คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ.2515

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 379/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งปริมาณสินค้าไม่ตรงตามความเป็นจริงตามคำสั่งนายกฯ คณะกรรมการมีอำนาจริบได้
คำสั่งนายกรัฐมนตรีตาม ม.17 แห่งธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักรพ.ศ.2515 ให้คณะกรรมการตามกฎหมายว่าด้วยการค้ากำไรเกินควรออกคำสั่งควบคุมปริมาณและสถานที่เก็บเหล็กเส้น ถ้าแจ้งไม่ตรงความจริงให้คณะกรรมการริบและขายแก่ประชาชนได้ปรากฏว่าโจทก์แจ้งปริมาณเหล็กเส้นขาดจากปริมาณจริงเป็นจำนวนมาก คณะกรรมการมีคำสั่งริบ ไม่ปรากฏว่าคณะกรรมการทำการโดยไม่สุจริตใจ โจทก์ไม่อาจโต้แย้งได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1054/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีขับไล่และการดำรงตำแหน่งทางการเมืองควบคู่ตำแหน่งในหน่วยงานของรัฐ
ว. เป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติโดยธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักรพ.ศ.2515 ต่อมามีรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบทเฉพาะกาล มาตรา 234 ที่มิให้นำ มาตรา 102,103 ของรัฐธรรมนูญดังกล่าวมาใช้บังคับแก่การดำรงตำแหน่งของสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติผลจึงมีว่า ว. ย่อมจะดำรงตำแหน่งการเมืองและตำแหน่งหรือหน้าที่ในหน่วยงานของรัฐได้ในคราวเดียวกัน ว. จึงไม่เป็นผู้ที่ไม่อาจทำงานเต็มเวลาให้แก่การเคหะแห่งชาติตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 316 ข้อ 22(3) และ (5)ว. จึงอาจดำรงตำแหน่งผู้ว่าการการเคหะแห่งชาติต่อไปและมีสิทธิที่จะมอบอำนาจให้ น. ฟ้องคดีแทนได้
แม้โจทก์จะได้โอนขายกรรมสิทธิ์อาคารห้องพิพาทให้แก่ผู้อื่นไปแล้วแต่โจทก์ยังมีหน้าที่ต้องส่งมอบอาคารหลังพิพาทให้แก่ผู้ซื้อเพื่อการรื้อถอนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 461 เมื่อจำเลยไม่ยอมออกจากอาคารที่เช่า โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1054/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีขับไล่: สิทธิของเจ้าของทรัพย์สินในการรื้อถอน และคุณสมบัติผู้มีอำนาจลงนามมอบอำนาจ
ว. เป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติโดยธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ. 2515 ต่อมามีรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบทเฉพาะกาล มาตรา 234 ที่มิให้นำมาตรา102, 103 ของรัฐธรรมนูญดังกล่าวมาใช้บังคับแก่การดำรงตำแหน่งของสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ผลจึงมีว่า ว. ย่อมจะดำรงตำแหน่งการเมืองและตำแหน่งหรือหน้าที่ในหน่วยงานของรัฐได้ในคราวเดียวกัน ว. จึงไม่เป็นผู้ที่ไม่อาจทำงานเต็มเวลาให้แก่การเคหะแห่งชาติตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 316 ข้อ 22 (3) และ (5) ว. จึงอาจดำรงตำแหน่งผู้ว่าการการเคหะแห่งชาติต่อไป และมีสิทธิที่จะมอบอำนาจให้ น.ฟ้องคดีแทนได้
แม้โจทก์จะได้โอนขายกรรมสิทธิ์อาคารห้องพิพาทให้แก่ผู้อื่นไปแล้ว แต่โจทก์ยังมีหน้าที่ต้องส่งมอบอาคารหลังพิพาทให้แก่ผู้ชื้อเพื่อการรื้อถอนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 461 เมื่อจำเลยไม่ยอมออกจากอาคารที่เช่า โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2573/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจนายกฯ ตาม ม.17 ธรรมนูญฯ 2515: คำสั่งชอบด้วยกฎหมาย, คณะกรรมการมีอำนาจพิจารณา, ไม่ขัดแย้งประเพณี
มาตรา 17 แห่งธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ.2515 ให้อำนาจนายกรัฐมนตรีมีคำสั่งด้วยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี เพื่อประโยชน์ในการป้องกันและระงับการกระทำอันเป็นการบ่อนทำลายความมั่นคงของราชอาณาจักร เศรษฐกิจ และราชการแผ่นดิน คำสั่งต่างๆ ที่นายกรัฐมนตรีออกเพื่อการนี้จึงสมบูรณ์ใช้บังคับได้ตามกฎหมาย ไม่เป็นโมฆะ ไม่ต้องคืนทรัพย์แก่โจทก์ การวินิจฉัยว่าคำสั่งหรือการกระทำชอบด้วยมาตรา 17 หรือไม่ อยู่ที่ความเห็นของนายกรัฐมนตรี มิใช่ความเห็นของโจทก์หรือผู้อื่น (อ้างคำพิพากษาฎีกาประชุมใหญ่ที่ 494/2510)
การที่คณะกรรมการที่นายกรัฐมนตรีตั้งขึ้นเพื่อทำการสอบสวนต้องพิจารณาให้เสร็จสิ้นโดยเร็วตามคำสั่งคณะกรรมการใช้ดุลพินิจไม่ยอมให้ผู้ร้องนำพยานบุคคลเข้าสืบประกอบเอกสารที่คณะกรรมการรับพิจารณาอยู่แล้ว ไม่ถือเป็นการรวบรัดวินิจฉัยโดยไม่เป็นธรรม การปฏิบัติตามคำสั่งนั้นถือว่าชอบด้วยกฎหมายตามที่มาตรา 17 ตอนท้ายของวรรคแรกบัญญัติไว้
ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักรฯ มาตรา 17 ที่ให้อำนาจนายกรัฐมนตรีสั่งการดังกล่าวเป็นบทบัญญัติในธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร ซึ่งเป็นกฎหมายสูงสุดอยู่แล้ว จึงไม่เป็นการขัดแย้งหรือจะต้องวินิจฉัยตามประเพณีการปกครองประเทศไทยในระบอบประชาธิปไตยตามมาตรา 22