คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
พัลลภ พิสิษฐ์สังฆการ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 606 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 780/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ตัวการร่วมพยายามฆ่า: การปรึกษาหารือและไล่ติดตามผู้เสียหายบ่งชี้เจตนา
จำเลยที่ 2 รู้อยู่ว่าจำเลยที่ 1 มีอาวุธปืนติดตัวอยู่และได้มีการปรึกษาหารือกันก่อนตั้งแต่ในระหว่างที่จำเลยที่ 2 ลุกขึ้นไปพูดซุบซิบกับจำเลยที่ 1 ที่หน้าร้านที่เกิดเหตุประมาณ 2-3 ครั้งและเมื่อจำเลยทั้งสองหวนกลับมายังที่เกิดเหตุอีกเป็นครั้งที่สองปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ถืออาวุธปืนมาด้วย ซึ่งในขณะนั้นผู้เสียหายกับพวกยังคงยืนอยู่ในบริเวณที่เกิดเหตุ เมื่อผู้เสียหายกับพวกเห็นเช่นนั้นจึงวิ่งหลบหนีเข้าไปในวัด จำเลยทั้งสองยังไล่ตามผู้เสียหายกับพวกไปอีกเล็กน้อย จำเลยที่ 1 ก็ใช้อาวุธปืนยิงผู้เสียหาย 1 นัดแล้วจำเลยทั้งสองวิ่งหนีไปด้วยกัน ดังนี้ แม้จำเลยที่ 2 จะไม่ได้เป็นคนยิงผู้เสียหาย กรณีเช่นนี้ก็ถือได้ว่าจำเลยที่ 2 มีความผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่นโดยเป็นตัวการร่วมกระทำความผิดกับจำเลยที่ 1

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 634/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิครอบครองและการเป็นผู้เสียหายในคดีบุกรุก: กรณีมอบหมายดูแลสถานประกอบการ
พ่อตาผู้เสียหายมอบให้ผู้เสียหายกับภริยาเป็นผู้ดูแลร้านอาหารที่เกิดเหตุโดยผู้เสียหายพักอาศัยอยู่ที่ร้านด้วย จึงมีสิทธิครอบครองและเป็นผู้เสียหายตามกฎหมายในความผิดฐานบุกรุก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 628/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดกรรมเดียวกัน-สิทธิฟ้องระงับ: การแยกฟ้องคดีรับของโจรเมื่อจำเลยรับทรัพย์ในคราวเดียวกัน
โจทก์แยกฟ้องจำเลยเป็นสองคดี เพราะทรัพย์แต่ละคดีถูกลักคนละตอนกัน เมื่อได้ความว่าจำเลยรับทรัพย์ในทั้งสองคดีนั้นไว้ในคราวเดียวกัน และศาลได้มีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดลงโทษจำเลยฐานรับของโจรในคดีหนึ่งแล้ว สิทธินำคดีมาฟ้องจำเลยย่อมเป็นอันระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(4) เพราะเป็นความผิดกรรมเดียวกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 626/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนจากสัญญาประกันภัยค้ำจุน: ใช้มาตรา 882 ไม่ใช่ 448
ผู้ต้องเสียหายจากการกระทำละเมิดสามารถฟ้องให้จำเลยซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยของผู้กระทำละเมิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนได้โดยตรงตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 887 เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยของผู้ต้องเสียหายเข้าชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้ต้องเสียหายแล้ว ย่อมเข้ารับช่วงสิทธิจากผู้ต้องเสียหาย ฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยได้ในนามของโจทก์เองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 226 และ 880 และกรณีเช่นนี้เป็นการฟ้องโดยอาศัยมูลหนี้ตามสัญญาประกันภัยค้ำจุนต้องใช้อายุความตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 882 คือ 2 ปี นับแต่วันวินาศภัย จะนำอายุความละเมิดตาม มาตรา 448 มาใช้บังคับไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 617/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การมอบเงินให้ฝากบัญชีถือเป็นการส่งมอบทรัพย์ให้จำเลยครอบครอง หากนำไปเบียดบังเป็นความผิดฐานยักยอก
การที่โจทก์ร่วมมอบเงินให้แก่จำเลยเพื่อไปฝากเข้าบัญชีเป็นการส่งมอบทรัพย์ให้อยู่ในความยึดถือของจำเลยอันเป็นการมอบให้ครอบครองทรัพย์ดังกล่าวแทนโจทก์ร่วม จำเลยจึงอยู่ในฐานะครอบครองทรัพย์ของผู้อื่น เมื่อจำเลยเบียดบังเอาทรัพย์ดังกล่าวไปเป็นประโยชน์ส่วนตนโดยทุจริต จำเลยจึงมีความผิดฐานยักยอก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 532/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์ฎีกาที่ไม่ชอบ ศาลฎีกามีอำนาจยกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ได้ และประเด็นเรื่องอำนาจฟ้องและดอกเบี้ย
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องเฉพาะจำเลยที่ 2 ไปแล้ว การที่จำเลยทั้งสองอุทธรณ์รวมกันมาซึ่งอุทธรณ์แต่ละข้อเป็นการกล่าวอ้างเหตุเพื่อไม่ให้จำเลยทั้งสองต้องรับผิดตามฟ้อง ดังนี้ อุทธรณ์เฉพาะในส่วนของจำเลยที่ 2 ถือได้ว่าเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ได้โต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาของศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ชอบที่จะไม่รับวินิจฉัย การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 มาด้วยจึงเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาย่อมยกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในส่วนนี้เสียและในชั้นฎีกาจำเลยที่ 2 ยังยื่นฎีการวมกันมากับจำเลยที่ 1 อีกในปัญหาเดียวกันกับในชั้นอุทธรณ์ ดังนั้นฎีกาในส่วนของจำเลยที่ 2จึงเป็นฎีกาที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ต้องห้ามฎีกา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย ฟ้องที่ไม่มีลายมือชื่อผู้เรียงและพิมพ์นั้น เพียงเป็นฟ้องที่ไม่บริบูรณ์ ซึ่งศาลมีอำนาจที่จะสั่งให้แก้ไขให้บริบูรณ์ได้ได้ความว่า ทนายโจทก์ได้ลงลายมือชื่อในฐานะโจทก์ในคำฟ้องเพียงแต่ได้พิมพ์ชื่อ อ. ทนายความในสำนักงานเดียวกันในช่องผู้เรียงและพิมพ์โดยไม่ได้ลงลายมือชื่อ ซึ่งศาลชั้นต้นตรวจสั่งรับคำฟ้องไว้แล้ว และต่อมาทนายโจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำฟ้องว่า ทนายโจทก์เป็นผู้เรียงและพิมพ์ แม้ศาลชั้นต้นจะมิได้สั่งคำร้องดังกล่าวก็ถือได้ว่าโจทก์ได้แก้ไขคำฟ้องให้บริบูรณ์และชอบด้วยกฎหมายแล้ว จำเลยที่ 1 ให้การว่าจำเลยที่ 1 ไม่ต้องรับผิดชำระค่าดอกเบี้ยที่โจทก์เรียกร้องเพราะโจทก์ไม่มีนิติสัมพันธ์ใดกับจำเลยที่ 1จำเลยที่ 1 ได้หักกลบลบหนี้ที่มีอยู่กับโจทก์หมดสิ้นแล้ว ดังนี้คำให้การของจำเลยที่ 1 เป็นคำให้การปฏิเสธโดยชัดแจ้งว่าโจทก์ไม่มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยจากจำเลยที่ 1 เพราะโจทก์จำเลยที่ 1 ไม่มีหนี้สินต่อกัน คำให้การของจำเลยที่ 1 จึงก่อให้เกิดประเด็นว่าโจทก์มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยจากจำเลยที่ 1 หรือไม่ ส่วนที่จำเลยที่ 1ให้การว่าดอกเบี้ยที่โจทก์เรียกร้องมาก็คำนวณอย่างคลุมเครือเกินกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนดนั้น ศาลชั้นต้นมิได้กำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทไว้ และจำเลยที่ 1 มิได้โต้แย้งคัดค้าน จึงถือว่าเป็นข้อที่ไม่ได้ว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลชั้นต้น จะยกขึ้นอุทธรณ์ฎีกาไม่ได้ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 503/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ร่วมกันฆ่าโดยไตร่ตรองไว้ก่อน พยานหลักฐานแน่นหนา ศาลยืนตามคำพิพากษาเดิม
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยฐานฆ่าผู้อื่น มีและพาอาวุธปืนยกฟ้องในข้อหาต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงาน และพยายามฆ่าเจ้าพนักงานซึ่งกระทำตามหน้าที่ แม้จำเลยจะอุทธรณ์ว่า จำเลยไม่ได้เป็นคนร้ายที่กระทำความผิดตามที่ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษ ก็ไม่มีประเด็นข้อโต้แย้งคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ได้วินิจฉัยว่า จำเลยไม่ได้กระทำความผิดในข้อหาต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงาน และพยายามฆ่าเจ้าพนักงานซึ่งกระทำการตามหน้าที่นั้นไม่ถูกต้องอย่างไร ข้อหาดังกล่าวย่อมยุติ ไม่มีประเด็นที่ศาลอุทธรณ์จะต้องวินิจฉัยซ้ำอีก คำให้การพยานโจทก์ซึ่งให้การไว้ในชั้นสอบสวนใกล้เวลาเกิดเหตุไม่ทันได้คิดเปลี่ยนแปลงข้อเท็จจริงย่อมมีน้ำหนักรับฟังได้ กฎหมายหาได้จำกัดให้รับฟังเฉพาะคำให้การพยานโจทก์ในชั้นศาลเท่านั้นไม่เมื่อคำให้การพยานโจทก์ในชั้นสอบสวนมิได้เกิดขึ้นจากการจูงใจมีคำมั่นสัญญา ขู่เข็ญ หลอกลวง หรือมิชอบประการอื่น ศาลย่อมรับฟังมาประกอบพยานหลักฐานอื่นของโจทก์ว่าจำเลยกระทำความผิดได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 371/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตั้งผู้จัดการมรดกซ้อนกันเป็นโมฆะ หากศาลยังไม่ได้จำกัดอำนาจผู้จัดการมรดกเดิม
เมื่อศาลมีคำสั่งตั้งผู้คัดค้านที่ 2 เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายไว้แล้ว โดยมิได้จำกัดอำนาจของผู้จัดการมรดกไว้แต่เฉพาะทรัพย์บางอย่าง ทรัพย์มรดกที่ผู้ร้องขอจัดการมรดกในคดีใหม่ก็เป็นทรัพย์สินอยู่ในอำนาจหน้าที่ของผู้จัดการมรดกดังกล่าวที่จะต้องดำเนินการอยู่แล้ว การที่ผู้ร้องขอให้ตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายอีกจึงเป็นการขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกซ้อนกัน ต้องห้ามตามกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 371/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตั้งผู้จัดการมรดกซ้อนกัน: ศาลไม่อนุมัติหากมีผู้จัดการมรดกเดิมที่ยังไม่จำกัดอำนาจ
เมื่อศาลมีคำสั่งตั้งผู้คัดค้านที่ 2 เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายโดยมิได้จำกัดอำนาจของผู้จัดการมรดกไว้แต่เฉพาะทรัพย์บางอย่าง การที่ผู้ร้องขอให้ตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายอีกจึงเป็นการขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกซ้อนกันต้องยกคำร้องของผู้ร้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 216/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อุทธรณ์ข้อเท็จจริงในคดีอาญาที่ศาลชั้นต้นยกฟ้อง ศาลอุทธรณ์ต้องไม่รับวินิจฉัยหากเกินกรอบ
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 334ซึ่งมีอัตราโทษจำคุกไม่เกินสามปี และปรับไม่เกินหกพันบาท หรือตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 357 มีอัตราโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง จึงต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงสำหรับความผิดฐานลักทรัพย์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 193 ทวิคงอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงได้เฉพาะข้อหาตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 357 ซึ่งศาลอุทธรณ์พิพากษายืน โจทก์ไม่ฎีกา ข้อหาความผิดฐานรับของโจรจึงยุติไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ส่วนข้อหาความผิดฐานลักทรัพย์โจทก์อุทธรณ์โต้เถียงการรับฟังพยานหลักฐานโจทก์จำเลยของศาลชั้นต้นเพื่อนำไปสู่ข้อกฎหมายที่ว่าการกระทำของจำเลยครบองค์ประกอบความผิดฐานลักทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 334หรือไม่ จึงเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 193 ทวิ ศาลอุทธรณ์หาอาจรับวินิจฉัยข้ออุทธรณ์ดังกล่าวของโจทก์ได้ไม่ ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าจำเลยมีความผิดฐานลักทรัพย์จึงไม่ชอบ ปัญหานี้แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้
of 61