พบผลลัพธ์ทั้งหมด 164 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2997/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนับโทษต่อจากคดีอื่น และการไม่ริบทรัพย์ที่ไม่ใช่ทรัพย์ที่ใช้ในการกระทำผิด
โจทก์ยื่นคําร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องลงวันที่ 24 ธันวาคม 2563 ต่อศาลชั้นต้น โดยบรรยายฟ้องและมีคําขอให้นับโทษจําคุกหรือระยะเวลาฝึกอบรมของจําเลยที่ 1 คดีนี้ติดต่อกับโทษจําคุกหรือระยะเวลาการฝึกอบรมของจําเลย (ที่ถูกจําเลยที่ 2) ในคดีอาญาหมายเลขดำที่ อ 3709/2560 หมายเลขแดงที่ อ 240/2560 ของศาลอาญา โดยบรรยายทั้งคดีหมายเลขดำและหมายเลขแดงซึ่งคดีหมายเลขดำเป็นหมายเลขที่ถูกต้อง ส่วนคดีหมายเลขแดงนั้นโจทก์พิมพ์ตัวเลขคลาดเคลื่อนเฉพาะปีพุทธศักราช เมื่อจําเลยที่ 1 ให้การรับว่าเป็นบุคคลคนเดียวกับจําเลย (ที่ถูกจําเลยที่ 2) ในคดีที่โจทก์ขอให้นับโทษต่อ โดยมิได้โต้แย้งคัดค้าน ทั้งยังแถลงต่อศาลชั้นต้นรับว่า จําเลยที่ 1 ถูกจําคุกอยู่ที่เรือนจำกลางคลองเปรมมาระยะหนึ่งแล้วในคดีอาญาหมายเลขดำที่ อ 3709/2560 หมายเลขแดงที่ อ 240/2560 ของศาลอาญา ซึ่งศาลอาญาพิพากษาให้จําคุก 43 ปี ในข้อหาร่วมกันฆ่าผู้อื่น ตามรายงานกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นฉบับลงวันที่ 24 พฤศจิกายน 2563 และวันที่ 24 ธันวาคม 2563 แสดงว่าจําเลยที่ 1 เข้าใจดีว่าตนถูกดำเนินคดีอีกคดีหนึ่งที่ศาลอาญา การพิมพ์คดีหมายเลขแดงในส่วนเลข พ.ศ. คลาดเคลื่อนจากปี 2562 เป็น 2560 จึงเป็นข้อผิดพลาดเล็กน้อย ศาลย่อมใช้ดุลพินิจให้เริ่มนับโทษจําคุกของจําเลยที่ 1 ต่อจากโทษจําคุกในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ อ 240/2562 ของศาลอาญาได้
อนึ่ง สำหรับรถจักรยานยนต์ของกลางที่ศาลล่างทั้งสองสั่งริบนั้น เห็นว่า เมื่อรถจักรยานยนต์ของกลาง มิใช่ทรัพย์ที่ใช้ในการกระทำความผิด แต่เป็นเพียงยานพาหนะที่จําเลยที่ 1 กับพวกขับมายังที่เกิดเหตุและขับออกไปจากที่เกิดเหตุ เมื่อการปล้นทรัพย์สำเร็จแล้วเท่านั้น ซึ่งแม้จะเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 340 ตรี ดังที่วินิจฉัยมาข้างต้นก็ตาม แต่การที่จะริบได้นั้น ต้องเป็นทรัพย์ซึ่งได้ใช้ หรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 33 (1) เมื่อรถจักรยานยนต์ของกลางมิใช่ทรัพย์ที่เข้าหลักเกณฑ์ที่จะริบได้ จึงจะสั่งริบหาได้ไม่ ปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 และ พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2553 มาตรา 182/1 วรรคสอง
อนึ่ง สำหรับรถจักรยานยนต์ของกลางที่ศาลล่างทั้งสองสั่งริบนั้น เห็นว่า เมื่อรถจักรยานยนต์ของกลาง มิใช่ทรัพย์ที่ใช้ในการกระทำความผิด แต่เป็นเพียงยานพาหนะที่จําเลยที่ 1 กับพวกขับมายังที่เกิดเหตุและขับออกไปจากที่เกิดเหตุ เมื่อการปล้นทรัพย์สำเร็จแล้วเท่านั้น ซึ่งแม้จะเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 340 ตรี ดังที่วินิจฉัยมาข้างต้นก็ตาม แต่การที่จะริบได้นั้น ต้องเป็นทรัพย์ซึ่งได้ใช้ หรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 33 (1) เมื่อรถจักรยานยนต์ของกลางมิใช่ทรัพย์ที่เข้าหลักเกณฑ์ที่จะริบได้ จึงจะสั่งริบหาได้ไม่ ปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 และ พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2553 มาตรา 182/1 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1542/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ปืนอัดลมไม่ใช่ 'อาวุธปืน' ตามกฎหมาย ศาลยกฟ้องความผิดมีอาวุธปืน และพิพากษาให้นับโทษคดีอื่น
แม้ความผิดข้อหามีอาวุธปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาตและพาอาวุธปืนติดตัวไปในเมือง หมู่บ้านหรือทางสาธารณะโดยไม่ได้รับใบอนุญาตและโดยไม่มีเหตุสมควร ซึ่งจำเลยให้การรับสารภาพ ศาลสามารถพิพากษาลงโทษจำเลยได้โดยไม่ต้องสืบพยานหลักฐานต่อไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 176 วรรคหนึ่ง ก็ตาม แต่เมื่อมีการสืบพยานโจทก์ประกอบคำรับสารภาพของจำเลยในข้อหาชิงทรัพย์ในเคหสถานโดยมีและใช้อาวุธปืนและโดยใช้ยานพาหนะแล้ว พยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบได้ความเพียงว่าจำเลยใช้ปืนอัดลมขู่ผู้เสียหายไม่ให้ขัดขืนจนผู้เสียหายเกิดความกลัว แต่โจทก์มิได้นำสืบให้เห็นว่าปืนอัดลมดังกล่าวมีคุณสมบัติและระบบการทำงานซึ่งใช้ส่งเครื่องกระสุนปืนได้ อันจะเป็นอาวุธปืนตามบทนิยามคำว่า "อาวุธปืน" แห่ง พ.ร.บ.อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ.2490 กรณีจึงไม่อาจสันนิษฐานให้เป็นผลร้ายแก่จำเลยได้ และคดีต้องฟังข้อเท็จจริงว่าปืนอัดลมดังกล่าวมิใช่อาวุธปืนตาม พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ แต่เป็นเพียงสิ่งเทียมอาวุธปืน อันถือไม่ได้ว่าเป็นอาวุธโดยสภาพตามความหมายของบทนิยามในมาตรา 1 (5) แห่ง ป.อ. การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดข้อหามีอาวุธปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาต พาอาวุธปืนติดตัวไปในเมือง หมู่บ้านหรือทางสาธารณะโดยไม่ได้รับใบอนุญาตและโดยไม่มีเหตุสมควร และชิงทรัพย์โดยมีและใช้อาวุธปืน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 81/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสนับสนุนการชิงทรัพย์: ความผิดฐานตัวการร่วม vs. ผู้สนับสนุน และการใช้รถยนต์ในการกระทำความผิด
จำเลยที่ 2 เพียงแต่ขับรถยนต์ไปส่งและรอรับจำเลยที่ 1 อันเป็นการช่วยเหลือให้ความสะดวกแก่จำเลยที่ 1 ในการชิงทรัพย์ มิได้ร่วมกับจำเลยที่ 1 กระทำความผิด จึงไม่อาจถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ใช้รถยนต์ดังกล่าวเพื่อความสะดวกในการชิงทรัพย์ หรือพาทรัพย์นั้นไป หรือเพื่อให้พ้นการจับกุม จำเลยที่ 1 ย่อมไม่มีความผิดตามมาตรา 340 ตรี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1513/2562
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ชิงทรัพย์และลักทรัพย์: การแบ่งแยกความผิดฐานชิงทรัพย์และลักทรัพย์เมื่อมีเจตนาทุจริตเกิดขึ้นภายหลัง
จำเลยขับรถจักรยานยนต์ติดตามผู้เสียหายมาถึงที่เกิดเหตุ ผู้เสียหายขับรถจักรยานยนต์ไปจอดที่ลานจอดรถในมหาวิทยาลัย น. ผู้เสียหายยังไม่ได้ลงจากรถ จำเลยเดินมาจากด้านหลังของผู้เสียหายแล้วถามผู้เสียหายว่ามีเงินเท่าใด จากนั้นเข้าประชิดตัวผู้เสียหายพร้อมกับทำท่าจะล้วงอาวุธจากขอบกางเกงข้างหลัง ลักษณะการกระทำของจำเลยดังกล่าวเห็นได้อย่างชัดเจนว่าเป็นการข่มขู่คุกคามผู้เสียหาย โดยเฉพาะจำเลยเป็นชายอยู่ในวัยฉกรรจ์ ร่างกายล่ำกำยำ สูงกว่าผู้เสียหายมาก ส่วนผู้เสียหายเป็นหญิง กำลังศึกษา ย่อมเกิดความเกรงกลัวจำเลย พฤติการณ์ของจำเลยถือได้ว่าเป็นการขู่เข็ญผู้เสียหายว่า ในทันใดนั้นจะใช้กำลังประทุษร้าย การที่จำเลยกระทำและพูดกับผู้เสียหายเช่นนั้น เพื่อให้ผู้เสียหายส่งเงินให้แก่จำเลย เมื่อผู้เสียหายส่งเงินให้ 240 บาท การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานชิงทรัพย์โดยใช้ยานพาหนะเพื่อกระทำผิด หรือพาทรัพย์นั้นไป หรือเพื่อให้พ้นการจับกุม ตาม ป.อ. มาตรา 339 (2) วรรคสาม ประกอบมาตรา 340 ตรี โดยไม่ต้องคำนึงว่าจำเลยเป็นผู้หยิบเอาทรัพย์นั้นเอง หรือผู้เสียหายเป็นผู้หยิบส่งให้ไป
การที่ผู้เสียหายเบิกความว่า หลังจากส่งเงินให้จำเลยแล้ว จำเลยกอดปล้ำพยายามดึงกางเกง ผู้เสียหาย ผู้เสียหายกลัวจำเลยจะข่มขืนกระทำชำเรา จึงถอดสร้อยคอทองคำที่สวมให้จำเลยไปเอง โดยไม่ปรากฏว่าจำเลยขู่เข็ญหรือใช้กำลังประทุษร้ายเพื่อมุ่งประสงค์ต่อสร้อยคอทองคำของผู้เสียหายแต่อย่างใด หากแต่ผู้เสียหายคิดว่า เมื่อจำเลยได้สร้อยคอทองคำแล้ว จะปล่อยตัวผู้เสียหายไป การที่จำเลยรับสร้อยคอทองคำไป จึงเป็นเจตนาทุจริตที่เกิดขึ้นภายหลัง การกระทำของจำเลยในส่วนนี้ไม่เป็นความผิดฐานชิงทรัพย์ แต่เป็นความผิดฐานลักทรัพย์ ตาม ป.อ. มาตรา 334 อีกกระทงหนึ่งแยกต่างหากจากฐานชิงทรัพย์เงิน 240 บาท เมื่อความผิดฐานชิงทรัพย์เป็นความผิดที่รวมการกระทำความผิดฐานลักทรัพย์อยู่ด้วย แม้โจทก์ฟ้องให้ลงโทษจำเลยฐานชิงทรัพย์เงินสดและสร้อยคอทองคำ แต่เมื่อพิจารณาได้ความว่าจำเลยกระทำความผิดฐานลักทรัพย์สร้อยคอทองคำ ศาลย่อมมีอำนาจปรับบทความผิดและบทลงโทษจำเลยฐานลักทรัพย์ได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคท้าย ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ ตาม ป.วิ.อ.มาตรา192 วรรคท้าย, 195 วรรคสอง, 225 แต่เนื่องจากโจทก์มิได้อุทธรณ์หรือฎีกา ศาลฎีกาไม่อาจลงโทษจำเลยในความผิดฐานลักทรัพย์อีกกระทงได้ เพราะจะเป็นการพิพากษาเพิ่มโทษ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212 ประกอบ 225
การที่ผู้เสียหายเบิกความว่า หลังจากส่งเงินให้จำเลยแล้ว จำเลยกอดปล้ำพยายามดึงกางเกง ผู้เสียหาย ผู้เสียหายกลัวจำเลยจะข่มขืนกระทำชำเรา จึงถอดสร้อยคอทองคำที่สวมให้จำเลยไปเอง โดยไม่ปรากฏว่าจำเลยขู่เข็ญหรือใช้กำลังประทุษร้ายเพื่อมุ่งประสงค์ต่อสร้อยคอทองคำของผู้เสียหายแต่อย่างใด หากแต่ผู้เสียหายคิดว่า เมื่อจำเลยได้สร้อยคอทองคำแล้ว จะปล่อยตัวผู้เสียหายไป การที่จำเลยรับสร้อยคอทองคำไป จึงเป็นเจตนาทุจริตที่เกิดขึ้นภายหลัง การกระทำของจำเลยในส่วนนี้ไม่เป็นความผิดฐานชิงทรัพย์ แต่เป็นความผิดฐานลักทรัพย์ ตาม ป.อ. มาตรา 334 อีกกระทงหนึ่งแยกต่างหากจากฐานชิงทรัพย์เงิน 240 บาท เมื่อความผิดฐานชิงทรัพย์เป็นความผิดที่รวมการกระทำความผิดฐานลักทรัพย์อยู่ด้วย แม้โจทก์ฟ้องให้ลงโทษจำเลยฐานชิงทรัพย์เงินสดและสร้อยคอทองคำ แต่เมื่อพิจารณาได้ความว่าจำเลยกระทำความผิดฐานลักทรัพย์สร้อยคอทองคำ ศาลย่อมมีอำนาจปรับบทความผิดและบทลงโทษจำเลยฐานลักทรัพย์ได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคท้าย ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ ตาม ป.วิ.อ.มาตรา192 วรรคท้าย, 195 วรรคสอง, 225 แต่เนื่องจากโจทก์มิได้อุทธรณ์หรือฎีกา ศาลฎีกาไม่อาจลงโทษจำเลยในความผิดฐานลักทรัพย์อีกกระทงได้ เพราะจะเป็นการพิพากษาเพิ่มโทษ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212 ประกอบ 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8192/2561
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังพยานหลักฐานในคดีอาญา, คำรับสารภาพ, พยานบอกเล่า, พยานประกอบ, และการใช้กฎหมายอาญาที่แก้ไขใหม่
แม้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 กับพวกวางแผนที่จะเข้าไปลักทรัพย์ภายในโรงงานของผู้เสียหายที่ 1 แต่ไม่ปรากฏว่ามีการวางแผนแบ่งหน้าที่รับมากระทำเป็นส่วน ๆ ให้จำเลยที่ 1 และที่ 3 กับพวกจะใช้กำลังประทุษร้ายหรือขู่เข็ญว่าในทันใดนั้นจะใช้กำลังประทุษร้ายเพื่อสะดวกแก่การลักทรัพย์ พาทรัพย์นั้นไป ให้ยื่นให้ซึ่งทรัพย์ ยึดถือเอาทรัพย์นั้นไว้ ปกปิดการกระทำความผิดนั้น หรือให้พ้นจากการจับกุมอันเป็นองค์ประกอบความผิดฐานปล้นทรัพย์ รวมไปถึงการทำร้ายร่างกายและปล้นเงินของผู้เสียหายที่ 2 ซึ่งเป็นพนักงานรักษาความปลอดภัยในโรงงานของผู้เสียหายที่ 1 ข้อเท็จจริงจึงฟังได้เพียงว่า พฤติการณ์ที่จำเลยที่ 2 ทำหน้าที่เพียงขับรถยนต์ไปส่งจำเลยที่ 1 และที่ 3 กับพวกที่โรงงานของผู้เสียหายที่ 1 แล้วขับรถไปรอที่ปั๊มน้ำมัน เมื่อจำเลยที่ 1 และที่ 3 กับพวกลักทรัพย์ได้แล้ว พวกของจำเลยที่ 1 และที่ 3 โทรศัพท์แจ้งให้จำเลยที่ 2 ขับรถยนต์ไปรับจำเลยที่ 1 และที่ 3 กับพวกพร้อมทรัพย์ที่ลักมา ซึ่งเป็นการเข้ามาร่วมกระทำผิดด้วยเมื่อมีการตัดสายไฟแล้วขนย้ายเคลื่อนที่อันเป็นการลักทรัพย์สำเร็จเท่านั้น ดังนั้น การที่จำเลยที่ 2 ซึ่งอยู่ที่อื่นห่างไกลจากสถานที่เกิดเหตุจึงไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการใช้กำลังประทุษร้ายผู้เสียหายที่ 2 ด้วย จำเลยที่ 2 จึงไม่มีความผิดฐานร่วมกันปล้นทรัพย์ผู้เสียหายที่ 1 และที่ 2 โดยใช้รถยนต์เป็นยานพาหนะเพื่อกระทำผิด หรือพาทรัพย์นั้นไป หรือเพื่อให้พ้นการจับกุม และหน่วงเหนี่ยวหรือกักขังผู้อื่นตามฟ้อง แต่มีความผิดเพียงฐานเป็นผู้สนับสนุนการกระทำผิดฐานลักทรัพย์ผู้เสียหายที่ 1 ในเวลากลางคืนโดยร่วมกันกระทำความผิดด้วยกันตั้งแต่สองคนขึ้นไป โดยใช้รถยนต์เป็นยานพาหนะเพื่อสะดวกแก่การกระทำผิด หรือพาทรัพย์นั้นไป หรือเพื่อให้พ้นการจับกุม ตาม ป.อ. มาตรา 335 (1) (7) วรรคสอง ประกอบมาตรา 336 ทวิ และมาตรา 86 อันเป็นการกระทำซึ่งเป็นความผิดได้อยู่ในตัวเองและรวมอยู่ในความผิดฐานปล้นทรัพย์ตามที่โจทก์ฟ้อง ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคท้าย และจำเลยที่ 2 ไม่ต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 และที่ 3 คืนเงิน 3,900 บาท แก่ผู้เสียหายที่ 2 แต่ต้องร่วมกับจำเลยที่ 1 และที่ 3 คืนเงิน 280,000 บาท แก่ผู้เสียหายที่ 1
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 415/2560
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว: ข้อจำกัดการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงหลังศาลอุทธรณ์ยืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยทั้งสองมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 340 วรรคแรก ประกอบมาตรา 340 ตรี และมาตรา 83 จำคุกคนละ 7 ปี 6 เดือน อาศัยอำนาจตาม พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2553 มาตรา 142 (1) เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นการส่งตัวจำเลยทั้งสองไปฝึกอบรมที่ศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนเขต 4 จังหวัดขอนแก่น มีกำหนดขั้นต่ำ 3 ปี ขั้นสูง 4 ปี ศาลฎีกาโดยมติที่ประชุมใหญ่ เห็นว่า เป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นอันเป็นศาลเยาวชนและครอบครัวใช้วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนแทนการลงโทษทางอาญาแก่จำเลยซึ่งไม่เป็นการลงโทษตาม ป.อ. มาตรา 18 ต้องถือว่าศาลชั้นต้นมิได้พิพากษาให้ลงโทษจำคุกจำเลยทั้งสองเกินห้าปี เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 4 พิพากษายืน จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 218 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2553 มาตรา 6 และมาตรา 183 ที่จำเลยทั้งสองฎีกาว่าพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบมารับฟังไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสองกระทำความผิดนั้น เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามบทบัญญัติดังกล่าว ที่ศาลชั้นต้นรับฎีกาของจำเลยทั้งสองมา เป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย พิพากษายกฎีกาของจำเลยทั้งสอง
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 17/2559)
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 17/2559)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15719/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิ่มโทษอาญาซ้ำ จำเป็นต้องพิสูจน์คดีเดิมถึงที่สุด
ข้อเท็จจริงที่ว่าจำเลยที่ 3 เป็นบุคคลคนเดียวกับจำเลยในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 767/2548 ของศาลชั้นต้นที่โจทก์ขอให้เพิ่มโทษนั้น เป็นข้อเท็จจริงต่างหากจากข้อเท็จจริงที่โจทก์บรรยายว่าการกระทำของจำเลยที่ 3 เป็นความผิด และเป็นข้อเท็จจริงที่โจทก์มีหน้าที่นำสืบให้ปรากฏ คดีนี้จำเลยที่ 3 ให้การรับสารภาพตามฟ้องโจทก์ ซึ่งเป็นการรับสารภาพว่าจำเลยที่ 3 ได้กระทำความผิดตามฟ้องเท่านั้น มิได้ให้การรับด้วยว่าเป็นบุคคลคนเดียวกับจำเลยในคดีที่โจทก์ขอให้เพิ่มโทษจำเลยที่ 3 จึงยังถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 3 รับในเรื่องการเพิ่มโทษและมิใช่ข้อเท็จจริงที่ศาลรู้เอง แม้โจทก์มีพนักงานสอบสวนเป็นพยานเบิกความว่า พยานได้ส่งลายพิมพ์นิ้วมือของจำเลยที่ 3 ไปตรวจสอบประวัติ ผลการตรวจสอบระบุว่า จำเลยที่ 3 ถูกดำเนินคดีข้อหาปล้นทรัพย์โดยมีอาวุธ โดยใช้ยานพาหนะเพื่อความสะดวกแก่การกระทำผิดหรือพาทรัพย์นั้นไป ตามคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 767/2548 ศาลพิพากษาเมื่อวันที่ 16 กันยายน 2548 ว่าจำเลยที่ 3 มีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 83, 340 วรรคสอง, 340 ตรี จำคุก 22 ปี 6 เดือน รับลดกึ่งหนึ่ง จำคุก 11 ปี 3 เดือน ก็ตาม แต่พยานปากดังกล่าวมิได้เบิกความว่า คดีอาญาดังกล่าวถึงที่สุดแล้วหรือไม่ เมื่อโจทก์มิได้นำสืบให้ปรากฏข้อเท็จจริงชัดเจนว่าจำเลยที่ 3 เคยต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษจำคุกตามคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 767/2548 ของศาลชั้นต้น และคดีดังกล่าวถึงที่สุดแล้ว จำเลยที่ 3 ได้กระทำผิดในคดีนี้ซ้ำในอนุมาตราเดียวกันอีกภายในเวลาสามปีนับแต่วันพ้นโทษ จึงไม่อาจเพิ่มโทษจำเลยที่ 3 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15518/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ชิงทรัพย์, กรรโชกทรัพย์, และความผิดต่อเสรีภาพ: การกระทำผิดฐานชิงทรัพย์และกรรโชกทรัพย์โดยมีองค์ประกอบของการข่มขู่และหน่วงเหนี่ยว
จำเลยกับพวกร่วมกันกระชากตัวโจทก์ร่วมลงจากรถแท็กซี่และรุมทำร้ายโจทก์ร่วม แล้วนำตัวโจทก์ร่วมขึ้นรถกระบะแล่นออกไปยังบ่อปลาแห่งหนึ่งโดยระหว่างที่อยู่ในรถกระบะจำเลยกับพวกทำร้ายร่างกายโจทก์ร่วมตลอดทางโดยใช้ขวดเบียร์และท่อนเหล็กเป็นอาวุธ และจำเลยได้ล้วงเงิน 10,000 บาท ของโจทก์ร่วมไป เมื่อจำเลยกระทำความผิดโดยมีอาวุธในเวลากลางคืนและใช้ยานพาหนะ การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานชิงทรัพย์ตาม ป.อ. มาตรา 339 วรรคสอง ประกอบมาตรา 335 (1) (7), 340 ตรี
การที่จำเลยและ น. เรียกร้องเงินจำนวน 23,000 บาท เพื่อแลกเปลี่ยนกับการปล่อยตัวโจทก์ร่วม โดยจำเลยเชื่อว่าโจทก์ร่วมโกงเงิน น. ย่อมเป็นเพียงความเชื่อของจำเลย หาเป็นเหตุให้โจทก์ร่วมเป็นหนี้ น. ไม่ ดังนั้น เงินจำนวน 23,000 บาท ที่จำเลยเรียกร้องเพื่อแลกกับการปล่อยตัวโจทก์ร่วมจึงเป็นค่าไถ่ การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดต่อเสรีภาพตามมาตรา 313 วรรคแรก
อนึ่ง เนื่องจากจำเลยจัดให้โจทก์ร่วมได้รับเสรีภาพก่อนศาลชั้นต้นพิพากษาโดยโจทก์ร่วมมิได้รับอันตรายสาหัสหรือตกอยู่ในภาวะอันใกล้จะเป็นอันตรายต่อชีวิต จึงลงโทษน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้ไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่ง ตามมาตรา 316
การที่จำเลยและ น. เรียกร้องเงินจำนวน 23,000 บาท เพื่อแลกเปลี่ยนกับการปล่อยตัวโจทก์ร่วม โดยจำเลยเชื่อว่าโจทก์ร่วมโกงเงิน น. ย่อมเป็นเพียงความเชื่อของจำเลย หาเป็นเหตุให้โจทก์ร่วมเป็นหนี้ น. ไม่ ดังนั้น เงินจำนวน 23,000 บาท ที่จำเลยเรียกร้องเพื่อแลกกับการปล่อยตัวโจทก์ร่วมจึงเป็นค่าไถ่ การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดต่อเสรีภาพตามมาตรา 313 วรรคแรก
อนึ่ง เนื่องจากจำเลยจัดให้โจทก์ร่วมได้รับเสรีภาพก่อนศาลชั้นต้นพิพากษาโดยโจทก์ร่วมมิได้รับอันตรายสาหัสหรือตกอยู่ในภาวะอันใกล้จะเป็นอันตรายต่อชีวิต จึงลงโทษน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้ไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่ง ตามมาตรา 316
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 22246/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้และมีอาวุธปืนในความผิดชิงทรัพย์ การลงโทษเฉพาะผู้มีหรือใช้อาวุธปืน
ป.อ. มาตรา 340 ตรี มุ่งหมายที่จะลงโทษหนักขึ้นเฉพาะผู้มีหรือใช้อาวุธปืนเท่านั้น เมื่อข้อเท็จจริงได้ความจากผู้เสียหายว่า ผู้เสียหายเดินทางไปกับจำเลยที่ 1 เพื่อไปติดต่อล่อซื้อและจับกุมผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษ โดยผู้เสียหายยินยอมให้จำเลยที่ 1 เอาอาวุธปืนของผู้เสียหายไปเก็บรักษาไว้เพราะเคยรู้จักกับจำเลยที่ 1 มาก่อน ขณะที่จำเลยที่ 1 เก็บอาวุธปืนไว้แล้วผู้เสียหายและจำเลยที่ 1 ต่างลงจากรถ จำเลยที่ 1 บอกให้ผู้เสียหายหยุด อย่าขยับตัว ผู้เสียหายแย่งปืนจากจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 จึงเข้าร่วมทำร้ายผู้เสียหาย โดยไม่ปรากฏว่าจำเลยทั้งสองมีอาวุธปืนมาก่อน จำเลยที่ 2 จึงไม่มีความผิดฐานร่วมชิงทรัพย์โดยมีอาวุธปืนตาม ป.อ. มาตรา 340 ตรี แต่การที่จำเลยที่ 1 ใช้อาวุธปืนตีผู้เสียหายในการชิงทรัพย์นั้น แม้จะเป็นอาวุธปืนของผู้เสียหายที่จำเลยทั้งสองร่วมกันชิงเอามาจากผู้เสียหายก็ตาม แต่การชิงทรัพย์ยังไม่ขาดตอน การที่จำเลยที่ 1 ใช้อาวุธปืนตีผู้เสียหาย จึงเป็นส่วนหนึ่งของการชิงทรัพย์ จึงถือว่าจำเลยที่ 1 ใช้อาวุธปืนในการชิงทรัพย์ ดังนั้น เฉพาะจำเลยที่ 1 ย่อมต้องรับโทษหนักขึ้นตาม ป.อ. มาตรา 340 ตรี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14997/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบยานพาหนะที่ใช้ในการกระทำความผิด: ศาลใช้ดุลพินิจตาม ป.อ. มาตรา 33(1) ได้
เมื่อข้อเท็จจริงฟังเป็นยุติว่า จำเลยที่ 1 ร่วมกับพวกปล้นทรัพย์ของผู้เสียหาย โดยใช้รถจักรยานยนต์ 2 คัน ของกลางเป็นยานพาหนะเพื่อความสะดวกแก่การกระทำผิด หรือพาทรัพย์นั้นไป หรือเพื่อให้พ้นการจับกุม อันเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 340 วรรคแรก ประกอบมาตรา 340 ตรี, 83 การที่ศาลชั้นต้นมิได้ริบรถจักรยานยนต์ 2 คัน ของกลาง เป็นการใช้ดุลพินิจตาม ป.อ. มาตรา 33 (1) เนื่องจากเห็นว่ามิใช่ทรัพย์สินที่จำเลยทั้งสามกับพวกใช้ในการกระทำความผิดโดยตรงเท่านั้น มิใช่เป็นเหตุให้ต้องปรับบทลงโทษตาม ป.อ. มาตรา 340 วรรคแรกเพียงบทเดียว