คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
พัลลภ พิสิษฐ์สังฆการ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 606 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 95/2534 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำขอพิจารณาใหม่ต้องแสดงเหตุผลชัดเจนว่าหากพิจารณาใหม่แล้วมีโอกาสชนะคดี มิใช่เพียงกล่าวอ้างว่ามีโอกาส
คำขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลยมิได้กล่าวโดยละเอียดชัดแจ้งซึ่งข้อคัดค้านคำตัดสินชี้ขาดของศาลเพื่อแสดงว่าตนอาจชนะคดีได้อย่างไร คงกล่าวแต่เพียงว่าถ้า มีการสืบพยานจำเลยแล้ว จำเลยก็มีทางชนะคดีได้เท่านั้น โดยไม่มีเหตุผลหรือหลักฐานอ้างอิงที่จะแสดงให้เห็นได้ชัดแจ้งว่า หากมีการพิจารณาใหม่แล้ว ศาลอาจพิพากษาให้จำเลยชนะคดีได้ คำขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลยจึงไม่ต้องด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 208 วรรคสอง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 95/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำขอพิจารณาใหม่ต้องแสดงเหตุผลที่ชัดเจนว่ามีโอกาสชนะคดี หากกล่าวเพียงว่ามีทางชนะคดี ศาลไม่รับพิจารณา
คำขอให้พิจารณาใหม่ ต้องมีข้อคัดค้านคำตัดสินชี้ขาดของศาลเพื่อแสดงว่าตนอาจชนะคดีได้อย่างไร เมื่อคำขอของจำเลยมีเพียงว่าถ้ามีการสืบพยานจำเลยแล้ว จำเลยก็มีทางชนะคดีได้ดังนี้ จึงไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 208 วรรคสอง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6184/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิพากษาสัญชาติไทยของบุคคลที่มีมารดาเป็นคนต่างด้าวและมีประวัติการอพยพเข้าประเทศ
การที่โจทก์ทั้งสิบสามไปรายงานตัวต่อสำนักงานกิจการญวนอพยพจังหวัดอุบลราชธานีว่าเป็นคนญวนอพยพตามที่ผู้ว่าราชการจังหวัดประกาศให้คนญวนอพยพที่มีอายุ 12 ปี ขึ้นไปมารายงานตัวต่อสำนักงานกิจการญวนอพยพก็เพราะกลัวว่าจะถูกจับกุม และก่อนฟ้องคดีนี้บิดาของโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 8 และเป็นตา ของโจทก์ที่ 12 ถึงที่ 13ได้มีหนังสือถึงผู้ว่าราชการจังหวัดว่าโจทก์ทั้งสิบสามเป็นคนสัญชาติไทย ขอให้เพิกถอนชื่อโจทก์ทั้งสิบสามออกจากทะเบียนบ้านญวนอพยพ แต่ได้รับการปฏิเสธ แสดงว่าจำเลยทั้งสองยืนยันว่าโจทก์ดังกล่าวยังเป็นคนสัญชาติญวนอยู่ จึงเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 แล้ว โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 8 เป็นบุตรของนาง จ. โจทก์ที่ 9 ถึงที่ 11เป็นบุตรของโจทก์ที่ 1 ซึ่งนาง จ. และโจทก์ที่ 1 เป็นคนต่างด้าวเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรโดยมิได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองและไม่ปรากฏบิดาที่ชอบด้วยกฎหมาย แม้โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 8จะได้สัญชาติไทยโดยการเกิด สัญชาติไทยของโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 8ก็ต้องถูกถอนตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 ลงวันที่ 13ธันวาคม 2515 ข้อ 1 โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 8 จึงมิใช่ผู้ที่มีสัญชาติไทย โจทก์ที่ 12 และที่ 13 เกิดในราชอาณาจักรโดยมีโจทก์ที่ 5และที่ 6 เป็นมารดาโจทก์ไม่ปรากฏบิดาที่ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ที่ 12และที่ 13 จึงได้สัญชาติไทยโดยการเกิดตามพระราชบัญญัติสัญชาติพ.ศ. 2508 มาตรา 7(3) ถึงแม้โจทก์ที่ 5 และที่ 6 ซึ่งเป็นมารดาจะได้ถูกถอนสัญชาติไทย แต่มารดาโจทก์ก็เกิดในราชอาณาจักรมิใช่คนต่างด้าวที่เข้ามาในราชอาณาจักรโดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง โจทก์ที่ 12 และที่ 13 จึงมิใช่บุคคลที่จะต้องถูกถอนสัญชาติไทยตามที่กำหนดไว้ในประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337ลงวันที่ 13 ธันวาคม 2515.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6184/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิพากษาเรื่องสัญชาติไทยของบุคคลที่มีมารดาเป็นคนต่างด้าวและการถูกถอนสัญชาติไทยตามประกาศของคณะปฏิวัติ
การที่โจทก์ทั้งสิบสามไปรายงานตัวต่อสำนักงานกิจการญวนอพยพจังหวัดอุบลราชธานีว่าเป็นคนญวนอพยพ ตามที่ผู้ว่าราชการจังหวัดประกาศให้คนญวนอพยพที่มีอายุ 12 ปี ขึ้นไปมารายงานตัวต่อสำนักงานกิจการญวนอพยพก็เพราะกลัวว่าจะถูกจับกุม และก่อนฟ้องคดีนี้บิดาของโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 8 และเป็นตา ของโจทก์ที่ 12 ถึงที่ 13ได้มีหนังสือถึงผู้ว่าราชการจังหวัดว่าโจทก์ทั้งสิบสามเป็นคนสัญชาติไทย ขอให้เพิกถอนชื่อโจทก์ทั้งสิบสามออกจากทะเบียนบ้านญวนอพยพ แต่ได้รับการปฏิเสธ แสดงว่าจำเลยทั้งสองยืนยันว่าโจทก์ดังกล่าวยังเป็นคนสัญชาติญวนอยู่ จึงเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 แล้ว
โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 8 เป็นบุตรของนาง จ. โจทก์ที่ 9 ถึงที่ 11เป็นบุตรของโจทก์ที่ 1 ซึ่งนาง จ. และโจทก์ที่ 1 เป็นคนต่างด้าวเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรโดยมิได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองและไม่ปรากฏบิดา ที่ชอบด้วยกฎหมาย แม้โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 8จะได้สัญชาติไทยโดยการเกิด สัญชาติไทยของโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 8 ก็ต้องถูกถอนตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 ลงวันที่ 13 ธันวาคม 2515 ข้อ 1 โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 8 จึงมิใช่ผู้ที่มีสัญชาติไทย
โจทก์ที่ 12 และที่ 13 เกิดในราชอาณาจักรโดยมีโจทก์ที่ 5 และที่ 6 เป็นมารดาโจทก์ไม่ปรากฏบิดาที่ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ที่ 12 และที่ 13 จึงได้สัญชาติไทยโดยการเกิดตามพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ.2508 มาตรา 7(3) ถึงแม้โจทก์ที่ 5 และที่ 6 ซึ่งเป็นมารดาจะได้ถูกถอนสัญชาติไทย แต่มารดาโจทก์ก็เกิดในราชอาณาจักรมิใช่คนต่างด้าวที่เข้ามาในราชอาณาจักรโดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง โจทก์ที่ 12 และที่ 13 จึงมิใช่บุคคลที่จะต้องถูกถอนสัญชาติไทยตามที่กำหนดไว้ในประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337ลงวันที่ 13 ธันวาคม 2515.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6181/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองปรปักษ์และการสละกรรมสิทธิ์: คดีไม่เป็นอุทลุมเมื่อเป็นการใช้สิทธิเรียกร้องตามกฎหมาย
คำร้องขอแสดงกรรมสิทธิ์ในที่ดินโดยการครอบครองปรปักษ์เป็นการร้องขอเพื่อให้ได้มาซึ่งสิทธิของตนตามที่กฎหมายกำหนดไว้มิใช่กรณีที่ผู้ร้องมีคำขออย่างใดอย่างหนึ่งในทางที่จะเป็นการบังคับเอากับผู้คัดค้านซึ่งเป็นบุพการี แม้ผู้คัดค้านจะยื่นคำคัดค้านเข้ามาก็เป็นการกระทำของผู้คัดค้านเอง มิใช่การกระทำของผู้ร้อง ดังนั้น คดีของผู้ร้องจึงไม่เป็นอุทลุม ผู้คัดค้านแสดงเจตนายกที่ดินพิพาทให้ผู้ร้องและผู้ร้องได้เข้าครอบครองที่ดินนับแต่ที่ผู้คัดค้านได้แสดงเจตนาสละกรรมสิทธิ์ให้จึงเป็นการเข้าครอบครองด้วยเจตนาเป็นเจ้าของนับแต่วันนั้น เมื่อผู้ร้องได้ครอบครองมาโดยสงบและเปิดเผยเป็นเวลาเกินกว่า 10 ปีดังนี้ ผู้ร้องได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6181/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ และข้อยกเว้นอุทลุมเกี่ยวกับการฟ้องบุพการี
การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดินที่ได้มาโดยการครอบครองปรปักษ์อันเป็นกรณีที่ผู้ร้องจะต้องใช้สิทธิทางศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 นั้น เป็นการร้องขอเพื่อให้ได้มาซึ่งสิทธิของตนตามกฎหมาย มิใช่เป็นกรณีที่ผู้ร้องมีคำขออย่างใดอย่างหนึ่งในทางที่จะเป็นการบังคับเอาแก่ผู้คัดค้านซึ่งเป็นบุพการี และถึงแม้ว่าผู้คัดค้านจะยื่นคำคัดค้านเข้ามาก็เป็นการกระทำของผู้คัดค้านเอง มิใช่การกระทำของผู้ร้อง และการที่ผู้คัดค้านเข้ามานั้นก็มีผลเพียงทำให้คดีของผู้ร้องเดิมกลายเป็นคดีมีข้อพิพาทขึ้นเท่านั้นจึงไม่อยู่ในความหมายที่จะเรียกได้ว่าเป็นการฟ้องบุพการีอันจักต้องห้ามมิให้ฟ้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1562 ซึ่งเป็นบทกฎหมายที่จำกัดสิทธิ ต้องตีความโดยเคร่งครัด คดีของผู้ร้องจึงไม่เป็นอุทลุม
แม้บันทึกที่ผู้คัดค้านแสดงเจตนายกกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้แก่ผู้ร้องจะไม่มีผลเป็นการยกให้ตามกฎหมาย แต่ก็เป็นเอกสารที่แสดงข้อเท็จจริงให้เห็นตามคำเบิกความของผู้ร้องและพยานผู้ร้องว่า ผู้คัดค้านได้สละกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทนั้นให้เป็นของผู้ร้องแล้วนับแต่วันที่ได้แสดงเจตนานั้นออกมา การที่ผู้ร้องได้เข้าครอบครองที่ดินพิพาทนับตั้งแต่วันดังกล่าว จึงเป็นการเข้าครอบครองด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ เมื่อผู้ร้องครอบครองโดยความสงบและโดยเปิดเผยติดต่อกันเป็นเวลาสิบปี ผู้ร้องจึงได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6039/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในที่ดินมรดก: ศาลไม่อาจพิพากษาให้กระทบสิทธิบุคคลภายนอกคดี
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างมารดาโจทก์กับจำเลยที่ 1 และสัญญาจำนองที่ดินพิพาทระหว่างมารดาโจทก์กับจำเลยที่ 3 และระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 3 และใส่ชื่อโจทก์เป็นเจ้าของในที่ดินพิพาทตามส่วน แต่ที่ดินพิพาทก่อนทำนิติกรรมดังกล่าวมีชื่อมารดาโจทก์ซึ่งมิได้ถูกฟ้องหรือเป็นคู่ความในคดีด้วยเป็นเจ้าของ ศาลไม่อาจพิจารณาพิพากษาตามคำขอให้มีผลกระทบกระเทือนสิทธิของมารดาโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกคดีได้ ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยเองได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6039/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนนิติกรรมซื้อขายจำนองที่ดินกระทบสิทธิบุคคลภายนอกคดี ศาลไม่อาจพิพากษาได้
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างมารดาโจทก์กับจำเลยที่ 1 และสัญญาจำนองที่ดินพิพาทระหว่างมารดาโจทก์กับจำเลยที่ 3 และระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 3 และใส่ชื่อโจทก์เป็นเจ้าของในที่ดินพิพาทตามส่วน แต่ที่ดินพิพาทก่อนทำนิติกรรมดังกล่าวมีชื่อมารดาโจทก์ซึ่งมิได้ถูกฟ้องหรือเป็นคู่ความในคดีด้วยเป็นเจ้าของ ศาลไม่อาจพิจารณาพิพากษาตามคำขอให้มีผลกระทบกระเทือนสิทธิของมารดาโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกคดีได้ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยเองได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6018/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฉ้อโกงประชาชนโดยหลอกลวงจัดหางานต่างประเทศ แม้ไม่มีเจตนาจัดหางานจริง ก็ยังผิดฐานฉ้อโกง
การที่จำเลยที่ 1 ที่ 2 ร่วมกับพวกชักชวนชาวบ้านให้ไปทำงานที่ประเทศมาเลเซีย โดยเรียกค่าบริการและรับเงินจากโจทก์ร่วมและผู้เสียหายซึ่งสมัครไปทำงานดังกล่าวแต่แล้วกลับปล่อยโจทก์ร่วมกับผู้เสียหายไว้ที่จังหวัดยะลา โดยที่ไม่มีงานในประเทศมาเลเซียที่จะให้ไปทำจริงดังที่ประกาศชักชวน ดังนี้ เท่ากับเป็นการหลอกลวงผู้อื่นด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จต่อประชาชน เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 343 วรรคหนึ่ง ตอนแรกของคำฟ้องบรรยายว่า จำเลยทั้งสามกับพวกร่วมกันจัดหางานโดยเรียกรับค่าบริการโดยไม่ได้รับอนุญาตจัดหางานจากนายทะเบียนตามกฎหมาย แต่ตอนหลังคำฟ้องกลับบรรยายว่า จำเลยทั้งสามกับพวกไม่ได้มีเจตนาและไม่มีความสามารถที่จะติดต่อหาผู้ใดไปทำงาน ดังนี้คำฟ้องตอนหลังของโจทก์เป็นการยืนยันข้อเท็จจริงว่า จำเลยทั้งสามไม่มีเจตนาจัดหางานการกระทำของจำเลยทั้งสามตามฟ้องจึงไม่เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติจัดหางานฯ พ.ศ.2511 หมายเหตุ วรรคสองวินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6018/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฉ้อโกงประชาชนจากการหลอกลวงจัดหางาน แม้ไม่มีเจตนาจัดหางาน ก็ต้องรับผิดตามประมวลกฎหมายอาญา
จำเลยร่วมกับพวกชักชวนชาวบ้านให้ไปทำงานที่ประเทศมาเลเซียรับสมัครคนงานโดยเรียกค่าบริการและรับเงินจากโจทก์ร่วมและผู้เสียหายคนละ 1,000 บาท ถึง 3,000 บาท โดยจำเลยกับพวกให้โจทก์ร่วมและผู้เสียหายกับพวกเดิน ทางไปทำงานแล้วไปปล่อยทิ้งไว้ที่จังหวัดยะลาโดยไม่มีงานในประเทศมาเลเซียที่จะให้ไปทำจริงดัง ที่ประกาศชักชวน การกระทำของจำเลยกับพวกเป็นการหลอกลวงผู้อื่นด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จต่อประชาชน เป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 343วรรคหนึ่ง สภาพของความผิดที่จำเลยได้กระทำไปเป็นที่เห็นได้ว่าผู้กระทำผิดจะต้องเห็นได้ล่วงหน้าว่าเป็นการก่อให้เกิดความเดือด ร้อนเป็นทวีคูณแก่โจทก์ร่วมและผู้เสียหาย ซึ่งไม่มีงานทำอันเป็นความเดือด ร้อนอยู่แล้ว การแสวงหาผลประโยชน์โดยสุจริตที่อาศัยโอกาสจากการต้องการงานทำของผู้ว่างงานมาเป็นช่องทางให้กระทำสำเร็จได้เช่นนี้จึงไม่มีเหตุอันควรปราณีให้รอการลงโทษ คำฟ้องของโจทก์แม้จะได้บรรยายไว้ในตอนแรกว่า จำเลยทั้งสามกับพวกร่วมกันจัดหางานโดยเรียกรับค่าบริการโดยไม่ได้รับอนุญาตจัดหางานจากนายทะเบียนตามกฎหมายก็ตาม แต่ในคำบรรยายฟ้องของโจทก์ในตอนต่อมากลับกล่าวว่า "จำเลยทั้งสามกับพวกไม่ได้มีเจตนาและไม่มีความสามารถที่จะติดต่อผู้ใดไปทำงาน..." เป็นการยืนยันข้อเท็จจริงว่า จำเลยทั้งสามไม่มีเจตนาจัดหางานอันถือว่าจำเลยทั้งสามไม่มีเจตนากระทำความผิดสำหรับฐานจัดหางานโดยมิได้รับอนุญาต กรณีจึงไม่อาจลงโทษจำเลยทั้งสามในความผิด ตาม พ.ร.บ.จัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2511 ได้.
of 61