คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
พัลลภ พิสิษฐ์สังฆการ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 606 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4004/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งหมายเรียกโดยปิดประกาศในวันหยุดราชการ และการพิสูจน์เจตนาขาดนัดยื่นคำให้การ
การส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องได้กระทำโดยการปิดหมายในวันหยุดราชการที่ป้ายประกาศของที่ว่าการอำเภอซึ่งมีไว้สำหรับปิดประกาศข่าวสารให้ประชาชนทราบ หมายเรียกและสำเนาคำฟ้องอาจถูกบุคคลอื่นดึงเอาไปก็เป็นได้จำเลยเป็นหน่วยราชการเมื่อข้อเท็จจริงไม่ปรากฎว่าจำเลยได้รับหมายเรียกหรือพบเห็นหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องที่ปิดไว้ จึงต้องฟังว่าจำเลยไม่ได้จงใจขาดนัดยื่นคำให้การ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3983/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดร่วมกันของเจ้าของรถแท็กซี่ต่อการละเมิดของคนขับ และการคิดดอกเบี้ยจากวันฟ้อง
รายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีมีใจความเพียงว่า จำเลยที่ 1ให้การรับสารภาพต่อพนักงานสอบสวนในข้อหาขับขี่รถยนต์โดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นรับอันตรายสาหัส ยินยอมชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดขึ้นเท่านั้น ไม่มีสาระสำคัญแสดง การที่จำเลยที่ 1 เจรจาตกลงกับคนขับรถยนต์คันที่โจทก์รับประกันภัยไว้ในเรื่องการชำระค่าเสียหายให้ชัดแจ้งจึงไม่มีผลเป็นการประนีประนอมยอมความ จำเลยที่ 2 ยินยอมให้จำเลยที่ 1 นำรถยนต์แท็กซี่คันเกิดเหตุของจำเลยที่ 2 ออกแล่นรับคนโดยสารในนามบริษัทจำเลยที่ 2 โดยเปิดเผย และโดยจำเลยที่ 2 ได้รับผลประโยชน์ตอบแทนจากการอนุญาตให้จำเลยที่ 1 ใช้รถยนต์และรอยตราของจำเลยที่ 2 สุจริตชนย่อมเข้าใจว่าจำเลยที่ 2 เป็นผู้ประกอบการเดินรถยนต์รับจ้างโดยสารในกิจการของจำเลยที่ 2 เองพฤติการณ์ดังกล่าวเท่ากับจำเลยที่ 2 ยินยอมให้จำเลยที่ 1เชิดตัวเองออกแสดงเป็นพนักงานหรือตัวแทนเชิดของจำเลยที่ 2ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 821 ซึ่งจำเลยที่ 2ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ในผลแห่งละเมิดในคดีนี้ตามมาตรา 427 โจทก์เป็นผู้รับช่วงสิทธิตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 880 สิทธิของโจทก์ที่จะรับช่วงสิทธิย่อมเกิดขึ้นนับตั้งแต่วันที่โจทก์ได้ชำระค่าสินไหมทดแทนเป็นต้นไปโจทก์จะคิดดอกเบี้ยนับแต่วันทำละเมิดเสมือนเป็นผู้เสียหายโดยตรงมิได้ จึงชอบที่จะคิดดอกเบี้ยได้นับแต่วันที่โจทก์ชำระค่าสินไหมทดแทน โจทก์ไม่นำสืบให้ปรากฏแน่ชัดว่าโจทก์ชำระค่าสินไหมทดแทนไปในวันใด โจทก์จึงควรได้ดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้องเป็นต้นไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3982/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรื้อถอนอาคารต่อเติมโดยไม่ได้รับอนุญาต: อำนาจเจ้าพนักงานท้องถิ่น และอายุความฟ้องร้อง
แม้จำเลยไม่ใช่เจ้าของอาคารผู้ดำเนินการก่อสร้างต่อเติมอาคารขณะที่โจทก์ทราบเรื่องการก่อสร้างต่อเติมอาคารก็ตามแต่ข้อหาตามที่โจทก์ฟ้องเป็นเรื่องที่กล่าวหาว่าจำเลยเป็นเจ้าของและผู้ครอบครองอาคารที่ก่อสร้างต่อเติมโดยไม่ได้รับอนุญาตโดยสามีจำเลยเป็นผู้ดำเนินการก่อสร้างต่อเติม ซึ่งตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 42 ประกอบมาตรา 40 ให้อำนาจโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานท้องถิ่นสั่งการให้ผู้ดำเนินการก่อสร้างต่อเติมหรือจำเลยเจ้าของผู้ครอบครองอาคารให้รื้อถอนอาคารที่ก่อสร้างต่อเติมดังกล่าวได้ เมื่อจำเลยไม่ปฏิบัติตามโจทก์ก็มีอำนาจฟ้องบังคับได้และไม่ขัดต่อมาตรา 71 เมื่อศาลชั้นต้นเห็นว่าข้อเท็จจริงตามคำฟ้อง คำให้การและคำเบิกความพยานโจทก์เพียงพอให้เชื่อฟังเป็นยุติได้แล้วก็อาจมีคำสั่งงดสืบพยานโจทก์จำเลยที่เหลือได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 104 โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยเจ้าของผู้ครอบครองอาคารที่ก่อสร้างต่อเติมโดยไม่ได้รับอนุญาตให้รื้อถอนอาคารที่ก่อสร้างต่อเติมเป็นการบังคับให้จำเลยกระทำการทางแพ่ง ไม่ได้ฟ้องให้ลงโทษจำเลยทางอาญา เมื่อพระราชบัญญัติควบคุมอาคารฯ ไม่ได้บัญญัติเรื่องอายุความฟ้องร้องไว้เป็นพิเศษจึงต้องถือหลักอายุความทั่วไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 คือ 10 ปี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3970/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าพนักงานตรวจสอบหลักฐานประกอบการขออนุญาตขนส่งถูกต้อง การเรียกเก็บภาษีรถยนต์ย้อนหลังไม่ชอบ
รถยนต์โดยสารของโจทก์มีการเปลี่ยนเครื่องยนต์เปลี่ยนสี ไม่มีหมายเลขตัวถังรถ ไม่ปรากฎเลขแชชชีเดิมประกอบกับรายละเอียดน้ำหนักรถและจำนวนที่นั่งผู้โดยสารในใบคู่มือ จดทะเบียนรถยนต์กับใบรับรองการตรวจสภาพรถแตกต่างกันมาก กองวิศวกรรมการขนส่งของจำเลยที่ 4จึงออกหมายเลขตัวถังรถให้ใหม่และหมายเหตุเรื่องการเปลี่ยนแปลงไว้ในหนังสือรับรองการตรวจสภาพรถ ต่อมาโจทก์ขอชำระภาษีรถยนต์โดยสารคันดังกล่าวที่กรมการขนส่งทางบกจำเลยที่ 4 จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 เป็นเจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่อันเกี่ยวกับการตรวจสอบหลักฐานต่าง ๆ ที่ยื่นพร้อมกับคำขอรับใบอนุญาตประกอบการขนส่งส่วนบุคคลของโจทก์ จึงมีอำนาจที่จะสั่งให้ปฏิบัติการอันเกี่ยวกับการตรวจสอบหลักฐานต่าง ๆเหล่านั้น เพื่อป้องกันมิให้มีการทำหลักฐานทางทะเบียนปลอมหรือมีการนำรถซึ่งได้มาโดยมิชอบด้วยกฎหมายมาขอรับใบอนุญาตได้ตามที่เห็นสมควร ประกอบกับความจำเป็นในการตรวจสอบหลักฐานของโจทก์ซึ่งมีข้อที่น่าสงสัยหลายประการ อันเป็นการจำเป็นที่จำเลยต้องใช้เวลาในการตรวจสอบไปยังหน่วยราชการอื่น ๆ หลายแห่งเป็นเวลานานพอสมควร การกระทำของจำเลยที่ 1ถึงที่ 3 เป็นการปฏิบัติการตามหน้าที่โดยชอบด้วยกฎหมาย และได้กระทำไปไม่เกินกว่ากรณีแห่งการจำต้องกระทำเพื่อป้องกันมิให้มีการกระทำอันละเมิดต่อกฎหมาย ไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์ มาตรา 167 วรรคแรก แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบกฯมีความหมายแต่เพียงว่า รถที่ได้เสียภาษีตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ไว้แล้ว และยังไม่ครบกำหนดเวลาที่ได้เสียภาษีไว้ ระหว่างนั้นเจ้าของรถได้นำรถไปจดทะเบียนประกอบการขนส่งตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบกฯ ก็ให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีตามพระราชบัญญัตินี้จนกว่าจะครบกำหนดเวลาที่ได้เสียตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์เท่านั้น ไม่มีข้อความให้อำนาจจำเลยที่ 4เรียกเก็บภาษีย้อนหลังหรือที่ค้างชำระตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ได้เลย ที่จำเลยที่ 4 เรียกเก็บภาษีรถยนต์ของโจทก์ที่ค้างชำระตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ก่อนที่โจทก์จะนำรถมาจดทะเบียนต่อจำเลยที่ 4 จึงไม่ถูกต้อง โจทก์จะต้องเสียภาษีตั้งแต่วันที่ยื่นคำขอจดทะเบียนประกอบการขนส่งและขอชำระภาษีเป็นต้นไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3919/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจจัดการสินสมรสและการจำหน่ายที่ดิน: อำนาจของสามีในการจำหน่ายสินบริคณห์ที่ได้มาก่อนใช้กฎหมายใหม่
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ที่ได้ตรวจชำระใหม่ มาตรา 1477บัญญัติว่าอำนาจจัดการสินสมรส รวมถึงอำนาจจำหน่ายด้วย ดังนั้นที่มาตรา 7 แห่ง พระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติ บรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ที่ได้ตรวจชำระใหม่ฯ ใช้คำว่าอำนาจจัดการก็ย่อมหมายความรวมถึงอำนาจจำหน่ายด้วยเช่นกันแต่ทั้งนี้ต้องอยู่ภายใต้บังคับแห่งบทบัญญัติ มาตรา 1473 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 เดิม สามีซึ่งมีอำนาจจัดการสินบริคณห์หาแต่ก่อนประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ที่ได้ตรวจชำระใหม่ใช้บังคับ คงมีอำนาจจำหน่ายสินบริคณห์ต่อไปภายหลังประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ที่ได้ตรวจชำระใหม่ ใช้บังคับแล้ว หากการจำหน่ายสินบริคณห์นั้นไม่ใช่กรณีที่ต้องได้รับความยินยอมจากภริยาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1473 เดิม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3893/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิจำนองและการโอนที่ดิน ผู้รับจำนองมีสิทธิบังคับจำนองได้แม้มีการโอนกรรมสิทธิ์
ผู้จำนองมีสิทธิโอนที่ดินที่จำนองแก่บุคคลภายนอกได้ในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1336 ซึ่งผู้รับจำนองอาจใช้สิทธิบังคับจำนองแก่ผู้รับโอนที่ดินได้ การโอนที่ดินของผู้จำนองมิใช่เป็นการก่อภาระติดพันแก่ทรัพย์จำนองแต่อย่างใดทั้งผู้รับจำนองก็ยังคงมีสิทธิอยู่ตามสัญญาจำนอง ซึ่งหากบังคับจำนองได้เงินไม่พอชำระหนี้ ผู้จำนองก็ต้องรับผิดตามสัญญา หาใช่จะพ้นความรับผิดไปไม่ ดังนั้น จำเลยผู้รับจำนองจึงต้องส่งมอบโฉนดที่ดินซึ่งจำเลยครอบครองเพื่อให้โจทก์ผู้จำนองดำเนินการทำนิติกรรมโอนขายแก่บุคคลภายนอกตามฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3880/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแย่งปืนและการลักทรัพย์หลังเกิดเหตุชิงทรัพย์: ศาลฎีกาแก้เป็นลักทรัพย์และมีอำนาจพิพากษาถึงจำเลยที่ไม่เคยอุทธรณ์
ก่อนเกิดเหตุจำเลยที่ 1 โกรธผู้ตาย เพราะเหตุที่ผู้ตายไปตามหาจำเลยที่ 1 เพื่อจะจับกุม จำเลยทั้งสองจึงมาหาผู้ตายโดยจำเลยที่ 1 นำมีดติดตัวมาด้วย เมื่อผู้ตายจะจับกุม จำเลยที่ 1 กับผู้ตายจึงเกิดกอดปล้ำแย่งอาวุธปืนกัน จำเลยที่ 1 แย่งอาวุธปืนมาได้จึงยิงผู้ตายล้มลง จำเลยที่ 1 จึงเอาอาวุธปืนของผู้ตายหลบหนีไปด้วยเพื่อประโยชน์ส่วนตัว โดยจำเลยที่ 2 มิได้มีส่วนร่วมอยู่ด้วยจำเลยที่ 1 คงมีความผิดฐานลักทรัพย์ในเวลากลางคืนโดยมีอาวุธเท่านั้นไม่มีความผิดฐานชิงทรัพย์ เหตุดังกล่าวเป็นเหตุลักษณะคดีศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยที่ 2 ซึ่งมิได้อุทธรณ์ฎีกาได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 213 ประกอบด้วย มาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3880/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาชิงทรัพย์ vs. ลักทรัพย์หลังต่อสู้ การเปลี่ยนแปลงข้อกล่าวหาและการพิพากษา
ก่อนเกิดเหตุจำเลยที่ 1 โกรธผู้ตาย เพราะเหตุที่ผู้ตายไปตามหาจำเลยที่ 1 เพื่อจะจับกุม จำเลยทั้งสองจึงมาหาผู้ตายโดยจำเลยที่ 1 นำมีดติดตัวมาด้วย เมื่อผู้ตายจะจับกุม จำเลยที่ 1กับผู้ตายจึงเกิดกอดปล้ำแย่งอาวุธปืนกัน จำเลยที่ 1 แย่งอาวุธปืนมาได้จึงยิงผู้ตายล้มลง จำเลยที่ 1 จึงเอาอาวุธปืนของผู้ตายหลบหนีไปด้วยเพื่อประโยชน์ส่วนตัว โดยจำเลยที่ 2 มิได้มีส่วนร่วมอยู่ด้วยจำเลยที่ 1 คงมีความผิดฐานลักทรัพย์ในเวลากลางคืนโดยมีอาวุธเท่านั้นไม่มีความผิดฐานชิงทรัพย์ เหตุดังกล่าวเป็นเหตุลักษณะคดีศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยที่ 2 ซึ่งมิได้อุทธรณ์ฎีกาได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 213 ประกอบด้วย มาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3863/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำฟ้องข่มขืนกระทำชำเราโทรมหญิงต้องระบุองค์ประกอบการร่วมกันกระทำผิดและลักษณะเป็นการโทรมหญิงชัดเจน
องค์ประกอบความผิดในมาตรา 276 วรรคสอง ส่วนที่เป็นความผิดฐานกระทำชำเราอันมีลักษณะเป็นการโทรมหญิง จะต้องมีการร่วมกันกระทำผิดประการหนึ่งและการกระทำที่ร่วมกันนั้นเข้าลักษณะอันเป็นการโทรมหญิงอีกประการหนึ่ง โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยกับพวกได้ร่วมกันและผลัดกันข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหาย คำฟ้องของโจทก์ดังกล่าวบรรยายมาให้เห็นเฉพาะส่วนที่ได้มีการร่วมกันกระทำผิดอย่างไรเท่านั้น ไม่มีข้อบรรยายที่เป็นการยืนยันให้เห็นเป็นการชัดแจ้งถึงองค์ประกอบในส่วนที่สอง เพียงข้อความตามฟ้องที่ว่าผลัดกันข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหายมิใช่ข้อที่จะแสดงให้เห็นเป็นการแน่ชัดได้ว่ามีลักษณะเป็นการโทรมหญิง จึงไม่อาจถือได้ว่าเป็นการบรรยายการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยกระทำผิดโดยครบถ้วนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5) กำหนดไว้จึงไม่เป็นคำฟ้องที่จะลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 276วรรคสองได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3863/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำฟ้องข่มขืนโทรมหญิงต้องบรรยายองค์ประกอบความผิดครบถ้วน การร่วมกระทำผิดและการเข้าลักษณะโทรมหญิง
องค์ประกอบความผิดในมาตรา 276 วรรคสอง ส่วนที่เป็นความผิดฐานกระทำชำเราอันมีลักษณะเป็นการโทรมหญิง จะต้องมีการร่วมกันกระทำผิดประการหนึ่งและการกระทำที่ร่วมกันนั้นเข้าลักษณะอันเป็นการโทรมหญิงอีกประการหนึ่ง โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยกับพวกได้ร่วมกันและผลัดกันข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหาย คำฟ้องของโจทก์ดังกล่าวบรรยายมาให้เห็นเฉพาะส่วนที่ได้มีการร่วมกันกระทำผิดอย่างไรเท่านั้น ไม่มีข้อบรรยายที่เป็นการยืนยันให้เห็นเป็นการชัดแจ้งถึงองค์ประกอบในส่วนที่สอง เพียงข้อความตามฟ้องที่ว่าผลัดกันข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหายมิใช่ข้อที่จะแสดงให้เห็นเป็นการแน่ชัดได้ว่ามีลักษณะเป็นการโทรมหญิง จึงไม่อาจถือได้ว่าเป็นการบรรยายการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยกระทำผิดโดยครบถ้วนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5) กำหนดไว้จึงไม่เป็นคำฟ้องที่จะลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 276 วรรคสองได้
of 61