คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
พนม พ่วงภิญโญ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 459 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5671/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความไม่ผูกพันบุคคลภายนอกคดี แม้ผู้ทำสัญญาเป็นกรรมการผู้มีอำนาจ
คำพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความให้โจทก์จำเลยหย่ากันและแบ่งทรัพย์สินซึ่งระบุให้จำเลยโอนที่ดินจำนวน 14 ไร่ ที่บริษัทม. จำกัด เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ โดยจำเลยเป็นกรรมการผู้จัดการเพียงผู้เดียวพร้อมประทับตราสำคัญของบริษัทกระทำการแทนบริษัทได้ให้โจทก์ สัญญานี้ระบุด้วยว่า คำพิพากษาตามยอมไม่บังคับถึงทรัพย์สินของบุคคลภายนอกคดี การที่จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับโจทก์เป็นการกระทำในฐานะส่วนตัว มิได้ทำในฐานะเป็นผู้แทนบริษัทดังกล่าวข้อตกลงตามสัญญานี้จึงไม่ผูกพันบริษัท ม. จำกัด คำพิพากษาตามยอมไม่อาจบังคับเกี่ยวกับที่ดินจำนวน 14 ไร่ ของบริษัท ม. จำกัดซึ่งเป็นบุคคลภายนอกคดี การบังคับให้จำเลยชำระหนี้ในส่วนนี้จึงกลายเป็นพ้นวิสัย ดังนี้ ศาลจะบังคับให้จำเลยโอนที่ดินดังกล่าวให้โจทก์ไม่ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5671/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความไม่ผูกพันบุคคลภายนอกคดี แม้ผู้ทำสัญญาจะมีอำนาจกระทำการแทนบุคคลภายนอก
ศาลชั้นต้นพิพากษาตามยอมให้โจทก์จำเลยหย่าขาดและแบ่งทรัพย์สินกัน โดยมีข้อตกลงข้อหนึ่งว่าให้จำเลยโอนที่ดินที่มีชื่อบริษัท ม. ซึ่งจำเลยเป็นกรรมการผู้จัดการและมีอำนาจกระทำการแทนบริษัทได้ให้แก่โจทก์ จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับโจทก์ในฐานะส่วนตัวมิได้ทำในฐานะเป็นผู้แทนของบริษัทดังกล่าว ข้อตกลงดังกล่าวจึงไม่ผูกพันบริษัท ม. ซึ่งเป็นบุคคลภายนอก เมื่อที่ประชุมผู้ถือหุ้นบริษัท ม. มีมติคัดค้านการโอนที่ดิน การที่จะบังคับให้จำเลยชำระหนี้ในส่วนนี้จึงกลายเป็นพ้นวิสัยศาลบังคับคดีในส่วนนี้ให้ไม่ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5621/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ รับของโจร: โจทก์ต้องพิสูจน์จำเลยรู้ว่าเป็นทรัพย์ผิดกฎหมาย การครอบครองทรัพย์เพียงอย่างเดียวไม่ถือเป็นความผิด
คดีเกี่ยวกับรับของโจรนั้น โจทก์มีหน้าที่ต้องนำสืบให้เห็นว่าจำเลยรับทรัพย์ไว้โดยรู้ว่าเป็นทรัพย์อันได้มาจากการกระทำความผิดมิใช่เพียงแต่คิดหรือเห็นว่าจำเลยเป็นผู้ครอบครองทรัพย์แล้วต้องให้จำเลยนำสืบแก้ตัวว่าไม่รู้ว่าเป็นของร้าย การที่เจ้าพนักงานตำรวจจับจำเลยที่ 1 ได้ขณะเอาลูกกุญแจไปไขจะติดเครื่องขับรถจักรยานยนต์ของ ม. ซึ่งมีหน้าปัดวัดความเร็วอันเป็นชิ้นส่วนหนึ่งของรถจักรยานยนต์ของผู้เสียหายที่ถูกลักไปติดอยู่ เพียงเท่านี้จะฟังว่าจำเลยที่ 1 ครอบครองจักรยานยนต์ของกลางโดยรู้แล้วว่ามีของผิดกฎหมายซึ่งเป็นทรัพย์ที่ได้จากการกระทำความผิดหาได้ไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5497/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการเช่าสิ้นสุดลงเมื่อผู้เช่าผิดสัญญาค้างค่าเช่า ผู้ให้เช่ามีสิทธิบอกเลิกสัญญา การขายทอดตลาดสิทธิการเช่าหลังเลิกสัญญาไม่ผูกพันผู้ให้เช่า
การที่ศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งอายัดสิทธิการเช่าโทรศัพท์พิพาทของจำเลยไว้ชั่วคราวก่อนมีคำพิพากษานั้น ไม่ใช่เป็นส่วนหนึ่งของการบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งเมื่อจำเลยเป็นผู้เช่าโทรศัพท์ของผู้ร้อง การที่จะให้ใครเช่าโทรศัพท์จึงเป็นสิทธิของผู้ร้องสิทธิดังกล่าวของจำเลยจะมีอยู่หรือสิ้นไปย่อมเป็นไปตามสัญญาเช่าและกฎระเบียบของผู้ร้องตาม พ.ร.บ.องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย พ.ศ.2497 เมื่อจำเลยไม่ได้ชำระค่าเช่าโทรศัพท์รายพิพาทให้แก่ผู้ร้อง ผู้ร้องเคยมีหนังสือเตือนให้จำเลยชำระค่าเช่าที่ค้างแต่จำเลยไม่ชำระ ผู้ร้องจึงบอกเลิกสัญญาเช่า และมีหนังสือแจ้งให้ศาลชั้นต้นทราบว่าได้เลิกสัญญาเช่าโทรศัพท์รายพิพาทกับจำเลยแล้ว สิทธิการเช่าโทรศัพท์รายพิพาทที่จำเลยเคยมีสิทธิอยู่จึงหมดไป การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดสิทธิการเช่าโทรศัพท์รายพิพาทภายหลังจากที่ผู้ร้องบอกเลิกสัญญาเช่ากับจำเลยแล้ว ย่อมไม่มีผลตามกฎหมายที่จะบังคับให้ผู้ร้องโอนสิทธิการเช่าโทรศัพท์รายพิพาทให้แก่ผู้ซื้อจากการขายทอดตลาดได้ คำสั่งอายัดของศาลไม่มีผลคุ้มครองห้ามผู้ร้องบอกเลิกสัญญาการเช่าโทรศัพท์รายพิพาทกับจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5497/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการเช่าโทรศัพท์สิ้นสุดเมื่อผู้เช่าผิดสัญญา ค่าเช่าค้าง ผู้ให้เช่ามีสิทธิบอกเลิกสัญญา การขายทอดตลาดสิทธิเช่าหลังบอกเลิกสัญญาไม่ผูกพันผู้ให้เช่า
การที่ศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งอายัดสิทธิการเช่าโทรศัพท์พิพาทของจำเลยไว้ชั่วคราวก่อนมีคำพิพากษานั้น ไม่ใช่เป็นส่วนหนึ่งของการบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งเมื่อจำเลยเป็นผู้เช่าโทรศัพท์ของผู้ร้อง การที่จะให้ใครเช่าโทรศัพท์จึงเป็นสิทธิของผู้ร้องสิทธิดังกล่าวของจำเลยจะมีอยู่หรือสิ้นไปย่อมเป็นไปตามสัญญาเช่าและกฎระเบียบของผู้ร้องตามพระราชบัญญัติองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย พ.ศ. 2497 เมื่อจำเลยไม่ได้ชำระค่าเช่าโทรศัพท์รายพิพาทให้แก่ผู้ร้อง ผู้ร้องเคยมีหนังสือเตือนให้จำเลยชำระค่าเช่าที่ค้างแต่จำเลยไม่ชำระ ผู้ร้องจึงบอกเลิกสัญญาเช่า และมีหนังสือแจ้งให้ศาลชั้นต้นทราบว่าได้เลิกสัญญาเช่าโทรศัพท์รายพิพาทกับจำเลยแล้ว สิทธิการเช่าโทรศัพท์รายพิพาทที่จำเลยเคยมีสิทธิอยู่จึงหมดไป การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดสิทธิการเช่าโทรศัพท์รายพิพาทภายหลังจากที่ผู้ร้องบอกเลิกสัญญาเช่ากับจำเลยแล้ว ย่อมไม่มีผลตามกฎหมายที่จะบังคับให้ผู้ร้องโอนสิทธิการเช่าโทรศัพท์รายพิพาทให้แก่ผู้ซื้อจากการขายทอดตลาดได้ คำสั่งอายัดของศาลไม่มีผลคุ้มครองห้ามผู้ร้องบอกเลิกสัญญาการเช่าโทรศัพท์รายพิพาทกับจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5458/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เขตอำนาจศาล: คดีภาษีอากรอยู่ในอำนาจศาลภาษีอากร ไม่ใช่ศาลแพ่ง
ฟ้องโจทก์กล่าวอ้างว่าฝ่ายจำเลยแจ้งให้โจทก์ชำระภาษีโรงเรือนและที่ดิน ซึ่งเป็นการปฏิบัติหน้าที่ของฝ่ายจำเลยตามพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 โดยจำเลยเห็นว่าโจทก์เป็นเจ้าของโรงเรือนมีหน้าที่ต้องเสียภาษีโรงเรือนตามกฎหมาย โจทก์โต้แย้งว่าโจทก์ไม่ได้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์โรงเรือนนั้น ไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีโรงเรือนตามที่จำเลยแจ้งแก่โจทก์ดังนี้ กรณีจึงเป็นเรื่องพิพาทเกี่ยวกับสิทธิเรียกร้องของรัฐในหนี้ค่าภาษีอากรตาม พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรฯ มาตรา 7(2) ประกอบด้วยมาตรา 3 เมื่อโจทก์นำคดีมาฟ้องต่อศาล คดีโจทก์มิใช่เป็นคดีแพ่งลักษณะละเมิดศาลแพ่งจึงไม่มีอำนาจที่จะพิจารณาพิพากษาคดีโจทก์ ตามมาตรา 10วรรคแรก การที่ศาลแพ่งสั่งไม่รับคำฟ้องโจทก์เพราะสิทธิของโจทก์ถูกกำจัดห้ามโดยบทบัญญัติแห่งกฎหมายเรื่องเขตอำนาจศาลจึงเป็นการสั่งไม่รับคำคู่ความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 18ไม่ใช่เป็นการวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทแห่งคดี ผู้พิพากษานายเดียวย่อมมีอำนาจสั่งได้ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรมมาตรา 21(2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5402/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีต้องกระทำภายในกรอบเวลาที่กำหนด แม้มีเหตุขัดข้องกะทันหัน ก็ไม่ถือเป็นเหตุสุดวิสัย
ทนายโจทก์ทราบวันนัดสืบพยานโจทก์ล่วงหน้าเป็นเวลานานถึง14 วัน มีเวลายื่นคำร้องขอเลื่อนคดีได้ล่วงหน้าอย่างเพียงพอ อีกทั้งคดียังมีตัวโจทก์อีกผู้หนึ่งซึ่งสามารถดำเนินกระบวนพิจารณาต่อศาลได้ ดังนั้น ถ้าเสมียนทนายป่วยกะทันหันก็ยังมีตัวโจทก์มาศาลได้ในวันนัด และแจ้งให้ศาลทราบถึงเหตุขัดข้องจำเป็นต้องขอเลื่อนคดีกรณีของโจทก์จึงถือไม่ได้ว่ามีเหตุสุดวิสัย โจทก์จึงต้องยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีอย่างช้าภายในวันนัดสืบพยาน จะยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีภายหลังจากวันนัดสืบพยานโจทก์หาได้ไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5324/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา: การพิจารณาหนี้สินต้องแยกจากความผิดฐานทำลายเอกสาร
ในคดีอาญาโจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองฐานร่วมกันฉีกเอกสาร ตรง ที่มีข้อความและลายมือชื่อผู้รับของในใบส่งของชั่วคราวซึ่ง เป็นความผิดฐานทำลายเอกสารของโจทก์ แต่คดีนี้โจทก์ฟ้องว่าจำเลย ทั้งสองได้ร่วมกันซื้อสินค้าของโจทก์ไปตามรายการในเอกสารที่ ถูกทำลายแล้วไม่ยอมชำระค่าสินค้าให้โจทก์ ซึ่งเป็นเรื่องฟ้อง ขอให้ชำระหนี้ค่าสินค้าประเด็นในคดีทั้งสองจึงเป็นคนละประเด็นกัน หาใช่ประเด็นในคดีนี้เป็นประเด็นที่ได้วินิจฉัยไว้แล้วโดยตรง ในคดีอาญาไม่คำพิพากษาศาลฎีกาที่พิพากษายกฟ้องโจทก์ก็เป็น เรื่องที่ฟังว่าจำเลยทั้งสองมิได้กระทำผิดฐานทำลายเอกสาร โดย มิได้หมายความว่าจำเลยทั้งสองได้ชำระค่าสินค้าตามรายการในเอกสาร ที่ถูกทำลายให้แก่โจทก์แล้วเพราะเอกสารดังกล่าวเป็นแต่เพียง หลักฐานแห่งหนี้หาใช่หลักฐานแห่งการชำระหนี้ไม่ การที่จะถือว่า คดีใดเป็นคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาข้อสำคัญต้องเป็นเรื่อง เรียกค่าเสียหายอันเกิดจากการ กระทำ ความผิดอาญาของจำเลยซึ่งเป็น ข้อเท็จจริงเฉพาะที่เป็นประเด็นโดยตรงในคดีอาญาเท่านั้น คดีนี้ จึงมิใช่คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาดังนั้น การพิจารณาพิพากษา คดีนี้จึงไม่จำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดี ส่วนอาญาโดยไม่ต้องคำนึงว่าจำเลยทั้งสองได้กระทำผิดหรือไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5324/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คดีแพ่งชำระหนี้ค่าสินค้า ไม่ผูกพันกับคดีอาญาทำลายเอกสาร การพิจารณาคดีแพ่งต้องพิจารณาตามข้อเท็จจริงเฉพาะคดี
ในคดีอาญาโจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองฐานร่วมกันฉีกเอกสารตรงที่มีข้อความและลายมือชื่อผู้รับของในใบส่งของชั่วคราวซึ่งเป็นความผิดฐานทำลายเอกสารของโจทก์ แต่คดีนี้โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทั้งสองได้ร่วมกันซื้อสินค้าของโจทก์ไปตามรายการในเอกสารที่ถูกทำลายแล้วไม่ยอมชำระค่าสินค้าให้โจทก์ ซึ่งเป็นเรื่องฟ้องขอให้ชำระหนี้ค่าสินค้า ประเด็นในคดีทั้งสองจึงเป็นคนละประเด็นกันหาใช่ประเด็นในคดีนี้เป็นประเด็นที่ได้วินิจฉัยไว้แล้วโดยตรงในคดีอาญาไม่ คำพิพากษาศาลฎีกาที่พิพากษายกฟ้องโจทก์ก็เป็นเรื่องที่ฟังว่าจำเลยทั้งสองมิได้กระทำผิดฐานทำลายเอกสาร โดยมิได้หมายความว่าจำเลยทั้งสองได้ชำระค่าสินค้าตามรายการในเอกสารที่ถูกทำลายให้แก่โจทก์แล้ว เพราะเอกสารดังกล่าวเป็นแต่เพียงหลักฐานแห่งหนี้ หาใช่หลักฐานแห่งการชำระหนี้ไม่ การที่จะถือว่าคดีใดเป็นคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา ข้อสำคัญต้องเป็นเรื่องเรียกค่าเสียหายอันเกิดจากการกระทำความผิดอาญาของจำเลยซึ่งเป็นข้อเท็จจริงที่เป็นประเด็นโดยตรงในคดีอาญาเท่านั้น คดีนี้จึงมิใช่คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา ดังนั้น การพิจารณาพิพากษาคดีนี้จึงไม่จำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาโดยไม่ต้องคำนึงว่าจำเลยทั้งสองได้กระทำผิดหรือไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5266/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของหุ้นส่วนสามัญ, ผู้รับประกันภัย และการชดใช้ค่าเสียหายกรณีรถชน โดยประเด็นสำคัญคือการเสื่อมราคาของรถ
จำเลยที่ 2 นำรถยนต์โดยสารคันเกิดเหตุไปร่วมกิจการเดินรถกับห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล ช. จำเลยที่ 2 จึงเป็นหุ้นส่วนของห้างดังกล่าวในลักษณะหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียน ซึ่งต้องร่วมรับผิดในหนี้สินของห้างฯ โดยไม่จำกัดจำนวนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1025เมื่อจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกจ้างของห้างฯ ได้กระทำละเมิดในทางการที่จ้างของห้างฯ ห้างฯ และจำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมกันรับผิดในผลแห่งการละเมิดของจำเลยที่ 1 ส่วนจำเลยที่ 3 ผู้รับประกันภัยต้องรับผิดแทนห้างฯ และจำเลยที่ 2 ผู้เอาประกันภัยตามสัญญาประกันภัยจำเลยทั้งสามจึงต้องร่วมกันรับผิดต่อโจทก์ ศาลอุทธรณ์ให้จำเลยทั้งสามร่วมกันรับผิดชดใช้ค่าเสื่อมราคารถแก่โจทก์ จำเลยที่ 2 และที่ 3 ฎีกา เมื่อข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่ารถยนต์โจทก์เสื่อมราคาจากการเกิดเหตุ กรณีเกี่ยวด้วยการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ ศาลฎีกาจึงชี้ขาดให้มีผลถึงจำเลยที่ 1ซึ่งไม่ได้ฎีกาด้วย.
of 46