พบผลลัพธ์ทั้งหมด 164 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9802/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ชิงทรัพย์โดยใช้อาวุธปืน: ศาลยืนตามศาลล่าง ผู้เสียหายจำได้แม้สภาพแสงไม่ดี
ความผิดฐานร่วมกันมีอาวุธปืนของผู้อื่นไว้ในครอบครองและร่วมกันพาอาวุธปืนไปในหมู่บ้านโดยไม่ได้รับใบอนุญาต ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นให้ลงโทษจำคุกในแต่ละกระทงไม่เกินห้าปี จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง จำเลยฎีกาว่า ไม่ได้กระทำความผิดตามฟ้องเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามฎีกาตามกฎหมายดังกล่าว ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7407/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบรถจักรยานยนต์เป็นทรัพย์สินที่ใช้ในการกระทำความผิดชิงทรัพย์ ต้องพิจารณาพฤติการณ์การใช้ยานพาหนะโดยตรง
การบรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 กับพวกร่วมกันใช้รถจักรยานยนต์ของกลางเป็นยานพาหนะเพื่อกระทำความผิด เพื่อพาทรัพย์นั้นไปหรือเพื่อให้พ้นการจับกุมเป็นการบรรยายฟ้องเพื่อให้ครบองค์ประกอบความผิดตาม ป.อ. มาตรา 340 ตรี ซึ่งเป็นบทบัญญัติที่ทำให้ผู้กระทำความผิดได้รับหนักขึ้นเท่านั้น ส่วนปัญหาว่ารถของกลางเป็นทรัพย์ที่ใช้ในการกระทำความผิดหรือไม่ ต้องพิจารณาพฤติการณ์แห่งการกระทำความผิดเป็นเรื่อง ๆ ไป คดีนี้ข้อเท็จจริงปรากฏว่า จำเลยที่ 1 กับพวก ขับรถของกลางไปจอดรอด้านหน้า แล้วลงจากรถมาปล้นทรัพย์ผู้เสียหาย เมื่อได้ทรัพย์แล้วก็พากันขึ้นรถของกลางหลบหนีไป เป็นเพียงใช้รถเพื่อสะดวกและรวดเร็วในการกระทำความผิดเท่านั้น ไม่ได้ใช้รถของกลางในการกระทำความผิดฐานปล้นทรัพย์โดยตรงแต่อย่างใดรถของกลางจึงมิใช่ทรัพย์สินที่ใช้ในการกระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 33 (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7407/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบรถจักรยานยนต์ที่ใช้เป็นยานพาหนะในการชิงทรัพย์: พฤติการณ์ต้องแสดงเจตนาใช้โดยตรงในการกระทำความผิด
คดีนี้โจทก์บรรยายฟ้องว่า ในการปล้นทรัพย์ตามฟ้อง จำเลยที่ 1 กับพวกร่วมกันใช้รถจักรยานยนต์ของกลางเป็นยานพาหนะเพื่อกระทำความผิด พาทรัพย์นั้นไป และเพื่อให้พ้นการจับกุมอันเป็นการบรรยายฟ้องให้ครบองค์ประกอบความผิดตาม ป.อ. มาตรา 340 ตรี ซึ่งเป็นเพียงบทบัญญัติถึงเหตุที่จะทำให้ผู้กระทำผิดต้องได้รับโทษหนักขึ้นเท่านั้น หาได้บัญญัติให้ถือว่ายานพาหนะนั้นเป็นทรัพย์ที่ใช้ในการกระทำผิดด้วยไม่ ปัญหาที่ว่ารถจักรยานยนต์ของกลางซึ่งผู้กระทำความผิดใช้เป็นยานพาหนะจะเป็นทรัพย์สินที่ใช้ในการกระทำผิดซึ่งศาลพึงสั่งริบตาม ป.อ. มาตรา 33 (1) หรือไม่นั้น ต้องพิจารณาตามพฤติการณ์ของการกระทำผิดเป็นเรื่อง ๆ ไป คดีนี้ข้อเท็จจริงฟังเป็นยุติว่า จำเลยที่ 1 กับพวกขับรถจักรยานยนต์ของกลางผ่านผู้เสียหายไปแล้วไปหยุดรอด้านหน้าผู้เสียหาย พวกของจำเลยที่ 1 ลงจากรถจักรยานยนต์ของกลางเดินไปหาผู้เสียหายแล้วใช้อาวุธปืนตีศีรษะผู้เสียหายและแย่งโทรศัพท์เคลื่อนที่ของผู้เสียหาย หลังจากนั้นจำเลยที่ 1 ขับรถจักรยานยนต์มารับพวกของจำเลยที่ 1 หลบหนีไป พฤติการณ์ของจำเลยที่ 1 กับพวกคงฟังได้เพียงว่าจำเลยที่ 1 กับพวกมีเจตนาใช้รถจักรยานยนต์ของกลางไปและกลับในการกระทำความผิด เพื่อให้พ้นจากการจับกุมโดยสะดวกและรวดเร็วเท่านั้น ไม่ได้ใช้รถจักรยานยนต์ของกลางเป็นยานพาหนะในการกระทำผิดชิงทรัพย์ของผู้เสียหายโดยตรงแต่อย่างใด รถจักรยานยนต์ของกลางจึงมิใช่ทรัพย์สินที่ใช้ในการกระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 33 (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6028/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปรับบทลงโทษปล้นทรัพย์โดยมีอาวุธ และการพิพากษาขัดแย้งเรื่องอาวุธ
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 340 วรรคสอง ประกอบมาตรา 340 ตรี, 83 ลงโทษจำคุก 9 ปี ศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 340 วรรคแรก ประกอบมาตรา 340 ตรี ลงโทษจำคุก 9 ปี จึงเป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิพากษาแก้เฉพาะบทจากความผิดฐานปล้นทรัพย์โดยผู้กระทำคนใดคนหนึ่งมีอาวุธติดตัวไปด้วยเป็นความผิดฐานปล้นทรัพย์โดยไม่ประกอบด้วยเหตุฉกรรจ์คือ ขณะกระทำผิดจำเลยกับพวกไม่มีอาวุธ อันเป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์ภาค 7 แก้ไขเล็กน้อยและให้ลงโทษจำคุกจำเลยเกิน 5 ปี คดีจึงต้องห้ามมิให้โจทก์ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5564/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้รถจักรยานจอดขวางถนนไม่ใช่การใช้ยานพาหนะตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 340 ตรี
การใช้ยานพาหนะเพื่อกระทำผิดตามความใน ป.อ. มาตรา 340 ตรี ต้องเป็นการใช้ตามลักษณะการใช้งานของยานพาหนะที่เป็นเครื่องนำไป หรือเครื่องขับขี่ แต่การใช้รถจักรยานของกลางจอดล้มขวางถนนไว้ไม่ใช่เป็นการใช้รถจักรยานของกลางตามลักษณะการใช้งานของยานพาหนะซึ่งใช้เป็นเครื่องนำผู้ขับขี่เคลื่อนที่ไปจำเลยทั้งสองจึงไม่มีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 340 ตรี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5564/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้รถจักรยานจอดล้มขวางถนน ไม่ถือเป็นยานพาหนะตามมาตรา 340 ตรี
การใช้ยานพาหนะเพื่อกระทำผิดตามความในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 340 ตรี ต้องเป็นการใช้ตามลักษณะการใช้งานของยานพาหนะที่เป็นเครื่องนำไป หรือเครื่องขับขี่ แต่การใช้รถจักรยานจอดล้มขวางถนนให้ผู้เสียหายหยุดรถจักรยานยนต์พาหนะซึ่งใช้เป็นเครื่องนำผู้ขับขี่เคลื่อนที่ไป จำเลยทั้งสองจึงไม่มีความผิดตามมาตรา 340 ตรี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4337/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 340 ตรี ต้องมีคำขอท้ายฟ้อง มิฉะนั้นศาลจะลงโทษไม่ได้
ป.อ.มาตรา 340 ตรี บัญญัติว่า "ผู้ใดกระทำความผิดตามมาตรา 339 มาตรา 339 ทวิ มาตรา 340 หรือมาตรา 340 ทวิ โดยแต่งเครื่องแบบทหารหรือตำรวจหรือแต่งกายให้เข้าใจว่าเป็นทหารหรือตำรวจ หรือโดยมีหรือใช้อาวุธปืนหรือวัตถุระเบิด หรือโดยใช้ยานพาหนะเพื่อกระทำผิด หรือพาทรัพย์นั้นไป หรือเพื่อให้พ้นการจับกุมต้องระวางโทษหนักกว่าที่บัญญัติไว้ในมาตรานั้นๆ กึ่งหนึ่ง" ซึ่งจะเห็นได้ว่า นอกจากการกระทำอันเป็นความผิดตามมาตรา 339 มาตรา 339 ทวิ มาตรา 340 หรือมาตรา 340 ทวิ แล้ว ยังจะต้องประกอบด้วยการกระทำอื่นตามที่บัญญัติในมาตรานี้ด้วย ผู้กระทำความผิดตามมาตราดังกล่าวจึงจะมีความผิดและถูกลงโทษตามมาตรานี้ได้ ดังนั้นมาตรานี้ย่อมเป็นบทบัญญัติว่าการกระทำเช่นนั้นเป็นความผิด ซึ่งโจทก์ต้องระบุมาในฟ้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 158 (6) ด้วย และตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "ห้ามมิให้พิพากษา หรือสั่งเกินคำขอ หรือที่มิได้กล่าวในฟ้อง" อันเป็นการกำหนดกรอบอำนาจการพิพากษาคดี หรือการมีคำสั่งชี้ขาดคดีของศาลไว้ 2 ประการ คือ ห้ามมิให้ศาลพิพากษาหรือสั่งเกินคำขอประการหนึ่ง กับห้ามมิให้ศาลพิพากษาหรือสั่งในข้อที่โจทก์มิได้กล่าวในฟ้องอีกประการหนึ่ง ซึ่งศาลอยู่ในบังคับที่จะพิพากษาหรือสั่งเกินประการหนึ่งประการใดมิได้ และทั้งสองประการดังกล่าวเป็นเรื่องที่โจทก์จะต้องระบุในฟ้อง แม้โจทก์จะบรรยายข้อเท็จจริงครบองค์ประกอบความผิดตามมาตรา 340 ตรี และจำเลยทั้งสองให้การรับสารภาพ แต่เมื่อคำขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองโจทก์ไม่ระบุมาตรา 340 ตรี มาด้วย จึงต้องถือว่าโจทก์ไม่ประสงค์ให้ลงโทษจำเลยทั้งสองตามมาตรา 340 ตรี และเป็นการเกินคำขอ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่ง และวรรคสี่ ศาลจึงพิพากษาหรือสั่งเกินคำขอมิได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2326/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ชิงทรัพย์โดยใช้รถจักรยานยนต์เป็นยานพาหนะเพื่อกระทำผิดและหลบหนี ความผิดตามมาตรา 339 วรรคแรกประกอบมาตรา 340 ตรี
การที่จำเลยขับรถจักรยานยนต์แซงปาดหน้าให้รถจักรยานยนต์ของโจทก์ร่วมหยุดแล้วชิงทรัพย์และขับรถจักรยานยนต์หลบหนีไปนั้น เป็นพฤติการณ์ที่ใช้รถจักรยานยนต์เป็นยานพาหนะเพื่อกระทำผิด พาทรัพย์นั้นไป หรือเพื่อให้พ้นการจับกุม อันเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 339 วรรคแรก ประกอบด้วยมาตรา 340 ตรี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1956/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังพยานหลักฐานจากการสอบสวนก่อนบังคับใช้ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ 22) พ.ศ.2547 และการรับฟังพยานบอกเล่า
พนักงานสอบสวนสอบคำให้การจำเลยทั้งสองเมื่อวันที่ 7 เมษายน 2542 ก่อน ป.วิ.อ. มาตรา 134/1 ที่แก้ไขเพิ่มเติม โดย ป.วิ.อ. (ฉบับที่ 22) พ.ศ.2547 มีผลใช้บังคับ จึงเป็นกรณีที่พนักงานสอบสวนไม่ต้องสอบถามจำเลยทั้งสองในฐานะผู้ต้องหาว่าต้องการทนายความหรือไม่ก่อนเริ่มถามคำให้การจำเลยทั้งสองตามกฎหมายที่แก้ไขใหม่ บันทึกคำให้การของจำเลยทั้งสองจึงรับฟังเป็นพยานหลักฐานของโจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1111/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ร่วมปล้นทรัพย์: พฤติการณ์ร่วมกันหลบหนีแม้ไม่มีอาวุธ ถือเป็นความผิดฐานปล้นทรัพย์ได้ ศาลลดโทษผู้เข้ามอบตัว
พยานโจทก์เบิกความได้สอดคล้องต้องกัน และไม่เคยรู้จักจำเลยที่ 2 และที่ 3 มาก่อน คำเบิกความของพยานโจทก์จึงน่าเชื่อถือ พฤติการณ์ที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 กับพวกมาด้วยกันและหลบหนีไปด้วยกัน แม้จำเลยที่ 2 และที่ 3 จะไม่มีอาวุธปืนติดตัวไปด้วย และไม่ใช่เจ้าของรถจักรยานยนต์ที่ใช้เป็นยานพาหนะในการกระทำผิดก็ตาม แต่พวกของจำเลยที่ 2 และที่ 3 เอาทรัพย์สินของผู้เสียหายไป ทั้งจำเลยที่ 2 เป็นผู้ขับรถจักรยานยนต์และจำเลยที่ 3 นั่งเป็นคนแรกพาคนร้ายมาและพากันหลบหนีไป โดยใช้ถุงพลาสติกครอบปิดป้ายทะเบียนรถไว้ พฤติการณ์ของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ดังกล่าวถือได้ว่าร่วมกระทำความผิดด้วยกัน จึงฟังได้โดยปราศจากข้อสงสัยว่า จำเลยที่ 2 และที่ 3 ได้ร่วมกระทำความผิดฐานปล้นทรัพย์
การที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 เข้ามอบตัวต่อเจ้าพนักงานตำรวจและรับว่าไปในที่เกิดเหตุและหลบหนีไปด้วยกันอันเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา นับว่ามีเหตุบรรเทาโทษ จึงสมควรลดโทษให้ตาม ป.อ. มาตรา 78 และให้มีผลถึงความผิดฐานมีและพาอาวุธปืนซึ่งต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงด้วย
การที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 เข้ามอบตัวต่อเจ้าพนักงานตำรวจและรับว่าไปในที่เกิดเหตุและหลบหนีไปด้วยกันอันเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา นับว่ามีเหตุบรรเทาโทษ จึงสมควรลดโทษให้ตาม ป.อ. มาตรา 78 และให้มีผลถึงความผิดฐานมีและพาอาวุธปืนซึ่งต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงด้วย