พบผลลัพธ์ทั้งหมด 606 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3194/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าพนักงานทุจริตสอบแข่งขัน ครูสนับสนุนความผิด เปิดเผยความลับราชการ
จำเลยที่ 2 ที่ 3 เป็นข้าราชการครูได้รับแต่งตั้ง ให้เป็นกรรมการสอบสัมภาษณ์ในการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุบุคคลเข้ารับราชการครูตามคำสั่งของสำนักงานคณะกรรมการประถมศึกษาแห่งชาติ ย่อมถือว่าเป็นเจ้าพนักในการสอบครั้งนี้แม้จะเป็นเพียงกรรมการสอบสัมภาษณ์ก็ตาม หน้าที่ในการสอบย่อมคลุมถึงการสอบตั้งแต่วันที่ได้รับทราบคำสั่งแต่งตั้งจนถึงการสอบเสร็จสิ้น หาใช่เป็นเจ้าพนักงานมีหน้าที่เฉพาะในช่วงการสอบสัมภาษณ์ เท่านั้นไม่ เมื่อจำเลยที่ 2 ที่ 3มีเจตนาทุจริตร่วมกันนำเข้าสอบซึ่งเป็นความลับของทางราชการไปเปิดเผยให้ บ. กับพวกรู้ก่อนเข้าสอบ จึงเป็นความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริตและฐานเป็นเจ้าพนักงานกระทำโดยมิชอบด้วยหน้าที่ให้ผู้อื่นล่วงรู้ความลับในราชการ และจำเลยที่ 4 ที่ 5 ซึ่งเป็นข้าราชการครูซึ่งเป็นผู้ร่วมกระทำผิดแต่มิได้เป็นกรรมการสอบมีความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนจำเลยที่ 2 ที่ 3
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3046/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องเรียกค่าทดรองจ่าย: ตัวแทน vs. พ่อค้า - อายุความ 10 ปี
โจทก์บรรยายฟ้องว่า ระหว่างเดือนกรกฎาคมถึงเดือนตุลาคม 2528 ห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2หุ้นส่วนผู้จัดการ ได้ติดต่อให้โจทก์จัดหาห้องพักที่ฮ่องกงให้แก่ลูกค้าของจำเลยที่ 1 โจทก์ได้จัดหาห้องพักและออกเงินทดรองสำหรับห้องพักให้ลูกค้าของจำเลยที่ 1ในเดือนสิงหาคมและตุลาคม 2528 โจทก์จัดหาห้องพักและออกเงินทดรองค่าห้องพัก 2 ครั้ง เป็นเงิน 5,085 เหรียญฮ่องกงส่วนเดือนตุลาคม 2528 โจทก์หาห้องพักและจ่ายเงินทดรองค่าห้องพักเป็นเงิน 18,130 เหรียญฮ่องกง เมื่อถึงกำหนดจำเลยที่ 1 ไม่ชำระหนี้ให้โจทก์นอกจากนั้นโจทก์ยังแนบเอกสาร ที่เกี่ยวข้องกับคำฟ้องดังกล่าวมาท้ายฟ้องด้วย ฟ้องของ โจทก์ได้บรรยายถึงสภาพแห่งข้อหาคือจำเลยที่ 1 ให้โจทก์ จัดหาห้องพักให้ลูกค้าจำเลยที่ 1 และข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลัก แห่งข้อหาคือโจทก์ได้จัดหาห้องพักและออกเงินทดรอง ค่าห้องพักดังกล่าวแต่จำเลยที่ 1 ไม่ชำระเงินทดรอง ค่าห้องพักแก่โจทก์โดยแจ้งชัดพอที่จำเลยทั้งสองจะเข้าใจแล้ว ส่วนที่ฟ้องของโจทก์มิได้บรรยายว่าโจทก์จัดหาห้องพักและ จ่ายค่าห้องพักที่ไหนนั้น เป็นรายละเอียดโจทก์สามารถ นำสืบในชั้นพิจารณาได้ ฟ้องของโจทก์ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 วรรคสอง แล้วไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม จำเลยที่ 1 ให้โจทก์จัดหาห้องพักที่ฮ่องกง และ ทดรองจ่ายค่าห้องพักแก่ลูกค้าของจำเลยที่ 1 แล้วโจทก์ มาฟ้องเรียกเงินทดรองจ่ายค่าห้องพักดังกล่าว เป็นเรื่อง ตัวแทนเรียกเงินที่ออกทดรองจ่ายไปในการจัดทำกิจการของ ตัวการ มิใช่เป็นเรื่องโจทก์เป็นพ่อค้าเรียกเอาเงินที่ ได้ออกทดรองไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165(1)(เดิม) ซึ่งในกรณีเช่นนี้ไม่มีกฎหมายกำหนด อายุความไว้เป็นการเฉพาะต้องใช้อายุความ 10 ปี ตามมาตรา 164(เดิม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3007/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิริบเงินมัดจำและค่าตอบแทนการขยายเวลาสัญญาซื้อขายที่ดินเมื่อผู้ซื้อผิดสัญญา
การที่คู่สัญญาได้ระบุเงินมัดจำจำนวน 400,000 บาท ไว้ในสัญญาจะซื้อขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง และจำเลยที่ 1 ได้รับเงินมัดจำจำนวนดังกล่าวแล้วเงินค่าตอบแทนเพื่อขยายเวลาโอนดังกล่าวจึงมิใช่เงินมัดจำและถือได้ว่าเป็นเงินที่โจทก์เจตนาชำระเป็นราคาทรัพย์ที่จะซื้อบางส่วน เมื่อจำเลยที่ 1 บอกเลิกสัญญาเพราะโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาเนื่องจากโจทก์ไม่ชำระหนี้ภายในกำหนดตามสัญญา จำเลยที่ 1 ย่อมมีสิทธิริบเงินมัดจำจำนวน 400,000 บาทได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 378(2) และคู่สัญญาต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิม โดยจำเลยที่ 1 ต้องคืนเงินจำนวน 600,000บาท ดังกล่าวแก่โจทก์ หากจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 5 ได้รับความเสียหายก็มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายได้ตามมาตรา 391 วรรคหนึ่งและวรรคสี่ แต่จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 5 ไม่ได้ฟ้องแย้งเรียกค่าเสียหายจากโจทก์แต่อย่างใด จึงไม่มีสิทธิริบเงินค่าตอบแทนเพื่อขยายเวลาโอน ซึ่งมิใช่มัดจำจำนวน 600,000 บาท ที่รับไว้จากโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2965/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการครอบครองที่ดินและสัญญาเช่า: การพิสูจน์ว่าที่ดินพิพาทไม่ใช่สาธารณสมบัติของแผ่นดิน
ที่ดินที่โจทก์ยกให้แก่ทางราชการซึ่งต่อมาทางราชการมีโครงการจัดสรรสำหรับราษฎรอยู่อาศัยร่วมกันเป็นคนละแปลงกับที่ดินพิพาทที่ดินพิพาทจึงไม่ใช่สาธารณสมบัติของแผ่นดินประเภทจัดสรรสำหรับราษฎรอาศัยร่วมกัน และเมื่อจำเลยเป็นผู้ทำสัญญาเช่าที่ดินพิพาทกับโจทก์ จำเลยจะเถียงว่าโจทก์ไม่มีสิทธิให้เช่าที่ดินพิพาทหาได้ไม่โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2832/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจทนาย การยื่นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบ และการแก้ไขข้อผิดระเบียบของศาล
จำเลยไม่ได้ยื่นใบแต่งทนายตั้ง ม. ให้เป็นทนายของจำเลยต่อศาลชั้นต้น ดังนั้น คำอุทธรณ์ของจำเลยซึ่ง ม. ลงชื่อในฐานะทนายจำเลยโดยไม่ได้ยื่นใบแต่งทนายเข้ามาในสำนวนย่อมเป็นฟ้องอุทธรณ์ที่ไม่ชอบ แต่การที่ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์ของจำเลยมานั้นเป็นเรื่องผิดระเบียบ ศาลอุทธรณ์มีอำนาจที่จะสั่งให้ศาลชั้นต้นจัดการให้จำเลยลงชื่อในฐานะผู้อุทธรณ์ในคำฟ้องอุทธรณ์เสียให้ถูกต้องได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27 วรรคแรกประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 การที่ ม. ยื่นคำร้องและใบมอบฉันทะให้เสมียนทนายฟังคำพิพากษาและถ่ายคำพิพากษาแทน ม. ในฐานะทนายจำเลย ศาลชั้นต้นสั่งอนุญาตโดยไม่ปรากฏว่ามีใบแต่งทนายที่จำเลยตั้ง ม. เป็นทนายจำเลยยื่นเข้ามาในสำนวนเป็นเหตุให้ ม. เข้าใจว่าจำเลยยื่นใบแต่งทนายตั้ง ม. เป็นทนายต่อศาลชั้นต้นแล้ว จึงได้ทำคำฟ้องอุทธรณ์ยื่นต่อศาลโดยไม่ได้ยื่นใบแต่งทนายเข้ามาเสียให้ถูกต้อง และเมื่อศาลชั้นต้นตรวจรับอุทธรณ์ก็ไม่ได้ทักท้วงว่า จำเลยมิได้ยื่นใบแต่งทนายตั้งม. เป็นทนายจำเลย เพื่อคืนคำฟ้องอุทธรณ์ให้จำเลยไปทำมาใหม่หรือแก้ไขเสียให้ถูกต้อง พฤติการณ์ของ ม. ดังกล่าวเห็นได้ว่ามิใช่จำเลยจงใจประวิงคดีหรือเอาเปรียบในเชิงคดี จึงมีเหตุอันสมควรที่จะสั่งให้จำเลยแก้ไขข้อผิดระเบียบนั้นเสียก่อน การที่ศาลอุทธรณ์ใช้ดุลพินิจพิพากษายกคำฟ้องอุทธรณ์ของจำเลยโดยไม่สั่งให้จำเลยแก้ไขข้อผิดระเบียบนั้นเสียก่อน จึงเป็นการใช้ดุลพินิจที่ไม่สมควรศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ดุลพินิจศาลอุทธรณ์เสียใหม่ ให้ศาลชั้นต้นจัดการให้จำเลยลงชื่อในคำฟ้องอุทธรณ์ในฐานะผู้อุทธรณ์ แล้วส่งสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาใหม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2826/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแปลงหนี้จากสัญญาสัญญาประนีประนอมยอมความ เป็นหนี้กู้ยืมเงินและจำนอง รวมถึงดอกเบี้ยผิดนัด
ภายหลังจากโจทก์ จำเลย และว.ทำสัญญาประนีประนอมยอมความโดยจำเลย และว. ยอมรับผิดร่วมกันชดใช้เงินค่าใช้จ่ายในการส่งคนงานไปทำงานต่างประเทศจำนวน 293,813 บาท ให้แก่โจทก์แล้ว โจทก์จำเลยได้ตกลงกันใหม่ว่าจำเลยรับว่าได้กู้ยืมเงินโจทก์ 293,813 บาท และจำนองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างเป็นประกันหนี้เงินกู้ดังกล่าว ดังนี้ถือได้ว่าโจทก์จำเลยตกลงทำสัญญาแปลงหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความเป็นหนี้เงินกู้และจำนองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างเป็นประกันหนี้เงินกู้ที่ปรากฏข้อความในหนังสือสัญญาจำนอง สัญญาจำนองจึงมีผลบังคับตามกฎหมาย การที่โจทก์จะรับชำระหนี้จำนองไว้บางส่วนตามหนังสือสัญญาชำระหนี้ซึ่งมีข้อความสงวนสิทธิในการจะฟ้องบังคับจำนองหากจำเลยชำระหนี้จำนองไม่ครบ ภายหลังจากที่โจทก์มีหนังสือบอกกล่าวบังคับจำนองไปยังจำเลยแล้วก็ตาม ไม่ถือว่าโจทก์สละเจตนาที่จะบังคับจำนองกับจำเลยยังถือเป็นหนังสือบอกกล่าวบังคับจำนองอยู่ การบอกกล่าวบังคับจำนองชอบแล้ว แม้ในหนังสือสัญญาจำนองมีข้อความระบุว่าไม่มีดอกเบี้ยก็ตามแต่หนังสือสัญญาจำนองนี้เป็นทั้งสัญญากู้ยืมเงินและสัญญาจำนองข้อความที่ว่าไม่มีดอกเบี้ยจึงหมายความว่าที่จำเลยกู้ยืมเงินโจทก์293,813 บาท นั้นไม่ต้องเสียดอกเบี้ยและสัญญาจำนองก็ไม่ต้องรับผิดในดอกเบี้ยตามสัญญากู้ยืมเงินแต่เมื่อจำเลยมิได้ชำระหนี้ให้แก่โจทก์ตามกำหนดเวลาในหนังสือบอกกล่าวบังคับจำนอง จำเลยย่อมตกเป็นผู้ผิดนัดต้องเสียดอกเบี้ยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี นับแต่วันผิดนัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 244
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2820/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับตัวเด็กและหญิงเพื่อการอนาจารและค้าประเวณี การรับฟังพยานบอกเล่า และการรับรองสำเนาเอกสาร
แม้คำให้การชั้นสอบสวนของผู้เสียหายจะเป็นพยานบอกเล่าแต่กฎหมายก็ไม่ได้ห้ามไม่ให้รับฟัง เพียงแต่ลำพังมีน้ำหนักน้อยจึงรับฟังคำให้การชั้นสอบสวนของผู้เสียหายประกอบกับพยานบุคคลและพยานเอกสารลงโทษจำเลยที่ 1 ได้ ภาพถ่ายธนบัตรที่มีลายมือชื่อของจำเลยที่ 2 ซึ่งพนักงานสอบสวนลงลายมือชื่อรับรองว่าถ่ายมาจากต้นฉบับจริงเป็นสำเนาเอกสารที่เจ้าพนักงานรับรองจำเลยมิได้โต้แย้งคัดค้านความถูกต้องแท้จริงย่อมรับฟังได้โดยชอบตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 238 จำเลยรับเด็กหญิงและหญิงหลายคนซึ่งมีผู้จัดหา ล่อไปหรือชักพาไปเพื่อการอนาจารเพื่อสำเร็จความใคร่ของผู้อื่น โดยรับไว้หลายครั้งครั้งละ 2 คนบ้าง 1 คนบ้างนั้น การรับไว้แต่ละครั้งเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน แต่ในครั้งเดียวกันแม้รับเด็กหญิงหรือหญิงไว้หลายคนก็เป็นการกระทำกรรมเดียว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2806/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คพิพาท: การลงวันที่เช็คหลังเกิดเหตุ และสิทธิของผู้รับอาวัลในการไล่เบี้ย
การที่ผู้ตายได้ออกเช็คพิพาทโดยเว้นรายการวันที่ออกเช็คไว้ให้ลูกแชร์คือผู้ทรงไป โดยมีข้อตกลงว่าให้ผู้ทรงไปลงวันที่เองตามกำหนดที่เปียแชร์ได้ แต่นายวงแชร์ถึงแก่ความตาย วงแชร์จึงล้มไม่มีการเปีย เวลาพึงชำระหนี้ตามเช็คที่อาศัยการเปียแชร์เป็นวิธีกำหนดจึงตกเป็นการพ้นวิสัย และจะอนุมานจากพฤติการณ์ทั้งปวงก็มิได้เจ้าหนี้คือผู้ทรงเช็คย่อมมีสิทธิที่จะเรียกร้องให้ชำระหนี้ได้โดยพลัน แต่ผู้ตายถูกคนร้ายฆ่าเมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2528 สิทธิของผู้ทรงที่จะลงวันที่สั่งจ่ายในเช็คพิพาทเพื่อบังคับตามสิทธิเรียกร้องที่มีอยู่ต่อผู้สั่งจ่ายจึงเริ่มมีขึ้นและมีอยู่ตลอดไปถึงวันครบกำหนดอายุความที่อาจบังคับใช้สิทธิเรียกร้องตามมูลตั๋วเงินนั้น ซึ่งสิทธิเรียกร้องดังกล่าวมีกำหนดอายุความ 1 ปี นับแต่วันตั๋วเงินถึงกำหนด ตามที่บัญญัติไว้ใน ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1002 ปรากฏว่าผู้ทรงได้ลงวันที่สั่งจ่ายในเช็คพิพาทเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2529 ยังอยู่ในกำหนดเวลาที่อาจใช้สิทธิได้ดังกล่าว จึงเป็นการลงวันที่สั่งจ่ายโดยถูกต้องแท้จริงตามสิทธิโดยสุจริตแล้วรายการในเช็คพิพาทจึงสมบูรณ์ครบถ้วน เมื่อการลงวันที่ในเช็คพิพาทมีผลตามกฎหมายวันที่ลงในเช็คพิพาทอันเป็นวันที่เช็คถึงกำหนดใช้เงินที่ปรากฏดังกล่าวคือวันที่ 20 พฤศจิกายน 2529 และธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงินในวันนั้น โจทก์ผู้ทรงฟ้องจำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกของผู้ตายเมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2530 จึงไม่เกินกำหนด 1 ปี ยังไม่ขาดอายุความ โจทก์สลักหลังเช็คพิพาทซึ่งเป็นเช็คออกให้แก่ผู้ถือ จึงมีผลเป็นการประกัน (อาวัล) สำหรับผู้สั่งจ่าย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 921,989 เมื่อได้ชำระเงินตามเช็คพิพาทให้แก่ผู้ทรงตามที่เรียกร้องแล้ว โจทก์ย่อมอยู่ในฐานะผู้รับอาวัลที่ได้ใช้เงินตามเช็คไปแล้ว ย่อมได้สิทธิในอันจะไล่เบี้ยเอาแก่ผู้สั่งจ่ายซึ่งเป็นบุคคลที่ตนได้ประกันไว้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 940 วรรคสาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2806/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คพิพาทลงวันที่หลังออกเช็ค: สิทธิเรียกร้อง, อายุความ, การสลักหลัง, และการไล่เบี้ย
ผู้ตายได้ออกเช็คพิพาทโดยเว้นรายการวันที่ออกเช็คไว้ให้ลูกแชร์ คือผู้ทรงไป โดยมีข้อตกลงว่าให้ผู้ทรงไปลงวันที่เองตามกำหนดที่เปียแชร์ได้ แต่นายวงแชร์ถึงแก่ความตาย วงแชร์จึงล้มไม่มีการเปีย เวลาพึงชำระหนี้ตามเช็คที่อาศัยการเปียแชร์เป็นวิธีกำหนดจึงตกเป็นการพ้นวิสัย และจะอนุมานจากพฤติการณ์ทั้งปวงก็มิได้ เจ้าหนี้คือผู้ทรงเช็คย่อมมีสิทธิที่จะเรียกร้องให้ชำระหนี้ได้โดยพลัน แต่ผู้ตายถูกคนร้ายฆ่าเมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน2528 สิทธิของผู้ทรงที่จะลงวันที่สั่งจ่ายในเช็คพิพาทเพื่อบังคับตามสิทธิเรียกร้องที่มีอยู่ต่อผู้สั่งจ่ายจึงเริ่มมีขึ้นและมีอยู่ตลอดไปถึงวันครบกำหนดอายุความที่อาจบังคับใช้สิทธิเรียกร้องตามมูลตั๋วเงินนั้น ซึ่งสิทธิเรียกร้องดังกล่าวมีกำหนดอายุความ1 ปี นับแต่วันตั๋วเงินถึงกำหนด ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1002 ปรากฏว่าผู้ทรงได้ลงวันที่สั่งจ่ายในเช็คพิพาทเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2529 ยังอยู่ในกำหนดเวลาที่อาจใช้สิทธิได้ดังกล่าว จึงเป็นการลงวันที่สั่งจ่ายโดยถูกต้องแท้จริงตามสิทธิโดยสุจริตแล้ว รายการในเช็คพิพาทจึงสมบูรณ์ครบถ้วน เมื่อการลงวันที่ในเช็คพิพาทมีผลตามกฎหมาย วันที่ลงในเช็คพิพาทอันเป็นวันที่เช็คถึงกำหนดใช้เงินที่ปรากฏดังกล่าวคือวันที่ 20 พฤศจิกายน 2529 และธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงินในวันนั้น โจทก์ผู้ทรงฟ้องจำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกของผู้ตายเมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2530 จึงไม่เกินกำหนด 1 ปี ยังไม่ขาดอายุความ โจทก์สลักหลังเช็คพิพาทซึ่งเป็นเช็คออกให้แก่ผู้ถือ จึงมีผลเป็นการประกัน (อาวัล) สำหรับผู้สั่งจ่าย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 921,989 เมื่อได้ชำระเงินตามเช็คพิพาทให้แก่ผู้ทรงตามที่เรียกร้องแล้ว โจทก์ย่อมอยู่ในฐานะผู้รับอาวัลที่ได้ใช้เงินตามเช็คไปแล้ว ย่อมได้สิทธิในอันจะไล่เบี้ยเอาแก่ผู้สั่งจ่ายซึ่งเป็นบุคคลที่ตนได้ประกันไว้ตามมาตรา 940 วรรคสาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2777/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองปรปักษ์ที่ดินพิพาท การให้การที่อ้างกรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ไม่ถือว่าขัดแย้ง
ที่ดินของโจทก์จำเลยมีเขตติดต่อกัน ที่ดินของจำเลยเป็นที่ดินโฉนดแบบเก่า ทำการปูโฉนดสอบเขตไม่ได้ขณะจำเลยให้การ จำเลยจึงยังอาจไม่ทราบแน่ชัดว่าที่ดินพิพาทอยู่ในเขตที่ดินของโจทก์หรือของจำเลยดังนั้นการที่โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินพิพาทและจำเลยให้การว่าคันคูดินอยู่ในเขตที่ดินของจำเลยหากที่ดินบริเวณคันคูดินอยู่ในเขตที่ดินของโจทก์ที่ดินบริเวณดังกล่าวก็ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยโดยการครอบครองปรปักษ์นั้น นับว่ามีเหตุผลที่จำเลยจะให้การเช่นนั้นได้ ยังถือไม่ได้ว่าคำให้การของจำเลยขัดกันไม่ชอบด้วย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสอง