คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.ฎ.ออกตามความใน ป.รัษฎากร ว่าด้วยการกำหนดค่าใช้จ่ายที่ยอมให้หักจากเงินได้พึงประเมิน (ฉบับที่ 11) พ.ศ.2502 ม. 8

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 7 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2034/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหักค่าใช้จ่ายในการประเมินภาษีนิติบุคคลตามอัตราที่กำหนดใน พร.ก. แม้ใช้กับบุคคลธรรมดา แต่ต้องใช้กับนิติบุคคลด้วย
แม้พระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการกำหนดค่าใช้จ่ายที่ยอมให้หักจากเงินได้พึงประเมิน (ฉบับที่ 11) พ.ศ. 2502จะใช้บังคับแก่กรณีภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาก็ตาม แต่เมื่อจำเลยนำพระราชกฤษฎีกา ฉบับดังกล่าวมาใช้เป็นเกณฑ์หักค่าใช้จ่ายเพื่อประเมินภาษีเงินได้ของโจทก์ซึ่งเป็นนิติบุคคล จำเลยก็ต้องหักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาให้แก่โจทก์ตามอัตราที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกาฉบับดังกล่าวด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3113/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษี: การสละสิทธิในการนำหลักฐานแสดงค่าใช้จ่าย และการประเมินโดยเทียบเคียงอัตราเหมา
โจทก์มีรายได้จากการค้ามันอัดเม็ด โจทก์เสียภาษีประจำปีพ.ศ. 2519 ไม่ถูกต้อง เจ้าพนักงานประเมินหมายเรียกให้โจทก์ส่งบัญชีและหลักฐานเอกสารประกอบการลงบัญชีเพื่อตรวจสอบเงินได้ประจำปี โจทก์ให้การต่อเจ้าพนักงานประเมินว่า ไม่สามารถส่งหลักฐานเพราะไม่ได้จัดทำบัญชีไว้ เมื่อเจ้าพนักงานประเมินได้ประเมินภาษีเงินได้ที่โจทก์ต้องเสียเพิ่มสำหรับปี พ.ศ. 2519 โดยคิดหักค่าใช้จ่ายเทียบเคียงกับการหักค่าใช้จ่ายแบบการเหมาในอัตรา ร้อยละ 85 ตามมาตรา8 ข้อ 3 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการกำหนดค่าใช้จ่ายที่ยอมให้หักจากเงินได้พึงประเมิน (ฉบับที่ 11) พ.ศ. 2505 โจทก์ก็ยอมรับโดยไม่โต้แย้งถือได้ว่าโจทก์สละสิทธิในการที่จะนำหลักฐานไปแสดงต่อเจ้าพนักงานประเมินเพื่อที่จะพิสูจน์ว่าโจทก์มีค่าใช้จ่ายที่จำเป็นและสมควรมากกว่าที่ถูกหัก การประเมินของเจ้าพนักงานประเมินจึงถือได้ว่าเป็นการหักค่าใช้จ่ายให้ตามความจำเป็นและสมควรและเป็นการประเมินที่ชอบแล้ว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3113/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีที่ชอบด้วยกฎหมาย แม้ผู้เสียภาษีไม่ส่งหลักฐานบัญชีและยอมรับการประเมินในชั้นแรก
โจทก์มีรายได้จากการค้ามันอัดเม็ด โจทก์เสียภาษีประจำปีพ.ศ. 2519 ไม่ถูกต้อง เจ้าพนักงานประเมินหมายเรียกให้โจทก์ส่งบัญชีและหลักฐานเอกสารประกอบการลงบัญชีเพื่อตรวจสอบเงินได้ประจำปี โจทก์ให้การต่อเจ้าพนักงานประเมินว่า ไม่สามารถส่งหลักฐานเพราะไม่ได้จัดทำบัญชีไว้ เมื่อเจ้าพนักงานประเมินได้ประเมินภาษีเงินได้ที่โจทก์ต้องเสียเพิ่มสำหรับปี พ.ศ. 2519 โดยคิดหักค่าใช้จ่ายเทียบเคียงกับการหักค่าใช้จ่ายแบบการเหมาในอัตรา ร้อยละ 85 ตามมาตรา8 ข้อ 3 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการกำหนดค่าใช้จ่ายที่ยอมให้หักจากเงินได้พึงประเมิน (ฉบับที่ 11) พ.ศ. 2505 โจทก์ก็ยอมรับโดยไม่โต้แย้งถือได้ว่าโจทก์สละสิทธิในการที่จะนำหลักฐานไปแสดงต่อเจ้าพน้กงานประเมินเพื่อที่จะพิสูจน์ว่าโจทกืม่ค่าใช้จ่ายที่จำเป็นและสมควรมากกว่าที่ถูกหักการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินจึงถือได้ว่าเป็นการหักค่าใช้จ่ายให้ตามความจำเป็นและสมควรและเป็นการประเมินที่ชอบแล้ว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1589/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหักค่าใช้จ่ายทางภาษีสำหรับเงินที่ถูกหักเป็นค่าธรรมเนียมในการประกอบธุรกิจ
โจทก์มีสิทธิรับเงินจากพีเอ็กส์ของทหารอเมริกันตามจำนวนเสื้อผ้าที่ตัดเย็บถือได้ว่าเงินที่โจทก์มีสิทธิรับนี้เป็นเงินได้ของโจทก์ แม้โจทก์จะต้องถูกหักเงินค่าธรรมเนียมไป 14 เปอร์เซ็นต์ เงินที่ถูกหักไปนี้ก็เป็นค่าใช้จ่ายในการประกอบธุรกิจอย่างหนึ่งซึ่งโจทก์อาจนำมาหักเป็นค่าใช้จ่ายตามที่จ่ายจริง แต่เมื่อโจทก์ไม่นำหลักฐานมาแสดงว่าได้ใช้จ่ายไปตามความจริงและสมควรเท่าใด กรมสรรพากรจำเลยจึงได้คิดหักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาจ่ายให้ 75 เปอร์เซ็นต์ของรายได้ ตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการกำหนดค่าใช้จ่ายที่ยอมให้หักจากเงินได้พึงประเมิน (ฉบับที่ 11) พ.ศ.2502 มาตรา 8 ซึ่งค่าใช้จ่ายที่หักเป็นการเหมานี้รวมถึงจำนวนเงิน 14 เปอร์เซ็นต์ที่โจทก์อ้างว่าได้จ่ายให้องค์การทหารอเมริกันด้วยแล้ว ดังนี้ โจทก์จะให้คิดหักจำนวนเงิน 14 เปอร์เซ็นต์นี้ออกจากเงินได้ของโจทก์เสียก่อนหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1589/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหักค่าใช้จ่ายจากการประกอบธุรกิจ และการประเมินภาษีเงินได้ที่ถูกต้อง
โจทก์มีสิทธิรับเงินจากพีเอ็กส์ของทหารอเมริกันตามจำนวนเสื้อผ้าที่ตัดเย็บถือได้ว่าเงินที่โจทก์มีสิทธิรับนี้เป็นเงินได้ของโจทก์ แม้โจทก์จะต้องถูกหักเงินค่าธรรมเนียมไป 14 เปอร์เซ็นต์ เงินที่ถูกหักไปนี้ก็เป็นค่าใช้จ่ายในการประกอบธุรกิจอย่างหนึ่งซึ่งโจทก์อาจนำมาหักเป็นค่าใช้จ่ายตามที่จ่ายจริง แต่เมื่อโจทก์ไม่นำหลักฐานมาแสดงว่าได้ใช้จ่ายไปตามความจริงและสมควรเท่าใด กรมสรรพากรจำเลยจึงได้คิดหักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาจ่ายให้ 75 เปอร์เซ็นต์ของรายได้ ตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการกำหนดค่าใช้จ่ายที่ยอมให้หักจากเงินได้พึงประเมิน (ฉบับที่ 11) พ.ศ.2502 มาตรา 8 ซึ่งค่าใช้จ่ายที่หักเป็นการเหมานี้รวมถึงจำนวนเงิน 14เปอร์เซ็นต์ที่โจทก์อ้างว่าได้จ่ายให้องค์การทหารอเมริกันด้วยแล้ว ดังนี้ โจทก์จะให้คิดหักจำนวนเงิน 14 เปอร์เซ็นต์นี้ออกจากเงินได้ของโจทก์เสียก่อนหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2389/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายที่ดินเพื่อหากำไร ไม่เข้าข่ายค่าใช้จ่ายที่หักได้ 90% ตามกฎหมายภาษีอากร
พฤติการณ์ที่โจทก์ซื้อที่ดินแปลงแรกแล้วตัดโค่นต้นไม้ถมที่ และทำเขื่อนเป็นการปรับปรุงให้ที่ดินมีราคาสูงขึ้น แล้วซื้อที่ดินแปลงหลังเพื่อให้มีทางเข้าออกสู่ที่ดินแปลงแรกและขายไปทั้งสองแปลงหลังจากซื้อที่ดินแปลงหลังไม่ถึง 4 เดือน ทั้งข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าโจทก์ซื้อที่ดินมาเพื่อวัตถุประสงค์ที่จะตั้งโรงงานดังที่โจทก์อ้าง ดังนี้ แสดงว่าโจทก์ขายที่ดินไปเป็นทางค้าหรือหากำไร "การขายของนอกจากที่ระบุไว้ในข้ออื่นซึ่งผู้ขายมิได้เป็นผู้ผลิต" ในมาตรา 8(32) แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการกำหนดค่าใช้จ่ายที่ยอมให้หักเงินได้พึงประเมิน (ฉบับที่ 11) พ.ศ.2502 ซึ่งยอมให้หักค่าใช้จ่ายร้อยละ90 นั้น ย่อมหมายถึงของอันเกิดจากการผลิต เพราะถ้าจะให้หมายถึงของทุกชนิดไม่ว่าจะเกิดจากการผลิตหรือไม่แล้ว กฎหมายก็ไม่จำต้องบัญญัติคำว่า "ซึ่งผู้ขายมิได้เป็นผู้ผลิต" กำกับไว้และคำว่าผลิตหมายความว่าทำการเกษตรหรือขุดค้นทรัพยากรธรรมชาติ ประกอบ แปรรูป แปรสภาพสินค้า หรือทำการอย่างใดให้มีขึ้นซึ่งสินค้าไม่ว่าด้วยประการใดๆ "ผู้ผลิต"หมายความว่าผู้ประกอบการค้าที่ทำการผลิต (ประมวลรัษฎากรมาตรา 77) ที่ดินจึงมิใช่ของที่เกิดขึ้นเนื่องจากการผลิตจะนำมาตรา 8(32) แห่งพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวมาปรับในเรื่องการขายที่ดินไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2389/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายที่ดินเพื่อหากำไร ไม่เข้าข่ายค่าใช้จ่ายที่หักได้ 90% ตามประมวลรัษฎากร
พฤติการณ์ที่โจทก์ซื้อที่ดินแปลงแรกแล้วตัดโค่นต้นไม้ ถมที่ และทำเขื่อนเป็นการปรับปรุงให้ที่ดินมีราคาสูงขึ้น แล้วซื้อที่ดินแปลงหลังเพื่อให้มีทางเข้าออกสู่ที่ดินแปลงแรกและขายไปทั้งสองแปลงหลังจากซื้อที่ดินแปลงหลังไม่ถึง 4 เดือน ทั้งข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าโจทก์ซื้อที่ดินมาเพื่อวัตถุประสงค์ที่จะตั้งโรงงานดังที่โจทก์อ้าง ดังนี้ แสดงว่าโจทก์ขายที่ดินไปเป็นทางค้าหรือหากำไร
"การขายของนอกจากที่ระบุไว้ในข้ออื่นซึ่งผู้ขายมิได้เป็นผู้ผลิต" ในมาตรา 8 (32) แห่งพระราชบัญญัติฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการกำหนดค่าใช้จ่ายที่ยอมให้หักเงินได้พึงประเมิน (ฉบับที่ 11) พ.ศ. 2502 ซึ่งยอมให้หักค่าใช้จ่ายร้อยละ 90 นั้น ย่อมหมายถึงของอันเกิดจากการผลิต เพราะถ้าจะให้หมายถึงของทุกชนิดไม่ว่าจะเกิดจากการผลิตหรือไม่นั้น กฎหมายก็ไม่จำต้องบัญญัติคำว่า "ซึ่งผู้ขายมิได้เป็นผู้ผลิต" กำกับไว้ และคำว่าผลิตหมายความว่าทำการเกษตรหรือขุดค้นทรัพยากรธรรมชาติ ประกอบ แปรรูป แปรสภาพสินค้า หรือทำการอย่างใดให้มีขึ้นซึ่งสินค้าไม่ว่าด้วยประการใด ๆ "ผู้ผลิต" หมายความว่าผู้ประกอบการค้าที่ทำการผลิต (ประมวลรัษฎากรมาตรา 77) ที่ดินจึงไม่ใช่ของที่เกิดขึ้นเนื่องจากการผลิต จะนำมาตรา 8(32) แห่งพระราชบัญญัติฎีกาดังกล่าวมาปรับในเรื่องการขายที่ดินไม่ได้