คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
พัลลภ พิสิษฐ์สังฆการ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 606 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1439/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความสัมพันธ์ฉันชู้สาวกับเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี ไม่เข้าข่ายพรากเด็กเพื่อการอนาจาร หากเด็กไปโดยสมัครใจ
เด็กหญิงม. อายุ 14 ปี รักใคร่ฉันชู้สาวกับจำเลยมาก่อนและสมัครใจไปกินอยู่หลับนอนกับจำเลยซึ่งยังไม่มีภรรยาที่บ้านญาติจำเลยเป็นเวลาประมาณ 1 เดือนเศษ และได้เสียกับจำเลยหลายครั้ง เมื่อบิดามารดาตามไปพบบอกให้เด็กหญิงม.ไปเรียนหนังสือต่อ เด็กหญิงม.ก็ยอมกลับบ้านโดยมีจำเลยติดตามมาด้วย มารดาจำเลยมาสู่ขอเด็กหญิงม.แต่ตกลงกับบิดาเด็กหญิงม.เรื่องค่าสินสอดกันไม่ได้การกระทำของจำเลยไม่เป็นพรากเด็กอายุไม่เกิน 15 ปีไปเสียจากบิดามารดาเพื่อการอนาจาร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1367/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ประกาศนียบัตรผู้ใหญ่ไม่ใช่เอกสารสิทธิ แต่เป็นเอกสารราชการ, ศาลมีอำนาจลดโทษแม้ไม่ฎีกา
ประกาศนียบัตรหลักสูตรการศึกษาผู้ใหญ่แบบเบ็ดเสร็จขั้นพื้นฐาน (ประถมศึกษาปีที่ 4) เป็นเอกสารราชการที่แสดงว่า ผู้ได้รับประกาศนียบัตรนั้นจบการศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ 4ไม่ได้เป็นหลักฐานแห่งการก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวนหรือระงับซึ่งสิทธิ ประกาศนียบัตรดังกล่าวจึงเป็นเอกสารราชการ แต่ไม่ใช่เอกสารสิทธิ
ข้อนำสืบของจำเลยเป็นประโยชน์แก่การพิจารณาในชั้นอุทธรณ์ มีเหตุสมควรลดโทษให้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 แม้จำเลยที่ 1 จะไม่ฎีกาศาลฎีกาก็มีอำนาจวินิจฉัยลดโทษให้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1367/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ประกาศนียบัตรผู้ใหญ่ไม่ใช่เอกสารสิทธิปลอม การปลอมแปลงเอกสารราชการแต่ไม่เข้าข่ายเอกสารสิทธิ
ประกาศนียบัตรหลักสูตรการศึกษาผู้ใหญ่แบบเบ็ดเสร็จขั้นพื้นฐาน(ประถมศึกษาปีที่ 4) เป็นเอกสารราชการที่แสดงว่า ผู้ได้รับประกาศนียบัตรนั้นจบการศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ไม่ได้เป็นหลักฐานแห่งการก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวนหรือระงับซึ่งสิทธิประกาศนียบัตรดังกล่าวจึงเป็นเอกสารราชการ แต่ไม่ใช่เอกสารสิทธิ ข้อนำสืบของจำเลยเป็นประโยชน์แก่การพิจารณาในชั้นอุทธรณ์มีเหตุสมควรลดโทษให้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 แม้จำเลยที่ 1 จะไม่ฎีกาศาลฎีกาก็มีอำนาจวินิจฉัยลดโทษให้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1334/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาความเหมือน/คล้ายของเครื่องหมายการค้าต้องพิจารณาทั้งหมดประกอบกัน ไม่ถือเพียงบางส่วน
การพิจารณาว่าเครื่องหมายการค้าใดเหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าอื่น จนนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชนหรือไม่นั้นจะต้องพิจารณาส่วนประกอบของเครื่องหมายการค้าทั้งหมดรวมกัน แม้เครื่องหมายการค้าคำว่า "DUNLOPILLO" ของโจทก์และเครื่องหมายการค้าคำว่า "DELIGHTPILLO"ของจำเลยเป็นอักษรโรมันด้วยกัน มีลักษณะลีลาการเขียนคล้ายกัน แต่เครื่องหมายการค้าของโจทก์ประกอบด้วยอักษรโรมัน 10 ตัว ในขณะที่เครื่องหมายการค้าของจำเลย ประกอบด้วยอักษรโรมัน 12 ตัว อยู่ในกรอบรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าแต่ตรงเหลี่ยมประดิษฐ์ให้เป็นรูปมน เครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลย แม้ต่างออกเสียงเป็นสี่พยางค์ โดยออกเสียงพยางค์ท้ายตรงกันว่า "พิลโล" ก็ตาม แต่เครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยสองพยางค์แรกอ่านออกเสียงต่างกัน โดยเครื่องหมายการค้าของโจทก์สองพยางค์แรกอ่านออกเสียงว่า "ดันล๊อป" ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยอ่านออกเสียงว่า "ดีไลท์" ซึ่งเมื่ออ่านเครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยทั้งสี่พยางค์รวมกันแล้วปรากฏว่าเครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยอ่านออกเสียงต่างกันมากอย่างเห็นได้ชัด ลำพังแต่อักษรตัวแรกในแต่ละพยางค์ ประกอบด้วยอักษรตัวเดียวกันไม่อาจทำให้หลงผิดแต่อย่างใด เครื่องหมายการค้าคำว่า "D" ของโจทก์ เป็นอักษรโรมันตัวเดียวอยู่ในวงกลมซึ่งมีลูกศรชี้ไปทางขวามือ ส่วนเครื่องหมายการค้าคำว่า "D.R." ของจำเลยเป็นอักษรโรมัน 2 ตัว อยู่ในวงกลม หลังอักษรแต่ละตัวมีเครื่องหมายจุด (.) รูปรอยประดิษฐ์อักษรตัวดีมีลักษณะลีลาการเขียนที่แตกต่างกันอย่างชัดแจ้ง เครื่องหมายการค้าของโจทก์กับเครื่องหมายการค้าของจำเลยไม่เหมือนหรือคล้ายกันอันจะทำให้สาธารณชนเข้าใจได้ว่า สินค้าของจำเลยเป็นสินค้าของโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1228/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความร่วมมือในการพยายามชิงทรัพย์: การกระทำสนับสนุนและอยู่ในที่เกิดเหตุพร้อมช่วยเหลือ
คำให้การรับสารภาพในชั้นสอบสวนของจำเลยที่ให้ด้วยความสมัครใจเป็นข้อสนับสนุนคำเบิกความของผู้เสียหายให้มีน้ำหนักรับฟังได้ จำเลยกับ ว. คบคิดกันจะขอเงินผู้เสียหาย 20 บาท หากผู้เสียหายไม่ให้จะใช้มีดจี้ขู่เอาเงิน ดังนั้นการที่จำเลยบอกให้ว. ใช้มีดจี้ขู่ผู้เสียหายหลังจากที่ผู้เสียหายไม่ยอมให้เงินตามที่จำเลยกับ ว. พูดขอถือว่าเป็นการกระทำส่วนหนึ่งของการที่ว. ใช้มีดจี้ขู่ผู้เสียหายตามที่ได้คบคิดกันมาก่อนแล้ว และจำเลยยังอยู่ในที่เกิดเหตุในลักษณะพร้อมจะช่วยเหลือ ว. แต่เมื่อจำเลยไม่ได้ทรัพย์สินไปจากผู้เสียหาย จำเลยจึงมีความผิดฐานร่วมกับว. พยายามชิงทรัพย์ผู้เสียหาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1141/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความประมาททั้งสองฝ่ายในอุบัติเหตุทางรถยนต์ ทำให้ค่าเสียหายตกเป็นพับ
ช.ขับรถยนต์ของโจทก์แซงรถผู้อื่นใกล้กับสี่แยกแล้วขับเข้าไปในบริเวณสี่แยกด้วยความเร็ว นับว่าเป็น การกระทำโดยประมาท สำหรับจำเลยที่ 1เมื่อขับรถมาถึงสี่แยกก็ชอบที่จะลดความเร็วของรถลงและตรวจดูให้ปลอดภัยเสียก่อนที่จะขับรถเข้าไปบริเวณสี่แยกแต่จำเลยที่ 1 กลับขับรถด้วยความเร็วโดยประมาทเข้าไปในสี่แยกที่เกิดเหตุ จึงเกิดชนกับรถยนต์ของโจทก์นับได้ว่าทั้งช.และจำเลยที่ 1 ต่างขับรถด้วยความประมาทไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากันเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่รถยนต์ของโจทก์และรถยนต์ของจำเลยที่ 2ซึ่งเป็นนายจ้างของจำเลยที่ 1 ค่าเสียหายจึงตกเป็นพับทั้งสองฝ่าย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1140/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินฉ้อฉลเจ้าหนี้ ผู้รับโอนรู้ถึงการทำให้เจ้าหนี้เสียเปรียบ
ขณะโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้จำเลยที่ 2 จำเลยที่ 1 ยังเป็นหนี้เบิกเงินเกินบัญชีโจทก์อยู่ไม่มีทรัพย์สินพอจะชำระหนี้แก่โจทก์เช่นนี้เห็นได้ว่า จำเลยที่ 1 ย่อมรู้ดีว่าการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้แก่จำเลยที่ 2 ย่อมทำให้โจทก์ไม่ได้รับชำระหนี้จากจำเลยที่ 1แม้ในขณะที่จำเลยที่ 1 โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้แก่จำเลยที่ 2โจทก์จะยังไม่ได้ฟ้องให้จำเลยที่ 1 และผู้ค้ำประกันชำระหนี้เบิกเงินเกินบัญชีก็ถือว่าจำเลยที่ 1 รู้ว่าการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้จำเลยที่ 2 จะเป็นทางให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้เสียเปรียบการกระทำของจำเลยที่ 1 จึงเป็นการฉ้อฉลโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 237 จำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 มีความสนิทสนมกันมาก จำเลยที่ 2จึงน่าจะทราบถึงฐานะการเงินของจำเลยที่ 1 ว่าขณะที่จำเลยที่ 1โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้แก่จำเลยที่ 2 นั้น จำเลยที่ 1 เป็นหนี้เบิกเงินเกินบัญชีโจทก์อยู่ถือว่าขณะที่รับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินจากจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 รู้ว่าการที่จำเลยที่ 1 โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้แก่จำเลยที่ 2 ทำให้โจทก์เสียเปรียบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1127/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสมรสโมฆะ: ศาลฟังข้อเท็จจริงใหม่ได้ แม้มีคดีอาญาเกี่ยวเนื่อง
เมื่อคดีอาญาที่จำเลยทั้งสองถูกฟ้องเป็นเรื่องแจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงาน ส่วนคดีนี้เป็นคดีที่โจทก์ฟ้องขอให้ศาลมีคำพิพากษาว่าการสมรสของจำเลยทั้งสองเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ซึ่งไม่ต้องอาศัยมูลความผิดทางอาญาฐานแจ้งความเท็จแต่อย่างใด กรณีจึงไม่ใช่คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา ศาลไม่จำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคดีอาญาและมีอำนาจฟังข้อเท็จจริงใหม่ตามที่ปรากฏในสำนวนคดีแพ่งได้
เมื่อพฤติการณ์แห่งคดีปรากฏว่าช่วงเกิดเหตุจำเลยที่ 2 ยังอยู่กินฉันสามีภรรยากับนาย บ. ส่วนจำเลยที่ 1 มีฐานะเป็นเพียงลูกจ้างของบุคคลทั้งสอง การที่จำเลยทั้งสองร่วมกันไปขอจดทะเบียนสมรสโดยแจ้งต่อเจ้าพนักงานว่ามีเจตนาจะสมรสกันและต่างไม่เคยมีคู่สมรสมาก่อนจึงผิดไปจากเจตนาที่แท้จริง และไม่น่าเชื่อว่าจำเลยทั้งสองยินยอมเป็นสามีภริยากันอันเป็นเงื่อนไขแห่งการสมรสตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1458 โจทก์จึงมีสิทธิร้องขอให้ศาลพิพากษาว่าการสมรสระหว่างจำเลยทั้งสองเป็นโมฆะได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1127/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสมรสโมฆะจากเจตนาไม่ตรงกันและมีคู่สมรสแล้ว แม้ไม่มีคดีอาญาเกี่ยวเนื่อง
เมื่อคดีอาญาที่จำเลยทั้งสองถูกฟ้องเป็นเรื่องแจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงาน ส่วนคดีนี้เป็นคดีที่โจทก์ฟ้องขอให้ศาลมีคำพิพากษาว่าการสมรสของจำเลยทั้งสองเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ซึ่งไม่ต้องอาศัยมูลความผิดทางอาญาฐานแจ้งความเท็จแต่อย่างใด กรณีจึงไม่ใช่คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา ศาลไม่จำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคดีอาญาและมีอำนาจฟังข้อเท็จจริงใหม่ตามที่ปรากฏในสำนวนคดีแพ่งได้ เมื่อพฤติการณ์แห่งคดีปรากฏว่าช่วงเกิดเหตุจำเลยที่ 2 ยังอยู่กินฉันสามีภรรยากับนายบ.ส่วนจำเลยที่ 1 มีฐานะเป็นเพียงลูกจ้างของบุคคลทั้งสอง การที่จำเลยทั้งสองร่วมกันไปขอจดทะเบียนสมรสโดยแจ้งต่อเจ้าพนักงานว่ามีเจตนาจะสมรสกันและต่างไม่เคยมีคู่สมรสมาก่อนจึงผิดไปจากเจตนาที่แท้จริง และไม่น่าเชื่อว่าจำเลยทั้งสองยินยอมเป็นสามีภริยากันอันเป็นเงื่อนไขแห่งการสมรสตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1458 โจทก์จึงมีสิทธิร้องขอให้ศาลพิพากษาว่าการสมรสระหว่างจำเลยทั้งสองเป็นโมฆะได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1107/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อโต้แย้งสิทธิเครื่องหมายการค้า: อำนาจฟ้องและการจดทะเบียน
การที่นายทะเบียนเครื่องหมายการค้า แจ้งให้โจทก์ทราบเป็นหนังสือว่าไม่อาจรับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าให้โจทก์ได้เนื่องจากเครื่องหมายการค้าคำว่า "JUNIORGAULTIER" ที่โจทก์ยื่นคำขอจดทะเบียน เหมือนหรือเกือบเหมือนกับเครื่องหมายการค้าคำว่า "JeanPaulGAULTIER" และคำว่า "J.P.GAULTIER" ซึ่งจำเลยนำมายื่นคำขอจดทะเบียนไว้ กรณีจึงถือได้ว่ามีข้อโต้แย้งสิทธิของโจทก์แล้วว่า โจทก์หรือจำเลยมีสิทธิที่จะได้รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามคำขอของตน โจทก์จึงมีอำนาจที่จะเสนอคดีของตนต่อศาลได้ ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474มาตรา 17 ประกอบด้วย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55
of 61