พบผลลัพธ์ทั้งหมด 349 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4133/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องเพิกถอนนิติกรรมขายฝาก: เริ่มนับจากวันที่รู้เหตุ
เมื่อโจทก์ทราบถึงการขายฝากที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1และจำเลยที่ 2 อันเป็นมูลเหตุที่โจทก์ขอให้เพิกถอนการขายฝากได้ตั้งแต่ปี 2525แต่โจทก์มาฟ้องขอให้เพิกถอนในปี 2530 จึงพ้นหนึ่งปีนับแต่วันที่ได้รู้เหตุอันเป็นมูลให้เพิกถอนนิติกรรม คดีของโจทก์จึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 240 และประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 5 ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. 2519 มาตรา 1480 วรรคสาม ซึ่งใช้บังคับขณะเกิดเหตุพิพาทคดีนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4133/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความการเพิกถอนนิติกรรมขายฝาก: เริ่มนับจากวันที่ทราบเหตุ
เมื่อโจทก์ทราบถึงการขายฝากที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1และจำเลยที่ 2 อันเป็นมูลเหตุที่โจทก์ขอให้เพิกถอนการขายฝากได้ตั้งแต่ปี 2525 แต่โจทก์มาฟ้องขอให้เพิกถอนในปี 2530 จึงพ้นหนึ่งปีนับแต่วันที่ได้รู้เหตุอันเป็นมูลให้เพิกถอนนิติกรรม คดีของโจทก์จึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 240 และประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. 2519มาตรา 1480 วรรคสาม ซึ่งใช้บังคับขณะเกิดเหตุพิพาทคดีนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3919/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเบิกเงินเกินบัญชีและการชำระหนี้เพื่อก่อหนี้ใหม่ ไม่ถือว่าเจตนาให้เจ้าหนี้ได้เปรียบเจ้าหนี้รายอื่น
ในระหว่างอายุสัญญาเบิกเงินบัญชีระหว่างลูกหนี้กับธนาคารผู้คัดค้าน ลูกหนี้สามารถนำเงินเข้าฝากเพื่อหักทอนบัญชีและเบิกถอนต่อไปได้ อันเป็นการเดินสะพัดทางบัญชีตามสัญญาบัญชีเดินสะพัดการที่ลูกหนี้นำเงินเข้าบัญชีจึงมีลักษณะเป็นการลดหนี้ลงชั่วคราวแล้วเบิกเงินใหม่ซึ่งกระทำตลอดเวลาของอายุสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีและไม่เป็นการชำระหนี้ทีเดียวเสร็จสิ้นกันไปเลย การนำเงินเข้าบัญชีของลูกหนี้จึงเป็นการชำระหนี้เพื่อก่อหนี้ใหม่เพิ่มขึ้นอันเป็นวิธีการเพื่อจะเบิกเงินจากผู้คัดค้านได้มากยิ่งขึ้นตามประเพณีธนาคารในเรื่องบัญชีเดินสะพัดเท่านั้น การกระทำของลูกหนี้จึงมิได้มุ่งหมายให้ผู้คัดค้านซึ่งเป็นเจ้าหนี้ได้เปรียบเจ้าหนี้อื่นตามพระราชบัญญัติ ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 115
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3919/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเบิกเงินเกินบัญชีและการชำระหนี้เพื่อก่อหนี้ใหม่ ไม่ถือว่าเจตนาให้เจ้าหนี้รายหนึ่งได้เปรียบเจ้าหนี้อื่น
ลูกหนี้เปิดบัญชีกระแสรายวัน โดยทำสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีกับผู้คัดค้านในวงเงิน 1,000,000 บาท ในระหว่างสามเดือนก่อนมีการขอให้ล้มละลาย ภายหลังนั้นลูกหนี้นำเงินเข้าบัญชีให้แก่ผู้คัดค้าน เป็นเงิน 791,197 บาท และเบิกเงินออกจากบัญชีไป390,760 บาท การนำเงินเข้าบัญชีของลูกหนี้มีลักษณะเป็นการลดยอดหนี้ชั่วคราวแล้วเบิกเงินใหม่ ซึ่งได้กระทำตลอดเวลาของอายุสัญญาเบิกเงินเกินบัญชี และไม่เป็นการชำระหนี้ทีเดียวให้เสร็จสิ้นกันไปเลย จึงเป็นการชำระหนี้เพื่อก่อหนี้ใหม่เพิ่มขึ้นอันเป็นวิธีการเพื่อจะเบิกเงินจากผู้คัดค้านได้มากยิ่งขึ้นตามประเพณีธนาคารในเรื่องบัญชีเดินสะพัดเท่านั้น การกระทำของลูกหนี้จึงมิได้มุ่งหมายให้ผู้คัดค้าน ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ได้เปรียบเจ้าหนี้อื่น ตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 115 แต่อย่างใด.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3901/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจการขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย: การมอบอำนาจให้ทนายความลงลายมือชื่อในคำขอ
ตามหนังสือมอบอำนาจโจทก์ได้มอบอำนาจให้ น. เป็นผู้ยื่นด้วยขอรับชำระหนี้ และดำเนินกระบวนพิจารณาคดีล้มละลายนี้แทน ฯลฯฉะนั้น น. จึงมีสิทธิที่จะดำเนินคดีเรื่องนี้แทนโจทก์ได้ตลอดทั้งการขอรับชำระหนี้ด้วย เพราะการขอชำระหนี้เป็นเรื่องของกระบวนพิจารณาที่โจทก์จะต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ภายในกำหนดตามมาตรา 91 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483การที่ น. ลงลายมือชื่อในคำขอรับชำระหนี้หาใช่เป็นการลงลายมือแทนโจทก์ไม่ หากแต่เป็นการกระทำแทนโจทก์ซึ่งเป็นตัวการตามที่ได้รับมอบหมายให้ทำการขอรับชำระหนี้แทนตามหนังสือมอบอำนาจ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3883/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การดำเนินการกับจำเลยที่ 2 หลังศาลสั่งว่าโจทก์ทิ้งอุทธรณ์ และศาลอุทธรณ์พิพากษาให้รับผิดโดยไม่ชอบ
โจทก์ทิ้งอุทธรณ์สำหรับจำเลยที่ 2 ศาลชั้นต้นส่งสำนวนให้ศาลอุทธรณ์มีคำสั่ง แต่ศาลอุทธรณ์มิได้มีคำสั่งเกี่ยวกับเรื่องนี้และพิพากษาให้จำเลยทั้งสองรับผิดต่อโจทก์ เป็นการไม่ปฏิบัติตามป.วิ.พ. มาตรา 174,246 ศาลฎีกาจึงให้ย้อนสำนวนให้ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งและพิพากษาใหม่ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3783/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์รถยนต์โอนเมื่อตกลงซื้อขาย แม้ยังมิได้ส่งมอบหรือจดทะเบียน ผู้ให้เช่าซื้อไม่ต้องรับผิดกับความผิดของผู้เช่าซื้อ
ป. ขายรถยนต์ของกลางให้จำเลยที่ 1 แต่ยังมิได้โอนกรรมสิทธิ์การที่ ป. กับจำเลยที่ 1 ไปทำคำเสนอใช้บริการของผู้ร้องโดยให้ผู้ร้องตกลงชำระราคารถยนต์ของกลางให้แก่ ป. และให้จำเลยที่ 1 ทำสัญญาเช่าซื้อรถยนต์ของกลางจากผู้ร้อง เป็นพฤติการณ์ที่แสดงว่า ป. ตกลงขายรถยนต์ของกลางให้แก่ผู้ร้องโดยความยินยอมของจำเลยที่ 1 แม้ผู้ร้องจะมิได้ครอบครองรถยนต์ของกลางเลยก็ถือได้ว่าเป็นการส่งมอบกันโดยปริยาย กรรมสิทธิ์รถยนต์ของกลางตกเป็นของผู้ร้องในทันทีที่ตกลงซื้อขายกัน แม้จะจดทะเบียนโอนกันในภายหลังการซื้อขายก็สมบูรณ์เพราะใบคู่มือการจดทะเบียนมิใช่หลักฐานแสดงกรรมสิทธิ์รถยนต์ของกลาง ผู้ร้องเป็นนิติบุคคล มีวัตถุประสงค์ประกอบธุรกิจเงินทุนลงทุนในกิจการต่าง ๆ รวมทั้งการให้เช่าซื้อ มิได้มีวัตถุประสงค์ในการประกอบธุรกิจเกี่ยวกับการค้าไม้ อันเป็นเหตุให้มีการจับกุมจำเลยที่ 1 มาดำเนินคดีแต่อย่างใด เมื่อไม่ปรากฏว่ามีพนักงานของผู้ร่วมร้องในการกระทำความผิดด้วย จึงไม่อาจถือได้ว่าผู้ร้องมีส่วนรู้เห็นเป็นใจในการกระทำความผิด ต้องคืนรถยนต์ของกลางให้แก่ผู้ร้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3736/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความคดีค้ำประกัน และการให้การปฏิเสธฟ้องที่ไม่ชัดเจน
โจทก์ฟ้องว่าโจทก์ได้รับ ส. เข้าทำงาน โดยมีจำเลยเป็นผู้ค้ำประกันว่า หากส.ก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ไม่ว่าทางแพ่งและทางอาญา จำเลยยอมชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์โดยไม่จำกัดจำนวน ต่อมา ส. ได้ลักเอาสินค้าของโจทก์ไปคิดเป็นเงินจำนวน 17,789 บาท ขอให้จำเลยใช้เงินจำนวนดังกล่าวแก่โจทก์ ดังนี้เป็นเรื่องที่โจทก์ฟ้องให้จำเลยรับผิดตามสัญญาค้ำประกันที่จำเลยทำไว้แก่โจทก์ หาใช่เป็นเรื่องที่ฟ้องอ้างว่าจำเลยกระทำละเมิดต่อโจทก์อันจะมีอายุความ 1 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 448 ไม่ และการใช้สิทธิเรียกร้องให้ผู้ค้ำประกันรับผิดในกรณีเช่นนี้ ไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้ จึงต้องใช้อายุความ 10 ปี ตามมาตรา 164 จำเลยให้การว่า ส. จะได้ลักเอาสินค้าของโจทก์ไปและทำให้โจทก์เสียหายตามฟ้องหรือไม่ จำเลยไม่ทราบและไม่อาจรับรองได้เป็นคำให้การที่ไม่ได้แสดงโดยชัดแจ้งว่าจำเลยปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์ทั้งสิ้นหรือแต่บางส่วน จึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสอง ถือไม่ได้ว่าจำเลยให้การปฏิเสธฟ้องของโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3597/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้าม เหตุโต้เถียงข้อเท็จจริงยุติแล้ว ประเด็นความเสียหายจากการใช้เอกสารปลอม
ที่จำเลยฎีกาว่า การจดทะเบียนจำนองตึกแถวตามฟ้องตามระเบียบของทางราชการไม่จำเป็นจะต้องใช้หนังสือให้ความยินยอมของเจ้าของที่ดินประกอบในการขอจดทะเบียนการจะใช้หรือไม่ใช้หนังสือดังกล่าวไม่ก่อให้เกิดความเสียหายหรือน่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง เพราะเป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงที่ยุติไปแล้วตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นว่าการใช้เอกสารปลอมของจำเลยอยู่ในประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ ป.และโจทก์ร่วม เพื่อนำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมายที่ว่า การกระทำของจำเลยครบองค์ประกอบความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 268หรือไม่ หาใช่เป็นฎีกาในปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงไม่ จึงต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3597/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจดทะเบียนจำนองด้วยเอกสารปลอม: ปัญหาข้อเท็จจริงที่ยุติแล้ว ไม่เข้าข่ายฎีกาในปัญหาข้อกฎหมาย
ที่จำเลยฎีกาว่า การจดทะเบียนจำนองตึกแถวตามฟ้องตามระเบียบของทางราชการไม่จำเป็นจะต้องใช้หนังสือให้ความยินยอมของเจ้าของที่ดินประกอบในการขอจดทะเบียนการจะใช้หรือไม่ใช้หนังสือดังกล่าวไม่ก่อให้เกิดความเสียหายหรือน่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง เพราะเป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงที่ยุติไปแล้วตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นว่า การใช้เอกสารปลอมของจำเลยอยู่ในประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ ป.และโจทก์ร่วม เพื่อนำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมายที่ว่า การกระทำของจำเลยครบองค์ประกอบความผิดตาม ป.อ. มาตรา 268 หรือไม่ หาใช่เป็นฎีกาในปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงไม่ จึงต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคแรก