คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.อ. ม. 340 ตรี

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 164 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8701/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ชิงทรัพย์-ทำร้ายร่างกาย: ศาลฎีกาแก้ไขคำพิพากษา เน้นเจตนาต่อเนื่อง และความผิดฐานลักทรัพย์
จำเลยทั้งสองวางแผนลวงโจทก์ร่วมไปในที่เกิดเหตุ แล้วจำเลยที่ 1 กระชากคอเสื้อโจทก์ร่วมลงมาจากรถและร้องบอกจำเลยที่ 2 ว่ามาแล้ว จำเลยที่ 2 จึงเดินออกมาจากข้างทาง เมื่อโจทก์ร่วมปฏิเสธไม่ยอมถอดเสื้อผ้าตามคำสั่ง จึงถูกจำเลยที่ 1 ต่อยท้องและใบหน้าหลายครั้งจนล้มคว่ำ จำเลยที่ 2 ร้องบอกว่า "เอามันให้สลบก่อน" จากนั้นจำเลยทั้งสองจึงรุมเตะทำร้ายโจทก์ร่วมจนกระทั่งสิ้นสติไป จำเลยทั้งสองเพียงแต่ใช้หมัดและเท้าทำร้ายร่างกายโจทก์ร่วม ไม่ปรากฏว่ามีการใช้อาวุธหรือเลือกทำร้ายโจทก์ร่วมตรงบริเวณที่เป็นอวัยวะสำคัญอันอาจเป็นอันตรายแก่ชีวิตได้ ทั้งที่มีกำลังคนและแรงกายภาพเหนือกว่าอยู่ในทำเลปลอดคน กับมีเวลาและโอกาสที่จะเลือกกระทำแก่โจทก์ร่วมได้ตามอำเภอใจ บาดแผลที่โจทก์ร่วมถูกทำร้ายไม่ร้ายแรงจนทำให้ถึงแก่ความตายได้ แสดงว่าจำเลยทั้งสองมีเพียงเจตนาทำร้ายร่างกายโจทก์ร่วมเท่านั้น จำเลยทั้งสองจึงมีความผิดฐานทำร้ายร่างกายโจทก์ร่วมโดยไตร่ตรองไว้ก่อนจนได้รับอันตรายสาหัสตาม ป.อ. มาตรา 298
หลังจากจำเลยทั้งสองรุมทำร้ายจนโจทก์ร่วมสลบแล้ว จำเลยที่ 2 จึงกระชากสร้อยคอของโจทก์ร่วมส่งให้จำเลยที่ 1 แสดงให้เห็นว่าเมื่อแรกวางแผนลวงโจทก์ร่วมมายังที่เกิดเหตุจนกระทั่งรุมทำร้ายโจทก์ร่วมสลบนั้น จำเลยทั้งสองยังไม่มีเจตนาจะเอาทรัยพ์ของโจทก์ร่วม แต่หลังจากหยุดทำร้ายโจทก์ร่วมแล้ว จำเลยที่ 2 จึงเกิดเจตนาโลภปลดทรัพย์ของโจทก์ร่วมส่งให้จำเลยที่ 1 แล้วพากันหลบหนี เจตนาต่อทรัพย์ดังกล่าวจึงเป็นคนละตอนคนละเจตนากับการลวงโจทก์ร่วมมาทำร้ายจนได้รับอันตรายสาหัส บาดแผลของโจทก์ร่วมจึงมิได้เกิดจากการมีเจตนาต่อทรัพย์ของโจทก์ร่วม แม้ภายหลังจำเลยที่ 2 จะใช้แรงกายภาพกระชากสร้อยไปจากคอโจทก์ร่วม แต่สร้อยคอและสร้อยข้อมือของโจทก์ร่วมเป็นสร้อยเส้นเล็กจึงค่อนข้างขาดง่าย สภาพบาดแผลที่คอโจทก์ร่วมไม่มีร่องรอยบาดแผลจากการถูกสร้อยบาดตามแรงกระชากที่จำเลยที่ 2 กระทำต่อทรัพย์ปรากฏให้เห็น แสดงว่าแรงกายภาพที่จำเลยที่ 2 กระทำนั้นไม่ถึงกับอันตรายแก่กายของโจทก์ร่วม สภาพเช่นนี้ไม่พอให้ถือว่าเป็นการประทุษร้ายแก่กายของโจทก์ร่วมตาม ป.อ. มาตรา 1 (6) การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงเป็นเพียงความผิดฐานลักทรัพย์ในเวลากลางคืน
จำเลยที่ 1 ใช้รถจักรยานยนต์เป็นยานพาหนะไปลวงโจทก์ร่วมมาทำร้ายในที่เกิดเหตุ แม้โจทก์ร่วมจะหลงกลจนถูกทำร้ายและลักทรัพย์ โดยจำเลยทั้งสองพาทรัพย์ขึ้นรถจักรยานยนต์หลบหนีไป รถจักรยานยนต์ก็เป็นเพียงยานพาหนะที่จำเลยทั้งสองตั้งใจใช้เพื่อการลวงทำร้ายโจทก์ร่วมโดยเฉพาะเท่านั้น มิใช่เพื่อการกระทำความผิดฐานลักทรัพย์ที่เกิดในภายหลังด้วย การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงไม่เป็นการร่วมกันชิงทรัพย์ในเวลากลางคืนโดยใช้ยานพาหนะเพื่อกระทำผิดอันเป็นเหตุฉกรรจ์ตาม ป.อ. มาตรา 340 ตรี
ความผิดฐานทำร้ายร่างกายจนเป็นเหตุให้โจทก์ร่วมรับอันตรายสาหัสกับความผิดฐานลักทรัพย์ในเวลากลางคืนดังกล่าวล้วนแต่เป็นการกระทำที่เกิดต่อเนื่อง และต่างก็เป็นส่วนหนึ่งของการกระทำหลายอย่างซึ่งรวมอยู่ในความผิดฐานชิงทรัพย์ตามฟ้องโดยแต่ละอย่างเป็นความผิดได้อยู่ในตัวเอง ศาลฎีกาจึงมีอำนาจพิพากษาลงโทษจำเลยที่ 2 ในการกระทำตามที่พิจารณาได้ความได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคท้าย และแม้จำเลยที่ 1 จะมิได้ยื่นฎีกาโต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ไว้ด้วย แต่ปัญหาทุกข้อดังกล่าวเป็นเหตุในลักษณะคดีตาม ป.อ. มาตรา 89 ซึ่งกำหนดให้ใช้แก่ผู้กระทำความผิดในการกระทำความผิดนั้นด้วยกันทุกคน ศาลฎีกาจึงมีอำนาจพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยที่ 1 ได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 213 ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1222/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิสูจน์ตัวผู้กระทำผิดจากพยานผู้เห็นเหตุการณ์ โดยพิจารณาจากสภาพแวดล้อมและระยะเวลาในการเกิดเหตุ
แม้ขณะเกิดเหตุจะเป็นเวลาดึกสงัดและมีฝนตกพรำ ๆ แต่ที่เกิดเหตุอยู่บนถนนที่ใช้สำหรับสัญจร ตามสภาพย่อมเป็นที่โล่งผู้เสียหายที่ 2 สามารถเห็นจำเลยได้โดยอาศัยแสงสว่างจากไฟหน้ารถจักรยานยนต์ ทั้งในคืนเกิดเหตุมีแสงจันทร์มองเห็นได้ชัดในระยะเมตรเศษและผู้เสียหายที่ 2 มิได้ถูกบังคับให้นอนคว่ำหน้าคงอุ้มบุตรนั่งดูคนร้ายขณะปลดทรัพย์สินของผู้เสียหายทั้งสอง จากพฤติการณ์ของคนร้ายที่เข้ามาจับแฮนด์รถจักรยานยนต์ ใช้อาวุธปืนและมีดจี้ผู้เสียหายทั้งสองปลดเอาทรัพย์สินไป ทั้งใช้ผ้าขาวม้ามัดผู้เสียหายทั้งสองก่อนจะขับรถจักรยานยนต์ของผู้เสียหายที่ 1 หลบหนีไปคนร้ายต้องเข้ามาประชิดอยู่ใกล้ ๆ กับผู้เสียหายทั้งสองและใช้เวลานานพอสมควร โอกาสที่ผู้เสียหายที่ 2 จะเห็นและจำหน้าคนร้ายได้ย่อมมีมาก โดยเฉพาะผู้เสียหายที่ 2 รู้จักจำเลยเป็นอย่างดี จึงย่อมสามารถสังเกตและจดจำจำเลยได้โดยง่ายและแม่นยำแม้ว่าจำเลยจะสวมหมวกไหมพรมแบบไอ้โม่งชนิดที่เห็นตาก็ตาม แต่สภาพของหมวกดังกล่าวเมื่อมีช่องให้ตามองเห็น ย่อมทำให้มีช่องว่างให้เห็นหน้าบางส่วน ทั้งหลังเกิดเหตุผู้เสียหายที่ 2 ก็บอกผู้เสียหายที่ 1 ทันทีว่า จำเลยเป็นคนร้ายที่ร่วมปล้นทรัพย์ จากนั้นยังไปเล่าให้เพื่อนบ้านฟังอีกว่าคนร้ายคือจำเลย และในวันรุ่งขึ้นก็ไปร้องทุกข์ต่อเจ้าพนักงานตำรวจว่าจำเลยเป็นคนร้าย เมื่อจับจำเลยได้แล้วยังชี้ตัวยืนยันว่าจำเลยเป็นคนร้ายที่ร่วมปล้นทรัพย์ เมื่อผู้เสียหายที่ 2รู้จักจำเลยเป็นอย่างดีโดยเป็นญาติกันและไม่ปรากฏว่าเคยมีสาเหตุโกรธเคืองกันมาก่อนย่อมไม่มีเหตุน่าระแวงสงสัยว่าจะมีเวลาคิดเสริมแต่งเรื่องขึ้นมาทันทีหลังเกิดเหตุเพียงเล็กน้อยว่าจำได้ว่าจำเลยเป็นคนร้าย ทั้งไม่มีความจำเป็นใด ๆ ที่จะต้องเบิกความปรักปรำใส่ร้ายจำเลยซึ่งเป็นญาติกันโดยไม่มีมูลความจริง กรณีจึงฟังได้โดยปราศจากข้อสงสัยว่าจำเลยเป็นคนร้ายที่ร่วมกระทำผิดฐานปล้นทรัพย์จริง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6590/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ปล้นทรัพย์โดยใช้ยานพาหนะและอาวุธปืน การลงโทษความผิดฐานปล้นทรัพย์ การแยกความผิดฐานอื่น
เจตนารมณ์ของประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 340 ตรี มุ่งหมายที่จะลงโทษผู้กระทำผิดให้หนักขึ้นเฉพาะผู้ที่มีหรือใช้อาวุธปืนในการปล้นทรัพย์เท่านั้น มิใช่ว่าผู้ที่ร่วมกระทำการปล้นทรัพย์รายเดียวกันจะต้องระวางโทษหนักขึ้นทุกคน เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 มีและใช้อาวุธปืนในการปล้นทรัพย์เท่านั้น โดยจำเลยที่ 3 เพียงแต่รู้เห็นร่วมในการปล้นทรัพย์ด้วย จึงถือมิได้ว่าจำเลยที่ 3 มีหรือใช้อาวุธปืนในการปล้นทรัพย์ของผู้เสียหายจึงไม่มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 340 ตรี
หลังจากที่จำเลยทั้งสามลวงผู้เสียหายขับรถยนต์มาแล้วระหว่างทางได้ใช้อาวุธปืนจี้บังคับผู้เสียหายและร่วมกันใช้กระดาษกาวปิดปากและใช้เชือกผู้ข้อมือและเท้าทั้งสองข้างของผู้เสียหายติดกับต้นไม้กับล้วงเอาเงินของผู้เสียหายไป แสดงว่าจำเลยทั้งสามร่วมกันหน่วงเหนี่ยวหรือกักขังผู้เสียหายเพื่อสะดวกแก่การปล้นทรัพย์และพาทรัพย์นั้นไป และให้พ้นจากการจับกุมในขณะที่การปล้นทรัพย์ยังไม่ขาดตอนจากกันอันเป็นส่วนหนึ่งของการกระทำในองค์ประกอบความผิดฐานปล้นทรัพย์หาใช่ความผิดฐานหน่วงเหนี่ยวกักขังกรรมหนึ่งและทำร้ายร่างกายอีกบทหนึ่งไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6590/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปล้นทรัพย์ด้วยอาวุธปืนและการจำกัดความรับผิดของจำเลยที่ไม่ได้ใช้อาวุธปืน ศาลพิจารณาโทษฐานปล้นทรัพย์และหน่วงเหนี่ยวกักขัง
ป.อ. มาตรา 340 ตรี มุ่งหมายที่จะลงโทษให้หนักขึ้นเฉพาะผู้ที่มีหรือใช้อาวุธปืนในการปล้นทรัพย์เท่านั้น มิใช่ว่าผู้ที่ร่วมกระทำการปล้นทรัพย์รายเดียวกันจะต้องระวางโทษหนักขึ้นทุกคน
จำเลยที่ 1 และที่ 2 มีและใช้อาวุธปืนในการปล้นทรัพย์ส่วนจำเลยที่ 3 เพียงแต่รู้เห็นร่วมในการปล้นทรัพย์ด้วย ดังนี้ จำเลยที่ 3 ไม่มีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 340 ตรี ด้วย
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยทั้งสามร่วมกันใช้กระดาษกาวปิดปากและใช้เชือกผูกข้อมือและเท้าทั้งสองข้างของผู้เสียหายติดกับต้นไม้อันเป็นการหน่วงเหนี่ยวกักขังทำให้ผู้เสียหายปราศจากเสรีภาพในร่างกาย ทั้งนี้เพื่อความสะดวกแก่การปล้นทรัพย์พาทรัพย์นั้นไป ให้ยื่นให้ซึ่งทรัพย์นั้น ยึดถือเอาทรัพย์นั้นไว้ และคดีได้ความว่าหลังจากที่จำเลยทั้งสามลวงผู้เสียหายขับรถยนต์มาแล้ว ระหว่างทางจำเลยที่ 1 ใช้อาวุธปืนจี้บังคับให้ผู้เสียหายหยุดรถและเปลี่ยนไปนั่งตอนกลางเบาะ จากนั้นจำเลยที่ 1 ได้ขับรถต่อมาไม่ห่างจากจุดแรกเท่าใดนักแล้วเลี้ยวเข้าไปข้างทาง จำเลยทั้งสามได้นำผู้เสียหายลงจากรถยนต์ จำเลยที่ 2 ใช้เชือกมัดผู้เสียหายไขว้หลัง ใช้กระดาษกาวปิดปากและคุมตัวเข้าไปในป่า จำเลยที่ 3 ใช้เชือกมัดมือเท้าผู้เสียหายติดกับต้นไม้ จำเลยที่ 2 ใช้เชือกมัดลำตัวติดกับต้นไม้กับล้วงเอาเงินของผู้เสียหายไป จากนั้นพากันขับรถยนต์ของผู้เสียหายหลบหนีไป แสดงว่าจำเลยทั้งสามร่วมกันหน่วงเหนี่ยวหรือกักขังผู้เสียหายเพื่อสะดวกแก่การปล้นทรัพย์และพาทรัพย์นั้นไปและให้พ้นจากการจับกุมในขณะที่การปล้นทรัพย์ยังไม่ขาดตอนจากกัน อันเป็นส่วนหนึ่งของการกระทำในองค์ประกอบความผิดฐานปล้นทรัพย์นั้นเอง จึงหาใช่เป็นความผิดฐานหน่วงเหนี่ยวหรือกักขังผู้เสียหายอีกกรรมหนึ่งต่างหากไม่ การที่จำเลยทั้งสามร่วมกันทำร้ายผู้เสียหายในระหว่างทำการปล้นทรัพย์ก็หาใช่เป็นความผิดฐานทำร้ายร่างกายอีกบทหนึ่งไม่เช่นกัน ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ ตามป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225 จำเลยที่ 1 ที่ 2 มีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 340 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 340 ตรี , 83 และจำเลยที่ 3 มีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 340 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 83

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6169/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปล้นทรัพย์ด้วยความรุนแรงและการแก้ไขโทษฐานพาอาวุธ ศาลฎีกาปรับบทลงโทษให้ถูกต้อง
จำเลยที่ 1 ขับรถจักรยานยนต์ โดยมีจำเลยที่ 3 กับจำเลยที่ 2 นั่งซ้อนท้าย แล้วแซงเข้าประกบรถจักรยานยนต์ของผู้เสียหาย จากนั้นจำเลยที่ 2 นั่งซ้อนท้ายสุดใช้เท้าถีบหน้าอกผู้เสียหายรถเสียหลักล้มลง ผู้เสียหายถูกรถจักรยานยนต์ล้มทับขาได้รับอันตรายสาหัส จำเลยที่ 1 หยุดรถ จำเลยที่ 3 ลงจากรถถือมีดปลายแหลมเดินเข้าไปหาผู้เสียหายแล้วกระชากเอาสร้อยคอทองคำที่ผู้เสียหายสวมใส่อยู่ขาดติดมือไปได้บางส่วน หลังจากนั้นจำเลยที่ 3 นั่งซ้อนท้ายรถจักรยานยนต์ที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 รออยู่หลบหนีไปด้วยกัน เมื่อจำเลยที่ 3 มีอาวุธมีดติดตัวไปด้วยในการปล้นทรัพย์จำเลยทั้งสามจึงต้องมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 340 วรรคสอง และลงโทษจำเลยทั้งสามตามมาตรา 340 วรรคสาม ประกอบด้วยมาตรา 340 ตรี, 83 ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุด ตาม ป.อ. มาตรา 90 และจำเลยที่ 3 มีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 371 อีกกระทงหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5999/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความคำฟ้องเกี่ยวกับยานพาหนะที่ใช้ในการกระทำความผิดชิงทรัพย์ และการพิสูจน์เจตนาของผู้กระทำผิด
คำฟ้องของโจทก์ระบุเพียงว่า ก่อนชิงทรัพย์จำเลยใช้รถจักรยานยนต์เป็นยานพาหนะเพื่อสะดวกในการเดินทางมาทำการชิงทรัพย์ จะแปลข้อความไปในทางที่เป็นผลร้ายว่า จำเลยใช้รถจักรยานยนต์เพื่อกระทำความผิดฐานชิงทรัพย์ไม่ได้ เพราะจำเลยอาจเพียงแต่ใช้รถจักรยานยนต์เดินทางมาและจอดรถไว้แล้วเดินไปยังที่เกิดเหตุซึ่งอยู่อีกแห่งหนึ่งแล้วทำการชิงทรัพย์โดยไม่ใช้รถจักรยานยนต์เข้ามาเกี่ยวข้องด้วยเลยก็ได้ คำฟ้องโจทก์จึงไม่อาจแปลได้ว่าจำเลยใช้รถจักรยานยนต์เพื่อกระทำผิดฐานชิงทรัพย์ที่จะต้องรับโทษหนักขึ้นตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 340 ตรี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5999/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความคำฟ้องความผิดฐานชิงทรัพย์ และการใช้ยานพาหนะเป็นองค์ประกอบความผิด
++ เรื่อง ชิงทรัพย์ ++
โจทก์บรรยายคำฟ้องว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันใช้รถจักรยานยนต์ไม่ติดแผ่นป้ายทะเบียน เป็นยานพาหนะเพื่อสะดวกแก่การเดินทางมาทำการชิงทรัพย์ยังไม่สามารถแปลความหมายว่า จำเลยทั้งสองใช้รถจักรยานยนต์ของกลางเป็นยานพาหนะในการกระทำความผิดชิงทรัพย์เพราะตามคำฟ้องได้ความเพียงว่า ก่อนชิงทรัพย์ผู้เสียหายจำเลยทั้งสองใช้รถจักรยานยนต์เป็นยานพาหนะเพื่อสะดวกแก่การเดินทางมาทำการชิงทรัพย์เท่านั้น จำเลยทั้งสองอาจเพียงแต่ใช้รถจักรยานยนต์เดินทางมาและจอดรถไว้แล้วเดินไปยังที่เกิดเหตุซึ่งอยู่อีกแห่งหนึ่งแล้วทำการชิงทรัพย์โดยไม่ได้ใช้รถจักรยานยนต์คันนี้เข้ามาเกี่ยวข้องด้วยเลยก็ได้ คำฟ้องโจทก์จึงไม่อาจแปลหรือเข้าใจได้ว่าจำเลยทั้งสองได้ใช้รถจักรยานยนต์ของกลางเพื่อกระทำผิดฐานชิงทรัพย์ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 340 ตรี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7430/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลเยาวชน, การสอบสวน, และการใช้มาตรา 104 พ.ร.บ.ศาลเยาวชนฯ ในคดีอาญาของเยาวชน
ในชั้นพิจารณา ผู้เสียหายเบิกความบ่ายเบี่ยงเป็นทำนองช่วยเหลือจำเลย ย่อมไม่มีน้ำหนักให้รับฟังเท่าคำให้การในชั้นสอบสวนของผู้เสียหาย ซึ่งให้การในระยะกระชั้นชิดกับเวลาเกิดเหตุ เพราะผู้เสียหายยังไม่มีโอกาสไตร่ตรองบิดเบือนข้อเท็จจริงเป็นอย่างอื่น แม้เป็นพยานบอกเล่าแต่มีเหตุผลให้น่าเชื่อถือ
คำให้การของพยานโจทก์ที่ว่าได้ร่วมกระทำผิดด้วยกันกับจำเลยมิได้เป็นการซัดทอดเพื่อให้ตนเองพ้นผิดหรือได้รับประโยชน์จากการซัดทอดนั้น ทั้งยังมีเหตุผลและสอดคล้องกับคำให้การชั้นสอบสวนของผู้เสียหาย จึงมีน้ำหนักรับฟังได้
ฎีกาจำเลยที่ว่า พนักงานสอบสวนไม่ได้ดำเนินการตามวิธีพิจารณาคดีสำหรับเยาวชน ไม่สั่งสอบความประพฤติตามขั้นตอนของสถานพินิจ การสอบสวนจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย แม้จำเลยมิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์แต่เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาจึงรับวินิจฉัยให้ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225
โจทก์ยื่นฟ้องจำเลยต่อศาลจังหวัดนนทบุรี ซึ่งเป็นการกระทำความผิดขณะจำเลยอายุ 17 ปีเศษ ซึ่งเป็นเยาวชน เมื่อมี พ.ร.ฎ.กำหนดวันเปิดดำเนินการแผนกคดีเด็กและเยาวชนในศาลจังหวัดนนทบุรีและศาลจังหวัดสมุทรปราการพ.ศ. 2532 มาตรา 3 ให้เปิดดำเนินการแผนกคดีเด็กและเยาวชนขึ้นในศาลจังหวัดนนทบุรี ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2532 เป็นต้นไป จึงได้มีการโอนคดีที่ศาลจังหวัดนนทบุรีมาพิจารณาพิพากษาที่ศาลจังหวัดนนทบุรีแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวแล้วตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัวพ.ศ. 2534 มาตรา 15 บัญญัติว่า ในกรณีที่ปรากฎในภายหลังว่า ข้อเท็จจริงในเรื่องอายุ หรือการบรรลุนิติภาวะด้วยการสมรสของบุคคลที่เกี่ยวข้อง หรือศาลอื่นใดได้รับพิจารณาพิพากษาคดีโดยไม่ต้องด้วยมาตรา 13 ซึ่งถ้าปรากฏเสียแต่ต้นจะเป็นเหตุให้ศาลนั้น ๆ ไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาก็ตาม ข้อบกพร่องดังกล่าวไม่ทำให้การพิจารณาพิพากษาของศาลที่มีอำนาจพิจารณาคดีธรรมดาและศาลที่มีอำนาจพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัวเสียไป
เมื่อคดีนี้พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอบางกรวยจังหวัดนนทบุรี ซึ่งเป็นพนักงานสอบสวนแห่งท้องที่ซึ่งความผิดอาญาได้เกิดขึ้นในเขตอำนาจ ดำเนินการสอบสวนมาแล้วโดยชอบตาม ป.วิ.อ. มาตรา 18 แม้ภายหลังจะมีการโอนคดีมาพิจารณาพิพากษายังศาลจังหวัดนนทบุรี แผนกคดีเยาวชนและครอบครัวก็ตาม ก็ไม่ทำให้การสอบสวนที่กระทำโดยชอบด้วยกฎหมายมาแต่ต้นกลับเป็นการสอบสวนที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายไปได้
การสั่งสอบความประพฤติตามขั้นตอนของสถานพินิจ ไม่ใช่การดำเนินการชั้นสอบสวนของพนักงานสอบสวน
ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534 มาตรา 104 เป็นบทบัญญัติที่ให้อำนาจศาลที่พิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัวมีอำนาจใช้วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนแทนการลงโทษอาญา หรือวิธีการเพื่อความปลอดภัยได้ ศาลล่างทั้งสองพิจารณาและพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลย โดยไม่ใช้ดุลพินิจให้นำวิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนมาใช้แทนการลงโทษทางอาญานั้น จึงเป็นอำนาจในการพิจารณาพิพากษาคดีโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534 มาตรา 104 วรรคท้าย จะนำมาใช้ในกรณีศาลพิจารณาความหนักเบาแห่งข้อหาและพฤติการณ์แห่งคดีแล้วเห็นว่าควรจะกักตัวหรือควบคุมตัวเด็กหรือเยาวชน ตาม (1) หรือ (2) ต่อไป หลังจากที่เด็กหรือเยาวชนมีอายุครบยี่สิบสี่ปีบริบูรณ์แล้วให้ศาลระบุในคำพิพากษาให้ส่งตัวไปจำคุกไว้ในเรือนจำตามเวลาที่ศาลกำหนด การที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาว่าจำเลยมีอายุ 28 ปี จำคุก 7 ปี6 เดือน การส่งตัวจำเลยไปฝึกและอบรมในสถานพินิจนั้นเป็นวิธีการที่ไม่เหมาะสมจึงให้ส่งตัวจำเลยไปเรือนจำจึงไม่ถูกต้อง ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขเป็นไม่ปรับบทตามมาตรา 104 วรรคท้าย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7430/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาคดีเยาวชน การลดโทษ และการปรับบทลงโทษที่ถูกต้องตามกฎหมาย
ในชั้นพิจารณา ผู้เสียหายเบิกความบ่ายเบี่ยงเป็นทำนองช่วยเหลือจำเลย ย่อมไม่มีน้ำหนักให้รับฟังเท่าคำให้การในชั้นสอบสวนของผู้เสียหาย ซึ่งให้การในระยะกระชั้นชิดกับเวลาเกิดเหตุ เพราะผู้เสียหายยังไม่มีโอกาสไตร่ตรองบิดเบือนข้อเท็จจริงเป็นอย่างอื่นแม้เป็นพยานบอกเล่าแต่มีเหตุผลให้น่าเชื่อถือ
คำให้การของพยานโจทก์ที่ว่าได้ร่วมกระทำผิดด้วยกันกับจำเลยมิได้เป็นการซัดทอดเพื่อให้ตนเองพ้นผิดหรือได้รับประโยชน์จากการซัดทอดนั้น ทั้งยังมีเหตุผลและสอดคล้องกับคำให้การชั้นสอบสวนของผู้เสียหาย จึงมีน้ำหนักรับฟังได้
ฎีกาจำเลยที่ว่า พนักงานสอบสวนไม่ได้ดำเนินการตามวิธีพิจารณาคดีสำหรับเยาวชน ไม่สั่งสอบความประพฤติตามขั้นตอนของสถานพินิจ การสอบสวน จึงไม่ชอบด้วยกฎหมายแม้จำเลยมิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์แต่เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาจึงรับวินิจฉัยให้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225
โจทก์ยื่นฟ้องจำเลยต่อศาลจังหวัดนนทบุรี ซึ่งเป็นการกระทำความผิดขณะจำเลยอายุ 17 ปีเศษ ซึ่งเป็นเยาวชน เมื่อมีพระราชกฤษฎีกากำหนดวันเปิดดำเนินการแผนกคดีเด็กและเยาวชนในศาลจังหวัดนนทบุรีและศาลจังหวัดสมุทรปราการ พ.ศ. 2532มาตรา 3 ให้เปิดดำเนินการแผนกคดีเด็กและเยาวชนขึ้นในศาลจังหวัดนนทบุรี ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2532 เป็นต้นไปจึงได้มีการโอนคดีที่ศาลจังหวัดนนทบุรีมาพิจารณาพิพากษาที่ศาลจังหวัดนนทบุรีแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวแล้วตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534 มาตรา 15 บัญญัติว่าในกรณีที่ปรากฏในภายหลังว่า ข้อเท็จจริงในเรื่องอายุ หรือการบรรลุนิติภาวะด้วยการสมรสของบุคคลที่เกี่ยวข้อง หรือศาลอื่นใดได้รับพิจารณาพิพากษาคดีโดยไม่ต้องด้วยมาตรา 13ซึ่งถ้าปรากฏเสียแต่ต้นจะเป็นเหตุให้ศาลนั้น ๆ ไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาก็ตาม ข้อบกพร่องดังกล่าวไม่ทำให้การพิจารณาพิพากษาของศาลที่มีอำนาจพิจารณาคดีธรรมดาและศาลที่มีอำนาจพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัวเสียไป
เมื่อคดีนี้พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอบางกรวยจังหวัดนนทบุรี ซึ่งเป็นพนักงานสอบสวนแห่งท้องที่ซึ่งความผิดอาญาได้เกิดขึ้นในเขตอำนาจ ดำเนินการสอบสวนมาแล้วโดยชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 18 แม้ภายหลังจะมีการโอนคดีมาพิจารณาพิพากษายังศาลจังหวัดนนทบุรีแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวก็ตาม ก็ไม่ทำให้การสอบสวนที่กระทำโดยชอบด้วยกฎหมายมาแต่ต้นกลับเป็นการสอบสวนที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายไปได้
การสั่งสอบความประพฤติตามขั้นตอนของสถานพินิจไม่ใช่การดำเนินการชั้นสอบสวนของพนักงานสอบสวน
ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534 มาตรา 104เป็นบทบัญญัติที่ให้อำนาจศาลที่พิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัวมีอำนาจใช้วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนแทนการลงโทษอาญาหรือวิธีการเพื่อความปลอดภัยได้ ศาลล่างทั้งสองพิจารณาและพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลย โดยไม่ใช้ดุลพินิจให้นำวิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนมาใช้แทนการลงโทษทางอาญานั้น จึงเป็นอำนาจในการพิจารณาพิพากษาคดีโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534 มาตรา 104วรรคท้าย จะนำมาใช้ในกรณีศาลพิจารณาความหนักเบาแห่งข้อหาและพฤติการณ์แห่งคดีแล้วเห็นว่าควรจะกักตัวหรือควบคุมตัวเด็กหรือเยาวชนตาม (1) หรือ (2) ต่อไป หลังจากที่เด็กหรือเยาวชนมีอายุครบยี่สิบสี่ปีบริบูรณ์แล้วให้ศาลระบุในคำพิพากษาให้ส่งตัวไปจำคุกไว้ในเรือนจำตามเวลาที่ศาลกำหนด การที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาว่าจำเลยมีอายุ 28 ปี จำคุก 7 ปี 6 เดือนการส่งตัวจำเลยไปฝึกและอบรมในสถานพินิจนั้นเป็นวิธีการที่ไม่เหมาะสม จึงให้ส่งตัวจำเลยไปเรือนจำจึงไม่ถูกต้อง ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขเป็นไม่ปรับบทตามมาตรา 104 วรรคท้าย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2498/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชิงทรัพย์โดยใช้รถจักรยานยนต์เป็นยานพาหนะ พยานหลักฐานเพียงปากเดียวแต่มีเหตุผลน่าเชื่อถือ
แม้โจทก์จะมีผู้เสียหายเป็นประจักษ์พยานเพียงปากเดียวมาเบิกความแต่ผู้เสียหายก็เบิกความยืนยันข้อเท็จจริงชัดเจนเป็นขั้นเป็นตอนสอดคล้องต้องกันอย่างมีเหตุมีผล ผู้เสียหายกับจำเลยเป็นคนตำบลเดียวกัน เคยเห็นหน้ากันบ่อยครั้งเพียงแต่ไม่เคยพูดคุยกัน สถานที่เกิดเหตุก็เป็นริมถนนที่โล่งแจ้งในเวลากลางวัน จำเลยไม่มีอุปกรณ์ใดปกปิดหรืออำพรางใบหน้าประกอบกับขณะที่จำเลยลงจากรถจะมาเก็บเอาสร้อยคอทองคำที่ตกอยู่ริมถนนได้มีการพูดโต้ตอบกับผู้เสียหายอยู่ชั่วขณะหนึ่ง ผู้เสียหายมีโอกาสมองเห็นและจดจำรูปร่างหน้าตากันได้ ส่วนที่จำเลยนำสืบต่อสู้คดีโดยอ้างฐานที่อยู่นั้น นอกจากจะไม่มีเหตุผลในการรับฟังแล้วยังไม่น่าเชื่อ ไม่อาจรับฟังเพื่อหักล้างพยานหลักฐานของโจทก์ได้ จึงฟังได้ว่าจำเลยเป็นคนร้ายผู้เสียหายยืนยันว่าได้รับบาดเจ็บที่แขนทั้งสองข้าง หัวเข่า และใบหน้าถลอกมีโลหิตไหล แม้ผลการตรวจชันสูตรบาดแผลไม่ระบุว่ามีโลหิตไหลหรือไม่ก็อาจจะเป็นเพราะแพทย์ตรวจภายหลังเกิดเหตุถึง 2 วันก็เป็นได้ จากบาดแผลดังกล่าวถือได้ว่าผู้เสียหายได้รับอันตรายแก่กายตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 339 วรรคสามแล้ว
การที่จำเลยนั่งซ้อนท้ายรถจักรยานยนต์มากระทำการชิงทรัพย์จนได้ทรัพย์ไปเรียบร้อย โดยพวกของจำเลยติดเครื่องรถจักรยานยนต์รออยู่แล้วจำเลยได้เดินไปขึ้นนั่งซ้อนท้ายรถจักรยานยนต์คันดังกล่าวหลบหนีไปนั้น แสดงว่าจำเลยมีเจตนาที่จะใช้รถจักรยานยนต์ที่พวกของจำเลยติดเครื่องรออยู่นั้นเป็นยานพาหนะในการกระทำความผิดฐานชิงทรัพย์เพื่อพาทรัพย์นั้นไปและหลบหนีเพื่อให้พ้นจากการจับกุมการกระทำของจำเลยจึงเป็นการชิงทรัพย์โดยใช้รถจักรยานยนต์เป็นยานพาหนะตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 340 ตรี
of 17