พบผลลัพธ์ทั้งหมด 840 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5051/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองทรัพย์มรดกโดยผู้จัดการมรดกและการโอนให้ผู้อื่น ผลกระทบต่อสิทธิเรียกร้องแบ่งมรดกของทายาท
ที่พิพาทเป็นทรัพย์มรดกของ ค.เมื่อค. ถึงแก่ความตาย จำเลยที่ 1 ได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลตั้ง จำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดการมรดกซึ่งศาลได้มีคำสั่งให้ จำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดการมรดก แล้วจำเลยที่ 1 ได้ใส่ชื่อ ของตนในฐานะผู้จัดการมรดกลงในหนังสือรับรองการทำประโยชน์ ที่ดินทรัพย์มรดก ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ครอบครองที่พิพาทแทน ทายาทอื่นทุกคน เมื่อจำเลยที่ 2 และที่ 3 รับโอนที่พิพาท จากจำเลยที่ 1 ก็ต้องถือว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 ครอบครอง ที่พิพาทแทนทายาทอื่นเช่นเดียวกัน โจทก์ในฐานะทายาท ผู้มีสิทธิรับมรดกของ ค. จึงมีสิทธิเรียกร้องให้แบ่งที่พิพาทได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1748 วรรคหนึ่ง โดยไม่มีอายุความ โจทก์ฟ้องว่า ที่พิพาทเป็นทรัพย์มรดก ขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนโอนระหว่างจำเลยทั้งสาม และให้จำเลยทั้งสามแบ่งที่พิพาทแก่โจทก์ทั้งสาม จำเลยทั้งสามให้การตอนแรกว่าที่พิพาทตกเป็นของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งได้รับยกให้จากค. ก่อนตาย แต่ให้การตอนหลังว่า หากที่พิพาทเป็นทรัพย์มรดก แต่จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกจดทะเบียนโอนที่พิพาทให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 แล้ว ถือว่าจำเลยที่ 2และที่ 3 ได้แย่งการครอบครองที่พิพาท เช่นนี้เป็นคำให้การไม่ชัดแจ้งและขัดแย้งกันเองไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสองแต่คำให้การดังกล่าวเป็นที่เข้าใจได้ว่าจำเลยปฏิเสธฟ้องโจทก์โดยสิ้นเชิง ทั้งการแย่งการครอบครองจะมีได้ก็แต่ในที่ดินของผู้อื่น ดังนี้ คดีจึงยังคงมีประเด็นข้อพิพาทว่าที่พิพาทเป็นทรัพย์มรดกหรือไม่ แต่ไม่มีประเด็นข้อพิพาทเรื่องแย่งการครอบครอง คดีนี้ไม่มีประเด็นข้อพิพาทเรื่องแย่งการครอบครองและเมื่อศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งชี้ขาดว่า ไม่มีประเด็นข้อพิพาทเรื่องแย่งการครอบครองจำเลยทั้งสามก็ไม่โต้แย้งคัดค้าน จำเลยทั้งสามจึงไม่มีสิทธิฎีกาว่าโจทก์สิ้นสิทธิฟ้องเรียกเอาคืนซึ่งการครอบครอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5051/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองทรัพย์มรดกของผู้จัดการมรดกและการโอนให้ผู้อื่น สิทธิเรียกร้องแบ่งมรดก
ที่พิพาทเป็นทรัพย์มรดกของ ค. เมื่อ ค.ถึงแก่ความตายจำเลยที่ 1 ได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลตั้งจำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดการมรดกซึ่งศาลได้มีคำสั่งให้จำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดการมรดก แล้วจำเลยที่ 1 ได้ใส่ชื่อของตนในฐานะผู้จัดการมรดกลงในหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่ดินทรัพย์มรดก ถือได้ว่าจำเลยที่ 1ครอบครองที่พิพาทแทนทายาทอื่นทุกคน เมื่อจำเลยที่ 2 และที่ 3 รับโอนที่พิพาทจากจำเลยที่ 1 ก็ต้องถือว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 ครอบครองที่พิพาทแทนทายาทอื่นเช่นเดียวกัน โจทก์ในฐานะทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกของ ค.จึงมีสิทธิเรียกร้องให้แบ่งที่พิพาทได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1748 วรรคหนึ่ง โดยไม่มีอายุความ
โจทก์ฟ้องว่า ที่พิพาทเป็นทรัพย์มรดก ขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนโอนระหว่างจำเลยทั้งสาม และให้จำเลยทั้งสามแบ่งที่พิพาทแก่โจทก์ทั้งสาม จำเลยทั้งสามให้การตอนแรกว่า ที่พิพาทตกเป็นของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งได้รับยกให้จากค.ก่อนตาย แต่ให้การตอนหลังว่า หากที่พิพาทเป็นทรัพย์มรดก แต่จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกจดทะเบียนโอนที่พิพาทให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 แล้ว ถือว่าจำเลยที่ 2และที่ 3 ได้แย่งการครอบครองที่พิพาท เช่นนี้เป็นคำให้การไม่ชัดแจ้งและขัดแย้งกันเองไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 177 วรรคสอง แต่คำให้การดังกล่าวเป็นที่เข้าใจได้ว่าจำเลยปฏิเสธฟ้องโจทก์โดยสิ้นเชิง ทั้งการแย่งการครอบครองจะมีได้ก็แต่ในที่ดินของผู้อื่น ดังนี้ คดีจึงยังคงมีประเด็นข้อพิพาทว่าที่พิพาทเป็นทรัพย์มรดกหรือไม่ แต่ไม่มีประเด็นข้อพิพาทเรื่องแย่งการครอบครอง
คดีนี้ไม่มีประเด็นข้อพิพาทเรื่องแย่งการครอบครอง และเมื่อศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งชี้ขาดว่า ไม่มีประเด็นข้อพิพาทเรื่องแย่งการครอบครองจำเลยทั้งสามก็ไม่โต้แย้งคัดค้าน จำเลยทั้งสามจึงไม่มีสิทธิฎีกาว่าโจทก์สิ้นสิทธิฟ้องเรียกเอาคืนซึ่งการครอบครอง
โจทก์ฟ้องว่า ที่พิพาทเป็นทรัพย์มรดก ขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนโอนระหว่างจำเลยทั้งสาม และให้จำเลยทั้งสามแบ่งที่พิพาทแก่โจทก์ทั้งสาม จำเลยทั้งสามให้การตอนแรกว่า ที่พิพาทตกเป็นของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งได้รับยกให้จากค.ก่อนตาย แต่ให้การตอนหลังว่า หากที่พิพาทเป็นทรัพย์มรดก แต่จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกจดทะเบียนโอนที่พิพาทให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 แล้ว ถือว่าจำเลยที่ 2และที่ 3 ได้แย่งการครอบครองที่พิพาท เช่นนี้เป็นคำให้การไม่ชัดแจ้งและขัดแย้งกันเองไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 177 วรรคสอง แต่คำให้การดังกล่าวเป็นที่เข้าใจได้ว่าจำเลยปฏิเสธฟ้องโจทก์โดยสิ้นเชิง ทั้งการแย่งการครอบครองจะมีได้ก็แต่ในที่ดินของผู้อื่น ดังนี้ คดีจึงยังคงมีประเด็นข้อพิพาทว่าที่พิพาทเป็นทรัพย์มรดกหรือไม่ แต่ไม่มีประเด็นข้อพิพาทเรื่องแย่งการครอบครอง
คดีนี้ไม่มีประเด็นข้อพิพาทเรื่องแย่งการครอบครอง และเมื่อศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งชี้ขาดว่า ไม่มีประเด็นข้อพิพาทเรื่องแย่งการครอบครองจำเลยทั้งสามก็ไม่โต้แย้งคัดค้าน จำเลยทั้งสามจึงไม่มีสิทธิฎีกาว่าโจทก์สิ้นสิทธิฟ้องเรียกเอาคืนซึ่งการครอบครอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4207/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้อง – การแย่งการครอบครอง – สิทธิโต้แย้ง – ความสงบเรียบร้อย
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นเจ้าของที่ดินพิพาท จำเลยที่ 4 และที่ 5อ้างว่าเป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 มาพบโจทก์และพูดขอแบ่งที่ดินพิพาทจากโจทก์ แต่โจทก์ไม่ยินยอม ต่อมาจำเลยที่ 2 สั่งการให้จำเลยที่ 1 ที่ 3 ที่ 4 และที่ 5 พร้อมกับเจ้าพนักงานตำรวจมาทำการรังวัดที่ดินพิพาทเป็นการแย่งสิทธิครอบครองโดยพลการ โจทก์เกรงกลัวอันตราย ขอให้ห้ามจำเลยทั้งห้าและบริวารเข้าไปเกี่ยวข้องในที่ดินพิพาท ตามคำฟ้องของโจทก์ไม่ปรากฏว่าจำเลยทั้งห้าได้เข้าไปแย่งการครอบครองที่ดินของโจทก์ ถือไม่ได้ว่าโจทก์ถูกจำเลยทั้งห้ารบกวนการครอบครองที่จะเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องจำเลยทั้งห้า เรื่องอำนาจฟ้องเป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 142 (5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4207/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องแย่งสิทธิครอบครองที่ดิน: จำเลยเพียงแค่เสนอขอแบ่งที่ดินและรังวัด ไม่ถือเป็นการรบกวนการครอบครอง
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นเจ้าของที่ดินพิพาท จำเลยที่ 4และที่ 5 อ้างว่าเป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 มาพบโจทก์และพูดขอแบ่งที่ดินพิพาทจากโจทก์ แต่โจทก์ไม่ยินยอมต่อมาจำเลยที่ 2 สั่งการให้จำเลยที่ 1 ที่ 3 ที่ 4และที่ 5 พร้อมกับเจ้าพนักงานตำรวจมาทำการรังวัดที่ดินพิพาทเป็นการแย่งสิทธิครอบครองโดยพลการ โจทก์เกรงกลัวอันตรายขอให้ห้ามจำเลยทั้งห้าและบริวารเข้าไปเกี่ยวข้องในที่ดินพิพาทตามคำฟ้องของโจทก์ไม่ปรากฏว่าจำเลยทั้งห้าได้เข้าไปแย่งการครอบครองที่ดินของโจทก์ ถือไม่ได้ว่าโจทก์ถูกจำเลยทั้งห้ารบกวนการครอบครองที่จะเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องจำเลยทั้งห้า เรื่องอำนาจฟ้องเป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3993/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิครอบครองที่ดิน: การแย่งการครอบครองต้องเกิดในที่ดินของผู้อื่น การครอบครองที่ดินรกร้างไม่เป็นเหตุแย่งการครอบครอง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า เดิมที่ดินพิพาทเป็นที่รกร้างมีน้ำขังตลอดปีเป็นที่ดินหัวไร่ปลายนา ไม่มีผู้ใดครอบครองทำประโยชน์ โจทก์ได้เข้าครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทตลอดมาติดต่อกันเป็นเวลา 8 ปีเศษ เป็นการยืนยันว่าโจทก์เป็นเจ้าของที่ดินมาตั้งแต่ต้น ดังนั้น แม้จำเลยจะให้การว่าโจทก์เข้ามาเกี่ยวข้องกับที่ดินพิพาทของจำเลยหลังจากเจ้าพนักงานที่ดินมีคำสั่งให้ออกโฉนดที่ดินสำหรับที่พิพาทแก่จำเลยแล้ว ซึ่งเป็นเวลาไม่ถึงหนึ่งปีก็ตาม คดีก็ไม่อาจมีประเด็นเรื่องการแย่งการครอบครองที่ดินพิพาทจากจำเลย โจทก์จึงไม่อาจอ้างสิทธิตามป.พ.พ.มาตรา 1375 ได้ เพราะการแย่งการครอบครองจะเกิดมีขึ้นได้ก็แต่ในที่ดินของผู้อื่นเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3993/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิครอบครองที่ดิน: การแย่งการครอบครองต้องเกิดขึ้นในที่ดินของผู้อื่น การครอบครองเดิมเป็นเจ้าของย่อมไม่มีการแย่ง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า เดิมที่ดินพิพาทเป็นที่รกร้างมีน้ำขัง ตลอดปีเป็นที่ดินหัวไร่ปลายนา ไม่มีผู้ใดครอบครองทำประโยชน์ โจทก์ได้เข้าครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทตลอดมาติดต่อกันเป็นเวลา 8 ปีเศษเป็นการยืนยันว่าโจทก์เป็นเจ้าของที่ดินมาตั้งแต่ต้น ดังนั้นแม้จำเลยจะให้การว่าโจทก์เข้ามาเกี่ยวข้องกับที่ดินพิพาทของจำเลยหลังจากเจ้าพนักงานที่ดินมีคำสั่งให้ออกโฉนดที่ดินสำหรับที่พิพาทแก่จำเลยแล้ว ซึ่งเป็นเวลาไม่ถึง หนึ่งปีก็ตาม คดีก็ไม่อาจมีประเด็นเรื่องการแย่งการครอบครองที่ดินพิพาทจากจำเลย โจทก์จึงไม่อาจอ้างสิทธิตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1375 ได้เพราะการแบ่งการครอบครองจะเกิดขึ้นได้ก็แต่ในที่ดินของผู้อื่นเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3870/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิครอบครองที่ดิน, การซื้อขาย, การบุกรุก, และอำนาจฟ้องของคู่สมรส
โจทก์ตกลงแบ่งขายที่ดินของโจทก์ตาม น.ส.3 ก.เลขที่ 53จำนวน 7 ไร่ ซึ่งเป็นที่พิพาทในคดีนี้ให้แก่ ส. แต่ยังไม่ทันได้รับมอบการครอบครองที่พิพาทจากโจทก์ตามสัญญาซื้อขายดังกล่าว ส.ถึงแก่กรรมเสียก่อน แม้สิทธิตามสัญญาซื้อขายที่พิพาทจะเป็นมรดกตกทอดไปยังทายาทหรือผู้จัดการมรดกของ ส.ก็ตาม แต่ก็จะต้องว่ากล่าวเป็นกรณีต่างหากอีกกรณีหนึ่ง ส่วนสิทธิครอบครองที่พิพาทย่อมยังคงเป็นของโจทก์อยู่
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยกับบริวารให้รื้อถอนเสาพร้อมสายรั้วลวดหนามที่กั้นออกไปจากที่พิพาทซึ่งโจทก์อ้างว่าตนเป็นผู้มีสิทธิครอบครอง จำเลยให้การต่อสู้และฟ้องแย้งว่า เดิมที่พิพาทเป็นของโจทก์ โจทก์ขายให้ ส. ต่อมาก่อน ส.ถึงแก่กรรมได้ยกที่พิพาทให้แก่จำเลยครอบครองและทำประโยชน์เรื่อยมาตามคำให้การของจำเลยมิได้อ้างว่าจำเลยแย่งการครอบครองที่พิพาทจากโจทก์จำเลยจึงไม่อาจอ้างสิทธิตาม ป.พ.พ.มาตรา 1375 ได้ เพราะการแย่งการครอบครองจะเกิดมีขึ้นได้ก็แต่ในที่ดินของผู้อื่นเท่านั้น การที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นเรื่องการแย่งการครอบครองเป็นประเด็นข้อพิพาทด้วย จึงเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาย่อมไม่รับวินิจฉัยประเด็นข้อนี้ตามที่จำเลยฎีกา
โจทก์เป็นสามี ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินของโจทก์อ้างว่าจำเลยบุกรุกทำละเมิดต่อโจทก์ และฟ้องเรียกค่าเสียหายที่จำเลยก่อให้เกิดความเสียหายในที่ดินโจทก์ เมื่อไม่เข้ากรณีหนึ่งกรณีใดตามที่ ป.พ.พ.มาตรา1476 วรรคหนึ่ง ระบุไว้ในอนุมาตรา 1 ถึงอนุมาตรา 8 และในวรรคสองได้ระบุว่าการจัดการสินสมรสนอกจากกรณีที่บัญญัติไว้ในวรรคหนึ่ง สามีหรือภริยาจัดการได้โดยมิต้องได้รับความยินยอมจากอีกฝ่าย ฉะนั้น โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยได้โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากภริยา
จำเลยบุกรุกที่ดินโจทก์โดยการนำรถแทรกเตอร์ไถแล้วปรับสภาพดินกับยังไม่ได้ล้อมรั้วรอบที่พิพาท อันถือได้ว่าเป็นการรบกวนการครอบครองในอันที่โจทก์จะเข้าไปทำประโยชน์ในที่พิพาท และทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายศาลย่อมใช้ดุลพินิจกำหนดค่าเสียหายให้เองได้
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยกับบริวารให้รื้อถอนเสาพร้อมสายรั้วลวดหนามที่กั้นออกไปจากที่พิพาทซึ่งโจทก์อ้างว่าตนเป็นผู้มีสิทธิครอบครอง จำเลยให้การต่อสู้และฟ้องแย้งว่า เดิมที่พิพาทเป็นของโจทก์ โจทก์ขายให้ ส. ต่อมาก่อน ส.ถึงแก่กรรมได้ยกที่พิพาทให้แก่จำเลยครอบครองและทำประโยชน์เรื่อยมาตามคำให้การของจำเลยมิได้อ้างว่าจำเลยแย่งการครอบครองที่พิพาทจากโจทก์จำเลยจึงไม่อาจอ้างสิทธิตาม ป.พ.พ.มาตรา 1375 ได้ เพราะการแย่งการครอบครองจะเกิดมีขึ้นได้ก็แต่ในที่ดินของผู้อื่นเท่านั้น การที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นเรื่องการแย่งการครอบครองเป็นประเด็นข้อพิพาทด้วย จึงเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาย่อมไม่รับวินิจฉัยประเด็นข้อนี้ตามที่จำเลยฎีกา
โจทก์เป็นสามี ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินของโจทก์อ้างว่าจำเลยบุกรุกทำละเมิดต่อโจทก์ และฟ้องเรียกค่าเสียหายที่จำเลยก่อให้เกิดความเสียหายในที่ดินโจทก์ เมื่อไม่เข้ากรณีหนึ่งกรณีใดตามที่ ป.พ.พ.มาตรา1476 วรรคหนึ่ง ระบุไว้ในอนุมาตรา 1 ถึงอนุมาตรา 8 และในวรรคสองได้ระบุว่าการจัดการสินสมรสนอกจากกรณีที่บัญญัติไว้ในวรรคหนึ่ง สามีหรือภริยาจัดการได้โดยมิต้องได้รับความยินยอมจากอีกฝ่าย ฉะนั้น โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยได้โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากภริยา
จำเลยบุกรุกที่ดินโจทก์โดยการนำรถแทรกเตอร์ไถแล้วปรับสภาพดินกับยังไม่ได้ล้อมรั้วรอบที่พิพาท อันถือได้ว่าเป็นการรบกวนการครอบครองในอันที่โจทก์จะเข้าไปทำประโยชน์ในที่พิพาท และทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายศาลย่อมใช้ดุลพินิจกำหนดค่าเสียหายให้เองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3870/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิครอบครองที่ดินหลังการซื้อขาย - การแย่งการครอบครอง - อำนาจฟ้องของสามี - ค่าเสียหายจากการบุกรุก
โจทก์ตกลงแบ่งขายที่ดินของโจทก์ตาม น.ส.3 ก.เลขที่ 53 จำนวน 7 ไร่ ซึ่งเป็นที่พิพาทในคดีนี้ให้แก่ ส.แต่ยังไม่ทันได้รับมอบการครอบครองที่พิพาทจากโจทก์ตามสัญญา ซื้อขายดังกล่าว ส. ถึงแก่กรรมเสียก่อน แม้สิทธิตามสัญญาซื้อขายที่พิพาทจะเป็นมรดกตกทอดไปยังทายาทหรือผู้จัดการ มรดกของ ส. ก็ตาม แต่ก็จะต้องว่ากล่าวเป็นกรณีต่างหากอีกกรณีหนึ่ง ส่วนสิทธิครอบครองที่พิพาทย่อมยังคงเป็น ของโจทก์อยู่ โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยกับบริวารให้รื้อถอนเสาพร้อมสาย รั้วลวดหนามที่กั้นออกไปจากที่พิพาทซึ่งโจทก์อ้างว่าตนเป็นผู้มีสิทธิครอบครอง จำเลยให้การต่อสู้และฟ้องแย้งว่าเดิมที่พิพาทเป็นของโจทก์ โจทก์ขายให้ ส.ต่อมาก่อนส.ถึงแก่กรรมได้ยกที่พิพาทให้แก่จำเลยครอบครองและทำประโยชน์เรื่อยมาตามคำให้การของจำเลยมิได้อ้างว่าจำเลย แย่งการครอบครองที่พิพาทจากโจทก์จำเลยจึงไม่อาจอ้างสิทธิตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1375 ได้ เพราะการ แย่งการครอบครองจะเกิดมีขึ้นได้ก็แต่ในที่ดินของผู้อื่น เท่านั้น การที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นเรื่องการแย่งการครอบครองเป็นประเด็นข้อพิพาทด้วย จึงเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาย่อมไม่รับวินิจฉัยประเด็นข้อนี้ตามที่จำเลยฎีกา โจทก์เป็นสามี ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินของโจทก์อ้างว่าจำเลยบุกรุกทำละเมิดต่อโจทก์ และฟ้องเรียกค่าเสียหาย ที่จำเลยก่อให้เกิดความเสียหายในที่ดินโจทก์เมื่อไม่เข้ากรณีหนึ่งกรณีใดตามที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1476 วรรคหนึ่ง ระบุไว้ในอนุมาตรา 1 ถึงอนุมาตรา 8และในวรรคสองได้ระบุว่าการจัดการสินสมรสนอกจากกรณีที่บัญญัติไว้ในวรรคหนึ่ง สามีหรือภริยาจัดการได้โดยมิต้องได้รับความยินยอมจากอีกฝ่าย ฉะนั้น โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยได้โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากภริยา จำเลยบุกรุกที่ดินโจทก์โดยการนำรถแทรกเตอร์ไถแล้วปรับสภาพดินกับยังไม่ได้ล้อมรั้วรอบที่พิพาท อันถือได้ว่าเป็นการรบกวนการครอบครองในอันที่โจทก์จะเข้าไปทำประโยชน์ ในที่พิพาท และทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายศาลย่อมใช้ ดุลพินิจกำหนดค่าเสียหายให้เองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2044/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคืนการครอบครองที่ดิน: การแยกแยะ 'การถูกรบกวน' กับ 'การถูกแย่ง' และการชำระค่าธรรมเนียมในนามโจทก์
จำเลยให้การว่า โจทก์ฟ้องขอให้ปลดเปลื้องการรบกวนการครอบครองในที่ดินมือเปล่าในเวลาเกินกว่า 1 ปี นับแต่ถูกรบกวนการครอบครอง โจทก์จึงขาดสิทธิที่จะนำคดีมาฟ้องเป็นคำให้การต่อสู้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1374 วรรคสอง ส่วนการถูกแย่งการครอบครอง เป็นกรณีตามบทบัญญัติ มาตรา 1375 วรรคสอง การถูกรบกวน การครอบครองและการถูกแย่งการครอบครองจึงเป็นคนละเรื่องกันเมื่อจำเลยไม่ได้ต่อสู้เรื่องการถูกแย่งการครอบครอง ชอบที่ศาลจะไม่รับวินิจฉัยในปัญหาเรื่องการถูกแย่งการครอบครอง ศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ดำเนินคดีอย่างคนอนาถาและพิพากษาให้จำเลยใช้ค่าธรรมเนียมแทนโจทก์ แต่มิได้สั่งให้จำเลยชำระต่อศาลในนามของโจทก์ จึงเป็นการไม่ถูกต้อง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 158ศาลฎีกาจึงสั่งใหม่ให้ถูกต้อง โดยให้จำเลยชำระค่าฤชาธรรมเนียมที่จะต้องใช้แทนโจทก์ต่อศาลในนามของโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2044/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การต่อสู้คดีเรื่องการครอบครองที่ดิน และข้อผิดพลาดในการสั่งค่าฤชาธรรมเนียม
จำเลยให้การว่า โจทก์ฟ้องขอให้ปลดเปลื้องการรบกวนการครอบครองในที่ดินมือเปล่าในเวลาเกินกว่า 1 ปี นับแต่ถูกรบกวนการครอบครองโจทก์จึงขาดสิทธิที่จะนำคดีมาฟ้อง เป็นคำให้การต่อสู้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1374วรรคสอง ส่วนการถูกแย่งการครอบครองเป็นกรณีตามบทบัญญัติ มาตรา 1375วรรคสอง การถูกรบกวนการครอบครองและการถูกแย่งการครอบครองจึงเป็นคนละเรื่องกัน เมื่อจำเลยไม่ได้ต่อสู้เรื่องการถูกแย่งการครอบครอง ชอบที่ศาลจะไม่รับวินิจฉัยในปัญหาเรื่องการถูกแย่งการครอบครอง
ศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ดำเนินคดีอย่างคนอนาถาและพิพากษาให้จำเลยใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ แต่มิได้สั่งให้จำเลยชำระต่อศาลในนามของโจทก์ จึงเป็นการไม่ถูกต้องตาม ป.วิ.พ.มาตรา 158 ศาลฎีกาจึงสั่งใหม่ให้ถูกต้องโดยให้จำเลยชำระค่าฤชาธรรมเนียมที่จะต้องใช้แทนโจทก์ต่อศาลในนามของโจทก์
ศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ดำเนินคดีอย่างคนอนาถาและพิพากษาให้จำเลยใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ แต่มิได้สั่งให้จำเลยชำระต่อศาลในนามของโจทก์ จึงเป็นการไม่ถูกต้องตาม ป.วิ.พ.มาตรา 158 ศาลฎีกาจึงสั่งใหม่ให้ถูกต้องโดยให้จำเลยชำระค่าฤชาธรรมเนียมที่จะต้องใช้แทนโจทก์ต่อศาลในนามของโจทก์