พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,029 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1915/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้ไม่สูญจากคำสั่งยกเลิกการล้มละลาย เจ้าหนี้มีสิทธิขอรับชำระหนี้ได้อีก
พระราชบัญญัติ ญญัติล้มละลายฯ มาตรา 136 บัญญัติว่า คำสั่งยกเลิกการล้มละลายตามมาตรา 135(1) หรือ (2) นั้น ไม่ทำให้ลูกหนี้หลุดพ้นหนี้สินแต่อย่างใด กฎหมายดังกล่าวมิได้ยกเว้นว่าหนี้ใดจะต้องหลุดพ้นเพราะคำสั่งยกเลิกการล้มละลาย จึงแปลได้ว่า หนี้สินทุกชนิดที่ลูกหนี้มีอยู่ก่อนฟ้องอย่างไรก็คงเป็นหนี้อยู่เช่นเดิมอย่างนั้น เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในคดีล้มละลายเคยมีคำสั่งไม่รับคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้เพราะยื่นพ้นกำหนด 2 เดือนตามพระราชบัญญัติ ล้มละลายฯ มาตรา 91 แต่เมื่อศาลชั้นต้นยกเลิกการล้มละลายแล้วหนี้ดังกล่าวย่อมกลับสภาพเป็นหนี้ที่สมบูรณ์อันทำให้เจ้าหนี้มีสิทธินำมาฟ้องบังคับคดีได้ รวมถึงการนำมาขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในคดีล้มละลายคดีใหม่ได้ด้วย หาใช่ไม่มีมูลหนี้ที่จะนำมาขอรับชำระหนี้ได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1915/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งยกเลิกการล้มละลายไม่ทำให้หนี้สูญเสียไป เจ้าหนี้มีสิทธิขอรับชำระหนี้ได้
ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 136 บัญญัติว่าคำสั่งยกเลิกการล้มละลายตามมาตรา 135(1) หรือ (2) นั้น ไม่ทำให้ลูกหนี้หลุดพ้นหนี้สินแต่อย่างใด แสดงว่ากฎหมายดังกล่าวมิได้ยกเว้นไว้ว่าหนี้ใดจะต้องหลุดพ้นเพราะคำสั่งยกเลิกการล้มละลายจึงแปลว่าหนี้สินทุกชนิดที่มีอยู่ก่อนฟ้อง แม้ในคดีนี้จะได้ความว่าเจ้าหนี้เคยฟ้องลูกหนี้ในมูลหนี้เดียวกันนี้เป็นคดีล้มละลายต่อศาลชั้นต้นและเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีคำสั่งไม่รับชำระหนี้ของเจ้าหนี้เพราะยื่นพ้นกำหนด 2 เดือน ตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 91 แต่เมื่อศาลชั้นต้นในคดีดังกล่าวเห็นว่าลูกหนี้ไม่ควรถูกพิพากษาให้ล้มละลาย จึงมีคำสั่งให้ยกเลิกการล้มละลายตามมาตรา 135(2) แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483แล้ว หนี้ดังกล่าวย่อมกลับสภาพเป็นหนี้ที่สมบูรณ์อันทำให้เจ้าหนี้มีสิทธินำมาฟ้องร้องบังคับคดีได้ และนำมาขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1831/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการโอนหุ้นในคดีล้มละลาย พิจารณาความสุจริตและค่าตอบแทนของผู้รับโอน
เมื่อการโอนหุ้นพิพาทระหว่างจำเลยกับผู้คัดค้านที่ 1 ได้กระทำขึ้นในระหว่างระยะเวลา 3 ปี ก่อนมีการขอให้จำเลยล้มละลายผู้คัดค้านที่ 1 จึงต้องมีภาระพิสูจน์ว่าได้รับโอนหุ้นพิพาทมาจากจำเลยโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทน ผู้คัดค้านที่ 1 สนิทสนมกับจำเลยเป็นอย่างดี และได้ประกอบกิจการค้าอยู่ด้วยกัน 4-5 ปี ก่อนจำเลยถูกฟ้องให้เป็นบุคคลล้มละลายจำเลยได้ถูกฟ้องคดีแพ่งเรียกเงินตามเช็คและถูกฟ้องคดีอาญาเกี่ยวกับความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค และในระหว่างระยะเวลานั้นผู้คัดค้านที่ 1 ก็ได้รับโอนหุ้นพิพาทมาจากจำเลย เมื่อผู้ร้องเรียกผู้คัดค้านที่ 1 มาสอบสวนเกี่ยวกับเรื่องการรับโอนหุ้นพิพาท ผู้คัดค้านที่ 1 ก็ไม่ยอมมา ส่อให้เห็นถึงความไม่สุจริตผู้คัดค้านที่ 1 จึงไม่ได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 114 ส่วนการโอนหุ้นพิพาทระหว่างผู้คัดค้านที่ 1 กับผู้คัดค้านที่ 2 เป็นการโอนกันภายหลังจากโจทก์ฟ้องจำเลยเป็นบุคคลล้มละลายแล้วจึงไม่ได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 116 การเพิกถอนการโอนหุ้นพิพาทเป็นไปโดยผลของคำพิพากษา ตราบใดที่ยังไม่มีคำสั่งหรือคำพิพากษาให้เพิกถอนการโอน ก็ยังถือเป็นการโอนโดยชอบอยู่ กรณียังถือไม่ได้ว่ามีการผิดนัดนับแต่วันยื่นคำร้อง ผู้ร้องคงมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยนับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้เพิกถอนการโอนเป็นต้นไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1825/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลำดับชำระหนี้จากการบังคับจำนองหลังศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์: ดอกเบี้ยก่อนหนี้และข้อยกเว้น
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยเด็ดขาด ผู้ร้องขอรับชำระหนี้ในฐานะเจ้าหนี้มีประกัน ศาลมีคำสั่งอนุญาตภายในเงื่อนไขว่าหากผู้ร้องได้รับชำระหนี้จากการบังคับจำนองไปแล้วเพียงใดก็ให้สิทธิของผู้ร้องที่จะได้รับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของจำเลยลดลงไปเพียงนั้น ดังนี้การที่ ฉ.จำนองทรัพย์สินของตนไว้เป็นประกันหนี้ของจำเลยต่อผู้ร้อง ทรัพย์สินซึ่งจำนองย่อมเป็นประกันเพื่อการชำระหนี้กับทั้งค่าอุปกรณ์อันได้แก่ดอกเบี้ยตามสัญญาจำนองด้วย เมื่อผู้ร้องฟ้อง ฉ.เพื่อบังคับจำนองและเงินได้จากการขายทอดตลาดทรัพย์จำนองไม่เพียงพอปลดเปลื้องหนี้สินได้ทั้งหมด การจัดลำดับในการชำระหนี้ก่อนหลังจึงต้องเป็นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 329 คือ จัดใช้เป็นค่าฤชาธรรมเนียมเสียก่อนแล้วจึงใช้ดอกเบี้ย และในที่สุดจึงให้ใช้ในการชำระหนี้อันเป็นประธานสำหรับดอกเบี้ยนั้นต้องใช้ถึงวันขายทอดตลาด กรณีนี้จะนำความในมาตรา 100แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาใช้บังคับ ซึ่งจะมีผลให้ไม่ต้องนำเงินสุทธิที่ได้จากการขายทอดตลาดทรัพย์จำนองมาหักชำระค่าดอกเบี้ยที่เกิดหลังจากวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยแล้วไม่ได้ เพราะ ฉ.ผู้จำนองไม่ใช่ลูกหนี้ที่ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ จึงยังต้องรับผิดในดอกเบี้ยที่เกิดหลังจากวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยอยู่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1825/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลำดับชำระหนี้จำนอง: ดอกเบี้ยต้องจ่ายถึงวันขายทอดตลาด แม้จำเลยล้มละลาย ผู้จำนองยังต้องรับผิด
การที่ ฉ. จำนองทรัพย์สินของตนไว้เป็นประกันหนี้ของจำเลยผู้ล้มละลาย ทรัพย์สินที่จำนองย่อมเป็นประกันเพื่อการชำระหนี้กับทั้งค่าอุปกรณ์อันได้แก่ดอกเบี้ยตามสัญญาจำนอง เมื่อผู้ร้องฟ้องฉ. เพื่อบังคับจำนองและเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดทรัพย์จำนองไม่เพียงพอที่จะเปลื้องหนี้สินได้ทั้งหมด การจัดลำดับชำระหนี้ก่อนหลังต้องเป็นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 329คือต้องจัดใช้เป็นค่าฤชาธรรมเนียมก่อนแล้วจึงใช้ดอกเบี้ย สุดท้ายจึงชำระหนี้อันเป็นประธานและดอกเบี้ยนั้นจะต้องใช้ถึงวันขายทอดตลาดเพราะ ฉ. ผู้จำนองมิใช่ลูกหนี้ที่ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์จึงนำมาตรา 100 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาใช้บังคับไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1825/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลำดับชำระหนี้จำนองหลังศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์: ดอกเบี้ยถึงวันขายทอดตลาด, ผู้จำนองยังต้องรับผิด
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยเด็ดขาด ผู้ร้องขอรับชำระหนี้ในฐานะเจ้าหนี้มีประกัน ศาลมีคำสั่งอนุญาตภายในเงื่อนไขว่าหากผู้ร้องได้รับชำระหนี้จากการบังคับจำนองไปแล้วเพียงใดก็ให้สิทธิของผู้ร้องที่จะได้รับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของจำเลยลดลงไปเพียงนั้น ดังนี้การที่ ฉ.จำนองทรัพย์สินของตนไว้เป็นประกันหนี้ของจำเลยต่อผู้ร้องทรัพย์สินซึ่งจำนองย่อมเป็นประกันเพื่อการชำระหนี้กับทั้งค่าอุปกรณ์อันได้แก่ดอกเบี้ยตามสัญญาจำนองด้วย เมื่อผู้ร้องฟ้อง ฉ.เพื่อบังคับจำนองและเงินได้จากการขายทอดตลาดทรัพย์จำนองไม่เพียงพอปลดเปลื้องหนี้สินได้ทั้งหมด การจัดลำดับในการชำระหนี้ก่อนหลังจึงต้องเป็นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 329 คือ จัดใช้เป็นค่าฤชาธรรมเนียมเสียก่อนแล้วจึงใช้ดอกเบี้ย และในที่สุดจึงให้ใช้ในการชำระหนี้อันเป็นประธานสำหรับดอกเบี้ยนั้นต้องใช้ถึงวันขายทอดตลาด กรณีนี้จะนำความในมาตรา 100แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาใช้บังคับ ซึ่งจะมีผลให้ไม่ต้องนำเงินสุทธิที่ได้จากการขายทอดตลาดทรัพย์จำนอง มาหักชำระค่าดอกเบี้ยที่เกิดหลังจากวันที่ศาลมีคำสั่ง พิทักษ์ทรัพย์จำเลยแล้วไม่ได้ เพราะ ฉ. ผู้จำนองไม่ใช่ลูกหนี้ที่ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ จึงยังต้องรับผิดในดอกเบี้ย ที่เกิดหลังจากวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยอยู่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1824/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยหลังคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์: เจ้าหนี้ยังขอรับชำระได้จากกองทรัพย์สินลูกหนี้ร่วม
พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 100 บัญญัติห้ามมิให้เจ้าหนี้ขอรับชำระดอกเบี้ยภายหลังวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เท่านั้น หาได้-หมายความว่าหนี้ดอกเบี้ยภายหลังวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ระงับแล้วไม่ เมื่อหนี้ดอกเบี้ยภายหลังนั้นยังมีอยู่ ลูกหนี้ไม่ว่าจะในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยหรือในฐานะผู้ค้ำประกันอย่างลูกหนี้ร่วมก็ยังต้องร่วมรับผิดในหนี้ดังกล่าว ลูกหนี้หาอาจยกข้อต่อสู้ตามบทบัญญัติดังกล่าว อันเป็นกฎหมายที่มุ่งคุ้มครองประโยชน์แห่งเจ้าหนี้ทั้งปวงและแก่ลูกหนี้ในคดีล้มละลายนั้นโดยเฉพาะขึ้นเป็นข้อต่อสู้ในคดีนี้หาได้ไม่ เพราะมิฉะนั้นหากเจ้าหนี้มิได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของจำเลยภายในกำหนดเวลา2 เดือน นับแต่วันโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยไว้เด็ดขาด ทำให้เจ้าหนี้ไม่อาจขอรับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของจำเลย ก็จะทำให้เจ้าหนี้ไม่อาจยื่นคำขอรับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของลูกหนี้ตามเหตุผลเดียวกันได้ แต่กรณีหาเป็นเช่นนั้นไม่ กล่าวคือหากเจ้าหนี้มิได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของจำเลยภายในกำหนด ลูกหนี้ก็ยังต้องรับผิดในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการและในฐานะเป็นผู้ค้ำประกันอย่างลูกหนี้ร่วมเจ้าหนี้จึงมีสิทธิยื่นคำขอรับชำระหนี้ค่าดอกเบี้ยจากกองทรัพย์สินของลูกหนี้หลังจากวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยไว้เด็ดขาดจนถึงวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้ไว้เด็ดขาด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1824/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลูกหนี้ร่วมต้องรับผิดชอบดอกเบี้ยค้างชำระ แม้ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยก่อน แม้มีข้อจำกัดตาม พรบ.ล้มละลาย
พระราชบัญญัติ ญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 100 บัญญัติห้ามมิให้เจ้าหนี้ขอรับชำระดอกเบี้ยภายหลังวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เท่านั้น หาได้หมายความว่าหนี้ดอกเบี้ยภายหลังวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ระงับแล้วไม่ เมื่อหนี้ดอกเบี้ยภายหลังนั้นยังมีอยู่ลูกหนี้ไม่ว่าจะในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยหรือในฐานะผู้ค้ำประกันอย่างลูกหนี้ร่วมก็ยังต้องร่วมรับผิดในหนี้ดังกล่าวลูกหนี้หาอาจยกข้อต่อสู้ตามบทบัญญัติดังกล่าว อันเป็นกฎหมายที่มุ่งคุ้มครองประโยชน์แห่งเจ้าหนี้ทั้งปวงและแก่ลูกหนี้ในคดีล้มละลายนั้นโดยเฉพาะขึ้นเป็นข้อต่อสู้ในคดีนี้หาได้ไม่เพราะมิฉะนั้นหากเจ้าหนี้มิได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของจำเลยภายในกำหนดเวลา 2 เดือน นับแต่วันโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยไว้เด็ดขาด ทำให้เจ้าหนี้ไม่อาจขอรับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของจำเลย ก็จะทำให้เจ้าหนี้ไม่อาจยื่นคำขอรับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของลูกหนี้ตามเหตุผลเดียวกันได้ แต่กรณีหาเป็นเช่นนั้นไม่ กล่าวคือหากเจ้าหนี้มิได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของจำเลยภายในกำหนด ลูกหนี้ก็ยังต้องรับผิดในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการและในฐานะเป็นผู้ค้ำประกันอย่างลูกหนี้ร่วมเจ้าหนี้จึงมีสิทธิยื่นคำขอรับชำระหนี้ค่าดอกเบี้ยจากกองทรัพย์สินของลูกหนี้หลังจากวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยไว้เด็ดขาดจนถึงวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้ไว้เด็ดขาด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1823/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนที่ดินช่วงล้มละลาย: สัญญาเช่าซื้อ vs. ซื้อขายผ่อนส่ง และการหลีกเลี่ยงภาษี
ผู้คัดค้านทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินเพื่อนำมาจัดสรรขาย มีผู้จองซื้อที่ดินจากผู้คัดค้านจำนวน 96 ราย รวมทั้งลูกหนี้ด้วยผู้คัดค้านให้ผู้จองซื้อที่ดินทำสัญญาเช่าซื้อไว้ และก่อนทำการแบ่งแยกเป็นโฉนดแปลงย่อย ผู้คัดค้านใส่ชื่อผู้จองซื้อที่ดินทั้งหมดลงในโฉนดที่ดินเป็นการซื้อร่วมกับผู้คัดค้าน และเมื่อเจ้าพนักงานออกโฉนดที่ดินแปลงย่อยแล้วมีชื่อผู้จองซื้อที่ดินเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินแต่ละแปลงซึ่งเป็นการให้ผู้จองซื้อที่ดินถือกรรมสิทธิ์แทนผู้คัดค้านเพื่อหลีกเลี่ยงไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมการโอนและภาษีอีกชั้นหนึ่ง ทั้งเป็นการอำพรางว่าผู้คัดค้านมิได้จัดสรรที่ดิน ผู้คัดค้านให้ผู้จองซื้อที่ดินลงชื่อในหนังสือมอบอำนาจไว้ใช้ดำเนินการโอนที่ดินเป็นของผู้คัดค้านในกรณีที่ผู้จองซื้อที่ดินผิดนัดชำระค่าเช่าซื้อ และผู้คัดค้านเป็นผู้ถือโฉนดที่ดินไว้แสดงว่าผู้คัดค้านและผู้จองซื้อที่ดินมีเจตนาให้ผูกพันต่อกันอย่างสัญญาเช่าซื้อไม่ใช่สัญญาซื้อขายโดยวิธีผ่อนส่งราคา เมื่อลูกหนี้ค้างชำระค่าเช่าซื้อ 2 งวดติดต่อกันผู้คัดค้านทวงถามแล้วลูกหนี้ไม่ชำระ ผู้คัดค้านกรอกข้อความลงในหนังสือมอบอำนาจที่ลูกหนี้ลงชื่อไว้ล่วงหน้าไปดำเนินการโอนที่ดินใส่ชื่อผู้คัดค้านเป็นผู้ถือกรรมสิทธิที่ดิน กรณีจึงไม่ใช่เป็นการที่ลูกหนี้โอนชำระหนี้ให้แก่ผู้คัดค้าน หากแต่เป็นการโอนให้เจ้าของกรรมสิทธิ์ที่แท้จริงจึงไม่ใช่เป็นการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินของลูกหนี้ให้ผู้คัดค้านโดยมุ่งหมายให้ผู้คัดค้านได้เปรียบเจ้าหนี้อื่นอันจะเป็นเหตุให้ผู้ร้องขอเพิกถอนการโอนตาม พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 115 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1822/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความตั๋วสัญญาใช้เงินและการสะดุดหยุดของอายุความจากหนังสือทวงหนี้และการพิพากษาให้ล้มละลาย
ตั๋วสัญญาใช้เงินกำหนดให้เงินเมื่อทวงถาม สิทธิเรียกร้องตามตั๋วสัญญาใช้เงินจึงเริ่มนับตั้งแต่เมื่อเจ้าหนี้ทวงถามผู้ชำระบัญชีของผู้ล้มละลายได้มีหนังสือทวงถาม เมื่อวันที่ 10มกราคม 2527 ถือเป็นวันเริ่มต้นถึงกำหนดใช้เงิน ต่อมาเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของผู้ล้มละลายได้ยื่นหนังสือแจ้งให้จำเลยชำระหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงิน เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2529 อายุความตามสิทธิเรียกร้องของผู้ล้มละลายย่อมสะดุดหยุดอยู่ในวันนั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 178 เดิม เมื่อนับย้อนหลังไปจนถึงวันเริ่มต้นถึงกำหนดใช้เงินแล้วไม่เกิน 3 ปี ตั๋วสัญญาใช้เงินจึงยังไม่ขาดอายุความ