พบผลลัพธ์ทั้งหมด 571 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 502/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเช่าสถานที่ค้า การบอกเลิกสัญญาเช่า ค่าเสียหายจากการหยุดประกอบการ และการปรับปรุงโรงแรม
โจทก์เป็นเจ้าของกิจการร้านบาร์เบอร์ช้อบ ตั้งอยู่ในบริเวณที่ตั้งร้านค้าของโรงแรม ร.โดยเช่าจากบริษัทร. จำกัด โดยไม่มีกำหนดเวลา ต่อมาบริษัท ร. จำกัด ขายทรัพย์สินทั้งหมดให้จำเลยมีข้อตกลงว่าจำเลยต้องรับโอนสิทธิและหน้าที่ตามสัญญาเช่าเดิมที่โจทก์มีกับบริษัท ร. จำกัด มาด้วย การที่จำเลยได้ปิดกิจการโรงแรมโดยปิดประตูใหญ่ด้านหน้าโรงแรม อันเป็นเวลาภายหลังจากที่โจทก์ปิดกิจการร้านของโจทก์แล้ว ในขณะที่โจทก์ยังมีสิทธิการเช่าอยู่ ก็ยังถือไม่ได้ว่าการกระทำของจำเลยดังกล่าวเป็นการใช้สิทธิซึ่งมีแต่จะให้เกิดเสียหายแก่โจทก์จึงไม่เป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ สัญญาเช่ากำหนดว่าโจทก์จะต้องออกจากสถานที่เช่าเมื่อจำเลยบอกกล่าวแล้วไม่น้อยกว่า 60 วัน ดังนี้เมื่อจำเลยมีหนังสือถึงโจทก์ขอให้ส่งมอบสถานที่เช่าอ้างว่าโจทก์ค้างชำระค่าเช่า แม้ข้อเท็จจริงปรากฏว่าจำเลยปิดกิจการเพื่อจะปรับปรุงโรงแรม โดยปิดประตูใหญ่ เสีย ก็อนุโลมได้ว่าจำเลยแจ้งให้โจทก์ส่งมอบสถานที่เช่าเพื่อปรับปรุงอาคารของโรงแรมตามเงื่อนไขในสัญญาเช่าแล้ว โจทก์จะต้องย้ายออกจากสถานที่เช่าเมื่อพ้นกำหนด 60 วัน นับแต่ได้รับหนังสือของจำเลย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 502/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปิดกิจการโรงแรมชั่วคราวไม่ถือเป็นการละเมิดสัญญาเช่า หากเป็นการกระทำที่ชอบธรรมและแจ้งให้เช่าทราบตามสัญญา
จำเลยได้ให้โจทก์เช่าสถานที่ซึ่งอยู่ที่ชั้นสองและเป็นส่วนการค้าของโรงแรมเพื่อประกอบกิจการตัดผมสุภาพบุรุษอาบ อบ นวด จำเลยปิดกิจการโรงแรมชั่วคราวเพื่อปรับปรุงและปิดประตูใหญ่ภายหลังจากที่โจทก์ปิดกิจการร้านของโจทก์แล้วแม้ข้อเท็จจริงจะฟังได้ว่าขณะจำเลยปิดประตูใหญ่ โจทก์ยังมีสิทธิการเช่าอยู่ก็ยังถือไม่ได้ว่าการกระทำของจำเลยดังกล่าวเป็นการใช้สิทธิซึ่งมีแต่จะให้เกิดเสียหายแก่โจทก์จึงไม่เป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 502/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้สิทธิปิดกิจการโรงแรมและการละเมิดสิทธิเช่าสถานที่
จำเลยได้ให้โจทก์เช่าสถานที่ซึ่งอยู่ที่ชั้นสองและเป็นส่วนการค้าของโรงแรมเพื่อประกอบกิจการตัดผมสุภาพบุรุษ อาบ อบ นวด จำเลยปิดกิจการโรงแรมชั่วคราวเพื่อปรับปรุงและปิดประตูใหญ่ภายหลังจากที่โจทก์ปิดกิจการร้านของโจทก์แล้ว แม้ข้อเท็จจริงจะฟังได้ว่าขณะจำเลยปิดประตูใหญ่ โจทก์ยังมีสิทธิการเช่าอยู่ก็ยังถือไม่ได้ว่าการกระทำของจำเลยดังกล่าวเป็นการใช้สิทธิซึ่งมีแต่จะให้เกิดเสียหายแก่โจทก์ จึงไม่เป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3074/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเฉลี่ยทรัพย์จากการอายัดเงินก่อนคำพิพากษา: สิทธิของเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาอื่นหลังการส่งมอบทรัพย์
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาโดยสั่งอายัดเงินของจำเลยไปยังลูกหนี้เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2529 ต่อมาเมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2530 ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระเงินตามฟ้อง วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2530 ลูกหนี้ส่งเงินต่อศาลตามคำสั่งอายัดคำสั่งอายัดเงินชั่วคราวก่อนคำพิพากษายังคงมีผลต่อไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 260(2) เมื่อโจทก์ได้ขอออกคำบังคับและขอหมายบังคับคดีถึงที่สุดแล้ว จึงมีผลเท่ากับเจ้าพนักงานบังคับคดีได้อายัดทรัพย์สินของจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาไว้แทนโจทก์ตามมาตรา 290 ผู้ร้องยื่นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์เมื่อวันที่ 5 เมษายน 2531 จึงเป็นการยื่นหลังจากสิ้นระยะเวลาสิบสี่วันนับแต่วันที่ลูกหนี้ส่งทรัพย์สินตามที่อายัดไว้ ต้องห้ามตามมาตรา 290 วรรคห้าผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิขอเฉลี่ยทรัพย์ในคดีนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3074/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอายัดเงินชั่วคราวก่อนพิพากษาและการขอเฉลี่ยทรัพย์ตามคำพิพากษา โดยมีข้อจำกัดด้านระยะเวลา
การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอายัดเงินของจำเลยไว้ชั่วคราวก่อนพิพากษา ต่อมาศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระเงินตามฟ้อง คำสั่งอายัดเงินชั่วคราวก่อนพิพากษายังคงมีผลต่อไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 260(2) การที่บุคคลภายนอกส่งเงินมาตามคำสั่งอายัดชั่วคราวภายหลังที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์ชนะคดี เมื่อโจทก์ได้ขอออกคำบังคับและขอหมายบังคับคดีถึงที่สุดแล้วจึงมีผลเท่ากับเจ้าพนักงานบังคับคดีได้อายัดทรัพย์สินของจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาไว้แทนโจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 290 วรรคแรก ผู้ร้องยื่นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์รายนี้หลังจากสิ้นระยะเวลาสิบสี่วันนับแต่วันที่บุคคลภายนอกชำระเงินตามที่อายัดไว้ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 290 วรรคห้า จึงไม่มีสิทธิขอเฉลี่ยทรัพย์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3063/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิครอบครองที่ดินในเขตอุทยานฯ และป่าสงวนฯ โจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องขับไล่
จำเลยทั้งสองให้การว่าที่ดินพิพาทอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติจำเลยที่ 2 ได้รับอนุญาตให้ครอบครองที่ดินพิพาท เป็นการต่อสู้ว่าที่ดินพิพาทไม่ใช่ของโจทก์แต่เป็นที่ดินในเขตอุทยานแห่งชาติซึ่งอยู่ในความดูแลของกรมป่าไม้ จำเลยอาศัยสิทธิของกรมป่าไม้จำเลยทั้งสองจึงมีสิทธิที่จะร้องขอให้เรียกกรมป่าไม้เข้ามาเป็นจำเลยร่วมได้ ก่อนที่จะมีพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินเขาแหลมหญ้าตำบลเพ อำเภอเมืองระยอง จังหวัดระยอง ให้เป็นอุทยานแห่งชาติออกใช้บังคับเมื่อปี พ.ศ. 2524 ที่ดินพิพาทก็อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 893(2523) ออกตามความในพระราชบัญญัติ ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 และตามพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 มาตรา 16(1) ห้ามมิให้บุคคลใดยึดถือครอบครองที่ดิน รวมตลอดถึงก่นสร้างแผ้วถางหรือเผาป่า โจทก์ไม่เคยยื่นคำร้องขอกันที่พิพาทออกจากเขตป่าสงวนแห่งชาติหรืออุทยานแห่งชาติ ดังนั้นการที่โจทก์เข้ายึดถือครอบครองที่ดิน ซึ่งอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติ โจทก์จึงไม่ได้สิทธิครอบครอง แม้จะรับโอนมาจากผู้ที่ครอบครองอยู่ก่อนนานเท่าใดก็ตามเพราะเป็นที่ดินที่ไม่อาจโอนกันได้ เมื่อโจทก์ไม่มีสิทธิครอบครองแล้ว โจทก์ก็ไม่มีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลย ซึ่งมารบกวนการครอบครองที่ดินพิพาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3063/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิครอบครองที่ดินในเขตอุทยานฯ: โจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องขับไล่หากไม่ได้สิทธิครอบครองตามกฎหมาย
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยบุกรุกเข้าไปตัดต้นไม้และปลูกอาคารในที่ดินของโจทก์ ขอให้รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างและให้ออกไปจากที่ดินของโจทก์จำเลยให้การว่าที่ดินพิพาทอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติ จำเลยได้รับอนุญาตให้ครอบครองที่ดินพิพาท จึงเป็นการต่อสู้ว่าที่ดินพิพาทไม่ใช่ของโจทก์ แต่เป็นที่ดินในเขตอุทยานแห่งชาติซึ่งอยู่ในความดูแลของกรมป่าไม้ จำเลยอาศัยสิทธิของกรมป่าไม้ จำเลยจึงมีสิทธิที่จะร้องขอให้เรียกกรมป่าไม้เข้ามาเป็นจำเลยร่วมได้ ที่ดินพิพาทเดิมอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ต่อมาได้มีพ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินเป็นเขตอุทยานแห่งชาติ ซึ่งห้ามมิให้บุคคลใดยึดถือครอบครอง เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์เคยยื่นคำร้องขอกับที่ดินพิพาทออกจากเขตป่าสงวนแห่งชาติหรืออุทยานแห่งชาติแล้ว การที่โจทก์เข้ายึดถือครอบครองที่ดินพิพาทจึงไม่ได้สิทธิครอบครอง แม้จะรับโอนมาจากผู้ที่ครอบครองอยู่ก่อนนานเท่าใดก็ตาม เมื่อโจทก์ไม่มีสิทธิครอบครอง ก็ไม่มีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยซึ่งมารบกวนการครอบครองที่ดินพิพาท.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1518/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การออกเช็คแลกเงินสดไม่ถือเป็นความผิดตาม พ.ร.บ. เช็ค หากไม่มีหนี้เดิมเกิดขึ้นก่อน
จำเลยออกเช็คพิพาทแลกเงินสดจาก ว.ต่อมาว. นำเช็คดังกล่าวไปแลกเงินสดจากโจทก์ร่วม การออกเช็คแลกเงินสดของจำเลยดังกล่าวมิใช่เป็นการออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริง จึงไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534มาตรา 4 ซึ่งเป็นกฎหมายที่บัญญัติในภายหลังที่จำเลยออกเช็คจำเลยย่อมพ้นจากการเป็นผู้กระทำความผิด ตาม ป.อ. มาตรา 2 วรรคสอง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1518/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การออกเช็คแลกเงินสดไม่ถือเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.เช็ค หากไม่มีหนี้สินระหว่างกัน
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2497 มาตรา 3 อันเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่โจทก์กล่าวหาว่าจำเลยกระทำความผิดแต่ขณะคดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกาปรากฏว่า พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 3 ได้ยกเลิกพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2497 และพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 4บัญญัติว่า "ผู้ใดออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมายโดยมีลักษณะหรือมีการกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้(1) เจตนาที่จะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็คนั้น ฯลฯ" ดังนั้นการออกเช็คที่จะมีมูลความผิดตาม พระราชบัญญัติดังกล่าวจะต้องปรากฏในเบื้องแรกว่ามีหนี้ที่จะต้องชำระก่อน แล้วจำเลยออกเช็คเพื่อชำระหนี้นั้นซึ่งเป็นหนี้ที่บังคับได้ตามกฎหมายข้อเท็จจริงในคดีนี้ปรากฏว่าจำเลยออกเช็คเพื่อแลกเงินสดจาก ว. ก่อนออกเช็คจำเลยและว. หาได้มีหนี้ต่อกันไม่ การออกเช็คแลกเงินสดของจำเลยดังกล่าวจึงมิใช่เป็นการออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริง ไม่เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติ ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534มาตรา 4 ซึ่งเป็นกฎหมายที่บัญญัติในภายหลัง ในกรณีเช่นนี้จำเลยย่อมพ้นจากการเป็นผู้กระทำความผิดตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 2 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1249/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำโดยบันดาลโทสะจากการถูกข่มเหงน้ำใจ: ศาลพิจารณาเหตุแห่งการกระทำเพื่อลดโทษ
ในวันเกิดเหตุจำเลยซึ่งเป็นภริยาผู้เสียหายนอนเฝ้าห้างนาเพียงคนเดียว ผู้เสียหายไปดื่มสุรากับเพื่อน เพิ่งไปหาจำเลยเมื่อเวลา 24 นาฬิกา และให้จำเลยไปหาข้าวมาให้ผู้เสียหายรับประทานจำเลยต้องเดินไปเอาข้าวที่บ้านซึ่งอยู่ห่างห้างนา 3 เส้น เมื่อเอามาแล้วผู้เสียหายไม่ยอมรับประทาน กลับบ่นว่าจำเลย และยังพูดถึงภรรยาน้อยอีกด้วย การกระทำของผู้เสียหายเป็นการข่มเหงน้ำใจจำเลยอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม จำเลยใช้ปืนยิงผู้เสียหายในขณะนั้น เป็นการกระทำโดยบันดาลโทสะ