คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
พัลลภ พิสิษฐ์สังฆการ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 606 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 872/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้าม: คดีขับไล่และค่าเสียหาย ศาลอุทธรณ์ยืนตามศาลชั้นต้น ฎีกาในข้อเท็จจริง
โจทก์ฟ้องอ้างว่า จำเลยละเมิดปลูกสร้างร้านค้าและที่อยู่อาศัยของจำเลยในที่ดินพิพาทของโจทก์ ขอให้ศาลบังคับให้จำเลยรื้อถอนร้านค้าและที่อยู่อาศัยออกไปจากที่ดินพิพาท ซึ่งถ้าหากให้ผู้อื่นเช่าจะได้ค่าเช่าไม่น้อยกว่าเดือนละ 500 บาท จำเลยให้การว่าที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของบุคคลภายนอก จึงเป็นคดีฟ้องขับไล่บุคคลในกรณีอื่นออกจากอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งในขณะยื่นคำฟ้องอาจให้เช่าได้ไม่เกินเดือนละ 5,000 บาท และจำเลยมิได้กล่าวแก้เป็นข้อพิพาทด้วยกรรมสิทธิ์ เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษา ศาลชั้นต้นจึงห้ามคู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 248 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 743/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการโอนประทานบัตรเพื่อหลีกเลี่ยงหนี้ภาษี และการรับโอนโดยรู้เท่าถึงข้อความจริง
อธิบดีกรมโจทก์เป็นผู้แทนที่มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ เมื่ออธิบดีกรมโจทก์ได้ทราบเรื่องที่จำเลยที่ 1 โอนประทานบัตร เป็น ทางให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้เสียเปรียบ เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2526 ซึ่ง เป็นเหตุที่จะขอเพิกถอนการโอนได้ การนับระยะเวลา ที่ จะ ใช้ สิทธิเรียกร้องขอให้เพิกถอนการโอนจึงต้องนับแต่วันดังกล่าว แม้ เจ้าหน้าที่ระดับต่าง ๆ ของโจทก์ได้ทราบเรื่องที่จะขอให้ เพิกถอน การ โอนเกินกำหนด 1 ปี แต่บุคคลดังกล่าวมิใช่ผู้ที่มีอำนาจ กระทำการ แทน โจทก์จะถือว่าโจทก์ได้รู้ถึงสิทธิเรียกร้องดังกล่าว ไม่ได้ ช. เป็นบุตรของจำเลยที่ 1 และเป็นผู้ดำเนินการในการทำเหมืองแร่ตามประทานบัตรที่พิพาทแทนจำเลยที่ 1 ตลอดมา ช. จะ ต้องรู้ดีว่ามีรายได้จากการประกอบการนั้นเท่าใดและจะต้องนำมาคำนวณเพื่อเสียภาษีเท่าใด การที่จำเลยที่ 1 ชำระภาษีในบางปีไม่ครบถ้วนหรือไม่ชำระเลย ช. ในฐานะที่เป็นผู้ดำเนินการแทนจะต้องทราบและรู้ดีว่าจำเลยที่ 1 มีทรัพย์สินอื่นพอที่จะชำระหนี้ภาษีอากรหรือไม่ เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่มีทรัพย์สินอื่นนอกจากประทานบัตร ที่ พิพาท ในอันที่จะนำมาชำระหนี้โจทก์ได้ การที่ ช. รับโอนประทานบัตร ที่พิพาทโดยรู้ถึงความจริงดังกล่าวนับได้ว่าเป็นการรับโอน โดย รู้ เท่าถึงข้อความจริงอันเป็นทางให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ เสียเปรียบ ถือไม่ได้ว่าเป็นการรับโอนโดยสุจริต จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็น ทายาท ของ ช.รับโอนประทานบัตรที่พิพาทมาในฐานะที่เป็นมรดกจึง ไม่มี สิทธิ ดีกว่าช. ซึ่งเป็นเจ้ามรดก และไม่อาจอ้างสิทธิในฐานะ ที่ เป็นบุคคลภายนอกได้ แต่กลับมีหน้าที่ในฐานะทายาทที่จะ ต้อง โอน กลับคืนไปตามหน้าที่ที่เจ้ามรดกมีอยู่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 743/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการโอนประทานบัตรเนื่องจากเจ้าหนี้เสียเปรียบและการรับโอนโดยรู้เท่าถึงข้อเท็จจริง
ขณะเกิดกรณีพิพาท ว.ดำรงตำแหน่งอธิบดีโจทก์ว. จึงเป็นผู้แทนที่มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ เมื่อนับระยะเวลาที่ ว.ในฐานะผู้แทนโจทก์ได้รู้ถึงเหตุที่จะขอเพิกถอนการโอนถึงวันที่โจทก์ฟ้องยังไม่เกินกำหนด 1 ปี คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความการที่เจ้าหน้าที่ระดับต่าง ๆ ของโจทก์ทราบเรื่องที่จะขอให้เพิกถอนการโอนแต่เจ้าหน้าที่ของโจทก์ในระดับต่าง ๆ ดังกล่าวมิใช่ผู้ที่มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์จะถือว่าโจทก์ได้รู้ถึงสิทธิเรียกร้องดังกล่าวด้วยไม่ได้ จำเลยที่ 1 ไม่มีทรัพย์สินอื่นนอกจากประทานบัตรที่พิพาทในอันที่จะนำมาชำระหนี้โจทก์ได้ ช. รับโอน ประทานบัตรที่พิพาทโดยรู้ถึงความจริงดังกล่าว กรณีจึงเป็นการรับโอนโดยรู้เท่าถึงข้อความจริงอันเป็นทางให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้เสียเปรียบถือไม่ได้ว่าเป็นการรับโอนโดยสุจริต และจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นทายาทของ ช. รับโอนประทานบัตรที่พิพาทมาในฐานะที่เป็นมรดกจำเลยที่ 3 จึงไม่มีสิทธิดีไปกว่า ช. ซึ่งเป็นเจ้ามรดกเมื่อนิติกรรมการได้ประทานบัตรที่พิพาทของ ช. เป็นอันจะต้องถูกเพิกถอนเนื่องจากผลแห่งการกระทำของ ช. เอง จำเลยที่ 3ในฐานะทายาทจึงไม่อาจอ้างสิทธิในฐานะที่เป็นบุคคลภายนอกได้แต่กลับมีหน้าที่ในฐานะทายาทที่จะต้องโอนประทานบัตรที่พิพาทกลับคืนตามหน้าที่ที่ ช. เจ้ามรดกมีอยู่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 664/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดในละเมิดจากการรื้อถอนอาคาร, สิทธิของเจ้าของกรรมสิทธิ์ vs ผู้จะซื้อ, และภาระการพิสูจน์ของผู้ว่าจ้าง
บรรยายฟ้องว่า จำเลยรื้อถอนอาคารที่ติดกับอาคารโจทก์โดยไม่ถูกต้องตามหลักวิชา ทำให้อาคารของโจทก์ได้รับความเสียหายแตกร้าว โจทก์ต้องก่อสร้างอาคารใหม่ ทั้งเป็นเหตุทำให้โจทก์ขาดรายได้จากการขายอาหารเพราะลูกค้าไม่กล้าเข้าร้านอาคารโจทก์ที่ใช้ประกอบกิจการค้าขายอาหาร ดังนี้ เป็นคำฟ้องที่บรรยายเกี่ยวกับความเสียหายและค่าเสียหายชัดแจ้งแล้ว ไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม ส่วนรายละเอียดเกี่ยวกับความเสียหายที่โจทก์ไม่ได้ระบุในคำฟ้องนั้นโจทก์อาจนำสืบได้ในชั้นพิจารณา เหตุละเมิดที่ทำให้อาคารได้รับความเสียหาย เกิดขึ้นในขณะที่โจทก์ในฐานะผู้จะซื้อครอบครองอาคารดังกล่าวแทนผู้จะขายโจทก์จึงมีแต่เพียงบุคคลสิทธิตามสัญญาจะซื้อจะขายที่จะเรียกค่าสินไหมทดแทนแต่เฉพาะในส่วนที่ทำให้โจทก์ขาดรายได้จากการขายอาหารในอาคารดังกล่าวซึ่งเป็นผลโดยตรงเท่านั้น โจทก์ไม่อาจใช้สิทธิในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1336ที่จะเรียกค่าเสียหายที่เกิดแก่ตัวอาคารเพราะสิทธินั้นเป็นของผู้จะขายอาคารเท่านั้น การที่โจทก์จะให้ผู้ว่าจ้างรับผิดร่วมกับผู้รับจ้างที่กระทำละเมิดต่อโจทก์นั้น โจทก์มีภาระต้องพิสูจน์ว่าผู้ว่าจ้างเป็นผู้ผิดในการเลือกหาผู้รับจ้างหรือเป็นผู้ควบคุมดูแลผู้รับจ้างที่ทำละเมิดนั้นเมื่อโจทก์สืบไม่ได้ ผู้ว่าจ้างไม่ต้องรับผิดในผลละเมิดที่ผู้รับจ้างได้กระทำขึ้น.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 460/2534 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าของเช็คที่แท้จริง: แม้ชื่อผู้รับเงินในเช็คเป็นของโจทก์ แต่หากผู้ร้องสอดเป็นผู้ลงทุนและรับเงินจริง การกระทำของจำเลยไม่เป็นการละเมิด
โจทก์ฟ้องว่า เงินตามเช็คพิพาทเป็นของโจทก์ จำเลยให้การว่าการที่จำเลยนำเงินตามเช็คพิพาทไปเข้าบัญชีของ ส. เพราะทำตามคำสั่งของ ส.ซึ่งเป็นตัวแทนของโจทก์ การกระทำของจำเลยไม่เป็นการละเมิด ผู้ร้องสอดร้องสอดว่า เงินตามเช็คพิพาทเป็นของผู้ร้องสอดดังนั้น ศาลมีอำนาจวินิจฉัยว่า ใครเป็นเจ้าของอันแท้จริงแห่งเช็คพิพาท ไม่เป็นเรื่องนอกฟ้องนอกประเด็น
แม้ว่าโจทก์จะมีชื่อเป็นผู้ยื่นซองประกวดราคารับเหมาก่อสร้างอาคารเรียนและเป็นผู้ทำสัญญาจ้างเหมาก่อสร้างอาคารเรียนดังกล่าวกับ ก.ก็ตาม เมื่อผู้ร้องสอดอ้างว่า ผู้ร้องสอดยืมชื่อโจทก์มาใช้ในการยื่นซองประกวดราคาและทำสัญญาจ้างเหมาเท่านั้น ส่วนการลงทุนก่อสร้างอาคารเรียน ผู้ร้องสอดแต่ผู้เดียวเป็นผู้ลงทุน ผู้ร้องสอดมีหลักฐานการรับเงินค่าตอบแทนของโจทก์หลักฐานการจ่ายค่าจ้างให้แก่ภริยาจำเลยในการรับจ้างก่อสร้าง และยังมีพยานบุคคลมาสืบว่าได้รับจ้างผู้ร้องสอดก่อสร้างอาคารเรียน เมื่อฟังประกอบกับการที่โจทก์ทำหนังสือมอบอำนาจให้ผู้ร้องสอดเป็นผู้รับเงินค่าจ้างเหมาก่อสร้างจาก ก.ทั้งหมดแทน พฤติการณ์ดังกล่าวส่อแสดงว่าโจทก์เป็นเพียงตัวแทนเชิดของผู้ร้องสอด ในการรับจ้างก่อสร้างอาคารเรียนกับ ก. ดังนั้นแม้ ก.จะจ่ายค่ารับเหมาก่อสร้างอาคารเรียนเป็นเช็คระบุชื่อโจทก์เป็นผู้รับเงิน และขีดคร่อมระบุให้เข้าบัญชีของผู้รับเท่านั้นก็ตาม เช็คดังกล่าวก็เป็นของผู้ร้องสอด จำเลยนำเช็คพิพาทเข้าบัญชีของ ส.หุ้นส่วนผู้จัดการของผู้ร้องสอดซึ่งเป็นเจ้าของเงินตามเช็คที่แท้จริงและโจทก์ตกลงให้กระทำได้นั้น การกระทำของจำเลยไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 460/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าของเช็คพิพาท: ศาลฎีกาวินิจฉัยประเด็นการครอบครองเงินตามเช็คที่แท้จริงและผลต่อการละเมิด
โจทก์ฟ้องโดยอาศัยเช็คพิพาทเป็นหลัก เมื่อธนาคารจำเลยให้การต่อสู้ว่าการกระทำของจำเลยไม่เป็นการละเมิดเพราะจำเลยนำเงินตามเช็คพิพาทเข้าบัญชีของ ส.หุ้นส่วนผู้จัดการของผู้ร้องสอดและเป็นตัวแทนโจทก์ตามคำสั่งของ ส. เป็นการกระทำโดยสุจริตและผู้ร้องสอดยื่นคำร้องว่า เงินตามเช็คพิพาทเป็นของผู้ร้องสอดศาลย่อมมีอำนาจวินิจฉัยว่า ใครเป็นเจ้าของอันแท้จริงแห่งเช็คพิพาทหาเป็นเรื่องนอกฟ้อง นอกประเด็นไม่ แม้เช็คพิพาทซึ่งระบุชื่อโจทก์เป็นผู้รับเงินจะเป็นเช็คขีดคร่อมทั่วไปและมีข้อความว่า "เข้าบัญชีผู้รับเท่านั้น"แต่เมื่อเงินตามเช็คเป็นของผู้ร้องสอด การที่ธนาคารจำเลยเรียกเก็บเงินตามเช็คแล้วนำเงินเข้าบัญชีของ ส. หุ้นส่วนผู้จัดการของห้างผู้ร้องสอดโดยโจทก์ตกลงให้กระทำได้ ย่อมไม่เป็นการละเมิด ต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 460/2534 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ตัวแทนเชิด - เจ้าของเงินที่แท้จริง - การโอนเงินเข้าบัญชี - ไม่เป็นการละเมิด
โจทก์เป็นเพียงตัวแทนเชิด ของผู้ร้องสอด การที่จำเลยนำเช็คพิพาทเข้าบัญชีของ ส. หุ้นส่วนผู้จัดการของผู้ร้องสอดซึ่งเป็นเจ้าของเงินที่แท้จริง และโจทก์ตกลงให้กระทำได้เช่นนี้แม้เช็คพิพาทจะระบุชื่อโจทก์ เป็นผู้รับเงิน การกระทำของจำเลยก็ไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 460/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าของเช็คพิพาท: ศาลวินิจฉัยตามความเป็นจริง แม้ชื่อผู้รับเงินในเช็คเป็นของโจทก์
โจทก์ฟ้องว่า เงินตามเช็คพิพาทเป็นของโจทก์ จำเลยให้การว่าการที่จำเลยนำเงินตามเช็คพิพาทไปเข้าบัญชีของ ส. เพราะทำตามคำสั่งของ ส. ซึ่งเป็นตัวแทนของโจทก์ การกระทำของจำเลยไม่เป็นการละเมิด ผู้ร้องสอดร้องสอดว่า เงินตามเช็คพิพาทเป็นของผู้ร้องสอด ดังนั้น ศาลมีอำนาจวินิจฉัยว่า ใครเป็นเจ้าของอันแท้จริงแห่งเช็คพิพาท ไม่เป็นเรื่องนอกฟ้องนอกประเด็น แม้ว่าโจทก์จะมีชื่อเป็นผู้ยื่นซองประกวดราคารับเหมาก่อสร้างอาคารเรียนและเป็นผู้ทำสัญญาจ้างเหมาก่อสร้างอาคารเรียนดังกล่าวกับ ก. ก็ตาม เมื่อผู้ร้องสอดอ้างว่า ผู้ร้องสอดยืมชื่อโจทก์มาใช้ในการยื่นซองประกวดราคาและทำสัญญาจ้างเหมาเท่านั้น ส่วนการลงทุนก่อสร้างอาคารเรียน ผู้ร้องสอดแต่ผู้เดียวเป็นผู้ลงทุนผู้ร้องสอดมีหลักฐานการรับเงินค่าตอบแทนของโจทก์หลักฐานการจ่ายค่าจ้างให้แก่ภริยาจำเลยในการรับจ้างก่อสร้าง และยังมีพยานบุคคลมาสืบว่าได้รับจ้างผู้ร้องสอดก่อสร้างอาคารเรียน เมื่อฟังประกอบกับการที่โจทก์ทำหนังสือมอบอำนาจให้ผู้ร้องสอดเป็นผู้รับเงินค่าจ้างเหมาก่อสร้างจาก ก. ทั้งหมดแทน พฤติการณ์ดังกล่าวส่อแสดงว่าโจทก์เป็นเพียงตัวแทนเชิดของผู้ร้องสอด ในการรับจ้างก่อสร้างอาคารเรียนกับ ก. ดังนั้นแม้ ก. จะจ่ายค่ารับเหมาก่อสร้างอาคารเรียนเป็นเช็คระบุชื่อโจทก์เป็นผู้รับเงิน และขีดคร่อมระบุให้เข้าบัญชีของผู้รับเท่านั้นก็ตาม เช็คดังกล่าวก็เป็นของผู้ร้องสอด จำเลยนำเช็คพิพาทเข้าบัญชีของ ส. หุ้นส่วนผู้จัดการของผู้ร้องสอดซึ่งเป็นเจ้าของเงินตามเช็คที่แท้จริงและโจทก์ตกลงให้กระทำได้นั้น การกระทำของจำเลยไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 400/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้อง, อายุความ, และการละเมิดหน้าที่เวรยาม: การพิพากษาคดีอาญาแพ่ง
ขณะที่โจทก์ฟ้องคดี ฉ. อธิบดีกรมการปกครองโจทก์ ไปราชการต่างจังหวัด ช. รองอธิบดีเป็นผู้รักษาการแทนเช่นนี้ ในช่วงนั้นช. ผู้รักษาการแทนย่อมมีฐานะเป็นผู้แทนโจทก์ และมีอำนาจกระทำการต่าง ๆ แทนโจทก์ได้เช่นเดียวกับอธิบดี ตามที่กำหนดไว้ในประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 218 ข้อ 42 วรรคสอง และข้อ 44วรรคแรก ดังนี้ ช. จึงมีอำนาจลงนามในใบแต่งทนายความให้ฟ้องคดีได้โดยมิต้องมีการมอบหมายจากอธิบดี จังหวัดนครพนมเป็นนิติบุคคลต่างหากจากโจทก์ผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนมมิใช่ผู้แทนโจทก์ ผู้แทนโจทก์คืออธิบดี การที่ผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนมรู้ถึงตัวผู้ทำละเมิดจะถือว่าโจทก์รู้ยังไม่ได้ เมื่ออธิบดีโจทก์รู้ถึงตัวผู้ทำละเมิดเมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2526 โจทก์ฟ้องคดีเมื่อวันที่ 3กุมภาพันธ์ 2527 คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ การที่จำเลยที่ 1 ละเลยต่อหน้าที่โดยไม่บอกกล่าวให้จำเลยที่ 2 จัดเวรยามแทนในเมื่อตนเองจะต้องไปราชการตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชา และไม่อาจอยู่เวรยามตามกำหนด ทำให้ไม่มีเวรยามอยู่ดูแล เป็นโอกาสให้คนร้ายเอาทรัพย์สินที่เก็บไว้ในคลังพัสดุไป ดังนี้ การละเลยต่อหน้าที่ของจำเลยที่ 1 จึงเป็นเหตุโดยตรงต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่โจทก์ ต้องถือว่าจำเลยที่ 1ได้กระทำละเมิดต่อโจทก์ด้วย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 400/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องของตัวแทน, อายุความละเมิด, และความรับผิดของผู้ละเวรยาม
ขณะโจทก์ฟ้องอธิบดีกรมโจทก์ไปราชการต่างจังหวัด รองอธิบดีกรมโจทก์เป็นผู้รักษาการแทนอธิบดีย่อมมีฐานะเป็นผู้แทนของโจทก์และมีอำนาจกระทำการต่าง ๆ แทนโจทก์ได้เช่นเดียวกับอธิบดีตามที่กำหนดไว้ในประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 218 ลงวันที่ 29 กันยายนพุทธศักราช 2515 ข้อ 42 วรรคสอง และข้อ 44 วรรคแรก รองอธิบดีจึงมีอำนาจลงนามในใบแต่งทนายความให้ฟ้องได้โดยมิต้องมีการมอบหมายจากอธิบดี ผู้แทนของกรมโจทก์คืออธิบดี จังหวัดเป็นนิติบุคคลต่างหากจากกรมโจทก์ ผู้ว่าราชการจังหวัดจึงมิใช่ผู้แทนของโจทก์ การที่ผู้ว่าราชการจังหวัดรู้ถึงตัวผู้ทำละเมิดนั้นจะถือว่าโจทก์รู้ยังไม่ได้ อธิบดีกรมโจทก์ได้รู้ถึงตัวผู้ทำละเมิดเมื่อวันที่ 8กุมภาพันธ์ 2526 โจทก์มาฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2527คดีของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ วันเกิดเหตุจำเลยที่ 1 มีหน้าที่อยู่เวรยาม แต่ผู้กำกับการตำรวจภูธรจังหวัดนครพนมสั่งให้จำเลยที่ 1 ไปราชการที่กรุงเทพมหานครจำเลยที่ 1 จึงไปราชการโดยไม่แจ้งให้จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นหัวหน้าเวรทราบตามระเบียบซึ่งกำหนดว่า ผู้ใดไม่สามารถอยู่เวรวันใดได้ให้แจ้งหัวหน้าทราบ จึงไม่มีการจัดเวรยามอยู่รักษาการณ์ เป็นเหตุให้ทรัพย์สินของโจทก์ถูกคนร้ายลักไป การที่จำเลยที่ 1 ละเลยต่อหน้าที่ที่ต้องมีตามที่กำหนดไว้โดยไม่บอกกล่าวให้จำเลยที่ 2 จัดเวรยามแทนในเมื่อตนจะต้องไปราชการตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชาไม่อาจมาอยู่เวรยามตามกำหนด จึงเป็นเหตุโดยตรงต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นของโจทก์ ต้องถือว่าจำเลยที่ 1 ได้ทำละเมิดต่อโจทก์ด้วย
of 61