คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
พัลลภ พิสิษฐ์สังฆการ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 606 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4732/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การผิดนัดตามสัญญาประนีประนอมยอมความ: การพิจารณาเจตนาและพฤติการณ์ของคู่สัญญา
แม้สัญญาประนีประนอมยอมความตามคำพิพากษาจะกำหนดให้โจทก์จำเลยไปจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทในวันที่ 20 ตุลาคม2532 เวลา 11 นาฬิกาก็ตาม แต่ตามคำร้องของโจทก์อ้างว่าได้มอบหมายให้ทนายไปที่สำนักงานที่ดินเวลา 10.45 นาฬิกาและได้แจ้งให้ทนายจำเลยที่ 2 ทราบ โดยขอให้แจ้งเจ้าพนักงานเตรียมหลักฐานการโอนไว้ด้วย และโจทก์ได้ไปถึงสำนักงานที่ดินพร้อมทั้งเช็คและเงินสดเมื่อเวลา 12.10 นาฬิกา แต่จำเลยที่ 2 ไม่ยอมดำเนินการให้มีการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้แก่โจทก์ ซึ่งหากข้อเท็จจริงเป็นไปตามคำร้อง ก็ไม่อาจถือว่าโจทก์ผิดนัดผิดสัญญา เพราะเวลา11 นาฬิกาที่กำหนดนัดหมาย ในสัญญาประนีประนอมยอมความนั้น หมายถึงเวลาที่ทั้งสองฝ่ายไปพร้อมกันเพื่อเริ่มดำเนินการตามแบบพิธีของทางราชการมิใช่หมายถึงเวลาที่ทำการโอนเสร็จเรียบร้อย แต่ข้อเท็จจริงตามคำร้องของโจทก์ จำเลยที่ 2 แถลงคัดค้านอยู่ จะต้องมีการไต่สวนทั้งสองฝ่ายว่าความจริงเป็นประการใดจึงจะวินิจฉัยได้ว่าฝ่ายใดเป็นฝ่ายผิดนัดผิดสัญญา ที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดนัดโดยพิจารณาเฉพาะคำร้องนั้นเป็นการไม่ชอบด้วยวิธีพิจารณา.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4702/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำ-อายุความเช็ค: ศาลฯ ยืนฟ้องได้ แม้ฟ้องซ้ำศาลเดิม เหตุคดีก่อนยกฟ้องเพราะอำนาจศาลไม่ครบ
เดิมโจทก์ฟ้องจำเลยเรียกเงินตามเช็คภายในกำหนดอายุความแล้วแต่ศาลชั้นต้นยกฟ้องโจทก์ เพราะคดีไม่อยู่ในเขตอำนาจศาลโดยเชื่อคำแถลงของภรรยาจำเลยว่าได้หย่าขาดและจำเลยได้ย้ายออกจาก ภูมิลำเนาตามฟ้องแล้ว กรณีจึงต้องด้วย ป.พ.พ. มาตรา 176 มีผลว่าเช็คที่ขาดอายุความระหว่างดำเนินคดี หรือจะสิ้นอายุความระหว่างหกเดือนภายหลังที่ได้พิพากษาคดีถึงที่สุด ให้ขยายอายุความออกไปถึงหกเดือนภายหลังคำพิพากษานั้น ปรากฏว่าศาลยกฟ้องคดีนั้นวันที่ 20 กันยายน2527 เช็คที่ขาดอายุความในระหว่างพิจารณาหรือเหลืออายุความไม่ถึงหกเดือนจึงขยายไปถึงวันที่ 20 มีนาคม 2528 โจทก์นำคดีนี้มาฟ้องอีกเมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2528 คดีของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความและแม้จะเป็นการฟ้องที่ศาลเดิมก็ตาม เพราะมาตรา 176 ไม่มีข้อความจำกัดว่าจะต้องฟ้องต่อศาลอื่น
คดีก่อนศาลจังหวัดปทุมธานียกฟ้องโดย ที่เห็นว่า ไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษา เป็นการยกฟ้องที่ยังมิได้วินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทแห่งคดี เมื่อปรากฏว่าจำเลยยังมีภูมิลำเนาอยู่ในจังหวัดปทุมธานี โจทก์ก็มีสิทธินำคดีมาฟ้องต่อศาลจังหวัดปทุมธานีได้อีก ไม่เป็นฟ้องซ้ำ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4702/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความเช็ค, ฟ้องซ้ำ, เขตอำนาจศาล: การขยายอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 176 และการฟ้องคดีซ้ำ
เดิมโจทก์ฟ้องจำเลยเรียกเงินตามเช็คภายในกำหนดอายุความแล้วแต่ศาลชั้นต้นยกฟ้องโจทก์ เพราะคดีไม่อยู่ในเขตอำนาจศาลโดยเชื่อคำแถลงของภรรยาจำเลยว่าได้หย่าขาดและจำเลยได้ย้ายออกจากภูมิลำเนาตามฟ้องแล้ว กรณีจึงต้องด้วย ป.พ.พ. มาตรา 176 มีผลว่าเช็คที่ขาดอายุความระหว่างดำเนินคดี หรือจะสิ้นอายุความระหว่างหกเดือนภายหลังที่ได้พิพากษาคดีถึงที่สุด ให้ขยายอายุความออกไปถึงหกเดือนภายหลังคำพิพากษานั้น ปรากฏว่าศาลยกฟ้องคดีนั้นวันที่ 20 กันยายน2527 เช็คที่ขาดอายุความในระหว่างพิจารณาหรือเหลืออายุความไม่ถึงหกเดือนจึงขยายไปถึงวันที่ 20 มีนาคม 2528 โจทก์นำคดีนี้มาฟ้องอีกเมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2528 คดีของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความและแม้จะเป็นการฟ้องที่ศาลเดิมก็ตาม เพราะมาตรา 176 ไม่มีข้อความจำกัดว่าจะต้องฟ้องต่อศาลอื่น คดีก่อนศาลจังหวัดปทุมธานียกฟ้องโดย ที่เห็นว่า ไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษา เป็นการยกฟ้องที่ยังมิได้วินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทแห่งคดี เมื่อปรากฏว่าจำเลยยังมีภูมิลำเนาอยู่ในจังหวัดปทุมธานี โจทก์ก็มีสิทธินำคดีมาฟ้องต่อศาลจังหวัดปทุมธานีได้อีก ไม่เป็นฟ้องซ้ำ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4697/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาฆ่า: การพิจารณาจากระยะห่างและลักษณะการทำร้ายด้วยอาวุธมีด
ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องจำเลยที่ 1 สำหรับความผิดตาม ป.อ.มาตรา 288, 80 โจทก์จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในความผิดดังกล่าวตาม ป.วิ.อ.มาตรา 220
จำเลยที่ 1 พาจำเลยที่ 2 กับพวกอีก 4 คน มาที่ร้านผู้เสียหาย แล้วรุมชกต่อยผู้เสียหาย แม้จำเลยที่ 2 ชักอาวุธมีดปลายแหลมยาว 1 คืบเศษออกมาจะแทงผู้เสียหาย แต่จำเลยที่ 2 ก็ยังอยู่ห่างจากผู้เสียหายถึง 2 เมตร การกระทำดังกล่าวเพียงแต่แสดงว่าจำเลยที่ 2 มีเจตนาทำร้ายผู้เสียหายเท่านั้น ไม่อาจชี้ให้เห็นได้ว่ามีเจตนาฆ่าผู้เสียหาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4697/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาฆ่า: การเงื้อมีดแต่ยังอยู่ห่างจากผู้ถูกทำร้ายเกินกว่าจะทำให้ถึงแก่ความตาย ไม่ถือเป็นเจตนาฆ่า
ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องจำเลยที่ 1 สำหรับความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288,80 โจทก์จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในความผิดดังกล่าวตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 220 จำเลยที่ 1 พาจำเลยที่ 2 กับพวกอีก 4 คน มาที่ร้านผู้เสียหายแล้วรุมชกต่อยผู้เสียหาย แม้จำเลยที่ 2 ชักอาวุธมีดปลายแหลมยาว1 คืบเศษออกมาจะแทงผู้เสียหาย แต่จำเลยที่ 2 ก็ยังอยู่ห่างจากผู้เสียหายถึง 2 เมตร การกระทำดังกล่าวเพียงแต่แสดงว่าจำเลยที่ 2มีเจตนาทำร้ายผู้เสียหายเท่านั้น ไม่อาจชี้ให้เห็นได้ว่ามีเจตนาฆ่าผู้เสียหาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4655/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำเลยไม่มีหน้าที่ช่วยเหลือทางการเงินแก่โจทก์ตาม พรบ.ธนาคารแห่งประเทศไทย แม้สถาบันการเงินประสบวิกฤต
ตามพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2485 พ.ศ. 2528 มาตรา 29 ตรีประกอบมาตรา 29 อัฏฐ (4) บัญญัติให้จัดตั้งกองทุนขึ้นกองทุนหนึ่งในธนาคารแห่งประเทศไทย เรียกว่ากองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน มีฐานะเป็นนิติบุคคลมีวัตถุประสงค์เพื่อฟื้นฟู และพัฒนาระบบการเงินให้มีความมั่นคงและเสถียรภาพ และให้มีอำนาจรวมไปถึงการให้ความช่วยเหลือทางการเงินตามควรแก่กรณีสำหรับผู้ฝากเงิน หรือผู้ให้กู้ยืมเงินแก่สถาบันการเงินที่ต้องเสียหายเนื่องจากสถาบันการเงินดังกล่าวประสบวิกฤติการณ์ทางการเงินอย่างร้ายแรง จึงเป็นสิทธิของกองทุนในการที่จะให้ความช่วยเหลือ มิใช่หน้าที่ของกองทุนที่จะต้องช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ฝากเงิน หรือผู้ให้กู้ยืมเงินแก่สถาบันการเงินดังกล่าวทุกกรณี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4649/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเบิกค่าเช่าบ้านข้าราชการ: การรับรองเอกสารที่ถูกต้องตามกฎหมาย ไม่ถือเป็นความเท็จ
จำเลยเป็นเจ้าพนักงานตำแหน่งเจ้าหน้าที่การเงินและบัญชีมีหน้าที่ทำเอกสารรับเอกสาร รับรองเอกสารแบบใบขอเบิกเงินค่าเช่าบ้าน เมื่อได้รับอนุมัติให้มีสิทธิเบิกค่าเช่าบ้านแล้วจึงลงนามรับรองเป็นหลักฐานในเอกสารแบบใบขอเบิกเงินค่าเช่าบ้านของจำเลยเองว่า ตรวจสอบถูกต้องแล้ว ขอจ่ายถูกตามระเบียบเห็นควรอนุมัติ การที่จำเลยรับรองตามที่ขออนุมัติและได้รับอนุมัติแล้วเช่นนี้ จะถือว่าเป็นการรับรองข้อความอันเป็นเท็จที่เอกสารนั้นมุ่งพิสูจน์ความจริงมิได้ ส่วนการที่ผู้อนุมัติได้อนุมัติไปแล้วนั้นจะถูกต้องหรือไม่เป็นเรื่องของการแปลความในกฎหมาย การแปลความไปในทางใดนั้นจะถือว่าเท็จมิได้อีกเช่นกัน หลักฐานเกี่ยวกับทะเบียนบ้านว่าจำเลยมีทะเบียนบ้านอยู่ที่ไหน เป็นเพียงข้อสันนิษฐานในเบื้องต้นเท่านั้นเมื่อพยานหลักฐานอันเป็นข้อสันนิษฐานในเบื้องต้นขัดแย้งกับคำพยานบุคคลที่รู้เห็นข้อเท็จจริงในเรื่องดังกล่าว เช่นนี้จะนำข้อสันนิษฐานในทางที่เป็นผลร้ายมาฟังเป็นความจริงไม่ได้ ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยไม่มีบ้านของตนเองและได้เช่าบ้านนาง ส. อยู่จริง การที่จำเลยมีบ้านของบิดาอยู่แต่ไม่อยู่บ้านของบิดา กลับไปเช่าบ้านอยู่ จำเลยจะมีสิทธิเบิกค่าเช่าบ้านได้ตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยระเบียบค่าเช่าบ้านข้าราชการ พุทธศักราช 2483 หรือไม่นั้น เป็นการแปลความตามกฎหมายดังกล่าว การแปลความไม่ตรงกันนั้นจะถือว่าเป็นการหลอกลวงไม่ได้ ทั้งการที่โจทก์ไม่ได้นำสืบให้เห็นว่ากรณีดังกล่าวได้มีระเบียบแบบแผนของทางราชการกำหนดไว้เป็นแน่นอนว่า จำเลยไม่มีสิทธิจะขอเบิกค่าเช่าบ้านได้ และจำเลยได้ทราบถึงระเบียบนั้นแล้ว การกระทำของจำเลย ไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4632/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปลอมและใช้เอกสารปลอม, รอยตราปลอม, และความผิดตาม พ.ร.ก.คนเข้าเมือง ศาลพิจารณาความผิดแต่ละกรรมและลงโทษตามบทหนัก
จำเลยปลอมสำเนาทะเบียนคนเกิด ท.ร.22 และบัตรประจำตัวประชาชนเป็นการปลอมเอกสารคนละประเภทแตกต่างกันมีผลเป็นความผิดในตัวเองแยกจากกันได้ เป็นความผิดสองกรรมแต่การที่จำเลยที่ 1 ปลอมดวงตราและรอยตราประทับลงบนเอกสารสองฉบับดังกล่าว เป็นเพียงการร่วมประกอบให้สำเนาทะเบียนคนเกิดท.ร.22 และบัตรประจำตัวประชาชนที่จำเลยที่ 1 ทำขึ้นมีลักษณะข้อความและรอยตราประทับเหมือนเอกสารแท้จริงเพื่อผู้ที่พบเห็นจะได้หลงเชื่อตามเจตนาของจำเลยที่ 1 เท่านั้นจึงเป็นการกระทำผิดกรรมเดียว แต่ผิดกฎหมายหลายบท คือการปลอมสำเนาทะเบียนคนเกิด ท.ร.22 เป็นความผิดตามมาตรา 365กับมาตรา 251 กระทงหนึ่ง และการปลอมบัตรประจำตัวประชาชนเป็นความผิดตามมาตรา 265 กับมาตรา 251 อีกกระทงหนึ่งเมื่อจำเลยที่ 3 นำเอกสารปลอมทั้ง 2 ฉบับ ดังกล่าว ไปใช้แสดงต่อเจ้าพนักงานตำรวจกองตรวจคนเข้าเมือง แม้กระทำในคราวเดียวกันก็ต้องมีความผิดฐานเป็นผู้ใช้แต่ละกระทง และเมื่อจำเลยที่ 1ปลอมรอยตราและประทับรอยตราปลอมบนเอกสาร 2 ฉบับดังกล่าวและนำเอกสารดังกล่าวไปใช้ ย่อมเป็นความผิดฐานใช้รอยตราปลอมตามมาตรา 252 ด้วย ซึ่งจะต้องลงโทษจำเลยที่ 1 ฐานปลอมรอยตราตามมาตรา 251 เพียงกระทงเดียวตามมาตรา 263 และความผิดฐานใช้รอยตราปลอมนี้เป็นความผิดกรรมเดียวกับความผิดฐานใช้เอกสารปลอม จึงต้องลงโทษจำเลยที่ 1 ตามมาตรา 251 ประกอบมาตรา 263 ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักกว่าโทษตามมาตรา 268ตามมาตรา 90

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4603/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในเครื่องหมายการค้า แม้ไม่ได้เป็นผู้ผลิตเอง ก็มีสิทธิแต่ผู้เดียวในการขายสินค้าภายใต้เครื่องหมายการค้านั้น โดยอายุความไม่ขาดอายุความ
แม้โจทก์จะมิใช่ผู้ประดิษฐ์หรือผลิตสินค้า แต่เป็นผู้รับมอบหมายให้เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าที่เจ้าของเดิมจดทะเบียนไว้ในประเทศญี่ปุ่น พร้อมด้วยกิจการบริการจำหน่ายสินค้าในประเทศไทย และโจทก์ได้จดทะเบียนในประเทศไทยแล้วโจทก์ย่อมมีสิทธิแต่ผู้เดียวที่จะขายสินค้าตามเครื่องหมายการค้านั้น การที่จำเลยจำหน่ายสินค้าที่เครื่องหมายการค้าของโจทก์ติดมาในประเทศไทย เป็นเหตุให้การขายของโจทก์ลดลง ย่อมเป็นการละเมิดสิทธิของโจทก์ อายุความตามสิทธิของโจทก์ที่ขอให้ห้ามจำเลยมิให้จำหน่ายรวมทั้งห้ามสั่งหรือนำเข้าซึ่งสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าของโจทก์ มิใช่เป็นการเรียกค่าเสียหายจึงมีอายุความ10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4576/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การผิดนัดสัญญาซื้อขายที่ดิน ต้องพิจารณาเจตนาและพฤติการณ์ประกอบ การวินิจฉัยต้องอาศัยการไต่สวนข้อเท็จจริง
การที่จะพิจารณาว่าฝ่ายใดผิดนัดผิดสัญญานั้นจะต้องพิจารณาการกระทำประกอบกับเจตนาที่ฝ่ายนั้นได้แสดงออกว่าจะไม่นำพาต่อการปฏิบัติตามสัญญาหรือไม่เป็นสำคัญ แม้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความกำหนดให้ทั้งสองฝ่ายไปทำการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินในวันที่ 20 ตุลาคม 2532เวลา 11 นาฬิกา ก็ตาม แต่เวลา 11 นาฬิกาที่กำหนดนัดหมายนั้นต้องหมายถึงเวลาที่ทั้งสองฝ่ายไปพร้อมกันเพื่อเริ่มดำเนินการตามแบบพิมพ์ของทางราชการ มิใช่หมายถึงเวลาที่ทำการโอนเสร็จ ฉะนั้นถ้าทนายความซึ่งถือได้ว่าเป็นตัวแทนโจทก์ไปถึงตามเวลานัดหมายและแจ้งให้ทนายฝ่ายจำเลยทราบ ถึงเรื่องที่จะดำเนินการต่อไปเช่นนี้ ถือได้ว่าฝ่ายโจทก์ได้ไปตามเวลาที่นัดหมายแล้ว ข้อเท็จจริงตามคำร้องของโจทก์ จำเลยที่ 2 ยังแถลงคัดค้านอยู่ จำต้องมีการไต่สวนทั้งสองฝ่ายว่าความจริงเป็นประการใด จึงจะวินิจฉัยได้ว่าฝ่ายใดเป็นฝ่ายผิดนัดผิดสัญญาแต่ศาลชั้นต้นมิได้ไต่สวนในข้อนี้ ข้อเท็จจริงจึงยังไม่พอให้วินิจฉัย การวินิจฉัยว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดนัดโดยที่ยังมิได้มีข้อเท็จจริงให้เป็นประการใดนั้นจึงไม่ชอบ
of 61