คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
เกียรติ จาตนิลพันธุ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 349 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1173/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับสภาพหนี้ของทายาทต่อเจ้าหนี้ แม้ไม่มีหลักฐานการกู้ยืมเดิม ศาลพิพากษายืนตามสัญญา
เมื่อศาลฎีกาวินิจฉัยแล้วว่า จำเลยทั้งสองทำหนังสือรับสภาพหนี้ต่อโจทก์ โดยยอมรับว่า ล. เป็นหนี้โจทก์จำนวน 300,000 บาทยังมิได้ชำระและจำเลยทั้งสองยอมชำระหนี้ดังกล่าว จำเลยทั้งสองจึงต้องรับผิดชำระหนี้ให้แก่โจทก์ ปัญหาตามฎีกาของจำเลยทั้งสองที่ว่า คำให้การของจำเลยทั้งสองชอบด้วยกฎหมาย ข้อคัดค้านของโจทก์ที่ว่าจำเลยไม่มีสิทธินำพยานเข้าสืบฟังไม่ขึ้น ศาลชั้นต้นมีอำนาจวินิจฉัยในปัญหาว่า ล. เป็นหนี้โจทก์หรือไม่ และจำเลยทั้งสองต้องรับผิดไม่เกิน 100,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยไม่เกินร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี ซึ่งศาลอุทธรณ์มิได้วินิจฉัยมา จึงไม่จำต้องวินิจฉัย เพราะไม่เป็นสาระแก่คดีอันจะทำให้คำวินิจฉัยเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 921/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจ คตส. ตามประกาศ รสช. ที่ 26 และผลบังคับใช้ทางกฎหมายหลังการเปลี่ยนแปลงรัฐบาล
(คำสั่งศาลฎีกาที่ 921/2536) ประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 26 ข้อ 6 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติฉบับที่ 26ลงวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 พ.ศ. 2534 กำหนดวิธีพิจารณาพิเศษให้ศาลแพ่งดำเนินการพิจารณาคดีตามประกาศดังกล่าว โดยไม่มีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดด้วยตนเองได้ นอกจากทำความเห็นส่งสำนวนไปยังศาลฎีกาเพื่อวินิจฉัย ดังนี้ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้ยื่นคำร้องต่อศาลแพ่งขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยของคณะกรรมการตรวจสอบทรัพย์สินที่เกี่ยวกับผู้ร้องย่อมมีอำนาจยื่นคำร้องขอให้ศาลฎีกาวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายในคดีดังกล่าวได้ เพราะตามความในข้อ 6ได้บัญญัติให้นำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับโดยอนุโลม และอำนาจของศาลในการวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายก็มีบัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 24 ศาลฎีกาจึงมีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายได้ ขณะที่คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติออกประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 26 เป็นช่วยเวลาที่ไม่มีกฎหมายรัฐธรรมนูญหรือธรรมนูญการปกครองฉบับใดใช้บังคับ ต่อมาระหว่างที่ประกาศฉบับดังกล่าวมีผลใช้บังคับอยู่นั้น ไม่มีการประกาศใช้ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักรพ.ศ. 2534 ดังนั้น ประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติฉบับที่ 26 ซึ่งมีฐานะเทียบเท่ากับพระราชบัญญัติจึงต้องอยู่ภายใต้บังคับของธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ. 2534และจะขัดหรือแย้งต่อธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักรพ.ศ. 2534 ไม่ได้ ตามหลักกฎหมายทั่วไป ศาลมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีจึงมีอำนาจหน้าที่พิจารณาว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายใดจะใช้บังคับแก่คดีได้หรือไม่เพียงใด ศาลย่อมมีอำนาจวินิจฉัยบทบัญญัติแห่งกฎหมายนั้น ๆ ขัดหรือแย้งต่อกฎหมายรัฐธรรมนูญหรือไม่ด้วย เว้นแต่จะมีบทกฎหมายใดโดยเฉพาะบัญญัติให้อำนาจ นี้ไปตกอยู่แก่องค์กรอื่น กรณีที่มีปัญหาเกี่ยวกับข้อที่ว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ใดขัดหรือแย้งต่อธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ. 2534หรือไม่มิได้เกิดขึ้นในวงงานของสภานิติบัญญัติแห่งชาติหรือเกิดขึ้นโดยคณะรัฐมนตรีขอให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติวินิจฉัยตามธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ. 2534มาตรา 30 และถ้อยคำที่ว่า "การกระทำหรือการปฏิบัติ"ตามมาตรา 31 ก็ไม่หมายความรวมถึงบทบัญญัติของกฎหมายด้วย ทั้งขณะที่ผู้ร้องยื่นคำร้องนี้ สภานิติบัญญัติแห่งชาติได้สิ้นสภาพไปแล้ว และแม้ในขณะที่ศาลฎีกาวินิจฉัยปัญหานี้ได้มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2534แล้ว แต่บทบัญญัติมาตรา 5 และ 206 วรรคแรกของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2534 ก็แสดงว่าคณะตุลาการรัฐธรรมนูญมีอำนาจพิจารณาวินิจฉัยเฉพาะในปัญหาว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายใดมีข้อความขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2534 หรือไม่ เท่านั้น อำนาจในการพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายใดขัดหรือแย้งต่อธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ. 2534 หรือไม่จึงตกอยู่แก่ศาลตามหลักกฎหมายทั่วไป ดังนั้นศาลฎีกาจึงมีอำนาจพิจารณาวินิจฉัยคำร้องของผู้ร้องได้โดยไม่ต้องส่งไปให้คณะตุลาการรัฐธรรมนูญพิจารณา คำวินิจฉัยของคณะกรรมการตรวจสอบทรัพย์สินหรือคตส. ตามประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติฉบับที่ 26 ข้อ 2 และข้อ 6 มีผลให้ทรัพย์สินที่ คตส.วินิจฉัยว่าได้มาโดยมิชอบหรือมีเพิ่มขึ้นผิดปกติตกเป็นของแผ่นดิน อันเป็นการลงโทษรับทรัพย์ในทางอาญาโดยที่มิได้ให้สิทธิผู้ถูกกล่าวหาหรือบุคคลอื่นซึ่งเป็นเจ้าของทรัพย์สินที่แท้จริงนำคดีไปฟ้องร้องให้เป็นอย่างอื่นได้ อำนาจของคตส.ดังกล่าวเป็นอำนาจเด็ดขาด แม้ต่อมาจะมีการแก้ไขเพิ่มเติมประกาศฉบับดังกล่าวโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 26ลงวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 พ.ศ. 2534 ก็ตามแต่บทบัญญัติที่แก้ไขใหม่ก็มิได้แก้ไขให้มีทางเปลี่ยนแปลงคำวินิจฉัยของ คตส.ในข้อที่ว่านักการเมืองคนนั้น ๆมีทรัพย์สินที่ได้มาโดยมิชอบหรือมีเพิ่มขึ้นผิดปกติและร่ำรวยผิดปกติ ผิดวิสัยของผู้ประกอบอาชีพโดยสุจริตเพราะตามข้อ 6 วรรคสาม (1)(2) เพียงแต่ให้ศาลฎีกามีอำนาจสั่งเพิกถอนคำวินิจฉัยของ คตส.ในส่วนที่เกี่ยวกับทรัพย์สินที่แสดงให้ศาลว่าตนได้มาโดยชอบเท่านั้น อำนาจของ คตส.ดังกล่าวจึงเป็นอำนาจในการพิจารณาพิพากษาอรรถคดีซึ่งตามประเพณีการปกครองประเทศไทยในระบอบประชาธิปไตยเป็นอำนาจของศาลในอันที่จะดำเนินการตามกฎหมาย ประกาศฉบับดังกล่าวข้อ 2 และข้อ 6 จึงมีผลเป็นการตั้งคณะบุคคลที่มิใช่ศาลให้มีอำนาจทำการพิจารณาพิพากษาอรรถคดีเช่นเดียวกับศาล ย่อมขัดต่อประเพณีการปกครองประเทศไทยในระบอบประชาธิปไตย ทั้งนี้ เพราะรัฐธรรมนูญทุกฉบับมีบทบัญญัติให้การพิจารณาพิพากษาอรรถคดีเป็นอำนาจของศาลและการตั้งศาลขึ้นใหม่เพื่อพิจารณาพิพากษาคดีใดคดีหนึ่งโดยเฉพาะแทนศาลที่มีอยู่ตามกฎหมายจะกระทำมิได้ ทรัพย์สินของผู้ร้องที่ถูกยึด และตกเป็นของแผ่นดินตามคำวินิจฉัยของ คตส.เป็นทรัพย์สินที่ผู้ร้องได้มาหรือมีเพิ่มขึ้นก่อนที่ประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติฉบับที่ 26 ข้อ 6 ใช้บังคับ จึงเป็นการออกและใช้กฎหมาย ที่มีโทษในทางอาญาย้อนหลังไปลงโทษแก่ผู้ร้องซึ่งรัฐธรรมนูญทุกฉบับมีบทบัญญัติห้ามออกกฎหมายที่มีโทษในทางอาญาให้มีผล ย้อนหลัง เพื่อคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชน อันถือได้เป็นประเพณีการปกครองประเทศไทยในระบอบประชาธิปไตยเมื่อประกาศฉบับดังกล่าว ข้อ 2 และข้อ 6 ขัดหรือแย้งต่อธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ. 2534 มาตรา 30จึงใช้บังคับมิได้เป็นเหตุให้คำวินิจฉัยของ คตส.ที่อาศัยอำนาจตามประกาศฉบับนั้น ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติฉบับที่ 26 ลงวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 พ.ศ. 2534มาตรา 3 ไม่มีผลบังคับไปด้วย ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ. 2534 มาตรา 32เป็นเพียงการรับรองโดยทั่วไปว่า ประกาศหรือคำสั่งของคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติมีผลให้ใช้บังคับได้เช่นกฎหมายเท่านั้นมิได้บัญญัติรับรองไปถึงว่าให้ใช้บังคับได้แม้เนื้อหาตามประกาศหรือคำสั่งดังกล่าวขัดหรือแย้งต่อธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ. 2534 เพราะปัญหาว่าประกาศหรือคำสั่งของคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติใช้บังคับได้เพียงใด ต่างกรณีกันกับปัญหาที่ว่าประกาศหรือคำสั่งนั้นชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เมื่อประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติฉบับที่ 26 ข้อ 2 และข้อ 6 ใช้บังคับมิได้ตามธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ. 2534 มาตรา 30 วรรคแรกแล้ว จึงมิใช่กฎหมายที่ยังมีผลใช้บังคับอยู่จนถึงวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2534 จึงไม่อาจนำมาตรา 222 มาบังคับใช้แก่กรณีนี้เพื่อให้ประกาศฉบับดังกล่าวข้อ 2 และข้อ 6 ชอบด้วยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพ.ศ. 2534 ไปได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 912/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกานี้วินิจฉัยการขัดแย้งระหว่างประกาศ คตส. กับประเพณีการปกครองระบอบประชาธิปไตย และความชอบด้วยกฎหมายของประกาศ รสช.
ประกาศ รสช. ฉบับที่ 26 ข้อ 6 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 26 เป็นวิธีพิจารณาพิเศษซึ่งกำหนดให้นำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาใช้บังคับโดยอนุโลมผู้ร้องจึงมีอำนาจยื่นคำร้องขอให้ศาลฎีกาวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมาย และศาลฎีกามีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 24(เทียบนัยฎีกาที่ 146/2530) ตามหลักกฎหมายทั่วไป ศาลมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีจึงมีอำนาจหน้าที่พิจารณาว่า บทบัญญัติแห่งกฎหมายใดจะใช้บังคับแก่คดีได้หรือไม่เพียงใดและย่อมมีอำนาจวินิจฉัยว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายนั้น ๆ ขัดหรือแย้งต่อกฎหมายรัฐธรรมนูญหรือไม่ด้วย เว้นแต่จะมีบทกฎหมายใดโดยเฉพาะบัญญัติให้อำนาจนี้ไปตกอยู่แก่องค์การอื่น ระหว่างที่ประกาศ รสช. ฉบับที่ 26 มีผลใช้บังคับได้มีการประกาศใช้ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ. 2534ประกาศ รสช. ฉบับที่ 26 ซึ่งมีฐานะเทียบเท่าพระราชบัญญัติจึงต้องอยู่ภายใต้บังคับของธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักรพ.ศ. 2534 ซึ่งตามมาตรา 30 วรรคสอง บัญญัติให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติในขณะนั้นเป็นผู้มีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดว่าการกระทำหรือการปฏิบัติใดขัดต่อธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักรพ.ศ. 2534 หรือไม่ ถ้อยคำที่ว่า "การกระทำหรือการปฏิบัติ"ไม่หมายความรวมถึงบทบัญญัติของกฎหมายด้วย ทั้งขณะผู้ร้องยื่นคำร้อง สภานิติบัญญัติแห่งชาติได้สิ้นสภาพไปแล้ว และแม้ในขณะที่ศาลฎีกาวินิจฉัยปัญหานี้ได้มีการประกาศใช้ธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2534 แล้ว แต่ตามมาตรา 206 วรรคแรกและมาตรา 5 ก็แสดงว่าคณะตุลาการรัฐธรรมนูญมีอำนาจพิจารณาวินิจฉัยเฉพาะในปัญหาว่า บทบัญญัติแห่งกฎหมายใดมีข้อความขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2534 หรือไม่เท่านั้น ดังนั้น อำนาจในการพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายใดขัดหรือแย้งต่อธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ. 2534 หรือไม่ จึงตกอยู่แก่ศาลตามหลักกฎหมายทั่วไป (ตามนัยฎีกาที่ 766/2505,222/2506 และ225/2506) คำวินิจฉัยของ คตส.ตามประกาศรสช. ฉบับที่ 26ข้อ 2 และข้อ 6 มีผลให้ทรัพย์สินที่ คตส.วินิจฉัยว่าได้มาโดยมิชอบหรือมีเพิ่มขึ้นผิดปกติตกเป็นของแผ่นดิน เป็นการลงโทษริบทรัพย์สินในทางอาญา โดยที่มิได้ให้สิทธิผู้ถูกกล่าวหาหรือบุคคลอื่นซึ่งเป็นเจ้าของทรัพย์สินที่แท้จริงนำคดีไปฟ้องร้องให้เป็นอย่างอื่นได้ อำนาจของ คตส.เป็นอำนาจเด็ดขาด และเป็นอำนาจในการพิจารณาพิพากษาอรรถคดีซึ่งตามประเพณีการปกครองประเทศไทยในระบอบประชาธิปไตยเป็นอำนาจของศาล จึงมีผลเป็นการตั้งคณะบุคคลที่มิใช่ศาลให้มีอำนาจทำการพิจารณาพิพากษาคดีเช่นเดียวกับศาล ย่อมขัดต่อประเพณีการปกครองประเทศไทยในระบอบประชาธิปไตยนอกจากนี้ทรัพย์สินของผู้ร้องที่ถูกยึดและตกเป็นของแผ่นดินตามคำวินิจฉัยของ คตส. เป็นทรัพย์สินที่ผู้ร้องได้มาหรือมีเพิ่มขึ้นก่อนที่ประกาศ รสช. ฉบับที่ 26 ข้อ 6 ใช้บังคับจึงเป็นการออกและใช้กฎหมายที่มีโทษในทางอาญาย้อนหลังไปลงโทษแก่ผู้ร้อง ซึ่งรัฐธรรมนูญทุกฉบับมีบทบัญญัติห้ามเพื่อคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชน อันถือได้ว่าเป็นประเพณีการปกครองประเทศไทยในระบอบประชาธิปไตยอีกประการหนึ่งด้วย ประกาศ รสช.ฉบับที่ 26 ข้อ 2 และข้อ 6 จึงใช้บังคับมิได้ (ตามนัยฎีกาที่ 222/2506) และเป็นเหตุให้คำวินิจฉัยของคตส. ไม่มีผลบังคับไปด้วย ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ. 2534 มาตรา 32เป็นเพียงการบัญญัติรับรองโดยทั่วไปว่า ประกาศหรือคำสั่งรสช. มีผลให้ใช้บังคับได้เช่นกฎหมายเท่านั้น มิได้บัญญัติรับรองไปถึงว่าให้ใช้บังคับได้แม้เนื้อหาตามประกาศหรือคำสั่ง รสช. ดังกล่าวขัดหรือแย้งต่อธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ. 2534 แต่อย่างไร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 755/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำชำเราเด็กโดยเด็กยินยอม และความผิดฐานพรากเด็ก ศาลลดโทษสถานเบา
ความผิดฐานพรากเด็กไปเสียจากบิดามารดาผู้ปกครอง ศาลล่างทั้งสองพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 317 วรรคสามมีกำหนด 5 ปีต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคแรกที่จำเลยฎีกาขอให้ลงโทษสถานเบาในความผิดฐานนี้นั้นเป็นฎีกาโต้แย้งดุลพินิจในการกำหนดโทษเป็นปัญหาข้อเท็จจริง ความผิดฐานกระทำชำเราเด็กหญิงอายุไม่เกิน15 ปี ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 277 วรรคแรกนั้น ขณะเกิดเหตุผู้เสียหายมีอายุ 14 ปีเศษ น่าจะมีความรู้ทางเรื่องเพศได้พอสมควร ทั้งก่อนเกิดเหตุผู้เสียหายรักใคร่ชอบพออยู่กับจำเลยมาก่อน ที่ผู้เสียหายยินยอมให้จำเลยเข้าไปกระทำชำเราภายในบ้านและสถานที่อื่นก็ด้วยความสมัครใจและยินยอมของผู้เสียหาย ความผิดของจำเลยจึงไม่ร้ายแรงนักสมควรที่จะลงโทษจำเลยในสถานเบาโดยให้จำคุกในอัตราขั้นต่ำของกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 463/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาทำลายทรัพย์สิน: การวางยาเบื่อเป็ดของผู้เสียหายถือเป็นความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์
การที่จำเลยนำข้าวผสมกับสารเคมีกำจัดแมลงไปวางไว้ข้างสระน้ำที่เป็ดของผู้เสียหายมาเป็นประจำ แสดงว่าจำเลยมีเจตนาฆ่าเป็ดของผู้เสียหาย จำเลยจึงมีความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ตาม ป.อ.มาตรา 358.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 463/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำที่เชื่อมโยงถึงการทำให้เสียทรัพย์: เจตนาและพฤติการณ์
เช้าวันเกิดเหตุก่อนเป็ดของผู้เสียหายตาย จำเลยได้นำข้าวใส่กะละมังไปวางไว้ข้างสระน้ำที่เป็ดของผู้เสียหายมาเป็นประจำ และเป็ดของผู้เสียหายตายเพราะกินอาหารที่มีสารเคมีกำจัดแมลงผสมอยู่ แม้โจทก์จะไม่มีพยานรู้เห็นว่าจำเลยผสมสารเคมีกำจัดแมลงลงไปในข้าวและเป็ดของผู้เสียหายกินข้าวนั้น แต่การที่เป็ดของผู้เสียหายตายอยู่ในบริเวณบ้านของจำเลยหลังจากจำเลยนำข้าวไปวางไว้ข้างสระน้ำที่เป็ดของผู้เสียหายมาเป็นประจำ โดยตรวจพบข้าวและสารเคมีกำจัดแมลงในกระเพาะอาหารของเป็ดที่ตาย เป็นพฤติการณ์เชื่อมโยงให้รับฟังได้ว่า เป็ดตายเพราะกินข้าวผสมสารเคมีกำจัดแมลงที่จำเลยวางไว้ และการที่จำเลยนำข้าวผสมสารเคมีกำจัดแมลงไปวางไว้ข้างสระน้ำที่เป็ดของผู้เสียหายมาเป็นประจำ แสดงว่าจำเลยมีเจตนาฆ่าเป็ดของผู้เสียหาย การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ตาม ป.อ.มาตรา 358

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 463/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทำให้เสียทรัพย์ด้วยการวางยาเป็ด: ศาลฎีกาพิพากษากลับให้ลงโทษฐานทำให้เสียทรัพย์
เช้าวันเกิดเหตุก่อนเป็ดของผู้เสียหายตาย จำเลยได้นำข้าวใส่กะละมัง ไปวางไว้ข้างสระน้ำที่เป็ดของผู้เสียหายมาเป็นประจำ และเป็ดของผู้เสียหายตายเพราะกินอาหารที่มีสารเคมีกำจัดแมลงผสมอยู่ แม้โจทก์จะไม่มีพยานรู้เห็นว่าจำเลยผสมสารเคมีกำจัดแมลงลงไปในข้าวและเป็ดของผู้เสียหายกินข้าวนั้น แต่การที่เป็ดของผู้เสียหายตายอยู่ในบริเวณบ้านของจำเลยหลังจากจำเลยนำข้าวไปวางไว้ข้างสระน้ำที่เป็ดของผู้เสียหายมาเป็นประจำ โดยตรวจพบข้าวและสารเคมีกำจัดแมลงในกะเพาะอาหารของเป็ดที่ตาย เป็นพฤติการณ์เชื่อมโยงให้รับฟังได้ว่า เป็ดตายเพราะกินข้าวผสมสารเคมีกำจัดแมลงที่จำเลยวางไว้ และการที่จำเลยนำข้าวผสมสารเคมีกำจัดแมลงไปวางไว้ข้างสระน้ำที่เป็ดของผู้เสียหายมาเป็นประจำแสดงว่าจำเลยมีเจตนาฆ่าเป็ดของผู้เสียหาย การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 358

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 61/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาออกเช็คเพื่อประกันการชำระหนี้ ไม่ถือเป็นความผิดตาม พ.ร.บ. เช็ค
เดิมจำเลยออกเช็ค 10 ฉบับชำระหนี้ค่ากระจกให้แก่โจทก์เมื่อเช็คทั้ง 10 ฉบับเรียกเก็บเงินไม่ได้ จำเลยจึงออกเช็คพิพาท3 ฉบับให้แทน โดยมีข้อตกลงว่า เมื่อเช็คพิพาทถึงกำหนดจำเลยจะนำเช็คใหม่หรือเงินสดมาแลกเช็คพิพาทไปจากโจทก์ โดยไม่ให้โจทก์นำเช็คเรียกเก็บเงินจากธนาคาร ถือได้ว่าจำเลยออกเช็คพิพาทโดยมีเจตนาเพื่อให้เป็นประกันการชำระหนี้ที่โจทก์เรียกเก็บเงินตามเช็คทั้ง 10 ฉบับไม่ได้ หาได้มีเจตนาให้โจทก์นำเช็คพิพาทไปเรียกเก็บเงินจากธนาคารตามวิธีการในทางแพ่งของกฎหมายลักษณะตั๋วเงินไม่ จำเลยไม่มีความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2497 มาตรา 3

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 61/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาออกเช็คเพื่อประกันหนี้ ไม่ถือเป็นความผิดตาม พ.ร.บ. เช็ค หากไม่มีเจตนาให้เรียกเก็บเงิน
จำเลยสั่งจ่ายเช็คพิพาททั้งสามฉบับให้แก่โจทก์ เพื่อแทนเช็คจำนวน 10 ฉบับ ที่จำเลยได้สั่งจ่ายชำระหนี้ค่ากระจกให้แก่โจทก์และธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินโดยมีข้อตกลงกันว่า เมื่อเช็คพิพาทถึงกำหนดจำเลยจะนำเช็คใหม่หรือเงินสดมาแลกเช็คพิพาทไปจากโจทก์โดยไม่ให้โจทก์นำเช็คเรียกเก็บเงินจากธนาคาร ถือได้ว่าจำเลยออกเช็คพิพาททั้งสามฉบับให้แก่โจทก์โดยมีเจตนาเพื่อให้เป็นประกันการชำระหนี้ที่โจทก์เรียกเก็บเงินตามเช็คทั้งสิบฉบับของจำเลยไม่ได้ หาได้มีเจตนาที่จะให้โจทก์นำเช็คพิพาทไปเรียกเก็บเงินจากธนาคาร ตามวิธีการในทางแพ่งของกฎหมายลักษณะตั๋วเงินไม่ แม้ธนาคารจะปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คพิพาททั้งสามฉบับการกระทำของจำเลยก็ไม่เป็นความผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4169/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทิ้งฟ้องฎีกาเนื่องจากไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลในการนำส่งเอกสาร
ฎีกาของจำเลยหน้าแรกมีข้อความซึ่งประทับด้วยตรายางของศาลชั้นต้นว่า "ให้มาทราบคำสั่งในวันที่ 15 เมษายน 2535 ถ้าไม่มาให้ถือว่าทราบคำสั่งแล้ว" โดยมีผู้รับมอบฉันทะจากทนายจำเลยให้มายื่นฎีกาและรับทราบคำสั่งศาลลงชื่อไว้เป็นการแสดงเจตนาของจำเลยยอมรับผูกพันตนเองว่าจะมาฟังคำสั่งในวันดังกล่าว ถ้าไม่มาก็ให้ถือว่าจำเลยทราบคำสั่งแล้ว ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำเลยผู้ยื่นฎีกาจัดการนำส่งสำเนาฎีกาให้อีกฝ่ายหนึ่งภายใน 5 วัน โดยมีคำสั่งตั้งแต่วันที่ 8 เมษายน 2535 ฉะนั้น แม้จำเลยจะมิได้มาฟังคำสั่งก็ถือว่าคำสั่งศาลนั้นได้ส่งให้จำเลยโดยชอบและจำเลยทราบคำสั่งนั้นแล้วตั้งแต่วันที่ 15 เมษายน 2535 เมื่อจำเลยเพิกเฉยมิได้จัดการนำส่งสำเนาฎีกาภายในกำหนดเวลาที่ศาลสั่ง จึงเป็นการทิ้งฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 174(2)
of 35