คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.รัษฎากร ม. 111

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 6 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1083/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการใช้เป็นพยานได้แม้ปิดอากรแสตมป์ไม่ครบ หากจำเลยยอมรับมีจริง
ปัญหาว่าคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการปิดอากรแสตมป์ไม่ครบ จึงใช้เป็นพยานหลักฐานไม่ได้ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 118เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ถึงแม้จำเลยมิได้ยกขึ้นกล่าวอ้างในศาลชั้นต้นก็ยังยกขึ้นอ้างอิงในชั้นฎีกาได้
โจทก์บรรยายฟ้องเป็นใจความว่า อนุญาโตตุลาการได้มีคำสั่งชี้ขาดแล้วดังสำเนาคำชี้ขาดพร้อมด้วยคำแปลท้ายฟ้อง จำเลยให้การต่อสู้เพียงว่าคำชี้ขาดนี้ขัดต่อกฎหมายไทย เป็นการยอมรับแล้วว่ามีคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการดังสำเนาที่โจทก์แนบมาท้ายฟ้องจริง ไม่มีประเด็นที่โจทก์จะต้องนำสืบแสดงว่ามีคำชี้ขาดดังกล่าวอีก ดังนั้นถึงจะฟังว่าต้นฉบับปิดอากรแสตมป์ไม่ครบก็ไม่เป็นเหตุที่จะยกฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1083/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการปิดอากรแสตมป์ไม่ครบ ใช้เป็นพยานหลักฐานไม่ได้ แต่จำเลยบรรยายฟ้องยอมรับแล้ว ศาลไม่ยกฟ้อง
ปัญหาว่าคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการปิดอากรแสตมป์ไม่ครบ จึงใช้เป็นพยานหลักฐานไม่ได้ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 118 เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ถึงแม้จำเลยมิได้ยกขึ้นกล่าวอ้างในศาลชั้นต้นก็ยังยกขึ้นอ้างอิงในชั้นฎีกาได้
โจทก์บรรยายฟ้องเป็นใจความว่า อนุญาโตตุลาการได้มีคำสั่งชี้ขาดแล้วดังสำเนาคำชี้ขาดพร้อมด้วยคำแปลท้ายฟ้อง จำเลยให้การต่อสู้เพียงว่าคำชี้ขาดนี้ขัดต่อกฎหมายไทย เป็นการยอมรับแล้ว่ามีคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการดังสำเนาที่โจทก์แนบมาท้ายฟ้องจริง ไม่มีประเด็นที่โจทก์จะต้องนำสืบแสดงว่ามีคำชี้ขาดดังกล่าวอีก ดังนั้น จึงจะฟังว่าต้นฉบับปิดอากรแสตมป์ไม่ครบก็ไม่เป็นเหตุที่จะยกฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1535/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาษีเงินได้นิติบุคคลต่างประเทศประกอบกิจการในไทย การจำหน่ายเงินกำไรออกนอกประเทศ และอากรแสตมป์
โจทก์จดทะเบียนเป็นบริษัทจำกัดที่สหรัฐอเมริกาและมีสาขาที่กรุงเทพดังนี้โจทก์และสาขามีฐานะตามกฎหมายเป็นนิติบุคคลเดียวกัน ประมวลรัษฏากรมาตรา 76ทวิ ให้ถือว่าโจทก์ประกอบกิจการในประเทศไทย เมื่อบริษัท ส. ในประเทศไทยกู้เงินจากโจทก์ที่สหรัฐอเมริกาและส่งดอกเบี้ยเงินกู้ไปให้ ดอกเบี้ยที่ส่งออกไปจากประเทศไทยดังกล่าวไม่ว่าด้วยวิธีการใดๆเมื่อโจทก์ได้รับเงินนั้นแล้วถือว่าโจทก์ได้รับเงินได้ในประเทศไทย โจทก์จึงมีหน้าที่และความรับผิดในการยื่นรายการและเสียภาษีตามประมวลรัษฎากร
ประมวลรัษฎากร มาตรา 66 วรรคสองให้นิติบุคคลซึ่งตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศและกระทำกิจการในประเทศไทยเสียภาษีในกำไรสุทธิ การคำนวณกำไรสุทธิให้ปฏิบัติเช่นเดียวกับมาตรา 65 และ 65ทวิ ถ้าไม่สามารถคำนวณกำไรสุทธิได้ให้นำบทบัญญัติเรื่องการประเมินภาษีตามมาตรา 71(1) มาบังคับโดยอนุโลม แต่บทบัญญัติในมาตรา 65 และ 65ทวิดังกล่าวไม่ได้ให้อำนาจเจ้าพนักงานประเมินที่จะทำการคำนวณกำไรสุทธิดอกเบี้ยเงินกู้ของโจทก์โดยวิธีเทียบเคียงกับกำไรสุทธิตาม ภ.ง.ด.5ของสาขากรุงเทพฯแต่ละปี ดังนั้นที่เจ้าพนักงานประเมินอาศัยอำนาจตามมาตรา 71 วรรคสองทำการคำนวณกำไรสุทธิดอกเบี้ยเงินกู้โดยใช้วิธีดังกล่าวจึงไม่ถูกต้องและไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ดอกเบี้ยเงินกู้ดังกล่าวเป็นเงินได้ของโจทก์ในประเทศไทยการส่งดอกเบี้ยเงินกู้ออกไปจากประเทศไทยในกรณีนี้ ถ้าเงินดอกเบี้ยนั้นเป็นเงินกำไรก็เป็นการจำหน่ายเงินกำไรออกไปจากประเทศไทย ซึ่งแม้ธนาคารโจทก์สาขากรุงเทพฯจะเป็นผู้ส่งหรือบริษัทจะเป็นผู้ส่งโดยผ่านธนาคารพาณิชย์ใดก็ตามแต่เมื่อธนาคารโจทก์เป็นผู้รับเงินดังกล่าวในต่างประเทศก็ถือว่าธนาคารโจทก์เป็นผู้จำหน่ายเงินนั้น โจทก์จึงต้องเสียภาษีเงินได้อัตราร้อยละ 15 ตามประมวลรัษฎากรมาตรา 70ทวิ โจทก์ได้รับดอกเบี้ยเงินกู้รวม 4 ปีคิดเป็นเงินไทย 28,621,195.78 บาท เจ้าพนักงานประเมินมิได้คิดภาษีจากจำนวนเงินดังกล่าว ได้คำนวณกำไรสุทธิให้ก่อนเป็นเงิน 16,145,964.22 บาท แล้วคิดภาษีจากเงินจำนวนนี้ เมื่อโจทก์ไม่ได้โต้แย้งการคำนวณกำไรสุทธิดังกล่าวจึงต้องคิดภาษีไปตามนี้
เมื่อโจทก์ซึ่งมีสาขาในประเทศไทยได้รับดอกเบี้ยเงินกู้รายนี้จากประเทศไทยก็เป็นการรับเงินในประเทศไทย โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับเงินจะต้องเสียอากรแสตมป์ตามประมวลรัษฏากรมาตรา 105 เมื่อโจทก์ไม่ได้ออกใบรับตามความในมาตรา 105 ก็ต้องเสียเงินเพิ่มอากร 6 เท่าของเงินอากรตามมาตรา 114 กรณีไม่ต้องด้วยมาตรา 111 หรือข้อยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีอากรตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ข้อ 28 ญเพราะมาตราดังกล่าวเป็นเรื่องการทำตราสารและออกใบรับเงินในต่างประเทศต่างกับบทกรณีนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1535/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเสียภาษีของบริษัทต่างชาติมีสาขาในไทย: ดอกเบี้ยเงินกู้, การจำหน่ายกำไร, และอากรแสตมป์
โจทก์ไปจดทะเบียนเป็นบริษัทจำกัดที่สหรัฐอเมริกา และมีสาขาที่กรุงเทพ ดังนี้โจทก์และสาขามีฐานะตามกฎหมายเป็นนิติบุคคลเดียวกัน ประมวลรัษฎากรมาตรา 76 ทวิ ให้ถือว่าโจทก์ประกอบกิจการในประเทศไทย เมื่อบริษัท ส. ในประเทศไทยกู้เงินจากโจทก์ที่สหรัฐอเมริกาและส่งดอกเบี้ยเงินกู้ไปให้ ดอกเบี้ยที่ส่งออกไปจากประเทศไทยดังกล่าวไม่ว่าด้วยวิธีการใด ๆ เมื่อโจทก์ได้รับเงินนั้นแล้วถือว่าโจทก์ได้รับเงินได้ในประเทศไทย โจทก์จึงมีหน้าที่และความรับผิดในการยื่นรายการและเสียภาษีตามประมวลรัษฎากร
ประมวลรัษฎากร มาตรา 66 วรรคสองให้นิติบุคคลซึ่งตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศและกระทำกิจการในประเทศไทย เสียภาษีในกำไรสุทธิ การคำนวณกำไรสุทธิให้บัญญัติเช่นเดียวกับมาตรา 65 และ 65 ทวิ ถ้าไม่สามารถคำนวณกำไรสุทธิได้ ให้นำบทบัญญัติเรื่องการประเมินภาษีตามมาตรา 71 (1) มาบังคับโดยอนุโลม แต่บทบัญญัติในมาตรา 65 และ 65 ทวิ ดังกล่าวไม่ได้ให้อำนาจเจ้าพนักงานประเมินที่จะทำการคำนวณกำไรสุทธิดอกเบี้ยเงินกู้ของโจทก์โดยวิธีเทียบเคียงกับกำไรสุทธิตาม ภ.ง.ด.5 ของสาขากรุงเทพฯ แต่ละปี ดังนั้น ที่เจ้าพนักงานประเมินอาศัยอำนาจตามมาตรา 71 วรรคสอง ทำการคำนวณกำไรสุทธิดอกเบี้ยเงินกู้โดยวิธีดังกล่าวจึงไม่ถูกต้องและไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ดอกเบี้ยเงินกู้ดังกล่าวเป็นเงินได้ของโจทก์ในประเทศไทย การส่งดอกเบี้ยเงินกู้ออกไปจากประเทศไทยในกรณีนี้ ถ้าเงินดอกเบี้ยนั้นเป็นเงินกำไรก็เป็นจำหน่ายเงินกำไรออกไปจากประเทศไทย ซึ่งแม้ธนาคารโจทก์สาขากรุงเทพฯ จะเป็นผู้ส่งหรือบริษัทจะเป็นผู้ส่งโดยผ่านธนาคารพาณิชย์ใดก็ตาม แต่เมื่อธนาคารโจทก์เป็นผู้รับเงินดังกล่าวในต่างประเทศ ก็ถือว่าธนาคารโจทก์เป็นผู้จำหน่ายเงินนั้น โจทก์จึงต้องเสียภาษีเงินได้อัตราร้อยละ 15 ตามประมวลรัษฎากรมาตรา 70 ทวิ โจทก์ได้รับดอกเบี้ยเงินกู้รวม 4 ปี คิดเป็นเงินไทย 28,621,195.78 บาท เจ้าพนักงานประเมินมิได้คิดภาษีจากจำนวนเงินดังกล่าว ได้คำนวณกำไรสุทธิให้ก่อนเป็นเงิน 16,145,964.22 บาท แล้วคิดภาษีจากเงินจำนวนนี้ เมื่อโจทก์ไม่ได้โต้แย้งการคำนวณกำไรสุทธิดังกล่าว จึงต้องคิดภาษีไปตามนี้
เมื่อโจทก์ซึ่งมีสาขาในประเทศไทยได้รับดอกเบี้ยเงินกู้รายนี้จากประเทศไทยก็เป็นการรับเงินในประเทศไทย โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับเงินจะต้องเสียอากรแสตมป์ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 105 เมื่อโจทก์ไม่ได้ออกใบรับตามความในมาตรา 105 ก็ต้องเสียเงินเพิ่มอากร 6 เท่าของเงินอากร ตามมาตรา 114 กรณีไม่ต้องด้วยมาตรา 111 หรือข้อยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีอากรตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ข้อ 28 ญ เพราะบทมาตราดังกล่าวเป็นเป็นเรื่องการทำตราสารและออกใบรับเงินในต่างประเทศต่างกับกรณีนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2716/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นิติบุคคลต่างชาติฟ้องคดีในไทยได้ แม้ไม่ได้จดทะเบียนในไทย และการไม่ติดอากรแสตมป์หนังสือมอบอำนาจไม่เป็นเหตุ
นิติบุคคลตามกฎหมายของประเทศอื่น แม้จะไม่เป็นนิติบุคคลตามกฎหมายไทยก็ฟ้องคดีในศาลไทยได้
แม้ตามภาพถ่ายใบมอบอำนาจของโจทก์ท้ายฟ้อง ซึ่งมอบอำนาจให้ ป. ฟ้องคดีมิได้ปิดอากรแสตมป์ แต่จำเลยให้การในเรื่องใบมอบอำนาจแต่เพียงว่า ผู้มอบอำนาจไม่มีอำนาจลงนามแทนโจทก์ ทั้งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 60 วรรคสองมิได้บัญญัติว่าโจทก์จะต้องแสดงหนังสือมอบอำนาจติดมากับฟ้อง เมื่อศาลไม่ได้สั่งให้โจทก์ส่งใบมอบอำนาจเพราะมีเหตุอันควรสงสัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 47 โจทก์จึงไม่ต้องส่งต้นฉบับหนังสือมอบอำนาจต่อศาล กรณีจึงไม่จำต้องวินิจฉัยว่าหนังสือมอบอำนาจของโจทก์ต้องปิดอากรแสตมป์ตามประมวลรัษฎากรหรือไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2716/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นิติบุคคลต่างชาติฟ้องคดีในไทยได้ แม้ไม่จดทะเบียนในไทย และประเด็นหนังสือมอบอำนาจที่ไม่ต้องปิดอากรแสตมป์
นิติบุคคลตามกฎหมายของประเทศอื่น แม้จะไม่เป็นนิติบุคคลตามกฎหมายไทยก็ฟ้องคดีในศาลไทยได้
แม้ตามภาพถ่ายใบมอบอำนาจของโจทก์ท้ายฟ้อง ซึ่งมอบอำนาจให้ ป. ฟ้องคดีมิได้ปิดอากรแสตมป์ แต่จำเลยให้การในเรื่องใบมอบอำนาจแต่เพียงว่า ผู้มอบอำนาจไม่มีอำนาจลงนามแทนโจทก์ ทั้งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 60 วรรคสอง มิได้บัญญัติว่าโจทก์จะต้องแสดงหนังสือมอบอำนาจติดมากับฟ้อง เมื่อศาลไม่ได้สั่งให้โจทก์ส่งใบมอบอำนาจเพราะมีเหตุอันควรสงสัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 47 โจทก์จึงไม่ต้องส่งต้นฉบับหนังสือมอบอำนาจต่อศาล กรณีจึงไม่จำต้องวินิจฉัยว่าหนังสือมอบอำนาจของโจทก์ต้องปิดอากรแสตมป์ตามประมวลรัษฎากรหรือไม่