พบผลลัพธ์ทั้งหมด 97 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3331-3340/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลักษณะการจ้างงานรายวันไม่ต่อเนื่อง ไม่เข้าข่ายลูกจ้างมีสิทธิได้รับค่าชดเชย
การวินิจฉัยว่าลูกจ้างมีสิทธิได้รับค่าชดเชยตามกฎหมายหรือ ไม่ จะต้องพิจารณาถึงเงื่อนไขการจ้างหรือข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างด้วยว่า ลูกจ้างและนายจ้างประสงค์จะ ให้การจ้างมีผลผูกพันเพียงใดและต้องเป็น ลูกจ้างของ นายจ้างคราวเดียวติดต่อกันตลอดระยะเวลาที่ทำงาน โจทก์ เป็น ลูกจ้างจำเลยมีหน้าที่ทำความสะอาดสถานีและขบวนรถของจำเลยโดยได้รับค่าจ้างเป็นรายรับเฉพาะวันที่มาทำงานโจทก์มีสิทธิมาทำงาน วันใดก็ได้ หรือไม่มาทำงานวันใดก็ได้โดย ไม่ต้องบอกกล่าวหรือลางาน และโจทก์ไม่อยู่ภายใต้ระเบียบ ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลย ดังนี้ การจ้าง ดังกล่าวแสดงว่าโจทก์จำเลยมีความประสงค์จะทำ สัญญาจ้างกัน คราวละ1 วันโดยจะเกิดสัญญาจ้างขึ้นในแต่ละวัน ที่โจทก์มาทำงานและสัญญาจ้างเป็นอันระงับไปเมื่อหมดเวลาทำงานของวันนั้นๆวันทำงานแต่ละวันของโจทก์จึงไม่ติดต่อกันจะถือว่า โจทก์เป็นลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันตามที่กำหนด ไว้ใน ประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ 46 หรือข้อ 75 ไม่ได้ โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับ ค่าชดเชย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3056/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินช่วยเหลือค่ารถยนต์ของพนักงานระดับกลาง ไม่ถือเป็นค่าจ้างตามกฎหมายแรงงาน จึงไม่นำมาคำนวณค่าชดเชยได้
พนักงานบริหารของจำเลยแบ่งออกเป็น 3 ระดับ คือระดับต้นระดับกลางและระดับสูง ทุกระดับต้องมีรถยนต์ใช้ในการทำงานให้จำเลย จำเลยช่วยเหลือในเรื่องนี้คือ ระดับต้นให้เงินกู้ซื้อรถยนต์ ระดับกลางเช่นโจทก์ให้เงินค่าระดับบริหารเป็นการจ่ายเหมาเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายในเรื่องของรถยนต์ทั้งหมด โดยจ่ายให้เป็นการประจำและมีจำนวนแน่นอน หากเดินทางโดยเครื่องบินหรือรถไฟก็สามารถเบิกจากจำเลยได้ตามระเบียบเป็นอีกส่วนหนึ่งต่างหาก ส่วนระดับสูงจำเลยจัดรถยนต์ประจำตำแหน่งให้โดยไม่จ่ายเงินค่าระดับบริหารให้อีกดังนั้นประโยชน์ของพนักงานบริหารระดับต้นและระดับสูงที่ได้รับไม่เป็นตัวเงินที่จะนำมาเป็นฐานคำนวณสิทธิประโยชน์ที่จะได้รับตามกฎหมายแรงงานได้จึงเป็นเรื่องของสวัสดิการอย่างแน่ชัด ส่วนประโยชน์ที่พนักงานบริหารระดับกลางจะได้รับเป็นตัวเงินเพื่อทดแทนค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับรถยนต์นั้น ถือได้ว่าเป็นค่าช่วยเหลือหรือเป็นเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการใช้รถยนต์เพื่อทำงานให้จำเลย ไม่ใช่เงินตอบแทนการทำงานโดยตรง แต่เป็นการชดเชยค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับรถยนต์ซึ่งจ่ายให้ตามลำดับความสำคัญของตำแหน่ง หากถือเป็นค่าตอบแทนในการทำงานแล้วพนักงานบริหารระดับต้นและระดับสูงย่อมจะเสียเปรียบระดับกลางเงินค่าระดับบริหารที่โจทก์ได้รับจึงไม่ใช่ค่าจ้างตามกฎหมายแรงงาน ไม่อาจนำมารวมกับเงินเดือนเพื่อคำนวณเป็นค่าชดเชยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2762-2765/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการคุ้มครองตามกฎหมายแรงงาน: สำนักงานเลขาธิการคุรุสภาไม่มีวัตถุประสงค์แสวงหากำไร จึงไม่อยู่ภายใต้บังคับ
ศาลแรงงานกลางกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า โจทก์มีสิทธิเรียกค่าทำงานในวันหยุดจากจำเลย(คุรุสภา)หรือไม่ เพียงใดเมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้เบื้องต้นว่า องค์การค้าของคุรุสภา และสำนักงานเลขาธิการคุรุสภาเป็นหน่วยงานของคุรุสภาองค์การค้าของคุรุสภาเป็นหน่วยงานที่หารายได้ส่วนสำนักงานเลขาธิการคุรุสภาที่โจทก์เป็นเจ้าหน้าที่ประจำอยู่นั้นมีหน้าที่เกี่ยวกับการดำเนินงานในหน้าที่ของคุรุสภาการที่ศาลแรงงานกลางกำหนดปัญหาวินิจฉัยว่า'สำนักงานเลขาธิการคุรุสภาอยู่ในบังคับของกฎหมายคุ้มครองแรงงานหรือไม่ โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของสำนักงานเลขาธิการคุรุสภาจะได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายคุ้มครองแรงงานหรือไม่' จึงเป็นการพิจารณาเพื่อจะนำไปสู่ประเด็นข้อพิพาทที่ได้กำหนดไว้ ตามพระราชบัญญัติครู พ.ศ.2488 อำนาจหน้าที่ของคุรุสภาซึ่งดำเนินงานโดยสำนักงานเลขาธิการคุรุสภาไม่มีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับองค์การค้าของคุรุสภาที่มีการบริหารงานแยกไปต่างหากจากสำนักงานเลขาธิการพนักงานเจ้าหน้าที่ก็เป็นคนละส่วน กันผู้บังคับบัญชาในการบริหารของหน่วยงานทั้งสองเป็น คนละคน ระเบียบข้อบังคับที่ใช้ในแต่ละหน่วยก็แยก ต่างหากจากกัน เมื่อสำนักงานเลขาธิการคุรุสภามิได้มีการ ดำเนินงานเพื่อหารายได้มาแบ่งปันกันระหว่างพนักงานแสดง ว่าจำเลยไม่มีวัตถุประสงค์ในการแสวงหากำไรทางเศรษฐกิจจำเลยหาต้องอยู่ในบังคับของกฎหมายคุ้มครองแรงงานไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1837/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สถานะลูกจ้าง: การจ่ายค่าจ้างจากบริษัทแม่ต่างชาติ แม้ทำงานให้บริษัทในเครือไทย ไม่ถือเป็นลูกจ้างบริษัทไทย
โจทก์เป็นลูกจ้างบริษัท ย. ที่สหรัฐอเมริกาบริษัทดังกล่าวไม่มีสาขาหรือสำนักงานในประเทศไทยและเป็นนิติบุคคลต่างหากจากบริษัทจำเลยเดิมบริษัท ย.ให้โจทก์ไปปฏิบัติงานให้แก่บริษัทฟ. ซึ่งเป็นบริษัทในเครือเช่นเดียวกับบริษัทจำเลยที่ประเทศฟิลิปปินส์ต่อมาบริษัทย. ได้ย้ายโจทก์จากประเทศฟิลิปปินส์มาทำงานให้แก่บริษัทจำเลยในประเทศไทย โดยโจทก์ได้รับค่าจ้างโดยตรงจากบริษัทย.ตลอดมา.แม้บริษัทย. จะเป็นผู้ถือหุ้น 100เปอร์เซ็นต์ของบริษัทจำเลยก็ตาม แต่ก็เป็นนิติบุคคลต่างหากจากกันและแม้โจทก์จะทำงานให้แก่บริษัทจำเลยและมีเอกสารหลักฐานเช่นรายการเสียภาษีเงินได้คำรับรองของบริษัทจำเลยที่ยื่นต่อกรมแรงงานว่าโจทก์เป็นลูกจ้างจำเลย ก็ไม่ทำให้ฐานะของโจทก์ที่เป็นลูกจ้างบริษัทย. เปลี่ยนแปลงไปได้โจทก์จึงมิใช่ลูกจ้างของจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3928/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างเนื่องจากเกษียณอายุต้องจ่ายค่าชดเชย เงินเพิ่มพิเศษสำหรับการสู้รบเป็นค่าจ้างรวมคำนวณค่าชดเชยได้
เงินเพิ่มพิเศษสำหรับการสู้รบเป็นเงินที่จำเลยจ่ายพร้อมเงินเดือนถือได้ว่าเป็นเงินที่จำเลยจ่ายตอบแทนการทำงานของโจทก์ ทั้งข้อบังคับของจำเลยว่าด้วย กองทุนบำเหน็จ กำหนดว่าเงินเพิ่มพิเศษสำหรับการสู้รบเป็นค่าจ้างอย่างหนึ่งด้วยจึงต้องนำเงินดังกล่าวมารวมเป็นฐานคำนวณค่าชดเชย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3802/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าจอดรถไม่ใช่ค่าจ้าง: การจ่ายเหมาเพื่อชดเชยค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติงาน
โจทก์ต้องเสียค่าจอดรถในการออกปฏิบัติงาน แม้จำเลยจะจ่ายค่าจอดรถให้โจทก์ประจำเป็นรายเดือน ก็เพราะค่าจอดรถเป็นรายจ่ายปลีกย่อยไม่สะดวกที่จะจ่ายตามความเป็นจริง เห็นได้ว่าเป็นการจ่ายเหมาเพื่อชดเชยการที่โจทก์ต้องเสียค่าจอดรถไป ค่าจอดรถจึงไม่เป็นค่าจ้าง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3673/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตอำนาจสหภาพแรงงานในการแก้ไขข้อตกลงสภาพการจ้าง และฐานคำนวณค่าล่วงเวลา
กรณีที่สหภาพแรงงานและนายจ้างต่างแจ้งข้อเรียกร้องฝ่ายละหลายข้อ ซึ่งต้องแบ่งข้อเรียกร้องเจรจากันเป็นคราวๆไปแม้ในการเจรจาคราวแรกจะตกลงกันได้และทำเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างซึ่งมีผลใช้บังคับแล้วก็ตาม แต่ในการเจรจาข้อเรียกร้องข้ออื่นๆต่อมา สหภาพแรงงานก็มีอำนาจที่จะตกลงแก้ไขข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างฉบับแรกได้ ดังนั้น เมื่อข้อตกลงในการเจรจาคราวแรกกำหนดเงื่อนไขในการไม่จ่ายเงินบำเหน็จไว้ประการหนึ่ง แล้วต่อมาทำความตกลงเพิ่มเงื่อนไขในการไม่จ่ายเงินบำเหน็จอีกประการหนึ่ง อันเป็นเงื่อนไขซึ่งจะตัดสิทธิของลูกจ้างที่จะกระทำผิดในอนาคต ไม่กระทบกระเทือนต่อสิทธิของลูกจ้างทั่วไปที่ได้รับตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างฉบับแรกอยู่ก่อนแล้ว ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างฉบับหลังนี้จึงมีผลใช้บังคับ เมื่อค่าครองชีพเป็นส่วนหนึ่งของค่าจ้าง และกฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองแรงงานกำหนดให้ถือเอาอัตราค่าจ้างเป็นเกณฑ์ในการคำนวณจ่ายค่าล่วงเวลาฯ นายจ้างก็ต้องจ่ายเงินนี้ให้ถูกต้องตามกฎหมาย ดังนั้น การที่สหภาพแรงงานตกลงกับนายจ้างว่าไม่ให้นำค่าครองชีพมาเป็นฐานคำนวณจึงเป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมายดังกล่าว ข้อตกลงนี้จึงไม่มีผลผูกพันลูกจ้าง ลูกจ้างฟ้องเรียกดอกเบี้ยจากเงินบำเหน็จ ค่าล่วงเวลา และค่าทำงานในวันหยุดจากนายจ้างก่อนวันฟ้อง แต่เมื่อไม่ปรากฏว่านายจ้างผิดนัดเมื่อใดจึงกำหนดให้นายจ้างจ่ายดอกเบี้ยตั้งแต่วันฟ้องเป็นต้นไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3506/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เวลาพักงานและการคำนวณเวลาทำงานปกติ กรณีทำงานเป็นกะ
โจทก์เป็นพนักงานตัดกระจก ทำงานอยู่ในจุดตัดกระจก ใช้เวลาตัดกระจกประมาณ 50 นาที เสร็จแล้วหยุดพักรอกระจกที่จะส่งมาใหม่เป็นเวลา 20 นาที ทำสลับกันเช่นนี้จนกว่าจะออกกะทำงานกะละ 8 ชั่วโมง 15 นาทีกะหนึ่ง ๆ โจทก์จึงมีเวลาพัก 2 ชั่วโมง 20 นาที
เมื่อปรากฏว่าประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯข้อ 6 เพียงกำหนดให้นายจ้างจัดให้ลูกจ้างมีเวลาพักเท่านั้นมิได้บังคับว่าจะต้องกำหนดในลักษณะที่เป็นรูปแบบอย่างใดไม่ แม้ระเบียบข้อบังคับว่าด้วยการทำงานของจำเลยจะระบุให้หัวหน้าแผนกเป็นผู้กำหนดเวลาพัก แต่กลับปรากฏว่าจำเลยเป็นผู้กำหนดก็หาทำให้เวลาดังกล่าวไม่ใช่เวลาพักไม่ ที่โจทก์จะต้องขออนุญาตก่อนออกนอกโรงงานในช่วงระยะเวลา 20 นาที ก็เพียงเพื่อให้รู้ว่าระยะเวลาดังกล่าวโจทก์อยู่ที่ใดเท่านั้น หลังจากได้รับอนุญาตแล้วโจทก์ย่อมใช้เวลาดังกล่าวได้อย่างอิสระ จึงถือได้ว่าจำเลยซึ่งเป็นนายจ้างจัดให้โจทก์มีเวลาพักโดยถูกต้องตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯ ข้อ 6 แล้ว
โจทก์ทำงานกะละ 8 ชั่วโมง 15 นาที กำหนดเวลาทำงานตามปกติย่อมหมายถึงเวลาทำงานอย่างแท้จริง ไม่นับเวลาพักเข้าเป็นเวลาทำงานจึงต้องนำเวลาพัก 20 นาที หักออกจากช่วงระยะเวลาที่โจทก์ทำงานเวลาทำงานตามปกติของโจทก์จึงไม่เกินวันละ 8 ชั่วโมง ถือไม่ได้ว่าโจทก์ทำงานล่วงเวลา
เมื่อปรากฏว่าประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯข้อ 6 เพียงกำหนดให้นายจ้างจัดให้ลูกจ้างมีเวลาพักเท่านั้นมิได้บังคับว่าจะต้องกำหนดในลักษณะที่เป็นรูปแบบอย่างใดไม่ แม้ระเบียบข้อบังคับว่าด้วยการทำงานของจำเลยจะระบุให้หัวหน้าแผนกเป็นผู้กำหนดเวลาพัก แต่กลับปรากฏว่าจำเลยเป็นผู้กำหนดก็หาทำให้เวลาดังกล่าวไม่ใช่เวลาพักไม่ ที่โจทก์จะต้องขออนุญาตก่อนออกนอกโรงงานในช่วงระยะเวลา 20 นาที ก็เพียงเพื่อให้รู้ว่าระยะเวลาดังกล่าวโจทก์อยู่ที่ใดเท่านั้น หลังจากได้รับอนุญาตแล้วโจทก์ย่อมใช้เวลาดังกล่าวได้อย่างอิสระ จึงถือได้ว่าจำเลยซึ่งเป็นนายจ้างจัดให้โจทก์มีเวลาพักโดยถูกต้องตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯ ข้อ 6 แล้ว
โจทก์ทำงานกะละ 8 ชั่วโมง 15 นาที กำหนดเวลาทำงานตามปกติย่อมหมายถึงเวลาทำงานอย่างแท้จริง ไม่นับเวลาพักเข้าเป็นเวลาทำงานจึงต้องนำเวลาพัก 20 นาที หักออกจากช่วงระยะเวลาที่โจทก์ทำงานเวลาทำงานตามปกติของโจทก์จึงไม่เกินวันละ 8 ชั่วโมง ถือไม่ได้ว่าโจทก์ทำงานล่วงเวลา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3266/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องแทน, ค่าชดเชย, สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า, การเลิกจ้าง, ค่าพาหนะ: กรณีลูกจ้างทำร้ายลูกจ้างด้วยกัน
โจทก์มอบอำนาจให้ ม. ฟ้องคดีนี้แทนเพียงคดีเดียว แม้ใบมอบอำนาจจะระบุให้ผู้รับมอบอำนาจมีสิทธิอุทธรณ์ฎีกาหรืออื่นๆ ได้ด้วยก็ตาม ถือว่าเป็นการมอบอำนาจให้กระทำการครั้งเดียวซึ่งตามประมวลรัษฎากรกำหนดให้ปิดอากรแสตมป์ 10 บาท เท่านั้น ม. ได้รับมอบอำนาจจากโจทก์ให้ฟ้องคดีแทน ย่อมอยู่ในฐานะคู่ความจึงมีอำนาจเรียงหรือแต่งคำคู่ความได้ เพราะการเรียงหรือแต่งคำคู่ความไม่ใช่การว่าความอย่างทนายความ การที่โจทก์ชก น.นอกสถานที่ทำงานและนอกเวลาทำงาน เพราะมีเรื่องโกรธเคืองกันมาก่อน ทำให้ น.มีบาดแผลเล็กน้อยนั้น เป็นเรื่องลูกจ้างทำร้ายกันเองไม่เกี่ยวกับกิจการของจำเลยโดยตรง จึงไม่มีผลกระทบกระเทือนต่อชื่อเสียงหรือทำลายเกียรติคุณของจำเลย ถือไม่ได้ว่าเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานเป็นกรณีร้ายแรงอันจำเลยจะมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย และ ไม่เข้าข้อยกเว้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583ซึ่งจำเลยจะมีสิทธิมิต้องบอกกล่าวล่วงหน้าอีกด้วย ฟ้องโจทก์มิได้บรรยายว่าค่าพาหนะเป็นส่วนหนึ่งของค่าจ้างการที่โจทก์ฟ้องเรียกค่าพาหนะเป็นการฟ้องเรียกเงินอีกประเภทหนึ่งต่างหาก และจำนวนค่าชดเชยกับสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าโจทก์ก็มิได้นำค่าพาหนะมารวมคำนวณด้วยจึงไม่ต้องนำค่าพาหนะมาเป็นฐานคำนวณจ่ายเงินดังกล่าว กรณีที่สินจ้างจ่ายกันในวันพฤหัสบดีเว้นหนึ่งวันพฤหัสบดีโดยวันอาทิตย์เป็นวันหยุด หนึ่งช่วงเวลาของการจ่ายค่าจ้างจึงเป็นเวลา 12 วัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2791/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าชดเชย vs. เงินบำเหน็จ: การหักเงินบำเหน็จออกจากค่าชดเชย และการนับอายุงานที่ไม่ต่อเนื่อง
สิทธิของลูกจ้างที่จะได้รับเงินบำเหน็จเป็นสิทธิที่เกิด ขึ้นโดยระเบียบเดิม เจตนาของโจทก์จำเลยในการทำข้อตกลงเปลี่ยนแปลงแก้ไขหลักการในการจ่ายเงินบำเหน็จจากระเบียบเดิมโดยให้จำเลยจ่ายเงินบำเหน็จตัดตอนเป็นรายปีให้แก่ลูกจ้างก็เพื่อให้โจทก์ได้รับเงินบำเหน็จไปใช้ประโยชน์ก่อนเป็นการเปลี่ยนแปลงระเบียบเดิมเฉพาะระยะเวลาการจ่ายเงินบำเหน็จเท่านั้น ส่วนสาระสำคัญอื่น ๆ เป็นไปตามเดิม การที่ระเบียบเดิมกำหนดว่า ถ้าเงินบำเหน็จมากกว่าค่าชดเชยให้ตัดเงินบำเหน็จเท่ากับจำนวนเงินชดเชย ถ้าเงินบำเหน็จน้อยกว่าค่าชดเชยก็ให้ได้รับแต่ค่าชดเชยอย่างเดียวมิได้เกี่ยวกับระยะเวลาการจ่ายเงินบำเหน็จ จำเลยมีสิทธินำระเบียบดังกล่าวมาใช้บังคับแก่โจทก์ได้ โจทก์เป็นลูกจ้างของบริษัทสุรามหาคุณจำกัด ก่อนเป็นลูกจ้างจำเลยโดยมิได้นับระยะเวลาทำงานติดต่อกัน ถือได้ว่า บริษัทสุรามหาคุณ จำกัด กับจำเลยมิได้โอนการจ้างแก่กัน การนับระยะเวลาการทำงานของโจทก์เพื่อคำนวณค่าชดเชยที่โจทก์จะได้รับจากจำเลยต้องนับแต่วันที่โจทก์เป็นลูกจ้างจำเลย เงินบำเหน็จที่จะถือว่าเป็นค่าชดเชยที่จำเลยจ่ายไปแล้วก็คือเงินบำเหน็จที่จำเลยจ่ายไปตั้งแต่ปีที่โจทก์เข้าเป็นลูกจ้างจำเลย ส่วนเงินบำเหน็จที่บริษัทสุรามหาคุณจำกัด จ่ายไปก่อนหน้านั้นเป็นการจ่ายเงินบำเหน็จตัดตอนของบริษัทสุรามหาคุณ จำกัดเองจะนำระยะเวลาที่โจทก์ทำงานกับบริษัทสุรามหาคุณ จำกัด มาคำนวณเป็นค่าชดเชยรวมกับระยะเวลาที่โจทก์ทำงานกับจำเลยหาได้ไม่