คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
พนม พ่วงภิญโญ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 459 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2341/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทสัญญาซื้อขาย, ค่าปรับ, อายุความ, ความรับผิดของหุ้นส่วนจำกัด
จำเลยส่งของให้โจทก์ไม่ถูกต้องตามสัญญา โจทก์จึงใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาและริบหลักประกันอันเป็นการใช้สิทธิตามข้อสัญญา โจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะเรียกค่าปรับรายวันจากจำเลยได้อีก
สัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยข้อหนึ่งกำหนดว่า ถ้าผู้ซื้อจัดซื้อสิ่งของภายในกำหนด3 เดือน นับแต่วันบอกเลิกสัญญา ผู้ขายต้องยอมรับผิดชดใช้ราคาที่เพิ่มขึ้นจากราคาที่กำหนดไว้ในสัญญาเมื่อจำเลยผิดสัญญาโจทก์ผู้ซื้อได้บอกเลิกสัญญา ประกาศประกวดราคาใหม่ และประกาศผลการประกวดราคาภายในกำหนด 3 เดือนแล้ว แม้สัญญาซื้อขายจะกระทำกันเมื่อเกินกำหนด 3 เดือนก็เป็นผลสืบเนื่องมาจากการจัดซื้อภายในกำหนด 3 เดือน โจทก์จึงมีสิทธิเรียกราคาเพิ่มขึ้นจากจำเลยได้
โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายเนื่องจากจำเลยผิดสัญญาไม่ส่งมอบของให้โจทก์ถูกต้องและเรียกเบี้ยปรับตามสัญญา เป็นกรณีที่ไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะจึงต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 มีอายุความ 10 ปี
การที่จำเลยที่ 4 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดของห้างจำเลยที่ 1สอดเข้าไปจัดการงานของห้างจำเลยที่ 1 โดยกระทำตนเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ ทำให้บุคคลภายนอกเข้าใจว่าจำเลยที่ 4 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการและเป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดของห้างจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 4 จึงต้องร่วมรับผิดในบรรดาหนี้สินของห้างจำเลยที่ 1 โดยไม่จำกัดจำนวน
จำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดของห้างจำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดร่วมกันในบรรดาหนี้ของห้างจำเลยที่ 1 โดยไม่จำกัดจำนวน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2341/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทสัญญาซื้อขาย, การบอกเลิกสัญญา, ค่าปรับ, ความรับผิดของหุ้นส่วน, อายุความฟ้องคดี
จำเลยส่งของให้โจทก์ไม่ถูกต้องตามสัญญา โจทก์จึงใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาและริบหลักประกันอันเป็นการใช้สิทธิตามข้อสัญญา โจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะเรียกค่าปรับรายวันจากจำเลยได้อีก สัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยข้อหนึ่งกำหนดว่า ถ้าผู้ซื้อจัดซื้อสิ่งของภายในกำหนด 3 เดือน นับแต่วันบอกเลิกสัญญา ผู้ขายต้องยอมรับผิดชดใช้ราคาที่เพิ่มขึ้นจากราคาที่กำหนดไว้ในสัญญา เมื่อจำเลยผิดสัญญาโจทก์ผู้ซื้อได้บอกเลิกสัญญา ประกาศประกวดราคาใหม่ และประกาศผลการประกวดราคาภายในกำหนด 3 เดือนแล้ว แม้สัญญาซื้อขายจะกระทำกันเมื่อเกินกำหนด 3 เดือน ก็เป็นผลสืบเนื่องมาจากการจัดซื้อภายในกำหนด 3 เดือน โจทก์จึงมีสิทธิเรียกราคาเพิ่มขึ้นจากจำเลยได้ โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายเนื่องจากจำเลยผิดสัญญาไม่ส่งมอบของให้โจทก์ถูกต้องและเรียกเบี้ยปรับตามสัญญา เป็นกรณีที่ไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 มีอายุความ 10 ปี การที่จำเลยที่ 4 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดของห้างจำเลยที่ 1 สอดเข้าไปจัดการงานของห้างจำเลยที่ 1 โดยกระทำตนเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ ทำให้บุคคลภายนอกเข้าใจว่าจำเลยที่ 4 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการและเป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดของห้างจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 4 จึงต้องร่วมรับผิดในบรรดาหนี้สินของห้างจำเลยที่ 1 โดยไม่จำกัดจำนวน จำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดของห้างจำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดร่วมกันในบรรดาหนี้ของห้างจำเลยที่ 1 โดยไม่จำกัดจำนวน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2270/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสินสมรสโดยไม่ได้รับความยินยอมจากภริยา และสิทธิในการเพิกถอนนิติกรรมหลังการเสียชีวิต
ขณะโจทก์ที่ 3 ยื่นฟ้องคดีสำนวนหลังปรากฏว่าผู้จัดการมรดกตายไปแล้ว 2 คน คงเหลือผู้จัดการมรดก 3 คน คือจำเลยที่ 1 ก.และ ส.สำหรับก.และส. มิได้โต้แย้งสิทธิของโจทก์ทั้งสามและไม่ได้ปฏิเสธว่าจะไม่จัดการแบ่งทรัพย์มรดกให้แก่โจทก์ทั้งสามคงมีจำเลยที่ 1 ที่ไม่ยอมแบ่งทรัพย์มรดกให้แก่โจทก์ทั้งสามถือได้ว่าจำเลยที่ 1 โต้แย้งสิทธิโจทก์ทั้งสาม ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 โจทก์ทั้งสามชอบที่จะฟ้องจำเลยที่ 1 เพียงคนเดียวได้ อายุความตามมาตรา 1754 นั้น จะยกขึ้นต่อสู้ได้ก็แต่โดยบุคคลซึ่งเป็นทายาทหรือบุคคลซึ่งชอบจะใช้สิทธิของทายาทหรือโดยผู้จัดการมรดกตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 1755 โจทก์ทั้งสามเป็นทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกของ ท. จำเลยที่ 1 มิใช่ทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกของ ท. เป็นแต่เพียงผู้จัดการมรดกซึ่งมีหน้าที่จัดการมรดกโดยทั่วไปเพื่อแบ่งปันทรัพย์มรดก ทั้งยังต้องรับผิดต่อทายาทตามมาตรา 1720 ในลักษณะตัวแทน การที่จำเลยที่ 1 ใส่ชื่อของตนในฐานะผู้จัดการมรดกของ ท. ลงในสารบัญจดทะเบียนที่ดินทรัพย์มรดกก็เพื่อประโยชน์ในการแบ่งปันทรัพย์มรดกแก่ทายาทนั่นเอง จึงเป็นการครอบครองทรัพย์มรดกของ ท. แทนทายาทด้วยกันทุกคน จำเลยที่ 1หามีสิทธิยกอายุความ 1 ปี ตามมาตรา 1754 ขึ้นต่อสู้โจทก์ทั้งสามซึ่งเป็นผู้มีสิทธิรับมรดกของ ท. ไม่ แม้จะถือว่าสัญญาแบ่งปันทรัพย์มรดกของ ท. มีหลักฐานเป็นหนังสือและมีลายมือชื่อทายาทบางคน ก็คงมีผลสมบูรณ์และใช้บังคับได้เฉพาะคู่สัญญาที่ลงชื่อไว้ โจทก์ทั้งสามมิได้ลงลายมือชื่อในสัญญาดังกล่าว จึงไม่ต้องถูกผูกพันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1750 วรรคสอง ท.กับช. เป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมายก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ขณะสมรสกัน ช. มีสินเดิมอยู่ด้วย ซ. จึงมีสิทธิได้รับส่วนแบ่งจากสินสมรส 1 ใน 3 ส่วนตามกฎหมายลักษณะผัวเมีย บทที่ 68 ขณะ ท.ได้จำเลยที่2เป็นภริยาคนที่2ท.มีซ. เป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายและมีบุตรด้วยกันหลายคนแล้ว ทั้งขณะนั้นท.มีฐานะร่ำรวยมากขึ้นเมื่อจำเลยที่2เป็นภริยาท.ก็ช่วยเหลือทำงานในฐานะแม่บ้าน ไม่ใช่ผู้อยู่ในฐานะเป็นหุ้นส่วนร่วมในการประกอบการค้ากับ ท. ประกอบกับเมื่อศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าทรัพย์พิพาททั้งหมดมิได้เกิดจากการที่จำเลยที่ 2 ทำมาหาได้ร่วมกับท. จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้มีส่วนได้เสียโดยตรงมิได้ฎีกาโต้แย้งในข้อนี้ จึงต้องถูกผูกพันตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ จำเลยที่ 2จึงไม่มีส่วนแบ่งในทรัพย์พิพาท ท. โอนที่ดินแปลงพิพาทให้จำเลยที่ 2 โดยไม่มีหนี้ต่อกันเมื่อปรากฏว่าที่ดินแปลงพิพาทเป็นสินสมรสระหว่าง ท.กับซ.อันถือได้ว่าเป็นสินบริคณห์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์พ.ศ. 2477 มาตรา 1462 แม้ตามปกติสามีจะมีอำนาจจำหน่ายสินบริคณห์ได้ก็ตาม แต่หากเป็นการให้โดยเสน่หาก็ต้องได้รับความยินยอมจากภริยาก่อน เว้นแต่เป็นการให้ตามสมควรในทางศีลธรรมอันดีหรือในทางสมาคม ตามมาตรา 1473(3) แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์พ.ศ. 2477 โดยเฉพาะกรณีนี้เป็นการให้สินบริคณห์ที่เป็นที่ดินมีโฉนดซึ่งตามกฎหมายให้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่จึงต้องได้รับความยินยอมเป็นหนังสือจาก ซ. ภริยาด้วย ทั้งนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พ.ศ. 2477 มาตรา 1476 การที่ท. โอนที่ดินแปลงพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นภริยาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ถือไม่ได้ว่าเป็นการให้ตามสมควรในทางศีลธรรมทั้งที่ดินแปลงพิพาทมีราคาสูงอันเกินกว่าจะให้ในทางสมาคม ท.จึงไม่มีอำนาจโอนที่ดินแปลงพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 และสิทธิของ ซ.ในการขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดินแปลงพิพาทดังกล่าวเป็นสิทธิอันเกี่ยวกับทรัพย์สิน มิใช่การเฉพาะตัว โจทก์ทั้งสามในฐานะทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกของ ซ. มีสิทธิขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดินแปลงพิพาทดังกล่าวทั้งหมดได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2241/2534 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงชำระหนี้โดยใช้เงินกู้จากธนาคาร และผลของการไม่ชำระหนี้ตามข้อตกลง
บ.เป็นหนี้โจทก์ บ.ได้จำนองที่ดินมีหนังสือรับรองการทำประโยชน์ของ บ.ต่อโจทก์ ขณะเดียวกัน บ.ก็เป็นหนี้ ล.บิดาภรรยาจำเลย แต่ไม่มีหลักประกันใด โจทก์ จำเลย บ.และ ล.ตกลงกันที่จะเอาเงินจากธนาคารมาชำระหนี้โจทก์ โดยให้โจทก์ยอมให้ บ.จดทะเบียนไถ่ถอนจำนองก่อนแล้ว บ.ขายที่ดินดังกล่าวของ บ.ให้โจทก์ โจทก์ขายที่ดินนั้นให้จำเลย จำเลยนำที่ดินนั้นไปจดทะเบียนจำนองต่อธนาคารเพื่อนำเงินมาใช้หนี้แทน บ.ให้โจทก์ ข้อตกลงดังกล่าวเป็นข้อตกลงประเภทหนึ่งใช้บังคับได้ เมื่อโจทก์กระทำการตามที่ตกลงกันแล้ว แต่จำเลยไม่สามารถนำเงินจากธนาคารมาชำระหนี้โจทก์ได้ จำเลยจึงต้องรับผิดชำระเงินตามที่ตกลงกัน เมื่อจำเลยยังไม่ชำระเงินให้โจทก์ โจทก์จึงยึดหนังสือรับรองการทำประโยชน์ของจำเลยไว้ได้ตามที่จำเลยตกลงให้โจทก์เก็บไว้เพื่อรอให้จำเลยนำเงินไปชำระหนี้เก่าของจำเลยที่มีต่อธนาคารก่อน เมื่อจำเลยชำระหนี้แล้ว โจทก์ยอมส่งมอบหนังสือรับรองการทำประโยชน์ดังกล่าวคืนให้จำเลยได้
การที่โจทก์นำสืบถึงข้อตกลงอีกส่วนหนึ่งระหว่างโจทก์ จำเลย บ. และ ล.ต่างหากจากสัญญาซื้อขายที่ดินระหว่างโจทก์กับจำเลยว่าได้มีการตกลงในการชำระราคาที่ดินกันอย่างไรจึงหาใช่เป็นการนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขสัญญาซื้อขายที่ดินที่ระบุว่าจำเลยได้ชำระราคาที่ดินให้โจทก์แล้วไม่ โจทก์ย่อมนำสืบได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2241/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงชำระหนี้ที่ดินโดยใช้เงินกู้จากธนาคาร การนำสืบข้อตกลงนอกสัญญาซื้อขาย
แม้หนังสือสัญญาซื้อขายที่ดินจะระบุไว้ชัดแจ้งว่าจำเลยได้ชำระราคาที่ดินให้โจทก์ 70,000 บาทแล้ว แต่โจทก์ก็สามารถนำพยานบุคคลมาสืบถึงข้อตกลงอีกส่วนหนึ่งระหว่างโจทก์ จำเลย และบุคคลภายนอกต่างหากจากสัญญาซื้อขายที่ดินดังกล่าวว่าได้มีการตกลงในการชำระราคาที่ดินกันอย่างไรได้ หาใช่เป็นการนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขสัญญาซื้อขายที่ดินไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2241/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงซื้อขายที่ดินพร้อมจำนอง และการชำระหนี้แทนกัน โจทก์มีสิทธิยึดหนังสือรับรองการทำประโยชน์ได้
บ. เป็นหนี้โจทก์ บ. ได้จำนองที่ดินมีหนังสือรับรองการทำประโยชน์ของ บ. ต่อโจทก์ ขณะเดียวกัน บ.ก็เป็นหนี้ล. บิดาภรรยาจำเลย แต่ไม่มีหลักประกันใด โจทก์ จำเลย บ. และล. ตกลงกันที่จะเอาเงินจากธนาคารมาชำระหนี้โจทก์ โดยให้โจทก์ยอมให้ บ. จดทะเบียนไถ่ถอนจำนองก่อนแล้ว บ. ขายที่ดินดังกล่าวของ บ. ให้โจทก์ โจทก์ขายที่ดินนั้นให้จำเลย จำเลยนำที่ดินนั้นไปจดทะเบียนจำนองต่อธนาคารเพื่อนำเงินมาใช้หนี้แทน บ. ให้โจทก์ข้อตกลงดังกล่าวเป็นข้อตกลงประเภทหนึ่งใช้บังคับได้ เมื่อโจทก์กระทำการตามที่ตกลงกันแล้ว แต่จำเลยไม่สามารถนำเงินจากธนาคารมาชำระหนี้โจทก์ได้ จำเลยจึงต้องรับผิดชำระเงินตามที่ตกลงกันเมื่อจำเลยยังไม่ชำระเงินให้โจทก์ โจทก์จึงยึดหนังสือรับรองการทำประโยชน์ของจำเลยไว้ได้ตามที่จำเลยตกลงให้โจทก์เก็บไว้เพื่อรอให้จำเลยนำเงินไปชำระหนี้เก่าของจำเลยที่มีต่อธนาคารก่อนเมื่อจำเลยชำระหนี้แล้ว โจทก์ยอมส่งมอบหนังสือรับรองการทำประโยชน์ดังกล่าวคืนให้จำเลยได้ การที่โจทก์นำสืบถึงข้อตกลงอีกส่วนหนึ่งระหว่างโจทก์ จำเลยบ. และ ล. ต่างหากจากสัญญาซื้อขายที่ดินระหว่างโจทก์กับจำเลยว่าได้มีการตกลงในการชำระราคาที่ดินกันอย่างไร จึงหาใช่เป็นการนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขสัญญาซื้อขายที่ดินที่ระบุว่าจำเลยได้ชำระราคาที่ดินให้โจทก์แล้วไม่ โจทก์ย่อมนำสืบได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1960/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้ให้เงินเพื่อช่วยเหลือบุตรเข้าทำงานโดยมิชอบ ไม่เป็นผู้เสียหายในคดีฉ้อโกง
การที่ บ. และ ส. ตกลงให้เงินแก่จำเลยเพื่อนำไปมอบให้แก่คณะกรรมการสอบ หรือผู้สั่งบรรจุบุคคลเข้ารับราชการ ในตำแหน่งเสมียนได้ เพื่อให้ช่วยเหลือบุตรของตนเข้าทำงาน ในกรมชลประทานโดยไม่ต้องสอบนั้น เป็นการฝ่าฝืนกฎหมาย และระเบียบแบบแผนของทางราชการ ถือได้ว่า บ. และ ส. ใช้ให้จำเลยกระทำผิดนั่นเอง บ. และ ส. จึงมิใช่ผู้เสียหายในความผิดฐานฉ้อโกง แม้จะได้ร้องทุกข์และพนักงาน สอบสวนทำการสอบสวนมาแล้วก็ไม่ทำให้โจทก์มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1915/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าส่งหมายไม่ใช่ค่าธรรมเนียมศาล แต่เป็นค่าใช้จ่ายในการส่งเอกสาร การไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลถือเป็นการทิ้งฟ้อง
ค่าส่งหมายมิใช่ค่าธรรมเนียมศาล แต่เป็นค่าธรรมเนียมในการส่งคำคู่ความหรือเอกสารอื่นใด ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 7(พ.ศ. 2502)ออกตามความในพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งพ.ศ. 2477 ข้อ 5 ซึ่งผู้ขอต้องเสียค่าป่วยการและค่าพาหนะให้แก่เจ้าพนักงาน แม้จำเลยที่ 3 จะได้รับอนุญาตให้ดำเนินคดีอย่างคนอนาถาก็ไม่ได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียมส่วนนี้ ศาลชั้นต้นสั่งให้จำเลยที่ 3 นำส่งสำเนาคำร้องอุทธรณ์คำสั่งจำเลยที่ 3 ไม่ปฏิบัติถือว่าทิ้งคำร้องอุทธรณ์คำสั่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 174 ต้องจำหน่ายคดี ตาม มาตรา132(1),246.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1910/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หน้าที่การพิสูจน์ในความผิดฐานรับของโจร โจทก์ต้องพิสูจน์ว่าจำเลยรู้ว่าเป็นทรัพย์ที่ได้มาจากการกระทำผิด
ในคดีความผิดฐานรับของโจรนั้น โจทก์มีหน้าที่นำสืบให้เห็นว่าจำเลยรับทรัพย์ไว้โดยรู้ว่าเป็นทรัพย์อันได้มาจากการกระทำผิดไม่ใช่ว่าเมื่อจำเลยเป็นผู้ครอบครองทรัพย์นั้น จำเลยก็ต้องนำสืบแก้ตัวว่าตนไม่รู้ว่าเป็นของคนร้าย เมื่อการนำสืบของโจทก์ยังไม่พอฟังว่าจำเลยรับรถจักรยานยนต์ของผู้เสียหายไว้โดยรู้ว่าเป็นทรัพย์ที่ถูกลักมา จำเลยจึงไม่มีความผิดฐานรับของโจร.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1910/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ รับของโจร: โจทก์ต้องพิสูจน์ความรู้เป็นสำคัญ
ในคดีความผิดฐานรับของโจรนั้น โจทก์มีหน้าที่นำสืบให้เห็นว่าจำเลยรับทรัพย์ไว้โดยรู้ว่าเป็นทรัพย์อันได้มาจากการกระทำผิด ไม่ใช่ว่าเมื่อจำเลยเป็นผู้ครอบครองทรัพย์นั้น จำเลยก็ต้องนำสืบแก้ตัวว่าตนไม่รู้ว่าเป็นของคนร้าย เมื่อการนำสืบของโจทก์ยังไม่พอฟังว่าจำเลยรับรถจักรยานยนต์ของผู้เสียหายไว้โดยรู้ว่าเป็นทรัพย์ที่ถูกลักมา จำเลยจึงไม่มีความผิดฐานรับของโจร
of 46