พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,029 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2374/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องดำเนินคดีอาญาจากความเสียหายจากการเบิกความเท็จในคดีแพ่ง โดยไม่จำต้องเป็นคู่ความ
จำเลยที่ 5 ได้จ้างวานให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 เบิกความอันเป็นเท็จ และจำเลยดังกล่าวได้เบิกความอันเป็นเท็จในการพิจารณาคดีแพ่งของศาลชั้นต้น เป็นเหตุให้โจทก์ต้องเสียกรรมสิทธิ์ในที่ดินไปโดยตรง โจทก์จึงเป็นบุคคลผู้ได้รับความเสียหายเนื่องจากการกระทำของจำเลยที่ 5 และคำเบิกความเท็จของจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 โจทก์ย่อมเป็นผู้เสียหายตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2 (4)และมีอำนาจฟ้องจำเลยดังกล่าวได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 28 (2) โดยไม่จำต้องคำนึงว่าโจทก์ต้องเป็นคู่ความในคดีที่จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 เบิกความเท็จนั้นหรือไม่
ฟ้องโจทก์บรรยายถึงคดีที่จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 เบิกความอันเป็นเท็จ ทำให้ศาลเชื่อว่าจำเลยที่ 1 ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินของโจทก์โดยการครอบครองปรปักษ์จริง จึงมีคำสั่งให้จำเลยที่ 1 ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินดังกล่าว และการกระทำของจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 เกิดจากจำเลยที่ 5 เป็นผู้จ้างวานหรือใช้ให้ยื่นคำร้องและเบิกความอันเป็นเท็จต่อศาล ฟ้องโจทก์ดังกล่าวได้บรรยายถึงการกระทำที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำผิดพอสมควรเท่าที่จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีแล้วเป็นฟ้องที่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5)
ฟ้องโจทก์บรรยายถึงคดีที่จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 เบิกความอันเป็นเท็จ ทำให้ศาลเชื่อว่าจำเลยที่ 1 ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินของโจทก์โดยการครอบครองปรปักษ์จริง จึงมีคำสั่งให้จำเลยที่ 1 ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินดังกล่าว และการกระทำของจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 เกิดจากจำเลยที่ 5 เป็นผู้จ้างวานหรือใช้ให้ยื่นคำร้องและเบิกความอันเป็นเท็จต่อศาล ฟ้องโจทก์ดังกล่าวได้บรรยายถึงการกระทำที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำผิดพอสมควรเท่าที่จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีแล้วเป็นฟ้องที่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2366/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบุกรุกที่ดินสาธารณสมบัติที่เปลี่ยนแปลงสภาพกฎหมาย การใช้กฎหมายที่เป็นคุณต่อจำเลย
คดีความผิดในข้อหาที่ต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงพ.ศ. 2499 มาตรา 22 แต่คู่ความอุทธรณ์รวมมากับความผิดฐานอื่นที่ไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ศาลอุทธรณ์มีอำนาจวินิจฉัยข้อหานั้นได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 185เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษากลับให้ยกฟ้องโจทก์ในข้อหานี้ โจทก์จึงมีสิทธิฎีกาในความผิดฐานนี้ต่อมาได้ เดิมที่ดินพิพาทเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันต่อมาระหว่างการพิจารณาคดีของศาลชั้นต้น ได้มีพระราชกฤษฎีกา ถอนสภาพที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันในท้องที่ที่ดินพิพาท ทำให้ที่ดินพิพาทไม่เป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันอีกต่อไปแต่ที่ดินพิพาทก็ยังคงมีสภาพเป็นที่ดินอันเป็นทรัพย์สินของแผ่นดินอยู่จำเลยซึ่งเข้าบุกรุกเข้ายึดถือครอบครองที่ดินพิพาทจึงยังคงมีความผิดตามประมวลที่ดิน มาตรา 108 ทวิ วรรคหนึ่ง เพราะพระราชกฤษฎีกา ดังกล่าวหาได้บัญญัติให้การกระทำเช่นนั้นไม่เป็นความผิดต่อไปไม่ จำเลยจึงไม่พ้นจากการเป็นผู้กระทำผิด แต่เป็นกรณีที่กฎหมายที่ใช้ขณะกระทำผิดแตกต่างกับกฎหมายที่ใช้ภายหลังกระทำความผิด ต้องใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่ผู้กระทำผิดไม่ว่าในทางใด จำเลยจึงไม่ต้องรับโทษตามมาตรา 108 ทวิ วรรคสองแต่รับโทษตามมาตรา 108 ทวิ วรรคหนึ่ง ซึ่งมีอัตราโทษเบากว่า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2366/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลกระทบพระราชกฤษฎีกาต่อความผิดบุกรุกที่ดินสาธารณะ และการพิจารณาโทษตามกฎหมายที่ใช้บังคับ
ที่ดินพิพาทเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันแต่ระหว่างการพิจารณาคดีของศาลได้มีพระราชกฤษฎีกาถอนสภาพที่ดินพิพาทดังนั้น ที่ดินพิพาทย่อมไม่เป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน นับแต่วันที่พระราชกฤษฎีกามีผลใช้บังคับแต่ที่ดินพิพาทยังคงมีสภาพเป็นที่ดินอันเป็นทรัพย์สินของแผ่นดินหาได้เปลี่ยนแปลงตกไปเป็นกรรมสิทธิ์ของบุคคลหนึ่งบุคคลใดไม่จำเลยทั้งหกบุกรุกเข้าไปยึดถือครอบครองที่ดินพิพาท จึงยังมีความผิดอยู่ แต่เมื่อที่ดินพิพาทมิได้มีสภาพเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน จึงเป็นกรณีกฎหมายที่ใช้ขณะกระทำความผิดแตกต่างกับกฎหมายที่ใช้ภายหลังการกระทำความผิดต้องใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่ผู้กระทำความผิดไม่ว่าทางใดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3 จำเลยทั้งหกจึงไม่ต้องรับโทษตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 108 ทวิ วรรคสอง แต่ต้องรับโทษตามมาตรา 108 ทวิ วรรคหนึ่ง ซึ่งมีอัตราโทษเบากว่า พระราชกฤษฎีกาดังกล่าวหาได้บัญญัติให้การกระทำเช่นนั้นไม่เป็นความผิดไม่จึงไม่มีผลให้จำเลยทั้งหกพ้นจากการเป็นผู้กระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 2 การที่นายอำเภอซึ่งเป็นเจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่ดูแลที่ดินพิพาทดังกล่าวตามกฎหมายมีหนังสือสั่งให้จำเลยที่ 4 และที่ 6 ออกไปจากที่ดินพิพาทภายในกำหนดจำเลยที่ 4 และที่ 6 ทราบแล้วเพิกเฉยไม่ปฏิบัติตามโดยไม่มีเหตุและข้อแก้ตัวอันสมควรการกระทำของจำเลยที่ 4 และที่ 6 จึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา368 วรรคหนึ่ง ความผิดฐานไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 368 ศาลชั้นต้นลงโทษปรับจำเลยที่ 4และที่ 6 คนละ 400 บาท จึงเป็นคดีที่ต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 มาตรา 22 แต่เมื่อจำเลยที่ 4 และที่ 5อุทธรณ์รวมมากับความผิดฐานอื่นที่ไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงและศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโจทก์ในความผิดฐานนี้ซึ่งศาลอุทธรณ์มีอำนาจวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 185 โจทก์จึงมีสิทธิฎีกาในความผิดฐานนี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2353/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สินสมรสและการสมยอมเพื่อหลีกเลี่ยงหนี้ การยึดทรัพย์ในคดีล้มละลาย
ผู้ร้องทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินและบ้านพิพาทก่อนสมรสกับจำเลยแต่ผู้ร้องชำระราคาส่วนใหญ่และจดทะเบียนรับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและบ้านพิพาทหลังจากผู้ร้องและจำเลยจดทะเบียนสมรสกันแล้ว ต้องถือว่าที่ดินและบ้านพิพาทเป็นทรัพย์สินที่ผู้ร้องได้มาระหว่างสมรสจึงเป็นสินสมรส การที่จำเลยและผู้ร้องจดทะเบียนหย่ากันโดยจำเลยยกที่ดินและบ้านพิพาทซึ่งเป็นสินสมรสให้ผู้ร้องทั้ง ๆ ที่ผู้ร้องทราบถึงภาระหนี้สินของจำเลย เป็นการสมยอมกันเพื่อหลีกเลี่ยงมิให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ ที่ดินและบ้านพิพาทไม่ตกเป็นของผู้ร้องเพียงผู้เดียว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2353/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สินสมรส: ที่ดินซื้อหลังแต่งงาน แม้ชำระเงินส่วนตัวก่อน แต่ถือเป็นสินสมรส
ที่ดินและบ้านเป็นอสังหาริมทรัพย์ ขณะที่ผู้ร้องทำสัญญาจะซื้อขายกับผู้ขาย ทรัพย์สินดังกล่าวยังเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ขายกรรมสิทธิ์จะตกเป็นของผู้ร้องต่อเมื่อผู้ร้องได้จดทะเบียนรับโอนกรรมสิทธิ์จากผู้ขายแล้ว เมื่อผู้ร้องได้ชำระเงินส่วนใหญ่และจดทะเบียนรับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและบ้านพิพาทจากผู้ขายภายหลังที่ได้จดทะเบียนสมรสกับจำเลยแล้ว ต้องถือว่าที่ดินและบ้านพิพาทเป็นทรัพย์สินที่ผู้ร้องได้มาในระหว่างสมรสจึงเป็นสินสมรสตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1474(1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2291/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลผูกพันคำพิพากษาถึงที่สุดต่อกองทรัพย์สินในคดีล้มละลาย แม้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มิได้เป็นคู่ความ
หนี้ที่เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้เป็นหนี้ตามคำพิพากษาที่ศาลได้กำหนดอัตราดอกเบี้ยตามสัญญาขายลดตั๋วสัญญาใช้เงินซึ่งจำเลยที่ 1 ตกลงว่า หากผิดนัดไม่ใช้เงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินยอมรับผิดชดใช้เงินตามตั๋วพร้อมด้วยดอกเบี้ยร้อยละ 19 ต่อปีอันเป็นอัตราดอกเบี้ยไม่เกินประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยในขณะทำสัญญา เมื่อจำเลยที่ 1 ผิดนัดจึงต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยตามสัญญาศาลจึงพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดชำระส่วนดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 19 ต่อปี และคำพิพากษาศาลชั้นต้นดังกล่าวถึงที่สุดแล้วกองทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดหนี้ดังกล่าว แม้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่ได้เป็นคู่ความในคดีแพ่งดังกล่าวอันจะต้องถูกผูกพันโดยผลแห่งคำพิพากษาโดยตรงก็ตาม แต่ก็ไม่มีเหตุตามกฎหมายที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะอ้างประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยไปลดดอกเบี้ยตามคำพิพากษาซึ่งถึงที่สุดแล้วลงเหลืออัตราร้อยละ 15 ต่อปี ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2289/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งประเมินภาษีหลังศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์มิใช่การขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย ผู้คัดค้านมีสิทธิอุทธรณ์
การที่ผู้ร้องแจ้งการประเมินเพื่อเรียกเก็บภาษีโรงเรือนและที่ดินไปยังเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ผู้คัดค้านเพื่อให้ชำระภาษีโรงเรือนและที่ดินของลูกหนี้ซึ่งเป็นเวลาภายหลังจากศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดลูกหนี้แล้วเป็นการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติ ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 เพื่อให้ผู้คัดค้านซึ่งมีอำนาจจัดการทรัพย์สินของลูกหนี้ชำระภาษีดังกล่าวหรือหากเห็นว่าการประเมินไม่ถูกต้องผู้คัดค้านก็อุทธรณ์โต้แย้งการประเมินต่อผู้ร้องได้ตามพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดินพ.ศ. 2475 ไม่ใช่เป็นเรื่องที่ผู้ร้องขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายการที่ผู้คัดค้านมีหนังสือตอบผู้ร้องว่าผู้คัดค้านไม่อาจยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษี เป็นการแจ้งความคิดเห็นของผู้คัดค้านไปยังผู้ร้องเท่านั้น ไม่ทำให้ผู้ร้องได้รับความเสียหายตามความหมายแห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 146 สิทธิของผู้ร้องในการที่จะบังคับชำระค่าภาษีมิได้เปลี่ยนแปลงไปตามความเห็นของผู้คัดค้าน ผู้ร้องไม่อาจร้องคัดค้านเป็นคดีนี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2289/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งประเมินภาษีไม่ใช่การขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย สิทธิในการบังคับชำระภาษียังคงมีอยู่
การที่ผู้ร้องแจ้งการประเมินเพื่อเรียกเก็บภาษีโรงเรือนและที่ดินไปยังผู้คัดค้าน ไม่ใช่เป็นเรื่องที่ผู้ร้องขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย การที่ผู้คัดค้านมีหนังสือตอบผู้ร้องว่าผู้คัดค้านไม่อาจยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีเป็นการแจ้งความคิดเห็นของผู้คัดค้านไปยังผู้ร้องเท่านั้น ความเห็นของผู้คัดค้านดังกล่าวไม่ทำให้ผู้ร้องได้รับความเสียหายตามความหมายแห่งพระราชบัญญัติ ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 146 ผู้ร้องไม่อาจร้องคัดค้านเป็นคดีนี้ได้ ประเด็นนี้แม้คู่ความมิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาก่อน แต่เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2286/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจคัดค้านการขายทอดตลาดทรัพย์ในคดีล้มละลาย: จำเลยมีสิทธิคัดค้านหากราคาต่ำกว่าราคาประเมิน
การที่จำเลยในคดีล้มละลายยื่นคำร้องคัดค้านการขายทอดตลาดทรัพย์ในคดีของตน เป็นกรณีที่จำเลยทั้งสองร้องคัดค้านการกระทำของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483มาตรา 146 ไม่ใช่เป็นเรื่องเกี่ยวกับอำนาจจัดการทรัพย์สินของจำเลยตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 22 แม้การขายทอดตลาดจะดำเนินการตามขั้นตอนโดยชอบด้วยกฎหมายแต่การที่ผู้ซื้อทรัพย์เสนอราคาที่ต่ำกว่าราคาที่ซื้อขายในขณะนั้นและต่ำกว่าราคาประเมินของสำนักงานวางทรัพย์กลาง และปรากฏว่าเป็นการขายทอดตลาดครั้งแรกและผู้ร้องซึ่งเป็นเจ้าหนี้ผู้รับจำนองได้คัดค้านว่าเป็นราคาต่ำไป จึงไม่สมควรที่จะอนุญาตให้ขายไปควรให้เลื่อนการขายทอดตลาดไปก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2286/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจร้องคัดค้านการขายทอดตลาดหลังพิทักษ์ทรัพย์: จำเลยมีสิทธิคัดค้านการกระทำของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
การที่จำเลยซึ่งถูกศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้วยื่นคำร้องคัดค้านการขายทอดตลาดทรัพย์ของตนที่เจ้าพนักงานบังคับคดีขายแทนเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ว่าเป็นการขายที่ไม่ชอบ เป็นกรณีที่จำเลยร้องคัดค้านการกระทำของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 146 ไม่ใช่เป็นเรื่องเกี่ยวกับอำนาจจัดการทรัพย์สินของจำเลยซึ่งตกเป็นอำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไปแล้ว ตามมาตรา 22 จำเลยจึงมีอำนาจร้องคัดค้านการขายทอดตลาดทรัพย์ดังกล่าวได้