พบผลลัพธ์ทั้งหมด 97 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2916-2918/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลูกจ้างมีสิทธิหยุดงานได้เมื่อนายจ้างผิดนัดจ่ายค่าจ้าง ไม่ถือเป็นการนัดหยุดงานตามกฎหมายแรงงาน
เมื่อจำเลยผิดนัดไม่จ่ายค่าจ้างให้โจทก์หลายงวด โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะพร้อมใจกันหยุดงานได้ กรณีหาใช่เป็นการนัดหยุดงานเกี่ยวกับข้อพิพาทแรงงานที่ตกลงกันไม่ได้อันจะต้องดำเนินการตามขั้นตอนตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ไม่ และกรณีดังกล่าวก็มิใช่เป็นการที่โจทก์จงใจทำให้จำเลยได้รับความเสียหายจำเลยจึงไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2799/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างหลังละทิ้งหน้าที่เนื่องจากถูกดูหมิ่น การกระทำของผู้จัดการฝ่ายขายไม่ผูกพันบริษัท
การที่ศ.ผู้จัดการฝ่ายขายของบริษัทจำเลยดูหมิ่นว่าโจทก์ได้เสียมีสัมพันธ์กับชายอื่นซึ่งมีภริยาแล้ว ทำให้โจทก์อับอายไม่มาทำงานเกินสามวันทำงานติดต่อกันจนเป็นเหตุให้จำเลยเลิกจ้างโจทก์นั้น เป็นเรื่องส่วนตัว ดังนั้น ศ.จะมีฐานะเป็นนายจ้างหรือไม่จึงไม่ใช่ข้อสำคัญที่จำเป็นต้องวินิจฉัยและการพูดเช่นนั้นก็มิใช่เรื่องกีดกันมิให้ลูกจ้างทำงานติดต่อกันเกินเจ็ดวันทำงาน จึงถือได้ว่าโจทก์ละทิ้งหน้าที่โดยไม่มีเหตุอันสมควร จำเลยเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2752/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นายจ้างไม่มีสิทธิยึดหน่วงค่าจ้างและเงินสงเคราะห์รายเดือนค้างจ่ายของลูกจ้าง แม้มีคดีความอื่น
ค่าจ้างและเงินสงเคราะห์รายเดือนที่นายจ้างค้างจ่ายแก่ลูกจ้าง เป็นเพียงหนี้ที่นายจ้างจะต้องชำระแก่ลูกจ้าง หาใช่เป็นทรัพย์สินของลูกจ้างที่นายจ้างครองอยู่และมีหนี้อันเป็นคุณประโยชน์แก่นายจ้างเกี่ยวด้วยทรัพย์สินนั้นแต่อย่างใดไม่ นายจ้างจึงไม่มีสิทธิยึดหน่วงไว้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2601/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตอำนาจศาลแรงงานในการพิพากษาเกินคำขอ, สิทธิโบนัส, และการจ่ายค่าน้ำมันรถเป็นค่าจ้าง
ศาลแรงงานพิพากษาไปตามคำขอบังคับของโจทก์เป็นการปฏิบัติตามที่กฎหมายบังคับแล้ว ส่วนการพิพากษาเกินคำขอนั้น พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯ มาตรา 52 มิได้บังคับให้ศาลแรงงานจำต้องปฏิบัติแต่ให้อยู่ในดุลพินิจที่จะกระทำได้เมื่อเห็นสมควรเท่านั้น
ค่าน้ำมันรถที่ลูกจ้างจะเบิกได้ต้องมีใบเสร็จไปแสดงและเบิกได้ไม่เกินที่นายจ้างกำหนดไว้ เป็นค่าใช้จ่ายในการทำงาน หาใช่จ่ายเพื่อตอบแทนการทำงานไม่ ค่าน้ำมันรถจึงไม่ใช่ส่วนหนึ่งของค่าจ้าง
ระเบียบของนายจ้างกำหนดว่า 'การจ่ายเงินโบนัสจะทำการจ่ายในเดือนธันวาคมของทุก ๆ ปีปฏิทิน ' แสดงว่าลูกจ้างผู้มีสิทธิรับเงินโบนัสจะต้องมีตัวอยู่ในเดือนธันวาคมซึ่งมีการจ่ายโบนัสด้วยโจทก์ถูกเลิกจ้างก่อนเดือนธันวาคมจึงไม่มีสิทธิรับเงินโบนัส
โจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ฟ้อง ศาลแรงงานกลางสั่งว่า 'สำเนาให้จำเลยสั่งในวันนัด' แต่จนกระทั่งมีคำพิพากษาศาลแรงงานกลางก็มิได้มีคำสั่งอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้โจทก์แก้ไขฟ้อง ทั้งคู่ความก็มิได้แถลงประการใดต่อศาล ดังนี้ จึงมีผลเท่ากับศาลแรงงานกลางมิได้อนุญาตให้โจทก์แก้ไขฟ้อง
ค่าน้ำมันรถที่ลูกจ้างจะเบิกได้ต้องมีใบเสร็จไปแสดงและเบิกได้ไม่เกินที่นายจ้างกำหนดไว้ เป็นค่าใช้จ่ายในการทำงาน หาใช่จ่ายเพื่อตอบแทนการทำงานไม่ ค่าน้ำมันรถจึงไม่ใช่ส่วนหนึ่งของค่าจ้าง
ระเบียบของนายจ้างกำหนดว่า 'การจ่ายเงินโบนัสจะทำการจ่ายในเดือนธันวาคมของทุก ๆ ปีปฏิทิน ' แสดงว่าลูกจ้างผู้มีสิทธิรับเงินโบนัสจะต้องมีตัวอยู่ในเดือนธันวาคมซึ่งมีการจ่ายโบนัสด้วยโจทก์ถูกเลิกจ้างก่อนเดือนธันวาคมจึงไม่มีสิทธิรับเงินโบนัส
โจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ฟ้อง ศาลแรงงานกลางสั่งว่า 'สำเนาให้จำเลยสั่งในวันนัด' แต่จนกระทั่งมีคำพิพากษาศาลแรงงานกลางก็มิได้มีคำสั่งอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้โจทก์แก้ไขฟ้อง ทั้งคู่ความก็มิได้แถลงประการใดต่อศาล ดังนี้ จึงมีผลเท่ากับศาลแรงงานกลางมิได้อนุญาตให้โจทก์แก้ไขฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2599/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจ้างงาน: ลักษณะการจ้างงานเป็นประจำ แม้ได้รับค่าจ้างรายวันและมีการผ่อนผันการลา
เมื่อองค์การคลังสินค้าจำเลยจ้างโจทก์เข้าทำงานก็ไม่ได้แสดงความประสงค์ว่าจะจ้างชั่วคราวหรือจ้างประจำ และไม่มีกำหนดเวลาจ้างแน่นอน ถ้ารัฐบาลไม่ยกเลิกข้าวโอชาโจทก์ก็ยังคงเป็นลูกจ้างอยู่ตลอดไป ลักษณะของการจ้างจึงเป็นการจ้างกันเป็นประจำไม่ใช่ตกลงจ้างไว้ทำงานอันมีลักษณะเป็นครั้งคราว เป็นการจรหรือตามฤดูกาล โจทก์จึงเป็นลูกจ้างประจำของจำเลย การที่โจทก์ได้รับการผ่อนผันเกี่ยวกับการลา และได้รับค่าจ้างเป็นรายวัน หาทำให้ลักษณะการจ้างเปลี่ยนแปลงไปไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2510/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หุ้นส่วนจำกัดความรับผิดไม่ต้องรับผิดในหนี้ค่าจ้างจากความสัมพันธ์นายจ้าง-ลูกจ้าง แม้จะเกี่ยวข้องจัดการงาน
คำวินิจฉัยของอธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงานกลางที่วินิจฉัยว่าคดีใดจะอยู่ในอำนาจของศาลแรงงานหรือไม่ ย่อมถึงที่สุดตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 9 วรรคสอง ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 223 หุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดในห้างหุ้นส่วนจำกัด แม้จะสอดเข้าไปเกี่ยวข้องจัดการงานของห้างหุ้นส่วน ก็ไม่ต้องรับผิดในหนี้เกี่ยวกับการจ้างแรงงานของลูกจ้างห้างหุ้นส่วนเพราะหนี้ดังกล่าวเป็นหนี้ที่นายจ้างต้องรับผิดต่อลูกจ้าง หุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดไม่มีความสัมพันธ์ในฐานะนายจ้างและลูกจ้างจึงไม่ต้องรับผิด
บทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1088 เป็นกรณีที่ผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดทำผิดหน้าที่ ซึ่งต้องรับผิดในหนี้อันเกี่ยวกับกิจการที่สอดเข้าไปเกี่ยวข้องต่อบุคคลภายนอก มิใช่ต้องรับผิดในหนี้อันเกิดจากความสัมพันธ์ในฐานะนายจ้างและลูกจ้าง
บทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1088 เป็นกรณีที่ผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดทำผิดหน้าที่ ซึ่งต้องรับผิดในหนี้อันเกี่ยวกับกิจการที่สอดเข้าไปเกี่ยวข้องต่อบุคคลภายนอก มิใช่ต้องรับผิดในหนี้อันเกิดจากความสัมพันธ์ในฐานะนายจ้างและลูกจ้าง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2311-2313/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างเนื่องจากภาวะเศรษฐกิจและการคุ้มครองสิทธิลูกจ้างตามกฎหมาย
นายจ้างประสบปัญหาขาดทุน จำเป็นต้องยุบหน่วยงานที่ขาดทุนและเลิกจ้างลูกจ้างที่ประจำอยู่หน่วยงานนั้น การเลิกจ้างดังกล่าวเป็นเรื่องเกี่ยวกับฐานะทางเศรษฐกิจและความอยู่รอดของนายจ้างเป็นกรณีมีเหตุอันสมควร มิใช่การกลั่นแกล้ง จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรมต่อลูกจ้าง
แม้สัญญาจ้างแรงงานจะระบุว่า นายจ้างมีสิทธิเลิกสัญญาได้ทุกขณะโดยลูกจ้างไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายใด ๆ ก็ตาม แต่ค่าชดเชยค่าทำงานในวันหยุดพักผ่อนและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าเป็นเงินที่ลูกจ้างมีสิทธิตามกฎหมายที่จะได้รับเมื่อถูกเลิกจ้างจึงมิใช่ค่าเสียหายใด ๆ ตามสัญญาจ้าง เมื่อนายจ้างโดยลูกจ้างไม่มีความผิดและไม่เข้าหลักเกณฑ์ตามกฎหมายที่จะไม่ต้องจ่าย นายจ้างจะอ้างสัญญาจ้างมาเป็นข้อยกเว้นที่จะไม่จ่ายเงินดังกล่าวแก่ลูกจ้างหาได้ไม่
แม้สัญญาจ้างแรงงานจะระบุว่า นายจ้างมีสิทธิเลิกสัญญาได้ทุกขณะโดยลูกจ้างไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายใด ๆ ก็ตาม แต่ค่าชดเชยค่าทำงานในวันหยุดพักผ่อนและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าเป็นเงินที่ลูกจ้างมีสิทธิตามกฎหมายที่จะได้รับเมื่อถูกเลิกจ้างจึงมิใช่ค่าเสียหายใด ๆ ตามสัญญาจ้าง เมื่อนายจ้างโดยลูกจ้างไม่มีความผิดและไม่เข้าหลักเกณฑ์ตามกฎหมายที่จะไม่ต้องจ่าย นายจ้างจะอ้างสัญญาจ้างมาเป็นข้อยกเว้นที่จะไม่จ่ายเงินดังกล่าวแก่ลูกจ้างหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1776/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เบี้ยเลี้ยงช่างเหล็กที่ปฏิบัติงานซ่อมสะพานต่างจังหวัด ถือเป็นค่าจ้างฐานคำนวณค่าทดแทน
ลูกจ้างเป็นช่างเหล็ก ปกติทำงานอยู่ที่กรุงเทพมหานครไม่มีสิทธิได้รับเบี้ยเลี้ยง แต่ความรู้ความสามารถของลูกจ้างเป็นงานประเภทที่จะต้องไปซ่อมสะพานรถไฟตามเส้นทางรถไฟต่างจังหวัดอันเป็นงานประจำของตน ฉะนั้น เมื่อขณะประสบอันตรายลูกจ้างออกไป ทำงานที่หน่วยงานสะพานต่างจังหวัดเป็นเวลาถึงหกเดือนเศษ ได้รับเบี้ยเลี้ยงเป็นการประจำจนกว่างานจะแล้วเสร็จ เห็นได้ชัดว่า นายจ้างจ่ายเบี้ยเลี้ยงให้แก่ลูกจ้างเป็นส่วนหนึ่งของการตอบแทน การทำงานในเวลาปกติของวันทำงานโดยแท้ เบี้ยเลี้ยงนี้จึงเป็น ค่าจ้างอันจะต้องนำมาเป็นฐานคำนวณค่าทดแทนด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 426/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องค่าชดเชยเป็นมรดก ทายาทมีสิทธิเรียกค่าชดเชยทั้งหมดจากนายจ้างได้
สิทธิเรียกร้องค่าชดเชยเป็นสิทธิอย่างหนึ่งซึ่งถือได้ว่า เป็นมรดก ย่อมตกทอดแก่โจทก์ซึ่งเป็นทายาทของลูกจ้างผู้ถึงแก่กรรมได้
สิทธิเรียกร้องค่าชดเชยนี้ทายาททุกคนมีสิทธิเรียกร้องการชำระหนี้โดยทำนองซึ่งแต่ละคนอาจจะเรียกให้ชำระหนี้สิ้นเชิงได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 298 โจทก์เป็นทายาทคนหนึ่งของลูกจ้างผู้ถึงแก่กรรมจึงมีสิทธิเรียกร้องค่าชดเชยทั้งหมดจากจำเลยได้โดยไม่จำต้องได้รับความยินยอมจากทายาทอื่น
สิทธิเรียกร้องค่าชดเชยนี้ทายาททุกคนมีสิทธิเรียกร้องการชำระหนี้โดยทำนองซึ่งแต่ละคนอาจจะเรียกให้ชำระหนี้สิ้นเชิงได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 298 โจทก์เป็นทายาทคนหนึ่งของลูกจ้างผู้ถึงแก่กรรมจึงมีสิทธิเรียกร้องค่าชดเชยทั้งหมดจากจำเลยได้โดยไม่จำต้องได้รับความยินยอมจากทายาทอื่น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1110/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงค่าจ้างรวมค่าล่วงเวลา ไม่ขัดต่อกฎหมาย ตราบเท่าที่ไม่เป็นการสละสิทธิ
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง อัตราค่าจ้างขั้นต่ำและประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน มิได้กำหนดห้ามนายจ้างและลูกจ้างตกลงจ้างกันโดยคิดค่าจ้างและค่าล่วงเวลารวมกันไปในตัว นายจ้างและลูกจ้างจึงย่อมตกลงกันได้และมิใช่เป็นกรณีตกลงทำนองให้ลูกจ้างสละสิทธิในค่าล่วงเวลา จึงไม่เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน