พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4768/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีการค้าตามราคาตลาดรถยนต์และการขยายเวลาการประเมินเกินกำหนด
ตาม ป. รัษฎากร มาตรา 77 และมาตรา 79 (8) ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ. แก้ไขเพิ่มเติม ป. รัษฎากร (ฉบับที่ 19) พ.ศ. 2508 มาตรา 6 และมาตรา 11 นั้น มูลค่าของรถยนต์อันจักถือเป็นรายรับเพื่อคำนวณภาษีการค้า คือราคาตลาดรถยนต์ที่ซื้อขายกันเป็นเงินสดอันผู้ขายปลีกได้ตั้งไว้โดยสุจริตและเปิดเผย
เมื่อราคารถยนต์ที่โจทก์แจ้งต่อเจ้าพนักงานประเมินมิใช่มูลค่าของสินค้าตามความหมายของ ป. รัษฎากร มาตรา 77 และมาตรา 79 (8) อันเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะเกิดกรณีพิพาท และการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินถูกต้องแล้ว โจทก์จึงยื่นแบบแสดงรายรับเพื่อเสียภาษีการค้าระหว่างเดือนตุลาคมถึงธันวาคม 2529 และระหว่างเดือนมิถุนายนถึงธันวาคม 2530 ขาดไปเป็นจำนวนเกินร้อยละ 25 ของยอดรายรับที่แสดงในแบบแสดงรายการการค้าซึ่งเป็นกรณีที่การประเมินสามารถกระทำได้ภายในกำหนดเวลา 10 ปี นับแต่วันสุดท้ายแห่งกำหนดเวลายื่น แบบแสดงรายการการค้า ตาม ป. รัษฎากร มาตรา 88 ทวิ (2) อันเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะเกิดกรณีพิพาท การที่เจ้าพนักงานประเมินให้โจทก์เสียภาษีการค้า รวมทั้งเป็นเบี้ยปรับ เงินเพิ่ม และภาษีบำรุงเทศบาล เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2535 จึงยังไม่พ้นกำหนดสิบปีนับแต่วันสุดท้ายแห่งกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการการค้า
เมื่อราคารถยนต์ที่โจทก์แจ้งต่อเจ้าพนักงานประเมินมิใช่มูลค่าของสินค้าตามความหมายของ ป. รัษฎากร มาตรา 77 และมาตรา 79 (8) อันเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะเกิดกรณีพิพาท และการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินถูกต้องแล้ว โจทก์จึงยื่นแบบแสดงรายรับเพื่อเสียภาษีการค้าระหว่างเดือนตุลาคมถึงธันวาคม 2529 และระหว่างเดือนมิถุนายนถึงธันวาคม 2530 ขาดไปเป็นจำนวนเกินร้อยละ 25 ของยอดรายรับที่แสดงในแบบแสดงรายการการค้าซึ่งเป็นกรณีที่การประเมินสามารถกระทำได้ภายในกำหนดเวลา 10 ปี นับแต่วันสุดท้ายแห่งกำหนดเวลายื่น แบบแสดงรายการการค้า ตาม ป. รัษฎากร มาตรา 88 ทวิ (2) อันเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะเกิดกรณีพิพาท การที่เจ้าพนักงานประเมินให้โจทก์เสียภาษีการค้า รวมทั้งเป็นเบี้ยปรับ เงินเพิ่ม และภาษีบำรุงเทศบาล เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2535 จึงยังไม่พ้นกำหนดสิบปีนับแต่วันสุดท้ายแห่งกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการการค้า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 536/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคำนวณรายได้และภาษีจากการส่งสินค้าออกต่างประเทศ ให้ใช้ราคาตลาดในประเทศ ไม่รวมค่าระวางและประกันภัย
ในกรณีที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลส่งสินค้าออกไปต่างประเทศ ประมวลรัษฎากร มาตรา 70 ตรี วรรคแรก บัญญัติให้ถือเฉพาะราคาสินค้าตาม ราคาตลาดในวันที่ส่งไป เป็นรายได้ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ส่งสินค้าออกไปต่างประเทศ มิได้บัญญัติให้บวกหรือรวมค่าระวางและค่าประกันภัยเข้ากับราคา สินค้าตามราคาตลาดในวันที่ส่งไปเป็นรายได้ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ที่ส่งสินค้าออกไปต่างประเทศและไม่มีบทบัญญัติในมาตราอื่นของประมวลรัษฎากร บัญญัติเช่นนั้น ดังนั้น ในการคำนวณรายได้ของบริษัทโจทก์ที่ส่งหมากฝรั่งไปขายให้แก่บริษัทว. ในประเทศมาเลเซียและฮ่องกง เพื่อเก็บภาษีเงินได้จากบริษัทโจทก์จึงต้องคำนวณจากราคาตลาดของหมากฝรั่งที่โจทก์จำหน่ายในประเทศไทยเท่านั้น จะบอกค่าระวางและค่าประกันภัยเข้าด้วยไม่ได้
สำหรับภาษีการค้า โจทก์เป็นผู้ประกอบการค้าตามประเภทการค้า 1(ก)(ง) แห่งบัญชีอัตราภาษีการค้า เมื่อโจทก์ส่งสินค้าที่ตนประกอบการค้านั้นออกนอก ราชอาณาจักรต้องถือว่าเป็นการขายสินค้า และถือว่ามูลค่าของสินค้าดังกล่าว เป็นรายรับตามมาตรา 79 ทวิ(2) ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม โดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม ประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 19) พ.ศ. 2508 มาตรา 12 อันเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับ ขณะเกิดมูลกรณีคดีนี้ และตามมาตรา 77 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม โดยมาตรา 6 แห่ง พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมฯ (ฉบับที่ 19) ดังกล่าว คำว่า "มูลค่า" หมายความว่า ราคา ตลาดของทรัพย์สิน ของบริการหรือของประโยชน์ใด ๆ และในกรณีที่ไม่มี ราคาตลาดหมายความว่า ราคาอันผู้ประกอบการค้าพึงได้รับจากทรัพย์สินจากบริการหรือจากประโยชน์นั้น ๆ ฯลฯ ดังนั้น มูลค่าของหมากฝรั่งที่โจทก์ส่งไปขายให้แก่บริษัทว. ในประเทศมาเลเซียและฮ่องกงอันจะถือเป็นรายรับในการคำนวณให้โจทก์เสียภาษีการค้า จึงต้องถือตามราคาตลาดของหมากฝรั่งที่โจทก์จำหน่าย ในประเทศไทยโดยไม่บวกค่าระวางขนส่งและค่าประกันภัยเช่นเดียวกัน
สำหรับภาษีการค้า โจทก์เป็นผู้ประกอบการค้าตามประเภทการค้า 1(ก)(ง) แห่งบัญชีอัตราภาษีการค้า เมื่อโจทก์ส่งสินค้าที่ตนประกอบการค้านั้นออกนอก ราชอาณาจักรต้องถือว่าเป็นการขายสินค้า และถือว่ามูลค่าของสินค้าดังกล่าว เป็นรายรับตามมาตรา 79 ทวิ(2) ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม โดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม ประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 19) พ.ศ. 2508 มาตรา 12 อันเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับ ขณะเกิดมูลกรณีคดีนี้ และตามมาตรา 77 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม โดยมาตรา 6 แห่ง พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมฯ (ฉบับที่ 19) ดังกล่าว คำว่า "มูลค่า" หมายความว่า ราคา ตลาดของทรัพย์สิน ของบริการหรือของประโยชน์ใด ๆ และในกรณีที่ไม่มี ราคาตลาดหมายความว่า ราคาอันผู้ประกอบการค้าพึงได้รับจากทรัพย์สินจากบริการหรือจากประโยชน์นั้น ๆ ฯลฯ ดังนั้น มูลค่าของหมากฝรั่งที่โจทก์ส่งไปขายให้แก่บริษัทว. ในประเทศมาเลเซียและฮ่องกงอันจะถือเป็นรายรับในการคำนวณให้โจทก์เสียภาษีการค้า จึงต้องถือตามราคาตลาดของหมากฝรั่งที่โจทก์จำหน่าย ในประเทศไทยโดยไม่บวกค่าระวางขนส่งและค่าประกันภัยเช่นเดียวกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2389/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายที่ดินเพื่อหากำไร ไม่เข้าข่ายค่าใช้จ่ายที่หักได้ 90% ตามกฎหมายภาษีอากร
พฤติการณ์ที่โจทก์ซื้อที่ดินแปลงแรกแล้วตัดโค่นต้นไม้ถมที่ และทำเขื่อนเป็นการปรับปรุงให้ที่ดินมีราคาสูงขึ้น แล้วซื้อที่ดินแปลงหลังเพื่อให้มีทางเข้าออกสู่ที่ดินแปลงแรกและขายไปทั้งสองแปลงหลังจากซื้อที่ดินแปลงหลังไม่ถึง 4 เดือน ทั้งข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าโจทก์ซื้อที่ดินมาเพื่อวัตถุประสงค์ที่จะตั้งโรงงานดังที่โจทก์อ้าง ดังนี้ แสดงว่าโจทก์ขายที่ดินไปเป็นทางค้าหรือหากำไร "การขายของนอกจากที่ระบุไว้ในข้ออื่นซึ่งผู้ขายมิได้เป็นผู้ผลิต" ในมาตรา 8(32) แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการกำหนดค่าใช้จ่ายที่ยอมให้หักเงินได้พึงประเมิน (ฉบับที่ 11) พ.ศ.2502 ซึ่งยอมให้หักค่าใช้จ่ายร้อยละ90 นั้น ย่อมหมายถึงของอันเกิดจากการผลิต เพราะถ้าจะให้หมายถึงของทุกชนิดไม่ว่าจะเกิดจากการผลิตหรือไม่แล้ว กฎหมายก็ไม่จำต้องบัญญัติคำว่า "ซึ่งผู้ขายมิได้เป็นผู้ผลิต" กำกับไว้และคำว่าผลิตหมายความว่าทำการเกษตรหรือขุดค้นทรัพยากรธรรมชาติ ประกอบ แปรรูป แปรสภาพสินค้า หรือทำการอย่างใดให้มีขึ้นซึ่งสินค้าไม่ว่าด้วยประการใดๆ "ผู้ผลิต"หมายความว่าผู้ประกอบการค้าที่ทำการผลิต (ประมวลรัษฎากรมาตรา 77) ที่ดินจึงมิใช่ของที่เกิดขึ้นเนื่องจากการผลิตจะนำมาตรา 8(32) แห่งพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวมาปรับในเรื่องการขายที่ดินไม่ได้