คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
มงคล เปาอินทร์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 258 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5066/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิเรียกร้อง: ไม่ต้องแจ้งเจ้าหนี้, สิทธิสมบูรณ์เมื่อแจ้งลูกหนี้, การพิสูจน์เจตนาทุจริต
การโอนสิทธิเรียกร้องนั้น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 306 คงบังคับแต่เพียงให้บอกกล่าวการโอนไปยังลูกหนี้หรือให้ลูกหนี้ยินยอมด้วยในการโอนเท่านั้น ไม่มีบทกฎหมายใดที่บังคับให้ต้องแจ้งแก่เจ้าหนี้หรือได้รับความยินยอมจากเจ้าหนี้ ดังนั้น เมื่อการโอนสิทธิเรียกร้องได้ทำเป็นหนังสือแจ้งให้ลูกหนี้ทราบแล้วแม้มิได้แจ้งให้เจ้าหนี้ทราบ ก็สมบูรณ์และใช้บังคับได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4947/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสนับสนุนการกระทำความผิดทำร้ายร่างกาย และความแตกต่างในสาระสำคัญระหว่างคำฟ้องกับข้อเท็จจริง
การที่จำเลยเพียงแต่ร้องบอกว่า "เอามันให้ตายเลย" แล้วพวกของจำเลยได้ทำร้ายร่างกายผู้เสียหายนั้น เป็นการที่จำเลยก่อให้ผู้อื่นกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 84 แต่เมื่อโจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยกับพวกเป็นผู้ร่วมกระทำความผิดด้วยกัน ข้อเท็จจริงที่ปรากฏในทางพิจารณาจึงแตกต่างกับคำฟ้องในสาระสำคัญอย่างมากตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา ความอาญา มาตรา 192 วรรคสอง จะลงโทษจำเลยฐานเป็นผู้ใช้ให้กระทำความผิดไม่ได้ แต่การที่จำเลยร้องบอกดังกล่าว ถือได้ว่าจำเลยเป็นผู้สนับสนุนการกระทำความผิด ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 86 ศาลมีอำนาจลงโทษฐานเป็นผู้สนับสนุนได้
ผู้เสียหายได้รับบาดแผลฟกช้ำที่ใบหน้าด้านซ้ายเพียงแห่งเดียวแพทย์ลงความเห็นว่ารักษาประมาณ 7 วัน ยังถือไม่ได้ว่าผู้เสียหายได้รับอันตรายแก่กายหรือจิตใจ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 295 ผู้กระทำความผิดคงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 391 จำเลยเป็นผู้สนับสนุนความผิดดังกล่าวอันเป็นความผิดลหุโทษ จึงไม่ต้องรับโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 106

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4947/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสนับสนุนการกระทำความผิดฐานทำร้ายร่างกาย และความแตกต่างระหว่างการก่อให้ผู้อื่นกระทำผิดกับความร่วมกระทำผิด
การที่จำเลยเพียงแต่ร้องบอกว่า "เอามันให้ตายเลย"แล้วพวกของจำเลยได้ทำร้ายร่างกายผู้เสียหายนั้น เป็นการที่จำเลยก่อให้ผู้อื่นกระทำความผิด ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 84แต่เมื่อโจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยกับพวกเป็นผู้ร่วมกระทำความผิดด้วยกัน ข้อเท็จจริงที่ปรากฏในทางพิจารณาจึงแตกต่างกับคำฟ้องในสาระสำคัญอย่างมากตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 192 วรรคสอง จะลงโทษจำเลยฐานเป็นผู้ใช้ให้กระทำความผิดไม่ได้ แต่การที่จำเลยร้องบอกดังกล่าวถือได้ว่าจำเลยเป็นผู้สนับสนุนการกระทำความผิด ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 86 ศาลมีอำนาจลงโทษฐานเป็นผู้สนับสนุนได้ ผู้เสียหายได้รับบาดเจ็บฟกช้ำที่ใบหน้าด้านซ้ายเพียงแห่งเดียวแพทย์ลงความเห็นว่ารักษาประมาณ 7 วัน ยังถือไม่ได้ว่าผู้เสียหายได้รับอันตรายแก่กายหรือจิตใจ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 295ผู้กระทำความผิดคงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 391 จำเลยเป็นผู้สนับสนุนความผิดดังกล่าวอันเป็นความผิดลหุโทษ จึงไม่ต้องรับโทษตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 106

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4939/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฎีกาจำกัดเฉพาะกรณีที่คำพิพากษาศาลอุทธรณ์กระทบสิทธิหรือหน้าที่ของจำเลย แม้ไม่เห็นพ้องกับเหตุผล
จำเลยอุทธรณ์ขอให้ศาลอุทธรณ์ไม่ริบรถยนต์ของกลางที่ใช้ขนสุราโดยไม่ได้รับอนุญาต ซึ่งศาลชั้นต้นพิพากษาให้ริบ ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นไม่ริบรถยนต์ของกลางตามประสงค์ของจำเลยซึ่งเท่ากับจำเลยเป็นฝ่ายชนะคดีในชั้น อุทธรณ์แล้วแม้จำเลยจะไม่เห็นพ้องด้วยกับเหตุผลในคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ แต่ข้อวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ดังกล่าวก็มิได้กระทบกระเทือนต่อสิทธิหรือหน้าที่ของจำเลยประการใดจำเลยจึงไม่มี อำนาจที่จะฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 216

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4939/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำเลยไม่มีอำนาจฎีกาเมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษาตามที่จำเลยขอ แม้ไม่เห็นพ้องกับเหตุผล
จำเลยอุทธรณ์ขอให้ศาลอุทธรณ์ไม่ริบรถยนต์ของกลางที่ใช้ขนสุราโดยไม่ได้รับอนุญาต ซึ่งศาลชั้นต้นพิพากษาให้ริบศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นไม่ริบรถยนต์ของกลางตามประสงค์ของจำเลยซึ่งเท่ากับจำเลยเป็นฝ่ายชนะคดีในชั้นอุทธรณ์แล้วแม้จำเลยจะไม่เห็นพ้องด้วยกับเหตุผลในคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์แต่ข้อวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ดังกล่าวก็มิได้กระทบกระเทือนต่อสิทธิหรือหน้าที่ของจำเลยประการใดจำเลยจึงไม่มีอำนาจที่จะฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 216

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4726/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการใช้ดุลพินิจไม่สั่งจำหน่ายคดีเมื่อโจทก์ไม่ได้ขอให้ศาลสั่งว่าจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ
แม้โจทก์ไม่ได้ยื่นคำขอให้ศาลมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การภายในกำหนดเวลาตามที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 198 วรรคแรก กำหนดไว้ ศาลก็มีอำนาจใช้ดุลพินิจไม่สั่งจำหน่ายคดีได้ โดยพิเคราะห์ถึงพฤติการณ์ในการดำเนินคดีของโจทก์เมื่อปรากฎว่าการที่โจทก์มิได้ขอให้ศาลมีคำสั่งว่าจำเลยที่ 1 ขาดนัดยื่นคำให้การเป็นเพราะเข้าใจว่าจำเลยที่ 1อาจยื่นคำให้การใหม่ตามที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตในครั้งหลังจึงได้รอไว้เพื่อขอให้ศาลมีคำสั่งดังกล่าวในวันนัดสืบพยานโจทก์เช่นนี้แม้จำเลยที่ 1 จะมิได้ยื่นให้การภายในกำหนดเวลาที่ศาลกำหนดให้ ศาลย่อมใช้ดุลพินิจสั่งว่าจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การแทนที่จะมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4726/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลสั่งจำหน่ายคดีเมื่อโจทก์ไม่ขอให้สั่งขาดนัด และเหตุผลที่ศาลอาจไม่สั่งจำหน่ายคดี
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 198 เป็นบทบัญญัติให้อำนาจศาลที่จะใช้ดุลพินิจมีคำสั่งจำหน่ายคดีในกรณีที่โจทก์ไม่ยื่นคำขอภายในเวลาที่กฎหมายกำหนดเพื่อให้ศาลมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ ซึ่งปกติศาลย่อมจะมีคำสั่งให้จำหน่ายคดี แต่คดีนี้โจทก์เคยยื่นคำร้องขอให้ศาลสั่งว่าจำเลยที่ 1 ขาดนัดยื่นคำให้การมาครั้งหนึ่งแล้ว ต่อมาศาลมีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยที่ 1 มีโอกาสยื่นคำให้การใหม่และเลื่อนวันนัดสืบพยานโจทก์ออกไป การที่โจทก์ไม่ได้มีคำขอให้ศาลมีคำสั่งว่าจำเลยที่ 1 ขาดนัดยื่นคำให้การใหม่อีกครั้งหนึ่งอาจเพราะโจทก์เข้าใจว่าจำเลยที่ 1 ยื่นคำให้การใหม่แล้ว ดังนั้น เมื่อจำเลยยื่นคำร้องขอให้ศาลสั่งจำหน่ายคดีศาลชั้นต้นสั่งยกคำร้อง และเมื่อถึงวันนัดสืบพยานโจทก์ศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งว่าจำเลยที่ 1 ขาดนัดยื่นคำให้การตามที่โจทก์มีคำขอนั้นจึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4726/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่ยื่นคำขอจำหน่ายคดีหลังจำเลยยื่นคำให้การใหม่ ศาลใช้ดุลพินิจสั่งให้ดำเนินคดีต่อไปได้
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 198 เป็นบทบัญญัติให้อำนาจศาลที่จะใช้ดุลพินิจมีคำสั่งจำหน่ายคดีในกรณีที่โจทก์ไม่ยื่นคำขอภายในเวลาที่กฎหมายกำหนดเพื่อให้ศาลมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ ซึ่งปกติศาลย่อมจะมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีแต่คดีนี้โจทก์เคยยื่นคำร้องขอให้ศาลสั่งว่าจำเลยที่ 1 ขาดนัดยื่นคำให้การมาครั้งหนึ่งแล้ว ต่อมาศาลมีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยที่ 1มีโอกาสยื่นคำให้การใหม่และเลื่อนวันนัดสืบพยานโจทก์ออกไป การที่โจทก์ไม่ได้มีคำขอให้ศาลมีคำสั่งว่าจำเลยที่ 1 ขาดนัดยื่นคำให้การใหม่อีกครั้งหนึ่งอาจเพราะโจทก์เข้าใจว่าจำเลยที่ 1ยื่นคำให้การใหม่แล้ว ดังนั้น เมื่อจำเลยยื่นคำร้องขอให้ศาลสั่งจำหน่ายคดี ศาลชั้นต้นสั่งยกคำร้อง และเมื่อถึงวันนัดสืบพยานโจทก์ศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งว่าจำเลยที่ 1 ขาดนัดยื่นคำให้การตามที่โจทก์มีคำขอนั้นจึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4635/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความคดีอาญาลิขสิทธิ์: การฟ้องข้ามศาลไม่หยุดอายุความ และต้องร้องทุกข์ภายใน 3 เดือน
ประมวลกฎหมายอาญาบัญญัติเรื่องอายุความคดีอาญาไว้เป็นพิเศษโดยเฉพาะแล้ว จะนำบทบัญญัติเรื่องอายุความสะดุดหยุดอยู่หรือการขยายอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 175,176มาใช้ในคดีอาญาไม่ได้ โจทก์ยื่นฟ้องคดีความผิดตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2521ซึ่งเป็นความผิดอันยอมความได้ต่อศาลแขวงพระนครใต้ภายในกำหนดอายุความในวันนัดไต่สวนมูลฟ้อง ศาลแขวงพระนครใต้เห็นว่า คดีไม่อยู่ในอำนาจของศาลแขวงจึงสั่งจำหน่ายคดีให้โจทก์ไปฟ้องยังศาลที่มีอำนาจภายใน 7 วัน โจทก์จึงยื่นฟ้องคดีนี้ต่อศาลอาญาภายในกำหนดเวลาดังกล่าว แต่ล่วงเลยกำหนดเวลา 3 เดือน นับแต่วันที่โจทก์รู้เรื่องการกระทำผิดและรู้ตัวจำเลยผู้กระทำผิดแล้ว โดยโจทก์มิได้ร้องทุกข์ไว้ก่อน คดีโจทก์จึงขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4635/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความคดีลิขสิทธิ์: การฟ้องภายใน 7 วันหลังศาลสั่งจำหน่ายคดี ไม่ทำให้เกินอายุความ 3 เดือนตามกฎหมายอาญา
ประมวลกฎหมายอาญาบัญญัติเรื่องอายุความคดีอาญาไว้เป็นพิเศษโดยเฉพาะแล้ว จะนำบทบัญญัติเรื่องอายุความสะดุดหยุดอยู่หรือการขยายอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 175, 176 มาใช้ในคดีอาญาไม่ได้
โจทก์ยื่นฟ้องคดีความผิดตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ษ.2521 ซึ่งเป็นความผิดอันยอมความได้ต่อศาลแขวงพระนครใต้ภายในกำหนดอายุความในวันนัดไต่สวนมูลฟ้อง ศาลแขวงพระนครใต้เห็นว่า คดีไม่อยู่ในอำนาจของศาลแขวงจึงสั่งจำหน่ายคดีให้โจทก์ไปฟ้องยังศาลที่มีอำนาจภายใน 7 วัน โจทก์จึงยื่นฟ้องคดีนี้ต่อศาลอาญาภายในกำหนดเวลาดังกล่าว แต่ล่วงเลยกำหนดเวลา 3 เดือน นับแต่วันที่โจทก์รู้เรื่องการกระทำผิดและรู้ตัวจำเลยผู้กระทำผิดแล้ว โดยโจทก์มิได้ร้องทุกข์ไว้ก่อน คดีโจทก์จึงขาดอายุความ
of 26