คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.ที่ดิน ม. 108 ทวิ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 33 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1783/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความสมบูรณ์ของฟ้องคดีบุกรุกที่ดินสาธารณะหลังประกาศคณะปฏิวัติ การไม่จำเป็นต้องบรรยายองค์ความผิดตามมาตรา 108
โจทก์ฟ้องว่า ระหว่างปี 2522 ถึงวันที่ 18 เมษายน 2531จำเลยทั้งสองได้บุกรุกเข้าไปยึดถือครอบครองที่ดินสาธารณประโยชน์อันเป็นที่ดินของรัฐซึ่งเป็นสาธารณสมบัติแผ่นดินที่ประชาชนใช้ร่วมกัน ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 9,108 ทวิ วันที่โจทก์อ้างว่าจำเลยทั้งสองกระทำผิดนั้นเป็นเวลาหลังวันที่ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 96ลงวันที่ 29 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2515 ใช้บังคับแล้ว โจทก์มิได้ประสงค์ให้ลงโทษจำเลยทั้งสองตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 108 ดังนั้นโจทก์จึงหาจำต้องบรรยายฟ้องว่า พนักงานเจ้าหน้าที่หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากพนักงานเจ้าหน้าที่ได้แจ้งเป็นหนังสือให้จำเลยปฏิบัติตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด จำเลยเพิกเฉยไม่ปฏิบัติให้ถูกต้องตามระเบียบพนักงานเจ้าหน้าที่ได้มีคำสั่งเป็นหนังสือให้จำเลยออกจากที่ดินภายในระยะเวลาที่กำหนดแล้ว จำเลยฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามคำสั่ง เพราะข้อความดังกล่าวบัญญัติไว้เป็นองค์ความผิดตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 108 อันเป็นกรณีที่ผู้กระทำผิดฝ่าฝืนมาตรา 9 อยู่ก่อนวันที่ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับดังกล่าวใช้บังคับ ฟ้องโจทก์จึงชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3978/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหวงห้ามที่ดินสาธารณสมบัติของแผ่นดิน การดำเนินการตามกฎหมายที่แก้ไขใหม่ และการพิจารณาการหวงห้ามโดยไม่ต้องมีพระราชกฤษฎีกา
ที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินนั้นตามธรรมดารัฐยอมใช้เพื่อประโยชน์หรือสงวนไว้เพื่อประโยชน์รวมกันได้ ส่วนวิธีการที่จะหวงห้ามนั้นย่อมแตกต่างกันไปตามกาลสมัย เพิ่งมาบัญญัติเป็นกฎหมายขึ้นใช้บังคับเมื่อ พ.ศ. 2478 โดยพระราชบัญญัติว่าด้วยการหวงห้ามที่ดินรกร้างว่างเปล่า อันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินพ.ศ. 2478 ซึ่งได้หวงห้ามโดยวิธีการออกเป็นพระราชกฤษฎีกาและประกาศในราชกิจจานุเบกษา แต่ต่อมาพระราชบัญญัติดังกล่าวได้ถูกยกเลิกไปโดยพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497 มาตรา4(6) ดังนั้นเมื่อการสงวนหวงห้ามที่ดินพิพาทเป็นการสงวนหรือหวงห้ามตามประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497 มาตรา 8 ตรี ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 334 ลงวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2515โดยเป็นกฎหมายที่ออกมาภายหลังจากที่พระราชบัญญัติว่าด้วยการหวงห้ามที่ดินรกร้างว่างเปล่า อันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน พ.ศ. 2478 ได้ถูกยกเลิกไปแล้ว การหวงห้ามจึงไม่จำต้องดำเนินการโดยออกเป็นพระราชกฤษฎีกาและประกาศในราชกิจจานุเบกษาตามพระราชบัญญัติดังกล่าวอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2079/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งข้อหาบุกรุกที่ดินและการพิสูจน์การรับทราบคำสั่งเจ้าหน้าที่ตามระเบียบ
สำหรับจำเลยที่ 6 โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 108,108ทวิ และ ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 368 ศาลชั้นต้นพิพากษาว่ามีความผิดตาม ประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 108 ทวิและประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 368 ซึ่งมีผลเท่ากับว่าศาลชั้นต้นได้พิพากษายกฟ้องสำหรับจำเลยที่ 6 ในข้อหาความผิดตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 108 แล้ว เมื่อโจทก์ไม่อุทธรณ์ข้อหาความผิดดังกล่าวจึงยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น โจทก์ไม่อาจฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยที่ 6 ในข้อหาความผิดนั้นได้อีก ที่โจทก์ฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยที่ 6 ตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 108 จึงเป็นฎีกาในข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาในศาลอุทธรณ์ภาค 1 ย่อมต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคแรก ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยส่วนฎีกาที่โจทก์ขอให้ลงโทษจำเลยที่ 6 ตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 108 ทวิ โจทก์กล่าวในฎีกาเพียงว่าขอให้พิพากษากลับคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 และพิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นเท่านั้น มิได้กล่าวว่าการกระทำของจำเลยที่ 6 เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 108 ทวิ เพราะเหตุใด จึงเป็นฎีกาที่ไม่แจ้งชัด ต้องห้ามฎีกาตามบทบัญญัติมาตราทั้งสองดังกล่าวเช่นกัน ตามระเบียบของคณะกรรมการจัดที่ดินแห่งชาติ ฉบับที่ 3(พ.ศ. 2515) ว่าด้วยวิธีปฏิบัติในการแจ้งและออกคำสั่งแก่ผู้ฝ่าฝืนมาตรา 9 แห่งประมวลกฎหมายที่ดินอยู่ก่อนวันที่ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 96 ลงวันที่ 29 กุมภาพันธ์พุทธศักราช 2515 ใช้บังคับกำหนดให้เจ้าหน้าที่ผู้นำส่งหนังสือแจ้งบันทึกเหตุการณ์และเหตุผลในการไม่ยอมรับหนังสือแจ้งไว้และให้มีพยานอย่างน้อย 2 คน ลงชื่อรับรองไว้ในบันทึกนั้นด้วยเมื่อผู้นำส่งหนังสือแจ้งได้ปฏิบัติการดังกล่าวนั้นแล้ว ให้ถือว่าผู้ฝ่าฝืนได้รับหนังสือแจ้งแล้ว แต่ตามบันทึกข้อความของเจ้าหน้าที่ผู้นำหนังสือแจ้งและคำสั่งให้ออกจากที่ดินไปส่งแก่จำเลยที่ 1ที่ 2 และที่ 4 ถึงที่ 7 นอกจากจะไม่ปรากฏเหตุผลที่ผู้ฝ่าฝืนไม่ยอมรับหนังสือแจ้งแล้ว ยังไม่ปรากฏว่าเจ้าหน้าที่ผู้นำส่งได้สอบถามเหตุผลเอาจากผู้ฝ่าฝืนแล้วบันทึกไว้ และไม่ปรากฏว่าบันทึกดังกล่าวเป็นเอกสารที่อ้างอิงเกี่ยวกับจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 4ถึงที่ 7 ว่าเป็นผู้เข้าไปยึดถือครอบครองก่อสร้างที่ดินของรัฐอันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 9 แห่ง ประมวลกฎหมายที่ดินแต่อย่างใดบันทึกข้อความนั้นจึงยังไม่ถูกต้องครบถ้วนตามที่ระเบียบดังกล่าวกำหนด ดังนั้น จะถือว่าจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 ถึงที่ 7ได้รับหนังสือแจ้งอันเป็นคำสั่งเจ้าพนักงานซึ่งสั่งการตามอำนาจที่มีกฎหมายให้ไว้และทราบคำสั่งนั้นแล้วหาได้ไม่ จำเลยที่ 1 ที่ 2และที่ 4 ถึงที่ 7 ยังไม่มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 368และจำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 4 ที่ 5 และที่ 7 ไม่มีความผิดตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 108

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2672/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิครอบครองที่ดินโบราณสถาน: การอนุญาตจากกรมศิลปากรมีผลเหนือประกาศหวงห้าม
กรมศิลปากรอนุญาตให้สำนักหุบผาสวรรค์ใช้ประโยชน์เนื้อที่ภูเขาและรัศมีเขาถ้ำพระอันเป็นโบราณสถานได้ จำเลยในฐานะเจ้าสำนักหุบผาสวรรค์ย่อมได้รับประโยชน์จากการอนุญาตนั้นด้วยจำเลยจึงเป็นผู้หนึ่งที่มีสิทธิครอบครองที่ดินดังกล่าว แม้ต่อมารัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยประกาศในราชกิจจานุเบกษาให้ที่เขาหรือภูเขาและปริมณฑลรอบที่เขาหรือภูเขา 40 เมตรทุกแห่งทุกจังหวัดเป็นที่หวงห้ามซึ่งกินความถึงบริเวณที่กรมศิลปากรอนุญาตเช่นว่านั้นด้วย ก็หามีผลเป็นการห้ามมิให้จำเลยเข้าไปปลูกสร้างในที่ดินบริเวณนั้นไม่การปลูกสร้างของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 9,108,108 ทวิ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3918/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดบุกรุกที่ดินสาธารณประโยชน์: ความแตกต่างขององค์ประกอบความผิดตามประมวลกฎหมายที่ดินก่อนและหลังประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 96
เดิมโจทก์ฟ้องจำเลยในข้อหาบุกรุกเข้าไปยึดถือครอบครองที่ดินสาธารณประโยชน์ของรัฐ ภายหลังที่ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 96 ลงวันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2515 ใช้บังคับแล้ว ส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องว่าจำเลยเข้าไปยึดถือครอบครองที่ดินของรัฐประเภทสาธารณประโยชน์แปลงเดียวกัน โดยบุกรุกตั้งแต่ก่อนวันที่ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 96ฯ ใช้บังคับ อันเป็นความผิดที่มีองค์ประกอบแต่งต่างกันกล่าวคือ ความผิดฐานบุกรุกที่ดินของรัฐก่อนวันที่ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 96ฯ ใช้บังคับจะมีความผิดต่อเมื่อได้รับคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่ให้ออกจากที่ดินแล้วไม่ยอมออก ส่วนความผิดฐานบุกรุกที่ดินของรัฐภายหลังที่ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 96ฯ มีผลใช้บังคับ ผู้บุกรุกมีความผิดในทันทีที่บุกรุกที่ดินของรัฐ การกระทำความผิดของจำเลยในคดีก่อนกับในคดีนี้จึงไม่ใช่ความผิดกรรมเดียวกันฟ้องของโจทก์คดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1932/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบุกรุกที่สาธารณสมบัติของแผ่นดิน ความผิดตามประมวลกฎหมายที่ดินและประกาศคณะปฏิวัติ
จำเลยบุกรุกเข้าครอบครองที่พิพาทโดยรู้ว่าเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินที่พลเมืองใช้ร่วมกัน มีความผิดตามป.ที่ดิน มาตรา 108 ทวิ วรรคสอง ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 96ข้อ 11 ส่วนความผิดฐานบุกรุกตาม ป.อ. มาตรา 362,365 กฎหมายมุ่งประสงค์จะลงโทษผู้ที่บุกรุกอสังหาริมทรัพย์ของผู้อื่นเท่านั้นไม่ใช่บทบัญญัติที่จะลงโทษผู้บุกรุกที่สาธารณสมบัติของแผ่นดิน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3458-3461/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองที่ดินสาธารณประโยชน์ก่อนมีประกาศ คณะปฏิวัติ ฉบับที่ 96 ไม่ถือเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายที่ดิน
แม้ที่ดินที่จำเลยเข้าไปยึดถือครอบครองเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน และจำเลยมิได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ แต่จำเลยเข้าไปยึดถือครอบครองก่อนวันที่ 4 มีนาคม 2515 ซึ่งเป็นวันที่ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 96 ใช้บังคับ จำเลยจึงไม่มีความผิดตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 9,108 ทวิ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2431/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิครอบครองที่ดิน - การบุกรุก - ขัดคำสั่งเจ้าพนักงาน - เหตุผลเชื่อว่ามีสิทธิครอบครอง
การที่ศาลจะมีอำนาจสั่งให้บุคคลใดออกไปจากที่ดินของรัฐนั้นต้องเป็นกรณีที่ศาลพิพากษาว่าบุคคลดังกล่าวได้กระทำความผิดตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 9,108 ทวิ แล้ว เมื่อที่พิพาทยังไม่อาจฟังได้แน่ชัดว่าเป็นที่สาธารณประโยชน์ และจำเลยยึดถือครอบครองอยู่โดยเชื่อว่าตนมีสิทธิครอบครองต่อจากบิดา จึงไม่เป็นความผิดตามบทบัญญัติดังกล่าว ศาลไม่อาจสั่งให้จำเลยและบริวารออกไปจากที่พิพาทได้ การที่จำเลยไม่ยอมออกจากที่พิพาทตามคำสั่งของนายอำเภอ เพราะเชื่อว่าจำเลยมีสิทธิครอบครองซึ่งเป็นข้อเท็จจริงอันเดียวเกี่ยวพันกันกับที่วินิจฉัยมาแล้วว่า การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดฐานบุกรุก จำเลยจึงไม่มีความผิดฐานขัดคำสั่งเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 368 แม้ปัญหานี้ยุติแล้วในศาลอุทธรณ์ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 185 ประกอบมาตรา 215และ 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2431/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองที่ดินโดยเชื่อว่ามีสิทธิ และความผิดฐานขัดคำสั่งเจ้าพนักงาน ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าไม่มีความผิด
การที่ศาลจะมีอำนาจสั่งให้บุคคลใดออกไปจากที่ดินของรัฐนั้นต้องเป็นกรณีที่ศาลพิพากษาว่า บุคคลดังกล่าวได้กระทำความผิดตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 9,108 ทวิ แล้ว เมื่อที่พิพาทยังไม่อาจฟังได้แน่ชัดว่าเป็นที่สาธารณประโยชน์และจำเลยยึดถือครอบครองอยู่โดยเชื่อว่าตนมีสิทธิครอบครองต่อจากบิดา จึงไม่เป็นความผิดตามบทบัญญัติดังกล่าว ศาลไม่อาจสั่งให้จำเลยและบริวารออกไปจากที่พิพาทได้ การที่จำเลยไม่ยอมออกจากที่พิพาทตามคำสั่งของนายอำเภอเพราะเชื่อว่าจำเลยมีสิทธิครอบครองซึ่งเป็นข้อเท็จจริงอันเดียวเกี่ยวพันกันกับที่วินิจฉัยมาแล้วว่า การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดฐานบุกรุก จำเลยจึงไม่มีความผิดฐานขัดคำสั่งเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 368 แม้ปัญหานี้ยุติแล้วในศาลอุทธรณ์ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 185 ประกอบมาตรา215 และ 225.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2431/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองที่ดินโดยเชื่อสุจริตและการพิสูจน์ความเป็นที่สาธารณประโยชน์มีผลต่อความผิดฐานบุกรุกและขัดคำสั่งเจ้าพนักงาน
การที่ศาลจะมีอำนาจสั่งให้บุคคลใดออกไปจากที่ดินของรัฐนั้นต้องเป็นกรณีที่ศาลพิพากษาว่า บุคคลดังกล่าวได้กระทำความผิดตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 9, 108 ทวิ แล้ว เมื่อที่พิพาทยังไม่อาจฟังได้แน่ชัดว่าเป็นที่สาธารณประโยชน์และจำเลยยึดถือครอบครองอยู่โดยเชื่อว่าตนมีสิทธิครอบครองต่อจากบิดา จึงไม่เป็นความผิดตามบทบัญญัติดังกล่าว ศาลไม่อาจสั่งให้จำเลยและบริวารออกไปจากที่พิพาทได้
การที่จำเลยไม่ยอมออกจากที่พิพาทตามคำสั่งของนายอำเภอเพราะเชื่อว่าจำเลยมีสิทธิครอบครองซึ่งเป็นข้อเท็จจริงอันเดียวเกี่ยวพันกันกับที่วินิจฉัยมาแล้วว่า การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดฐานบุกรุก จำเลยจึงไม่มีความผิดฐานขัดคำสั่งเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 368 แม้ปัญหานี้ยุติแล้วในศาลอุทธรณ์ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 185 ประกอบมาตรา215 และ 225.
of 4