พบผลลัพธ์ทั้งหมด 15 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2502/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในรถเช่าซื้อระหว่างสมรส: เจ้าของรวมมีอำนาจฟ้องคดีความเสียหาย
สิทธิตามสัญญาเช่าซื้อเป็นทรัพย์สิน เมื่อได้มาระหว่างสมรส สามีภริยาเป็นเจ้าของรวม ภริยาฟ้องคดีเกี่ยวกับสินบริคณห์ได้โดยรับอนุญาตจากสามี ตาม มาตรา 1469 เดิมที่ใช้ในขณะภริยาฟ้องคดีละเมิดและประกันภัยรถที่สามีเช่าซื้อ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1776/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสมรสที่เกิดจากการข่มขู่ด้วยอาวุธ และการฟ้องเพิกถอนการสมรสเป็นโมฆียะกรรม
ชายมีปืนขู่พาหญิงไปร่วมประเวณีและจดทะเบียนสมรส หญิงเพิกถอนได้ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1491 วรรค2 เดิม ซึ่งใช้อยู่ในขณะเกิดเหตุ การฟ้องคดีเป็นการบอกล้างโมฆียะกรรมไปในตัว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1510/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้จากการจำนองที่ดินสินสมรสเพื่อปรนเปรอภริยาน้อย ไม่เป็นหนี้ร่วม และสามีต้องจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดู
สามีเอาที่ดินสินสมรสไปจำนองธนาคารเอาเงินไปปรนเปรอภริยาน้อยหนี้นี้ไม่เป็นหนี้ร่วมตามมาตรา 1482(1) ที่ใช้อยู่ในขณะนั้น
สามีแพ้คดีที่ภริยาฟ้องหย่าโดยเหตุที่สามีต้องรับผิดฝ่ายเดียว ภริยาไม่มีรายได้ สามีต้องจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูตามฐานะของภริยา และความสามารถของสามี ตามมาตรา 1506, 1508 ซึ่งใช้อยู่ในขณะนั้น
สามีแพ้คดีที่ภริยาฟ้องหย่าโดยเหตุที่สามีต้องรับผิดฝ่ายเดียว ภริยาไม่มีรายได้ สามีต้องจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูตามฐานะของภริยา และความสามารถของสามี ตามมาตรา 1506, 1508 ซึ่งใช้อยู่ในขณะนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 30/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับเด็กเป็นบุตรตามมาตรา 1529 ต้องมีพฤติการณ์เปิดเผยและต่อเนื่อง ไม่ใช่เพียงการส่งเสียเงินและรับปาก
โจทก์ได้เสียกับจำเลยครั้งแรกเมื่อจำเลยรับโจทก์ไปทำปลาที่บ้านจำเลยต่อมาก็ได้เสียกันในทุ่งนาประมาณ 10 กว่าครั้ง และไม่เคยอยู่ร่วมเรือนเดียวกันฉันสามีภริยาเลย นอกจากจำเลยเขียนจดหมายรัก ส่งรูปถ่ายของจำเลย และบัตรส่งความสุขให้โจทก์บ้างเท่านั้น เมื่อโจทก์ตั้งครรภ์จำเลยเพียงแต่ส่งเสียเงินทองให้และรับว่าจะไปจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตร แต่พอโจทก์คลอดบุตรจำเลยกลับไม่รับว่าเป็นบุตรของจำเลย กรณีเช่นนี้ถือไม่ได้ว่าโจทก์และจำเลยได้อยู่กินด้วยกันอย่างเปิดเผยในระยะเวลาซึ่งโจทก์อาจตั้งครรภ์ได้ และถือไม่ได้ว่ามีพฤติการณ์ที่รู้กันอยู่ทั่วไปตลอดมาว่าเด็กหญิงเน้ยเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของจำเลย จึงไม่เข้าเกณฑ์ที่จะขอให้รับเด็กเป็นบุตรตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1529 อันเป็นบทบัญญัติซึ่งใช้บังคับอยู่ในขณะฟ้องคดี
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 1/2520)
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 1/2520)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 507/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิมรดกของบุตรบุญธรรมตามกฎหมายเก่าหลังมีประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
กฎหมายลักษณมรฎก บทที่ 12 บัญญัติให้บุตรบุญธรรมมีสิทธิได้รับมรดกของผู้รับบุตรบุญธรรมในภาคญาติ แต่ต่อมามีพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมลักษณมรฎก ร.ศ.121 บัญญัติให้ญาติของผู้มรณภาพตามที่กำหนดไว้เป็นชั้น ๆ ได้รับมรดกในภาคญาติ แต่สำหรับบุตรบุญธรรมไม่ได้กำหนดไว้ บุตรบุญธรรมตามกฎหมายเก่านับแต่ ร.ศ. 121 เป็นต้นมา จึงไม่มีสิทธิรับมรดกของผู้รับบุตรบุญธรรม ต่อมาเมื่อประกาศใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5และ 6 แล้ว บุตรบุญธรรมในบทบัญญัติมาตรา 1586 และ 1627 ก็หมายความเฉพาะบุตรบุญธรรมที่จดทะเบียนตามมาตรา 1585 เท่านั้น มิได้รวมถึงบุตรบุยธรรมตามกฎหมายเก่าซึ่งใช้อยู่ก่อนประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ด้วย เพราะพระราชบัญญัติ บรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์พ.ศ. 2477 มาตรา 4 บัญญัติไว้ว่า "บทบัญญัติแห่งบรรพนี้ไม่กระทงกระเทือนถึง(2) การรับบุตรบุญธรรมซึ่งมีอยู่ก่อนวันใช้ประมวลกฎหมายบรรพนี้ หรือสิทธิและหนี้อันเกิดแต่การนั้น ๆ " ซึ่งมีความหมายว่า สิทธิและหน้าที่ของบุตรบุญธรรมมีอยู่ตามกฎหมายเก่าอย่างไร เมื่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ใช้บังคับแล้วก็คงมีอยู่อย่างนั้น ดังนั้น บุตรบุญธรรมของเจ้ามรดกตามกฎหมายเก่าและมิได้จดทะเบียนเป็นบุตรบุญธรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1585 จึงไม่มีสิทธิรับมรดกของผู้รับบุตรบุญธรรมซึ่งถึงแก่กรรมหลังจากที่ใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 แล้ว (วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 3/2519)