พบผลลัพธ์ทั้งหมด 840 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6772/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการฎีกาจำกัดตามคำให้การเดิม, ที่ดินพิพาทไม่ใช่ปัญหาความสงบเรียบร้อย
ปัญหาว่าที่ดินพิพาทเป็นป่าสงวนแห่งชาติหรือไม่เป็นข้อ-เท็จจริงที่จะต้องพิสูจน์กันในทางพิจารณาไม่ใช่เรื่องอำนาจฟ้องและไม่ใช่ปัญหาอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน เมื่อจำเลยมิได้ยกปัญหาดังกล่าวขึ้นอุทธรณ์จึงต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้งสองบุกรุกเข้ามาทำกินและปลูกกระท่อมลงในที่ดินของโจทก์บางส่วน จำเลยทั้งสองให้การต่อสู้ว่า จำเลยที่ 2 ก่อสร้างครอบครองทำประโยชน์มานานกว่า 20 ปี ที่ดินที่โจทก์ฟ้องเป็นที่ดินคนละแปลงกับที่ดินที่จำเลยที่ 1 ครอบครอง ดังนี้ตามคำให้การของจำเลยทั้งสองจึงไม่มีประเด็นในเรื่องแย่งการครอบครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1375 จำเลยทั้งสองจะยกปัญหาข้อนี้ขึ้นฎีกาไม่ได้ เพราะเป็นฎีกาที่นอกเหนือไปจากคำให้การที่จำเลยให้การต่อสู้ไว้
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้งสองบุกรุกเข้ามาทำกินและปลูกกระท่อมลงในที่ดินของโจทก์บางส่วน จำเลยทั้งสองให้การต่อสู้ว่า จำเลยที่ 2 ก่อสร้างครอบครองทำประโยชน์มานานกว่า 20 ปี ที่ดินที่โจทก์ฟ้องเป็นที่ดินคนละแปลงกับที่ดินที่จำเลยที่ 1 ครอบครอง ดังนี้ตามคำให้การของจำเลยทั้งสองจึงไม่มีประเด็นในเรื่องแย่งการครอบครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1375 จำเลยทั้งสองจะยกปัญหาข้อนี้ขึ้นฎีกาไม่ได้ เพราะเป็นฎีกาที่นอกเหนือไปจากคำให้การที่จำเลยให้การต่อสู้ไว้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6772/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้าม: จำเลยมิได้ยกประเด็นป่าสงวนฯ และประเด็นแย่งการครอบครองขึ้นในศาลอุทธรณ์ จึงไม่อาจฎีกาได้
ปัญหาว่าที่ดินพิพาทเป็นป่าสงวนแห่งชาติหรือไม่เป็นข้อเท็จจริงที่จะต้องพิสูจน์กันในทางพิจารณาไม่ใช่เรื่องอำนาจฟ้องและไม่ใช่ปัญหาอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน เมื่อจำเลยมิได้ยกปัญหาดังกล่าวขึ้นอุทธรณ์จึงต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้งสองบุกรุกเข้ามาทำกินและปลูกกระท่อมลงในที่ดินของโจทก์บางส่วน จำเลยทั้งสองให้การต่อสู้ว่า จำเลยที่ 2 ก่อสร้างครอบครองทำประโยชน์มานานกว่า 20 ปี ที่ดินที่โจทก์ฟ้องเป็นที่ดินคนละแปลงกับที่ดินที่จำเลยที่ 1 ครอบครอง ดังนี้ตามคำให้การของจำเลยทั้งสองจึงไม่มีประเด็นในเรื่องแย่งการครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1375 จำเลยทั้งสองจะยกปัญหาข้อนี้ขึ้นฎีกาไม่ได้ เพราะเป็นฎีกาที่นอกเหนือไปจากคำให้การที่จำเลยให้การต่อสู้ไว้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6038/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีแย่งการครอบครอง: ข้อจำกัด 1 ปี และการมิอาจใช้หลักอายุความสะดุดหยุด
โจทก์ฟ้องเรื่องเอาคืนซึ่งการครอบครองที่พิพาทตาม ป.พ.พ.มาตรา 1375 ซึ่งไม่ใช่อายุความฟ้องร้อง จึงนำเอา ป.วิ.อ. มาตรา 51 วรรคสองในเรื่องอายุความสะดุดหยุดลงมาใช้บังคับไม่ได้ ดังนั้นโจทก์ต้องฟ้องคดีเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครองภายใน 1 ปี นับแต่เวลาถูกแย่งการครอบครอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6038/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องแย่งการครอบครองที่ดิน: ฟ้องเกิน 1 ปี นับแต่วันถูกแย่งการครอบครอง สิทธิขาด
โจทก์ฟ้องเรื่องเอาคืนซึ่งการครอบครองที่พิพาทตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1375 ซึ่งไม่ใช่อายุความฟ้องร้อง จึงนำเอา ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 51 วรรคสอง ในเรื่องอายุความสะดุดหยุดลงมาใช้บังคับไม่ได้ ดังนั้นโจทก์ต้องฟ้องคดีเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครองภายใน 1 ปี นับแต่เวลาถูกแย่งการครอบครอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6038/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องแย่งการครอบครองที่ดิน: ฟ้องเกิน 1 ปี ถือหมดสิทธิ
แม้โจทก์จะได้ฟ้องจำเลยทั้งสองเป็นคดีอาญาฐานบุกรุกที่พิพาทซึ่งเป็นที่มี น.ส.3 ก. ขณะที่จำเลยทั้งสองปลูกบ้านอยู่ในที่พิพาทยังไม่เกิน 1 ปี และคดีอาญาดังกล่าวยังไม่เสร็จเด็ดขาด แต่เมื่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1375 ไม่ใช่อายุความฟ้องร้องจึงนำเรื่องอายุความสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 51 มาใช้บังคับไม่ได้ โจทก์ต้องฟ้องคดีเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครองที่พิพาทภายใน 1 ปี นับแต่เวลาถูกแย่งการครอบครองมิฉะนั้นหมดสิทธิฟ้องเรียกเอาคืนการครอบครองที่พิพาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5764/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิทายาทโดยธรรมของบุตรนอกกฎหมายที่ได้รับการรับรองและการเพิกถอนนิติกรรมรับมรดก
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1629 ทายาทโดยธรรมมีหกลำดับแต่ละลำดับมีสิทธิได้รับมรดกก่อนหลัง อันดับที่ 1 คือผู้สืบสันดานซึ่งตามมาตรา 1627บุตรนอกกฎหมายที่บิดาได้รับรองแล้วให้ถือว่าเป็นผู้สืบสันดานเหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายนี้ด้วย ดังนั้น ประเด็นที่ศาลชั้นต้นกำหนดว่า จำเลยเป็นทายาทโดยธรรมของนาย อ.เจ้ามรดกหรือไม่ จึงรวมไปถึงปัญหาว่าจำเลยเป็นบุตรนอกกฎหมายที่บิดาได้รับรองแล้วหรือไม่ด้วย
จำเลยมีสำเนาทะเบียนการสมรสระหว่างจำเลยกับ ส.สามีซึ่งเป็นเอกสารมหาชนระบุว่า จำเลยเป็นบุตรนาย อ. นาง ก. และใช้นามสกุลขณะสมรสว่า "เพชรม่อม" อันเป็นนามสกุลของนาย อ. อีกด้วยแม้นาย อ. นาง ก.ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกันตามกฎหมาย แต่ผู้ใหญ่บ้านก็เบิกความรับรองว่า ขณะเยาว์วัยจำเลยอาศัยอยู่กับนาย อ.บิดาที่บ้าน จึงฟังได้ว่านาย อ.อุปการะเลี้ยงดูจำเลยอย่างบุตรและให้ใช้นามสกุลเดียวกัน ถือเป็นการรับรองว่าจำเลยเป็นบุตร จำเลยจึงมีสิทธิรับมรดกไม่มีพินัยกรรมของนาย อ.ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1627 และมาตรา 1629
โจทก์ฟ้องให้เพิกถอนนิติกรรมที่จำเลยขอรับมรดกที่ดินพิพาทส่วนของนาย อ. อ้างว่า นาย อ.ได้ยกที่ดินพิพาทส่วนของนาย อ.ให้โจทก์แล้วไม่มีประเด็นว่าโจทก์แย่งการครอบครองที่ดินพิพาทเกินกว่า 1 ปี หรือไม่ ทั้งคำพยานโจทก์ ก็ไม่ได้ยืนยันว่า นาย อ.ยกที่ดินพิพาทส่วนของนาย อ.ให้โจทก์การที่โจทก์ครอบครองที่ดินพิพาทรวมทั้งส่วนของนาย อ.หลังจากนาย อ.ตายแล้วเท่ากับเป็นการครอบครองแทนจำเลยซึ่งเป็นทายาทนาย อ.จนกว่าโจทก์จะแสดงเจตนาเปลี่ยนการครอบครองเป็นครอบครองเพื่อตน เมื่อจำเลยเป็นทายาทโดยธรรมของนาย อ.ได้ทำนิติกรรมจดทะเบียนสิทธิรับโอนที่ดินพิพาทส่วนของนาย อ.บิดาโดยชอบ โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมดังกล่าว
จำเลยมีสำเนาทะเบียนการสมรสระหว่างจำเลยกับ ส.สามีซึ่งเป็นเอกสารมหาชนระบุว่า จำเลยเป็นบุตรนาย อ. นาง ก. และใช้นามสกุลขณะสมรสว่า "เพชรม่อม" อันเป็นนามสกุลของนาย อ. อีกด้วยแม้นาย อ. นาง ก.ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกันตามกฎหมาย แต่ผู้ใหญ่บ้านก็เบิกความรับรองว่า ขณะเยาว์วัยจำเลยอาศัยอยู่กับนาย อ.บิดาที่บ้าน จึงฟังได้ว่านาย อ.อุปการะเลี้ยงดูจำเลยอย่างบุตรและให้ใช้นามสกุลเดียวกัน ถือเป็นการรับรองว่าจำเลยเป็นบุตร จำเลยจึงมีสิทธิรับมรดกไม่มีพินัยกรรมของนาย อ.ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1627 และมาตรา 1629
โจทก์ฟ้องให้เพิกถอนนิติกรรมที่จำเลยขอรับมรดกที่ดินพิพาทส่วนของนาย อ. อ้างว่า นาย อ.ได้ยกที่ดินพิพาทส่วนของนาย อ.ให้โจทก์แล้วไม่มีประเด็นว่าโจทก์แย่งการครอบครองที่ดินพิพาทเกินกว่า 1 ปี หรือไม่ ทั้งคำพยานโจทก์ ก็ไม่ได้ยืนยันว่า นาย อ.ยกที่ดินพิพาทส่วนของนาย อ.ให้โจทก์การที่โจทก์ครอบครองที่ดินพิพาทรวมทั้งส่วนของนาย อ.หลังจากนาย อ.ตายแล้วเท่ากับเป็นการครอบครองแทนจำเลยซึ่งเป็นทายาทนาย อ.จนกว่าโจทก์จะแสดงเจตนาเปลี่ยนการครอบครองเป็นครอบครองเพื่อตน เมื่อจำเลยเป็นทายาทโดยธรรมของนาย อ.ได้ทำนิติกรรมจดทะเบียนสิทธิรับโอนที่ดินพิพาทส่วนของนาย อ.บิดาโดยชอบ โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5764/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับรองบุตรนอกกฎหมายมีผลให้มีสิทธิรับมรดกเหมือนบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย การครอบครองแทนทายาท
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1629 ทายาทโดยธรรมมีหกลำดับแต่ละลำดับมีสิทธิได้รับมรดกก่อนหลังอันดับที่ 1 คือผู้สืบสันดานซึ่งตามมาตรา 1627 บุตรนอกกฎหมายที่บิดาได้รับรองแล้วให้ถือว่าเป็นผู้สืบสันดานเหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายนี้ด้วยดังนั้น ประเด็นที่ศาลชั้นต้นกำหนดว่า จำเลยเป็นทายาทโดยธรรมของนาย อ. เจ้ามรดกหรือไม่ จึงรวมไปถึงปัญหาว่าจำเลยเป็นบุตรนอกกฎหมายที่บิดาได้รับรองแล้วหรือไม่ด้วย จำเลยมีสำเนาทะเบียนการสมรสระหว่างจำเลยกับ ส.สามีซึ่งเป็นเอกสารมหาชนระบุว่า จำเลยเป็นบุตรนาย อ.นาง ก. และใช้นามสกุลขณะสมรสว่า "เพชรม่อม" อันเป็นนามสกุลของนาย อ.อีกด้วยแม้นายอ. นาง ก. ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกันตามกฎหมาย แต่ผู้ใหญ่บ้านก็เบิกความรับรองว่า ขณะเยาว์วัยจำเลยอาศัยอยู่กับนายอ. บิดาที่บ้าน จึงฟังได้ว่านาย อ. อุปการะเลี้ยงดูจำเลยอย่างบุตรและให้ใช้นามสกุลเดียวกัน ถือเป็นการรับรองว่าจำเลยเป็นบุตร จำเลยจึงมีสิทธิรับมรดกไม่มีพินัยกรรมของนาย อ.ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1627 และมาตรา 1629 โจทก์ฟ้องให้เพิกถอนนิติกรรมที่จำเลยขอรับมรดกที่ดินพิพาทส่วนของนาย อ.อ้างว่านายอ. ได้ยกที่ดินพิพาทส่วนของนาย อ. ให้โจทก์แล้วไม่มีประเด็นว่าโจทก์แย่งการครอบครองที่ดินพิพาทเกินกว่า 1 ปี หรือไม่ ทั้งคำพยานโจทก์ ก็ไม่ได้ยืนยันว่า นาย อ. ยกที่ดินพิพาทส่วนของนาย อ. ให้โจทก์การที่โจทก์ครอบครองที่ดินพิพาทรวมทั้งส่วนของนาย อ.หลังจากนายอ. ตายแล้วเท่ากับเป็นการครอบครองแทนจำเลยซึ่งเป็นทายาทนาย อ. จนกว่าโจทก์จะแสดงเจตนาเปลี่ยนการครอบครองเป็นครอบครองเพื่อตน เมื่อจำเลยเป็นทายาทโดยธรรมของนาย อ. ได้ทำนิติกรรมจดทะเบียนรับโอนที่ดินพิพาทส่วนของนาย อ. บิดาโดยชอบ โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5526/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ระยะเวลาฟ้องแย่งการครอบครองไม่ใช่ อายุความ การดำเนินคดีอาญาไม่สะดุดอายุความฟ้องแพ่ง
กำหนดระยะเวลาฟ้องคดีเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1375 วรรคสอง แม้จะได้กำหนดว่าต้องฟ้องคดีภายในหนึ่งปี นับแต่เวลาถูกแย่งการครอบครองก็ไม่ถือว่าเป็นอายุความฟ้องร้อง ดังนั้นแม้จะได้มีการดำเนินคดีอาญาแก่จำเลยฐานบุกรุก ก็จะนำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 51 วรรคสอง มาใช้บังคับไม่ได้ เพราะกำหนดระยะเวลาดังกล่าวไม่ใช่อายุความ สิทธิที่โจทก์จะฟ้องดำเนินคดีแพ่งหาได้สะดุดหยุดลงไม่โจทก์ต้องฟ้องคดีเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครองที่พิพาทตามบทบัญญัติดังกล่าวภายในเวลาหนึ่งปีนับแต่เวลาถูกแย่งการครอบครองที่พิพาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5526/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคืนการครอบครองที่ดินเกิน 1 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1375 วรรคสอง
กำหนดระยะเวลาการฟ้องคดีเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1375 วรรคสองไม่ถือว่าเป็นอายุความ ดังนั้นแม้จะได้มีการดำเนินคดีอาญาแก่จำเลย ก็จะนำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 51 วรรคสองมาใช้บังคับไม่ได้เพราะกำหนดระยะเวลาดังกล่าวไม่ใช้อายุความ สิทธิที่โจทก์จะฟ้องคดีแพ่งหาได้สะดุดหยุดลงไม่โจทก์ต้องฟ้องคดีเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครองที่พิพาทตามบทบัญญัติดังกล่าวภายในเวลาปีหนึ่งแต่เวลาถูกแย่งการครอบครอง แต่โจทก์ฟ้องคดีเกิน 1 ปีแล้วจึงหมดสิทธิฟ้องเรียกเอาคืนซึ่งการครอบครองที่พิพาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5425/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ประเด็นการครอบครองที่ดินพิพาท: การยกอายุความฟ้องเรียกคืนเมื่อจำเลยอ้างสิทธิในที่ดิน
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทซึ่งโจทก์จำนองแก่จำเลยและมอบให้จำเลยทำกินต่างดอกเบี้ยเงินกู้ต่อมาโจทก์ประสงค์จะไถ่ถอนจำนอง แต่จำเลยปฏิเสธ จึงขอให้จำเลยรับเงินและคืนที่ดินแก่โจทก์ จำเลยให้การว่า โจทก์ได้ขายที่ดินพิพาทโดยสละการครอบครองให้แก่จำเลย ที่ดินพิพาทตกเป็นของจำเลย และจำเลยครอบครองเกินกว่าหนึ่งปี จึงพ้นกำหนดเวลาฟ้องเรียกคืนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1375 ดังนี้ เมื่อจำเลยยกเหตุเป็นข้อต่อสู้ว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลย จึงไม่ก่อให้เกิดประเด็นข้อพิพาทว่า โจทก์ฟ้องคดีเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครองภายในกำหนดเวลาหนึ่งปีนับแต่เวลาถูกแย่งการครอบครองหรือไม่ เพราะเหตุแย่งการครอบครองตามบทบัญญัติดังกล่าวนั้น ที่ดินต้องเป็นสิทธิครอบครองของผู้อื่น หาได้หมายความถึงที่ดินที่ตนเป็นผู้มีสิทธิครอบครองเองไม่ ฉะนั้น การที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทดังกล่าวจึงไม่ชอบ