คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
พัลลภ พิสิษฐ์สังฆการ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 606 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2469/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความประมาทในการขับรถชนกัน ทำให้เกิดความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สิน ศาลแก้ไขโทษจำคุกให้เหมาะสม
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้งสองขับรถยนต์ชนกันโดยประมาททำให้ผู้โดยสารในรถถึงแก่ความตาย ได้รับอันตรายสาหัสและได้รับอันตรายแก่กายศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยทั้งสองจำเลยทั้งสองอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน จำเลยที่ 2 ฎีกาเมื่อศาลฎีกาเห็นว่า จำเลยทั้งสองประมาท แต่ศาลล่างทั้งสองลงโทษจำเลยที่ 2 หนักเกินไป เห็นควรแก้ไขให้เหมาะสม และเนื่องจากข้อเท็จจริงที่ว่าเหตุที่เกิดขึ้นเกิดจากความประมาทของจำเลยทั้งสองเป็นข้อเท็จจริงอันหนึ่งอันเดียวกัน และหลังเกิดเหตุฝ่ายจำเลยที่ 1 ได้นำเงินไปช่วยเป็นค่าปลงศพและค่ามนุษยธรรมแก่ฝ่ายผู้เสียหาย ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาโดยกำหนดโทษให้เบาลงอีกไปถึงจำเลยที่ 1 ซึ่งมิได้ฎีกาด้วยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2419/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ละเมิดจากการไม่จัดหาสัตวแพทย์ตรวจเนื้อสัตว์, ความรับผิดของโรงฆ่าสัตว์, ส่วนละเลยของโจทก์
โจทก์ที่ 6 ที่ 7 และที่ 8 ฟ้องเรียกค่าเสียหายรวมกันมาเป็นคดีเดียวกัน แต่โจทก์ที่ 6 ที่ 7 และที่ 8เป็นคู่สัญญาการฆ่าสัตว์ในโรงฆ่าสัตว์ของเทศบาลเมืองจำเลยที่ 1 ตามสัญญาคนละฉบับและได้รับอนุญาตให้ฆ่าสุกรแยกต่างหากจากกัน จึงเป็นกรณีที่โจทก์แต่ละคนต่างมีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายได้โดยลำพังตนเอง แม้โจทก์ทั้งสามจะฟ้องรวมกันมาเป็นคดีเดียวกัน แต่การพิจารณาถึงสิทธิในการฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 248 วรรคแรก ต้องพิจารณาตามทุนทรัพย์ที่โจทก์แต่ละคนเรียกร้อง เทศบาลเมืองจำเลยที่ 1 มีหน้าที่จัดให้มีโรงฆ่าสัตว์และต้องดูแลควบคุมให้การดำเนินการเป็นไปโดยถูกต้องเรียบร้อยตามระเบียบที่วางไว้จำเลยที่ 1 ได้ออกอาชญาบัตรให้แก่โจทก์ที่ 3 เพื่อฆ่าสุกรในโรงฆ่าสัตว์ของจำเลยที่ 1และชำแหละเนื้อสุกรนำออกจำหน่ายแก่ประชาชนทั่วไปตามสัญญาที่ทำไว้ วันเกิดเหตุไม่มีสัตว์แพทย์และเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 มาตรวจ และตีประทับตราเนื้อสุกรชำแหละเพื่ออนุญาตให้นำออกไปจำหน่ายได้ตามปกติ โดยสัตวแพทย์มาตรวจ เนื้อสุกรชำแหละและเจ้าหน้าที่มาตีประทับตราเนื้อสุกรชำแหละให้นำออกจากโรงฆ่าสัตว์ได้ในเวลาประมาณ10 นาฬิกา ต่อมาเนื้อสุกรชำแหละเน่าเสียหาย จำเลยที่ 1มีหน้าที่ต้องจัดหาสัตวแพทย์มาตรวจ เนื้อสุกรชำแหละก่อนที่จะให้โจทก์ที่ 3 นำออกไปจำหน่าย ซึ่งการตรวจจะต้องกระทำภายในช่วงเวลาการฆ่าและชำแหละสุกรคือระหว่างเวลา 00.01 นาฬิกา ถึง 8 นาฬิกา แม้ว่าในสัญญาฆ่าสุกรจะไม่ระบุว่าสัตวแพทย์จะต้องมาทำการตรวจเนื้อสุกรชำแหละเวลาใดก็ตาม แต่ก็เห็นได้ว่าจำเลยที่ 1จะต้องจัดให้มีสัตวแพทย์มาปฏิบัติหน้าที่ในช่วงเวลาดังกล่าวการที่จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นสัตวแพทย์เพิ่มมาตรวจ และ มี การตีประทับตราให้นำเนื้อสุกรชำแหละออกจากโรงฆ่าสัตว์ได้ในเวลาประมาณ 10 นาฬิกา จึงเป็นเรื่องที่จำเลยที่ 1มิได้จัดหาสัตวแพทย์มาตรวจ เนื้อสุกรชำแหละตามหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ถือได้ว่าเป็นการละเลยประมาทเลินเล่ออันเป็นการทำละเมิดต่อโจทก์ที่ 3 ขณะที่สัตวแพทย์จำเลยที่ 3 ตรวจเนื้อสุกรชำแหละและเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ตีประทับตรานั้นเนื้อสุกรชำแหละยังสามารถจะนำไปจำหน่ายได้แต่ก็เป็นเวลาประมาณ 10 นาฬิกา ซึ่งจะเลิกขายเนื้อสุกรชำแหละแล้ว โดยเริ่มขายตั้งแต่เวลา 2 หรือ 3 นาฬิกาไปจนถึง 10 นาฬิกา หากโจทก์ที่ 3 จะนำเนื้อสุกรชำแหละไปขายก็คงขายได้ไม่มากนัก เพราะใกล้จะหมดเวลาที่ประชาชน จะมาซื้อตามที่เคยปฏิบัติมาเสียแล้ว ดังนั้น ความเสียหาย ที่เกิดขึ้นจึงไม่ใช่ความผิดของโจทก์ที่ 3 แต่ฝ่ายเดียว เพียงถือได้ว่าโจทก์ที่ 3 มีส่วนละเลยไม่บำบัดปัดป้อง หรือบรรเทาความเสียหายนั้นด้วย โดยไม่นำเนื้อสุกรชำแหละที่ผ่านการตรวจจากจำเลยที่ 3 และตีประทับตราแล้วออกจำหน่าย ทั้ง ๆ ที่อยู่ในช่วงเวลาที่จะสามารถจำหน่ายได้บ้าง ศาลจึงกำหนดให้จำเลยที่ 1 รับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ที่ 3 เพียงครึ่งหนึ่งของค่าเสียหาย ที่โจทก์ที่ 3 ได้รับ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2419/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำเลยมีหน้าที่จัดหาสัตวแพทย์ตรวจเนื้อสุกรชำแหละ หากละเลยถือเป็นการละเมิด โจทก์มีส่วนละเลยไม่บรรเทาความเสียหาย
โจทก์ที่ 1 ฟ้องเรียกค่าเสียหายไม่เกินห้าหมื่นบาท ส่วนโจทก์ที่ 6 ที่ 7 และที่ 8 ฟ้องเรียกค่าเสียหายรวมกันมาเป็นคดีเดียวกัน แต่โจทก์ทั้งสามต่างมีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายได้โดยลำพังตนเอง แม้จะฟ้องรวมกันมาเป็นคดีเดียวกันเพื่อความสะดวกแต่การพิจารณาถึงสิทธิในการฎีกาต้องพิจารณาตามทุนทรัพย์ที่โจทก์แต่ละคนเรียกร้อง การฟ้องคดีรวมกันหรือแยกกันย่อมไม่มีผลทำให้สิทธิในการฎีกาเปลี่ยนแปลงไป เมื่อปรากฏว่าค่าเสียหายที่โจทก์ที่ 6 ที่ 7 และที่ 8 แต่ละคนเรียกร้องมาไม่เกินห้าหมื่นบาทการที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น จึงเป็นคดีที่ต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 248 วรรคแรก (เดิม) ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะยื่นฎีกา จำเลยที่ 1 มีหน้าที่จัดให้มีโรงฆ่าสัตว์ และต้องดูแลควบคุมให้การดำเนินการเป็นไปโดยถูกต้องเรียบร้อย จำเลยที่ 1 ออกอาชญาบัตรให้แก่โจทก์เพื่อฆ่าสุกรในโรงฆ่าสัตว์ของจำเลยที่ 1 ซึ่งจำเลยที่ 1 มีหน้าที่จะต้องจัดหาสัตวแพทย์มาตรวจเนื้อสุกรชำแหละก่อนนำออกไปจำหน่ายแก่ประชาชนในระหว่างเวลา 0.01 นาฬิกา ถึง 8 นาฬิกาการที่สัตวแพทย์เพิ่งมาตรวจเนื้อสุกรชำแหละ และตีประทับตราให้นำเนื้อสุกรชำแหละออกจากโรงฆ่าสัตว์ได้ในเวลาประมาณ 10 นาฬิกาจนเป็นเหตุให้เนื้อสุกรชำแหละของโจทก์เน่าเสียหาย เป็นกรณีที่จำเลยที่ 1 มิได้จัดหาสัตวแพทย์มาตรวจเนื้อสุกรชำแหละภายในเวลาที่จะต้องตรวจตามหน้าที่ ถือได้ว่าเป็นการละเลย ประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 1 อันเป็นการทำละเมิดต่อโจทก์ การที่โจทก์มีส่วนละเลยไม่บำบัดปัดป้อง หรือบรรเทาความเสียหายโดยไม่นำเนื้อสุกรชำแหละที่ผ่านการตรวจจากสัตวแพทย์ และตีประทับตราแล้วออกจำหน่าย ทั้งที่อยู่ในช่วงเวลาที่จะสามารถจำหน่ายได้บ้างอันจะเป็นการบรรเทาความเสียหายให้ลดน้อยลงได้ ศาลเห็นสมควรกำหนดให้จำเลยที่ 1 ชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์เพียงครึ่งหนึ่งของค่าเสียหายที่โจทก์ได้รับ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2412/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเบิกค่าเดินทางข้าราชการครู: การช่วยราชการชั่วคราวและข้อยกเว้นการสละสิทธิ
การที่จำเลยที่ 1 มีคำสั่งให้โจทก์ซึ่งรับราชการเป็นครูอยู่ที่โรงเรียนแห่งหนึ่ง ไปช่วยปฏิบัติราชการเป็นการภายในที่โรงเรียนอีกแห่งหนึ่งนับเป็นการเดินทางไปช่วยราชการชั่วคราวตามมาตรา 13 (4) แห่ง พ.ร.ฎ.ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ พ.ศ.2526 โจทก์ย่อมมีสิทธิเบิกเบี้ยเลี้ยงเดินทาง ค่าเช่าที่พัก ค่าพาหนะอันรวมถึงค่าเช่ายานพาหนะ ค่าเชื้อเพลิงหรือพลังงานสำหรับยานพาหนะ ค่าระวางบรรทุก ค่าจ้างคนหาบหาม และอื่น ๆทำนองเดียวกัน และค่าใช้จ่ายอื่นที่จำเป็นต้องจ่ายเนื่องในการเดินทางไปราชการตามมาตรา 14 (1) (2) (3) และ (4) แห่งพระราชกฤษฎีกาฉบับเดียวกัน
กรณีเบี้ยเลี้ยงเดินทางนั้นปรากฏว่ามาตรา 18 แห่ง พ.ร.ฎ.ฉบับดังกล่าวซึ่งแก้ไขโดย พ.ร.ฎ.ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ 2)พ.ศ.2527 มาตรา 3 บัญญัติให้เบิกได้เพียงระยะเวลาไม่เกินหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันที่ออกเดินทาง ถ้าเกินต้องได้รับอนุมัติจากปลัดกระทรวงเจ้าสังกัด สำหรับส่วนราชการใดที่ไม่มีปลัดกระทรวง ให้ผู้บังคับบัญชาที่มีอำนาจเช่นเดียวกับปลัดกระทรวงเป็นผู้อนุมัติ ทั้งนี้ ให้พิจารณาถึงความจำเป็นและประหยัด เมื่อไม่ปรากฏว่าปลัดกระทรวงเจ้าสังกัดของกรมจำเลยที่ 1 อนุมัติให้โจทก์เบิกเบี้ยเลี้ยงเดินทางได้เพียงวันละ 50 บาท ตามบัญชี 1 อัตราค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทางไปราชการในราชอาณาจักร สำหรับผู้ดำรงตำแหน่งระดับ 3 ท้าย พ.ร.ฎ.ดังกล่าว เป็นเวลา120 วัน เท่านั้น สำหรับค่าพาหนะโจทก์เบิกได้ตลอดระยะเวลาที่ไปช่วยราชการส่วนการที่โจทก์ระบุไว้ในคำร้องขอย้ายข้าราชการครูที่ได้ยื่นไว้แก่จำเลยที่ 1สละสิทธิไม่ขอเบิกค่าใช้จ่ายในการขนย้าย ค่าเบี้ยเลี้ยงและค่าพาหนะเดินทางนั้นเป็นการที่โจทก์สละสิทธิดังกล่าวเฉพาะกรณีที่จำเลยที่ 1 มีคำสั่งให้ย้ายโจทก์ไปยังโรงเรียนที่โจทก์ประสงค์เท่านั้น แต่เมื่อปรากฏว่าจำเลยที่ 1 มีคำสั่งให้ย้ายโจทก์ไปรับราชการประจำยังโรงเรียนอื่นอันมิใช่สถานที่ที่โจทก์ขอไว้ การแจ้งสละสิทธิของโจทก์ย่อมไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะเบิกค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทางกับค่าพาหนะเดินทาง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2412/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเบิกค่าเดินทางข้าราชการ: การสั่งย้ายไปช่วยราชการชั่วคราว vs. การย้ายประจำ และผลของการสละสิทธิเบิกค่าใช้จ่าย
การที่จำเลยที่ 1 มีคำสั่งให้โจทก์ซึ่งรับราชการเป็นครูอยู่ที่โรงเรียนแห่งหนึ่งไปช่วยปฏิบัติราชการเป็นการภายในที่โรงเรียนอีกแห่งหนึ่ง นับเป็นการเดินทางไปช่วยราชการชั่วคราวตามมาตรา 13(4) แห่งพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการพ.ศ. 2526 โจทก์ย่อมมีสิทธิเบิกเบี้ยเลี้ยงเดินทาง ค่าเช่าที่พักค่าพาหนะอันรวมถึงค่าเช่ายานพาหนะ ค่าเชื้อเพลิงหรือพลังงานสำหรับยานพาหนะ ค่าระวางบรรทุก ค่าจ้าง คนหาบหาม และอื่น ๆ ทำนองเดียวกันและค่าใช้จ่ายอื่นที่จำเป็นต้องจ่ายเนื่องในการเดินทางไปราชการตามมาตรา 14(1)(2)(3) และ (4) แห่งพระราชกฤษฎีกาฉบับเดียวกัน กรณีเบี้ยเลี้ยงเดินทางนั้นปรากฏว่ามาตรา 18 แห่งพระราชกฤษฎีกา ดังกล่าวซึ่งแก้ไขโดยพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2527 มาตรา 3บัญญัติให้เบิกได้เพียงระยะเวลาไม่เกินหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันที่ออกเดินทาง ถ้าเกินต้องได้รับอนุมัติจากปลัดกระทรวงเจ้าสังกัด สำหรับส่วนราชการใด ที่ไม่มีปลัดกระทรวง ให้ผู้บังคับบัญชาที่มีอำนาจเช่นเดียวกับปลัดกระทรวงเป็นผู้อนุมัติทั้งนี้ ให้พิจารณาถึงความจำเป็นและประหยัด เมื่อไม่ปรากฏว่าปลัดกระทรวงเจ้าสังกัดของกรมจำเลยที่ 1 อนุมัติให้โจทก์เบิกเบี้ยเลี้ยงเดินทางเกินระยะเวลาข้างต้น โจทก์จึงมีสิทธิเบิกเบี้ยเลี้ยงเดินทางได้เพียงวันละ 50 บาท ตามบัญชี 1 อัตราค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทางไปราชการในราชอาณาจักร สำหรับผู้ดำรงตำแหน่งระดับ 3 ท้ายพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว เป็นเวลา 120 วัน เท่านั้นสำหรับค่าพาหนะโจทก์เบิกได้ตลอดระยะเวลาที่ไปช่วยราชการ ส่วนการที่โจทก์ระบุไว้ในคำร้องขอย้ายข้าราชการครู ที่ได้ยื่นไว้แก่จำเลยที่ 1สละสิทธิไม่ขอเบิกค่าใช้จ่ายในการขนย้าย ค่าเบี้ยเลี้ยง และค่าพาหนะเดินทางนั้นเป็นการที่โจทก์สละสิทธิดังกล่าวเฉพาะกรณีที่จำเลยที่ 1 มีคำสั่งให้ย้ายโจทก์ไปยังโรงเรียนที่โจทก์ประสงค์เท่านั้น แต่เมื่อปรากฏว่าจำเลยที่ 1 มีคำสั่งให้ย้ายโจทก์ไปรับราชการประจำยังโรงเรียนอื่นอันมิใช่สถานที่ที่โจทก์ขอไว้การแจ้งสละสิทธิของโจทก์ย่อมไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะเบิกค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทางกับค่าพาหนะเดินทาง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2412/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเบิกค่าเดินทางชั่วคราวของข้าราชการครู แม้สละสิทธิในคำร้องย้าย หากย้ายไปที่อื่นมิใช่ที่ขอ
การที่จำเลยที่ 1 มีคำสั่งให้โจทก์ซึ่งรับราชการเป็นครูอยู่ที่ โรงเรียนแห่งหนึ่ง ไปช่วยปฏิบัติราชการเป็นการภายในที่โรงเรียนอีก แห่งหนึ่งนับเป็นการเดินทางไปช่วยราชการชั่วคราวตามมาตรา 13(4) แห่งพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ พ.ศ. 2526 โจทก์ย่อมมีสิทธิเบิกเบี้ยเลี้ยงเดินทาง ค่าพาหนะอันรวมถึงค่าเช่า ยานพาหนะ ค่าเชื้อเพลิงหรือพลังงานสำหรับยานพาหนะ ค่าระวางบรรทุกค่าจ้างคนหาบหาม และอื่น ๆ ทำนองเดียวกัน และค่าใช้จ่ายอื่นที่ จำเป็น ต้องจ่ายเนื่องในการเดินทางไปราชการมาตรา 14(21)(2)(3) และ (4) แห่งพระราชกฤษฎีกาฉบับเดียวกัน กรณีเบี้ยเลี้ยงเดินทางนั้นปรากฏว่ามาตรา 18 แห่งพระราชกฤษฎีกาฉบับดังกล่าวซึ่งแก้ไขโดยพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการ เดินทางไปราชการ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2527 มาตรา 3 บัญญัติให้เบิกได้ เพียงระยะเวลาไม่เกินหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันที่ออกเดินทาง ถ้าเกินต้องได้รับอนุมัติจากปลัดกระทรวงเจ้าสังกัด สำหรับส่วนราชการ ใดที่ไม่มีปลัดกระทรวง ให้ผู้บังคับบัญชาที่มีอำนาจเช่นเดียว กับปลัดกระทรวงเป็นผู้อนุมัติ ทั้งนี้ ให้พิจารณาถึงความจำเป็นและประหยัด เมื่อไม่ปรากฏว่าปลัดกระทรวงเจ้าสังกัดของกรมจำเลยที่ 1 อนุมัติ ให้โจทก์เบิกเบี้ยเลี้ยงเดินทางได้เพียงวันละ 50 บาท ตามบัญชี 1 อัตราค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทางไปราชการในราชอาณาจักร สำหรับผู้ดำรงตำแหน่งระดับ 3 ท้ายพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว เป็นเวลา 120 วัน เท่านั้น สำหรับค่าพาหนะโจทก์เบิกได้ตลอดระยะเวลา ที่ไปช่วยราชการส่วนการที่โจทก์ระบุไว้ในคำร้องขอย้ายข้าราชการครู ที่ได้ยื่นไว้แก่จำเลยที่ 1 สละสิทธิไม่ขอเบิกค่าใช้จ่าย ในการขนย้าย ค่าเบี้ยเลี้ยงและค่าพาหนะเดินทางนั้นเป็น การที่โจทก์สละสิทธิดังกล่าวเฉพาะกรณีที่จำเลยที่ 1 มีคำสั่งให้ย้ายโจทก์ไปยังโรงเรียนที่โจทก์ประสงค์เท่านั้น แต่เมื่อ ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 มีคำสั่งให้ย้ายโจทก์ไปรับราชการ ประจำยังโรงเรียนอื่นอันมิใช่สถานที่ที่โจทก์ขอไว้ การแจ้งสละสิทธิ์ของโจทก์ย่อมไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะเบิกค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทางกับค่าพาหนะเดินทาง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2365/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ รับมอบงานก่อสร้างแล้ว ยึดหน่วง/หักค่าเสียหายได้ แต่ไม่มีสิทธิเบี้ยปรับหากไม่สงวนสิทธิ
โจทก์ทวงถามจำเลยให้ส่งมอบงานพ้นกำหนดเวลาที่กำหนดในสัญญาและได้เข้าอยู่ในบ้านพิพาทขณะที่จำเลยขนย้ายออกจากบ้านพิพาทถือได้ว่าโจทก์รับมอบงานจากจำเลยแล้ว โจทก์มิได้กล่าวสงวนสิทธิเรียกเอาค่าปรับฐานผิดสัญญาไว้ จึงไม่มีสิทธิเรียกเบี้ยปรับจากจำเลย เมื่องานก่อสร้างของจำเลยล่าช้าเกินกำหนดเวลาตามสัญญาและมีความชำรุดบกพร่อง โจทก์ชอบที่จะยึดหน่วงสินจ้างไว้จนกว่าจำเลยจะซ่อมแซมเสร็จแต่เมื่อโจทก์บอกเลิกสัญญาและเข้าอยู่ในบ้านพิพาทก็ชอบที่จะหักเป็นค่าซ่อมแซมความเสียหายตามควรค่าแห่งการนั้นได้หากมีค่าสินจ้างเหลือต้องคืนให้จำเลยไม่ชอบที่โจทก์จะไม่ชำระค่าสินจ้างเสียเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2352/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าซื้อระงับเมื่อทรัพย์สูญหาย ผู้เช่าซื้อไม่ต้องชำระค่าเช่าซื้อค้างชำระ แต่ต้องชดใช้ค่าเสียหายตามสมควร
สัญญาเช่าซื้อเป็นสัญญาเช่าทรัพย์ประเภทหนึ่งจึงต้องนำบทบัญญัติลักษณะเช่าทรัพย์มาใช้บังคับด้วยเมื่อรถยนต์ที่เช่าซื้อสูญหายสัญญาเช่าซื้อย่อมระงับไปตั้งแต่วันที่รถยนต์สูญหาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 567 ผู้ให้เช่าซื้อจะฟ้องเรียกค่าเช่าซื้อที่ยังค้างชำระอยู่ตั้งแต่วันที่รถยนต์ที่เช่าซื้อสูญหายไปหาได้ไม่ แม้ตามสัญญาเช่าซื้อจะกำหนดให้ผู้เช่าซื้อรับผิดชำระค่าเช่าซื้อจนครบในกรณีที่รถยนต์ที่เช่าซื้อถูกโจรภัยหรือสูญหายก็ตาม แต่การที่ผู้เช่าซื้อตกลงไว้เช่นนั้น ถือได้ว่าผู้เช่าซื้อได้ตกลงที่จะชำระค่าเสียหายให้ผู้เช่าซื้อในกรณีนี้ไว้ด้วย ผู้เช่าซื้อจึงต้องรับผิดแต่ศาลก็มีอำนาจกำหนดให้ตามจำนวนที่เห็นสมควร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2350/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจสอบสวนและฟ้องคดีอาญา: แม้ข้อเท็จจริงเปลี่ยนแปลงในชั้นพิจารณา ก็ไม่กระทบอำนาจเดิม
ป.ได้ร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีแก่จำเลยทั้งสี่และ ส.ในความผิดฐานร่วมกันหน่วงเหนี่ยวกักขัง ภ.โดยร่วมกันกระทำความผิดตั้งแต่ห้าคนขึ้นไปตาม ป.อ.มาตรา 309 วรรคสอง ซึ่งเป็นความผิดที่ไม่อาจยอมความกันได้ และพนักงานสอบสวนมีอำนาจสอบสวนได้ แม้จะไม่มีคำร้องทุกข์เพราะมิใช่คดีความผิดต่อส่วนตัว ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 121 พนักงานสอบสวนได้ดำเนินการสอบสวนแล้วเสนอความเห็นควรสั่งฟ้องพนักงานอัยการมีคำสั่งและฟ้องจำเลยทั้งสี่ในความผิดฐานดังกล่าว การสอบสวนและอำนาจฟ้องเป็นไปโดยชอบทุกขั้นตอน แม้ต่อมาในชั้นพิจารณาข้อเท็จจริงจะต่างจากฟ้องก็เป็นอำนาจศาลที่จะพิพากษาตามที่พิจารณาได้ความตามกฎหมาย หาเป็นเหตุให้กระทบกระเทือนถึงอำนาจการสอบสวนของพนักงานสอบสวน และอำนาจฟ้องของโจทก์ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2350/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจสอบสวนและฟ้องชอบด้วยกฎหมาย แม้ข้อเท็จจริงในชั้นพิจารณาต่างจากฟ้อง ศาลมีอำนาจพิจารณาตามความจริง
ป. ได้ร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีแก่จำเลยทั้งสี่และ ส.ในความผิดฐานร่วมกันหน่วงเหนี่ยวกักขัง ภ. โดยร่วมกันกระทำความผิดตั้งแต่ห้าคนขึ้นไปตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 309 วรรคสองซึ่งเป็นความผิดที่ไม่อาจยอมความกันได้ และพนักงานสอบสวนมีอำนาจสอบสวนได้ แม้จะไม่มีคำร้องทุกข์เพราะมิใช่คดีความผิดต่อส่วนตัวตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 121 พนักงานสอบสวนได้ดำเนินการสอบสวนแล้วเสนอความเห็นควรสั่งฟ้อง พนักงานอัยการมีคำสั่งและฟ้องจำเลยทั้งสี่ในความผิดฐานดังกล่าว การสอบสวนและอำนาจฟ้องเป็นไปโดยชอบทุกขั้นตอน แม้ต่อมาในชั้นพิจารณาข้อเท็จจริงจะต่างจากฟ้องก็เป็นอำนาจศาลที่จะพิพากษาตามที่พิจารณาได้ความตามกฎหมาย หาเป็นเหตุให้กระทบกระเทือนถึงอำนาจการสอบสวนของพนักงานสอบสวน และอำนาจฟ้องของโจทก์ไม่
of 61