คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.ที่ดิน ม. 108 ทวิ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 33 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5029/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยกที่ดินให้เป็นที่สาธารณประโยชน์ต้องแสดงเจตนาชัดเจน การครอบครองทำประโยชน์นานปีถือเป็นสิทธิ
การยกที่ดินให้เป็นที่สาธารณประโยชน์สำหรับแผ่นดินนั้น หากไม่ได้ทำเป็นหนังสือแล้วต้องมีการแสดงเจตนาตอบรับการยกให้ จากรัฐโดยอย่างน้อยต้องทำเป็นหนังสือตอบรับหรือเข้าไปครอบครองใช้สอยทำประโยชน์ในที่ดินที่ได้รับการยกให้ เมื่อไม่ปรากฏว่าก.ได้ทำเป็นหนังสือยกที่ดินพิพาทให้แก่ส่วนราชการของรัฐหน่วยใดเมื่อใดหรือส่วนราชการของรัฐหน่วยใดได้เข้าครอบครองทำประโยชน์ใช้ที่ดินพิพาท คงได้ความว่าพ.ศ. 2533 จำเลยขอเลขที่บ้านซึ่งปลูกอยู่ในที่ดินพิพาทไม่ได้จึงได้ร้องเรียนต่อทางราชการ ทางราชการจึงดำเนินการตรวจสอบที่ดินพิพาทซึ่งมีบ้านจำเลยปลูกอาศัยและขอออกเลขที่บ้านหลังดังกล่าว จึงมีการอ้างว่า ก. ยกที่ดินพิพาทให้เป็นที่สาธารณประโยชน์แล้ว ทั้ง ล. ซึ่งเคยเป็นผู้ใหญ่บ้านและเป็นกำนันตำบลหนองอิรุณเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้ปกครองดูแลที่ดินพิพาท ย่อมต้องรู้ว่าที่ดินใดเป็นที่สาธารณประโยชน์ แต่ล.ก็มิได้ดำเนินการอย่างใดเพื่อให้เห็นว่าที่ดินพิพาทเป็นที่สาธารณประโยชน์ดังอ้างเลย จึงรับฟังไม่ได้ว่าที่ดินพิพาทเป็นที่สาธารณประโยชน์เมื่อจำเลยได้ครอบครองและทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทโดยปลูกต้นมะพร้าวและมะขามเทศมาตั้งแต่ พ.ศ. 2495 และปลูกบ้านอยู่อาศัยในที่ดินพิพาทเมื่อ พ.ศ. 2530จึงเป็นการที่จำเลยเข้าครอบครองทำประโยชน์และอยู่อาศัยในที่ดินพิพาทไม่เป็นการบุกรุก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3541/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายหินเพื่อหลีกเลี่ยงกฎหมายอนุญาตระเบิดหินเป็นโมฆะ, เช็คไม่มีมูลหนี้
โจทก์เป็นผู้ได้รับอนุญาตจากทางราชการให้ประกอบกิจการ ระเบิดและย่อยหินในที่ดินของรัฐ และมาตรา 9 แห่ง ประมวลกฎหมายที่ดินไม่มีข้อความที่อนุญาตให้ผู้รับใบอนุญาต โอนสิทธิแก่ผู้อื่นได้ โจทก์ผู้รับใบอนุญาตจึงต้องทำเอง โดยเฉพาะตัวและผู้ที่ฝ่าฝืนบทบัญญัติในมาตรา 9 คือผู้ที่ เข้าไปประกอบกิจการระเบิดและย่อยหินโดยไม่ได้รับอนุญาต จากพนักงานเจ้าหน้าที่จะมีโทษทางอาญาตามมาตรา 108 ทวิ เมื่อตามสัญญาซื้อขายหินระหว่างโจทก์จำเลยมีข้อตกลงให้จำเลย ระเบิดและย่อยหินเองโดยจำเลยมิได้เป็นผู้ได้รับอนุญาตจาก พนักงานเจ้าหน้าที่ให้ดำเนินการ ดังนี้ หากจำเลยเข้าไป ดำเนินการก็ย่อมเข้าข่ายเป็นความผิดตามบทกฎหมายดังกล่าว ทั้งกรณีนี้อธิบดีกรมที่ดินมีอำนาจสั่งเพิกถอนในอนุญาตของโจทก์เสียได้ เนื่องจากตามเงื่อนไขการอนุญาตให้ระเบิดและย่อยหินระบุว่า ผู้ได้รับอนุญาตต้องดำเนินการด้วยตนเองจะให้ผู้อื่นดำเนินการหรือโอนสิทธิให้ผู้อื่นไม่ได้ นอกจากนี้สัญญาซื้อขายหินได้กำหนดให้ผู้ซื้อจะต้องเข้าไป ทำการระเบิดและย่อยหินเองภายในระยะเวลาตามใบอนุญาตภาระภาษีต่าง ๆ ผู้ซื้อต้องรับผิดชอบ รวมทั้งค่าใช้จ่ายและค่าธรรมเนียมที่ต้องเสียแก่หน่วยราชการที่เกี่ยวข้องและหน้าที่ต่าง ๆ ของโจทก์ที่ทางราชการระบุไว้ในใบอนุญาตที่สำคัญ ๆ ทุกข้อก็นำมาระบุไว้ในสัญญาให้เป็นหน้าที่ของผู้ซื้อ สัญญาซื้อขายหินดังกล่าวเป็นเรื่องที่ทำขึ้นเพื่อหลีกเลี่ยงกฎหมายและข้อกำหนดห้ามโอนสิทธิตามใบอนุญาตระเบิด และย่อยหิน โดยโจทก์จำเลยมีเจตนาแท้จริงที่จะโอนสิทธิ ตามใบอนุญาตระเบิดและย่อยหินแก่กัน จึงเป็นสัญญาที่มี วัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย ขัดต่อ ความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ย่อมตกเป็นโมฆะ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 150 การออกเช็คพิพาท เพื่อชำระหนี้ตามสัญญาดังกล่าว จึงมิใช่เป็นการออกเช็ค เพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย การกระทำ ของจำเลยไม่อาจเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิด อันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 4

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3541/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายหินเพื่อหลีกเลี่ยงกฎหมายห้ามโอนสิทธิใบอนุญาตระเบิดหิน เป็นโมฆะ ทำให้เช็คที่ออกมาชำระหนี้ไม่มีผล
โจทก์เป็นผู้ได้รับอนุญาตจากทางราชการให้ประกอบกิจการ ระเบิดและย่อยหินในที่ดินของรัฐ และมาตรา 9 แห่งประมวลกฎหมายที่ดินไม่มีข้อความที่อนุญาตให้ผู้รับใบอนุญาต โอนสิทธิแก่ผู้อื่นได้ โจทก์ผู้รับใบอนุญาตจึงต้องทำเอง โดยเฉพาะตัว และผู้ที่ฝ่าฝืนบทบัญญัติในมาตรา 9 คือ ผู้ที่เข้าไปประกอบกิจการระเบิดและย่อยหินโดยไม่ได้ รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่จะมีโทษทางอาญาตามมาตรา 108 ทวิ เมื่อตามสัญญาซื้อขายหินระหว่างโจทก์จำเลยมีข้อตกลง ให้จำเลยระเบิดและย่อยหินเอง โดยจำเลยมิได้เป็น ผู้ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ให้ดำเนินการ ดังนี้หากจำเลยเข้าไปดำเนินการก็ย่อมเข้าข่ายเป็นความผิดตามบทกฎหมายดังกล่าว ทั้งกรณีนี้อธิบดีกรมที่ดินมีอำนาจสั่งเพิกถอนใบอนุญาตของโจทก์เสียได้ เนื่องจากตามเงื่อนไขการอนุญาตให้ระเบิดและย่อยหินระบุว่า ผู้ได้รับอนุญาตต้องดำเนินการด้วยตนเอง จะให้ผู้อื่นดำเนินการหรือโอนสิทธิให้ผู้อื่นไม่ได้ นอกจากนี้สัญญาซื้อขายหินได้กำหนดให้ผู้ซื้อจะต้องเข้าไปทำการระเบิดและย่อยหินเองภายในระยะเวลาตามใบอนุญาต ภาระภาษีต่าง ๆ ผู้ซื้อต้องรับผิดชอบรวมทั้งค่าใช้จ่ายและค่าธรรมเนียมที่ต้องเสียแก่หน่วยราชการที่เกี่ยวข้อง และหน้าที่ต่าง ๆ ของโจทก์ที่ทางราชการระบุไว้ในใบอนุญาตที่สำคัญ ๆ ทุกข้อก็นำมาระบุไว้ในสัญญาให้เป็นหน้าที่ของผู้ซื้อ สัญญาซื้อขายหินดังกล่าวเป็นเรื่องที่ทำขึ้นเพื่อหลีกเลี่ยงกฎหมายและข้อกำหนดห้ามโอนสิทธิตามใบอนุญาตระเบิดและย่อยหิน โดยโจทก์จำเลยมีเจตนาแท้จริงที่จะโอนสิทธิตามใบอนุญาตระเบิดและย่อยหินแก่กันจึงเป็นสัญญาที่มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนย่อมตกเป็นโมฆะตามสัญญาดังกล่าวจึงมิใช่เป็นการออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย การกระทำของจำเลยไม่อาจเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 4

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 31/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำผิด พ.ร.บ.ที่ดิน: ช่วงเวลาสำคัญและขั้นตอนการแจ้งความผิดตามมาตรา 108 vs. 108 ทวิ
ประมวลกฎหมายที่ดินฯ มาตรา 108 และมาตรา 108 ทวิบัญญัติถึงผู้กระทำการฝ่าฝืนมาตรา 9 ออกเป็น 2 ช่วงระยะเวลา คือ หากผู้ฝ่าฝืนมาตรา 9 อยู่ก่อนวันที่ 4 มีนาคม 2515แล้ว พนักงานเจ้าหน้าที่หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจะต้องปฏิบัติตามขั้นตอนตามที่มาตรา 108 บัญญัติไว้ก่อนผู้ฝ่าฝืนจึงมีความผิดตามมาตรา 108 แต่ถ้ากระทำการฝ่าฝืนมาตรา 9 ตั้งแต่วันที่ 4 มีนาคม 2515 เป็นต้นไป ผู้ฝ่าฝืนตามมาตรา 108 ทวิ มีความผิดทันที โจทก์ฟ้องว่าเมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2533 จำเลย ปลูกบ้านในที่ดินสาธารณประโยชน์ตามฟ้อง อันเป็น สาธารณสมบัติของแผ่นดินซึ่งประชาชนใช้ร่วมกันและ เป็นที่ดินของรัฐ ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายที่ดินฯ มาตรา 9,108,108 ทวิ เมื่อได้ความว่าจำเลยปลูกบ้าน ตามฟ้องก่อนวันที่ 4 มีนาคม 2515 จำเลยจึงไม่มีความผิด ตามประมวลกฎหมายที่ดินฯ มาตรา 9,108 ทวิ แม้อาจเป็น ความผิดตามมาตรา 9,108 และโจทก์ได้อ้างมาตรา 108 มาด้วย แต่โจทก์ไม่ได้บรรยายถึงข้อเท็จจริงดังเช่นที่ปรากฏ ในทางพิจารณามาในฟ้อง จึงไม่ใช่เรื่องที่โจทก์ประสงค์ ให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 192 วรรคสี่ จึงไม่อาจลงโทษจำเลยตามมาตรา 108 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 31/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำผิด พ.ร.บ.ที่ดิน: ช่วงเวลาสำคัญในการพิจารณาความผิดตามมาตรา 9, 108 และ 108 ทวิ
ประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 108 และมาตรา 108 ทวิบัญญัติถึงผู้กระทำการฝ่าฝืนมาตรา 9 ออกเป็น 2 ช่วงระยะเวลา คือ หากผู้ฝ่าฝืนมาตรา 9 อยู่ก่อน วันที่ 4 มีนาคม 2515 แล้ว พนักงานเจ้าหน้าที่หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจะต้อง ปฏิบัติตามขั้นตอนตามที่มาตรา 108 บัญญัติไว้ก่อน ผู้ฝ่าฝืน หรือไม่ปฏิบัติตามระเบียบจึงมีความผิดตามมาตรา 108 แต่ถ้า กระทำการฝ่าฝืนมาตรา 9 ตั้งแต่วันที่ 4 มีนาคม 2515 เป็นต้นไป แล้ว ผู้ฝ่าฝืนตามมาตรา 108 ทวิ มีความผิดทันทีโดยพนักงาน เจ้าหน้าที่ไม่ต้องปฏิบัติตามขั้นตอนใด ๆ ทั้งสิ้น บทบัญญัติ ทั้งสองมาตรานี้จึงบัญญัติเกี่ยวกับการกระทำผิด มาตรา 9 ไว้ต่างกัน โจทก์ฟ้องว่าเมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2533 เวลากลางวันและ กลางคืนติดต่อกัน จำเลยปลูกบ้านในที่ดินสาธารณประโยชน์ อันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินซึ่งประชาชนใช้ร่วมกัน และเป็นที่ดินของรัฐ ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 9,108,108 ทวิ ข้อเท็จจริงได้ความว่า จำเลยปลูกบ้าน ตามฟ้องก่อนวันที่ 4 มีนาคม 2515 แม้ข้อเท็จจริงจะฟังว่า ที่ดินที่จำเลยปลูกบ้านบางส่วนเป็นทางสาธารณประโยชน์ อันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่ประชาชนใช้ร่วมกัน โดยจำเลยไม่มีสิทธิครอบครองและไม่ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ จำเลยก็ไม่มีความผิดตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 9,108 ทวิ หากเป็นความผิดก็อาจเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 9,108 และตามข้อเท็จจริงที่โจทก์ กล่าวในฟ้อง โจทก์ไม่ได้บรรยายถึงข้อเท็จจริงดังเช่นที่ปรากฏ ในทางพิจารณาจึงไม่ใช่เรื่องที่โจทก์ประสงค์ให้ลงโทษตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคสี่ จึงไม่อาจ ลงโทษจำเลยตามมาตรา 108 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5552/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบุกรุกที่ดินสาธารณสมบัติ จำเลยไม่ปฏิบัติตามคำสั่งเจ้าพนักงาน ศาลแก้โทษปรับแทนจำคุก
การที่จำเลยยื่นคำร้องขอถอนคำให้การเดิมและขอให้การรับสารภาพในชั้นฎีกามีผลเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การในชั้นฎีกา เป็นการต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 163 วรรคสองที่บัญญัติให้กระทำได้ก่อนศาลชั้นต้นพิพากษาส่วนที่จำเลย ขอให้รอการลงโทษก็เป็นดุลพินิจที่ศาลจะสั่งในคำพิพากษาต่อไป ศาลฎีกาจึงให้ยกคำร้องนี้ ที่ดินที่เกิดเหตุเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่ประชาชนใช้ร่วมกัน จำเลยทราบดีว่าที่ดินของจำเลยตามโฉนดที่ดินมีเพียง 2 ไร่ โดยด้านทิศตะวันออกจดภูเขาด้านทิศเหนือจดถนนสาธารณประโยชน์และภูเขา ตามที่ระบุไว้ในโฉนดที่ดินดังกล่าว ขณะเจ้าหน้าที่บริหารที่ดินอำเภอไปตรวจสอบที่ดินที่เกิดเหตุตามคำสั่งของนายอำเภอพบมีการบุกรุกไถภูเขาซึ่งอยู่ด้านทิศเหนือและด้านทิศตะวันออกและตามบันทึกที่โจทก์และจำเลยนำรังวัด ที่ดินตามคำสั่งศาลชั้นต้น ปรากฏว่าจำเลยนำชี้ที่ดินของจำเลยเพียง 3 ด้าน โดยจำเลยทราบดีว่าหากจำเลยนำชี้ที่ดินของจำเลยทั้งสี่ด้าน ที่ดินของจำเลยจะมีเนื้อที่มากกว่าที่ระบุไว้ในโฉนดที่ดินของจำเลยนอกจากนี้หลังจากเจ้าหน้าที่ตรวจสอบพบว่า จำเลยบุกรุกที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินแล้ว ทางอำเภอแจ้งให้จำเลยรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกไปจากที่ดินที่เกิดเหตุจำเลยทราบแล้วไม่ยอมรื้อถอนและไม่ยอมออกไป พฤติการณ์ของจำเลยแสดงว่าจำเลยมีเจตนาบุกรุกที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน เมื่อจำเลยรู้อยู่แล้วว่าที่ดินที่พิพาทเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินการที่จำเลยไม่ยอมรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างและออกไปจากที่ดินที่พิพาทตามคำสั่งของนายอำเภอซึ่งสั่งการตามอำนาจที่มีกฎหมายให้ไว้ แม้จำเลยจะอ้างว่าที่ดินดังกล่าวเป็นของจำเลยก็ไม่ใช่เหตุหรือข้อแก้ตัวอันสมควรที่จะทำให้จำเลยพ้นจากความผิดฐานบุกรุกที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 368

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4911/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบุกรุกสาธารณสมบัติของแผ่นดินและการพิสูจน์การครอบครองหลังประกาศ คณะปฏิวัติ
ความผิดฐานบุกรุกตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 365(2)(3) ประกอบมาตรา 362 กฎหมายมุ่งลงโทษผู้ที่บุกรุกเข้าไปใน อสังหาริมทรัพย์ของผู้อื่น ไม่ใช่เป็นบทบัญญัติที่จะลงโทษผู้บุกรุก ที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินแต่อย่างใด ส่วนการกระทำอันเป็นการฝ่าฝืนประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 9(1) และมีโทษตามมาตรา 108 ทวิ วรรคสอง นั้นจะต้องเป็นการฝ่าฝืนนับแต่วันที่ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 96ใช้บังคับ คือวันที่ 4 มีนาคม 2515 เป็นต้นไป เมื่อพยานหลักฐานโจทก์ไม่มีน้ำหนักเพียงพอที่จะฟังว่า จำเลยที่ 1 ได้เข้าไปยึดถือครอบครองที่ดินสาธารณประโยชน์ภายหลังวันที่ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 96 มีผลใช้บังคับ จึงไม่อาจลงโทษจำเลยที่ 1 ตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 9(1) ประกอบมาตรา 108 ทวิ วรรคสอง ได้ โจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องด้วยว่าพนักงานเจ้าหน้าที่หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายได้แจ้งเป็นหนังสือให้จำเลยที่ 1 ปฏิบัติตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนดแล้วจำเลยที่ 1 เพิกเฉย หรือไม่ปฏิบัติให้ถูกต้องตามระเบียบ และพนักงานเจ้าหน้าที่มีคำสั่งเป็นหนังสือให้จำเลยที่ 1 ออกจากที่ดินภายในระยะเวลาที่กำหนดแล้วจำเลยที่ 1 ไม่ปฏิบัติตามคำสั่ง ฟ้องของโจทก์จึงขาดสาระสำคัญไม่ครบองค์ประกอบความผิดตามประมวลกฎหมายที่ดินตามมาตรา 9(1),108 ที่จะลงโทษจำเลยที่ 1 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3750/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ที่ดินพิพาทมิได้เป็นที่สาธารณะ การครอบครองไม่ผิดตามประมวลกฎหมายที่ดิน
ที่ดินพิพาทไม่ได้เป็นที่สาธารณประโยชน์มาแต่เดิม แต่กรณีเป็นเรื่องที่ ท. ผู้ใหญ่บ้านกับคณะกรรมการหมู่บ้านต้องการจะให้เป็นที่สาธารณะเมื่อปี 2525 และทางราชการยังไม่ได้มีการสอบเขตที่แน่นอน หลังจาก ท. ได้ประกาศให้เป็นที่ดินสาธารณะแล้ว ก็ถูกส.คัดค้านแม้จะมีการไกล่เกลี่ยกันส. ก็ไม่ยินยอมและไม่ปรากฏว่า ส. ออกจากที่ดินพิพาทตามคำสั่งของอำเภอแต่อย่างใดต่อมาเมื่อมีการสร้างวัดในที่ดินพิพาทอีก ภริยาจำเลยซึ่งเป็นบุตรส.ทำการคัดค้านจนไม่สามารถสร้างวัดได้ ดังนี้เห็นได้ว่านับแต่ท.ได้ประกาศจะให้ที่ดินพิพาทเป็นที่สาธารณะฝ่ายจำเลยก็ได้ทำการคัดค้านมาโดยตลอด และยังไม่ได้มีการดำเนินคดีทางแพ่งพิสูจน์สิทธิในที่ดินพิพาทกันให้เสร็จเด็ดขาดแต่อย่างใด เมื่อข้อเท็จจริงเกี่ยวกับที่ดินพิพาทฟังไม่ได้ว่าเป็นที่สาธารณะการกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 9,108 ทวิ วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2366/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลกระทบพระราชกฤษฎีกาต่อความผิดบุกรุกที่ดินสาธารณะ และการพิจารณาโทษตามกฎหมายที่ใช้บังคับ
ที่ดินพิพาทเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันแต่ระหว่างการพิจารณาคดีของศาลได้มีพระราชกฤษฎีกาถอนสภาพที่ดินพิพาทดังนั้น ที่ดินพิพาทย่อมไม่เป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน นับแต่วันที่พระราชกฤษฎีกามีผลใช้บังคับแต่ที่ดินพิพาทยังคงมีสภาพเป็นที่ดินอันเป็นทรัพย์สินของแผ่นดินหาได้เปลี่ยนแปลงตกไปเป็นกรรมสิทธิ์ของบุคคลหนึ่งบุคคลใดไม่จำเลยทั้งหกบุกรุกเข้าไปยึดถือครอบครองที่ดินพิพาท จึงยังมีความผิดอยู่ แต่เมื่อที่ดินพิพาทมิได้มีสภาพเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน จึงเป็นกรณีกฎหมายที่ใช้ขณะกระทำความผิดแตกต่างกับกฎหมายที่ใช้ภายหลังการกระทำความผิดต้องใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่ผู้กระทำความผิดไม่ว่าทางใดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3 จำเลยทั้งหกจึงไม่ต้องรับโทษตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 108 ทวิ วรรคสอง แต่ต้องรับโทษตามมาตรา 108 ทวิ วรรคหนึ่ง ซึ่งมีอัตราโทษเบากว่า พระราชกฤษฎีกาดังกล่าวหาได้บัญญัติให้การกระทำเช่นนั้นไม่เป็นความผิดไม่จึงไม่มีผลให้จำเลยทั้งหกพ้นจากการเป็นผู้กระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 2 การที่นายอำเภอซึ่งเป็นเจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่ดูแลที่ดินพิพาทดังกล่าวตามกฎหมายมีหนังสือสั่งให้จำเลยที่ 4 และที่ 6 ออกไปจากที่ดินพิพาทภายในกำหนดจำเลยที่ 4 และที่ 6 ทราบแล้วเพิกเฉยไม่ปฏิบัติตามโดยไม่มีเหตุและข้อแก้ตัวอันสมควรการกระทำของจำเลยที่ 4 และที่ 6 จึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา368 วรรคหนึ่ง ความผิดฐานไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 368 ศาลชั้นต้นลงโทษปรับจำเลยที่ 4และที่ 6 คนละ 400 บาท จึงเป็นคดีที่ต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 มาตรา 22 แต่เมื่อจำเลยที่ 4 และที่ 5อุทธรณ์รวมมากับความผิดฐานอื่นที่ไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงและศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโจทก์ในความผิดฐานนี้ซึ่งศาลอุทธรณ์มีอำนาจวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 185 โจทก์จึงมีสิทธิฎีกาในความผิดฐานนี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2311/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ที่ดินทุ่งเลี้ยงสัตว์สาธารณะ: ศาลมีอำนาจวินิจฉัยแม้ยังมิได้มีพระราชกฤษฎีกา และการเปลี่ยนแปลงสถานะที่ดินหลังกระทำผิดไม่ทำให้ความผิดหมดไป
ที่ดินซึ่งเป็นที่สำหรับพลเมืองใช้เป็นทุ่งเลี้ยงสัตว์ร่วมกันมาก่อน ย่อมมีสภาพเป็นที่ดินอันเป็นสาธารณประโยชน์ของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1304(2) โดยไม่จำต้องออกเป็นพระราชกฤษฎีกาประกาศเขตที่ดินเพื่อสงวนไว้เป็นที่ดินสาธารณะ ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการหวงห้ามที่ดินรกร้างว่างเปล่าอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน พ.ศ. 2478 มาตรา 4,5 อีก โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทั้งสองเข้าไปยึดถือครอบครองที่ดินของรัฐอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน อันเป็นการฝ่าฝืนประมวลกฎหมายที่ดินฯ มาตรา 9,108 ทวิ ศาลที่มีอำนาจชำระคดีอาญาย่อมมีอำนาจที่จะวินิจฉัยว่า ที่ดินตามฟ้องเป็นที่ดินของรัฐอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันหรือไม่ เพราะเป็นองค์ความผิดตามบทมาตราที่โจทก์อ้าง ไม่จำต้องเสนอเป็นคดีแพ่งให้ศาลวินิจฉัยชี้ขาดเสียก่อน จึงไม่เป็นการพิพากษาเกินไปจากที่โจทก์กล่าวในฟ้อง ส่วนการที่จะได้มีการดำเนินการตามกฎกระทรวงฉบับที่ 26(พ.ศ. 2516) ซึ่งออกตามความในพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดินหรือไม่ ไม่เกี่ยวข้องหรือกระทบต่ออำนาจฟ้องของโจทก์ แม้ระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น จะมีพระราชกฤษฎีกาถอนสภาพที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันในท้องที่ตามฟ้องก็ตาม ก็เพียงแต่มีผลทำให้ที่ดินที่จำเลยเข้าไปยึดถือครอบครองนั้น ไม่มีสภาพเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับประชาชนใช้ร่วมกันต่อไปตั้งแต่วันที่พระราชกฤษฎีกาดังกล่าวใช้บังคับเท่านั้น มิใช่เป็นกฎหมายที่บัญญัติให้การเข้าไปยึดถือ ครอบครองที่ดินของรัฐซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับประชาชนใช้ร่วมกันไม่เป็นความผิดต่อไปตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 2
of 4