พบผลลัพธ์ทั้งหมด 606 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4746/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความประมาทเลินเล่อในการมอบอำนาจและการรับจำนองโดยสุจริต ผู้ประมาทต้องรับผิดชอบ
การที่จำเลยที่ 3 ลงชื่อในหนังสือมอบอำนาจซึ่งยังมิได้กรอกข้อความแล้วมอบ ให้ผู้รับมอบอำนาจไปพร้อมทั้งโฉนดที่ดิน แสดงถึงความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 3 อย่างมาก เป็นการยอมเสี่ยงภัยในเมื่อผู้รับมอบอำนาจนำหนังสือมอบอำนาจนั้นไปใช้ในกิจการอย่างอื่นโจทก์เชื่อถือหนังสือมอบอำนาจนั้นจึงได้ทำการรับจำนองต่อพนักงานเจ้าหน้าที่โดยสุจริต ได้เสียค่าตอบแทนและจดทะเบียนสิทธิจำนองโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว จำเลยที่ 3 จะอ้างเอาความประมาทเลินเล่อของตนมาเป็นเหตุให้ตนพ้นจากความรับผิดหาได้ไม่ สุจริตด้วยกันผู้ประมาทเลินเล่อย่อมเป็นผู้เสียเปรียบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4714/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยื่นฎีกาเกินกำหนด: การแจ้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ และการขอขยายระยะเวลา
ผู้ร้องยื่นคำร้องขออนุญาตยื่นฎีกาเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งเดือนนับแต่วันอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์โดยอ้างเหตุว่าศาลชั้นต้นไม่ได้อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้ผู้ร้องฟัง หรือถือไม่ได้ว่าผู้ร้องได้ฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์โดยชอบคำร้องของผู้ร้องดังกล่าวจึงมีลักษณะเป็นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นฎีกา เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้อง ผู้ร้องจึงมีสิทธิยื่นอุทธรณ์คำสั่งนั้นต่อศาลอุทธรณ์ตามป.วิ.พ.มาตรา 223 เมื่อผู้ร้องยกเหตุดังกล่าวเป็นข้อฎีกาขึ้นมาแล้ว ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยเสียเองโดยไม่ต้องย้อนสำนวน
คดีนี้ได้มีการส่งหมายนัดอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ไปให้ทนายผู้ร้องทราบโดยชอบแล้ว ส่วนคำแถลงของผู้ร้องที่ขอให้ส่งคำคู่ความไปยังภูมิลำเนาของผู้ร้องนั้น ปรากฏว่าผู้ร้องได้ยื่นไว้ในคดีอื่น มิได้ยื่นไว้ในคดีนี้ ดังนั้น จึงต้องถือว่าศาลชั้นต้นได้อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้ผู้ร้องฟังโดยชอบแล้ว ไม่ชอบที่ผู้ร้องจะมาขอให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ผู้ร้องฎีกาเมื่อล่วงเลยกำหนด 1 เดือน นับแต่วันที่ศาลชั้นต้นได้อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ได้
คดีนี้ได้มีการส่งหมายนัดอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ไปให้ทนายผู้ร้องทราบโดยชอบแล้ว ส่วนคำแถลงของผู้ร้องที่ขอให้ส่งคำคู่ความไปยังภูมิลำเนาของผู้ร้องนั้น ปรากฏว่าผู้ร้องได้ยื่นไว้ในคดีอื่น มิได้ยื่นไว้ในคดีนี้ ดังนั้น จึงต้องถือว่าศาลชั้นต้นได้อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้ผู้ร้องฟังโดยชอบแล้ว ไม่ชอบที่ผู้ร้องจะมาขอให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ผู้ร้องฎีกาเมื่อล่วงเลยกำหนด 1 เดือน นับแต่วันที่ศาลชั้นต้นได้อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4714/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอขยายระยะเวลายื่นฎีกาและการอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์โดยชอบ
ผู้ร้องยื่นคำร้องขออนุญาตยื่นฎีกาเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งเดือนนับแต่วันอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์โดยอ้างเหตุว่าศาลชั้นต้นไม่ได้อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้ผู้ร้องฟัง หรือถือไม่ได้ว่าผู้ร้องได้ฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์โดยชอบคำร้องของผู้ร้องดังกล่าวจึงมีลักษณะเป็นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นฎีกา เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้อง ผู้ร้องจึงมีสิทธิยื่นอุทธรณ์คำสั่งนั้นต่อศาลอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 223เมื่อผู้ร้องยกเหตุดังกล่าวเป็นข้อฎีกาขึ้นมาแล้วศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยเสียเองโดยไม่ต้องย้อนสำนวน คดีนี้ได้มีการส่งหมายนัดอ่านคำพิพากษา ศาลอุทธรณ์ไปให้ทนายผู้ร้องทราบโดยชอบแล้ว ส่วนคำแถลงของผู้ร้องที่ขอให้ส่งคำคู่ความ ไปยังภูมิลำเนาของผู้ร้องนั้น ปรากฏว่าผู้ร้องได้ยื่นไว้ ในคดีอื่น มิได้ยื่นไว้ในคดีนี้ ดังนั้น จึงต้องถือว่า ศาลชั้นต้นได้อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้ผู้ร้องฟังโดยชอบแล้ว ไม่ชอบที่ผู้ร้องจะมา ขอให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ผู้ร้องฎีกา เมื่อล่วงเลยกำหนด 1 เดือน นับแต่วันที่ศาลชั้นต้น ได้อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4712/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความชัดเจนของฟ้องทรัพย์สิน: การระบุรายละเอียดทรัพย์สินรวมๆ เพียงพอหากจำเลยเข้าใจได้
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินและตึกแถวพร้อมเครื่องเรือน ของใช้สำนักงาน โรงงานและเครื่องจักรต่าง ๆซึ่งตั้งอยู่บนที่ดินดังกล่าวขอให้ขับไล่จำเลยและบริวารออกไปแม้ตามคำฟ้องโจทก์จะระบุข้อเท็จจริงเกี่ยวกับทรัพย์เพียงรวม ๆก็ตาม แต่ก็ได้ระบุชัดถึงชนิดและประเภทของทรัพย์ โดยยืนยันจำนวนทรัพย์ด้วยว่าทั้งหมดที่ตั้งอยู่บนที่ดินพิพาทซึ่งจำเลยเป็นผู้ใช้ประโยชน์ในทรัพย์สินนั้น จำเลยซึ่งเป็นผู้ครอบครองทรัพย์สินที่พิพาท ย่อมสามารถเข้าใจได้ว่าหมายถึงทรัพย์ใดบ้าง ความเข้าใจของจำเลยนี้เห็นได้ชัดจากที่จำเลยเป็นฝ่ายนำสืบก่อนได้อ้างเอกสารและให้รายละเอียดเกี่ยวกับทรัพย์พิพาทเอง ฟ้องโจทก์จึงได้ระบุข้อเท็จจริงเกี่ยวกับตัวทรัพย์พิพาทพอที่จำเลยสามารถเข้าใจและต่อสู้คดีได้ถูกต้องแล้ว ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4678/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การงดบังคับคดีตามมาตรา 293 วรรคแรก ต้องมีการยึดทรัพย์สินก่อน และไม่ลิดรอนสิทธิเจ้าหนี้
โจทก์ที่ 2 มิได้ร่วมกับโจทก์ที่ 1 ยื่นคำร้องของดการบังคับคดีไม่มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้ยกคำร้องของโจทก์ที่ 1 แม้ศาลอุทธรณ์ภาค 2 รับอุทธรณ์ของโจทก์ที่ 2 ก็ไม่ก่อให้เกิดสิทธิฎีกา การขอให้งดการบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 293 วรรคแรกจะต้องมีการบังคับคดีโดยการยึดหรืออายัดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาอยู่ก่อนแล้วในขณะนั้น เนื่องจากวิธีการบังคับคดีที่จะงดคือการขายทอดตลาดหรือจำหน่ายทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาโดยวิธีอื่น เพื่อเป็นการคุ้มครองป้องกันมิให้ลูกหนี้ตามคำพิพากษาได้รับความเสียหายจากการขายทอดตลาดหรือจำหน่ายทรัพย์สินก่อนที่จะได้มีการวินิจฉัยชี้ขาดในคดีที่ลูกหนี้ตามคำพิพากษาเป็นโจทก์ หาได้ให้ความคุ้มครองแก่ลูกหนี้ตามคำพิพากษาถึงขนาดลิดรอนสิทธิของเจ้าหนี้ตามคำพิพากษามิให้ดำเนินการเพื่อผลในการบังคับคดีตามคำพิพากษากับทรัพย์อื่นต่อไปไม่ คำร้องของโจทก์ที่ 1 ในฐานะลูกหนี้ตามคำพิพากษาที่ขอให้งดการบังคับคดีที่อาจมีต่อไปในอนาคตไม่ต้องด้วยบทบัญญัติดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4646/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าชดใช้ในการดำเนินคดีที่จำเลยเลิกสัญญา แม้จะยังไม่ได้ฟ้องคดี
โจทก์ได้ดำเนินการตามที่จำเป็นในการที่จะฟ้อง ม. กับพวกแล้วและที่ไม่สามารถฟ้อง ม. กับพวกนั้นมิใช่ความผิดของโจทก์เมื่อปรากฏว่าในเดือนกรกฎาคม 2530 จำเลยได้ตกลงให้คนอื่นดำเนินการเกี่ยวกับคดีต่าง ๆ แทนโจทก์ จึงฟังได้ตามที่โจทก์นำสืบว่าโจทก์จำเลยตกลงเลิกสัญญาจ้าง จำเลยจึงต้องชดใช้เงินให้แก่โจทก์ตามควรค่าแห่งการที่โจทก์ได้ทำไปเพื่อฟ้อง ม. กับพวก ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391 วรรคสาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4585/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เครื่องหมายการค้าเหมือน/คล้ายกันจนทำให้สาธารณชนเข้าใจผิด: สิทธิในเครื่องหมายการค้าลำดับก่อนมีน้ำหนักกว่า
เครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นอักษรญี่ปุ่นและอักษรจีนอ่านออกเสียงตามภาษาญี่ปุ่นได้สองแบบว่า "อายิโนะโมะโต๊ะ" หรือ "อายิโนะมิโซะ"อ่านออกเสียงเป็นภาษาจีนแต้จิ๋วว่า "บีจือซู" ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยซึ่งจำเลยขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าเป็นอักษรจีน อักษรไทย และอักษรโรมันว่า"บีซู" ซึ่งเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่เป็นอักษรจีนเหมือนหรือคล้ายเครื่องหมายการค้าของโจทก์ โดยอักษรตัวแรกในเครื่องหมายการค้าของจำเลยเขียนเหมือนกับอักษรตัวแรกในเครื่องหมายการค้าของโจทก์คือคำว่า "ปี" กับ "อายิ" และมีคำแปลเหมือนกันว่า "รส" และอักษรตัวหลังของเครื่องหมายการค้าของจำเลยเขียนเหมือนอักษรตัวหลังของเครื่องหมายการค้าของโจทก์ คือคำว่า "ซู" กับ คำว่า "โมะโต๊ะ"และมีคำแปลเหมือนกันว่า "ส่วนสำคัญ" เครื่องหมายการค้าของจำเลยต่างกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์เพียงเครื่องหมายการค้าของจำเลยไม่มีอักษรตัวกลางแต่เครื่องหมายการค้าของโจทก์มีอักษรตัวกลางเป็นภาษาญี่ปุ่นอ่านออกเสียงว่า "โนะ"เท่านั้น จำเลยใช้อักษรภาษาจีนคำว่า "บีซู" เน้นเป็นจุดเด่นในเครื่องหมายการค้าของจำเลยเช่นเดียวกับโจทก์ ซึ่งเป็นภาษาญี่ปุ่นก็เน้นจุดเด่นคำว่า "อายิ" กับคำว่า"โมะโต๊ะ" ตัวอักษรญี่ปุนคำว่า "โนะ" มีขนาดเล็กมากมิได้เน้นความเด่นชัดของเครื่องหมายการค้าโจทก์ จึงเป็นอักษรที่ไม่มีความหมายสำคัญแก่บุคคลทั่วไปที่ไม่รู้ภาษาญี่ปุ่น และแม้เครื่องหมายการค้าของจำเลยจะมีอักษรไทยและอักษรโรมันอยู่ด้วยแต่ก็เน้นความเด่นอยู่ที่อักษรจีนเพราะจัดวางไว้ตรงกลาง ความแตกต่างของเครื่องหมายการค้าของโจทก์กับของจำเลยจึงมีเพียงเล็กน้อย การพิจารณาว่าเครื่องหมายการค้าของโจทก์และจำเลยเหมือนกันหรือคล้ายกันหรือไม่ ต้องพิจารณาส่วนประกอบหลักหรือส่วนประกอบสำคัญเป็นเกณฑ์ เมื่อส่วนประกอบหลักหรือส่วนประกอบสำคัญเป็นตัวอักษรเหมือนกันอย่างเห็นได้โดยเด่นชัด การที่จำเลยนำเครื่อง-หมายการค้าของจำเลยมาใช้กับสินค้าจำพวกเดียวกัน เครื่องหมายการค้าของจำเลยจึงเหมือนหรือคล้ายเครื่องหมายการค้าของโจทก์จนทำให้สาธารณชนเข้าใจผิดว่าสินค้าของจำเลยคือสินค้าของโจทก์ได้
การที่โจทก์ได้ใช้เครื่องหมายการค้ารายพิพาทมาก่อนจำเลยทั้งได้จดทะเบียนไว้ในประเทศไทยและต่างประเทศหลายประเทศก่อนที่จำเลยจะจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลย โจทก์จึงมีสิทธิในเครื่องหมายการค้ารายพิพาทดีกว่าจำเลย
การที่โจทก์ได้ใช้เครื่องหมายการค้ารายพิพาทมาก่อนจำเลยทั้งได้จดทะเบียนไว้ในประเทศไทยและต่างประเทศหลายประเทศก่อนที่จำเลยจะจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลย โจทก์จึงมีสิทธิในเครื่องหมายการค้ารายพิพาทดีกว่าจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4585/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เครื่องหมายการค้าคล้ายคลึงกัน โจทก์ใช้ก่อนมีสิทธิเหนือกว่า จำเลยต้องถอนคำขอจดทะเบียน
เครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นอักษรญี่ปุ่นและอักษรจีนอ่านออกเสียงตามภาษาญี่ปุ่นได้สองแบบว่า "อายิโนะโมะโต๊ะ" หรือ"อายิโนะมิโชะ"อ่านออกเสียงเป็นภาษาจีนแต้จิ๋วว่า"บีจือซู"ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยซึ่งจำเลยขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าเป็นอักษรจีน อักษรไทย และอักษรโรมันว่า "บีซู"ซึ่งเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่เป็นอักษรจีนเหมือนหรือคล้ายเครื่องหมายการค้าของโจทก์ โดยอักษรตัวแรกในเครื่องหมายการค้าของจำเลยเขียนเหมือนกับอักษรตัวแรกในเครื่องหมายการค้าของโจทก์คือคำว่า "ปี" กับ "อายิ" และมีคำแปลเหมือนกันว่า "รส"และอักษรตัวหลังของเครื่องหมายการค้าของจำเลยเขียนเหมือนอักษรตัวหลังของเครื่องหมายการค้าของโจทก์ คือคำว่า "ชู" กับ คำว่า"โมะโต๊ะ" และมีคำแปลเหมือนกันว่า "ส่วนสำคัญ" เครื่องหมายการค้าของจำเลยต่างกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์เพียงเครื่องหมายการค้าของจำเลยไม่มีอักษรตัวกลาง แต่เครื่องหมายการค้าของโจทก์มีอักษรตัวกลางเป็นภาษาญี่ปุ่นอ่านออกเสียงว่า "โนะ" เท่านั้น จำเลยใช้อักษรภาษาจีนคำว่า "บีซู"เน้นเป็นจุดเด่นในเครื่องหมายการค้าของจำเลยเช่นเดียวกับโจทก์ ซึ่งเป็นภาษาญี่ปุ่นก็เน้นจุดเด่นคำว่า "อายิ"กับคำว่า"โมะโต๊ะ"ตัวอักษรญี่ปุ่นคำว่า"โนะ"มีขนาดเล็กมากมิได้เน้นความเด่นชัดของเครื่องหมายการค้าโจทก์จึงเป็นอักษรที่ไม่มีความหมายสำคัญแก่บุคคลทั่วไปที่ไม่รู้ภาษาญี่ปุ่น และแม้เครื่องหมายการค้าของจำเลยจะมีอักษรไทยและอักษรโรมันอยู่ด้วย แต่ก็เน้นความเด่นอยู่ที่อักษรจีนเพราะจัดวางไว้ตรงกลาง ความแตกต่างของเครื่องหมายการค้าของโจทก์กับของจำเลยจึงมีเพียงเล็กน้อย การพิจารณาว่าเครื่องหมายการค้าของโจทก์และจำเลยเหมือนกันหรือคล้ายกันหรือไม่ ต้องพิจารณาส่วนประกอบหลักหรือส่วนประกอบสำคัญเป็นเกณฑ์ เมื่อส่วนประกอบหลักหรือส่วนประกอบสำคัญเป็นตัวอักษรเหมือนกันอย่างเห็นได้โดยเด่นชัด การที่จำเลยนำเครื่องหมายการค้าของจำเลยมาใช้กับสินค้าจำพวกเดียวกันเครื่องหมายการค้าของจำเลยจึงเหมือนหรือคล้ายเครื่องหมายการค้าของโจทก์จนทำให้สาธารณชนเข้าใจผิดว่าสินค้าของจำเลยคือสินค้าของโจทก์ได้ การที่โจทก์ได้ใช้เครื่องหมายการค้ารายพิพาทมาก่อนจำเลยทั้งได้จดทะเบียนไว้ในประเทศไทยและต่างประเทศหลายประเทศก่อนที่จำเลยจะจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลย โจทก์จึงมีสิทธิในเครื่องหมายการค้ารายพิพาทดีกว่าจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4434/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดอัตราดอกเบี้ยตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย จำเลยมิได้ยกขึ้นว่ากล่าวตั้งแต่ชั้นต้น ศาลอุทธรณ์และศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
จำเลยอุทธรณ์ว่า นับแต่วันที่ 10 มิถุนายน 2525ธนาคารแห่งประเทศไทย ประกาศให้บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์เรียกดอกเบี้ยได้ไม่เกินร้อยละ 18 ต่อปี โจทก์จึงไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 21 ต่อปี และฎีกาขอให้ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า โจทก์ไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยเกินกว่าร้อยละ 18 ต่อปี แต่จำเลยไม่ได้ให้การต่อสู้ในประเด็นนี้ไว้โดยให้การเพียงว่ากรณีผิดนัดโจทก์เรียกดอกเบี้ยได้ไม่เกินร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีเท่านั้น อุทธรณ์ดังกล่าวจึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาตั้งแต่ศาลชั้นต้นศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยให้จึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4434/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำกัดอัตราดอกเบี้ยตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย การยกข้ออ้างใหม่ในชั้นอุทธรณ์
จำเลยอุทธรณ์ว่า นับแต่วันที่ 10 มิถุนายน 2525 ธนาคารแห่งประเทศไทย ประกาศให้บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์เรียกดอกเบี้ยได้ไม่เกินร้อยละ 18 ต่อปี โจทก์จึงไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 21 ต่อปี และฎีกาขอให้ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า โจทก์ไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยเกินกว่าร้อยละ 18 ต่อปี แต่จำเลยไม่ได้ให้การต่อสู้ในประเด็นนี้ไว้ โดยให้การเพียงว่ากรณีผิดนัดโจทก์เรียกดอกเบี้ยได้ไม่เกินร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีเท่านั้น อุทธรณ์ดังกล่าวจึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาตั้งแต่ศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยให้จึงชอบแล้ว