คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ลงวันที่ 16 เมษายน พ.ศ.2515 ข้อ 2

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 97 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1328/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เบี้ยเลี้ยงต่างจังหวัดเป็นส่วนหนึ่งของค่าจ้าง แม้ข้อบังคับนายจ้างระบุไม่ใช่
การที่ข้อบังคับของนายจ้างระบุว่า พนักงานที่ทำงานณโรงกลั่นฯศรีราชา มีสิทธิได้รับเบี้ยเลี้ยงต่างจังหวัดเป็นรายเดือน 15% ของเงินเดือนถ้าย้ายเข้ากรุงเทพฯไม่มีสิทธิได้รับเบี้ยเลี้ยงนี้นั้นเมื่อเบี้ยเลี้ยงดังกล่าวนายจ้างจ่ายแก่พนักงานทุกคนที่ทำงาน ณ โรงกลั่นฯศรีราชาเป็นอัตราแน่นอนทุกเดือนไม่ใช่จ่ายให้เฉพาะพนักงานที่ออกไปทำงานนอกสถานที่เมื่อผู้บังคับบัญชาสั่งเป็นครั้งคราวเบี้ยเลี้ยงนี้จึงเป็นส่วนหนึ่งของค่าจ้าง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 958-971/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เบี้ยขยันไม่ใช่ค่าจ้าง: ศาลตัดสินว่าเงินเพิ่มจากเบี้ยขยันไม่นำมาคำนวณค่าชดเชย
ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างวางกฎเกณฑ์ว่า นายจ้างจะจ่ายเงินเพิ่มแก่ลูกจ้างที่ไม่ขาดงานเลยในเดือนหนึ่งๆจำนวนหนึ่งถ้าขาดงานบ้างเงินเพิ่มก็จะลดลงตามส่วนเงินเพิ่มนี้เป็นเงินประเภทตอบแทนความขยันหรือที่เรียกกันว่าเบี้ยขยันไม่ใช่ตอบแทนการทำงานโดยตรงแม้ในข้อตกลงนั้นจะเรียกว่าค่าจ้างก็ตามเงินเพิ่มนี้ก็หาใช่ค่าจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงานไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 887/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงินช่วยเหลือค่าครองชีพเป็นส่วนหนึ่งของค่าจ้าง จึงต้องนำมาคำนวณเงินบำเหน็จตามข้อบังคับบริษัท
จำเลยจ่ายเงินช่วยค่าครองชีพแก่โจทก์เป็นจำนวนแน่นอนเป็นรายเดือนเช่นเดียวกับเงินเดือนข้อบังคับของจำเลยว่าด้วยกองทุนบำเหน็จ ให้บทนิยาม คำว่า 'ค่าจ้าง' ไว้ว่า'หมายความว่า ค่าจ้างที่โรงงานน้ำตาลจ่ายให้แก่ พนักงานและคนงานประจำเพื่อตอบแทนการทำงาน แต่ไม่รวมถึง เงินตอบแทนในลักษณะค่าล่วงเวลา โบนัส เบี้ยเลี้ยงหรือประโยชน์ อย่างอื่น' ค่าครองชีพจึงเข้าลักษณะเป็นค่าจ้างหาใช่ประโยชน์อย่างอื่นอันจะไม่ต้องนำมาคำนวณเงินบำเหน็จไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 26/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าล่วงเวลา: ระเบียบวิธีปฏิบัติภายในบริษัทมิใช่เงื่อนไขตัดสิทธิ, สัญญาให้เสนอข้อพิพาทต่อเจ้าหน้าที่บรูไนมิได้ตัดสิทธิฟ้องร้องต่อศาลไทย
แม้โจทก์จะไม่ได้ตอกบัตรลงเวลาทำงานและไม่มีลายเซ็นรับรองของวิศวกรและโฟร์แมนในการทำงานล่วงเวลาตามข้อบังคับของจำเลยเกี่ยวกับการคำนวณค่าล่วงเวลาก็ตาม แต่ระเบียบตามข้อบังคับนี้เป็นเพียงวิธีปฏิบัติในการทำงานล่วงเวลาเพื่อเป็นหลักฐานและประโยชน์เกี่ยวกับการคำนวณค่าล่วงเวลาเท่านั้นทั้งมิได้กำหนดยกเว้นว่าลูกจ้างคนใดไม่ปฏิบัติตามระเบียบดังกล่าวแล้วจะไม่มีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลาอีกด้วยดังนี้ เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยให้โจทก์ทำงานล่วงเวลา จำเลยก็จะอ้างข้อบังคับดังกล่าวเพื่อปฏิเสธไม่จ่ายค่าล่วงเวลาแก่โจทก์หาได้ไม่
สัญญาจ้างแรงงานที่มีข้อความว่า "ข้อพิพาทใดๆ ที่เกิดขึ้นจากการตีความหรือการใช้บังคับของความในสัญญานี้ใดๆให้นำไปเสนอเจ้าหน้าที่ของรัฐบาลบรูไน คำตัดสินของทางการดังกล่าวให้ถือว่าเด็ดขาดและผูกพันระหว่างบริษัทและลูกจ้างฯลฯ"นั้น มิได้บังคับไว้โดยเด็ดขาดว่า หากคู่กรณีไม่นำข้อพิพาทเสนอต่อเจ้าหน้าที่รัฐบาลบรูไนตัดสินก่อนแล้วจะฟ้องร้องต่อศาลมิได้ ดังนั้น เมื่อจำเลยไม่ชำระหนี้ค่าล่วงเวลาให้โจทก์ จึงเป็นการโต้แย้งสิทธิโจทก์โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยต่อศาลแรงงานกลางซึ่งโจทก์และจำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตอำนาจได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3541/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงินทดแทนกับการจ่ายค่าชดเชย: หลักเกณฑ์ที่แตกต่างกัน แม้เปลี่ยนชื่อเรียกก็ไม่ถือเป็นค่าชดเชย
เงินทดแทนที่จำเลยจ่ายแก่โจทก์เมื่อเลิกจ้างมีหลักเกณฑ์แตกต่างจากค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ซึ่งเป็นเงินประเภทอื่นที่นายจ้างจ่ายแก่ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้าง แม้จำเลยจะแก้ไขระเบียบเกี่ยวกับการจ่ายเงินนั้นจาก "เงินทดแทน" เป็น "ค่าชดเชย" แต่หลักเกณฑ์การจ่ายและการได้มาซึ่งสิทธิก็ยังเป็นไปตามเดิม จึงหาทำให้เงินดังกล่าวกลายเป็นค่าชดเชยไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3507-3509/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิลาพักร้อนแทนวันลาป่วย: พิจารณาความจำเป็นจริงเป็นรายกรณี
ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่มีความว่า ในเดือนเมษายนและเดือนพฤษภาคม ลูกจ้างจะไม่ได้รับอนุญาตให้ลาหยุดพักผ่อน เว้นแต่จะใช้สิทธิวันหยุดพักผ่อนแทนวันลาป่วยลากิจที่จำเป็นจริง ๆนั้น ไม่อาจแปลได้ว่า เป็นดุลพินิจอันเด็ดขาดของนายจ้างที่จะกำหนดเอาเองว่ากรณีใดร้ายแรงถึงขนาดที่จะถือได้ว่ามีเหตุจำเป็นจริง ๆ หรือไม่ หากแต่จะต้องพิจารณาถึงสภาพความจำเป็นของผู้ลากิจ ลาป่วยเป็นเรื่อง ๆ ไป ดังนี้ เมื่อจำเลยอนุญาตให้โจทก์ลาป่วยได้ตามความเป็นจริงที่โจทก์อ้าง เพราะโจทก์แต่ละคนปวดศีรษะอย่างแรง เป็นไข้ท้องเสียอย่างแรง และเวียนศีรษะ เห็นได้ว่าเป็นความจำเป็นจริง ๆ อันโจทก์แต่ละคนย่อมไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ กรณีจึงเข้าหลักเกณฑ์ตามข้อตกลงดังกล่าวที่โจทก์ทุกคนจะพึงใช้สิทธิวันหยุดพักผ่อนแทนวันลาป่วยของโจทก์แต่ละคนได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3460/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิหยุดพักผ่อนประจำปี: ระเบียบลูกจ้างที่ลาป่วยเกิน 36 วัน ไม่ตัดสิทธิพักผ่อนตามกฎหมาย
การที่ระเบียบของจำเลยกำหนดว่า ลูกจ้างซึ่งไม่มีวันลาเกิน36 วัน มีสิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีได้ 10 วันนั้น ใช้บังคับเฉพาะพนักงานที่มิได้ลาเกินกำหนดให้มีวันหยุดพักผ่อนประจำปีได้ถึง 10 วันเท่านั้น หามีผลเป็นการตัดสิทธิในการหยุดพักผ่อนประจำปีของลูกจ้างที่ลาเกินกำหนดซึ่งมีอยู่ 6 วันทำงานตามกฎหมายไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3346-3348/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิลูกจ้าง: เงินบำเหน็จพิเศษจากกองทุนสวัสดิการ ห้ามนำไปหักเป็นค่าชดเชย
ระเบียบของจำเลยกำหนดให้หักเงินรายได้จากค่าขนส่งสินค้าส่วนที่เป็นของกรรมกรไว้เป็นเงินบำรุงความสุข เพื่อจ่ายเป็นบำเหน็จพิเศษให้แก่กรรมกรเมื่อถึงแก่กรรมลาออกหรือถูกให้ออก จำเลยจะจ่ายเงินบำเหน็จพิเศษต่ำกว่าที่กำหนดไว้ในระเบียบของจำเลยได้ในกรณีที่มีการหักรายจ่ายจากกองเงินบำรุงความสุขเท่านั้นเงินบำรุงความสุขเป็นเงินของกรรมกร ไม่ใช่เงินของจำเลย และเป็นเงินคนละประเภทกับค่าชดเชย เมื่อค่าชดเชยที่จำเลยจะต้องจ่ายมิใช่รายจ่ายที่จำเลยจะพึงใช้สิทธิหักได้จากเงินบำเหน็จพิเศษจำเลยก็จะลดจำนวนบำเหน็จพิเศษตามสิทธิที่กรรมกรจะได้รับลงเพราะเหตุที่จำเลยจะต้องนำไปจ่ายเป็นค่าชดเชยหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3017/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคำนวณสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าตามวันจ่ายค่าจ้าง
นายจ้างได้กำหนดจ่ายค่าจ้างเดือนละ 2 ครั้งคือวันที่ 9 และวันที่ 24 ของทุกๆ เดือน นายจ้างบอกเลิกจ้างเมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2525 การเลิกจ้างย่อมมีผลในวันที่ 24 มกราคม 2526 ซึ่งเป็นวันถึงกำหนดจ่ายสินจ้างหรือค่าจ้างในคราวถัดไป นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างตั้งแต่วันที่ 29 ธันวาคม 2525 ซึ่งเป็นวันบอกกล่าวจึงต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าถึงวันที่ 23 มกราคม 2526

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3006-3007/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมจากความขัดแย้งภายในบริษัทและการแจ้งความดำเนินคดี โดยศาลยืนตามคำพิพากษาเดิม
การที่โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างประจำของบริษัทจำเลยและยังเป็นผู้ถือหุ้นกับเป็นกรรมการของบริษัทจำเลยด้วย ได้ร่วมกับจำเลยปลอมปนน้ำมันหล่อลื่นเพื่อประโยชน์ในทางการค้าของจำเลย และโจทก์นำความไปแจ้งต่อเจ้าพนักงานตำรวจให้ดำเนินคดีแก่ประธานกรรมการบริษัทจำเลยและยังออกคำสั่งพิเศษให้พนักงานบริษัทฟังและปฏิบัติตามคำสั่งของโจทก์เพื่อรักษาผลประโยชน์ของโจทก์และจำเลย ซึ่งโจทก์เข้าใจโดยสุจริตว่าประธานกรรมการทุจริตเบียดบังเงินของจำเลย แล้วจำเลยเลิกจ้างโจทก์นั้น เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม จึงถือไม่ได้ว่าการกระทำของโจทก์ดังนี้เป็นการกระทำโดยไม่สมควรแก่การปฏิบัติหน้าที่ของโจทก์ให้ลุล่วงถูกต้องไปโดยสุจริต และไม่เป็นการกระทำความผิดอย่างร้ายแรง นอกจากนี้ยังถือไม่ได้อีกด้วยว่าเป็นการกระทำผิดโดยเจตนาแก่นายจ้าง จงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย หรือฝ่าฝืนข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงานของนายจ้าง ดังนั้น จำเลยต้องจ่ายค่าเสียหาย สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าชดเชยแก่โจทก์
of 10