พบผลลัพธ์ทั้งหมด 606 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5486/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความ: ศาลต้องไต่สวนข้อเท็จจริงเพื่อให้ได้ความยุติก่อนวินิจฉัยว่าฝ่ายใดผิดสัญญา
ศาลชั้นต้นพิพากษาตามยอมให้จำเลยที่ 2 ไปทำการจดทะเบียนโอนสิทธิในที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ให้โจทก์ และโจทก์จะชำระเงินค่าที่ดินให้จำเลยที่ 2 พร้อมกันณ สำนักงานที่ดินเวลา 11 นาฬิกา ถึงวันนัด ต่างฝ่ายต่างยืนยันว่าฝ่ายตนปฏิบัติตามสัญญา แต่อีกฝ่ายไม่ปฏิบัติตาม โดยจำเลยที่ 2 แถลงว่า จำเลยที่ 2 ได้ไปและคอยโจทก์ที่สำนักงานที่ดินพร้อมด้วยเอกสารอันจำเป็นในการจดทะเบียนโอนสิทธิในที่ดินให้ฝ่ายโจทก์ตั้งแต่เวลา 10.30 นาฬิกา ถึงเวลา12 นาฬิกา ส่วนโจทก์ยื่นคำร้องว่า โจทก์ได้มอบให้ทนายโจทก์นำเอกสารการรับโอนสิทธิไปสำนักงานที่ดิน เวลา 10.45 นาฬิกา และแจ้งทนายจำเลยทราบว่าโจทก์กำลังดำเนินการให้ธนาคารออกเช็คขอให้แจ้งเจ้าหน้าที่ที่ดินเตรียมเอกสารต่าง ๆ ในการทำนิติกรรมให้ และโจทก์ได้เดินทางไปถึงสำนักงานที่ดินเมื่อเวลา 12.10 นาฬิกา พร้อมทั้งเช็คและเงินสดเพื่อชำระให้จำเลยที่ 2 แต่จำเลยที่ 2 และเจ้าหน้าที่ที่ดินไม่ดำเนินการจดทะเบียนโอนสิทธิในที่ดินให้ตามสัญญา เช่นนี้ ข้อเท็จจริงจะเป็นอย่างไร ศาลชั้นต้นชอบที่จะทำการไต่สวนให้ได้ความจริงเป็นยุติ โดยเฉพาะถ้าข้ออ้างของโจทก์ที่ว่าได้ให้ทนายโจทก์ไปแจ้งต่อทนายจำเลยที่สำนักงานที่ดินว่าพร้อมที่จะรับโอนที่ดินเป็นความจริง จำเลยที่ 2 ก็จะอ้างว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาประนีประนอมยอมความเสียทีเดียวยังไม่ได้ การที่ศาลชั้นต้นเพียงแต่นัดสอบถามแล้วมีคำสั่งว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดนัด เป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5486/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิสูจน์ข้อเท็จจริงในสัญญาประนีประนอมยอมความ การไต่สวนพยานหลักฐานเป็นสิ่งจำเป็น
ศาลชั้นต้นพิพากษาตามยอมให้จำเลยที่ 2 ไปทำการจดทะเบียนโอนสิทธิในที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ให้โจทก์ และโจทก์จะชำระเงินค่าที่ดินให้จำเลยที่ 2 พร้อมกัน ณ สำนักงานที่ดินเวลา 11 นาฬิกา ถึงวันนัด ต่างฝ่ายต่างยืนยันว่าฝ่ายตนปฏิบัติตามสัญญา แต่อีกฝ่ายไม่ปฏิบัติตาม โดยจำเลยที่ 2 แถลงว่าจำเลยที่ 2 ได้ไปและคอยโจทก์ที่สำนักงานที่ดินพร้อมด้วยเอกสารอันจำเป็นในการจดทะเบียนโอนสิทธิในที่ดินให้ฝ่ายโจทก์ตั้งแต่เวลา 10.30 นาฬิกา ถึงเวลา 12 นาฬิกา ส่วนโจทก์ยื่นคำร้องว่าโจทก์ได้มอบให้ทนายโจทก์นำเอกสารการรับโอนสิทธิไปสำนักงานที่ดินเวลา 10.45 นาฬิกา และแจ้งทนายจำเลยทราบว่าโจทก์กำลังดำเนินการให้ธนาคารออกเช็คขอให้แจ้งเจ้าหน้าที่ที่ดินเตรียมเอกสารต่าง ๆในการทำนิติกรรมให้ และโจทก์ได้เดินทางไปถึงสำนักงานที่ดินเมื่อเวลา 12.10 นาฬิกา พร้อมทั้งเช็คและเงินสดเพื่อชำระให้จำเลยที่ 2 แต่จำเลยที่ 2 และเจ้าหน้าที่ที่ดินไม่ดำเนินการจดทะเบียนโอนสิทธิในที่ดินให้ตามสัญญา เช่นนี้ ข้อเท็จจริงจะเป็นอย่างไรศาลชั้นต้นชอบที่จะทำการไต่สวนให้ได้ความจริงเป็นยุติ โดยเฉพาะถ้าข้ออ้างของโจทก์ที่ว่าได้ให้ทนายโจทก์ไปแจ้งต่อทนายจำเลยที่สำนักงานที่ดินว่าพร้อมที่จะรับโอนที่ดินเป็นความจริง จำเลยที่ 2ก็จะอ้างว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาประนีประนอมยอมความเสียทีเดียวยังไม่ได้ การที่ศาลชั้นต้นเพียงแต่นัดสอบถามแล้วมีคำสั่งว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดนัด เป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5480/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ: การฟ้องแบ่งมรดกซ้ำหลังคดีก่อนถึงที่สุดแล้ว
โจทก์เคยฟ้องจำเลยทั้งสามในฐานะผู้จัดการมรดกของผู้ตาย ขอให้แบ่งปันมรดกให้แก่โจทก์ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ ที่จำเลยทั้งสามทำกับผู้จัดการมรดกร่วมของผู้ตายโดยมิได้ขอแบ่งที่พิพาทซึ่งเป็นมรดกของผู้ตายด้วย คดีถึงที่สุดตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้นแม้โจทก์กล่าวอ้างว่าเป็นการฟ้องตามสัญญาประนีประนอมยอมความก็ตาม แต่โจทก์มิได้เป็นคู่ความในคดีที่ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันระบุถึงส่วนแบ่งมรดก การฟ้องคดีของโจทก์ในคดีก่อนจึงเป็นการเรียกร้องมรดกในฐานะที่ตนเป็นทายาทนั่นเอง ในเมื่อคดีก่อนโจทก์มิได้ฟ้องขอแบ่งที่พิพาทที่เป็นมรดกมาด้วยตามสิทธิที่จะเรียกร้องได้ คงมาฟ้องใหม่เป็นคดีนี้ ประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยในคดีนี้จึงเป็นประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันกับประเด็นที่ได้วินิจฉัยไว้ในคดีก่อน เมื่อโจทก์จำเลยทั้งสามเป็นคู่ความรายเดียวกัน คดีของโจทก์จึงต้องห้ามมิให้รื้อร้องฟ้องกันอีกตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 148 ปัญหาที่ว่าฟ้องของโจทก์เป็นฟ้องซ้ำหรือไม่ เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน เมื่อศาลเห็นสมควรก็ยกขึ้นวินิจฉัยได้ ดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 142(5) ทั้งข้อเท็จจริงที่ปรากฏในสำนวนตามที่คู่ความนำสืบก็เป็นการนำสืบโดยถูกต้องตามวิธีพิจารณา ศาลจึงยกขึ้นวินิจฉัยได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5480/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ: การฟ้องแบ่งมรดกซ้ำกับคดีก่อนที่เคยฟ้องแล้วย่อมถูกห้ามตามกฎหมาย
โจทก์เคยฟ้องจำเลยทั้งสามในฐานะผู้จัดการมรดกของผู้ตาย ขอให้แบ่งปันมรดกให้แก่โจทก์ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ ที่จำเลยทั้งสามทำกับผู้จัดการมรดกร่วมของผู้ตายโดยมิได้ขอแบ่งที่พิพาทซึ่งเป็นมรดกของผู้ตายด้วย คดีถึงที่สุดตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้นแม้โจทก์กล่าวอ้างว่าเป็นการฟ้องตามสัญญาประนีประนอมยอมความก็ตาม แต่โจทก์มิได้เป็นคู่ความในคดีที่ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันระบุถึงส่วนแบ่งมรดก การฟ้องคดีของโจทก์ในคดีก่อนจึงเป็นการเรียกร้องมรดกในฐานะที่ตนเป็นทายาทนั่นเอง ในเมื่อคดีก่อนโจทก์มิได้ฟ้องขอแบ่งที่พิพาทที่เป็นมรดกมาด้วยตามสิทธิที่จะเรียกร้องได้ คงมาฟ้องใหม่เป็นคดีนี้ ประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยในคดีนี้จึงเป็นประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันกับประเด็นที่ได้วินิจฉัยไว้ในคดีก่อน เมื่อโจทก์จำเลยทั้งสามเป็นคู่ความรายเดียวกัน คดีของโจทก์จึงต้องห้ามมิให้รื้อร้องฟ้องกันอีกตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 148
ปัญหาที่ว่าฟ้องของโจทก์เป็นฟ้องซ้ำหรือไม่ เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน เมื่อศาลเห็นสมควรก็ยกขึ้นวินิจฉัยได้ ดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 142(5) ทั้งข้อเท็จจริงที่ปรากฏในสำนวนตามที่คู่ความนำสืบก็เป็นการนำสืบโดยถูกต้องตามวิธีพิจารณา ศาลจึงยกขึ้นวินิจฉัยได้.
ปัญหาที่ว่าฟ้องของโจทก์เป็นฟ้องซ้ำหรือไม่ เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน เมื่อศาลเห็นสมควรก็ยกขึ้นวินิจฉัยได้ ดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 142(5) ทั้งข้อเท็จจริงที่ปรากฏในสำนวนตามที่คู่ความนำสืบก็เป็นการนำสืบโดยถูกต้องตามวิธีพิจารณา ศาลจึงยกขึ้นวินิจฉัยได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5341/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีสิทธิบัตร: หนังสือมอบอำนาจที่ถูกต้องและสิทธิในแบบผลิตภัณฑ์เป็นสำคัญ
หนังสือมอบอำนาจประกอบกับหนังสือรับรองหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวซึ่งได้ทำขึ้นก่อนวันที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ ได้ระบุให้อำนาจด. ผู้รับมอบอำนาจมีสิทธิยื่นคำขอรับสิทธิบัตรในประเทศไทยซึ่งสิทธิบัตร/แผนแบบ เหยือก หรือสิ่งที่คล้ายคลึงกัน รวมทั้งทำการยื่นฟ้องต่อศาลในประเทศไทยเกี่ยวกับคำขอรับสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์เหยือก หรือสิ่งที่คล้ายคลึงกันของโจทก์ผู้มอบอำนาจได้และในวันยื่นคำขอรับสิทธิบัตร โจทก์มีสิทธิในแบบผลิตภัณฑ์ของโจทก์แล้ว ดังนั้น ด. ผู้รับมอบอำนาจของโจทก์จึงมีอำนาจยื่นคำขอรับสิทธิบัตรและฟ้องคดีนี้แทนโจทก์
หนังสือของผู้ช่วยเลขานุการบริษัทโจทก์ เป็นเพียงหลักฐานเป็นหนังสือที่แสดงว่าได้มีการมอบอำนาจให้ฟ้องคดีนี้เท่านั้นมิใช่ใบมอบอำนาจ ไม่อยู่ในบังคับที่จะต้องปิดอากรแสตมป์ตามประมวลรัษฎากร รับฟังเป็นพยานหลักฐานได้.
หนังสือของผู้ช่วยเลขานุการบริษัทโจทก์ เป็นเพียงหลักฐานเป็นหนังสือที่แสดงว่าได้มีการมอบอำนาจให้ฟ้องคดีนี้เท่านั้นมิใช่ใบมอบอำนาจ ไม่อยู่ในบังคับที่จะต้องปิดอากรแสตมป์ตามประมวลรัษฎากร รับฟังเป็นพยานหลักฐานได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5341/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีสิทธิบัตร: การมอบอำนาจถูกต้องตามกฎหมาย และการพิจารณาการออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่
หนังสือมอบอำนาจประกอบกับหนังสือรับรองหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวซึ่งได้ทำขึ้นก่อนวันที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ ได้ระบุให้อำนาจด. ผู้รับมอบอำนาจมีสิทธิยื่นคำขอรับสิทธิบัตรในประเทศไทยซึ่งสิทธิบัตร/แผนแบบ เหยือก หรือสิ่งที่คล้ายคลึงกัน รวมทั้งทำการยื่นฟ้องต่อศาลในประเทศไทยเกี่ยวกับคำขอรับสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์เหยือก หรือสิ่งที่คล้ายคลึงกันของโจทก์ผู้มอบอำนาจได้และในวันยื่นคำขอรับสิทธิบัตร โจทก์มีสิทธิในแบบผลิตภัณฑ์ของโจทก์แล้ว ดังนั้น ด. ผู้รับมอบอำนาจของโจทก์จึงมีอำนาจยื่นคำขอรับสิทธิบัตรและฟ้องคดีนี้แทนโจทก์ หนังสือของผู้ช่วยเลขานุการบริษัทโจทก์ เป็นเพียงหลักฐานเป็นหนังสือที่แสดงว่าได้มีการมอบอำนาจให้ฟ้องคดีนี้เท่านั้นมิใช่ใบมอบอำนาจ ไม่อยู่ในบังคับที่จะต้องปิดอากรแสตมป์ตามประมวลรัษฎากร รับฟังเป็นพยานหลักฐานได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5268/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปกปิดข้อมูลสุขภาพในสัญญาประกันชีวิตทำให้สัญญามีผลเป็นโมฆียะ หากจำเลยบอกล้างสัญญาทันที
ช. ป่วยเป็นโรคพิษสุราเรื้อรังอยู่ในขณะที่ทำคำขอเอาประกันชีวิตแต่ ช. กลับระบุในคำขอดังกล่าวว่าตนสุขภาพสมบูรณ์ดี ในระหว่างสองปีที่แล้วมาไม่เคยเข้าสถานพยาบาลทำการรักษาตัวความจริงเกี่ยวกับสุขภาพของ ช. ดังกล่าวเป็นข้อสำคัญสำหรับประกอบการวินิจฉัยของจำเลยผู้รับประกันภัยว่าจะรับประกันชีวิตหรือไม่ เมื่อ ช. ปกปิดข้อความจริงดังกล่าว สัญญาประกันชีวิตช. จึงเป็นโมฆียะ และข้อความจริงดังกล่าวมิใช่เรื่องที่ตัวแทนของจำเลยจะรู้ได้เอง จึงถือไม่ได้ว่าตัวแทนของจำเลยรู้หรือจำเลยควรจะรู้หากใช้ความระมัดระวัง จำเลยได้บอกล้างสัญญาประกันชีวิตดังกล่าวต่อโจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นผู้รับประโยชน์ตามสัญญาภายในกำหนดเวลาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 865 แล้ว สัญญาประกันชีวิตจึงตกเป็นโมฆะ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5268/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปกปิดเจ็บป่วยก่อนทำประกันชีวิตทำให้สัญญาเป็นโมฆียะ จำเลยมีสิทธิบอกล้างสัญญาได้
ช. ป่วยเป็นโรคพิษสุราเรื้อรังอยู่ในขณะที่ทำคำขอเอาประกันชีวิตแต่ ช. กลับระบุในคำขอดังกล่าวว่าตนสุขภาพสมบูรณ์ดี ในระหว่างสองปีที่แล้วมาไม่เคยเข้าสถานพยาบาลทำการรักษาตัวความจริงเกี่ยวกับสุขภาพของ ช. ดังกล่าวเป็นข้อสำคัญสำหรับประกอบการวินิจฉัยของจำเลยผู้รับประกันภัยว่าจะรับประกันชีวิตหรือไม่ เมื่อ ช. ปกปิดข้อความจริงดังกล่าว สัญญาประกันชีวิตช. จึงเป็นโมฆียะ และข้อความจริงดังกล่าวมิใช่เรื่องที่ตัวแทนของจำเลยจะรู้ได้เอง จึงถือไม่ได้ว่าตัวแทนของจำเลยรู้หรือจำเลยควรจะรู้หากใช้ความระมัดระวัง จำเลยได้บอกล้างสัญญาประกันชีวิตดังกล่าวต่อโจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นผู้รับประโยชน์ตามสัญญาภายในกำหนดเวลาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 865 แล้ว สัญญาประกันชีวิตจึงตกเป็นโมฆะ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5253/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับตามสัญญาประนีประนอมยอมความ: อำนาจศาลสั่งให้จำเลยลงลายมือชื่อถอนเงินแทนการแสดงเจตนา
ศาลได้มีคำพิพากษาตามยอมและจำเลยได้ปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความ คือได้ร่วมกับโจทก์นำเงินไปเปิดบัญชีเงินฝากที่ธนาคารให้โจทก์ 7 ล้านบาท โดยตกลงกันว่า เมื่อโจทก์ประสงค์จะถอนเงินดังกล่าวมาใช้ประโยชน์ จำเลยจะต้องร่วมลงลายมือชื่อถอนเงินนั้น เมื่อในสัญญาประนีประนอมยอมความมิได้มีข้อความที่แสดงว่าคู่กรณีตกลงให้จำเลยควบคุมการใช้เงินของโจทก์ ดังนี้ จำเลยจะไม่ยอมลงลายมือชื่อถอนเงินโดยอ้างว่าโจทก์มิได้แจ้งจุดประสงค์ในการใช้เงินให้จำเลยทราบตามเจตนารมณ์ของสัญญาประนีประนอมยอมความหาได้ไม่ และกรณีนี้จำเลยจะต้องชำระหนี้ด้วยการร่วมลงลายมือชื่อกับโจทก์ถอนเงินจากธนาคาร อันเป็นการทำนิติกรรมอย่างหนึ่งศาลจึงมีอำนาจสั่งบังคับว่าหากจำเลยไม่ปฏิบัติตามให้ถือเอาคำสั่งศาลแทนการแสดงเจตนาของจำเลยได้ ไม่เป็นการสั่งนอกเหนือไปจากสัญญาประนีประนอมยอมความหรือเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมคำพิพากษาตามยอม.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5253/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับตามสัญญาประนีประนอมยอมความเกี่ยวกับการถอนเงินจากบัญชีร่วม ศาลมีอำนาจสั่งให้ถือคำสั่งศาลแทนเจตนาจำเลย
ศาลได้มีคำพิพากษาตามยอมและจำเลยได้ปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความ คือได้ร่วมกับโจทก์นำเงินไปเปิดบัญชีเงินฝากที่ธนาคารให้โจทก์ 7 ล้านบาท โดยตกลงกันว่า เมื่อโจทก์ประสงค์จะถอนเงินดังกล่าวมาใช้ประโยชน์ จำเลยจะต้องร่วมลงลายมือชื่อถอนเงินนั้น เมื่อในสัญญาประนีประนอมยอมความมิได้มีข้อความที่แสดงว่าคู่กรณีตกลงให้จำเลยควบคุมการใช้เงินของโจทก์ ดังนี้ จำเลยจะไม่ยอมลงลายมือชื่อถอนเงินโดยอ้างว่าโจทก์มิได้แจ้งจุดประสงค์ในการใช้เงินให้จำเลยทราบตามเจตนารมณ์ของสัญญาประนีประนอมยอมความหาได้ไม่ และกรณีนี้จำเลยจะต้องชำระหนี้ด้วยการร่วมลงลายมือชื่อกับโจทก์ถอนเงินจากธนาคาร อันเป็นการทำนิติกรรมอย่างหนึ่งศาลจึงมีอำนาจสั่งบังคับว่าหากจำเลยไม่ปฏิบัติตามให้ถือเอาคำสั่งศาลแทนการแสดงเจตนาของจำเลยได้ ไม่เป็นการสั่งนอกเหนือไปจากสัญญาประนีประนอมยอมความหรือเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมคำพิพากษาตามยอม.