คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
พนม พ่วงภิญโญ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 459 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 905/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท: ยาเสพติดและศุลกากร - ลงโทษตามบทที่มีโทษหนักที่สุด
ความผิดตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522ฐานมีเฮโรอีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายตามมาตรา 15,66 วรรคสองและฐานพยายามส่งเฮโรอีนออกนอกราชอาณาจักรเพื่อจำหน่ายตามมาตรา 15,65 วรรคสอง ประกอบด้วยประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 80ซึ่งเฮโรอีนของกลางถูกจับได้ที่ท่าอากาศยานเป็นจำนวนเดียวกันจึงเป็นกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท และในขณะเดียวกันก็เป็นการพยายามนำของต้องห้ามโดยยังมิได้ผ่านด่านศุลกากรออกนอกราชอาณาจักรอันเป็นความผิดต่อพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469มาตรา 27 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 80 ด้วย แม้จะเป็นความผิดต่างพระราชบัญญัติกัน ก็ไม่เป็นการกระทำผิดอีกกรรมหนึ่งต่างหาก คงรวมเป็นการกระทำกรรมเดียวแต่ผิดกฎหมายหลายบท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 129/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หน้าที่การพิสูจน์ในความผิดฐานรับของโจร โจทก์ต้องพิสูจน์ว่าจำเลยรู้ว่าเป็นทรัพย์ที่ได้จากการกระทำความผิด
คดีความผิดฐานรับของโจร โจทก์มีหน้าที่ต้องนำสืบให้เห็นว่าจำเลยรับทรัพย์ไว้โดยรู้ว่าเป็นทรัพย์ที่ได้มาจากการกระทำความผิดไม่ใช่ว่าเมื่อจำเลยเป็นผู้ครอบครองทรัพย์นั้น จำเลยก็ต้องนำสืบว่าตนไม่รู้ว่าเป็นของร้าย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 129/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หน้าที่การพิสูจน์ในความผิดฐานรับของโจร โจทก์ต้องพิสูจน์จำเลยรู้วัตถุเป็นของผิดกฎหมาย
ในคดีความผิดฐานรับของโจรนั้น โจทก์มีหน้าที่ต้องนำสืบให้ เห็นว่าจำเลยรับทรัพย์ไว้โดยรู้ว่าเป็นทรัพย์ที่ได้มาจากการกระทำ ความผิดไม่ใช่ว่าเมื่อจำเลยเป็นผู้ครอบครองทรัพย์นั้น จำเลยก็ ต้องนำสืบว่าตนไม่รู้ว่าเป็นของร้าย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 50/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิฟ้องละเมิดต้องเป็นผู้เสียหายโดยนิตินัย ผู้ครอบครองโทรศัพท์ไม่มีสิทธิฟ้องหากไม่ใช่ผู้เช่า
ประเด็นแห่งคดีมีว่า จำเลยที่ 3 ได้ทำละเมิดต่อโจทก์หรือไม่การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าโจทก์มิใช่ผู้เช่าโทรศัพท์และเป็นบุคคลภายนอก เป็นการพิจารณาถึงสิทธิของโจทก์ว่ามีต่อจำเลยทั้งสามอย่างไรบ้าง เพื่อที่จะให้เห็นว่าการกระทำของ จำเลยที่ 3ซึ่งทำให้โจทก์ไม่ได้ใช้โทรศัพท์นั้น เป็นการทำละเมิดต่อโจทก์ดังที่โจทก์ฟ้องหรือไม่ทั้งเหตุที่ศาลอุทธรณ์ยกขึ้นมาวินิจฉัยจำเลยทั้งสามได้ให้การและนำสืบมาแต่ต้นแล้ว จึงไม่เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น ผู้ที่มีสิทธิฟ้องคดีฐานละเมิดนั้น ต้องเป็นผู้เสียหายโดยนิตินัย หาใช่เพียงแต่เป็นผู้เสียหายโดยพฤตินัยเท่านั้นไม่และบางกรณีต้องเป็นผู้เสียหายตามสัญญาที่ได้ทำไว้ต่อกันเท่านั้นบุคคลภายนอกแม้จะได้รับความเสียหายก็ไม่มีสิทธิฟ้องคดีเพราะมิใช่เป็นการทำละเมิดต่อผู้นั้น กรณีของโจทก์เห็นได้ชัดว่าเป็นแต่เพียงผู้ครอบครองและใช้โทรศัพท์โดยได้รับมอบหมายจากบริษัทด. เจ้าของอาคารที่โจทก์เช่าตั้งสำนักงานประกอบกิจการอยู่เท่านั้น แม้โจทก์จะได้ชำระค่าเช่าและค่าบริการโทรศัพท์ให้จำเลยที่ 1 ตลอดมา ก็เป็นการชำระแทนผู้เช่าเดิมและใช้โดยอาศัยสิทธิของผู้เช่าเดิมคือบริษัทสายการบิน ท. ทั้งนี้เพราะสัญญาเช่าโทรศัพท์ระหว่างบริษัทดังกล่าวกับจำเลยที่ 1 ยังมิได้เลิกกันและโจทก์ยังไม่ได้รับอนุญาตจากจำเลยที่ 1 ให้เป็นผู้เช่าโทรศัพท์แทนบริษัทดังกล่าว นอกจากนี้ตั้งแต่จำเลยที่ 1 ทำสัญญาให้บริษัทดังกล่าวเป็นผู้เช่าโทรศัพท์ จำเลยที่ 1 มีหนังสือติดต่อและแจ้งเก็บเงินค่าเช่าและค่าบริการโทรศัพท์กับผู้เช่าตลอดมา หาได้มีเอกสารติดต่อกับโจทก์โดยตรงไม่แม้แต่ค่าเช่าและค่าบริการโทรศัพท์ที่จำเลยที่ 3 ตรวจพบว่ามีการค้าง ชำระประจำเดือนมีนาคม 2527จำเลยที่ 3 ก็มีหนังสือแจ้งเตือนให้นำเงินไปชำระยังบริษัทดังกล่าวแสดงว่าจำเลยที่ 1 ยังคงถือว่าบริษัทดังกล่าวเป็นคู่สัญญาเช่าโทรศัพท์เครื่องพิพาทกับจำเลยที่ 1 ตลอดมา จึงฟังไม่ได้ว่าโจทก์มีนิติสัมพันธ์เกี่ยวกับการใช้หรือครอบครองโทรศัพท์กับจำเลยที่ 1แต่ประการใด การที่โจทก์อ้างว่าเป็นละเมิดต่อโจทก์เพราะไม่แจ้งให้โจทก์ทราบก่อนปลดฟิวส์ โจทก์มีสิทธินำคดีมาฟ้อง จึงรับฟังไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 50/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้ใช้โทรศัพท์โดยไม่ได้ทำสัญญาเช่า ไม่มีสิทธิฟ้องละเมิดเมื่อถูกตัดบริการค้างชำระ
จำเลยที่ 1 ให้บริษัท ส. ซึ่งตั้งสำนักงานอยู่ในอาคารพาณิชย์ของบริษัท ด.เช่าโทรศัพท์ต่อมาบริษัทส. ย้ายออกไปและมอบเครื่องโทรศัพท์ให้บริษัท ด.ไว้บริษัทด. นำโทรศัพท์ดังกล่าวให้โจทก์ใช้โดยโจทก์นำค่าเช่าและค่าบริการไปชำระให้แก่จำเลยที่ 1 ตลอดมา ต่อมาจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นพนักงานของจำเลยที่ 1 ได้ปลดฟิวส์ งดมิให้ใช้บริการ เนื่องจากค้างชำระค่าเช่าและค่าบริการของงวดที่เกิดขึ้นในระหว่างวันที่โจทก์ใช้อยู่ประเด็นแห่งคดีมีว่าจำเลยที่ 3 ได้ทำละเมิดต่อโจทก์หรือไม่การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า โจทก์มิใช่ผู้เช่าโทรศัพท์และเป็นบุคคลภายนอก เป็นการพิจารณาถึงสิทธิของโจทก์ว่ามีต่อจำเลยทั้งสามอย่างไรบ้างเพื่อที่จะให้เห็นว่า การกระทำของจำเลยที่ 3ซึ่งทำให้โจทก์ไม่ได้ใช้โทรศัพท์นั้นเป็นการทำละเมิดต่อโจทก์ดังที่โจทก์ฟ้องหรือไม่ ทั้งเหตุที่ศาลอุทธรณ์ยกขึ้นมาวินิจฉัยนี้ก็เป็นเรื่องเกี่ยวกับประเด็นที่โต้แย้งกันโดยตรงซึ่งจำเลยทั้งสามได้ให้การต่อสู้คดี ไม่เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น โจทก์มิได้ทำสัญญาเป็นผู้เช่าโทรศัพท์กับจำเลยที่ 1 โจทก์เป็นแต่เพียงผู้ครอบครองและใช้โทรศัพท์โดยได้รับมอบหมายจากบริษัท ด. เจ้าของอาคารที่โจทก์เช่าตั้งสำนักงานประกอบกิจการอยู่เท่านั้น แม้โจทก์ชำระค่าเช่าและค่าบริการโทรศัพท์ให้จำเลยที่ 1 ตลอดมา ก็ถือว่าโจทก์เป็นแต่เพียงมีสิทธิใช้โดยพฤตินัยเท่านั้น หาได้มีสิทธิผูกพันจำเลยที่ 1 ไม่ การที่โจทก์ชำระค่าเช่าและค่าบริการโทรศัพท์เท่ากับเป็นการชำระแทนผู้เช่าเดิมและใช้โดยอาศัยสิทธิของผู้เช่าเดิมคือบริษัท ส. เท่านั้นโจทก์จึงไม่มีนิติสัมพันธ์เกี่ยวกับการใช้หรือครอบครองโทรศัพท์กับจำเลยที่ 1 ในอันที่จำเลยที่ 1 จะต้องแจ้งให้โจทก์ทราบก่อนปลดฟิวส์ ดังนั้น เมื่อจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นพนักงานของจำเลยที่ 1ได้ส่งใบแจ้งเตือนให้ผู้เช่าตามที่อยู่ซึ่งให้ไว้ตรงตามสัญญาเช่าให้นำเงินไปชำระค่าเช่าและค่าบริการโทรศัพท์ที่ค้างชำระอยู่แก่จำเลยที่ 1 ครบกำหนดตามใบแจ้งเตือนแล้วผู้เช่าไม่นำเงินไปชำระ การที่จำเลยที่ 3 ขออนุมัติและทำการปลดฟิวส์ ย่อมถือได้ว่าจำเลยที่ 3 ได้กระทำการตามหน้าที่ และตามระเบียบของจำเลยที่ 1แล้ว จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 50/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้ใช้โทรศัพท์โดยไม่ทำสัญญาเช่า ไม่มีนิติสัมพันธ์กับผู้ให้บริการ จึงไม่สามารถฟ้องละเมิดได้
การฟ้องคดีฐานละเมิดอาจเกิดขึ้นได้ทั้งกรณีที่มีสัญญาและไม่มีสัญญาต่อกันแล้วแต่ว่าการกระทำละเมิดเกิดจากเหตุและกรณีใดเป็นรายกรณีไป โดยอาศัยพฤติการณ์แห่งคดีเป็นหลัก และผู้ที่มีสิทธิฟ้อง นั้นต้องเป็นผู้เสียหายโดยนิตินัย หาใช่เพียงแต่เป็นผู้เสียหาย โดยพฤตินัยเท่านั้นไม่ และบางกรณีต้องเป็นผู้เสียหายตามสัญญาที่ ได้ทำไว้ต่อ กันเท่านั้น โจทก์มิได้ทำสัญญาเป็นผู้เช่าโทรศัพท์กับองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย จำเลยที่ 1 เป็นแต่เพียงผู้ครอบครองและใช้โทรศัพท์โดยได้รับมอบหมายมาจากบริษัท ค. เจ้าของอาคารที่โจทก์เช่าตั้งสำนักงานประกอบกิจการอยู่เท่านั้น แม้โจทก์ได้ชำระค่าเช่าและค่าบริการโทรศัพท์ให้จำเลยที่ 1 ตลอดมา ก็ถือว่าโจทก์เป็นแต่เพียง มีสิทธิใช้โดยพฤตินัยเท่านั้น หาได้มีสิทธิผูกพันกับจำเลยที่ 1 ไม่ โจทก์ยังไม่ได้รับอนุญาตจากจำเลยที่ 1 ให้เป็นผู้เช่าโทรศัพท์ แทนผู้เช่าเดิม การชำระค่าเช่าและค่าบริการโทรศัพท์ของโจทก์จึง เป็นการชำระแทนผู้เช่าเดิม โจทก์จึงไม่มีนิติสัมพันธ์ใด ๆ กับจำเลย ที่ 1จำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6317/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานใช้เอกสารปลอม ต้องพิสูจน์ว่าผู้ใช้รู้อยู่แล้วว่าเอกสารนั้นเป็นเอกสารปลอม
จำเลยได้นำสมุดเงินฝากของธนาคารไปยื่นประกอบเรื่องราวขอวีซ่าไปประเทศสหรัฐอเมริกา ปรากฏว่า สมุดเงินฝากของธนาคารเป็นเอกสารปลอม เมื่อคดีโจทก์ฟังไม่ได้ว่าจำเลยเป็นผู้ทำปลอมสมุดเงินฝากของธนาคาร ก็ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยรู้ว่าสมุดเงินฝากของธนาคารเป็นเอกสารปลอม โจทก์กล่าวหาว่าจำเลยใช้เอกสารปลอม ย่อมมีหน้าที่ต้องพิสูจน์ว่าจำเลยรู้อยู่แล้วว่าสมุดเงินฝากของธนาคารปลอม ซึ่งถ้าจำเลยไม่รู้ความจริงดังกล่าวแม้จำเลยนำเอกสารไปใช้ จำเลยก็ไม่มีความผิดทางอาญา.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6116/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการรวมโทษจำคุกหลายกระทง ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 และการลงโทษจำคุกตลอดชีวิต
บทบัญญัติตาม ป.อ. มาตรา 91(3) หมายความว่ากรณีที่จำเลยกระทำผิดหลายกรรมต่างกัน ศาลต้องลงโทษจำเลยทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไป แต่เมื่อรวมโทษทุกกระทงแล้ว โทษจำคุกทั้งสิ้นต้องไม่เกิน 50 ปี เว้นแต่กรณีศาลลงโทษจำคุกตลอดชีวิต และคำว่า"เว้นแต่กรณีศาลลงโทษจำคุกตลอดชีวิต" นั้น หมายความว่า หากความผิดกระทงใดกระทงหนึ่งมีโทษที่จะลงแก่จำเลยจริง ๆ เป็นโทษจำคุกตลอดชีวิตแล้วเมื่อนำเอาโทษจำคุกที่มีกำหนดเวลาในกระทงอื่นมารวมศาลคงลงโทษจำเลยได้เพียงจำคุกตลอดชีวิตอย่างเดียวเท่านั้น คดีนี้สำหรับความผิดกระทงแรกของจำเลยที่ 2 ฐานพยายามฆ่าผู้อื่นนั้น ศาลได้วางโทษจำคุกจำเลยที่ 2 ตลอดชีวิต แต่เมื่อมีการลดโทษให้จำเลยที่ 2 แล้วคงเหลือโทษจำคุกจำเลยที่ 2 เพียง 40 ปี จึงอยู่ในเกณฑ์ที่จะนำเอาโทษในความผิดฐานมีและพาอาวุธปืนโดยไม่ได้รับใบอนุญาตอันเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ มารวมลงโทษแก่จำเลยที่ 2เป็นจำคุกทั้งสิ้น 41 ปี 7 เดือน 6 วัน ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5859/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำเลยทราบสถานะป่าสงวนแห่งชาติ แม้ไม่มีหลักฐานประกาศ, สุจริตไม่มีผล, เจตนาผิดมี
จำเลยรู้อยู่แล้วว่าที่ดินพิพาทเป็นป่าสงวนแห่งชาติ ดังนั้น แม้โจทก์จะมิได้นำสืบถึงการปิดประกาศกฎกระทรวง มีหลักป้ายหรือเครื่องหมายแสดงเขตป่าสงวนแห่งชาติก็ไม่ได้หมายความว่าทางราชการไม่ได้เคยดำเนินการดังกล่าว เพราะมิฉะนั้นแล้วจำเลยก็คงไม่รู้ว่าบริเวณนั้นเป็นป่าสงวนแห่งชาติ เมื่อจำเลยรู้ข้อเท็จจริงนั้นอยู่แล้ว แม้โจทก์ไม่ได้นำสืบถึงการที่ทางราชการได้ปิดประกาศดังกล่าว ก็ไม่ทำให้คดีของโจทก์เสียไป จึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยมีความสุจริตทำประโยชน์ในที่พิพาทโดยไม่รู้ว่าเป็นที่ป่าสงวนแห่งชาติ และแม้จะไม่ได้แจ้งหรือสั่งให้จำเลยออกจากที่ดินพิพาทเสียก่อนดำเนินคดี ก็จะถือว่าจำเลยขาดเจตนาที่จะกระทำผิดทางอาญาหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5859/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบุกรุกป่าสงวนแห่งชาติ: จำเลยทราบสถานะที่ดินแล้ว แม้ไม่มีประกาศหรือป้ายเตือน
จำเลยรู้อยู่แล้วว่าที่ดินพิพาทเป็นป่าสงวนแห่งชาติ ดังนั้นแม้โจทก์จะมิได้นำสืบถึงการปิดประกาศกฎกระทรวง มีหลักป้ายหรือเครื่องหมายแสดงเขตป่าสงวนแห่งชาติก็ไม่ได้หมายความว่าทางราชการไม่ได้เคยดำเนินการดังกล่าว เพราะมิฉะนั้นแล้วจำเลยก็คงไม่รู้ว่าบริเวณนั้นเป็นป่าสงวนแห่งชาติ เมื่อจำเลยรู้ข้อเท็จจริงนั้นอยู่แล้ว แม้โจทก์ไม่ได้นำสืบถึงการที่ทางราชการได้ปิดประกาศดังกล่าว ก็ไม่ทำให้คดีของโจทก์เสียไปจึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยมีความสุจริตทำประโยชน์ในที่พิพาทโดยไม่รู้ว่าเป็นที่ป่าสงวนแห่งชาติ และแม้จะไม่ได้แจ้งหรือสั่งให้จำเลยออกจากที่ดินพิพาทเสียก่อนดำเนินคดี ก็จะถือว่าจำเลยขาดเจตนาที่จะกระทำผิดทางอาญาหาได้ไม่.
of 46