พบผลลัพธ์ทั้งหมด 858 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3971/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การงดการขายทอดตลาดและการประเมินราคาทรัพย์สินใหม่ จำเป็นต้องมีเหตุที่เจ้าพนักงานบังคับคดีประเมินราคาไม่ชอบหรือไม่?
ตามคำร้องของ จำเลยที่ 1 ที่ขอให้งดการขายทอดตลาดไว้จนกว่าจะมีการประเมินราคาทรัพย์สินใหม่ จำเลยอ้างเหตุแต่เพียงว่าเวลาผ่านไป 1 ปี ทำให้ทรัพย์สินที่ถูกยึดราคาสูงขึ้น มิได้อ้างเหตุว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีประเมินราคาทรัพย์สินไว้ไม่ชอบอย่างไร ที่จำเลยอ้างว่าเวลาผ่าน ไปทำให้ทรัพย์สินที่ถูกยึดมีราคาสูงขึ้น ชอบที่เจ้าพนักงานบังคับคดีจะต้องตีราคาทรัพย์สินใหม่นั้นราคาทรัพย์สินที่ถูกยึดอาจมีการขึ้นลงได้ตามสภาวการณ์ทางเศรษฐกิจและราคาที่ขึ้นลงนี้เจ้าพนักงานบังคับคดีหรือศาลจะนำมาประกอบการพิจารณาในตอนที่จะใช้ดุลพินิจให้ขายหรือไม่ให้ขายทรัพย์สินที่ถูกยึดไว้ เจ้าพนักงานบังคับคดีหรือศาลมิได้ถูกจำกัดว่าจะต้องขายทรัพย์สินที่ถูกยึดในราคาที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ตีราคาไว้ในขณะที่มีการยึดทรัพย์ดังกล่าว จึงยังไม่มีเหตุที่ต้องงดการขายทอดตลาดแล้วประเมินราคาทรัพย์สินให้ใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2992/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจดทะเบียนโอนที่ดินโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายและการยกเว้นการวินิจฉัยเรื่องอายุความเนื่องจากคำให้การไม่ชัดเจน
จำเลยให้การเพียงว่า ฟ้องโจทก์ขาดอายุความที่จะฟ้องร้องเพื่อขอเพิกถอนนิติกรรม จำเลยไม่ได้ให้การอ้างเหตุว่า ฟ้องโจทก์ขาดอายุความตามบทกฎหมายใด ในเรื่องใด เหตุใดฟ้องโจทก์จึงขาดอายุความรวมทั้งเริ่มนับอายุความตั้งแต่เมื่อใด เป็นคำให้การที่ไม่ชัดแจ้งไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสองจึงไม่เป็นประเด็นข้อพิพาทแห่งคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2992/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำให้การขาดอายุความ – ไม่ชัดแจ้ง – ไม่เป็นประเด็น
จำเลยให้การเพียงว่า ฟ้องโจทก์ขาดอายุความที่จะฟ้องร้องเพื่อขอเพิกถอนนิติกรรม จำเลยไม่ได้ให้การอ้างเหตุว่า ฟ้องโจทก์ขาดอายุความตามบทกฎหมายใด ในเรื่องใด เหตุใดฟ้องโจทก์จึงขาดอายุความ รวมทั้งเริ่มนับอายุความตั้งแต่เมื่อใด เป็นคำให้การที่ไม่ชัดแจ้ง ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา177 วรรคสอง จึงไม่เป็นประเด็นข้อพิพาทแห่งคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 199/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คชำระหนี้เงินกู้ยืมไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือ ไม่อาจฟ้องบังคับได้ และไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.เช็ค
เช็คที่ออกเพื่อชำระหนี้เงินกู้ยืมเกินกว่า 50 บาท โดยมิได้มีการทำหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินไว้เป็นหนังสือ เมื่อไม่มีการนำเช็คนั้นเข้าเรียกเก็บเงิน เช็คพิพาทซึ่งออกมาเพื่อเปลี่ยนเอาเช็คเดิมไป จึงเป็นเช็คที่ออกเพื่อชำระหนี้เงินกู้ยืมดังกล่าวซึ่งไม่อาจฟ้องร้องบังคับได้ตามกฎหมาย เมื่อธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คพิพาท การออกเช็คพิพาทจึงไม่เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534มาตรา 4
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 199/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คเพื่อชำระหนี้ที่ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือ: ไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ. เช็ค
หนี้เงินกู้ยืมเกินกว่าห้าสิบบาทไม่มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมไว้เป็นหนังสือเป็นหนี้ที่ไม่อาจฟ้องร้องบังคับกันได้ตามกฎหมาย การที่จำเลยออกเช็คพิพาทเปลี่ยนเอาเช็คเดิมซึ่งจำเลยออกให้แก่โจทก์เพื่อชำระหนี้เงินยืมและโจทก์มิได้นำเข้าเรียกเก็บเงินเช็คพิพาทจึงเป็นเช็คที่ออกเพื่อชำระหนี้เงินกู้ยืมดังกล่าวไม่เป็นความผิดตาม พระราชบัญญัติ ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คพ.ศ. 2534 มาตรา 4
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 199/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คเพื่อชำระหนี้เงินกู้ยืมไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือ ไม่อาจฟ้องบังคับได้ การออกเช็คพิพาทไม่เป็นความผิด
เช็คที่ออกเพื่อชำระหนี้เงินกู้ยืมเกินกว่า 50 บาท โดยมิได้มีการทำหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินไว้เป็นหนังสือ เมื่อไม่มีการนำเช็คนั้นเข้าเรียกเก็บเงิน เช็คพิพาทซึ่งออกมาเพื่อเปลี่ยนเอาเช็คเดิมไป จึงเป็นเช็คที่ออกเพื่อชำระหนี้เงินกู้ยืมดังกล่าว ซึ่งไม่อาจฟ้องร้องบังคับได้ตามกฎหมาย เมื่อธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คพิพาท การออกเช็คพิพาทจึงไม่เป็นความผิดตามพระราช-บัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 มาตรา 4
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 188/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานหน่วงเหนี่ยวกักขัง: การกระทำเตรียมพร้อมใช้ปืนถือเป็นความผิดร่วม
จำเลยทั้งสามมีอาวุธปืนติดตัว ขึ้นไปบนสถานีตำรวจ จำเลยที่ 1 ขอให้ผู้เสียหายไปตรวจค้นบ้านบุคคลอื่น แต่ผู้เสียหายไม่ยอมทำตาม จำเลยที่ 1 จึงใช้อาวุธปืนจี้บังคับไม่ยอมให้ผู้เสียหายออกจากห้องแล้วใช้มือล็อกคอและกอดปล้ำบังคับผู้เสียหายให้นั่งบนโซฟา โดยจำเลยที่ 2 ถืออาวุธปืนและจำเลยที่ 3 ยืนจับด้ามปืนสั้นที่เอว แม้จำเลยที่ 3 จะไม่ได้ชักปืนออกมาก็ตามแต่การกระทำของจำเลยที่ 3 แสดงว่าจำเลยที่ 3 ได้เตรียมพร้อมที่จะใช้อาวุธปืนบังคับผู้เสียหายด้วยจำเลยที่ 3 จึงมีความผิดฐานร่วมกับจำเลยที่ 1 และที่ 2 หน่วงเหนี่ยวกักขังผู้เสียหายให้ปราศจากเสรีภาพในร่างกาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 188/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การร่วมกันหน่วงเหนี่ยวกักขังโดยใช้อาวุธ แม้ไม่ได้ชักปืนแต่เตรียมพร้อมใช้ก็ถือเป็นความผิด
จำเลยทั้งสามมีอาวุธปืนติดตัวขึ้นไปบนสถานีตำรวจ จำเลยที่ 1ขอให้ผู้เสียหายไปตรวจค้นบ้านบุคคลอื่น แต่ผู้เสียหายไม่ยอมทำตามจำเลยที่ 1 จึงใช้อาวุธปืนจี้บังคับไม่ยอมให้ผู้เสียหายออกจากห้องแล้วใช้มือล็อกคอและกอดปล้ำบังคับผู้เสียหายให้นั่งบนโซฟาโดยจำเลยที่ 2 ถืออาวุธปืนสั้นและจำเลยที่ 3 ยืนจับด้ามปืนสั้นที่เอว แม้จำเลยที่ 3 จะไม่ได้ชักปืนออกมาก็ตาม แต่การกระทำของจำเลยที่ 3 แสดงว่าจำเลยที่ 3 ได้เตรียมพร้อมที่จะใช้อาวุธปืนบังคับผู้เสียหายด้วย จำเลยที่ 3 จึงมีความผิดฐานร่วมกับจำเลยที่ 1และที่ 2 หน่วงเหนี่ยวกักขังผู้เสียหายให้ปราศจากเสรีภาพในร่างกาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 188/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานหน่วงเหนี่ยวกักขังโดยมีอาวุธ การกระทำที่แสดงเจตนาเตรียมพร้อมใช้ความรุนแรงถือเป็นความร่วม
จำเลยทั้งสามมีอาวุธปืนติดตัวขึ้นไปบนสถานีตำรวจ จำเลยที่ 1ขอให้ผู้เสียหายไปตรวจค้นบ้านบุคคลอื่น แต่ผู้เสียหายไม่ยอมทำตาม จำเลยที่ 1จึงใช้อาวุธปืนจี้บังคับไม่ยอมให้ผู้เสียหายออกจากห้องแล้วใช้มือล็อกคอและกอดปล้ำบังคับผู้เสียหายให้นั่งบนโซฟา โดยจำเลยที่ 2 ถืออาวุธปืนสั้นและจำเลยที่ 3 ยืนจับด้ามปืนสั้นที่เอว แม้จำเลยที่ 3 จะไม่ได้ชักปืนออกมาก็ตาม แต่การกระทำของจำเลยที่ 3 แสดงว่าจำเลยที่ 3 ได้เตรียมพร้อมที่จะใช้อาวุธปืนบังคับผู้เสียหายด้วยจำเลยที่ 3 จึงมีความผิดฐานร่วมกับจำเลยที่ 1 และที่ 2 หน่วงเหนี่ยวกักขังผู้เสียหายให้ปราศจากเสรีภาพในร่างกาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5589/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำหน่ายคดีและการเพิกถอนคำสั่งจำหน่ายคดีเนื่องจากกระบวนการพิจารณาคดีที่ไม่ถูกต้อง
ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาถึงชั้นนัดสืบพยานโจทก์นัดแรก เมื่อวันที่ 11 เมษายน 2531 แล้ว ก่อนวันนัดดังกล่าวโจทก์ยื่นคำร้องลงวันที่ 7 เมษายน 2531 ขอแก้ไขคำฟ้องจากเดิมที่ขอเรียกค่าเสียหายนับแต่วันทำละเมิดเป็นนับแต่วันที่โจทก์ได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เอาประกันภัย ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาต และสั่งคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องต่อไปว่า "สำเนาให้จำเลย ส่งธรรมดาไม่ได้ให้ปิด" ขณะเดียวกันจำเลยที่ 3ได้ยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีในวันนัดสืบพยานโจทก์วันที่11 เมษายน 2531 ศาลชั้นต้นอนุญาตให้เลื่อนไปวันที่15 มิถุนายน 2531 ต่อมาเจ้าหน้าที่ศาลรายงานต่อศาลชั้นต้นว่า โจทก์ไม่มานำส่งหมายนัดและสำเนาคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องศาลชั้นต้นมีคำสั่งเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2531 ว่า ถือว่าโจทก์ทิ้งฟ้องให้จำหน่ายคดี และเมื่อถึงวันนัดสืบพยานโจทก์วันที่ 15 มิถุนายน 2531 ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า โจทก์ขาดนัดพิจารณา ให้จำหน่ายคดีของโจทก์อีกครั้งหนึ่ง ดังนี้คำสั่งจำหน่ายคดีเป็นผลให้คดีเสร็จไปจากศาล โดยไม่ต้องมีคำวินิจฉัยชี้ขาดในประเด็นแห่งคดี นอกเหนือจากการวินิจฉัยชี้ขาดคดีโดยทำเป็นคำพิพากษาหรือคำสั่งศาลจะมีคำสั่งจำหน่ายคดีในกรณีใดนั้น ย่อมเป็นไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 132 ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งจำหน่ายคดีนี้เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2531 เป็นการอ้างเหตุตามมาตรา 132(1) และเมื่อมีคำสั่งจำหน่ายคดีแล้วมีผลทำให้คดีเสร็จไปจากศาลชั้นต้น การที่ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาต่อมาจนมีคำสั่งว่าโจทก์ขาดนัดพิจารณา และมีคำสั่งจำหน่ายคดีของโจทก์เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2531ซ้ำอีกจึงเป็นการไม่ถูกต้องและไม่ชอบด้วยกฎหมาย คำสั่งจำหน่ายคดีของศาลชั้นต้นเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2531จึงไม่มีผลใช้บังคับ คงเหลือเพียงคำสั่งจำหน่ายคดีเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2531 ดังนั้น เมื่อโจทก์เห็นว่าคำสั่งจำหน่ายคดีของศาลชั้นต้นเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2531ไม่ชอบ โจทก์ย่อมอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวได้ และมิใช่เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตแต่อย่างใด เมื่อศาลอุทธรณ์เห็นว่าคำสั่งจำหน่ายคดีของศาลชั้นต้นเป็นการพิจารณาผิดระเบียบศาลอุทธรณ์ก็มีอำนาจสั่งให้เพิกถอนได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27 คำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ที่ยกคำสั่งจำหน่ายคดีของศาลชั้นต้นโดยให้เพิกถอนการพิจารณาของศาลชั้นต้นที่ผิดระเบียบ ให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาใหม่นั้น เป็นผลทำให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 เสียประโยชน์ จำเลยที่ 1 ที่ 2 ย่อมมีสิทธิฎีกาได้ตามหลักทั่วไป และคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ในกรณีนี้ก็หาได้มีกฎหมายบัญญัติให้เป็นที่สุดไม่ จำเลยที่ 1ที่ 2 จึงฎีกาในข้อนี้ได้ คำร้องขอแก้ไขคำฟ้องในคดีนี้เป็นเพียงรายละเอียดที่โจทก์ประสงค์แก้ไขให้ถูกต้องตามสิทธิของโจทก์ในฐานะที่โจทก์เป็นผู้รับประกันภัยที่มีสิทธิเรียกเอาเงินที่ตนได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เอาประกันภัยนับแต่วันที่ใช้เงินไป มิใช่นับแต่วันที่มีการละเมิด ทั้งการแก้ไขดังกล่าวไม่เป็นคุณแก่โจทก์ คำร้องขอแก้ไขคำฟ้องเช่นนี้จึงไม่อยู่ในบังคับของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 180,181 คำสั่งศาลชั้นต้นที่สั่งให้ส่งสำเนาคำร้องให้จำเลยก็เป็นเพียงเพื่อให้รับทราบเท่านั้น ทั้งการสั่งให้ปิดหมายนัดก็มิได้สั่งให้โจทก์ปฏิบัติเช่นใดให้ชัดเจนและเมื่อมิใช่คำฟ้องตั้งต้นคดีซึ่งโจทก์มีหน้าที่จะต้องปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 174(1)แล้วบทบัญญัตินี้ก็จะนำมาใช้บังคับแก่กรณีของโจทก์ไม่ได้จึงชอบที่ศาลอุทธรณ์จะพิพากษาให้เพิกถอนคำสั่งจำหน่ายคดีของศาลชั้นต้น