คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 1375

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 840 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7940/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิครอบครองที่ดินพิพาท: การแบ่งแยกสิทธิระหว่างผู้รับมรดก ผู้ครอบครอง และผลของการขายโดยไม่ได้รับความยินยอม
ล.บิดาของโจทก์ทั้งสามและด.เป็นผู้ถือสิทธิครอบครองที่พิพาทมาแต่เดิม ต่อมา ล. ยกที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ที่ 1 และด. แต่เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ที่ 1 และด. ได้ที่ดินพิพาทเป็นอัตราส่วนเพียงใดต้องถือว่าโจทก์ที่ 1 และด.มีส่วนในที่ดินพิพาทเท่ากันคนละกึ่งหนึ่ง ต่อมาด.ได้ขายที่ดินพิพาทให้จำเลยดังนี้ เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ที่ 1 ได้รู้เห็นยินยอม ด.ขายที่ดินพิพาทในส่วนของโจทก์ที่ 1 ได้ด้วยสัญญาจะซื้อจะขาย ที่ดินพิพาทจึงมีผลผูกพันเฉพาะที่ดินในส่วนของด. เท่านั้น หามีผลผูกพันในส่วนที่เป็นของโจทก์ที่ 1 ด้วยไม่ โจทก์ที่ 1 และจำเลยจึงมีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทร่วมกันคนละกึ่งหนึ่ง โจทก์ทั้งสามฟ้องอ้างว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์รับมรดกมาจากบิดาและครอบครองทำประโยชน์ตลอดมาจำเลยบุกรุกนำดินเข้ามาถม ขอให้ขับไล่จำเลยให้การว่า ที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยโดยซื้อมาจากด.และจำเลยได้เข้าครอบครองตลอดมา โจทก์ทั้งสามฟ้องคดีเกิน 1 ปี นับแต่จำเลยเข้าครอบครองคำให้การจำเลยดังกล่าวเป็นการต่อสู้ว่า ที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยมาแต่ต้น โดยจำเลยมิได้ให้การยอมรับว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ทั้งสาม คดีจึงไม่มีประเด็นในเรื่องการแย่งการครอบครองที่ดินพิพาท ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1375 เพราะการแย่งการครอบครองจะเกิดขึ้นได้ก็แต่เฉพาะในที่ดินของบุคคลอื่นเท่านั้น การที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทในเรื่องการแย่งการครอบครองที่ดินพิพาทด้วยจึงเป็นการนอกเหนือจากคำฟ้องและคำให้การ เป็นการ ไม่ชอบด้วย ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 142 และมาตรา 183 แม้ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์จะวินิจฉัย ในประเด็นข้อนี้ให้ ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ได้ว่ากล่าวกันมาแล้ว โดยชอบในศาลล่างทั้งสอง จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาใน ประเด็นดังกล่าว ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 249 วรรคหนึ่ง โจทก์ที่ 1 ฟ้องอ้างว่าโจทก์ทั้งสามมีสิทธิครอบครองร่วมกันในที่ดินพิพาท เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาว่าโจทก์ที่ 1 มีสิทธิครอบครองร่วมกับโจทก์ที่ 2 ที่ 3และจำเลยคนละหนึ่งส่วน โจทก์ที่ 1 มิได้อุทธรณ์ประเด็นดังกล่าวจึงถึงที่สุด ดังนั้น แม้ทางพิจารณาจะได้ความว่าโจทก์ที่ 1 และจำเลยมีสิทธิครอบครองที่พิพาทร่วมกันคนละกึ่งหนึ่งก็ตาม ศาลฎีกาก็ไม่อาจพิพากษาให้โจทก์ที่ 1 มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทกึ่งหนึ่งได้ คงพิพากษาให้โจทก์ที่ 1 มีสิทธิครอบครองเพียงหนึ่งในสี่ส่วนแต่ไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่ 1 ที่จะฟ้องใหม่ เพื่อขอให้บังคับเกี่ยวกับที่ดินพิพาทในส่วนที่เหลือ ตามสิทธิของตนต่อไป ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 148(3)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7940/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิครอบครองที่ดินร่วมกัน, ประเด็นนอกฟ้อง, และขอบเขตการบังคับคดี
ล.บิดาของโจทก์ทั้งสาม และ ด.เป็นผู้ถือสิทธิครอบครองที่พิพาทมาแต่เดิม ต่อมา ล.ยกที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ที่ 1 และ ด. แต่เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ที่ 1 และ ด.ได้ที่ดินพิพาทเป็นอัตราส่วนเพียงใด ต้องถือว่าโจทก์ที่ 1 และ ด.มีส่วนในที่ดินพิพาทเท่ากันคนละกึ่งหนึ่ง ต่อมา ด.ได้ขายที่ดินพิพาทให้จำเลย ดังนี้ เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ที่ 1 ได้รู้เห็นยินยอม ด.ขายที่ดินพิพาทในส่วนของโจทก์ที่ 1 ได้ด้วยสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทจึงมีผลผูกพันเฉพาะที่ดินในส่วนของ ด.เท่านั้น หามีผลผูกพันในส่วนที่เป็นของโจทก์ที่ 1 ด้วยไม่ โจทก์ที่ 1 และจำเลยจึงมีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทร่วมกันคนละกึ่งหนึ่ง
โจทก์ทั้งสามฟ้องอ้างว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์รับมรดกมาจากบิดาและครอบครองทำประโยชน์ตลอดมา จำเลยบุกรุกนำดินเข้ามาถม ขอให้ขับไล่จำเลยให้การว่า ที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยโดยซื้อมาจาก ด. และจำเลยได้เข้าครอบครองตลอดมา โจทก์ทั้งสามฟ้องคดีเกิน 1 ปี นับแต่จำเลยเข้าครอบครองคำให้การจำเลยดังกล่าวเป็นการต่อสู้ว่า ที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยมาแต่ต้น โดยจำเลยมิได้ให้การยอมรับว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ทั้งสาม คดีจึงไม่มีประเด็นในเรื่องการแย่งการครอบครองที่ดินพิพาท ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1375 เพราะการแย่งการครอบครองจะเกิดมีขึ้นได้ก็แต่เฉพาะในที่ดินของบุคคลอื่นเท่านั้น การที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทในเรื่องการแย่งการครอบครองที่ดินพิพาทด้วย จึงเป็นการนอกเหนือจากคำฟ้องและคำให้การ เป็นการไม่ชอบด้วย ป.พ.พ.มาตรา 142 และมาตรา 183 แม้ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์จะวินิจฉัยในประเด็นข้อนี้ให้ ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ได้ว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลล่างทั้งสอง จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในประเด็นดังกล่าว ตาม ป.พ.พ.มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
โจทก์ที่ 1 ฟ้องอ้างว่าโจทก์ทั้งสามมีสิทธิครอบครองร่วมกันในที่ดินพิพาท เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาว่าโจทก์ที่ 1 มีสิทธิครอบครองร่วมกับโจทก์ที่ 2ที่ 3 และจำเลยคนละหนึ่งส่วน โจทก์ที่ 1 มิได้อุทธรณ์ ประเด็นดังกล่าวจึงถึงที่สุดดังนั้น แม้ทางพิจารณาจะได้ความว่าโจทก์ที่ 1 และจำเลยมีสิทธิครอบครองที่พิพาทร่วมกันคนละกึ่งหนึ่งก็ตาม ศาลฎีกาก็ไม่อาจพิพากษาให้โจทก์ที่ 1 มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทกึ่งหนึ่งได้ คงพิพากษาให้โจทก์ที่ 1 มีสิทธิครอบครองเพียงหนึ่งในสี่ส่วนแต่ไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่ 1 ที่จะฟ้องใหม่เพื่อขอให้บังคับเกี่ยวกับที่ดินพิพาทในส่วนที่เหลือตามสิทธิของตนต่อไป ตาม ป.พ.พ.มาตรา 148 (3)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7674/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแย่งการครอบครองที่ดินจากการบอกกล่าวเปลี่ยนลักษณะการยึดถือและการฟ้องคืนการครอบครองเกิน 1 ปี
ผู้ครอบครองที่ดินของผู้อื่นอาจบอกกล่าวเปลี่ยนลักษณะการยึดถือว่าจะไม่ยึดถือทรัพย์สินแทน โดยจะเอาทรัพย์สินเป็นของตนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1381 ก็ได้การบอกกล่าวเปลี่ยนลักษณะการยึดถือเช่นนี้ถือเป็นการแย่งการครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1375ได้เช่นเดียวกัน โดยไม่จำเป็นต้องเข้ายื้อแย่ง เมื่อโจทก์ทั้งสามไปขอออก น.ส.3 ในที่ดินพิพาท แต่จำเลยทั้งสองไปคัดค้านว่าเป็นที่ดินของตน จึงเป็นสาเหตุทำให้ไม่สามารถออกน.ส.3 ได้ ถือได้ว่าจำเลยทั้งสองได้โต้แย้งสิทธิของโจทก์ทั้งสามแล้วและถือว่าจำเลยทั้งสองได้บอกกล่าวเปลี่ยนลักษณะการยึดถือเพื่อเอาที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยทั้งสองอันเป็นการแย่งการครอบครองที่ดินพิพาทจากโจทก์ทั้งสามโจทก์ทั้งสามจึงต้องฟ้องเอาคืนซึ่งการครอบครองภายใน 1 ปีนับแต่ถูกแย่งการครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1375 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6963/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ศาลวินิจฉัยผิดประเด็นเมื่อพิจารณาว่าโจทก์ได้สิทธิครอบครองจากการแย่งการครอบครอง ทั้งที่คำฟ้องไม่ได้กล่าวอ้างถึงการเปลี่ยนแปลงลักษณะการยึดถือ
เมื่อปรากฏตามคำฟ้องของโจทก์ว่า โจทก์อ้างสิทธิในการขอเพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ของจำเลยที่ 1และที่ 2 ซึ่งจำเลยที่ 2 ได้ซื้อมาจากจำเลยที่ 1 ก่อนขายให้แก่จำเลยที่ 2 จำเลยที่ 1 ขอออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3) เลขที่ 103 ทับที่ดินที่โจทก์ครอบครองบางส่วน ต่อมาจำเลยที่ 1 ขายที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ดังกล่าวให้แก่จำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2ก็ได้ขอทำการแบ่งแยกที่ดินดังกล่าวออกเป็น 2 แปลง โดยแบ่งออกมาตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3) เลขที่636/103 อีก 1 ฉบับ ซึ่งก็ยังคงทับที่ดินพิพาทบางส่วนที่โจทก์ครอบครองอันเป็นการมิชอบด้วยกฎหมาย โดยคำฟ้องของโจทก์มิได้กล่าวอ้างตอนหนึ่งตอนใดให้เห็นว่า ที่ดินบางส่วนตามคำฟ้องของโจทก์นั้น โจทก์ได้สิทธิครอบครองเนื่องจากโจทก์ได้เปลี่ยนลักษณะการยึดถือครอบครองจากการยึดถือครอบครองที่ดินที่พิพาทบางส่วนแทนจำเลยที่ 2 มาเป็นแย่งการครอบครองจากจำเลยที่ 2 ดังนั้นการที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า ที่ดินพิพาทส่วนหนึ่ง จำเลยที่ 2 ให้โจทก์ยึดถือแทน การที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 เป็นคดีนี้เท่ากับโจทก์ได้แสดงเจตนาเปลี่ยนการยึดถือครอบครองที่ดินแทนจำเลยที่ 2 มาเป็นการยึดถือเพื่อตนอันเป็นการแย่งการครอบครอง จำเลยที่ 2 มิได้ฟ้องเรียกคืนภายใน 1 ปีนับแต่วันที่ถูกแย่งการครอบครอง โจทก์จึงเป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท จึงเป็นการวินิจฉัยนอกเหนือไปจากประเด็นที่โจทก์กล่าวอ้างไว้คำฟ้อง ทั้งมิใช่ปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จึงเป็นการมิชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6963/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงฐานการครอบครองที่ดินจากยึดถือแทนเป็นการครอบครองเพื่อตนเอง มีผลต่อสิทธิการครอบครอง
เมื่อปรากฏตามคำฟ้องของโจทก์ว่า โจทก์อ้างสิทธิในการขอเพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ซึ่งจำเลยที่ 2ได้ซื้อมาจากจำเลยที่ 1 ก่อนขายให้แก่จำเลยที่ 2 จำเลยที่ 1 ขอออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3) เลขที่ 103 ทับที่ดินที่โจทก์ครอบครองบางส่วนต่อมาจำเลยที่ 1 ขายที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ดังกล่าวให้แก่จำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 ก็ได้ขอทำการแบ่งแยกที่ดินดังกล่าวออกเป็น 2 แปลง โดยแบ่งออกมาตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3) เลขที่ 636/103 อีก 1 ฉบับซึ่งก็ยังคงทับที่ดินพิพาทบางส่วนที่โจทก์ครอบครองอันเป็นการมิชอบด้วยกฎหมายโดยคำฟ้องของโจทก์มิได้กล่าวอ้างตอนหนึ่งตอนใดให้เห็นว่า ที่ดินบางส่วนตามคำฟ้องของโจทก์นั้น โจทก์ได้สิทธิครอบครองเนื่องจากโจทก์ได้เปลี่ยนลักษณะการยึดถือครอบครองจากการยึดถือครอบครองที่ดินที่พิพาทบางส่วนแทนจำเลยที่ 2 มาเป็นแย่งการครอบครองจากจำเลยที่ 2 ดังนั้นการที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า ที่ดินพิพาทส่วนหนึ่งจำเลยที่ 2 ให้โจทก์ยึดถือแทน การที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 เป็นคดีนี้เท่ากับโจทก์ได้แสดงเจตนาเปลี่ยนการยึดถือครอบครองที่ดินแทนจำเลยที่ 2 มาเป็นการยึดถือเพื่อตนอันเป็นการแย่งการครอบครอง จำเลยที่ 2 มิได้ฟ้องเรียกคืนภายใน 1 ปีนับแต่วันที่ถูกแย่งการครอบครอง โจทก์จึงเป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท จึงเป็นการวินิจฉัยนอกเหนือไปจากประเด็นที่โจทก์กล่าวอ้างไว้ในคำฟ้อง ทั้งมิใช่ปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จึงเป็นการมิชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5622/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิครอบครองที่ดิน: การแย่งการครอบครองและการฟ้องคดีเรียกคืนที่ดิน
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1375 วรรคสองมีความหมายว่า คดีจะขาดสิทธิฟ้องเรียกคืนที่ดินพิพาทต่อเมื่อมีการแย่งการครอบครองเสียก่อน การที่จำเลยขอออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์สำหรับที่ดินพิพาทแต่ไม่เคยเข้าไปครอบครองที่ดินพิพาท แม้โจทก์จะทราบว่าจำเลย ไปขอออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์เกินหนึ่งปีคดีก็ไม่ขาดสิทธิฟ้องเรียกคืนที่ดินพิพาท คดีก่อนศาลยังมิได้วินิจฉัยประเด็นสำคัญในคดีที่ว่าโจทก์หรือจำเลยมีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท คดีนี้โจทก์ฟ้องเพื่อให้ศาลมีคำพิพากษาแสดงว่าโจทก์มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทโดยชอบ ไม่เป็นฟ้องซ้ำ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5393/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา การใช้พยานหลักฐานจากคดีอาญา และการครอบครองที่ดิน
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 46 ได้ บัญญัติ เกี่ยวกับ การ รับฟัง ข้อเท็จจริง ของ คดีแพ่ง ที่ เกี่ยวเนื่อง กับ คดีอาญา ไว้ อย่าง ชัดแจ้ง ว่า ใน คดีแพ่ง ที่ เกี่ยวเนื่อง กับ คดีอาญา ศาล ต้อง ถือ ข้อเท็จจริง ตาม ที่ ปรากฏ ใน คำพิพากษา คดี ส่วน อาญา และ คำพิพากษา คดี ส่วน อาญา นั้น จะ ต้อง วินิจฉัย ข้อเท็จจริง เป็น ยุติ ประการใด แล้ว จึง จะ ให้ คดี ส่วน แพ่ง ต้อง ถือ ข้อเท็จจริง ตาม นั้น ได้ คดี นี้ คำพิพากษา ศาลฎีกา ใน คดี ส่วน อาญา ยัง มิได้ ฟัง ข้อเท็จจริง เป็น ยุติ เพียงพอ ที่ จะ ถือ มา เป็น ข้อ วินิจฉัย ใน คดี ส่วน แพ่ง ได้ แต่ โจทก์ จำเลย ต่าง แถลง ไม่ติดใจ สืบพยาน และ ขอให้ ศาล ฟัง ข้อเท็จจริง ตาม พยานหลักฐาน ใน คดีอาญา ศาล จึง นำ เอา ข้อเท็จจริง จาก พยานหลักฐาน ที่ โจทก์ จำเลย นำสืบ ใน คดีอาญา มา เป็น พยานหลักฐาน ใน คดี นี้ เพื่อ การ วินิจฉัย ข้อเท็จจริง ดัง ที่ คู่ความ แถลงรับ กัน ได้ โดย ไม่ ถือ ตาม ผล ใน คดีอาญา แต่ วินิจฉัย ข้อเท็จจริง โดย ชั่งน้ำหนัก พยานหลักฐาน ใน คดีอาญา วันเกิดเหตุ คือ วันที่ 7 พฤศจิกายน 2531 ถึง วันที่ 13 พฤศจิกายน 2531 จำเลย ใช้ รถแทรกเตอร์ และ รถ แบคโฮ เข้า ไป ไถ ขุด ที่พิพาท ถือว่า จำเลย เข้า ไป แย่ง การ ครอบครอง ที่พิพาท นับแต่ วัน ดังกล่าว เมื่อ นับ ถึง วันที่ โจทก์ ฟ้อง คือ วันที่ 13 มกราคม 2532 จึง ยัง ไม่เกิน ระยะเวลา 1 ปี นับแต่ เวลา ถูก แย่ง การ ครอบครอง ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1375 วรรคสอง โจทก์ จึง ไม่ ขาด สิทธิ ฟ้องร้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5393/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้ข้อเท็จจริงจากคดีอาญาในคดีแพ่ง และการครอบครองปรปักษ์
ป.วิ.อ.มาตรา 46 ได้บัญญัติเกี่ยวกับการรับฟังข้อเท็จจริงของคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาไว้อย่างชัดแจ้งว่า ในคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาศาลต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา และคำพิพากษาคดีส่วนอาญานั้นจะต้องวินิจฉัยข้อเท็จจริงเป็นยุติประการใดแล้ว จึงจะให้คดีส่วนแพ่งต้องถือข้อเท็จจริงตามนั้นได้
คดีนี้คำพิพากษาศาลฎีกาในคดีส่วนอาญายังมิได้ฟังข้อเท็จจริงเป็นยุติเพียงพอที่จะถือมาเป็นข้อวินิจฉัยในคดีส่วนแพ่งได้ แต่โจทก์จำเลยต่างแถลงไม่ติดใจสืบพยาน และขอให้ศาลฟังข้อเท็จจริงตามพยานหลักฐานในคดีอาญาศาลจึงนำเอาข้อเท็จจริงจากพยานหลักฐานที่โจทก์จำเลยนำสืบในคดีอาญามาเป็นพยานหลักฐานในคดีนี้เพื่อการวินิจฉัยข้อเท็จจริงดังที่คู่ความแถลงรับกันได้โดยไม่ถือตามผลในคดีอาญา แต่วินิจฉัยข้อเท็จจริงโดยชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานในคดีอาญา
วันเกิดเหตุคือวันที่ 7 พฤศจิกายน 2531 ถึงวันที่ 13พฤศจิกายน 2531 จำเลยใช้รถแทรกเตอร์และรถแบคโฮเข้าไปไถขุดที่พิพาทถือว่าจำเลยเข้าไปแย่งการครอบครองที่พิพาทนับแต่วันดังกล่าว เมื่อนับถึงวันที่โจทก์ฟ้องคือวันที่ 13 มกราคม 2532 จึงยังไม่เกินระยะเวลา 1 ปี นับแต่เวลาถูกแย่งการครอบครองตาม ป.พ.พ.มาตรา 1375 วรรคสอง โจทก์จึงไม่ขาดสิทธิฟ้องร้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5340/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การวินิจฉัยคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา และการฟ้องคืนสิทธิครอบครอง
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 46 ได้บัญญัติเกี่ยวกับการรับฟังข้อเท็จจริงของคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาไว้อย่างชัดแจ้งว่า ในคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาศาลต้อง ถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา และคำพิพากษาคดีส่วนอาญานั้นจะต้องวินิจฉัยข้อเท็จจริงเป็นยุติประการใดแล้ว จึงจะให้คดีส่วนแพ่งต้องถือข้อเท็จจริงตามนั้นได้ คดีนี้คำพิพากษาศาลฎีกาในคดีส่วนอาญายังมิได้ฟังข้อเท็จจริงเป็นยุติเพียงพอที่จะถือมาเป็นข้อวินิจฉัยในคดีส่วนแพ่งได้ แต่โจทก์จำเลยต่างแถลงไม่ติดใจสืบพยานและขอให้ศาลฟังข้อเท็จจริงตามพยานหลักฐานในคดีอาญาศาลจึงนำเอาข้อเท็จจริงจากพยานหลักฐานที่โจทก์จำเลยนำสืบในคดีอาญามาเป็นพยานหลักฐานในคดีนี้เพื่อการวินิจฉัยข้อเท็จจริงดังที่คู่ความแถลงรับกันได้โดยไม่ถือตามผลในคดีอาญา แต่วินิจฉัยข้อเท็จจริงโดยชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานในคดีอาญา วันเกิดเหตุคือวันที่ 7 พฤศจิกายน 2531 ถึงวันที่ 13 พฤศจิกายน2531 จำเลยใช้รถแทรกเตอร์และรถแบคโฮ เข้าไปไถขุดที่พิพาทถือว่าจำเลยเข้าไปแย่งการครอบครองที่พิพาทนับแต่วันดังกล่าว เมื่อนับถึงวันที่โจทก์ฟ้องคือวันที่ 13 มกราคม 2532 จึงยังไม่เกินระยะเวลา1 ปี นับแต่เวลาถูกแย่งการครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1375 วรรคสอง โจทก์จึงไม่ขาดสิทธิฟ้องร้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5007/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองที่ดินหลังคำพิพากษาถึงที่สุด จำเลยต้องแสดงเจตนาเปลี่ยนลักษณะการครอบครองเพื่ออ้างอายุความ
ก่อนหน้าคดีนี้จำเลยเคยฟ้องโจทก์เกี่ยวกับที่ดินพิพาทต่อศาลชั้นต้นให้โจทก์โอนแก่จำเลยโดยศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องจำเลยและคดีถึงที่สุด แม้จำเลยยังคงครอบครองที่ดินพิพาทต่อมาจนถึงโจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ก็ตาม แต่ผลของคดีที่จำเลยฟ้องโจทก์เกี่ยวกับที่ดินพิพาทมาก่อนนั้นยังคงผูกพันจำเลยตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่ถึงที่สุดโจทก์จึงมีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทดีกว่าจำเลย ฉะนั้น การครอบครองของจำเลยนับแต่วันที่ศาลอุทธรณ์ได้มีคำพิพากษามาจึงเป็นการครอบครองที่ดินพิพาทแทนโจทก์นั่นเอง จำเลยจะเปลี่ยนแปลงอ้างเหตุได้ก็แต่โดยบอกกล่าวไปยังโจทก์ผู้มีสิทธิครอบครองว่าจำเลยไม่มีเจตนาจะยึดถือแทนโจทก์อีกต่อไป ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1381 แต่ตามคำให้การของจำเลยไม่ปรากฏว่าจำเลยได้มีการแสดงเจตนาดังกล่าวให้โจทก์ทราบ จำเลยจึงไม่อาจอ้างเหตุแห่งอายุความตามที่จำเลยให้การมายันโจทก์ได้
of 84