พบผลลัพธ์ทั้งหมด 858 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5589/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำหน่ายคดีและการเพิกถอนคำสั่งจำหน่ายคดีเนื่องจากกระบวนการพิจารณาคดีที่ไม่ถูกต้อง
ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาถึงชั้นนัดสืบพยานโจทก์นัดแรก เมื่อวันที่ 11 เมษายน 2531 แล้ว ก่อนวันนัดดังกล่าวโจทก์ยื่นคำร้องลงวันที่ 7 เมษายน 2531 ขอแก้ไขคำฟ้องจากเดิมที่ขอเรียกค่าเสียหายนับแต่วันทำละเมิดเป็นนับแต่วันที่โจทก์ได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เอาประกันภัย ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาต และสั่งคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องต่อไปว่า "สำเนาให้จำเลย ส่งธรรมดาไม่ได้ให้ปิด" ขณะเดียวกันจำเลยที่ 3ได้ยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีในวันนัดสืบพยานโจทก์วันที่11 เมษายน 2531 ศาลชั้นต้นอนุญาตให้เลื่อนไปวันที่15 มิถุนายน 2531 ต่อมาเจ้าหน้าที่ศาลรายงานต่อศาลชั้นต้นว่า โจทก์ไม่มานำส่งหมายนัดและสำเนาคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องศาลชั้นต้นมีคำสั่งเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2531 ว่า ถือว่าโจทก์ทิ้งฟ้องให้จำหน่ายคดี และเมื่อถึงวันนัดสืบพยานโจทก์วันที่ 15 มิถุนายน 2531 ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า โจทก์ขาดนัดพิจารณา ให้จำหน่ายคดีของโจทก์อีกครั้งหนึ่ง ดังนี้คำสั่งจำหน่ายคดีเป็นผลให้คดีเสร็จไปจากศาล โดยไม่ต้องมีคำวินิจฉัยชี้ขาดในประเด็นแห่งคดี นอกเหนือจากการวินิจฉัยชี้ขาดคดีโดยทำเป็นคำพิพากษาหรือคำสั่งศาลจะมีคำสั่งจำหน่ายคดีในกรณีใดนั้น ย่อมเป็นไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 132 ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งจำหน่ายคดีนี้เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2531 เป็นการอ้างเหตุตามมาตรา 132(1) และเมื่อมีคำสั่งจำหน่ายคดีแล้วมีผลทำให้คดีเสร็จไปจากศาลชั้นต้น การที่ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาต่อมาจนมีคำสั่งว่าโจทก์ขาดนัดพิจารณา และมีคำสั่งจำหน่ายคดีของโจทก์เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2531ซ้ำอีกจึงเป็นการไม่ถูกต้องและไม่ชอบด้วยกฎหมาย คำสั่งจำหน่ายคดีของศาลชั้นต้นเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2531จึงไม่มีผลใช้บังคับ คงเหลือเพียงคำสั่งจำหน่ายคดีเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2531 ดังนั้น เมื่อโจทก์เห็นว่าคำสั่งจำหน่ายคดีของศาลชั้นต้นเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2531ไม่ชอบ โจทก์ย่อมอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวได้ และมิใช่เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตแต่อย่างใด เมื่อศาลอุทธรณ์เห็นว่าคำสั่งจำหน่ายคดีของศาลชั้นต้นเป็นการพิจารณาผิดระเบียบศาลอุทธรณ์ก็มีอำนาจสั่งให้เพิกถอนได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27 คำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ที่ยกคำสั่งจำหน่ายคดีของศาลชั้นต้นโดยให้เพิกถอนการพิจารณาของศาลชั้นต้นที่ผิดระเบียบ ให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาใหม่นั้น เป็นผลทำให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 เสียประโยชน์ จำเลยที่ 1 ที่ 2 ย่อมมีสิทธิฎีกาได้ตามหลักทั่วไป และคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ในกรณีนี้ก็หาได้มีกฎหมายบัญญัติให้เป็นที่สุดไม่ จำเลยที่ 1ที่ 2 จึงฎีกาในข้อนี้ได้ คำร้องขอแก้ไขคำฟ้องในคดีนี้เป็นเพียงรายละเอียดที่โจทก์ประสงค์แก้ไขให้ถูกต้องตามสิทธิของโจทก์ในฐานะที่โจทก์เป็นผู้รับประกันภัยที่มีสิทธิเรียกเอาเงินที่ตนได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เอาประกันภัยนับแต่วันที่ใช้เงินไป มิใช่นับแต่วันที่มีการละเมิด ทั้งการแก้ไขดังกล่าวไม่เป็นคุณแก่โจทก์ คำร้องขอแก้ไขคำฟ้องเช่นนี้จึงไม่อยู่ในบังคับของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 180,181 คำสั่งศาลชั้นต้นที่สั่งให้ส่งสำเนาคำร้องให้จำเลยก็เป็นเพียงเพื่อให้รับทราบเท่านั้น ทั้งการสั่งให้ปิดหมายนัดก็มิได้สั่งให้โจทก์ปฏิบัติเช่นใดให้ชัดเจนและเมื่อมิใช่คำฟ้องตั้งต้นคดีซึ่งโจทก์มีหน้าที่จะต้องปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 174(1)แล้วบทบัญญัตินี้ก็จะนำมาใช้บังคับแก่กรณีของโจทก์ไม่ได้จึงชอบที่ศาลอุทธรณ์จะพิพากษาให้เพิกถอนคำสั่งจำหน่ายคดีของศาลชั้นต้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5589/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำหน่ายคดีเนื่องจากทิ้งฟ้อง การเพิกถอนคำสั่งจำหน่ายคดี และอำนาจศาลอุทธรณ์
ศาลชั้นต้นนัดสืบพยานโจทก์นัดแรกเมื่อวันที่ 11 เมษายน2531 ก่อนวันนัดโจทก์ยื่นคำร้องลงวันที่ 7 เมษายน 2531ขอแก้ไขคำฟ้อง ศาลมีคำสั่งอนุญาต และสั่งคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องต่อไปว่า "สำเนาให้จำเลย ส่งธรรมดาไม่ได้ ให้ปิด"ขณะเดียวกันจำเลยได้ยื่นคำร้องขอเลื่อนคดี ศาลชั้นต้นอนุญาตให้เลื่อนไป วันที่ 15 มิถุนายน 2531 ต่อมาเจ้าหน้าที่ศาลรายงานว่า โจทก์ไม่นำส่งหมายนัดและสำเนาคำร้องขอแก้ไขคำฟ้อง ศาลชั้นต้นมีคำสั่งเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2531 ว่า ถือว่า โจทก์ทิ้งฟ้อง ให้จำหน่ายคดี และเมื่อถึงวันนัดสืบพยานโจทก์ วันที่ 15 มิถุนายน 2531 ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าโจทก์ขาดนัดพิจารณา ให้จำหน่ายคดีของโจทก์อีกครั้งหนึ่งคำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้จำหน่ายคดี เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม2531 เป็นกรณีการอ้างเหตุตามมาตรา 132(1)แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง และเมื่อมีคำสั่งจำหน่ายคดีแล้ว มีผลทำให้คดีเสร็จไปจากศาลชั้นต้นดังนั้นการที่ศาลชั้นต้นกลับดำเนินกระบวนพิจารณาต่อมาจนมีคำสั่งว่าโจทก์ขาดนัดพิจารณา และมีคำสั่งจำหน่ายคดีของโจทก์ซ้ำอีก จึงเป็นการไม่ถูกต้องและไม่ชอบด้วยกฎหมายจึงไม่มีผลใช้บังคับคงเหลือเพียงคำสั่งจำหน่ายคดีเมื่อวันที่19 พฤษภาคม 2531 เมื่อโจทก์เห็นว่าคำสั่งจำหน่ายคดีของศาลชั้นต้นเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2531 ไม่ชอบโจทก์ย่อมอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวได้ เมื่อศาลอุทธรณ์เห็นว่า คำสั่งจำหน่ายคดีของศาลชั้นต้นเป็นการพิจารณาผิดระเบียบศาลอุทธรณ์ก็มีอำนาจสั่งให้เพิกถอนได้ตามมาตรา 27 คำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ที่เป็นผลทำให้จำเลยเสียประโยชน์ จำเลยย่อมมีสิทธิฎีกาได้ตามหลักทั่วไป และคำพิพากษา ของศาลอุทธรณ์ในกรณีที่ให้เพิกถอนการพิจารณาของศาลชั้นต้น ที่ผิดระเบียบให้ศาลชั้นต้นดำเนินการพิจารณาพิพากษาใหม่ ตามรูปคดีหาได้มีกฎหมายบัญญัติให้เป็นที่สุดไม่ จำเลย จึงฎีกาในข้อนี้ได้ ตามคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องขอแก้จากเดิมที่ขอเรียกค่าเสียหาย นับแต่วันทำละเมิดเป็นนับแต่วันที่โจทก์ได้ใช้ค่าสินไหมทดแทน ให้แก่ผู้เอาประกันภัย เป็นเพียงรายละเอียดที่โจทก์ ประสงค์จะแก้ไขให้ถูกต้องตามสิทธิของโจทก์ในฐานะที่โจทก์ เป็นผู้รับประกันภัยที่มีสิทธิเรียกเอาเงินที่ตนได้ใช้ ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เอาประกันนับแต่วันที่ใช้เงินไปมิใช่นับแต่วันที่มีการละเมิด ทั้งการแก้ไขดังกล่าวไม่เป็นคุณแก่โจทก์คำร้องขอแก้ไขคำฟ้องเช่นนี้จึงไม่อยู่ในบังคับของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 180,181 คำสั่งศาลชั้นต้นที่สั่งให้ส่งสำเนาคำร้องให้จำเลยก็เป็นเพียงเพื่อให้รับทราบเท่านั้น และเมื่อมิใช่คำฟ้องตั้งต้นคดีซึ่งโจทก์มีหน้าที่จะต้องปฏิบัติตามมาตรา 174(1) แล้ว บทบัญญัตินี้ก็จะนำมาใช้บังคับแก่กรณีของโจทก์อันจะถือว่าโจทก์ทิ้งฟ้องไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5586/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองที่ดินของทายาทและอายุความฟ้องเรียกคืน
พ. เจ้ามรดกมิได้ยกที่ดินพิพาทให้แก่จำเลย จำเลยซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกของ พ. จึงอยู่ในฐานะเป็นผู้ครอบครองที่พิพาทแทนโจทก์ทั้งสี่และว.พี่สาวของโจทก์ทั้งสี่ซึ่งเป็นทายาทของเจ้ามรดก แม้โจทก์ทั้งสี่ฟ้องคดีเมื่อพ้นกำหนด 1 ปี นับแต่เจ้ามรดกตายหรือนับแต่โจทก์ทั้งสี่ได้รู้หรือควรได้รู้ถึงความตายของเจ้ามรดก คดีโจทก์ทั้งสี่ก็ไม่ขาดอายุความ
เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยได้บอกกล่าวเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือที่พิพาทไปยังโจทก์ทั้งสี่และ ว.พี่สาวโจทก์ทั้งสี่ผู้เป็นทายาทของเจ้ามรดกว่าไม่มีเจตนาจะยึดถือที่พิพาทแทนอีกต่อไป จำเลยจะอ้างว่าโจทก์ทั้งสี่ไม่ได้ฟ้องเรียกที่พิพาทคืนภายใน 1 ปี นับแต่จำเลยแย่งการครอบครอง จึงขาดสิทธิฟ้องเรียกคืนหาได้ไม่
เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยได้บอกกล่าวเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือที่พิพาทไปยังโจทก์ทั้งสี่และ ว.พี่สาวโจทก์ทั้งสี่ผู้เป็นทายาทของเจ้ามรดกว่าไม่มีเจตนาจะยึดถือที่พิพาทแทนอีกต่อไป จำเลยจะอ้างว่าโจทก์ทั้งสี่ไม่ได้ฟ้องเรียกที่พิพาทคืนภายใน 1 ปี นับแต่จำเลยแย่งการครอบครอง จึงขาดสิทธิฟ้องเรียกคืนหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5586/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิทายาทและการครอบครองมรดก: อายุความฟ้องเรียกคืน และการเปลี่ยนแปลงลักษณะการครอบครอง
พ. เจ้ามรดกมิได้ยกที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยจำเลยซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกของ พ. จึงอยู่ในฐานะเป็นผู้ครอบครองที่พิพาทแทนโจทก์ทั้งสี่และว. พี่สาวของโจทก์ทั้งสี่ซึ่งเป็นทายาทของเจ้ามรดก แม้โจทก์ทั้งสี่ฟ้องคดีเมื่อพ้นกำหนด 1 ปี นับแต่เจ้ามรดกตายหรือนับแต่โจทก์ทั้งสี่ได้รู้หรือควรได้รู้ถึงความตายเจ้าของมรดกคดีโจทก์ทั้งสี่ก็ ไม่ขาดอายุความ เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยได้บอกกล่าวเปลี่ยนเป็นลักษณะแห่งการยึดถือที่พิพาทไปยังโจทก์ทั้งสี่และว.พี่สาวโจทก์ทั้ง สี่ผู้เป็นทายาทของเจ้ามรดกว่าไม่มีเจตนาจะยึดถือที่พิพาทแทนอีกต่อไป จำเลยจะอ้างว่าโจทก์ทั้งสี่ไม่ได้ฟ้องเรียกที่พิพาทคืนภายใน 1 ปี นับแต่จำเลยแย่งการครอบครอง จึงขาดสิทธิฟ้องเรียกคืนหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4451/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองปรปักษ์ต้องแจ้งเปลี่ยนเจตนาการยึดถือ หากไม่แจ้งสิทธิครอบครองเดิมยังคงอยู่
เดิมจำเลยถูก ม. ฟ้องเป็นคดีแพ่งและยึดที่ดินมีหลักฐานน.ส.3 ของจำเลยออกขายทอดตลาด และ ม. เป็นผู้ประมูลซื้อที่ดินทั้งแปลงรวมทั้งที่ดินพิพาทได้จากการขายทอดตลาด จำเลยซึ่งอยู่อาศัยในที่ดินดังกล่าวมาก่อนย่อมทราบดีว่า ม. ได้สิทธิครอบครองในที่ดินแล้ว การที่จำเลยอยู่อาศัยในที่ดินดังกล่าวต่อมาจึงเป็นการยึดถือที่ดินไว้แทน ม. เท่านั้น หาใช่ยึดถือเพื่อตนเองไม่หากจำเลยจะยึดถือเพื่อตนอย่างเป็นเจ้าของ ก็ต้องปฏิบัติตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1381 คือบอกกล่าวเปลี่ยนลักษณะการยึดถือไปยัง ม. จำเลยจึงไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ตาม มาตรา 1382
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4451/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยึดถือครอบครองที่ดินหลังการซื้อขายทอดตลาด: การเปลี่ยนแปลงลักษณะการยึดถือเพื่อเป็นเจ้าของ
เดิมจำเลยถูก ม.ฟ้องเป็นคดีแพ่งและยึดที่ดินมีหลักฐาน น.ส.3ของจำเลยออกขายทอดตลาด และ ม.เป็นผู้ประมูลซื้อที่ดินทั้งแปลงรวมทั้งที่ดินพิพาทได้จากการขายทอดตลาด จำเลยซึ่งอยู่อาศัยในที่ดินดังกล่าวมาก่อนย่อมทราบดีว่าม.ได้สิทธิครอบครองในที่ดินแล้ว การที่จำเลยอยู่อาศัยในที่ดินดังกล่าวต่อมาจึงเป็นการยึดถือที่ดินไว้แทน ม.เท่านั้น หาใช่ยึดถือเพื่อตนเองไม่ หากจำเลยจะยึดถือเพื่อตนอย่างเป็นเจ้าของ ก็ต้องปฏิบัติตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1381 คือบอกกล่าวเปลี่ยนลักษณะการยึดถือไปยัง ม. จำเลยจึงไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ตาม มาตรา 1382
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4368/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องเพิกถอนการซื้อขายที่ดินเนื่องจากการฉ้อฉล คำพิพากษาชี้ว่าอายุความเริ่มนับจากวันที่โจทก์ทราบถึงการฉ้อฉล
เมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2529 เจ้าพนักงานที่ดินดำเนินการจดทะเบียนโอนขายที่ดินของจำเลยที่ 1 ให้แก่จำเลยที่ 2 สำนักงานที่ดินจังหวัดฉะเชิงเทรา สาขาบางคล้า ได้ทำหนังสือไปถึงโจทก์ลงวันที่ 2 เมษายน 2529 แจ้งให้ทราบว่าจำเลยที่ 1 ได้ขายที่ดินที่ขอให้ระงับการโอนไว้ให้แก่จำเลยที่ 2 ไปแล้ว นิติกรสังกัดกองนิติการของโจทก์ทำบันทึกเรื่องราวเสนอให้อธิบดีของโจทก์ทราบข้อเท็จจริงเมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2529 จึงถือได้ว่า โจทก์ได้รู้ถึงการฉ้อฉลรายนี้เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2529 โจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2530 ยังไม่พ้น 1 ปีนับแต่เวลาที่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาได้รู้ต้นเหตุอันเป็นมูลให้เพิกถอน หรือพ้น10 ปีนับแต่ได้ทำนิติกรรมนั้น คดีโจทก์จึงยังไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4297/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขายทอดตลาดแยกแปลงและการคัดค้านวิธีขาย เจ้าของที่ดินต้องคัดค้านก่อนการขายสำเร็จ
การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการขายทอดตลาดที่ดินไปโดยวิธีการขายแยกแปลง หากโจทก์ไม่เห็นด้วย โจทก์ชอบที่จะร้องคัดค้านไว้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 309 วรรคท้ายเมื่อโจทก์มิได้คัดค้านไว้ โจทก์จะยกเอาความข้อนี้เป็นเหตุคัดค้านเมื่อการขายทอดตลาดสำเร็จบริบูรณ์หาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4297/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีขายทอดตลาด: การคัดค้านวิธีการขายต้องกระทำก่อนการขายสำเร็จ
การที่โจทก์ยื่นคำร้องคัดค้านการขายทอดตลาดของเจ้าพนักงานบังคับคดีโดยอ้างว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีไม่ดำเนินการขายทอดตลาดที่ดินแปลงที่ 8 ถึงที่ 10 โดยวิธีขายรวมกัน การขายแยกเฉพาะที่ดินแปลงที่ 8 อันเป็นแปลงเดียวที่มีทางออกสู่ทางสาธารณะ ย่อมทำให้ที่ดินแปลงที่ 9 และที่ 10 ที่จะขายมีราคาต่ำลงนั้น เป็นเรื่องที่โจทก์คัดค้านวิธีการขายของเจ้าพนักงานบังคับคดี โจทก์ต้องคัดค้านเสียก่อนการขายทอดตลาดสำเร็จบริบูรณ์ เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าโจทก์ยื่นคำแถลงคัดค้านภายหลังการขายทอดตลาดสำเร็จบริบูรณ์แล้วการขายทอดตลาดจึงเป็นไปโดยชอบและไม่ขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 309(1)(ข) ไม่มีเหตุที่จะเพิกถอนการขายได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4254/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในทรัพย์มรดก: บุคคลภายนอกครอบครองทรัพย์สิน ไม่ใช่ทายาท ไม่ติดอายุความมรดก ต้องคืนหนังสือรับรองการทำประโยชน์
เมื่อปรากฏว่าจำเลยมิใช่ทายาทและไม่มีสิทธิรับมรดกของผู้ตายเป็นเพียงแต่บุคคลอื่นที่ครอบครองทรัพย์สินของผู้ตาย โจทก์ซึ่งเป็นทายาทไม่จำต้องเรียกร้องเอาทรัพย์คืนภายใน 1 ปีตามอายุความมรดก เมื่อจำเลยทั้งสองไม่มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทซึ่งเป็นของผู้ตาย จำเลยทั้งสองก็ไม่มีสิทธิที่จะยึดหน่วงหนังสือรับรองการทำประโยชน์ของที่ดินพิพาทได้จึงต้องคืนให้แก่โจทก์ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดก