พบผลลัพธ์ทั้งหมด 606 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 173/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความน่าเชื่อถือของพยานหลักฐาน: พยานเบิกความขัดแย้ง ทำให้เกิดความสงสัยว่าจำเลยกระทำผิดจริงหรือไม่
พยานโจทก์ 2 ปาก ซึ่งเป็นผู้ตรวจค้นและจับกุมจำเลยร่วมกันแต่เบิกความถึงการสืบสวนเบื้องต้น การตรวจค้นจับกุม ลักษณะของยาเม็ดของกลางตลอดจนลักษณะสำคัญของบ้านจำเลยแตกต่างกันทุกขั้นตอนโดยตลอดเป็นพิรุธ ถือว่า พยานหลักฐานโจทก์มีความสงสัยตามสมควรว่าจำเลยได้กระทำหรือไม่ต้องยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้จำเลยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 227 วรรคสอง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 166/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจเวนคืนและค่าทดแทน: ผู้ว่าฯ กทม.มอบอำนาจได้, การพิสูจน์ราคาซื้อขายเพื่อกำหนดค่าทดแทน
คณะรัฐมนตรีได้มีมติมอบการดำเนินการก่อสร้างทางหลวงเทศบาลสายรัชดาภิเษก ให้แก่กรุงเทพมหานครจำเลยที่ 1 และ พ.ร.ฎ.กำหนดแนวทางหลวงที่จะสร้างทางหลวงเทศบาลสายรัชดาภิเษก ตอนแขวงวัดท่าพระ -แขวงสามเสนนอก พ.ศ.2524 มาตรา 4 กำหนดให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเป็นเจ้าหน้าที่ผู้ดำเนินการตาม พ.ร.ฎ.ฉบับดังกล่าวอีกด้วย ดังนั้น ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้แทนของจำเลยที่ 1 และในฐานะเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ย่อมมีสิทธิมอบอำนาจให้ผู้ว่าการการทางพิเศษแห่งประเทศไทยจำเลยที่ 4 ดำเนินการสำรวจออกแบบและกำหนดให้จำเลยที่ 2 เป็นเจ้าหน้าที่ดำเนินการตาม พ.ร.ฎ. จึงมีผลทำให้จำเลยที่ 2 เป็นเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหา-ริมทรัพย์ตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 ลงวันที่ 28 พฤศจิกายน 2515ข้อ 64 (2) และมีหน้าที่จ่ายค่าทดแทนตามข้อ 67 และข้อ 74 ถึงข้อ 77 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับในขณะเกิดข้อพิพาท ในการจ่ายค่าทดแทนหากจำเลยที่ 4 ซึ่งได้รับมอบหมายจากเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์กำหนดค่าทดแทนไม่ถูกต้อง ก็ต้องถือว่าเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์โต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ได้
คดีที่ฟ้องเรียกเอาค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนไม่มีกฎหมายบังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดง ไม่ใช่คดีฟ้องบังคับตามสัญญาซื้อขาย จึงไม่อยู่ในบังคับที่ไม่ให้สืบพยานบุคคลเปลี่ยนแปลงแก้ไขจำนวนเงินในสัญญาซื้อขาย เพราะเป็นการนำสืบถึงราคาซื้อขายที่แท้จริงให้ประจักษ์เพื่อเป็นหลักในการกำหนดราคาทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืน
คดีที่ฟ้องเรียกเอาค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนไม่มีกฎหมายบังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดง ไม่ใช่คดีฟ้องบังคับตามสัญญาซื้อขาย จึงไม่อยู่ในบังคับที่ไม่ให้สืบพยานบุคคลเปลี่ยนแปลงแก้ไขจำนวนเงินในสัญญาซื้อขาย เพราะเป็นการนำสืบถึงราคาซื้อขายที่แท้จริงให้ประจักษ์เพื่อเป็นหลักในการกำหนดราคาทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 166/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดิน: การคำนวณค่าทดแทนตามราคาซื้อขายจริง และดอกเบี้ยนับแต่วันที่ประกาศใช้กฎหมาย
ที่ดินของโจทก์ที่ถูกเวนคืน อยู่ในแนวเขตที่พระราชกฤษฎีกากำหนดแนวทางหลวงที่จะสร้างทางหลวงเทศบาลสายรัชดาภิเษก ตอนแขวงวัดท่าพระ-แขวงสามเสนนอกพ.ศ. 2524 ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติมอบการดำเนินการก่อสร้างให้แก่กรุงเทพมหานคร จำเลยที่ 1 และตามพระราชกฤษฎีกากำหนด แนวทางหลวงที่จะสร้างทางหลวงเทศบาลสายรัชดาภิเษกตอนแขวงวัดท่าพระ-แขวงสามเสนนอก พ.ศ. 2524 มาตรา 4 กำหนดให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร จำเลยที่ 2 เป็นเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ ตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295ข้อ 64(2) และมีหน้าที่จ่ายค่าทดแทน ตามข้อ 67 และข้อ 74ถึง 77 ดังนั้น ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นผู้แทนของจำเลยที่ 1 และในฐานะเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ย่อมมีสิทธิมอบอำนาจให้ ก. ดำเนินการสำรวจออกแบบและก่อสร้างทางหลวงเพื่ออนุมัติตามมติคณะรัฐมนตรีได้ เมื่อ โจทก์เห็นว่าที่ 1 กำหนดเงินค่าทดแทนไม่ถูกต้องและไม่เป็นธรรมโจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องเรียกเงินค่าทดแทนที่ดินเพิ่มจากจำเลยที่ 1 ได้ และถือว่าจำเลยที่ 2 ในฐานะเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์โต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ด้วย กรณีฟ้องเรียกเอาค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนไม่มี กฎหมายบังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดง ไม่ใช่คดีฟ้อง บังคับตามสัญญาซื้อขาย จึงไม่อยู่ในบังคับที่ไม่ให้สืบพยาน บุคคลเปลี่ยนแปลงแก้ไขจำนวนเงินในสัญญาซื้อขาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 166/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดิน: การกำหนดราคาทดแทนที่ดินตามราคาซื้อขายจริง และดอกเบี้ยเริ่มนับจากวันประกาศใช้ พ.ร.ฎ.เวนคืน
ที่ดินของโจทก์ที่ถูกเวนคืน อยู่ในแนวเขตที่ พ.ร.ฎ. กำหนดแนวทางหลวงที่จะสร้างทางหลวงเทศบาลสายรัชดาภิเษกตอนแขวงวัดท่าพระ-แขวงสามเสนนอก พ.ศ. 2524 ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติมอบการดำเนินการก่อสร้างให้แก่กรุงเทพมหานคร จำเลยที่ 1และตาม พ.ร.ฎ. กำหนดแนวทางหลวงที่จะสร้างทางหลวงเทศบาลสายรัชดาภิเษก ตอนแขวงวัดท่าพระ-แขวงสามเสนนอก พ.ศ. 2524มาตรา 4 กำหนดให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร จำเลยที่ 2เป็นเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ ตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 295 ข้อ 64(2) และมีหน้าที่จ่ายค่าทดแทน ตามข้อ 67 และข้อ 74 ถึง 77 ดังนั้นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นผู้แทนของจำเลยที่ 1 และในฐานะเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ย่อมมีสิทธิมอบอำนาจให้ ก. ดำเนินการสำรวจออกแบบและก่อสร้างทางหลวงเพื่ออนุวัตตามมติคณะรัฐมนตรีได้ เมื่อโจทก์เห็นว่าจำเลยที่ 1 กำหนดเงินค่าทดแทนไม่ถูกต้องและไม่เป็นธรรม โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องเรียกเงินค่าทดแทนที่ดินเพิ่มจากจำเลยที่ 1 ได้ และถือว่าจำเลยที่ 2 ในฐานะเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์โต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ด้วย กรณีฟ้องเรียกเอาค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนไม่มีกฎหมายบังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดง ไม่ใช่คดีฟ้องบังคับตามสัญญาซื้อขายจึงไม่อยู่ในบังคับที่ไม่ให้สืบพยานบุคคลเปลี่ยนแปลงแก้ไขจำนวนเงินในสัญญาซื้อขาย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 102/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลียนแบบเครื่องหมายการค้า: ความเหมือนของคำเรียกขานและเจตนาเลียนแบบมีผลต่อสิทธิในเครื่องหมายการค้า
แม้เครื่องหมายการค้าของโจทก์และจำเลยจะมีลักษณะและลีลาการเขียนแตกต่างกัน แต่เมื่อเครื่องหมายการค้าของโจทก์และจำเลยใช้ภาษาต่างประเทศที่มีสำเนียงเรียกขานเหมือนกันและใช้กับสินค้าจำพวกเดียวกัน ผู้ซื้อย่อมถือคำเรียกขานและหลงผิดได้ว่าสินค้าทั้งสองเครื่องหมายเป็นอย่างเดียวกัน ดังนี้เครื่องหมายการค้าของโจทก์และจำเลยมีลักษณะเหมือนกัน สินค้าของจำเลยได้ผลิตและจำหน่ายยังประเทศต่าง ๆ เกือบทั่วโลกมาก่อนโจทก์ มีการโฆษณาเผยแพร่ตลอดจนนำไปจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าในประเทศต่าง ๆ หลายประเทศ ทั้งยังมีตัวแทนจำเลยที่ต่างประเทศส่งสินค้าของจำเลยเข้ามาจำหน่ายในประเทศไทยโจทก์ซึ่งมีอาชีพเป็นตัวแทนขายรองเท้าต่างประเทศ ย่อมรู้ว่าสินค้ารองเท้าของจำเลยภายใต้เครื่องหมายการค้าพิพาทเป็นที่นิยมแพร่หลาย ข้อเท็จจริงและพฤติการณ์ส่อให้เห็นเจตนาของโจทก์ที่จะเลียนแบบเครื่องหมายการค้าของจำเลยซึ่งใช้มาก่อนโจทก์ทำให้ประชาชนหลงเชื่อว่าสินค้าของโจทก์เป็นสินค้าของจำเลยจำเลยจึงมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทดีกว่าโจทก์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3757/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการโต้แย้งผลการตรวจสอบของเจ้าพนักงานที่ดินตามคำท้าของคู่ความในคดี
คู่ความท้ากันไว้ว่า ถ้าเจ้าพนักงานที่ดินตรวจสอบที่ดินพิพาทแล้วรายงานว่า ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินตาม ส.ค.1 เลขที่ 412 จริง จำเลยยอมรับข้อเท็จจริงตามที่โจทก์ฟ้องและยอมแพ้คดี แต่ถ้าหากเจ้าพนักงานที่ดินตรวจสอบแล้วที่ดินพิพาทไม่ใช่ที่ดินตาม ส.ค.1 เลขที่ 413 ตามที่โจทก์ฟ้อง ก็ให้ถือว่าโจทก์ยอมแพ้เจ้าหน้าที่บริหารงานที่ดินรายงานต่อศาลว่าได้ไปดำเนินการตรวจสอบที่ดินพิพาทแล้วสรุปได้ว่าที่ดินแปลงดังกล่าวน่าจะเป็นที่ดินแปลงตามหลักฐาน ส.ค.1 เลขที่ 412 แปลงพิพาท ชี้ชัดแล้วว่าที่ดินพิพาทเป็นที่ดินตาม ส.ค.1 เลขที่ 412 จริง ผลก็คือเจ้าพนักงานที่ดินตรวจสอบที่ดินพิพาทแล้วรายงานงานว่าที่ดินพิพาทเป็นที่ดินตาม ส.ค.1เลขที่ 412 ตรงตามคำท้าของคู่ความที่จำเลยจะต้องแพ้คดีโจทก์ จำเลยจะนำเอารายละเอียดข้อเท็จจริงประกอบเหตุผลในการลงความเห็นของเจ้าหน้าที่บริหารงานที่ดินมาเป็นข้ออุทธรณ์ฎีกาโต้แย้งว่าไม่ตรงตามสภาพความเป็นจริง เป็นการคาดคะเนด้วยความเห็นส่วนตัวโดยไม่แน่ใจว่าจะใช่ที่ดิน ส.ค.21 เลตจที่ 412 จริงหรือไม่จึงเป็นรายการไม่ตรงตามคำท้า และต้องดำเนินคดีสืบพยานโจทก์จำเลยกันต่อไปใหม่เป็นการโต้แย้งการตรวจสอบและลงความเห็นของเจ้าหน้าที่บริหารงานที่ดิน ซึ่งคู่ความท้ากันให้เป็นผู้ตรวจสอบและลงความเห็นนั้นอีกหาได้ไม่ เพราะเป็นการอุทธรณ์ฎีกานอกประเด็นคำท้า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5468/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยอมรับหนี้ตามฟ้องทำให้ไม่ต้องสืบพยานเพิ่มเติม แม้เรื่องดอกเบี้ย
ในคดีที่จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ แต่มิได้ขาดนัดพิจารณาเมื่อจำเลยแถลงรับว่าเป็นหนี้โจทก์จริงตามฟ้องเสียแล้ว โจทก์ก็ไม่ต้องนำสืบแต่อย่างใดอีกเพราะข้อเท็จจริงย่อมฟังได้ตามฟ้องตามที่จำเลยแถลงรับอยู่แล้ว แม้จะเป็นเรื่องอำนาจฟ้องหรือการคิดดอกเบี้ยก็ตาม ศาลย่อมพิพากษาไปได้โดยไม่ต้องให้โจทก์นำสืบอีกต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4621/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือมอบอำนาจไม่ติดอากรแสตมป์แต่ปิดครบก่อนสืบพยาน ใช้เป็นหลักฐานได้
โจทก์มอบอำนาจให้ ส. ฟ้องคดี แม้หนังสือมอบอำนาจของโจทก์จะไม่ได้ปิดอากรแสตมป์บริบูรณ์มาตั้งแต่แรก แต่เมื่อได้มี การปิดอากรแสตมป์ในชั้นพิจารณาครบถ้วนก่อนสืบพยานโจทก์ก็ย่อม ใช้เป็นหลักฐานในคดีได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4621/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือมอบอำนาจไม่ติดอากรแสตมป์ตั้งแต่แรก แต่ปิดอากรเพิ่มเติมก่อนสืบพยาน ใช้เป็นหลักฐานได้
หนังสือมอบอำนาจของโจทก์ไม่ได้ปิดอากรแสตมป์บริบูรณ์มาตั้งแต่แรก แต่เมื่อได้มีการปิดอากรแสตมป์พิจารณาครบถ้วนก่อนสืบพยานโจทก์ก็ย่อมใช้เป็นหลักฐานในคดีได้ ส่วนการที่จะต้องรับผิดเสียอากรเพิ่มขึ้นเป็นส่วนหนึ่งต่างหากนั้นไม่กระทบกระทั่งถึงการที่จะรับฟังหนังสือมอบอำนาจดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4507/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดี: เจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดก่อนศาลมีคำสั่งชี้ขาดเรื่องรวม/แยกทรัพย์สินเป็นโมฆะ
ในชั้นบังคับคดี จำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งแยกขายที่ดินทีละแปลง โดยอ้างว่าการขายที่ดินบางแปลงอาจจะได้เงินมาพอชำระหนี้ตามคำพิพากษา หากขายรวมกันทุกแปลงแล้วจำเลยที่ 1จะเสียหายมาก ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าเป็นเรื่องที่จำเลยที่ 1 จะต้องดำเนินการชั้นเจ้าพนักงานบังคับคดีก่อนให้ยกคำร้อง คำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวมิใช่คำสั่งชี้ขาดในเรื่องให้รวมหรือแยกทรัพย์สินขายทอดตลาดอันจะทำให้คำสั่งของศาลชั้นต้นเป็นที่สุด เจ้าพนักงานบังคับคดีชอบที่จะเลื่อนการขายทอดตลาดไปจนกว่าศาลจะได้มีคำสั่งชี้ขาดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 309 วรรคสอง การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ขายทอดตลาดทรัพย์ของจำเลยที่ 1 ไปในขณะที่คดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ จึงเป็นการกระทำโดยฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติว่าด้วยการบังคับคดี จำเลยทั้งสองซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษามีสิทธิยื่นคำร้องขอ ให้ยกเลิกการขายทอดตลาดได้ตามมาตรา 296 วรรคสอง.