พบผลลัพธ์ทั้งหมด 606 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6283/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้เครื่องหมายการค้าที่คล้ายคลึงกันจนเกิดความสับสน และการจดทะเบียนโดยไม่สุจริต
เครื่องหมายการค้าของโจทก์คือคำว่า "THE BEACH BOYS"ใช้เป็นเครื่องหมายบริการและเครื่องหมายการค้าสำหรับสินค้าประเภทแผ่นเสียง แถบบันทึกเสียง เครื่องนุ่งห่มและเครื่องแต่งกาย ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าในประเทศต่าง ๆ หลายประเทศ แต่ไม่ได้จดทะเบียนไว้ในประเทศไทย ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยคือคำว่า "BEACH BOYS" เป็นรูปสามเหลี่ยม3 รูป วางซ้อนกันโดยสามเหลี่ยมรูปในมีเส้นลวดลายและมีรูปดอกไม้สามดอก มีรูปคนในลักษณะเล่นกระดานโต้คลื่น ด้านบนมีอักษรโรมันคำว่า "BEACH" อยู่ในแถบโค้งสีทึบ และด้านล่างมีคำว่า "BOYS" อยู่ในรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ตัวอักษรโรมันทั้งสองคำมองเห็นอย่างเด่นชัดเป็นที่สะดุดตา ส่วนรูปดอกไม้ คน และกระดานโต้คลื่นมองครั้งแรกแทบจะไม่ทราบว่าเป็นอะไร ส่วนประกอบสำคัญของเครื่องหมายการค้าของจำเลยจึงอยู่ที่ตัวหนังสือโรมันคำว่า "BEACH BOYS" แม้ว่าเครื่องหมายการค้าของจำเลยจะไม่มีคำว่า "THE" แต่เมื่อเวลาอ่านออกเสียงจะเน้นหนักตรงคำบีช บอยส์ ย่อมทำให้ประชาชนผู้ใช้ที่ไม่คุ้นเคยต่อภาษาต่างประเทศฟังหรือเรียกขานเป็นอย่างเดียวกัน และเครื่องหมายการค้าของจำเลยใช้กับสินค้าจำพวก 38เช่นเดียวกับของโจทก์ ประชาชนผู้ซื้อสินค้าอาจเรียกว่า ตราบีช บอยส์ เหมือนกันทำให้สับสนและหลงผิดในแหล่งผลิตได้ อันนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชน การที่จำเลยขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า "BEACH BOYS" กับรูปภาพโดยมีเจตนาเลียนเครื่องหมายการค้าคำว่า "THE BEACH BOYS" ของโจทก์เพื่อแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบ จึงเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต ไม่มีสิทธิขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6283/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้เครื่องหมายการค้าที่คล้ายกันจนทำให้สับสนและหลงผิด ถือเป็นการลวงสาธารณชนและใช้สิทธิโดยไม่สุจริต
เครื่องหมายการค้าของโจทก์คือคำว่า "THEBEACHBOYS" ใช้เป็นเครื่องหมายบริการและเครื่องหมายการค้าสำหรับสินค้าประเภทแผ่นเสียงแถบบันทึกเสียงเครื่องนุ่งห่มและเครื่องแต่งกายได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าในประเทศต่างๆหลายประเทศแต่ไม่ได้จดทะเบียนไว้ในประเทศไทยส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยคือคำว่า "BEACHBOYS" เป็นรูปสามเหลี่ยม3รูปวางซ้อนกันโดยสามเหลี่ยมรูปในมีเส้นลวดลายและมีรูปดอกไม้สามดอกมีรูปคนในลักษณะเล่นกระดานโต้คลื่นด้านบนมีอักษรโรมันคำว่า"BEACH" อยู่ในแถบโค้งสีทึบและด้านล่างมีคำว่า "BOYS" อยู่ในรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าตัวอักษรโรมันทั้งสองคำมองเห็นอย่างเด่นชัดเป็นที่สะดุดตาส่วนรูปดอกไม้คนและกระดานโต้คลื่นมองครั้งแรกแทบจะไม่ทราบว่าเป็นอะไรส่วนประกอบสำคัญของเครื่องหมายการค้าของจำเลยจึงอยู่ที่ตัวหนังสือโรมันคำว่า "BEACHBOYS" แม้ว่าเครื่องหมายการค้าของจำเลยจะไม่มีคำว่า "THE" แต่เมื่อเวลาอ่านออกเสียงจะเน้นหนักตรงคำ บีชบอยส์ ย่อมทำให้ประชาชนผู้ใช้ที่ไม่คุ้นเคยต่อภาษาต่างประเทศฟังหรือเรียกขานเป็นอย่างเดียวกันและเครื่องหมายการค้าของจำเลยใช้กับสินค้าจำพวก38เช่นเดียวกับของโจทก์ประชาชนผู้ซื้อสินค้าอาจเรียกว่า ตราบีชบอยส์เหมือนกันทำให้สับสนและหลงผิดในแหล่งผลิตได้อันนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชนการที่จำเลยขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า"BEACHBOYS" กับรูปภาพโดยมีเจตนาเลียนเครื่องหมายการค้าคำว่า "THEBEACHBOYS" ของโจทก์เพื่อแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบจึงเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตไม่มีสิทธิขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3523/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิบัตรลูกตะกร้อพลาสติก: ละเมิดหรือไม่พิจารณาที่ผลิตภัณฑ์ ไม่ใช่กรรมวิธีการผลิต
สิทธิบัตรที่โจทก์ร่วมได้รับเป็นสิทธิบัตรการประดิษฐ์ลูกตระกร้อพลาสติกไม่ใช่การประดิษฐ์ที่ได้มาซึ่งกรรมวิธีใหม่ การวินิจฉัยว่าการกระทำของผู้ผลิตรายใดจะเป็นการละเมิดสิทธิบัตรของโจทก์ร่วมหรือไม่ จะต้องพิจารณาที่ผลิตภัณฑ์เป็นหลัก มิใช่พิจารณาที่กรรมวิธีการผลิต ดังนั้นไม่ว่าผู้ผลิตรายใดซึ่งผลิตตะกร้อพลาสติกจะพัฒนาวิธีการสานตะกร้อพลาสติกให้ดีกว่าหรือต่างไปจากวิธีการสานของโจทก์ร่วมเพียงใดก็ตามหากลูกตะกร้อพลาสติกที่ผลิตออกมามีรูปทรงรูปร่างลักษณะเหมือนกับของโจทก์ร่วมแล้ว ถือว่าผลิตภัณฑ์นั้นผลิตโดยละเมิดข้อถือสิทธิตามสิทธิบัตรของโจทก์ร่วม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1027/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
แม้มีประกันภัย ผู้เสียหายยังเรียกค่าสินไหมจากผู้ละเมิดได้ เพราะจำเลยมีหน้าที่ตามกฎหมาย
แม้บริษัทประกันภัยที่โจทก์เอาประกันภัยไว้จะเป็นผู้จ่ายค่ารักษาพยาบาลให้แก่โรงพยาบาลแทนโจทก์ไปแล้วอันเป็นสิทธิของโจทก์ที่เกิดขึ้นโดยอาศัยสัญญาประกันภัย แต่โจทก์ก็ยังมีสิทธิเรียกเอาค่ารักษาพยาบาลจากจำเลยได้อีก เพราะจำเลยมีหน้าที่ตามกฎหมายที่จะต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนในมูลละเมิดที่ได้กระทำต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 466/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การออกอนุญาตต่อเติมอาคารล่าช้า ไม่ทำให้คำสั่งรื้อถอนไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ฎีกาโจทก์ที่ว่า จำเลยที่ 2 มิได้พิจารณาและออกหนังสืออนุญาตให้โจทก์ที่ 3 แก้ไขแบบแปลนและต่อเติมอาคารจาก 4 ชั้นเป็น 11 ชั้น ภายในกำหนดระยะเวลา 30 วัน และกรรมการพิจารณาอุทธรณ์มิได้วินิจฉัยอุทธรณ์ภายใน30 วัน นับแต่วันที่ได้รับอุทธรณ์ คำสั่งของจำเลยที่ 2 ที่ปฏิบัติตามคำสั่งของจำเลยที่ 1 ที่ให้โจทก์รื้อถอนอาคารที่สร้างโดยไม่รับอนุญาตตั้งแต่ชั้นที่ 5 ถึงชั้นที่ 11 และคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์จึงไม่ชอบด้วยกฎหมายนั้น เป็นฎีกาที่ไม่มีประโยชน์ต่อรูปคดีของโจทก์และฟังไม่ขึ้น เพราะแม้กฎหมายจะกำหนดระยะเวลาไว้แต่กฎหมายดังกล่าวก็มิได้บัญญัติให้คำสั่งหรือคำวินิจฉัยที่ล่าช้าตกเป็นเสียเปล่าหรือก่อให้เกิดสิทธิแก่โจทก์ที่จะก่อสร้างได้โดยไม่ต้องขออนุญาตแต่อย่างใด เหตุล่าช้าจะเป็นจริงหรือไม่ ก็ไม่อาจถือเป็นเหตุถึงขนาดว่าคำสั่งหรือคำวินิจฉัยนั้นตกเป็นไม่ชอบด้วยกฎหมาย
โจทก์ฎีกาว่าอาคารที่ก่อสร้างมีความมั่นคงแข็งแรง มิได้โต้แย้งคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ จึงไม่มีเหตุที่จะรับฟังข้อเท็จจริงเปลี่ยนแปลงผลแห่งคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์
โจทก์ฎีกาว่าอาคารที่ก่อสร้างมีความมั่นคงแข็งแรง มิได้โต้แย้งคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ จึงไม่มีเหตุที่จะรับฟังข้อเท็จจริงเปลี่ยนแปลงผลแห่งคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 466/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรื้อถอนอาคารที่ก่อสร้างโดยไม่ได้รับอนุญาต การล่าช้าในการพิจารณาอนุญาตไม่ทำให้คำสั่งรื้อถอนไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ฎีกาโจทก์ที่ว่า จำเลยที่ 2 มิได้พิจารณาและออกหนังสืออนุญาตให้โจทก์ที่ 3 แก้ไขแบบแปลนและต่อเติมอาคารจาก 4 ชั้นเป็น 11 ชั้นภายในกำหนดระยะเวลา 30 วัน และกรรมการพิจารณาอุทธรณ์มิได้วินิจฉัยอุทธรณ์ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับอุทธรณ์ คำสั่งของจำเลยที่ 2 ที่ปฏิบัติตามคำสั่งของจำเลยที่ 1 ที่ให้โจทก์รื้อถอนอาคารที่สร้างโดยไม่รับอนุญาตตั้งแต่ชั้นที่ 5 ถึงชั้นที่ 11 และคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์จึงไม่ชอบด้วยกฎหมายนั้นเป็นฎีกาที่ไม่มีประโยชน์ต่อรูปคดีของโจทก์และฟังไม่ขึ้น เพราะแม้กฎหมายจะกำหนดระยะเวลาไว้ แต่กฎหมายดังกล่าวก็มิได้บัญญัติให้คำสั่งหรือคำวินิจฉัยที่ล่าช้าตกเป็นเสียเปล่าหรือก่อให้เกิดสิทธิแก่โจทก์ที่จะก่อสร้างได้โดยไม่ต้องขออนุญาตแต่อย่างใดเหตุล่าช้าจะเป็นจริงหรือไม่ ก็ไม่อาจถือเป็นเหตุถึงขนาดว่าคำสั่งหรือคำวินิจฉัยนั้นตกเป็นไม่ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ฎีกาว่าอาคารที่ก่อสร้างมีความมั่นคงแข็งแรง มิได้โต้แย้งคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ จึงไม่มีเหตุที่จะรับฟังข้อเท็จจริงเปลี่ยนแปลงผลแห่งคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 445/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาการกระทำความผิดชิงทรัพย์: การคืนทรัพย์และความประสงค์เพื่ออวดอ้างในวัยรุ่น
จำเลยเป็นผู้คืนสร้อยคอทองคำให้ผู้เสียหายเองเมื่อผู้เสียหายเพียงแต่ร้อง "ว้าย" โดยจำเลยพูดว่า "ไม่ต้องร้อง...ไม่ต้องร้องคืนสร้อยให้แล้ว" หากจำเลยประสงค์ในตัวทรัพย์จริงก็ไม่น่าที่จะต้องคืนทรัพย์ให้และพูดจาในเชิงปลอบผู้เสียหาย จำเลยน่าที่จะวิ่งหนีไปพร้อมสร้อยที่ชิงได้มากกว่า จำเลยตอบคำถามของพนักงานสอบสวนถึงเหตุที่กระทำผิดว่า "เนื่องจากข้าฯ อยากลองนึกสนุก" อันเป็นลักษณะของวัยรุ่นที่โง่เขลาและหลงผิด ชอบอวดเก่งในทางที่ไม่เรียบร้อย ประกอบกับฐานะครอบครัวของจำเลยนั้น มีผู้ปกครองที่มีอาชีพมั่นคงโดยทั้งบิดาและมารดาเป็นข้าราชการระดับ 6 ทั้งคู่เมื่อประมวลเหตุทั้งหมดแล้วน่าเชื่อว่า จำเลยกระทำโดยมิได้มีความประสงค์ต่อทรัพย์ที่แท้จริง หากเป็นการกระทำเพื่อแสดงออกซึ่งเป็นการอวดในทางที่ผิดด้วยความโง่เขลาตามประสาวัยรุ่นที่อยู่ในวัยคะนอง จึงไม่เป็นความผิดฐานชิงทรัพย์ตามฟ้อง แต่ที่จำเลยร่วมกับพวกใช้มีดจี้ขู่เข็ญผู้เสียหาย เป็นความผิดฐานทำให้เสื่อมเสียเสรีภาพโดยใช้อาวุธ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของความผิดฐานชิงทรัพย์ตามฟ้อง จึงลงโทษจำเลยได้ตามที่พิจารณาได้ความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 86/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาฆ่าเกิดภายหลัง-ตัวการร่วมทำร้าย: ศาลลดโทษจำเลยร่วมจากฆ่าผู้อื่นเป็นทำร้ายผู้อื่นถึงแก่ความตาย
จำเลยที่ 2 ทำร้ายผู้ตายโดยการชกต่อย ส่วนจำเลยที่ 3 ใช้ไม้ตีซึ่งล้วนไม่ก่อให้เกิดบาดแผลถึงตายได้ แต่ผู้ตายถึงแก่ความตายเพราะบาดแผลที่จำเลยที่ 1 ใช้อาวุธมีดแทง แม้ว่าหลังจากจำเลยที่ 3 ใช้ไม้ตีผู้ตายแล้ว จำเลยที่ 1 จึงได้เข้าทำร้ายผู้ตายก็ตามแต่ก็ด้วยการเตะ จำเลยที่ 1 หาได้ใช้มีดที่พกติดตัวมานั้นแทงทำร้ายผู้ตายทันทีไม่ แสดงว่าจำเลยที่ 1 มีเพียงเจตนาร่วมทำร้ายก่อน ต่อเมื่อเกิดการโต้ตอบเป็นเชิงต่อว่าระหว่างผู้ตายกับจำเลยที่ 1 แล้ว จำเลยที่ 1 จึงชักมีดออกมาแทงผู้ตาย เจตนาในการฆ่าผู้ตายของจำเลยที่ 1 ที่เกิดขึ้นภายหลังเช่นนี้จึงเป็นเจตนาที่เกิดขึ้นเฉพาะตัวของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 และที่ 3 ไม่ทราบว่าจำเลยที่ 1 มีอาวุธมีดติดตัวตั้งแต่ก่อนหรือแรกเกิดเหตุ ไม่มีเหตุที่จะคาดหมายหรือเล็งเห็นได้ว่า จำเลยที่ 1 จะฆ่าผู้ตายจึงไม่อาจรับฟังเป็นโทษแก่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ว่า มีเจตนาร่วมกันฆ่าผู้ตายโดยการแบ่งหน้าที่กันทำ คดีต้องฟังเป็นคุณว่า จำเลยที่ 2 และที่ 3 มีเจตนาเพียงร่วมในการทำร้าย จำเลยที่ 2 และที่ 3จึงต้องรับผิดเพียงฐานเป็นตัวการร่วมกันทำร้ายผู้อื่นเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 290 วรรคแรก,83
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 86/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาในการกระทำผิดร่วมกันทำร้ายร่างกายจนถึงแก่ความตาย การพิจารณาเจตนาเฉพาะตัวจำเลย
จำเลยที่ 2 ทำร้ายผู้ตายโดยการชกต่อย ส่วนจำเลยที่ 3 ทำร้ายผู้ตายโดยใช้ไม้ตี ซึ่งล้วนแต่มิได้ก่อให้เกิดบาดแผลแก่ผู้ตายถึงขนาดจะเป็นเหตุแห่งความตายได้ หลังจากนั้นจำเลยที่ 1เข้ามาทำร้ายผู้ตายด้วยการเตะหาได้ใช้มีดที่พกติดตัวมาแทงทำร้ายผู้ตายทันทีไม่ แสดงชัดว่าจำเลยที่ 1 กระทำโดยเจตนาเพียงร่วมทำร้ายผู้ตายก่อน หลังจากนั้นเกิดการโต้ตอบเป็นเชิงต่อว่าระหว่างผู้ตายกับจำเลยที่ 1 แล้วจำเลยที่ 1 จึงชักมีดออกมาแทงผู้ตาย เป็นเจตนาเกิดขึ้นภายหลัง ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2และที่ 3 ทราบถึงการมีอาวุธมีดติดตัวตั้งแต่ก่อนหรือแรกเกิดเหตุไม่มีเหตุที่จะคาดหมายหรือเล็งเห็นได้ว่าจำเลยที่ 1 อาจฆ่าผู้ตายได้ จำเลยที่ 2 และที่ 3 มีเจตนาเพียงร่วมในการทำร้ายผู้ตายต้องรับผิดฐานเป็นตัวการร่วมทำร้ายผู้อื่นเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 290 วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4746/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความประมาทเลินเล่อของผู้มอบอำนาจและการเชื่อถือสุจริตของผู้รับจำนอง
การที่จำเลยที่ 3 ลงชื่อในหนังสือมอบอำนาจซึ่งยังมิได้กรอกข้อความแล้วมอบ ให้ผู้รับมอบอำนาจไปพร้อมทั้งโฉนดที่ดิน แสดงถึงความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 3 อย่างมาก เป็นการยอมเสี่ยงภัยในเมื่อผู้รับมอบอำนาจนำหนังสือมอบ-อำนาจนั้นไปใช้ในกิจการอย่างอื่น โจทก์เชื่อถือหนังสือมอบอำนาจนั้นจึงได้ทำการรับจำนองต่อพนักงานเจ้าหน้าที่โดยสุจริต ได้เสียค่าตอบแทนและจดทะเบียนสิทธิจำนองโดย-ชอบด้วยกฎหมายแล้ว จำเลยที่ 3 จะอ้างเอาความประมาทเลินเล่อของตนมาเป็นเหตุให้ตนพ้นจากความรับผิดหาได้ไม่ สุจริตด้วยกันผู้ประมาทเลินเล่อย่อมเป็นผู้เสียเปรียบ