พบผลลัพธ์ทั้งหมด 459 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4762/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ในเงินอายัด: การส่งเงินเกินจำนวนที่อายัดไม่ถือเป็นการยอมรับว่าเป็นของจำเลยทั้งหมด
การที่ผู้ร้องนำเงินของจำเลยที่ 1 ซึ่งอยู่ที่ผู้ร้องส่งศาลตามที่ศาลมีคำสั่งอายัดชั่วคราวนั้น เป็นการปฏิบัติตามคำสั่งของศาลที่ออกหมายอายัดไป แม้ในตอนแรกมิได้โต้เแย้งคัดค้านก็ตาม แต่เมื่อภายหลังพบว่าได้ส่งไปให้เกินกว่าจำนวนเงินของจำเลยที่ 1 จะถือว่าผู้ร้องยอมรับว่าเป็นเงินของจำเลยที่ 1 ทั้งหมดหาได้ไม่ เมื่อผู้ร้องอ้างว่าเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในเงินจำนวนที่ได้ส่งเฉพาะส่วนที่เกินไป จึงเท่ากับอ้างว่ามิใช่ทรัพย์ของจำเลยที่ 1 ผู้ร้องจึงมีสิทธิติดตามเอาคืนในฐานที่เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ โดยขอให้ศาลทำการไต่สวนและมีคำสั่งคืนให้แก่ผู้ร้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4762/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการติดตามคืนเงินส่วนเกินที่ส่งชำระหนี้ตามคำสั่งศาล แม้ส่งเงินทั้งหมดก่อนโต้แย้ง
การที่ผู้ร้องนำเงินของจำเลยที่ 1 ซึ่งอยู่ที่ผู้ร้องส่งศาลตามที่ศาลมีคำสั่งอายัดชั่วคราวนั้น เป็นการปฏิบัติตามคำสั่งของศาลที่ออกหมายอายัดไป แม้ในตอนแรกมิได้โต้แย้งคัดค้านก็ตาม แต่เมื่อภายหลังพบว่าได้ส่งไปให้เกินกว่าจำนวนเงินของจำเลยที่ 1 จะถือว่าผู้ร้องยอมรับว่าเป็นเงินของจำเลยที่ 1 ทั้งหมดหาได้ไม่ เมื่อผู้ร้องอ้างว่าเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในเงินจำนวนที่ได้ส่งเฉพาะส่วนที่เกินไป จึงเท่ากับอ้างว่ามิใช่ทรัพย์ของจำเลยที่ 1 ผู้ร้องจึงมีสิทธิติดตามเอาคืนในฐานที่เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ โดยขอให้ศาลทำการไต่สวนและมีคำสั่งคืนให้แก่ผู้ร้องได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4745/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสิ้นสุดสิทธิการเป็นผู้จัดการมรดกเนื่องจากผู้ร้องเสียชีวิต และผลกระทบต่อการแต่งตั้งผู้จัดการมรดก
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งตั้งผู้ร้องและผู้คัดค้านที่ 1 เป็น ผู้จัดการมรดกร่วมกัน ต่อมาในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 3 ผู้ร้องถึงแก่มรณะ ศาลอุทธรณ์ภาค 3 มีคำสั่งจำหน่ายคดีเฉพาะ ผู้ร้องผลจึงเท่ากับมรดกของเจ้ามรดกคงมีแต่เพียงผู้คัดค้านที่ 1เป็นผู้จัดการมรดกคนเดียวเท่านั้น ซึ่งเป็นไปตามความประสงค์ของผู้คัดค้านที่ 1 ที่ 6 การที่ผู้ร้องอ้างพินัยกรรมเอกสารหมาย จ.5 ก็เพื่อขอให้ศาลตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดก แต่เมื่อไม่ได้มีผู้ร้องเป็นคู่ความพิพาทกับผู้คัดค้านที่ 1 ถึงที่ 6โดยอ้างพินัยกรรมดังกล่าวต่อไปแล้วคดีจึงไม่จำต้องวินิจฉัยถึงพินัยกรรมฉบับนั้นอีก หากมีข้อพิพาทเกี่ยวกับสิทธิในทรัพย์มรดกของเจ้ามรดกประการใดก็เป็นอีกส่วนหนึ่งต่างหาก.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4335/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคุ้มครองลิขสิทธิ์: การพิสูจน์สถานะภาคีของอังกฤษในกรรมสารกรุงเบอร์ลิน และการห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
ฎีกาของจำเลยที่ว่า ประเทศอังกฤษได้นำเมืองฮ่องกงเข้าเป็นภาคีของกรรมสารกรุงเบอร์ลิน ค.ศ. 1908 หรือไม่อันจะเข้าเงื่อนไขที่จะได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2521 หรือไม่ นั้น เป็นปัญหาข้อเท็จจริงเพื่อที่จะนำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมายคือพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์พ.ศ. 2521 มาตรา 42 ฎีกาจำเลยที่โต้เถียงว่า เมืองฮ่องกงเป็นเพียงจังหวัดหนึ่งของประเทศจีน ไม่เป็นภาคีในกรรมสารกรุงเบอร์ลิน ค.ศ. 1908 นั้น เป็นการโต้เถียงในปัญหาข้อเท็จจริงที่ศาลล่างทั้งสองฟังมาแล้ว จึงต้องห้ามมิให้จำเลยฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 218 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4299/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปิดอากรแสตมป์สัญญา, การรับรองสำเนาเอกสารราชการ, และความรับผิดของทายาทในหนี้สินของเจ้ามรดก
สัญญากู้เป็นแบบพิมพ์มีสองหน้า ด้านหน้าเป็นแบบพิมพ์สัญญากู้ด้านหลังเป็นแบบพิมพ์สัญญาค้ำประกันเงินกู้ซึ่งไม่มีการกรอกข้อความดังนี้การปิดอากรแสตมป์ที่แบบพิมพ์สัญญาค้ำประกันเป็นการปิดอากรแสตมป์สำหรับสัญญากู้ด้วย เมื่อรวมอากรแสตมป์ที่ปิดด้านหน้าและด้านหลังครบถ้วนตามที่ระบุในบัญชีอัตราอากรแสตมป์ท้ายประมวลรัษฎากรแล้ว ย่อมอ้างสัญญากู้ดังกล่าวเป็นพยานได้ โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 1 และนาง ค. ในฐานะเป็นผู้ร่วมกันกู้เงินโจทก์ ชดใช้เงินกู้ และขอให้จำเลยที่ 3 ที่ 4 ในฐานะทายาทผู้รับมรดกของนาง ค.รับผิดหนี้เงินกู้ที่นางค. ต้องใช้คืนแก่โจทก์ จำเลยที่ 3 ที่ 4 ให้การว่าลายมือชื่อจำเลยที่ 1ในสัญญากู้ปลอม ดังนี้ไม่เป็นประเด็นข้อพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 3 ที่ 4 เพราะไม่ว่าลายมือชื่อของจำเลยที่ 1 ในสัญญากู้จะปลอมหรือไม่ก็ไม่เกี่ยวกับจำเลยที่ 3 ที่ 4 ซึ่งต้องรับผิดในฐานะทายาทของนาง ค. ผู้กู้ร่วม พยานผู้เชี่ยวชาญเป็นพยานแสดงความคิดเห็นตามหลักวิชาการซึ่งปกติศาลก็รับฟังแต่มิใช่ว่าจะต้องเชื่อพยานผู้เชี่ยวชาญเสมอไป คำพยานผู้เชี่ยวชาญจะมีน้ำหนักกว่าประจักษ์พยานหรือไม่ก็ต้องพิจารณาตามรูปเรื่องและต้องอาศัยเหตุผลและพยานหลักฐานอื่นประกอบ ซึ่งผิดกับประจักษ์พยานซึ่งเป็นผู้ได้ยินกับหูเห็นด้วยตาของ ตนเองจึงน่าเชื่อว่าพยานผู้เชี่ยวชาญ โดยเฉพาะการที่อ้างแต่เพียงรายงานผลการตรวจพิสูจน์ของผู้เชี่ยวชาญโดยมิได้นำตัวผู้เชี่ยวชาญมาเบิกความอธิบายประกอบรายงานนั้นว่ามีความเป็นมาอย่างไรกับทั้งทำให้อีกฝ่ายไม่มีโอกาสถามค้านผู้เชี่ยวชาญด้วยดังนี้ ลำพังรายการการตรวจพิสูจน์ดังกล่าวจึงไม่มีน้ำหนักพอที่จะหักล้างประจักษ์พยานอีกฝ่ายได้ สำเนาหนังสือราชการที่เจ้าหน้าที่รับรองความถูกต้อง ซึ่งส่งเข้ามาในคดีตามที่คู่ความอ้างเป็นพยานไว้โดยชอบแล้ว ดังนี้คู่ความที่อ้างไม่จำต้องสืบพยานบุคคลประกอบ สำเนาหนังสือราชการดังกล่าวรับฟังได้เหมือนต้นฉบับ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 93(3) โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 3 ที่ 4 ในฐานะทายาทโดยธรรมของนาง ค. เจ้ามรดกซึ่งเป็นหนี้เงินกู้โจทก์อยู่และได้ถึงแก่กรรมลง ดังนี้ โจทก์มีเพียงสิทธิเรียกร้องบังคับชำระหนี้เอาจากจำเลยที่ 3 ที่ 4 ได้เท่าที่ไม่เกินกว่าทรัพย์มรดกที่จำเลยที่ 3 ที่ 4 ได้รับศาลจึงไม่จำต้องกล่าวไว้ในคำพิพากษาว่าให้จำเลยที่ 3 ที่ 4รับผิดต่อโจทก์ไม่เกินจำนวนทรัพย์มรดกที่ได้รับจากเจ้ามรดกเพราะเป็นเรื่องที่ต้องไปว่ากันในชั้นบังคับคดี.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4289/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดการมรดกโดยผู้จัดการที่ละเลยหน้าที่และโอนทรัพย์สินโดยมิชอบ ทายาทมีสิทธิขอถอนผู้จัดการและแบ่งมรดก
จำเลยอ้างว่ามีสัญญาประนีประนอมยอมความเมื่อไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือจึงรับฟังตามข้อต่อสู้ไม่ได้ เพราะ ป.พ.พ. มาตรา 851หมายความรวมถึงการต่อสู้คดีด้วยไม่ว่าจะมีการปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวแล้วหรือไม่ก็ตาม จำเลยซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกได้โอนมรดกเป็นของตนเอง เป็นการละเลยไม่ทำการตามหน้าที่ และมีพฤติการณ์แสดงว่าจะจัดการมรดกไปในทางที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่ทายาท อันมีเหตุที่จะถอนจำเลยจากการเป็นผู้จัดการตามมรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1727 โจทก์ในฐานะทายาทจึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียมีสิทธิฟ้องขอให้ถอนจำเลยจากการเป็นผู้จัดการมรดกได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4289/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ การถอนผู้จัดการมรดกและการตั้งผู้จัดการมรดกใหม่
สัญญาประนีประนอมยอมความจะต้องมีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างหนึ่งอย่างใดลงลายมือชื่อฝ่ายที่ต้องรับผิดเป็นสำคัญ จึงจะฟ้องร้องบังคับคดีได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 851ซึ่งรวมถึงการต่อสู้คดีด้วย เมื่อจำเลยสู้ว่ามีสัญญาประนีประนอมยอมความ แต่ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือจึงรับฟังไม่ได้ ไม่ว่าจะมีการปฏิบัติตามสัญญาแล้วหรือไม่ก็ตาม การที่จำเลยโอนทรัพย์มรดกเป็นของตน เป็นการละเลยไม่ทำการตามหน้าที่ และมีพฤติการณ์แสดงว่าจะจัดการทรัพย์มรดกของผู้ตายไปในทางที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่ทายาทของผู้ตายเป็นเหตุสมควรจะถอนจำเลยออกจากการเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1727 และเมื่อโจทก์เป็นบุคคลไม่ต้องห้ามเป็นผู้จัดการมรดกตามกฎหมาย ก็สมควรตั้งโจทก์เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายแทนจำเลย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4276/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิสูจน์สถานะภาคีอนุสัญญาลิขสิทธิ์ระหว่างประเทศ: ข้อเท็จจริงที่คู่ความต้องนำสืบ
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยกระทำผิดฐานละเมิดลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2521 โจทก์จะต้องนำสืบข้อเท็จจริงให้รับฟังได้ด้วยว่า เมืองฮ่องกงเป็นภาคีในอนุสัญญาแห่งกรุงเบอร์นพ.ศ. 2429 ด้วย การที่เมืองใดหรือประเทศใดเป็นภาคีในอนุสัญญาดังกล่าวหรือไม่ เป็นปัญหาข้อเท็จจริง ดังนั้น ที่จำเลยฎีกาว่าเมืองฮ่องกงไม่เป็นภาคีในอนุสัญญาแห่งกรุงเบอร์น พ.ศ. 2429เพราะประเทศอังกฤษมิได้ประกาศให้เข้าเป็นภาคีด้วยนั้น จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4214/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องแบ่งสินสมรสระหว่างสามีภรรยาที่ยังไม่ได้ทำสัญญากัน การไม่มีอำนาจฟ้อง
โจทก์จำเลยยังเป็นสามีภรรยากันอยู่และไม่ปรากฏว่าได้ทำสัญญากันไว้ในเรื่องทรัพย์สินเป็นพิเศษก่อนสมรส ความสัมพันธ์ระหว่างสามีภรรยาของโจทก์จำเลยในเรื่องทรัพย์สินนั้นก็ต้องบังคับตามป.พ.พ. บรรพ 5 หมวด 4 ว่าด้วยทรัพย์สินระหว่างสามีภรรยา และโจทก์จำเลยซึ่งเป็นสามีภรรยากัน จะฟ้องร้องกันด้วยเรื่องทรัพย์สินระหว่างสามีภรรยาไม่ได้ เว้นแต่จะมีกฎหมายให้อำนาจไว้เท่านั้นกรณีตามคำฟ้องโจทก์เป็นเรื่องโจทก์ขอแบ่งเงินค่าขายที่ดินสินสมรสจากจำเลยกึ่งหนึ่งซึ่งเป็นกรณีที่ไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายให้ฟ้องแบ่งได้ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง ที่โจทก์ฎีกาว่าโจทก์น่าจะมีอำนาจฟ้องเพราะโจทก์ก็มีอำนาจจัดการสินสมรส ตาม ป.พ.พ. มาตรา 7 และเป็นกรณีตามมาตรา 1484เป็นการอ้างข้อเท็จจริง นอกคำฟ้องของโจทก์ เพราะโจทก์มิได้ฟ้องจำเลยเกี่ยวกับการจัดการสินสมรสตามมาตรา 1484.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4214/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องแบ่งสินสมรสระหว่างสามีภรรยาที่ยังไม่ได้หย่าขาด ไม่มีอำนาจฟ้องตามกฎหมาย
โจทก์จำเลยยังเป็นสามีภรรยากันอยู่และไม่ปรากฏว่าได้ทำสัญญากันไว้ในเรื่องทรัพย์สินเป็นพิเศษก่อนสมรส ความสัมพันธ์ระหว่างสามีภรรยาของโจทก์จำเลยในเรื่องทรัพย์สินนั้นก็ต้องบังคับตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 หมวด 4 ว่าด้วยทรัพย์สินระหว่างสามีภรรยา และโจทก์จำเลยซึ่งเป็นสามีภรรยากัน จะฟ้องร้องกันด้วยเรื่องทรัพย์สินระหว่างสามีภรรยาไม่ได้ เว้นแต่จะมีกฎหมายให้อำนาจไว้เท่านั้น กรณีตามคำฟ้องโจทก์เป็นเรื่องโจทก์ขอแบ่งเงินค่าขายที่ดินสินสมรสจากจำเลยกึ่งหนึ่งซึ่งเป็นกรณีที่ไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายให้ฟ้องแบ่งได้ ที่โจทก์อ้างว่าโจทก์น่าจะมีอำนาจฟ้องเพราะโจทก์ก็มีอำนาจจัดการสินสมรสตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1477 และไม่อาจจัดการใด ๆ ที่เป็นประโยชน์แก่สินสมรส เพราะไม่มีทรัพย์สินไปชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ทั้งหลายที่โจทก์ได้สินสมรสมา การกระทำของจำเลยเป็นการถ่วงความเจริญงอกงามที่จะเกิดแก่สินสมรสของโจทก์จำเลยนั้น เป็นการฎีกาอ้างข้อเท็จจริงนอกคำฟ้องของโจทก์เอง เพราะโจทก์มิได้ฟ้องจำเลยเกี่ยวกับการจัดการสินสมรสตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1484 แต่อย่างใด.