พบผลลัพธ์ทั้งหมด 459 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4099/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิผู้เช่าในการสร้างท่าเทียบเรือขยายพื้นที่เกินสัญญาเดิม ผู้รับโอนที่ดินไม่ต้องรับผิดชอบ
ตามสัญญาเช่าที่ดินที่ จ. เจ้าของที่ดินเดิมทำไว้กับโจทก์ผู้เช่าระบุยินยอมให้โจทก์มีสิทธิใช้ประโยชน์เฉพาะภายใน เขตทรัพย์สินที่เช่าเท่านั้นมิได้ระบุว่าถ้าผู้เช่าสร้าง ท่าเทียบเรือล่วงล้ำลำน้ำหน้าที่ดินที่เช่า ผู้ให้เช่าจะต้อง ยินยอมลงชื่อด้วย ฉะนั้น การที่ จ. ผู้ให้เช่าเดิมยินยอมลงชื่อรับรองให้โจทก์สร้างท่าเทียบเรือล่วงล้ำลำน้ำที่ดินที่เช่าตามใบอนุญาตกรมเจ้าท่าจึงเป็นการกระทำนอกเหนือสัญญาเช่า ไม่ผูกพันจำเลยผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินที่เช่าจาก จ. และการที่โจทก์ทำคำร้องขอขยายท่าเทียบเรือที่มีขนาดเกินกว่า 500 ตันกรอสส์ ก็เป็นการเพิ่มภาระให้จำเลยผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินต้องรับผิดชอบมากขึ้นกว่าความรับผิดตามสัญญาของเจ้าของที่ดินเดิมแม้โจทก์จะมีหนังสือถึงจำเลยว่าโจทก์รับเป็นผู้รับผิดชอบเอง โจทก์ก็ไม่มีสิทธิบังคับจำเลยให้กระทำนอกเหนือไปจากสิทธิ และหน้าที่ตามสัญญาเช่าได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4009/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับโอนสิทธิสัญญาเช่าและการยินยอมก่อสร้างนอกเหนือสัญญา สิทธิและหน้าที่ของผู้รับโอน
ตามสัญญาเช่าที่ดินที่ จ. เจ้าของที่ดินเดิมทำไว้กับโจทก์ผู้เช่าระบุยินยอมให้โจทก์มีสิทธิใช้ประโยชน์เฉพาะภายในเขตทรัพย์สินที่เช่าเท่านั้น มิได้ระบุว่าถ้าผู้เช่าสร้างท่าเทียบเรือ ล่วงล้ำลำน้ำหน้าที่ดินที่เช่า ผู้ ให้เช่าจะต้องยินยอมลงชื่อด้วย ฉะนั้น การที่ จ.ผู้ให้เช่าเดิมยินยอมลงชื่อรับรองโจทก์สร้างท่าเทียบเรือล่วงล้ำลำน้ำหน้า ที่ดินที่เช่าตามใบอนุญาต กรมเจ้าท่าจึงเป็นการกระทำนอกเหนือสัญญาเช่า ไม่ผูกพันจำเลย ผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินที่เช่าจาก จ. และการที่โจทก์ทำคำร้องขอขยายท่าเทียบเรือที่มีขนาดเกินกว่า 500ตันกรอสส์ ก็เป็น การเพิ่มภาระให้จำเลยผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินต้องรับผิดชอบมากขึ้น กว่าความรับผิดตามสัญญาของเจ้าของที่ดินเดิม แม้โจทก์จะมีหนังสือ ถึงจำเลยว่าโจทก์รับเป็นผู้รับผิดชอบเองก็ตาม.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4009/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าจำกัดสิทธิ ผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ไม่ต้องผูกพันการกระทำนอกสัญญาเดิม
สัญญาเช่าที่ดินซึ่งเจ้าของที่ดินเดิมทำไว้กับโจทก์ระบุยินยอมให้โจทก์มีสิทธิใช้ประโยชน์เฉพาะภายในเขตทรัพย์สินที่เช่าเท่านั้น การที่ผู้ให้เช่าเดิมยินยอมลงชื่อรับรองให้โจทก์สร้างท่าเทียบเรือหน้าที่ดินที่เช่า เป็นการกระทำนอกเหนือสัญญาเช่าไม่ผูกพันจำเลยผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินที่เช่า แม้โจทก์ผู้เช่าจะมีหนังสือถึงจำเลยว่าโจทก์จะเป็นผู้รับผิดชอบเองหากมีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ของบุคคลใดในหน้าที่ดินบนฝั่งของเจ้าของที่ดินที่เช่า โจทก์ก็ไม่มีสิทธิบังคับจำเลยผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินที่เช่าให้กระทำนอกเหนือไปจากสิทธิและหน้าที่ตามสัญญาเช่าได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4006/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะซื้อจะขายกับสัญญาเช่าซื้อ: การพิจารณาจากข้อตกลงและลักษณะสัญญา
หนังสือสัญญาระบุว่า จำเลยทั้งสองตกลงจะขายอาคารพาณิชย์พร้อมที่ดินให้โจทก์ในราคาเงินดาวน์ 268,480 บาท โดยให้โจทก์ผ่อนชำระเงินดาวน์ รวม 5 งวด ชำระเงินดาวน์ ครบถ้วนแล้วจึงจะไปจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ ไม่มีข้อความตอนใดระบุไว้เลยว่าเป็นเรื่องเจ้าของทรัพย์สินเอาทรัพย์สินออกให้เช่าและมีคำมั่นว่าจะให้ทรัพย์สินนั้นตกเป็นกรรมสิทธิ์แก่ผู้เช่า โดยเงื่อนไขที่ผู้เช่า ได้ใช้เงินเป็นจำนวนเท่านั้นเท่านี้คราว จึงมิใช่เรื่องการเช่าซื้อ ดังที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 572 หนังสือสัญญาดังกล่าวจึงเป็น สัญญาจะซื้อจะขาย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3977/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำหน่ายหนังสือละเมิดลิขสิทธิ์: จำเลยมีความรู้และประสบการณ์ในการค้า ย่อมทราบถึงความแตกต่างของหนังสือปลอม
หนังสือของกลางจำนวน 91 เล่ม ที่จำเลยขายหรือเสนอขายพิมพ์ลอกเลียนจากหนังสือฉบับแท้จริงของกระทรวงศึกษาธิการผู้เสียหาย มีลักษณะแตกต่างจากหนังสือฉบับแท้จริงอย่างเห็นได้ชัด จำเลยเป็นพ่อค้าประกอบอาชีพจำหน่ายหนังสือแบบเรียนและแบบฝึกหัดมานานประมาณ 20 ปีแล้ว มีร้านค้าของตนเองและเป็นตัวแทนจำหน่ายหนังสือแบบเรียนขององค์การค้าของคุรุสภา จำเลยย่อมมีความรู้ความเข้าใจมีประสบการณ์และความชำนาญในการตรวจตราหนังสือแบบเรียนและแบบฝึกหัดต่าง ๆ ที่สั่งมาจำหน่ายในร้านค้าของตนว่าถูกต้องหรือไม่จำเลยได้รู้เห็นหนังสือของกลางนั้นอยู่แล้วว่าไม่ใช่เป็นหนังสือแบบเรียนหรือแบบฝึกหัดที่แท้จริงของผู้เสียหาย และย่อมสังเกตเห็นว่าหนังสือของกลางดังกล่าวมีลักษณะแตกต่างจากหนังสือของผู้เสียหาย ที่จำเลยเคยสั่งซื้อจากองค์การค้าของคุรุสภา ซึ่งผู้เสียหายสงวน ลิขสิทธิ์ดังนี้ ถือได้ว่า จำเลยขายหรือเสนอขายหนังสือของกลาง จำนวน 91 เล่มนั้น โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นหนังสือที่พิมพ์ขึ้นโดย ละเมิด ลิขสิทธิ์ ของผู้เสียหาย จำเลยจึงมีความผิดตามพระราชบัญญัติ ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2521มาตรา 27.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3977/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำหน่ายหนังสือละเมิดลิขสิทธิ์: ผู้ประกอบการค้าต้องตรวจสอบความถูกต้องของสินค้าก่อนจำหน่าย
หนังสือของกลางจำนวน 91 เล่ม ที่จำเลยขายหรือเสนอขาย พิมพ์ลอกเลียนจากหนังสือฉบับแท้จริงของกระทรวงศึกษาธิการผู้เสียหายมีลักษณะแตกต่างจากหนังสือฉบับแท้จริงอย่างเห็นได้ชัด จำเลยเป็นพ่อค้าประกอบอาชีพจำหน่ายหนังสือแบบเรียนและแบบฝึกหัดมานานประมาณ20 ปีแล้ว มีร้านค้าของตนเองและเป็นตัวแทนจำหน่ายหนังสือแบบเรียนขององค์การค้าของคุรุสภา จำเลยย่อมมีความรู้ความเข้าใจมีประสบการณ์และความชำนาญในการตรวจตราหนังสือแบบเรียนและแบบฝึกหัดต่าง ๆ ที่สั่งมาจำหน่ายในร้านค้าของตนว่าถูกต้องหรือไม่ จำเลยได้รู้เห็นหนังสือของกลางนั้นอยู่แล้วว่าไม่ใช่เป็นหนังสือแบบเรียนหรือแบบฝึกหัดที่แท้จริงของผู้เสียหาย และย่อมสังเกตเห็นว่าหนังสือของกลางดังกล่าวมีลักษณะแตกต่างจากหนังสือของผู้เสียหายที่จำเลยเคยสั่งซื้อจากองค์การค้าของคุรุสภา ซึ่งผู้เสียหายสงวนลิขสิทธิ์ดังนี้ ถือได้ว่า จำเลยขายหรือเสนอขายหนังสือของกลางจำนวน 91 เล่มนั้นโดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นหนังสือที่พิมพ์ขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายจำเลยจึงมีความผิดตาม พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ฯ มาตรา 27.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3915/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนอุทธรณ์ในคดีแพ่ง: ศาลมีดุลพินิจอนุญาตได้ แม้จำเลยคัดค้าน
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมิได้บัญญัติในเรื่องถอนอุทธรณ์ไว้โดยเฉพาะ แต่ตามมาตรา 246 ให้นำบทบัญญัติว่าด้วยการพิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีในศาลชั้นต้นมาใช้บังคับแก่การพิจารณาและการชี้ขาดตัดสินคดีในชั้นอุทธรณ์โดยอนุโลม เมื่อคำฟ้องอุทธรณ์เป็นคำฟ้องอย่างหนึ่งตามมาตรา 1(3) ดังนั้น ในการถอนคำฟ้องอุทธรณ์จึงต้องนำบทบัญญัติว่าด้วยการถอนฟ้องตามมาตรา 175 มาบังคับใช้โดยอนุโลม โดยศาลอุทธรณ์จะต้องฟังจำเลยหรือผู้ร้องสอดถ้าหากมีก่อนแม้จำเลยจะคัดค้านก็อยู่ในดุลพินิจของศาลอุทธรณ์ที่จะสั่งอนุญาตได้และการขอถอนคำฟ้องอุทธรณ์เป็นการใช้สิทธิตามกฎหมาย ไม่ถือเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาโดยไม่สุจริต
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3915/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนอุทธรณ์: ศาลอุทธรณ์มีอำนาจพิจารณาและสั่งอนุญาตได้ตามหลักการอนุโลมมาตรา 246 และ 175 ป.วิ.พ.
ป.วิ.พ. มิได้บัญญัติในเรื่องถอนอุทธรณ์ไว้โดยเฉพาะ แต่ตามมาตรา 246 ให้นำบทบัญญัติว่าด้วยการพิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีในศาลชั้นต้นมาใช้บังคับแก่การพิจารณาและการชี้ขาดตัดสินคดีในชั้นอุทธรณ์โดยอนุโลม เมื่อคำฟ้องอุทธรณ์เป็นคำฟ้องอย่างหนึ่งตามมาตรา 1(3) ดังนั้น ในการถอนคำฟ้องอุทธรณ์จึงต้องนำบทบัญญัติว่าด้วยการถอนฟ้องตามมาตรา 175 มาบังคับใช้โดยอนุโลมโดยศาลอุทธรณ์จะต้องฟังจำเลยหรือผู้ร้องสอดถ้าหากมีก่อน แม้จำเลยจะคัดค้านก็อยู่ในดุลพินิจของศาลอุทธรณ์ที่จะสั่งอนุญาตได้ และการขอถอนคำฟ้องอุทธรณ์เป็นการใช้สิทธิตามกฎหมาย ไม่ถือเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาโดยไม่สุจริต.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3915/2534 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนอุทธรณ์ในคดีแพ่ง: ศาลมีอำนาจอนุญาตได้ตามหลักอนุโลมจากบทบัญญัติในศาลชั้นต้น
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมิได้บัญญัติในเรื่องถอนอุทธรณ์ไว้โดยเฉพาะแต่ตามมาตรา 246 ให้นำบทบัญญัติว่าด้วยการพิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีในศาลชั้นต้นมาใช้บังคับแก่การพิจารณาและการชี้ขาดตัดสินคดีในชั้นอุทธรณ์โดยอนุโลม เมื่อคำฟ้องอุทธรณ์เป็นคำฟ้องอย่างหนึ่งตามมาตรา 1 (3) ดังนั้น ในการถอนคำฟ้องอุทธรณ์จึงต้องนำบทบัญญัติว่าด้วยการถอนฟ้องตามมาตรา175 มาบังคับใช้โดยอนุโลม โดยศาลอุทธรณ์จะต้องฟังจำเลยหรือผู้ร้องสอดถ้าหากมีก่อน แม้จำเลยจะคัดค้านก็อยู่ในดุลพินิจของศาลอุทธรณ์ที่จะสั่งอนุญาตได้ และการขอถอนคำฟ้องอุทธรณ์เป็นการใช้สิทธิตามกฎหมาย ไม่ถือเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาโดยไม่สุจริต
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3828/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ในคดีบังคับคดี: การบรรยายตาม ป.วิ.พ. มาตรา 290 และการพิจารณาความสามารถในการชำระหนี้จากทรัพย์สินอื่น
เงื่อนไขที่ระบุไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 290 วรรคสี่ เป็นกำหนดเวลาที่ผู้ร้องจะต้องยื่นคำร้องเข้ามาในทันทีภายในเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงที่ศาลจะต้องพิจารณาว่าผู้ร้องได้ยื่นเข้ามาในกำหนดเวลาหรือไม่ จึงไม่ใช่ข้อที่ผู้ร้องต้องบรรยายมาในคำร้อง ตามคำร้องบรรยายว่า ผู้ร้องเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา แต่จำเลยไม่มีเงินจะชำระหนี้ให้ผู้ร้องได้ผู้ร้องจึงมาร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ในคดีนี้ ซึ่งพอแปลได้ความว่าผู้ร้องไม่สามารถเอาชำระหนี้จากทรัพย์สินอื่นของจำเลย ถือได้ว่าผู้ร้องอ้างในคำร้องแล้วว่าจำเลยไม่มีทรัพย์สินอื่นเป็นเหตุให้ผู้ร้องไม่สามารถเอาชำระหนี้ได้ เป็นไปตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 290 วรรคสอง.