คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
เสริมพงศ์ วรยิ่งยง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 571 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 653/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องเพิกถอนพินัยกรรม: ทายาทมีสิทธิฟ้องหากพินัยกรรมทำด้วยการข่มขู่หรือฉ้อฉล
จำเลยที่ 1 ที่ 2 เป็นบุตรของ ส. เจ้ามรดก ร่วมกับจำเลยที่ 3 พา ส.ไปทำพินัยกรรมที่ที่ว่าการอำเภอต่อมาส.ถึงแก่กรรมลง จำเลยที่ 3 ซึ่งได้รับแต่งตั้งเป็นผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรมได้ยื่นเรื่องราวขอจดทะเบียนผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรมต่อนายอำเภอ โจทก์ซึ่งเป็นผู้มีส่วนได้เสียในฐานะบุตรซึ่งเป็นทายาทของส. จึงมีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนพินัยกรรมที่ทำเพราะการข่มขู่หรือกลฉ้อฉลนั้นได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1708 และ 1709

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 538/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องและฟ้องเคลือบคลุม: การมอบอำนาจและกรรมสิทธิ์รถยนต์
โจทก์กล่าวในฟ้องว่า รถยนต์แท็กซี่ของโจทก์ที่ถูกชนส่วนไหนของรถที่ได้รับความเสียหาย เสียค่าซ่อมแซมเป็นเงินเท่าใดโจทก์ไม่ต้องกล่าวมาในคำฟ้องว่าชิ้นส่วนของรถที่ได้รับความเสียหายนั้น รายการใดเป็นการเปลี่ยนอุปกรณ์ รายการใดเป็นการซ่อมของเดิม ในแต่ละรายการเป็นเงินเท่าใด รายละเอียดดังกล่าวเป็นเรื่องที่คู่ความนำสืบได้ในชั้นพิจารณา ฟ้องของโจทก์ไม่เคลือบคลุม โจทก์ที่ 1 ฟ้องแทนโจทก์ที่ 2 และแนบหนังสือมอบอำนาจมาในท้ายฟ้อง โดยหนังสือมอบอำนาจระบุชัดแจ้งว่าโจทก์ที่ 2 มอบอำนาจให้โจทก์ที่ 1 ฟ้องจำเลยทั้งสองในคดีนี้ แม้หนังสือมอบอำนาจมีโจทก์ที่ 2 ลงชื่อฝ่ายเดียว โจทก์ที่ 1 มิได้ลงชื่อในฐานะผู้รับมอบอำนาจด้วยก็ใช้ได้ เพราะไม่มีกฎหมายบังคับให้ผู้รับมอบอำนาจต้องลงชื่อด้วย รถยนต์แท็กซี่คันเกิดเหตุโจทก์ที่ 1 เป็นผู้ซื้อมาก่อนเกิดเหตุโจทก์ที่ 1 จึงเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ แม้โจทก์ที่ 1 จะโอนใส่ชื่อโจทก์ที่ 2 ในทะเบียนเป็นเจ้าของรถยนต์ดังกล่าวเพื่อความจำเป็นในทางธุรกิจกรรมสิทธิ์ในรถยนต์ก็ยังเป็นของโจทก์ที่ 1 อยู่เพราะทะเบียนรถยนต์มิใช่ทะเบียนกรรมสิทธิ์ โจทก์ทั้งสองจึงมีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 538/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีรถชน: กรรมสิทธิ์รถยังเป็นของผู้ซื้อแม้โอนทะเบียน และหนังสือมอบอำนาจใช้ได้แม้ผู้รับมอบอำนาจไม่ลงชื่อ
โจทก์ได้กล่าวในฟ้องแล้วว่า รถยนต์ของโจทก์ที่ถูกชนส่วนไหนของรถที่ได้รับความเสียหายบ้าง เสียค่าซ่อมแซมเป็นเงินเท่าใดโจทก์หาต้องกล่าวมาในคำฟ้องว่า ชิ้นส่วนของรถที่ได้รับความเสียหายนั้น รายการใดเป็นการเปลี่ยนอุปกรณ์ รายการใดเป็นการซ่อมของเดิมในแต่ละรายการเป็นเงินเท่าใดไม่ รายละเอียดดังกล่าวเป็นเรื่องที่คู่ความนำสืบได้ในชั้นพิจารณา ฟ้องของโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม แม้หนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องคดี โจทก์ที่ 2 ผู้มอบอำนาจจะลงชื่อฝ่ายเดียว โจทก์ที่ 1 มิได้ลงชื่อในฐานะผู้รับมอบอำนาจด้วยก็ใช้ได้เพราะไม่มีกฎหมายบังคับให้ผู้รับมอบอำนาจต้องลงชื่อด้วย โจทก์ที่ 1 ซื้อรถยนต์มาก่อนเกิดเหตุ โจทก์ที่ 1 จึงเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ แม้โจทก์ที่ 1 จะโอนใส่ชื่อโจทก์ที่ 2ในทะเบียนเป็นเจ้าของรถยนต์คันดังกล่าวก็เพื่อความจำเป็นในทางธุรกิจเท่านั้น กรรมสิทธิ์ในรถยนต์ยังเป็นของโจทก์ที่ 1 อยู่ เพราะทะเบียนรถยนต์มิใช่ทะเบียนกรรมสิทธิ์ โจทก์ทั้งสองจึงมีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 392/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือมอบอำนาจไม่สมบูรณ์ไม่ทำให้ฟ้องไม่สมบูรณ์ และจำเลยที่ 2 ต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกัน
หนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องคดี ไม่มีกฎหมายบังคับว่าเป็นเอกสารที่จะต้องแนบมาพร้อมกับคำฟ้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 18 และตราสารที่ไม่ปิดแสตมป์ให้บริบูรณ์ ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 18 จะใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งไม่ได้ ดังนั้น ขณะยื่นฟ้องต่อศาล หนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องคดีจะมิได้ปิดแสตมป์ให้บริบูรณ์ก็ไม่ทำให้ฟ้องไม่สมบูรณ์ตามกฎหมาย จำเลยที่ 2 เข้าผูกพันตนเป็นผู้ค้ำประกันยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมในการปฏิบัติหน้าที่ตามสัญญาจ้างของจำเลยที่ 1และตามสัญญาค้ำประกัน ก็ไม่มีข้อยกเว้นความรับผิดของจำเลยที่ 2ไว้ว่าหากจำเลยที่ 1 ทำสัญญารับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์โจทก์จะต้องบอกกล่าวหรือได้รับความยินยอมจากจำเลยที่ 2 ก่อนดังนั้น เมื่อจำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญารับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์เพราะสาเหตุที่จำเลยที่ 1 ปฏิบัติหน้าที่บกพร่องในระหว่างเป็นลูกจ้างโจทก์ ก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ อันเป็นผลโดยตรงจากการปฏิบัติตามสัญญาจ้าง จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกัน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 392/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือมอบอำนาจและฟ้องเคลือบคลุม: ฟ้องไม่สมบูรณ์หากเอกสารไม่ถูกต้อง แต่ฟ้องไม่เคลือบคลุมหากรายละเอียดสืบได้ในชั้นพิจารณา
หนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องคดี ไม่มีกฎหมายบังคับว่าเป็นเอกสารที่จะต้องแนบมาพร้อมกับคำฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 118 และตราสารที่ไม่ปิดแสตมป์ให้บริบูรณ์ตามประมวลรัษฎากรมาตรา 118 ก็มีผลเพียงว่า จะใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งไม่ได้เท่านั้น แม้ขณะโจทก์ยื่นฟ้องต่อศาลหนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องคดีจะมิได้ปิดแสตมป์ให้บริบูรณ์ตามประมวลรัษฎากรก็ไม่มีผลทำให้ฟ้องโจทก์ไม่สมบูรณ์ตามกฎหมาย โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างโจทก์ ในระหว่างที่เป็นลูกจ้างจำเลยที่ 1 ได้ปฏิบัติหน้าที่ก่อให้โจทก์ได้รับความเสียหาย 468,730.38 บาท ขอให้จำเลยที่ 1 กับพวกร่วมกันชำระค่าเสียหายแก่โจทก์ เป็นฟ้องที่แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาแล้ว สำหรับข้อที่ว่าจำเลยที่ 1 ก่อให้เกิดความเสียหายเมื่อใด และค่าเสียหายแต่ละรายการเป็นจำนวนเท่าใด เป็นรายละเอียดที่โจทก์สามารถนำสืบในชั้นพิจารณาได้ ไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 392/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือมอบอำนาจไม่สมบูรณ์ไม่ทำให้ฟ้องไม่สมบูรณ์ สัญญาค้ำประกันมีผลผูกพันแม้ไม่บอกกล่าว
หนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องคดี ไม่มีกฎหมายบังคับว่าเป็นเอกสารที่จะต้องแนบมาพร้อมกับคำฟ้องตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 18 และตราสารที่ไม่ปิดแสตมป์ให้บริบูรณ์ตามประมวลรัษฎากรมาตรา 118 ก็มีผลเพียงว่าจะใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งไม่ได้เท่านั้น ดังนั้น แม้ขณะที่โจทก์ยื่นฟ้องต่อศาลหนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องคดีจะมิได้ปิดแสตมป์ให้บริบูรณ์ตามประมวลรัษฎากรก็ไม่มีผลทำให้ฟ้องโจทก์ไม่สมบูรณ์ตามกฎหมาย โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างโจทก์ ในระหว่างที่เป็นลูกจ้างโจทก์จำเลยที่ 1 ได้ปฏิบัติหน้าที่ก่อให้โจทก์ได้รับความเสียหายจำนวนหนึ่ง ขอให้จำเลยที่ 1 กับพวกร่วมกันชำระค่าเสียหายให้แก่โจทก์ เช่นนี้เป็นคำฟ้องที่แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาแล้วส่วนข้อที่ว่าจำเลยที่ 1 ก่อให้เกิดความเสียหายเมื่อใด และค่าเสียหายแต่ละรายการเป็นจำนวนเท่าใดนั้น เป็นรายละเอียดที่โจทก์สามารถนำสืบได้ในชั้นพิจารณา คำฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม เหตุที่จำเลยที่ 1 ต้องทำสัญญารับผิดชดใช้ความเสียหายให้แก่โจทก์เพราะจำเลยที่ 1 ปฏิบัติหน้าที่บกพร่องในระหว่างเป็นลูกจ้างโจทก์ ก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์อันเป็นผลโดยตรงจากการปฏิบัติตามสัญญาจ้าง ซึ่งตามสัญญาค้ำประกัน จำเลยที่ 2 เข้าผูกพันตนยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมในการปฏิบัติหน้าที่ของจำเลยที่ 1ดังกล่าว และตามสัญญาค้ำประกันก็ไม่มีข้อยกเว้นความรับผิดของจำเลยที่ 2 ไว้ว่า หากจำเลยที่ 1 ทำสัญญารับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ โจทก์จะต้องบอกกล่าวหรือได้รับความยินยอมจากจำเลยที่ 2 ก่อนแต่อย่างใด จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกันดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 391/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การร่วมกันบุกรุกทำร้ายร่างกาย: การสมคบแบ่งหน้าที่และรอการลงโทษ
จำเลยที่ 3 ขับรถยนต์ปิกอัพมาจอดที่หน้าบ้าน น. แล้วจำเลยที่ 1 ที่ 2 และ ส.น้องภริยาจำเลยที่ 1 ลงจากรถวิ่งเข้าไปในบ้าน น. ไล่ตีทำร้ายผู้เสียหาย ดังนี้ แม้ว่าขณะเกิดเหตุจำเลยที่ 2 เพียงแต่ถือมีดกับปืนคอยป้องกันไม่ให้ชาวบ้านเข้ามาช่วยโดยจำเลยที่ 2 ไม่ได้ทำร้ายผู้ใดก็ตาม แต่การที่จำเลยที่ 2ร่วมไปกับจำเลยอื่นและพวกแล้วถือมีดกับปืนคอยป้องกันไม่ให้ชาวบ้านเข้ามาช่วยในขณะที่จำเลยอื่นและพวกไล่ตีทำร้ายผู้เสียหาย เช่นนี้พฤติการณ์ส่อแสดงว่า จำเลยที่ 2 พร้อมที่จะให้ความช่วยเหลือในขณะที่จำเลยอื่นและพวกกระทำผิดดังกล่าว มีลักษณะเป็นการสมคบแบ่งหน้าที่ร่วมกันกระทำ ถือได้ว่าจำเลยที่ 2 เป็นตัวการร่วมกับจำเลยอื่นและพวกบุกรุกเข้าไปในเคหสถานและทำร้ายร่างกายผู้อื่น ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 295,365(1)(2) ประกอบด้วยมาตรา 364,83

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 346/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การมั่วสุม ก่อความวุ่นวาย และขัดขืนคำสั่งเจ้าพนักงาน: ความรับผิดทางอาญาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 215, 216, 217
การมั่วสุมตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 215 ผู้มั่วสุมไม่จำต้องมีเจตนากระทำผิดในรายละเอียดอย่างเดียวกัน เพียงแต่เป็นการใช้กำลังประทุษร้ายหรือกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งให้เกิดการวุ่นวายขึ้นในบ้านเมืองก็เป็นความผิดแล้ว และผู้ที่มามั่วสุมก็ไม่จำต้องรู้จักหรือมีการนัดหมายวางแผนกันมาก่อน ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 216 มุ่งประสงค์ลงโทษผู้ที่ขัดขืนคำสั่งของเจ้าพนักงานที่ไม่ยอมเลิกการมั่วสุมกันเพื่อกระทำความผิดตามมาตรา 215 อันเป็นการกระทำที่ยังไม่ถึงขั้นที่ผู้กระทำได้ลงมือใช้กำลังประทุษร้าย ขู่เข็ญ หรือทำให้เกิดการวุ่นวายอันเป็นความผิดสำเร็จตามมาตรา 215 เมื่อเจ้าพนักงานได้สั่งให้จำเลยกับพวกเลิกการมั่วสุมภายหลังที่มีการกระทำผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 215 แล้ว แม้จำเลยทุกคนไม่เลิกการกระทำของจำเลยทุกคนก็คงเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 215 เท่านั้นไม่เป็นความผิดตามมาตรา 216 ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 305/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำเพื่อป้องกันตัวจากประทุษร้าย ไม่ถือเป็นการเข้าร่วมชุลมุนต่อสู้
จำเลยและจำเลยที่ 1 ที่ 2 ในสำนวนคดีอื่นเข้าไปกลุ้มรุมทำร้ายส.ฝ่ายเดียวโดยจำเลยเข้าไปรัดคอส. จำเลยที่ 2 ที่ 1เข้าไปใช้ขวดน้ำอัดลมตีศีรษะและต่อยส.ส.ซึ่งอยู่ในสภาพที่ถูกรัดคอและถูกทำร้ายเช่นนี้ ย่อมไม่มีทางที่จะหลีกเลี่ยงจากถูกทำร้ายได้ ดังนั้นการที่ ส. ใช้อาวุธปืนที่ติดตัวมายิงถูกจำเลยและพลาดไปถูกบุคคลซึ่งอยู่ใกล้บริเวณที่เกิดเหตุถึงแก่ความตาย และได้รับบาดเจ็บนั้น เป็นเรื่องที่ ส. กระทำไปเพื่อให้พ้นภยันตรายซึ่งเกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมายของจำเลยกับพวกโดย ส. ไม่มีเจตนาหรือสมัครใจที่จะเข้าต่อสู้ทำร้ายร่างกายจำเลยกับพวก การกระทำของจำเลยกับพวกและ ส.ไม่เป็นความผิดฐานเข้าร่วมชุลมุนต่อสู้กันเป็นเหตุให้คนตาย และได้รับอันตรายสาหัส

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 263/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตกเป็นของแผ่นดินของรถยนต์ที่ใช้ในการขนส่งแร่ผิดกฎหมาย เมื่อเจ้าของไม่แสดงตัวตามประกาศ
พนักงานสอบสวนมิใช่พนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติแร่พ.ศ. 2510 มาตรา 4 การที่ บ. ผู้เช่าซื้อไปแสดงตัวต่อพนักงานสอบสวนและขอรับรถยนต์พิพาทซึ่งใช้เป็นยานพาหนะกระทำผิดในการบรรทุกแร่ผิดกฎหมายโดยไม่ปรากฏตัวเจ้าของหรือผู้ครอบครองขณะจับกุมคืน จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสองได้รู้ตัวเจ้าของหรือผู้ครอบครองรถยนต์พิพาทอันจะเป็นเหตุให้กรมทรัพยากรธรณีจำเลยที่ 2 ไม่มีอำนาจที่จะประกาศหาตัวเจ้าของหรือผู้ครอบครองรถยนต์พิพาท เมื่อการประกาศที่จำเลยที่ 2 กระทำไปชอบด้วยกฎหมายโจทก์ผู้เป็นเจ้าของและ บ. ผู้ครอบครองรถยนต์พิพาทไม่แสดงตัวเพื่อขอรับคืนภายในกำหนดเวลาตามประกาศรถยนต์พิพาท จึงตกเป็นของแผ่นดินตามพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2510 มาตรา 15 เบญจ วรรคสามโจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องเรียกรถยนต์พิพาทคืน
of 58