คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
พัลลภ พิสิษฐ์สังฆการ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 606 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2581/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การร่วมหลอกลวงพาผู้อื่นไปค้าประเวณี โดยมีเจตนาช่วยเหลือและนัดหมายล่วงหน้า
จำเลยพาผู้เสียหายและนางสาวพ. ขึ้นรถจากอำเภอก. ไปลงที่สี่แยกอำเภอน.พบผู้หญิงคนหนึ่งรออยู่ จำเลยลงจากรถไปพบพูดกับผู้หญิงนั้นถึงครึ่งชั่วโมง โดยผู้เสียหายไม่รู้ถึง เรื่องที่พูดจากัน แล้วจำเลยให้ผู้เสียหายและนางสาวพ. ไปกับผู้หญิงนั้น ผู้หญิงคนนั้นพาผู้เสียหายและนางสาวพ. ตระเวนไปตามแหล่งที่มีผู้หญิงค้าประเวณีและพาไปที่ ซ่องโสเภณี ดังนี้ พฤติการณ์เห็นได้ว่าผู้หญิงคนนั้นมิใช่เจตนาพาไปหางานที่สุจริต แต่เป็นการพาไปเพื่อให้ผู้เสียหายค้าประเวณีอันอยู่ในความหมายของคำว่าพาไปเพื่อการอนาจาร และจำเลยกับผู้หญิงนั้นได้นัดหมายกันไว้ล่วงหน้าแล้ว และหากจำเลยมีเจตนาพาผู้เสียหายไปทำงานสุจริต ก็น่าจะพูดจากับผู้หญิงที่มารับตัวต่อหน้าผู้เสียหายให้ได้รับรู้ด้วย พฤติการณ์ของจำเลยที่ได้นัดหมายกับผู้หญิงคนนั้นให้มารับตัวผู้เสียหาย และได้มีการพูดจากันเป็นส่วนตัวก่อนที่จะพาผู้เสียหายไปเช่นนี้เป็นข้อบ่งชี้ให้เห็นว่าจำเลยย่อมรู้แล้วว่า ผู้หญิงคนนั้นจะพาผู้เสียหายไปเพื่อการใดถือได้ว่าจำเลยมีส่วนร่วมในการหลอกลวงผู้เสียหายไปเพื่อการอนาจาร อันเป็นตัวการในการกระทำผิดด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2528/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การได้สัญชาติไทยโดยการเกิด: การพิสูจน์ความเป็นบุตรและสถานที่เกิดมีผลต่อการได้สัญชาติ
ผู้ร้องเกิดที่ประเทศจีน มีบิดาเป็นคนสัญชาติจีน แม้มารดาจะเป็นคนสัญชาติไทย ผู้ร้องก็ไม่ได้สัญชาติไทยโดยการเกิด.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2369/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาต่างตอบแทน, การเช่าช่วง, ล้มละลาย, สิทธิการเช่า, การขับไล่
เมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดบริษัทป๊อบผลิตภัณฑ์นมจำกัด ลูกหนี้แล้ว อำนาจในการจัดการทรัพย์สินของลูกหนี้ รวมทั้งการฟ้องร้องหรือต่อสู้คดีใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้ย่อมตกอยู่แก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 22 ดังนั้น เมื่อมีกรณีเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เห็นว่า การกระทำของจำเลยเป็นการโต้แย้งสิทธิของบริษัทลูกหนี้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ก็มีอำนาจที่จะฟ้องคดีได้ เดิมจำเลยที่ 1 ออกทุนช่วยการก่อสร้างเป็นเงินประมาณ 3 ล้านบาท แล้วบริษัทป๊อบผลิตภัณฑ์นม จำกัด ลูกหนี้ ตกลงให้จำเลยที่ 1เช่าตึกอาคารและโรงงานพิพาทมีกำหนด 20 ปี ซึ่งต่อมาได้มีการจดทะเบียนการเช่าไว้ตามหนังสือสัญญาเช่าลงวันที่ 16 กรกฎาคม 2513ข้อตกลงให้จำเลยที่ 1 เช่ามีกำหนด 20 ปีดังกล่าว มีลักษณะเป็นการต่างตอบแทนนอกเหนือจากสัญญาเช่าที่ได้จดทะเบียนไว้ ความผูกพันระหว่างคู่กรณีจึงมิใช่เฉพาะที่ปรากฏในสัญญาเช่าเท่านั้น แต่ต้องผูกพันต่อกันในลักษณะของสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดาดังนั้น ถึงแม้ต่อมาการจดทะเบียนการเช่าระหว่างบริษัทป๊อบผลิตภัณฑ์นม จำกัด ลูกหนี้ กับจำเลยที่ 1 จะมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ลบทะเบียนการเช่าในคดีที่ธนาคารกรุงไทย จำกัดฟ้องบริษัทป๊อบผลิตภัณฑ์นม จำกัด ลูกหนี้และจำเลยที่ 1 เป็นจำเลยก็เป็นกรณีที่การเช่าที่จดทะเบียนไว้นั้นถูกลบไปเพื่อประโยชน์ของธนาคารกรุงไทย จำกัด เจ้าหนี้ผู้รับจำนอง ในการที่จะบังคับชำระหนี้เอาจากทรัพย์จำนอง ในทางที่มิให้มูลค่าของทรัพย์จำนองต้องลดลงเพราะมีภาระติดพันในเรื่องการเช่าที่จดทะเบียนไว้เท่านั้นไม่มีผลที่จะเป็นการยกเลิกหรือเพิกถอนข้อตกลงอันเป็นการต่างตอบแทนระหว่างบริษัทป๊อบผลิตภัณฑ์นม จำกัด ลูกหนี้ กับจำเลยที่ 1การที่สัญญาต่างตอบแทนระหว่างคู่กรณียังมีอยู่ แม้ต่อมาบริษัทป๊อบผลิตภัณฑ์นม จำกัด ลูกหนี้ถูกศาลพิพากษาให้ล้มละลายเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ซึ่งได้เข้ามาจัดการทรัพย์สินของลูกหนี้ตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 22 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483ก็มีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามสัญญาต่างตอบแทนของลูกหนี้ผู้ล้มละลายที่มีอยู่เดิม และแม้ว่าพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 122ได้ให้อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ที่จะไม่ยอมรับสิทธิตามสัญญาก็ตามแต่กรณีการฟ้องคดีนี้นั้น เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มิได้ใช้อำนาจตามบทกฎหมายดังกล่าว คงอ้างสิทธิในการขับไล่จำเลยที่ 1โดยอาศัยผลของคำพิพากษาที่ถึงที่สุดให้ลบสิทธิการเช่าจากทะเบียนเท่านั้นซึ่งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่อาจนำมาอ้างเพื่อลบล้างหรือยกเลิกข้อตกลงอันเป็นการต่างตอบแทนระหว่างบริษัทป๊อบผลิตภัณฑ์นม จำกัด ลูกหนี้ผู้ล้มละลายกับจำเลยที่ 1 ได้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงยังไม่มีอำนาจที่จะฟ้องขับไล่จำเลยที่ 1เพราะสิทธิที่จะอยู่ในที่พิพาทตามสัญญาต่างตอบแทนของจำเลยที่ 1นั้นยังมีผลบังคับอยู่ กรณีนี้ สำหรับจำเลยที่ 2 โจทก์จะขอให้ขับไล่ได้หรือไม่ก็อยู่ที่ว่าจำเลยที่ 1 มีสิทธิให้เช่าช่วงทรัพย์ที่ตนมีข้อตกลงเป็นการต่างตอบแทนกับบริษัทป๊อบผลิตภัณฑ์นม จำกัด ลูกหนี้หรือไม่ซึ่งตามสัญญาต่อท้ายสัญญาเช่าที่จดทะเบียนไว้ระบุไว้ชัดแจ้งว่า"ผู้เช่ารับว่าจะไม่เอาสถานที่เช่านี้ไปให้ผู้อื่นเช่าช่วงหรือโอนต่อไปอีกทอดหนึ่งเป็นอันขาด เว้นแต่จะได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากผู้ให้เช่าก่อน" อันเป็นการแสดงว่าข้อตกลงที่เป็นการต่างตอบแทนกันระหว่างบริษัทป๊อบผลิตภัณฑ์นม จำกัด ลูกหนี้กับจำเลยที่ 1 นั้น จำเลยที่ 1 จะนำทรัพย์ที่เช่าไปให้เช่าช่วงไม่ได้ เมื่อจำเลยที่ 1 นำสืบรับฟังไม่ได้ว่าบริษัทป๊อบผลิตภัณฑ์นม จำกัด ลูกหนี้ยินยอมให้เช่าช่วงตามสัญญาแล้วจำเลยที่ 2 จึงไม่มีสิทธิใด ๆ ที่จะเข้ามาอยู่ในทรัพย์สินที่จำเลยที่ 1 มีสิทธิจะอยู่โดยอาศัยสัญญาต่างตอบแทน โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยที่ 2 ออกไปได้ การที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นเรื่องค่าเสียหายไว้ว่า"ค่าเสียหายของโจทก์มีหรือไม่เพียงใด" ประเด็นที่กำหนดไว้ดังกล่าวจึงไม่มีข้อที่จะต้องวินิจฉัยว่ามีการปลดหนี้ค่าเช่าตามที่จำเลยที่ 1 ยกขึ้นมาในฎีกา เมื่อจำเลยที่ 1 มิได้โต้แย้งการกำหนดประเด็นของศาลชั้นต้นไว้ถือว่าจำเลยที่ 1 ยินยอมดำเนินกระบวนพิจารณาเท่าที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นไว้เท่านั้น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยฎีกาข้อนี้ให้ สำหรับจำเลยที่ 3 ซึ่งเช่าช่วงตึกอาคารและโรงงานพิพาทจากจำเลยที่ 2 อีกต่อหนึ่งนั้น เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่มีสิทธิจะนำทรัพย์ของบริษัทป๊อบผลิตภัณฑ์นม จำกัด ลูกหนี้ไปให้เช่าช่วง เมื่อมีการนำไปให้เช่าช่วงจึงเป็นการกระทำที่ไม่มีอำนาจ การที่จำเลยที่ 3เข้าไปอยู่ในอาคารอันเป็นทรัพย์ของบริษัทป๊อบผลิตภัณฑ์นม จำกัดลูกหนี้ จึงเป็นการเข้าไปอยู่โดยละเมิดตั้งแต่ต้น มิใช่จะเป็นละเมิดเมื่อโจทก์บอกกล่าวให้จำเลยที่ 3 ออกจากอาคาร จำเลยที่ 3 จึงต้องร่วมรับผิดในการที่ได้เข้าไปใช้ประโยชน์ในอาคารที่พิพาทด้วยส่วนเรื่องค่าเสียหายที่จำเลยที่ 3 ฎีกาว่า ค่าเสียหายที่จำเลยที่ 3 ต้องรับผิดเป็นหนี้รายเดียวกันกับที่จำเลยที่ 3 พิพาทกับโจทก์ในอีกคดีหนึ่งนั้น มิใช่ประเด็นที่ยกขึ้นว่ากันมาในศาลล่างทั้งสองศาลฎีกาไม่เห็นสมควรที่จะรับวินิจฉัย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2156/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาก่อสร้าง - การเปลี่ยนแปลงงาน - สิทธิในการรับเงินค่าจ้าง - การชำระหนี้
หลังจากครบกำหนดเวลาก่อสร้างตามข้อตกลงหมาย ล.3จำเลยที่ 1 ยังก่อสร้างบ้านไม่เสร็จ แม้ว่าข้อตกลงตามเอกสารดังกล่าวจะกำหนดเวลาชำระหนี้ไว้แน่นอนก็ตาม แต่ก็ไม่ได้ระบุให้สิทธิในการบอกเลิกสัญญา ทั้งโจทก์กับจำเลยที่ 1 ได้ทำข้อตกลงหมาย ล.11 ให้จำเลยที่ 1 ทำการก่อสร้างต่อไป แสดงว่าโจทก์กับจำเลยที่ 1 ต่างไม่ถือเอากำหนดเวลาในการก่อสร้างตาม ข้อตกลงเอกสารหมาย ล.3 เป็นข้อสำคัญ หากโจทก์เห็นว่าจำเลยที่ 1 ก่อสร้างบ้านไม่ถูกแบบแปลนโจทก์ต้องบอกกล่าวให้จำเลยที่ 1 ลงมือก่อสร้างโดยกำหนดระยะเวลาพอสมควรให้จำเลยที่ 1 แก้ไข ถ้าจำเลยที่ 1 ไม่แก้ไข โจทก์จึงจะมีสิทธิบอกเลิกสัญญา ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 387 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1613/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลจำกัดตามฟ้อง – การลงโทษฐานต่างจากที่ฟ้อง – ข้อจำกัดการอุทธรณ์
ความผิดฐานจำหน่ายเฮโรอีนและความผิดฐานมีเฮโรอีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย มีการกระทำอันเป็นความผิดแตกต่างกัน เมื่อโจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษฐานจำหน่ายเฮโรอีนเพียงฐานเดียวโดยมิได้ฟ้องฐานมีเฮโรอีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายด้วย การที่ศาลอุทธรณ์ลงโทษจำเลยฐานมีเฮโรอีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย จึงเป็นการพิพากษาเกินคำขอหรือที่มิได้กล่าวในฟ้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192วรรคแรก กรณีมิใช่ข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในทางพิจารณาแตกต่างกับข้อเท็จจริงดังที่กล่าวในฟ้องในข้อมิใช่สาระสำคัญ ตามมาตรา 192วรรคสอง และกรณีไม่ต้องด้วย มาตรา 192 วรรคสาม ศาลอุทธรณ์จึงไม่มีอำนาจพิพากษาลงโทษในข้อหาดังกล่าวที่พิจารณาได้ความได้ เพราะเป็นเรื่องที่โจทก์ไม่ประสงค์ให้ลงโทษ โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานจำหน่ายเฮโรอีน ศาลชั้นต้นลงโทษฐานพยายามจำหน่ายเฮโรอีน โจทก์อุทธรณ์ขอให้ลงโทษฐานจำหน่ายเฮโรอีนตามฟ้องการที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันจำหน่ายเฮโรอีนของกลาง แต่ฟังได้ว่าจำเลยมีเฮโรอีนไว้ในความครอบครองเพื่อจำหน่ายและพิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นแล้วลงโทษจำเลยในความผิดฐานดังกล่าว เป็นการที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องในข้อหาจำหน่ายเฮโรอีนยืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น การที่โจทก์ฎีกาขอให้ลงโทษฐานจำหน่ายเฮโรอีนอีก จึงต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 220 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1613/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการลงโทษเกินคำขอและข้อจำกัดในการแก้ไขคำพิพากษาในคดีอาญา
ความผิดฐานจำหน่ายเฮโรอีนและความผิดฐานมีเฮโรอีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย มีการกระทำอันเป็นความผิดแตกต่างกันเมื่อโจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษฐานจำหน่ายเฮโรอีนเพียงฐานเดียวโดยมิได้ฟ้องฐานมีเฮโรอีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายด้วย การที่ศาลอุทธรณ์ลงโทษจำเลยฐานมีเฮโรอีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายจึงเป็นการพิพากษาเกินคำขอหรือที่มิได้กล่าวในฟ้องตาม ป.วิ.อ.มาตรา 192 วรรคแรก กรณีมิใช่ข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในทางพิจารณาแตกต่างกับข้อเท็จจริงดังที่กล่าวในฟ้องในข้อมิใช่สาระสำคัญตามมาตรา 192 วรรคสอง และกรณีไม่ต้องด้วย มาตรา 192 วรรคสามศาลอุทธรณ์จึงไม่มีอำนาจพิพากษาลงโทษในข้อหาดังกล่าวที่พิจารณาได้ความได้ เพราะเป็นเรื่องที่โจทก์ไม่ประสงค์ให้ลงโทษ โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานจำหน่ายเฮโรอีน ศาลชั้นต้นลงโทษฐานพยายามจำหน่ายเฮโรอีน โจทก์อุทธรณ์ขอให้ลงโทษฐานจำหน่ายเฮโรอีนตามฟ้อง การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันจำหน่ายเฮโรอีนของกลาง แต่ฟังได้ว่าจำเลยมีเฮโรอีนไว้ในความครอบครองเพื่อจำหน่ายและพิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นแล้วลงโทษจำเลยในความผิดฐานดังกล่าว เป็นการที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องในข้อหาจำหน่ายเฮโรอีนยืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น การที่โจทก์ฎีกาขอให้ลงโทษฐานจำหน่ายเฮโรอีนอีกจึงต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 220 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1109/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าธรรมดา vs. สัญญาต่างตอบแทน: การปรับปรุงอาคารไม่ถือเป็นการตอบแทนสัญญาเช่า
จำเลยที่ 2 ผู้เช่าอาคารมีหนังสือถึงโจทก์ประสงค์ ที่จะรื้ออาคารพิพาทบางส่วนแล้วจะสร้างใหม่เพื่อความสวยงามความปลอดภัย และปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎหมาย อันเป็นการกระทำที่มุ่งหมายต่อผลประโยชน์ของจำเลยที่ 2 โดยเฉพาะไม่มีข้อความตอนใดที่ให้ถือเอาการรื้อถอนแล้วก่อสร้างอาคารพิพาทบางส่วนขึ้นใหม่เป็นการตอบแทนในการที่จำเลยที่ 2ได้เช่าอาคารพิพาททั้งหมด แม้โจทก์จะได้รับประโยชน์จากการกระทำของจำเลยที่ 2 ก็เป็นเพียงผลพลอยได้เท่านั้นมิใช่กรณีที่โจทก์ตกลงให้จำเลยที่ 2 ซ่อมแซมใหญ่ตอบแทนการเช่าอาคารพิพาทต่อไปอีก ส่วนการที่จำเลยที่ 2 ขอทำสัญญาเช่าต่อจากสัญญาเดิมไปอีก 6 ปี แต่โจทก์ให้ต่อเพียง3 ปี นั้น เป็นเพียงการตกลงกันทำสัญญาเช่าธรรมดาโดยขยายเวลาเช่าในสัญญาเดิมออกไปอีก 3 ปี มิใช่มีสัญญาต่างตอบแทนซ้อนอยู่ในสัญญาเช่าอีกโสดหนึ่งด้วย แสดงว่าสัญญาเช่าอาคารพิพาทเป็นสัญญาเช่าธรรมดามิใช่สัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 974/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลอุทธรณ์ในการวินิจฉัยอุทธรณ์ปัญหาข้อกฎหมายในคดีอาญา และการพิจารณาพยานหลักฐานเพื่อพิสูจน์ความผิด
โจทก์อุทธรณ์โต้เถียง ว่า ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงผิดไปจากพยานหลักฐานในสำนวนและวินิจฉัยข้อกฎหมายไม่ถูกต้อง เป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อกฎหมาย การอุทธรณ์คำสั่งระหว่างพิจารณาในคดีอาญาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 196นั้น ไม่จำต้องโต้แย้งไว้ก่อนศาลชั้นต้นมีคำพิพากษา แม้โจทก์มิได้โต้แย้งไว้ก่อนก็มีสิทธิอุทธรณ์ โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานฉ้อโกงและให้ใช้ราคาทรัพย์จำเลยให้การปฏิเสธ การที่ศาลชั้นต้นเพียงแต่สืบตัวโจทก์จบคำซักถามทนายโจทก์แล้ววินิจฉัยว่าโจทก์มิใช่ผู้เสียหายในคดีส่วนอาญาและไม่เสื่อมสิทธิเรียกร้องที่มีต่อธนาคาร จึงไม่มีอำนาจฟ้องทั้งในคดีส่วนอาญาและส่วนแพ่ง ทั้ง ๆ ที่ข้อเท็จจริงตามพยานหลักฐานโจทก์เท่าที่นำสืบมายังไม่อาจรับฟังได้เป็นยุติ เช่นนี้ ชอบที่ศาลสูงจะย้อนสำนวนกลับไปให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาใหม่ตามรูปคดี.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 974/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลอุทธรณ์ในคดีอาญา: การโต้แย้งข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย, คำสั่งระหว่างพิจารณา, ผู้เสียหาย
โจทก์อุทธรณ์ว่า ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยหักเงินจากบัญชีของโจทก์ในฐานะจำเลยเป็นตัวแทนของธนาคาร ทั้งที่โจทก์นำสืบว่าจำเลยหลอกลวงโจทก์และหักเงินจากบัญชีของโจทก์โดยธนาคารไม่ทราบเรื่อง และอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ว่าโจทก์ไม่ใช่ผู้เสียหาย โดยโจทก์อ้างว่าโจทก์ต้องสูญเสียเงิน และฝ่ายได้รับความเสียหายโดยไม่ได้รับการชดใช้ค่าเสียหายจากบริษัทประกันภัยอุทธรณ์ของโจทก์ดังกล่าวเป็นการโต้เถียงว่าศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงผิดไปจากพยานหลักฐานในสำนวนและวินิจฉัยข้อกฎหมายไม่ถูกต้อง จึงเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อกฎหมาย การอุทธรณ์คำสั่งระหว่างพิจารณาในคดีอาญาไม่จำต้องโต้แย้งไว้ก่อน แม้โจทก์มิได้โต้แย้งไว้ก่อนก็ย่อมมีสิทธิอุทธรณ์ ทั้งโจทก์อุทธรณ์ด้วยว่าศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าโจทก์มิใช่ผู้เสียหายนั้นไม่ถูกต้อง ถือได้ว่าโจทก์อุทธรณ์คำพิพากษาด้วยแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 950/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงชดใช้ค่าเสียหายไม่สมบูรณ์ ไม่เป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ โจทก์มีอำนาจฟ้องได้
พนักงานสอบสวนบันทึกข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยในรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีว่า จำเลยเป็นผู้ขับรถชนรถโจทก์กับรถของผู้อื่นอีก 2 คัน เสียหายจริง และยินดีชดใช้ค่าเสียหายทั้งหมดที่เกิดขึ้นจากเหตุดังกล่าวทั้งทางแพ่งและทางอาญา ทั้งรับปากต่อหน้าโจทก์ว่า จะจัดการเรื่องค่าเสียหายที่เกิดขึ้นโดยผ่านผู้รับประกันภัยที่เกี่ยวข้อง ข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยดังกล่าวไม่เป็นสัญญาระงับข้อพิพาทที่เกิดขึ้นให้เสร็จสิ้นไปทีเดียว ยังมีเงื่อนไขให้ไปตกลงค่าเสียหายผ่านผู้รับประกันภัยรถยนต์ของคู่กรณีที่เกี่ยวข้อง เป็นข้อตกลงที่ยังไม่ปราศจากการโต้แย้งกันอีกจึงมิใช่สัญญาประนีประนอมยอมความอันจะทำให้มูลละเมิดระงับไป.
of 61