด็นตามคำฟ้องจึงไม่เกิดแม้ศาลมีอำนาจสอบถามคู่ความเพื่อให้ได้ความชัดในประเด็นข้อพิพาทแต่การสอบถามนั้นก็จำต้องตรวจจากคำคู่ความที่ชอบหากไม่เป็นคำคู่ความที่ชอบเสียแล้วแม้คู่ความจะแถลงเป็นประการใดก็หาอาจทำให้คำคู่ความนั้นกลับเป็นคำคู่ความที่ชอบและมีประเด็นขึ้นตามที่ศาลสอบถามและที่คู่ความแถลงไม่ โจทก์ที่2บรรยายฟ้องเพียงประโยคเดียวว่าจำเลยไม่จ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีแล้วมีคำขอให้จำเลยจ่ายเงินดังกล่าวเป็นจำนวน1,428.33บาทโดยมิได้บรรยายว่าตนมีสิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีได้ปีละกี่วันมิได้หยุดในปีใดปีละกี่วันฟ้องของโจทก์ที่2จึงเป็นฟ้องเคลือบคลุม ส่วนโจทก์ที่9บรรยายฟ้องว่าตนมีสิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีปีละ12วันรวม2ปีเป็นเวลา24วันได้ใช้สิทธิหยุดพักผ่อนไปแล้ว15วันจึงมีสิทธิได้รับค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีที่ไม่ได้หยุด9วันคิดเป็นเงิน5,724บาทดังนี้เป็นฟ้องที่พอเข้าใจได้แล้วว่าโจทก์ที่9ฟ้องเรียกค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีสำหรับสองปีสุดท้ายเป็นฟ้องที่ได้แสดงข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเพียงพอแก่ความต้องการของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา172วรรคสองแล้วไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4221/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สาระสำคัญของฟ้องคือผิดสัญญาจ้างแรงงาน แม้ระบุฐานความผิดเป็นละเมิด ศาลต้องพิจารณาอายุความตามสัญญาจ้าง
คำฟ้องโจทก์ในช่องข้อหาหรือฐานความผิดระบุว่า "ละเมิดเรียกค่าเสียหาย"ฟ้องข้อ 3 บรรยายว่า "ระหว่างที่จำเลยเป็นลูกจ้างโจทก์ทำหน้าที่ขับรถยนต์โดยสารประจำทางจำเลยได้ขับรถด้วยความประมาทปราศจากความระมัดระวัง เป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหาย" แต่ฟ้องข้อ 2 ก็ได้บรรยายว่า "จำเลยเป็นลูกจ้างประจำของโจทก์เข้าทำงานตั้งแต่วันที่ 20 มิถุนายน 2526 มีหน้าที่ขับรถยนต์โดยสารประจำทางรับส่งผู้โดยสารตามสัญญาจ้างแรงงาน"เมื่ออ่านฟ้องสองข้อประกอบกันแล้วย่อมเห็นได้ว่าโจทก์กล่าวหาว่าจำเลยกระทำผิดหน้าที่ บกพร่องต่อหน้าที่อันเกิดแต่สัญญาจ้างแรงงานในการขับรถเป็นฟ้องที่กล่าวหาว่าจำเลยทำผิดสัญญาจ้างแรงงาน มิใช่ฟ้องเรื่องละเมิดแม้โจทก์จะระบุข้อหาหรือฐานความผิดคลาดเคลื่อนไปว่าเป็นละเมิดก็ไม่ทำให้สารัตถะในฟ้องซึ่งเป็นเรื่องผิดสัญญาจ้างแรงงานกลายเป็นฟ้องเรื่องละเมิดไปได้จะใช้อายุความ 1 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 448 มาปรับแก่คดีหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4221/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลักษณะของฟ้องผิดสัญญาจ้างแรงงาน แม้ระบุข้อหาละเมิด สารัตถะยังคงเป็นเรื่องผิดสัญญา อายุความใช้ตามสัญญาจ้าง
คำฟ้องโจทก์ในช่องข้อหาหรือฐานความผิดระบุว่า 'ละเมิดเรียกค่าเสียหาย'ฟ้องข้อ 3 บรรยายว่า 'ระหว่างที่จำเลยเป็นลูกจ้างโจทก์ทำหน้าที่ขับรถยนต์โดยสารประจำทางจำเลยได้ขับรถด้วยความประมาทปราศจากความระมัดระวัง เป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหาย' แต่ฟ้องข้อ 2 ก็ได้บรรยายว่า 'จำเลยเป็นลูกจ้างประจำของโจทก์เข้าทำงานตั้งแต่วันที่ 20 มิถุนายน 2526 มีหน้าที่ขับรถยนต์โดยสารประจำทางรับส่งผู้โดยสารตามสัญญาจ้างแรงงาน'เมื่ออ่านฟ้องสองข้อประกอบกันแล้วย่อมเห็นได้ว่าโจทก์กล่าวหาว่าจำเลยกระทำผิดหน้าที่ บกพร่องต่อหน้าที่อันเกิดแต่สัญญาจ้างแรงงานในการขับรถเป็นฟ้องที่กล่าวหาว่าจำเลยทำผิดสัญญาจ้างแรงงานมิใช่ฟ้องเรื่องละเมิดแม้โจทก์จะระบุข้อหาหรือฐานความผิดคลาดเคลื่อนไปว่าเป็นละเมิดก็ไม่ทำให้สารัตถะในฟ้องซึ่งเป็นเรื่องผิดสัญญาจ้างแรงงานกลายเป็นฟ้องเรื่องละเมิดไปได้จะใช้อายุความ 1 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 448 มาปรับแก่คดีหาได้ไม่
of 42