คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.อ. ม. 340 ตรี

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 164 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2041/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานปล้นทรัพย์ด้วยอาวุธปืนและการพกพาอาวุธปืน
ใช้อาวุธปืนขู่ปล้นทรัพย์ในเมือง เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 340วรรคสองผู้พกปืนมีความผิดตาม มาตรา 371 ต่างกระทงกัน เฉพาะผู้ที่ใช้ปืนขู่รับโทษหนักขึ้นตามม.340 ตรี จาก มาตรา 340วรรคสองอีกด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2015/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำรับสารภาพชั้นสอบสวนใช้ประกอบพยานแวดล้อมได้ แม้ไม่มีพยานเบิกความต่อศาลโดยตรง
คำให้การชั้นสอบสวนเป็นพยานบอกเล่า จะรับฟังดังคำพยานที่เบิกความต่อศาลไม่ได้ แต่อาจฟังว่าเคยให้การไว้เช่นนั้นเพื่อพิเคราะห์สอดส่องถึงข้อเท็จจริงอย่างเช่นเอกสารทางราชการที่ได้ทำขึ้นจากถ้อยคำของบุคคล(อ้างฎีกาที่ 51/2498)
คดีอาญาเรื่องปล้นทรัพย์ จำเลยทั้งสามให้การปฏิเสธชั้นศาล โจทก์ไม่ได้ตัวผู้เสียหายซึ่งเป็นประจักษ์พยานและพยานรายทางอื่นมาสืบ คงมีคำให้การชั้นสอบสวนที่จำเลยให้การรับสารภาพไว้โดยสมัครใจและนำชี้ที่เกิดเหตุให้ถ่ายภาพไว้กับมีตำรวจผู้จับและพนักงานสอบสวนมาสืบประกอบว่าได้จับกุมจำเลยทั้งสามได้ในที่แห่งเดียวกันและได้สร้อยคอของผู้เสียหายจากจำเลยที่ 2 ทั้งในชั้นสอบสวนผู้เสียหายได้ชี้ตัวจำเลยทั้งสามได้ถูกต้อง ดังนี้ ศาลรับฟังคำรับสารภาพชั้นสอบสวนของจำเลยทั้งสามประกอบพยานแวดล้อมดังกล่าวลงโทษจำเลยทั้งสามได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1815/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งแยกความผิดฐานปล้นทรัพย์โดยใช้อาวุธปืน และการนับโทษจำเลย
เมื่อปรากฏว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้ใช้อาวุธปืนในการปล้นทรัพย์แต่เพียงผู้เดียวไม่ปรากฏว่าจำเลยอื่นมีหรือใช้อาวุธปืนด้วยจำเลยอื่นจึงไม่มีความผิดฐานทำการปล้นทรัพย์โดยมีหรือใช้อาวุธปืนตามมาตรา 340ตรีที่แก้ไขโดยประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 11 ลงวันที่21พฤศจิกายนพ.ศ.2514 ข้อ15 ด้วยและเป็นเหตุในลักษณะคดีศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยอื่นที่มิได้อุทธรณ์
และเมื่อปรากฏจากฎีกาของโจทก์ว่า คดีที่โจทก์ขอให้นับโทษจำเลยที่ 1,2 ต่อจากคดีอาญาหมายเลขดำที่ 546/2518 นั้น จำเลยที่ 1,2 ถูกศาลพิพากษาลงโทษจำคุกแล้วปรากฏตามคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 764/2518 ของศาลชั้นต้นศาลฎีกาให้นับโทษจำเลยที่ 1 ที่ 2 ต่อกันได้ตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1815/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปล้นทรัพย์โดยใช้อาวุธปืน: ความรับผิดของจำเลยแต่ละคน และการนับโทษรวม
เมื่อปรากฏว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้ใช้อาวุธปืนในการปล้นทรัพย์แต่เพียงผู้เดียวไม่ปรากฏว่าจำเลยอื่นมีหรือใช้อาวุธปืนด้วย จำเลยอื่นจึงไม่มีความผิดฐานทำการปล้นทรัพย์ โดยมีหรือใช้อาวุธปืนตามมาตรา 340 ตรี ที่แก้ไขโดยประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 11 ลงวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514 ข้อ 15 ด้วย และเป็นเหตุในลักษณะคดี ศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยอื่นที่มิได้อุทธรณ์
และเมื่อปรากฏจากฎีกาของโจทก์ว่า คดีที่โจทก์ขอให้นับโทษจำเลยที่ 1,2 ต่อจากคดีอาญาหมายเลขดำที่ 546/2518 นั้น จำเลยที่ 1,2 ถูกศาลพิพากษาลงโทษจำคุกแล้ว ปรากฏตามคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 764/2518 ของศาลชั้นต้น ศาลฎีกาให้นับโทษจำเลยที่ 1 ที่ 2 ต่อกันได้ตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1176/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ปล้นทรัพย์โดยใช้กำลังประทุษร้ายและอาวุธปืน ศาลยืนตามคำพิพากษาเดิม
จำเลยกับพวกรวม 3 คน ใช้รถจักรยานยนต์เป็นพาหนะขับขี่ขึ้นมาเคียงคู่กับรถจักรยานยนต์ของผู้เสียหายที่กำลังวิ่งอยู่บนถนน พวกของจำเลยคนหนึ่งใช้มือจับแขนผู้เสียหายซึ่งกำลังขับขี่รถจักรยานยนต์ แล้วจำเลยดึงคอเสื้อ จนรถจักรยานยนต์ของผู้เสียหายเซ และกระชากเอาสร้อยคอของผู้เสียหายไป ถือได้ว่าจำเลยกับพวกร่วมกันใช้กำลังประทุษร้ายผู้เสียหาย เพื่อความสะดวกในการลักทรัพย์ ลงโทษจำเลยฐานปล้นทรัพย์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 778/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชิงทรัพย์โดยใช้ยานพาหนะ: ต้องเป็นผู้ใช้ยานพาหนะเป็นเครื่องมือในการกระทำผิด หรือใช้ยานพาหนะพาทรัพย์/หลบหนี
ความผิดฐานชิงทรัพย์โดยใช้ยานพาหนะเพื่อกระทำผิดหรือพาทรัพย์นั้นไป หรือเพื่อให้พ้นการจับกุม ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 340 ตรี นั้น ผู้กระทำผิดจะต้องเป็นผู้นำเอาพาหนะมาใช้ในการกระทำผิด โดยผู้กระทำผิดเป็นฝ่ายนำยานพาหนะมาใช้เป็นเครื่องมือประกอบอาชญากรรมชิงทรัพย์นั้นเอง หรือมิฉะนั้นก็ได้ใช้ยานพาหนะที่นำมานั้นพาทรัพย์ที่ตนชิงมาได้นั้นไป หรือได้ใช้ยานพาหนะนั้นพาตนให้พ้นการจับกุม การที่จำเลยชิงทรัพย์รถจักรยานยนต์และพารถจักรยานยนต์นั้นไป ไม่เป็นการชิงทรัพย์โดยใช้ยานพาหนะพาทรัพย์นั้นไปตามความหมายของ มาตรา 340 ตรี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 778/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชิงทรัพย์โดยใช้ยานพาหนะ: ต้องเป็นยานพาหนะที่ใช้ในการกระทำความผิดโดยตรง ไม่ใช่แค่พาทรัพย์ที่ชิงไป
ความผิดตามประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 11 วันที่ 21 พฤศจิกายน 2514 ข้อ 15 มาตรา 340 ตรี นั้น ต้องได้ความว่าได้ชิงทรัพย์โดยใช้ยานพาหนะเพื่อกระทำผิด ฯลฯไม่ใช่ชิงรถจักรยานยนต์พาไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 442/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ปล้นทรัพย์ด้วยอาวุธ: จำเลยไม่มีอาวุธปืน โทษฐานปล้นทรัพย์ไม่เข้า มาตรา 340 ตรี
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทั้งสองกับพวกที่ยังไม่ได้ตัวมาฟ้องอีก 4 คน ร่วมกันมีปืนเป็นอาวุธทำการปล้นทรัพย์ ได้ความว่าจำเลยที่ 2 มิได้มีอาวุธอะไรเลย และจำเลยที่ 1 มีเพียงมีดปลายแหลมอย่างเดียวเท่านั้น คนร้ายที่มีปืนคือพวกที่ยังจับตัวไม่ได้ ดังนี้ การกระทำของจำเลยทั้งสองไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 340 ตรี แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 11 ข้อ 15
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยที่ 1 ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 340, 340 ตรี, 83 ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 11 ข้อ 14, 15 ส่วนจำเลยที่ 2 ให้ยกฟ้อง ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่าให้ลงโทษจำเลยที่ 2 ตามบทมาตราดังกล่าวด้วย จำเลยที่ 2 ฎีกาดังนี้ แม้จำเลยที่ 1 จะมิได้อุทธรณ์ฎีกา ถ้าศาลฎีกาเห็นว่าการกระทำของจำเลยทั้งสองไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 340 ตรี ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 11 ข้อ 15 ศาลฎีกาก็มีอำนาจพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยที่ 1 ได้ เพราะเป็นเหตุในลักษณะคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 384/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทรัพย์สินจากการปล้น: เงินจากการขายของกลาง ไม่ใช่ทรัพย์สินของผู้เสียหาย ศาลไม่คืนได้
เงินที่จำเลยได้มาจากการนำทองรูปพรรณของผู้เสียหายซึ่งปล้นมาได้ไปขาย มิใช่ทรัพย์สินของผู้เสียหายที่ถูกปล้นเอาไป ศาลจะสั่งคืนให้ผู้เสียหายไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2615/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้ยานพาหนะเพื่อหลบหนีหลังชิงทรัพย์: การเพิ่มโทษและขอบเขตการริบของกลาง
จำเลยร่วมกระทำความผิดฐานชิงทรัพย์ โดยใช้รถจักรยานยนต์เป็นยานพาหนะหลบหนีเพื่อให้พ้นการจับกุมเมื่อพวกของจำเลยชิงทรัพย์ได้มาแล้ว จำเลยจึงต้องระวางโทษหนักขึ้นตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 340ตรี แต่รถจักรยานยนต์นี้ก็มิใช่ทรัพย์สินซึ่งจำเลยกับพวกได้ใช้หรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิดฐานชิงทรัพย์รายนี้คงเป็นเพียงยานพาหนะไปมาและพาจำเลยกับพวกหลบหนีให้พ้นการจับกุมโดยสะดวกและรวดเร็วเท่านั้น จึงมิใช่ทรัพย์สินที่ริบได้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33(1)
of 17