พบผลลัพธ์ทั้งหมด 10 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7292/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีไม่จ่ายค่าจ้าง: เจ้าหน้าที่แรงงานร้องทุกข์แทนลูกจ้างได้ แม้ลูกจ้างมิได้ร้องทุกข์เอง
ความผิดฐานไม่จ่ายค่าจ้างเป็นกรณีมิใช่ความผิดอันยอมความได้ซึ่งลูกจ้างซึ่งผู้เสียหายจะต้องร้องทุกข์ด้วยตนเองเมื่อปรากฎว่าเจ้าหน้าที่แรงงานผู้มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวข้องในเรื่องนี้ได้ร้องทุกข์ไว้แล้วพนักงานสอบสวนจึงมีอำนาจสอบสวนและพนักงานอัยการโจทก์มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4279/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฉ้อโกงประชาชน-กู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกง: กรณีหลอกลวงรับสมัครงานและเรียกเก็บเงินประกัน/หุ้น
บริษัทมีเจตนาเพียงจะเรียกเก็บเงินประกันการทำงานจากประชาชนผู้มาสมัครงานโดยมีเจตนาแสวงหาผลประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายสำหรับตัวกรรมการของบริษัทเองหรือเพื่อบริษัทอันเป็นการกระทำโดยทุจริตโดยประกาศหลอกลวงให้ประชาชนมาสมัครงานด้วยแสดงข้อความเท็จว่าให้สมัครเข้ามาทำงานแต่บริษัทหามีงานให้ทำไม่จำเลยที่1และที่2ในฐานะกรรมการบริหารงานของบริษัทย่อมจะต้องทราบดีอยู่แล้วว่าบริษัทไม่มีงานให้ทำแต่ก็ยังร่วมดำเนินการรับสมัครบุคคลเข้าทำงานตลอดมาเป็นการปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้งแก่ประชาชนและในการรับสมัครบุคคลเข้าทำงานดังกล่าวเป็นเหตุทำให้บริษัทกับกรรมการของบริษัทได้ไปซึ่งเงินประกันการทำงานจากผู้สมัครการกระทำของจำเลยที่1และที่2จึงเป็นความผิดฐานฉ้อโกงประชาชนตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา341,343วรรคแรก การที่บริษัทได้รับผู้เสียหายเข้าทำงานแล้วได้ให้ผู้เสียหายซื้อหุ้นคนละ30หุ้นเป็นเงิน3,000บาทมีลักษณะเป็นการรับเข้าร่วมลงทุนและได้มีการจ่ายผลประโยชน์ตอบแทนแก่ผู้เสียหายโดยให้เงินปันผลหรือเงินค่าครองชีพเดือนละ135บาทจึงเข้าลักษณะการกู้ยืมเงินตามพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชนพ.ศ.2527มาตรา3เมื่อบริษัทจัดให้มีผู้รับเงินในการรับสมัครงานที่มิชอบหรือจ่ายหรือตกลงหรือจะจ่ายผลประโยชน์ตอบแทนให้แก่ผู้เสียหายซึ่งถือว่าเป็นผู้ให้กู้ยืมเงินตามพระราชกำหนดดังกล่าวและในการกู้เงินดังกล่าวได้มีการให้ผลประโยชน์ตอบแทนเดือนละ135บาทหรือคิดเป็นอัตราถึงร้อยละ54ต่อปีซึ่งเป็นอัตราดอกเบี้ยที่สูงกว่าอัตราดอกเบี้ยสูงสุดที่สถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงินจะพึงจ่ายได้จึงเข้ากรณีเป็นการกระทำผิดตามมาตรา5แห่งพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชนพ.ศ.2527เมื่อจำเลยที่1และที่2เป็นผู้ร่วมรับเงินที่ผู้เสียหายได้นำมาเข้าร่วมลงทุนเพื่อให้ผลประโยชน์ตอบแทนดังกล่าวจึงมีความผิดตามพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชนพ.ศ.2527มาตรา5 ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา344ผู้หลอกลวงต้องประสงค์ต่อผลคือการทำงานของผู้ถูกหลอกลวงให้ประกอบการงานให้แก่ตนหรือบุคคลที่สามโดยจะไม่ใช้ค่าแรงงานหรือโดยจะใช้ค่าแรงงานต่ำกว่าที่ตกลงกันการกระทำของจำเลยที่1และที่2ที่ได้กระทำในนามของบริษัทโดยอ้างว่ามีงานให้ทำก็ดีการรับผู้เสียหายเข้าทำงานก็ดีการคืนเงินประกันการทำงานเมื่อครบกำหนด6เดือนแล้วก็ดีล้วนเป็นอุบายทุจริตคิดตั้งเรื่องขึ้นเพื่อหลอกลวงผู้เสียหายให้หลงเชื่อและมอบเงินให้แสดงว่าจำเลยที่1และที่2หลอกลวงผู้เสียหายให้ส่งมอบเงินแก่จำเลยที่1และที่2เท่านั้นมิได้มีเจตนาหลอกลวงเพื่อมิให้มาทำงานเพราะความจริงแล้วไม่มีงานให้ทำที่จำเลยที่1และที่2จัดให้มีการทำงานในช่วงแรกๆและจ่ายเงินเดือนให้ก็เป็นวิธีการในการหลอกลวงอย่างหนึ่งซึ่งต่อมาภายหลังก็ไม่มีงานให้ทำและไม่จ่ายเงินเดือนให้กรณีจึงมิให้เป็นการกระทำเพื่อประสงค์ต่อผลตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา344ไม่มีความผิดตามมาตรานี้ ศาลชั้นต้นเรียงกระทงลงโทษโดยรวมโทษทุกกระทงแล้วปรับบทตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา91(2)ทั้งที่ความผิดกระทงที่หนักที่สุดคือความผิดตามพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชนมีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงถึง20ปีนั้นไม่ถูกต้องที่ถูกต้องปรับบทตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา91(3)รวมจำคุกคนละ50ปีแต่โจทก์มิได้อุทธรณ์ฎีกาขอให้ลงโทษให้ถูกต้องศาลฎีกาจึงไม่อาจแก้ไขได้เพราะจะเป็นการพิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลยทั้งห้าคงแก้ไขให้ถูกต้องได้เฉพาะปรับบทให้ถูกต้องเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2813/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างและการจ่ายค่าชดเชย: การพิจารณาเจตนาของนายจ้าง และการตีความประกาศกระทรวงมหาดไทย
ประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ46กำหนดบทนิยามคำว่าการเลิกจ้างไว้เพื่อให้ใช้แก่เรื่องค่าชดเชยตามประกาศนี้เท่านั้นมิได้มุ่งหมายให้นำไปใช้แก่เรื่องอื่นหรือกฎหมายอื่นเจตนารมณ์ของกฎหมายในเรื่องนี้มีเพื่อเป็นการช่วยเหลือให้ลูกจ้างมีเงินในระหว่างหางานใหม่เนื่องจากต้องออกจากงานโดยไม่รู้ตัวส่วนจะมีความผิดทางอาญาตามประกาศของคณะปฎิวัติฉบับที่103ลงวันที่16มีนาคม2515หรือไม่นั้นต้องพิเคราะห์ถึงเจตนาของจำเลยว่าได้กระทำไปโดยมีเจตนาไล่ผู้เสียหายออกจากงานและมีเจตนาไม่จ่ายค่าชดเชยแก่ผู้เสียหายในฐานะเป็นลูกจ้างหรือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2985/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างป่วย: ศาลฎีกาจำกัดการใช้ดุลยพินิจเพื่อเพิ่มค่าชดเชยเกินคำขอ หากลูกจ้างไม่ได้อ้างค่าจ้างต่ำกว่ากฎหมาย
การเลิกจ้างในกรณีลูกจ้างป่วยไม่อาจปฏิบัติงานให้นายจ้างได้นั้น ไม่เข้าข้อยกเว้นตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานฯ ข้อ 47 อันนายจ้างจะเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย เมื่อลูกจ้างฟ้องเรียกค่าชดเชยตามอัตราค่าจ้างสุดท้ายซึ่งต่ำกว่าอัตราตามกฎหมายมาด้วยความสมัครใจ มิได้พลั้งพลาดผิดหลง จึงยังไม่สมควรที่ศาลจะอ้างความเป็นธรรมนำค่าจ้างที่ลูกจ้างมิได้รับจริงมาเป็นฐานคำนวณให้ลูกจ้างได้รับค่าชดเชยเกินคำขอ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2409/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างชั่วคราวตามฤดูกาล ไม่ถือเป็นการจ้างที่มีกำหนดระยะเวลา นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชย
จำเลยทำสัญญาจ้างโจทก์ติดต่อกันรวม 9 ครั้ง ครั้งละ3 เดือนบ้าง 6 เดือนบ้าง ครั้งสุดท้ายมีกำหนด 1 เดือน ทั้งนี้เพราะมีความจำเป็นตามฤดูกาลทางเกษตรกรรม ซึ่งไม่แน่นอนว่าจะหมดเมื่อใดจึงเป็นการจ้างที่มิได้ ถือเอาระยะเวลาเป็นสำคัญ หากแต่ถือเอาความจำเป็นของจำเลยเป็นเหตุในการเลิกจ้าง ฉะนั้น กำหนดระยะเวลาการจ้างย่อมไม่มีผลบังคับอย่างแท้จริงเพราะจำเลยจะเลิกจ้างโจทก์เมื่อใดก็ได้หากความจำเป็นหมดไป จึงถือไม่ได้ว่า เป็นการจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาแน่นอนอันจำเลยได้รับยกเว้น ไม่จ่ายค่าชดเชยเมื่อเลิกจ้างตามกำหนดนั้น การจ่ายค่าชดเชยเป็นหน้าที่ของนายจ้างตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน หากฝ่าฝืนเป็นความผิดทางอาญาถือว่าเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ดังนั้น การที่ลูกจ้างทำหนังสือสละสิทธิไม่เรียกร้องค่าชดเชยจึงหาทำให้สิทธิของลูกจ้างที่จะได้รับค่าชดเชยระงับไปไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 573/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างต่อเนื่อง-ต่ออายุ ไม่ใช่สัญญาใหม่: ลูกจ้างมีสิทธิค่าชดเชย แม้สหกรณ์อ้างไม่แสวงหากำไร
เมื่อโจทก์ทำงานถึงอายุ 60 ปีแล้วมีการต่ออายุการทำงานออกไปคราวละ 1 ปี จนกระทั่งโจทก์มีอายุครบ65 ปีนั้น การต่ออายุการทำงานแต่ละคราวเป็นเพียงการขยายกำหนดเวลาจ้างเดิมออกไปไม่ใช่ตกลงทำสัญญาจ้างกันใหม่ จึงเป็นสัญญาจ้างที่มิได้กำหนด ระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอนอยู่เช่นเดิม แม้จำเลยจะเลิกจ้างโจทก์เมื่อครบกำหนดระยะเวลาที่ต่ออายุการทำงาน จำเลยก็ต้องจ่ายค่าชดเชย
วัตถุประสงค์ตามข้อบังคับสหกรณ์จำเลยกำหนดการจัดสรรกำไรสุทธิ ของสหกรณ์ การจัดสรรกำไรเป็นโบนัสแก่เจ้าหน้าที่สหกรณ์จึงแสดงว่าสหกรณ์จำเลยดำเนินการเพื่อกำไรในทางเศรษฐกิจ
การจ่ายค่าชดเชยเป็นหน้าที่ของนายจ้างตาม กฎหมายคุ้มครองแรงงานการไม่ปฏิบัติตามเป็นความผิดอาญา ถือว่าเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน จึงไม่อาจระงับไปด้วยเหตุที่ลูกจ้างถอนคำร้องเรียนต่อพนักงานตรวจแรงงานเพื่อเตือนจำเลยให้จ่ายค่าชดเชย
จำเลยเสียค่าแต่งทนายความ ซึ่งจำเลยไม่ต้องเสียตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา27 ศาลฎีกาคืนค่าธรรมเนียมนี้ให้จำเลย
วัตถุประสงค์ตามข้อบังคับสหกรณ์จำเลยกำหนดการจัดสรรกำไรสุทธิ ของสหกรณ์ การจัดสรรกำไรเป็นโบนัสแก่เจ้าหน้าที่สหกรณ์จึงแสดงว่าสหกรณ์จำเลยดำเนินการเพื่อกำไรในทางเศรษฐกิจ
การจ่ายค่าชดเชยเป็นหน้าที่ของนายจ้างตาม กฎหมายคุ้มครองแรงงานการไม่ปฏิบัติตามเป็นความผิดอาญา ถือว่าเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน จึงไม่อาจระงับไปด้วยเหตุที่ลูกจ้างถอนคำร้องเรียนต่อพนักงานตรวจแรงงานเพื่อเตือนจำเลยให้จ่ายค่าชดเชย
จำเลยเสียค่าแต่งทนายความ ซึ่งจำเลยไม่ต้องเสียตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา27 ศาลฎีกาคืนค่าธรรมเนียมนี้ให้จำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3540/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำเตือนพนักงานตรวจแรงงานไม่มีผลบังคับตามกฎหมาย นายจ้างมีสิทธิไม่ปฏิบัติตาม และไม่มีอำนาจฟ้องละเมิดต่อพนักงานตรวจแรงงาน
คำเตือนของพนักงานตรวจแรงงาน. เป็นเพียงความเห็นของพนักงานตรวจแรงงานเท่านั้น หามีผลบังคับไม่ หากนายจ้างเห็นว่าคำเตือนไม่ถูกต้องนายจ้างจะไม่ปฏิบัติตามก็ได้ไม่มีบทกฎหมายใดบัญญัติว่าการที่นายจ้างไม่ปฏิบัติตามคำเตือนของพนักงานตรวจแรงงานเป็นความผิดและมีโทษ
นายจ้างไม่มีอำนาจฟ้องพนักงานตรวจแรงงานให้รับผิดฐานละเมิดต่อศาลแรงงานตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา8(5) ได้ เพราะมิใช่คดีอันเกิดแต่มูลละเมิดระหว่างนายจ้างและลูกจ้างสืบเนื่องจากข้อพิพาทแรงงานหรือเกี่ยวกับการทำงานตามสัญญาจ้างแรงงาน
นายจ้างไม่มีอำนาจฟ้องพนักงานตรวจแรงงานให้รับผิดฐานละเมิดต่อศาลแรงงานตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา8(5) ได้ เพราะมิใช่คดีอันเกิดแต่มูลละเมิดระหว่างนายจ้างและลูกจ้างสืบเนื่องจากข้อพิพาทแรงงานหรือเกี่ยวกับการทำงานตามสัญญาจ้างแรงงาน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 48/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างหลังคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตโรงงานจากความผิดของหุ้นส่วน ความรับผิดตามประกาศคณะปฏิวัติ
เหตุที่ใบอนุญาตตั้งโรงงานแปรรูปไม้ด้วยเครื่องจักรของห้างจำเลยถูกสั่งพักใช้และถูกสั่งให้เพิกถอนก็เนื่องมาจากหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยกระทำความผิดต่อพระราชบัญญัติป่าไม้ มิใช่เป็นความผิดของทางราชการ ดังนั้น การที่คนงานทั้งหมดต้องออกจากงานจึงเป็นการกระทำของจำเลยและถือได้ว่าจำเลยเลิกจ้างคนงานทั้งหมดตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2515/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจของพนักงานตรวจแรงงานเป็นเพียงผู้ไกล่เกลี่ย และการจ่ายค่านายหน้าเป็นค่าจ้างตามกฎหมาย
พนักงานตรวจแรงงานมิได้อยู่ในฐานะผู้มีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างหากแต่เป็นผู้ไกล่เกลี่ย คำเตือนของพนักงานตรวจแรงงานให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างเป็นเพียงคำชี้แจงของผู้ไกล่เกลี่ยให้นายจ้างทราบ เพื่อให้มีการประนีประนอมกันระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างหากนายจ้างเห็นว่าคำเตือนนั้นไม่ถูกต้องจะไม่ปฏิบัติตามก็ได้ คำเตือนนั้นหามีผลบังคับไม่การที่พนักงานตรวจแรงงานออกคำเตือนดังกล่าวไม่เป็นการโต้แย้งสิทธิและหน้าที่ทางแพ่งของนายจ้างนายจ้างไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนคำเตือน (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่1444/2519)
อำนาจฟ้องเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง
นอกจากค่าจ้างเป็นรายเดือนแล้ว ลูกจ้างยังมีสิทธิได้รับเงินค่านายหน้าอีกร้อยละ 1.75 จากจำนวนเงินที่นายจ้างได้รับชำระจากสินค้าของนายจ้างที่ได้ขายไปในเขตควบคุมของลูกจ้าง เงินค่านายหน้าดังกล่าวเป็นค่าจ้างตาม ข้อ 2 แห่งประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ฉบับลงวันที่16 เมษายน 2515 นายจ้างต้องจ่ายให้แก่ลูกจ้าง
เงื่อนไขและระเบียบของนายจ้างที่ให้งดจ่ายเงินค่านายหน้าดังกล่าวที่ยังไม่ได้จ่ายในกรณีที่ลูกจ้างออกจากงานขัดต่อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน ข้อกำหนดดังกล่าวตกเป็นโมฆะ
อำนาจฟ้องเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง
นอกจากค่าจ้างเป็นรายเดือนแล้ว ลูกจ้างยังมีสิทธิได้รับเงินค่านายหน้าอีกร้อยละ 1.75 จากจำนวนเงินที่นายจ้างได้รับชำระจากสินค้าของนายจ้างที่ได้ขายไปในเขตควบคุมของลูกจ้าง เงินค่านายหน้าดังกล่าวเป็นค่าจ้างตาม ข้อ 2 แห่งประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ฉบับลงวันที่16 เมษายน 2515 นายจ้างต้องจ่ายให้แก่ลูกจ้าง
เงื่อนไขและระเบียบของนายจ้างที่ให้งดจ่ายเงินค่านายหน้าดังกล่าวที่ยังไม่ได้จ่ายในกรณีที่ลูกจ้างออกจากงานขัดต่อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน ข้อกำหนดดังกล่าวตกเป็นโมฆะ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2663/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างประจำเนื่องจากทุจริตและฝ่าฝืนระเบียบอย่างร้ายแรง นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
พนักงานของธนาคารจำเลย สาขานนทบุรีผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาของโจทก์ซึ่งเป็นผู้จัดการ ทำหนังสือร้องเรียนว่าโจทก์ปฏิบัติหน้าที่มิชอบ ทำให้ธนาคารจำเลยเสียหายกรรมการผู้จัดการธนาคารจำเลยสั่งให้เจ้าหน้าที่ชั้นผู้ใหญ่ของธนาคารไปสอบสวนแล้ว ได้ความว่าโจทก์ฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับของธนาคาร มีพฤติการณ์ส่อไปในทางทุจริตปล่อยเงินให้กู้ยืมไปโดยไม่มีหลักประกันทำให้ธนาคารเสียหาย เจ้าหน้าที่ผู้สอบสวนรายงานว่า โจทก์ปฏิบัติงานส่อไปในทางทุจริต ฝ่าฝืนระเบียบวินัยข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของธนาคารจำเลย ไม่มาทำงานและเลิกงานตามเวลาที่กำหนด รายงานการมาทำงานและเลิกงานเท็จ เสพสุรายาเมาเป็นอาจิณและไม่ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต ควรให้โจทก์พ้นจากตำแหน่งผู้จัดการสาขานนทบุรี จำเลยจึงมีคำสั่งให้โจทก์พ้นจากตำแหน่งและให้เป็นที่ปรึกษาแทนโจทก์ลาออกตามพฤติการณ์ดังกล่าวมีเหตุทำให้จำเลยเชื่อโดยสุจริตว่า นอกจากโจทก์จะฝ่าฝืนระเบียบวินัยของจำเลยในกรณีที่ร้ายแรงแล้ว โจทก์ยังทุจริตต่อหน้าที่และจงใจทำให้จำเลยเสียหาย อันจำเลยซึ่งเป็นนายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47(1)(2) และ (3) จำเลยจึงไม่มีความผิดตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 103 เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 2(5) ข้อ 8 ลงวันที่ 16 มีนาคม 2515 และประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ลงวันที่ 16 เมษายน 2515 ข้อ 26 ซึ่งแก้ไขโดยประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน(ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 13 มิถุนายน 2517